Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Electrical and Computer Engineering

Chulalongkorn University

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2017

Articles 1 - 30 of 44

Full-Text Articles in Engineering

การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบไฟฟ้าโดยวิธีอิมพีแดนซ์ร่วมกับข้อมูลแจ้งเตือนแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์, ณัฐกฤตา ฤทธิ์รักษ์ Jan 2017

การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบไฟฟ้าโดยวิธีอิมพีแดนซ์ร่วมกับข้อมูลแจ้งเตือนแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์, ณัฐกฤตา ฤทธิ์รักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอ การประยุกต์การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องในระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ (Impedance based method) ร่วมกับการใช้สัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์แบบเอเอ็มอาร์ โดยทดสอบการประมาณตำแหน่งความผิดพร่องแบบไม่สมมาตรในระบบจำหน่ายไฟฟ้า อาศัยการจำลองข้อมูลระบบจำหน่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และข้อมูลเหตุการณ์ความผิดพร่องแบบไม่สมมาตร ได้แก่ ความผิดพร่องแบบเฟสเดียวลงดิน ความผิดพร่องแบบสองเฟส และความผิดพร่องแบบสองเฟสลงดิน ผ่านโปรแกรม ATP (Alternative transient program) ข้อมูลที่ได้จากการจำลองระบบจะนำไปวิเคราะห์ตำแหน่งความผิดพร่องโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ เพื่อศึกษาความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่อง ผลการศึกษาพบว่า การประมาณตำแหน่งความผิดพร่องในระบบจำหน่ายไฟฟ้าโดยวิธีใช้ค่าอิมพีแดนซ์ มีค่าความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่องอยู่ในช่วง 0-2 กิโลเมตร คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ค่าความคลาดเคลื่อนไม่เกิน 7% เนื่องจากระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเป็นระบบแบบเรเดียล ส่งผลให้ระยะทางความผิดพร่องที่คำนวณได้ ให้ค่าตำแหน่งความผิดพร่องได้หลายค่า ซึ่งเมื่อนำข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลจากมิเตอร์เอเอ็มอาร์มมาพิจารณาร่วมด้วย พบว่าข้อมูลสัญญาณแจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุลสามารถลดตำแหน่งความผิดพร่องที่เป็นไปได้ให้เหลือน้อยลงได้ เมื่อพิจารณาตำแหน่งความผิดพร่องที่เป็นไปได้ที่อยู่ใกล้เคียง กับสายย่อยที่มิเตอร์แจ้งเตือนความผิดปกติแรงดันไม่สมดุล สามารถลดค่าความคลาดเคลื่อนของระยะทางความผิดพร่องลงได้ โดยมีค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดไม่เกิน 4% และในกรณีความผิดพร่องแบบเฟสเดียวลงดิน พบว่าบางข้อมูลให้ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนของระยะทางสายย่อยที่เกิดความผิดพร่องสูงกว่า ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนที่ได้จากกระประมาณตำแหน่งความผิดพร่องโดยวิธีอิมพีแดนซ์ คิดเป็น 18.60% ซึ่งเป็นผลมาจากการแบ่งระยะทางของสายย่อยที่มีระยะมากเกินไป เนื่องจากมิเตอร์ที่ติดตั้งในระบบไฟฟ้ากระจายตัวไม่สม่ำเสมอ


การศึกษาผลกระทบของการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กบนระบบส่งย่อย, นภสินธุ์ ศักดิ์วงศ์ Jan 2017

การศึกษาผลกระทบของการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กบนระบบส่งย่อย, นภสินธุ์ ศักดิ์วงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ นำเสนอตัวอย่างการศึกษาการเชื่อมต่อผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าประเภทกังหันแก๊สและกังหันไอน้ำกับระบบส่งย่อย 115 kV โดยจำลองด้วยโปรแกรม DIgSILENT เพื่อศึกษาผลกระทบที่มีต่อระบบไฟฟ้าในด้านต่างๆ เช่น ระดับแรงดันไฟฟ้า ขนาดกระแสลัดวงจร กำลังสูญเสีย แรงดันตกชั่วขณะ และเสถียรภาพ เป็นต้น ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า การเชื่อมต่อระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวที่จ่ายกำลังด้วยค่าตัวประกอบกำลังที่เหมาะสม สามารถควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้า และลดกำลังสูญเสียรวมในระบบไฟฟ้า แต่ในอีกด้าน ระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวอาจส่งผลให้กระแสลัดวงจรและแรงดันตกชั่วขณะมีค่าเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ การแยกตัวของระบบผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัวอย่างกะทันหัน อาจส่งผลต่อเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าได้ ซึ่งผลการศึกษาทั้งหมดจะเป็นประโยชน์ในการวางแผนควบคุมและป้องกันระบบไฟฟ้า


Multiple Face Detection And Recognition On Embedded Computer Vision System, Savath Saypadith Jan 2017

Multiple Face Detection And Recognition On Embedded Computer Vision System, Savath Saypadith

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Face recognition is widely used in many applications such as biometric for authentication, surveillance system, user-identification, and personalized technology. The state-of-the-art algorithm based on Convolutional Neural Network (CNN) can achieve up to 99% of recognition accuracy. However, there is a limitation to implement the CNN based technique into embedded system to recognize multiple face in real-time as it requires extensive computation. In this thesis, we propose a framework for multiple face recognition which consists of face detection algorithm, face recognition, and tracking. Our face recognition algorithm based on state of the art deep CNN with small computational parameters. The tracking …


Molecular Beam Epitaxial Growth Of Gasb And Insb Nanostructures On (001) Ge Substrates, Zon - Jan 2017

Molecular Beam Epitaxial Growth Of Gasb And Insb Nanostructures On (001) Ge Substrates, Zon -

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The self-assembled GaSb and InSb nanostructures (quantum dots, QDs) are grown on (001) Ge substrates in Stranski-Krastanow growth mode by molecular beam epitaxy. The structural properties are characterized by ex situ atomic force microscopy (AFM), and the related optical properties are observed by photoluminescence (PL) spectroscopy. Growing of polar GaAs on non-polar Ge creates anti-phase domains (APDs). By careful controlling of growth, APDs surface becomes flat and having large surface area (~µm2) which is sufficient to form QD array in each domain. The effects of APDs on the formation of QDs are discussed. By varying the growth conditions, different QD …


การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ชานอ้อยเพื่อการผลิตไฟฟ้ากับการผลิตเอทานอล, พิมพ์รัก เสนาจักร์ Jan 2017

การศึกษาเปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ชานอ้อยเพื่อการผลิตไฟฟ้ากับการผลิตเอทานอล, พิมพ์รัก เสนาจักร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชานอ้อยเป็นหนึ่งในผลพลอยได้ที่สำคัญของอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล ในแต่ละปีจะมีชานอ้อยเกิดขึ้นประมาณ 28 ล้านตัน จึงมีความพยายามที่จะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชานอ้อยเหล่านี้ เช่น นำไปผลิตเยื่อกระดาษ หรืออาหารสัตว์ เป็นต้น งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบความคุ้มค่าต่อการลงทุนระหว่างโครงการผลิตไฟฟ้าและโครงการผลิตเอทานอลจากชานอ้อย ภายใต้ข้อกำหนดว่า ราคาขายเอทานอลอยู่ที่ 25 บาทต่อลิตร และ ไฟฟ้าซึ่งเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตเอทานอลขายได้ในอัตราของนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in-Tariff (FiT) ในขณะที่ไฟฟ้าที่ผลิตได้จากการกระบวนการเผาตรงขายได้ในอัตราการรับซื้อไฟฟ้าแบบ Time of Use Rate (TOU) และใช้อัตราคิดลดเท่ากับร้อยละ 8.25 ผลการวิเคราะห์พบว่า ในกรณีที่ใช้ปริมาณชานอ้อยเท่ากันคือ 1.4 ล้านตันต่อปี โครงการขยายโรงงานเพื่อผลิตเอทานอลจากชานอ้อย จะมีค่าอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 15.15 มูลค่าปัจจุบัน (NPV) 129.45 ล้าน USD ในขณะที่โครงการผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อยด้วยวิธีเผาตรง จะมีค่าอัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 18.39 มูลค่าปัจจุบัน (NPV) 62.23 ล้าน USD นอกจากนี้ เมื่อวิเคราะห์ความอ่อนไหวของโครงการพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงการผลิตเอทานอลจากชานอ้อยมากที่สุดคือ ราคาขายเอทานอล และปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อโครงการโครงการผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อยมากที่สุด คือ ราคารับซื้อไฟฟ้าของภาครัฐ ทั้งนี้ โครงการผลิตเอทานอลจะคุ้มทุนเมื่อราคาเอทานอลสูงกว่า 22.60 บาท และต้องก่อตั้งโรงงานที่มีกำลังการผลิตมากกว่า 410,000 ลิตรต่อวัน สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้า หากรัฐบาลไม่มีการสนับสนุนและรับซื้อไฟฟ้าในอัตราเดียวกับที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยขายส่ง จะทำให้โครงการผลิตไฟฟ้าจากชานอ้อยไม่คุ้มทุน ท้ายที่สุด เมื่อพิจารณาความเป็นไปได้ในการรวมสองเทคโนโลยีไว้ภายในโรงงานเดียวกันพบว่า ควรใช้ชานอ้อยเพื่อผลิตเอทานอลในสัดส่วนร้อยละ 75 ของปริมาณชานอ้อยทั้งหมด จึงจะคุ้มค่าต่อการลงทุน เนื่องจากการผลิตเอทานอลมีต้นทุนค่าเครื่องจักรที่สูง การผลิตในปริมาณน้อยจะไม่คุ้มทุน อีกทั้งหากผลิตไฟฟ้าในปริมาณมาก จะถูกบังคับให้ขายไฟฟ้าในราคารับซื้อที่ถูกลง ดังนั้นจึงควรใช้ชานอ้อยเพื่อผลิตเอทานอลในสัดส่วนที่มากกว่าการนำไปผลิตกระแสไฟฟ้า


A Tree-Based Collision Resolution Algorithm For Rfid Using Bayesian Tag Estimation, Sanika Krishnamali Wijayasekara Jan 2017

A Tree-Based Collision Resolution Algorithm For Rfid Using Bayesian Tag Estimation, Sanika Krishnamali Wijayasekara

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Radio Frequency IDentification (RFID) is a promising wireless object identifying technology which uses radio frequency waves to transmit data between an RFID reader and tags. The RFID systems have been effectively applied in different areas, like manufacturing, healthcare, supply chain, transportation and agriculture. Despite the vast deployment of the RFID technology in practice, the inherent RFID tag collision problem still persists as a serious concern and remains a challenge. The tag collision problem happens when some tags in reader's vicinity try to transmit data to a reader simultaneously without priori coordination. The existing RFID Electronic Product Code (EPC) Class 1 …


การวิเคราะห์ผลกระทบจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่าย และ ต้นทุนการเดินเครื่องสำหรับการวางแผนล่วงหน้า 1 วัน, เฉลิมจิต กลั่นสุภา Jan 2017

การวิเคราะห์ผลกระทบจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่าย และ ต้นทุนการเดินเครื่องสำหรับการวางแผนล่วงหน้า 1 วัน, เฉลิมจิต กลั่นสุภา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยวางแผนการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและจัดสรรกำลังการผลิต จากต้นทุนการผลิตของแต่ละโรงไฟฟ้าและการพยากรณ์ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ค่าความต้องการใช้ไฟฟ้านั้นมีความผันผวนตลอดทั้งวัน ส่งผลให้การวางแผนการเดินเครื่องกำเนิดไฟฟ้านั้นต้องการกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่าย ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอแนวทางการวิเคราะห์ผลกระทบที่เกิดจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่ายและต้นทุนการผลิตไฟฟ้า โดยใช้การจัดสรรกำลังผลิตที่พิจารณาถึงต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าใช้จ่ายที่คาดว่าจะเกิดเหตุไฟฟ้าดับ ซึ่งในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้พิจารณากรณีที่เพิ่มการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในระบบผลิตไฟฟ้า และ ใช้แบบจำลองระบบผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิตของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในกรณีต่างๆ พบว่า เมื่อระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมีความผันผวนสูงจะส่งผลให้ระบบผลิตไฟฟ้าต้องจัดสรรกำลังผลิตให้มีกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองพร้อมจ่ายสูง ในด้านของต้นทุนการผลิตพบว่า ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าโดยรวมของ กฟผ. จะลดลงเนื่องจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนช่วยลดความต้องการใช้ไฟฟ้าในระบบ อย่างไรก็ตาม กฟผ. จะมีต้นทุนในการรับซื้อไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน


การพัฒนาต้นแบบโครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับการทำเกษตรแม่นยำในเรือนเพาะปลูก, กฤษฎี วิทิตศานต์ Jan 2017

การพัฒนาต้นแบบโครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับการทำเกษตรแม่นยำในเรือนเพาะปลูก, กฤษฎี วิทิตศานต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการพัฒนาต้นแบบระบบโครงข่ายเซ็นเซอร์ไร้สายสำหรับการทำเกษตรแม่นยำในเรือนเพาะปลูก ภายในระบบประกอบไปด้วยเซ็นเซอร์ต่างๆสำหรับใช้วัดค่าพารามิเตอร์มาเป็นตัวแปรในการควบคุมอุปกรณ์ปรับสภาพแวดล้อม โดยระบบนี้ใช้เทคโนโลยีการสื่อสารและการควบคุมที่ใช้โดยทั่วไปรวมถึงการออกแบบให้เหมาะสมแก่การใช้งานภายในเรือนเพาะปลูกที่สามารถควบคุมปัจจัยหรือค่าพารามิเตอร์ต่างๆได้ง่ายกว่าพื้นที่เพาะปลูกแบบเปิด ส่วนต่างๆของระบบสามารถสื่อการกันได้โดยมี Raspberry pi เป็นเกตเวย์และเป็นส่วนประมวลผลหลักซึ่งใช้การสื่อสารกับอุปกรณ์อื่นด้วย UDP โพรโทคอลผ่านการเชื่อมต่อแบบ Wi-Fi ข้อมูลค่าพารามิเตอร์ที่ผ่านเข้ามาซึ่งเก็บได้จากเซ็นเซอร์จะนำไปเก็บไว้บนคลาวด์เซิร์ฟเวอร์ ระบบมีการนำกระบวนการตัดสินใจแบบ Fuzzy logic เข้ามาประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมอุปกรณ์ปรับสภาพให้พื้นที่เพาะปลูกอยู่ในภาวะเหมาะสม ระบบนี้สามารถเฝ้าดูค่าพารามิเตอร์ต่างๆผ่านทางเว็บบราวเซอร์บนโครงข่ายอินเทอร์เน็ต ความได้เปรียบด้านการใช้งานเทคโนโลยี Wi-Fi คือความมีบทบาทอย่างกว้างขวางในปัจจุบันและอุปกรณ์ที่ออกมารองรับมากขึ้นเรื่อยๆจึงมีโอกาสพัฒนาต่อยอดได้ง่าย


กรณีศึกษาการออกแบบการป้องกันกระแสเกินสำหรับปฏิบัติการไมโครกริดในระบบจำหน่าย, จิรณัฐ์ ตั้งจิตติจริยา Jan 2017

กรณีศึกษาการออกแบบการป้องกันกระแสเกินสำหรับปฏิบัติการไมโครกริดในระบบจำหน่าย, จิรณัฐ์ ตั้งจิตติจริยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาของระบบป้องกันเป็นหนึ่งในปัญหาหลักที่การไฟฟ้าวิตกกังวลและส่งผลต่อการอนุญาตให้เกิดการจ่ายไฟฟ้าแบบระบบไฟฟ้าแยกโดด เนื่องจากผลของการเชื่อมต่อแหล่งผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กแบบกระจายตัว ทำให้กระแสโหลดที่จ่ายจากโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าในวงจรนั้นน้อยลง และปัญหาการเปลี่ยนแปลงสถานะการจ่ายไฟฟ้า ทำให้กระแสโหลดและกระแสความผิดพร่องมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการทำงานของรีเลย์ป้องกันกระแสเกินของอุปกรณ์ป้องกันของการไฟฟ้า เป็นสาเหตุทำให้รีเลย์ป้องกันกระแสเกินทำงานผิดพลาดได้ หากไม่มีการปรับเปลี่ยนค่าปรับตั้งให้เหมาะสมวิทยานิพนธ์นี้จะแก้ไขปัญหาของระบบป้องกันของไมโครกริดที่เกี่ยวกับรีเลย์ป้องกันกระแสเกิน ด้วยการใช้รีเลย์ป้องกันกระแสเกินที่สามารถปรับตัวได้ในสถานะต่าง ๆ เช่น สถานะเชื่อมต่อโครงข่าย สถานะจ่ายไฟฟ้าแบบระบบไฟฟ้าแยกโดด และคำนึงถึงการประสานการป้องกันระหว่างอุปกรณ์ป้องกัน ทดสอบกับระบบทดสอบที่จำลองจากระบบจริงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค คำนวณและจำลองการทำงานด้วยโปรแกรม Power Factory DIgSILENT


การพัฒนาต้นแบบระบบจัดการพลังงานในบ้านตามมาตรฐาน Ieee1888 และ Echonet Lite, มนต์ชัย กายาสมบูรณ์ Jan 2017

การพัฒนาต้นแบบระบบจัดการพลังงานในบ้านตามมาตรฐาน Ieee1888 และ Echonet Lite, มนต์ชัย กายาสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

มาตรฐาน ECHONET Lite และ มาตรฐาน IEEE1888 ถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อประโยชน์ในการบริหารจัดการพลังงาน ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับ Registry ได้ถูกนำมาประยุกต์รวมในงานวิจัยนี้ด้วย นั่นคืออุปกรณ์ที่ไม่ได้ทำการลงทะเบียนไว้กับ Registry จะไม่สามารถสื่อสารกับอุปกร์อื่นๆในระบบได้ ดังนั้น Registry สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในด้านความปลอดภัยของระบบได้ Registry จะถูกสร้างขึ้นด้วยโปรแกรม Processing โดยมีหน้าที่เก็บข้อมูลของอุปกรณ์ภายในระบบ ส่วน Gateway ที่ทำงานอยู่บน Raspberry Pi 1 B+ จะมีหน้าที่แปลงข้อมูลระหว่าง ECHONET Lite และ IEEE1888 และโปรแกรม MongoDB ถูกใช้เป็นเครื่องมือสร้างฐานข้อมูลสำหรับ Storage เพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลของอุปกรณ์ ECHONET Lite ซึ่งผลจากการทดลองเมื่อมีการใส่ Registry เข้าไปในระบบ จะทำให้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในฐานข้อมูลของ Registry เท่านั้นที่จะสามารถรับ-ส่งข้อมูลถึงกันได้


การพัฒนาต้นแบบระบบแจ้งเตือนการทำงานของอุปกรณ์ลัดสัญญาณแสงผ่านข้อความสั้นของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่, พรเทพ ศรีสัมพันธุ์ Jan 2017

การพัฒนาต้นแบบระบบแจ้งเตือนการทำงานของอุปกรณ์ลัดสัญญาณแสงผ่านข้อความสั้นของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่, พรเทพ ศรีสัมพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยฉบับนี้นำเสนอ การพัฒนาต้นแบบระบบแจ้งเตือนการทำงานของอุปกรณ์ลัดสัญญาณแสงผ่านข้อความสั้นของระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่บำรุงรักษาอัตโนมัติสายป้อนใช้ในการหาข้อมูล,วิเคราะห์หาสาเหตุและสถานที่เกิดเหตุขัดข้องเพื่อเดินทางไปแก้ไขเหตุขัดข้องของระบบสื่อสารเส้นใยแก้วนำแสงระหว่างระบบ DMS กับ FRTU ตามที่การไฟฟ้านครหลวงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่สาเหตุขัดข้องเกิดจากแหล่งจ่ายไฟอุปกรณ์สื่อสาร Media Converter ชำรุด ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานระบบ DMS ไม่สามารถติดต่อสื่อสารกับ FRTU ได้ การจำลองระบบโครงข่ายในงานวิจัยนี้จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ต้นแบบระบบแจ้งเตือนฯ จำนวน 3 ชุด โดยแต่ละชุดนั้น มีส่วนประกอบหลัก 4 ส่วน ประกอบด้วย Microcontroller (ATMEGA32U4), Cellular Module (UC-15T), Voltage Detector และ DC-DC Power supply converter วิทยานิพนธ์นี้ได้รับความร่วมมือจากบริษัท Furukawa Electric ในการนำอุปกรณ์ลัดสัญญาณแสง (Optical Bypass Unit : OBU) จำนวน 4 ชุดมาให้ยืมใช้เพื่อทำงานการทดสอบ จากการทดสอบการใช้งานอุปกรณ์ต้นแบบระบบแจ้งเตือนฯและ OBU ร่วมกับระบบ DMS กับอุปกรณ์ FRTU พบว่าสามารถใช้งานได้ตามที่ออกแบบไว้ เมื่อพิจารณาการลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานแก้ไขเหตุขัดข้องโดยติดตั้งอุปกรณ์ต้นแบบฯและ OBU พบว่าสามารถลดค่าใช้จ่ายได้ถึง 50% และเมื่อพิจารณาการลดเวลาในการแก้ไขเหตุขัดข้อง พบว่าสามารถลดได้ถึง 36.32% ในส่วนการทดสอบความเชื่อถือได้ของอุปกรณ์ต้นแบบฯ โดยการทดสอบต่อเนื่อง 480 ชั่วโมงและจำลองเหตุขัดข้อง 2160 ครั้ง พบว่าอุปกรณ์ต้นแบบฯทั้ง 3 ชุดสามารถแจ้งเตือนได้ถูกต้องทั้งหมด


การลดทอนแรงดันโหมดร่วมโดยการเลือกแรงดันลำดับศูนย์สำหรับอินเวอร์เตอร์พีวีชนิดสองภาคสามเฟสแบบเชื่อมต่อโครงข่าย, อดิศักดิ์ พรมอยู่ Jan 2017

การลดทอนแรงดันโหมดร่วมโดยการเลือกแรงดันลำดับศูนย์สำหรับอินเวอร์เตอร์พีวีชนิดสองภาคสามเฟสแบบเชื่อมต่อโครงข่าย, อดิศักดิ์ พรมอยู่

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการลดทอนแรงดันโหมดร่วมสำหรับระบบพีวีอินเวอร์เตอร์สองภาคสามเฟสแบบเชื่อมต่อโครงข่าย โดยงานวิจัยนี้จะพิจารณาแรงดันโหมดร่วมทั้งจากวงจรทบระดับและวงจรอินเวอร์เตอร์สามเฟสไปพร้อมๆกัน ในเบื้องต้นจะนำเสนอถึงวงจรสมมูลที่มีความแม่นยำสำหรับระบบพีวีอินเวอร์เตอร์ วงจรสมมูลนี้สามารถแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกันและลักษณะของรูปคลื่นของแรงดันโหมดร่วม ณ ขณะใดขณะหนึ่งของอินเวอร์เตอร์และของวงจรทบระดับ หลังจากนั้นนำเสนอวิธีการมอดูเลตของอินเวอร์เตอร์แบบใหม่ที่นำสถานะการสวิตช์ของวงจรทบระดับมาพิจารณาเพื่อให้เกิดการหักล้างกันของแรงดันโหมดร่วม แนวคิดของการมอดูเลตดังกล่าวจะประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกคือจะเกี่ยวข้องกับสัญญาณคลื่นพาห์ของวงจรทบระดับและของอินเวอร์เตอร์ซึ่งจะต้องซิงโครไนซ์ที่ใช้คาบการสวิตช์เดียวกันและมีการกลับเฟสซึ่งกันและกัน ส่วนที่สองคือการเลือกแรงดันลำดับศูนย์ของอินเวอร์เตอร์ เพื่อให้จังหวะการสวิตช์ของวงจรทบระดับตรงกับจังหวะการสวิตช์ของแรงดันเฟสใดเฟสหนึ่งของอินเวอร์เตอร์ที่มีค่าใกล้กับค่าแรงดันของวงจรทบระดับมากที่สุด ผลการจำลองการทำงานแสดงให้เห็นถึงความถูกต้องของวงจรสมมูลที่นำเสนอ โดยให้ผลตอบสนองที่สอดคล้องเหมือนกับของวงจรจริงที่มีวงจรทบระดับและอินเวอร์เตอร์ ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นถึงสมรรถนะของวิธีการลดทอนแรงดันโหมดร่วมที่นำเสนอ โดยสามารถลดทอนแรงดันโหมดร่วมและกระสั่วรั่วไหลได้อย่างมีนัยสำคัญ


การออกแบบตัวควบคุมพีไอดีสำหรับกระบวนการควบคุมอุณหภูมิที่มีการประยุกต์ใช้งานเชิงอุตสาหกรรม, อินกวี สุภานันท์ Jan 2017

การออกแบบตัวควบคุมพีไอดีสำหรับกระบวนการควบคุมอุณหภูมิที่มีการประยุกต์ใช้งานเชิงอุตสาหกรรม, อินกวี สุภานันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอการพัฒนาตัวควบคุมพีไอดีสำหรับระบบควบคุมอุณหภูมิ โดยเริ่มต้นนำเสนอการสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบถ่ายเทความร้อนด้วยแบบจำลองชนิดพารามิเตอร์สี่ตัวที่พิจารณาผลของเวลาประวิงชนิดขนส่ง พร้อมทั้งแสดงการหาพารามิเตอร์ต่างๆของแบบจำลองดังกล่าว ผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่าแบบจำลองที่สร้างขึ้นให้ผลตอบสนองที่มีความแม่นยำใกล้เคียงกับกระบวนการจริง ในลำดับถัดมาได้นำเสนอการออกแบบอัตราขยายตัวควบคุมพีไอดีที่รองรับกับโครงสร้างของแบบจำลองสี่พารามิเตอร์ที่มีค่าเวลาประวิงยาวนาน จากการศึกษาเชิงเปรียบเทียบผลตอบสนองด้วยวิธีออกแบบอัตราขยายแบบต่างๆ อาทิเช่น วิธีของซิกเกลอ-นิโคล วิธีของเชน-ฮรอนเนส-เรสวิก และวิธีของฮาลมาน พบว่าการออกแบบด้วยวิธีของฮาลมาน ให้ผลตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของค่าอุณหภูมิคำสั่งแบบขั้นและผลตอบสนองต่อโหลดรบกวนภายนอกที่ดี หลังจากนั้นงานวิจัยนี้ได้นำเสนอวิธีการปรับค่าอัตราขยายของตัวควบคุมพีไอดีแบบออนไลน์ตามค่าอุณหภูมิของจุดทำงานต่างๆ ที่ค่าเวลาประวิงมีการเปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ เพื่อให้ได้ผลตอบสนองที่ดียิ่งขึ้นสำหรับจุดทำงานในช่วงกว้าง ผลการทดลองกับระบบควบคุมอุณหภูมิในช่วง 90°C – 150°C ที่ขนาดพิกัดของตัวทำความร้อน 590 W ให้ผลตอบสนองที่สอดคล้องกับแนวคิดทางทฤษฎีที่ได้ประยุกต์ใช้


ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเมื่อเปลี่ยนสารทำความเย็น Hcfc-22 เป็น Hfc-32, พรรณิภา เจียมศิริโรจน์ Jan 2017

ประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเมื่อเปลี่ยนสารทำความเย็น Hcfc-22 เป็น Hfc-32, พรรณิภา เจียมศิริโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้พลังงานตามฤดูกาล (Cooling Seasonal Performance Factor: CSPF) ของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ที่ความเร็วรอบคอมเพรสเซอร์คงที่ เมื่อเปลี่ยนสารทำความเย็น HCFC-22 เป็น HFC-32 ที่ขนาดทำความเย็น 2,638 3,517 5,276 และ 7,034 วัตต์ จากผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศที่เข้าร่วมโครงการ Thailand HPMP Stage I ทั้ง 11 ผู้ผลิต การวิเคราะห์เปรียบเทียบอ้างอิงตามมาตรฐาน ISO 16358-1 โดยใช้ชุดอุณหภูมิ (Outdoor Bin Temperature) ของประเทศไทย โดยกำหนดให้ภาระการทำความเย็น (Cooling Load) ขึ้นกับอุณหภูมิภายนอกเพียงอย่างเดียว พบว่าเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 มีค่า CSPF มากกว่า HCFC-22 ร้อยละ 4.99 การวิเคราะห์เปรียบเทียบ CSPF ของเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 โดยสมมตชั่วโมงการใช้งานต่อปี 3 กรณี ได้แก่ (1) กรณีใช้งาน 24 ชั่วโมงต่อวัน (2) กรณีใช้งาน 12 ชั่วโมง ในตอนกลางวัน (6.00-18.00 น.) และ (3) กรณีใช้งาน 12 ชั่วโมง ในตอนกลางคืน (18.00-6.00 น.) เทียบกับ CSPF ที่ใช้ช่วงอุณหภูมิตามค่าแนะนำ (Default) พบว่า CSPF ทั้ง 3 กรณี ต่ำกว่าค่า CSPF ที่ใช้ช่วงอุณหภูมิตามค่าแนะนำ เป็นผลมาจากการกระจายตัวของอุณหภูมิประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงที่มีอุณหภูมิสูง (อุณหภูมิเฉลี่ยทั้ง 3 กรณี มีค่าสูงกว่า) ส่วนสุดท้ายเป็นการวิเคราะห์ผลประหยัด พบว่า หากมีการใช้งานเครื่องปรับอากาศที่ใช้สารทำความเย็น HFC-32 แทน HCFC-22 ซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่า กรณีใช้งาน 24 …


อัลกอริทึมการควบคุมโหลดโดยตรงที่คำนึงถึงความสะดวกสบายสำหรับระบบการตอบสนองด้านโหลด, กุศะภณ เพชรสุวรรณ Jan 2017

อัลกอริทึมการควบคุมโหลดโดยตรงที่คำนึงถึงความสะดวกสบายสำหรับระบบการตอบสนองด้านโหลด, กุศะภณ เพชรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การควบคุมโหลดโดยตรงเป็นมาตรการหนึ่งของการตอบสนองด้านโหลดโดยทำการควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้าระยะไกลผ่านโครงข่ายสื่อสาร สำหรับประเทศไทยเครื่องปรับอากาศเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เป็นเป้าหมายหลัก เนื่องจากว่ามีการใช้กำลังไฟฟ้าที่สูงมากในช่วงฤดูร้อน ในหัวข้อนี้ได้ใช้เทคนิคการจัดลำดับการเปิดปิดโหลดสำหรับศูนย์การควบคุมโหลดในการควบคุมเครื่องปรับอากาศโดยการเปิดปิดเครื่องปรับอากาศบางเครื่องซึ่งมีเป้าหมายสูงสุดคือให้ผู้ที่ถูกควบคุมยังคงรู้สึกสบายมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในงานนี้ได้มีการใช้การโปรแกรมเชิงเส้นในการแก้ปัญหาออฟติไมเซชั่น และพัฒนาอัลกอริทึมนี้ โดยทดสอบจากกลุ่มของเครื่องปรับอากาศจำลองจำนวน 2,000 เครื่อง (12,000 บีทียู/ชม. 500 เครื่อง; 18,000 บีทียู/ชม. 500 เครื่อง; 24,000 บีทียู/ชม. 1,000 เครื่อง) ในหลายสถานการณ์ เช่น วันที่อากาศปกติ หรือวันที่อากาศร้อนจัด พบว่าอัลกอริทึมนี้สามารถควบคุมไฟฟ้าให้ไม่เกินระดับกำลังที่กำหนดไว้ได้ และสามารถลดกำลังไฟฟ้าได้ 1) 500 กิโลวัตต์ โดยที่ผู้ที่ถูกควบคุมส่วนมากยังคงรู้สึกสบาย 2) 1,000 กิโลวัตต์ โดยที่ผู้ที่ถูกควบยังรู้สึกสบายอยู่ 80-60% 3) 1,500 กิโลวัตต์ โดยที่ผู้ที่ถูกควบยังรู้สึกสบายอยู่ 50-40%


การลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันที่ขึ้นกับการตัดออกเสียงรบกวนแบบปรับตัว, จิฏิณ เข็มวงษ์ Jan 2017

การลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันที่ขึ้นกับการตัดออกเสียงรบกวนแบบปรับตัว, จิฏิณ เข็มวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอเทคนิคการลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันแบบสองขั้นตอน (Two-Step Dental-Drill Noise Reduction, TSDNR) โดยใช้ระบบการตัดออกเสียงรบกวนแบบปรับตัว (Adaptive Noise Cancellation, ANC) เทคนิคที่นำเสนอถูกออกแบบสำหรับหูฟังสวมศีรษะตัดออกเสียงรบกวน (noise-cancelling headphone) เพื่อให้ทันตแพทย์และคนไข้สวมใส่ขณะที่มีการรักษาฟัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เพื่อป้องกันการสูญเสียการได้ยินของทันตแพทย์ที่ต้องทำงานภายใต้สถานการณ์ที่มีเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันเป็นระยะเวลานานๆ เทคนิค TSDNR ประกอบด้วยสองขั้นตอน เพื่อลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟัน ในขั้นตอนแรก ขั้นตอนวิธีการสกัดความถี่หลักมูลและความถี่ฮาร์มอนิก (fundamental-and-harmonic frequencies extraction algorithm) ถูกนำเสนอเพื่อใช้ประมาณความถี่หลักมูลและความถี่ฮาร์มอนิกของเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟัน หลังจากนั้น สัญญาณไซนูซอยด์ของความถี่หลักมูลและความถี่ฮาร์มอนิกต่างๆจะถูกสร้างและใช้เป็นสัญญาณอ้างอิงของระบบ ANC หลายระบบพร้อมๆกันเพื่อตัดออกความถี่หลักมูลและความถี่ฮาร์มอนิกของเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟัน ในขั้นตอนที่สอง ตัวกรองแบบปรับตัวอีกตัวหนึ่งของระบบ ANC จะถูกใช้ร่วมกับตัวกรองผ่านสูงเพื่อกำจัดองค์ประกอบความถี่สูงอื่นๆของเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟัน ผลการจำลองผ่านคอมพิวเตอร์โดยใช้เสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันที่บันทึกเสียงไว้ และสัญญาณเสียงพูดจากฐานข้อมูล IEEE แสดงให้เห็นว่าเทคนิค TSDNR ที่นำเสนอสามารถลดเสียงรบกวนจากเครื่องกรอฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านของสมรรถนะในการลดทอนเสียงรบกวนและในด้านของคุณภาพของเสียงพูด ยิ่งไปกว่านั้น ผลจากการทดสอบฟังจากผู้ฟัง 15 คน ยืนยันประสิทธิภาพของเทคนิคที่นำเสนอนี้อีกด้วย


การประเมินกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายของระบบผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาการเข้ามาของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน, ชยณัฐ ภู่มหภิญโญ Jan 2017

การประเมินกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายของระบบผลิตไฟฟ้าโดยพิจารณาการเข้ามาของการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน, ชยณัฐ ภู่มหภิญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศไทยมีค่าเพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทำให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องจัดหาแหล่งพลังงานเพื่อผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการใช้ไฟฟ้า เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิล ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจึงมีแนวโน้มที่จะถูกติดตั้งในระบบไฟฟ้าเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม พลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานที่ไม่ต่อเนื่องและไม่สามารถควบคุมได้ ดังนั้นการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเข้าสู่ระบบไฟฟ้าที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในอนาคตจึงหมายความว่า แนวโน้มของกำลังผลิตไฟฟ้าที่มีอยู่ในระบบในอนาคตจะมีความไม่แน่นอนสูงขึ้น หากกำลังไฟฟ้าที่ผลิตจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนมีค่าลดลงอย่างรวดเร็ว โรงไฟฟ้าที่เดินเครื่องอยู่ในระบบต้องเพิ่มกำลังผลิตไฟฟ้าให้ทันเวลา ดังนั้น ระบบไฟฟ้าต้องมีกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับความผันผวนของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอวิธีการประเมินกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพื่อหาค่ากำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายที่เหมาะสมที่สุด โดยมีฟังก์ชันวัตถุประสงค์คือผลรวมของต้นทุนที่ใช้ในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากับค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุไฟฟ้าดับ แม้ว่าการเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายทำให้ค่าความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุไฟฟ้าดับลดลง แต่การเพิ่มกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายทำให้ต้นทุนในการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าสูงขึ้น เนื่องจากจำนวนโรงไฟฟ้าที่ถูกสั่งเดินเครื่องอาจเพิ่มขึ้น กำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายที่เหมาะสมที่สุดถูกคำนวณโดยอาศัยการวางแผนผลิตไฟฟ้าและการจัดสรรกำลังผลิตไฟฟ้า เพื่อทำให้ค่าฟังก์ชันวัตถุประสงค์มีค่าต่ำที่สุด นอกจากนี้ ผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนต่อกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายจะถูกวิเคราะห์ โดยอาศัยแบบจำลองระบบไฟฟ้าอ้างอิงตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558 - 2579 โดยผลการทดสอบแสดงให้เห็นว่า เมื่อระบบไฟฟ้ามีระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนเพิ่มขึ้น จะส่งผลให้ระบบไฟฟ้าต้องการกำลังผลิตสำรองพร้อมจ่ายเพิ่มขึ้น


การออกแบบและสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้า โดยใช้วงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้า ด้วยวิธีการควบคุมจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต, ดวงพร เล็กอุทัย Jan 2017

การออกแบบและสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์สำหรับระบบผลิตไฟฟ้า โดยใช้วงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้า ด้วยวิธีการควบคุมจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต, ดวงพร เล็กอุทัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอเครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ โดยประกอบด้วยวงจรคอนเวอร์เตอร์แบบซีต้าและกระบวนการหาจุดกำลังสูงสุดแบบโมดิฟายอะแดปทีฟการรบกวนและการสังเกต เนื่องจากการต่อระบบผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์กับโหลดคงที่ จะทำให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ไม่สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้สูงสุด หากความเข้มแสงที่ฉายส่องให้กับแผง ไม่เหมาะสมกับค่าความต้านทานโหลด เครื่องปรับจุดการทำงานนี้จะประพฤติตัวเสมือนโหลด ที่สามารถปรับค่าความต้านทานได้อัตโนมัติ ช่วยให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตกำลังไฟฟ้าได้เพิ่มขึ้นเมื่อต่อกับโหลดคงที่แม้จะถูกบังแสงแดด และเป็นกำลังไฟฟ้าสูงสุด ณ ความเข้มแสงขณะนั้น วิทยานิพนธ์นี้ได้จำลองแบบโดยใช้โปรแกรม PSIM และสร้างชุดต้นแบบของเครื่องปรับ จุดทำงานที่เหมาะสมเพื่อนำมาทดลองกับแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 1 แผง ขนาด 20 วัตต์ และ 2 แผงอนุกรม รวม 40 วัตต์ ที่ความเข้มแสงเต็มที่ 100% หรือเท่ากับ 900 วัตต์/ตารางเมตร และ ที่ความเข้มแสงลดลงเหลือ 80% 50% และ 20% ตามลำดับ จากผลการทดสอบพบว่าเครื่องปรับ จุดทำงานที่เหมาะสมสามารถช่วยให้แผงเซลล์แสงอาทิตย์สามารถผลิตไฟฟ้าได้สูงสุดทุกค่า ความเข้มแสง แต่เนื่องจากการสูญเสียภายในเครื่องปรับจุดทำงานจึงทำให้มีผลต่อกำลังไฟฟ้าที่โหลดได้รับ กล่าวคือ ที่ความเข้มแสง 100% และ 80% แผงเซลล์ฯ ให้กำลังไฟฟ้ามากกว่ากรณีที่ไม่มี เครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสม แต่อย่างไรก็ตามโหลดได้รับกำลังไฟฟ้ามากกว่า สำหรับกรณีที่มี การใช้เครื่องปรับจุดทำงานที่เหมาะสมของแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ณ ความเข้มแสงในการทดลองเท่ากับ 50% และ 20%


การกำหนดขนาดกำลังผลิตสำรองที่เหมาะสมสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย, ธนวรรธน์ จงพิพัฒน์มงคล Jan 2017

การกำหนดขนาดกำลังผลิตสำรองที่เหมาะสมสำหรับระบบผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย, ธนวรรธน์ จงพิพัฒน์มงคล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ภาครัฐมีนโยบายพัฒนาแผนพลังงานไฟฟ้าของประเทศเพื่อให้ประเทศมีความมั่นคงทางด้านพลังงานอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม เพื่อให้รองรับนโยบายดังกล่าวข้างต้น กระทรวงพลังงานจึงมีการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (Power Development Plan: PDP) เพื่อรองรับความต้องการไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและมีการลงทุนอย่างเหมาะสม โดยใช้เกณฑ์สำคัญที่ใช้ในการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ คือ กำลังผลิตไฟฟ้าสำรอง (Reserve margin: RM) ซึ่งเป็นกำลังผลิตไฟฟ้าที่รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยที่ผ่านมาได้กำหนดเกณฑ์กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ของความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุด ซึ่งเกณฑ์ดังกล่าวมีการใช้มาเป็นระยะเวลานาน ประกอบกับในปัจจุบัน ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2558-2579 มีนโยบายสำคัญในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนสูง อีกทั้งยังมีความเสี่ยงในกรณีที่ไม่สามารถลดความต้องการใช้ไฟฟ้าได้จริงตามแผนอนุรักษ์พลังงานที่คาดไว้ รวมถึงยังไม่ได้คำนึงถึงผลกระทบจากความพร้อมจ่ายของระบบการจัดหาเชื้อเพลิงซึ่งอาจส่งผลทำให้โรงไฟฟ้าขาดแคลนเชื้อเพลิงสำหรับการผลิตไฟฟ้าได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการประเมินเกณฑ์กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองใหม่ให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัจจุบันมากยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอแนวทางการประเมินกำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่มีความเหมาะสมเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองเดิม และนำเสนอแนวทางการกำหนดเกณฑ์กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยมีการพิจารณาในส่วนของการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนสูง ความเสี่ยงของการดำเนินการของแผนอนุรักษ์พลังงาน และความพร้อมในการจัดหาเชื้อเพลิงด้วย ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยในอนาคตต่อไป


การกำหนดขนาดแบตเตอรี่ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นระบบพลังงานสำรองในระบบผลิตไฟฟ้า, พชรพล สกุลสุธีบุตร Jan 2017

การกำหนดขนาดแบตเตอรี่ที่เหมาะสมเพื่อใช้เป็นระบบพลังงานสำรองในระบบผลิตไฟฟ้า, พชรพล สกุลสุธีบุตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

จากการที่ปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้ามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี ภาครัฐจึงต้องวางแผนเพิ่มกำลังผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าเพื่อรักษาความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ ทั้งนี้ การสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ที่มีความเชื่อถือได้สูงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ภาครัฐใช้ในการแก้ปัญหามาโดยตลอด อย่างไรก็ตาม การก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ใช้ระยะเวลาเตรียมการนานและอาจไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ ดังนั้น ภาครัฐจึงจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าควบคู่ไปกับแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกเพื่อจัดหาพลังงานให้เพียงพอต่อความต้องการอย่างมั่นคง และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่างไรก็ดี พลังงานหมุนเวียนก็มีความไม่แน่นอนและมีความผันผวนสูงซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระดับความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้าซึ่งอาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับเป็นระยะเวลานานได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงได้เสนอแนวคิดในการนำแบตเตอรี่เข้ามาใช้เป็นระบบพลังงานสำรองในระบบผลิตไฟฟ้า และนำเสนอหลักการกำหนดขนาดของแบตเตอรี่ให้มีความเหมาะสมเพื่อเพิ่มความเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้าและลดการเกิดเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ โดยขนาดของแบตเตอรี่จะถูกกำหนดจากดัชนีความเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้า อาทิเช่น พลังงานที่คาดว่าจะไม่ได้รับการจ่ายต่อปี และความถี่ในการเกิดไฟฟ้าดับต่อปี เป็นต้น ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อถือได้เหล่านี้จะถูกคำนวณมาจากการจำลองสถานะการทำงานของระบบไฟฟ้าแบบ Monte Carlo ที่พัฒนาขึ้นด้วยโปรแกรม MATLAB สำหรับตัวอย่างการวิเคราะห์เพื่อกำหนดขนาดที่เหมาะสมของแบตเตอรี่เพื่อใช้เป็นระบบพลังงานสำรองในระบบผลิตไฟฟ้าจะอาศัยระบบทดสอบ IEEE-RTS96 นอกจากนี้ จะทำการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าของประเทศไทยที่อ้างอิงตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ฉบับปี พ.ศ. 2558 - 2579 โดยแบ่งการพิจารณาออกเป็น 6 ภูมิภาคตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยด้วย


การศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบของตัวจำกัดกระแสผิดพร่องแบบตัวนำยิ่งยวดในระบบ 115 กิโลโวลต์, วรเกียรติ ไกรเกียรติ Jan 2017

การศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบของตัวจำกัดกระแสผิดพร่องแบบตัวนำยิ่งยวดในระบบ 115 กิโลโวลต์, วรเกียรติ ไกรเกียรติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้นำเสนอการศึกษาผลประโยชน์และผลกระทบของการใช้ตัวจำกัดกระแสผิดพร่องแบบตัวนำยิ่งยวด (Superconducting fault current limiter : SCFCL) ในระบบ 115 kV โดยจำลองเปรียบเทียบผลระหว่างระบบที่ไม่มีการติดตั้งและติดตั้ง SCFCL ด้วยโปรแกรม DIgSILENT ซึ่งในส่วนผลประโยชน์ของการติดตั้ง SCFCL จะแสดง การลดกระแสไดนามิกส์ การลดกระแสลัดวงจรในระบบ การลดกำลังไฟฟ้าจากการลัดวงจร การลดแรงดันตกชั่วขณะและการลดกระเเสพุ่งเข้าหม้อเเปลง ในส่วนผลกระทบของการติดตั้ง SCFCL จะแสดง การเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงานของรีเลย์ป้องกันกระแสเกิน การจ่ายกระเเสลัดวงจรเพิ่มขึ้นของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและความไม่สมดุลเมื่ออุปกรณ์ตัวนำยิ่งยวดภายใน SCFCL เสียหาย สิ่งเหล่านี้เป็นแนวทางสำหรับการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าที่มีแผนจะติดตั้งอุปกรณ์ SCFCL


ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดที่เหมาะสมที่สุดเมื่อพิจารณาเงื่อนไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียน, วีรยา อิ่มเจริญกุล Jan 2017

ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดที่เหมาะสมที่สุดเมื่อพิจารณาเงื่อนไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียน, วีรยา อิ่มเจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เนื่องจากเชื้อเพลิงฟอสซิลซึ่งเป็นแหล่งเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยเป็นแหล่งพลังงานที่มีแนวโน้มจะขาดแคลนในอนาคต ประเทศไทยจึงมีการส่งเสริมให้ใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม การใช้พลังงานหมุนเวียนในการผลิตไฟฟ้าสามารถก่อให้เกิดปัญหากับระบบไฟฟ้าได้ เนื่องจากพลังงานหมุนเวียนมีความผันผวนอยู่ตลอดเวลา นโยบายระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริด (Hybrid) เป็นวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมีกำลังผลิตไฟฟ้าสม่ำเสมอมากขึ้น อย่างไรก็ตามการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน จะขึ้นอยู่กับศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ จึงต้องมีการศึกษาระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดที่ให้ผลประโยชน์จากการขายไฟฟ้าสูงที่สุดในขณะที่ยังคงทำให้กำลังผลิตไฟฟ้ามีความสม่ำเสมอ และ อยู่ภายใต้ศักยภาพพลังงานหมุนเวียนที่มีในพื้นที่ วิทยานิพนธ์นี้นำเสนอระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดที่เหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขศักยภาพพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ ด้วยการวิเคราะห์ผลประโยชน์จากการขายไฟฟ้าที่มากที่สุด โดยต้นทุนของการผลิตไฟฟ้าจะทำการพิจารณาจาก ค่าติดตั้งอุปกรณ์ ค่าดำเนินการและบำรุงรักษา และ ค่าเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า สำหรับเงื่อนไขบังคับในส่วนรูปแบบการเดินเครื่องคือ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดต้องสามารถจ่ายกำลังไฟฟ้าได้อย่างสม่ำเสมอตามนโยบาย SPP Hybrid firm ของภาครัฐ เงื่อนไขบังคับในส่วนของเชื้อเพลิงคือ ระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบไฮบริดต้องผลิตไฟฟ้าได้ภายใต้ศักยภาพพลังงานหมุนเวียนและแผนการจัดหาแหล่งพลังงานในพื้นที่ ซึ่งแหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ถูกนำมาวิเคราะห์ในวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานก๊าซชีวภาพ และ พลังงานขยะ


กรณีศึกษาการใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กเพื่อลดผลกระทบจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต่อระบบไฟฟ้าของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน, ศิริวัฒน์ เตชะพกาพงษ์ Jan 2017

กรณีศึกษาการใช้ระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กเพื่อลดผลกระทบจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ที่มีต่อระบบไฟฟ้าของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน, ศิริวัฒน์ เตชะพกาพงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ระบบไฟฟ้าของอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอนมีแหล่งผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก และโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์พร้อมด้วยระบบแบตเตอรี่ หากสามารถจัดการกับข้อจำกัดของโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กที่มีเวลาในการตอบสนองช้าและมีความเฉื่อยต่ำได้ ระบบจะมีศักยภาพที่จะทำงานเป็นระบบไมโครกริดแบบแยกโดดได้ในกรณีที่สายส่ง 115 กิโลโวลต์ เกิดขัดข้อง งานวิทยานิพนธ์นี้จึงมีเป้าหมายที่จะประเมินผลกระทบจากความผันผวนของกำลังผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และโหลดที่มีต่อคุณภาพไฟฟ้า พร้อมกับนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้ระบบแบตเตอรี่ทำงานร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก โดยระบบแบตเตอรี่จะทำหน้าที่หลักสองประการคือ 1) ปรับเรียบกำลังไฟฟ้าที่ผลิตจากโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของแสงอาทิตย์ และ 2) ใช้ฟังก์ชันการควบคุมความถี่โหลดลดทอนผลกระทบจากความผันผวนของโหลดซึ่งสะท้อนเป็นความเปลี่ยนแปลงของความถี่ไฟฟ้าของระบบ โดยจะเป็นการควบคุมความถี่โหลดด้วยระบบแบตเตอรี่ร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้ระบบแบตเตอรี่ที่จำเป็นต้องใช้มีขนาดเล็กลงเมื่อเทียบกับกรณีที่ใช้การควบคุมความถี่โหลดด้วยระบบแบตเตอรี่เพียงลำพัง นอกจากนั้น งานวิจัยนี้ยังได้ใช้ข้อมูลตรวจวัดย้อนหลังราย 10 วินาทีของความเข้มรังสีอาทิตย์ และกำลังผลิตของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในพื้นที่ ในการประเมินผลกระทบผ่านการวิเคราะห์เชิงสเปกตรัม และใช้ประกอบการออกแบบวงจรกรองที่ใช้ในการปรับเรียบกำลังไฟฟ้าและการแบ่งย่านการควบคุมความถี่โหลด ผลการจำลองระบบไฟฟ้าด้วยโปรแกรม DIgSILENT แสดงให้เห็นว่าวิธีการที่นำเสนอสามารถรักษาคุณภาพแรงดันและความถี่ไฟฟ้าของระบบในสภาวะเชื่อมต่อกับกริดและสภาวะไมโครกริดแยกโดดให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานได้


การคำนวณค่าผ่านสายส่งไฟฟ้าโดยพิจารณาการไหลของกำลังไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากคู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้า, สุรพัศ ลาภวิสุทธิสาโรจน์ Jan 2017

การคำนวณค่าผ่านสายส่งไฟฟ้าโดยพิจารณาการไหลของกำลังไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปจากคู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้า, สุรพัศ ลาภวิสุทธิสาโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันภาคเอกชนมีบทบาทในการขายไฟฟ้าในลักษณะของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (Small Power Producer: SPP) ในนิคมอุตสาหกรรมมากขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาความซ้ำซ้อนในการลงทุนก่อสร้างสายจำหน่ายไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจึงยินยอมและสนับสนุนให้ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็กเชื่อมต่อและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของการไฟฟ้าแทนการก่อสร้างสายจำหน่ายเพิ่มเติม โดยทำการเรียกเก็บค่าผ่านสายสายส่งไฟฟ้า (Wheeling Charge) จากผู้ขอใช้บริการสายจำหน่าย เพื่อให้สามารถคืนเงินลงทุนในการดำเนินกิจการระบบจำหน่ายไฟฟ้า รวมถึงได้รับผลตอบแทนการลงทุนที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายมีการเรียกเก็บค่าบริการระบบจำหน่ายไฟฟ้าในรูปของค่าความต้องการพลังไฟฟ้า (Demand Charge) แล้ว ด้วยเหตุนี้การเรียกเก็บค่าผ่านสายส่งไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมอาจทำให้เกิดความซ้ำซ้อนในการเรียกเก็บค่าบริการได้ วิทยานิพนธ์ฉบับนี้เสนอแนวทางการคำนวณและเรียกเก็บค่าผ่านสายส่งไฟฟ้า (Wheeling Charge) ของระบบจำหน่ายไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรม รวมถึงเสนอแนวทางการคำนวณส่วนลดค่าความต้องการไฟฟ้า จากการเรียกเก็บค่าผ่านสายส่งไฟฟ้า นอกจากนี้จะวิเคราะห์ถึงผลกระทบการเรียกเก็บค่าผ่านสายส่งไฟฟ้าในนิคมอุตสาหกรรมจากการเกิดคู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าแต่ละคู่สัญญาในระบบจำหน่ายไฟฟ้า จากการศึกษาพบว่าการคำนวณค่าผ่านสายส่งไฟฟ้าด้วยวิธี Power Flow Based MW-Mile เหมาะสมสำหรับการคำนวณค่าผ่านสายส่งไฟฟ้าเพื่อให้สะท้อนถึงปริมาณสายส่งที่ถูกใช้จริงจากคู่สัญญาซื้อขายไฟฟ้าแต่ละราย และการเรียกเก็บค่าผ่านสายส่งไฟฟ้า (Wheeling Charge) ในนิคมอุตสาหกรรมจะส่งผลให้อัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้าในประเทศสำหรับระดับแรงดันตั้งแต่ 69 kV และ สำหรับระดับแรงดัน 22 -33 kV เปลี่ยนไป 0.18 บาท/กิโลวัตต์ และ เปลี่ยนไป 0.17 บาท/กิโลวัตต์ ตามลำดับ เมื่อมีการเรียกเก็บค่าผ่านสายส่งในเขตนิคมอุตสาหกรรมจากคู่สัญญารายใหม่คิดเป็นร้อยละ 1 จากเงินลงทุนในเขตนิคมอุตสาหกรรมที่พิจารณา


ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและพลังงานจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์, ธนะรัชต์ งามเสงี่ยม Jan 2017

ผลกระทบทางด้านเศรษฐกิจและพลังงานจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์, ธนะรัชต์ งามเสงี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ เป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างด้านการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิตของทั้งอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์เอง และสาขาการผลิตอื่นๆ ภายในห่วงโซ่อุปทานเดียวกันอีกด้วย งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ โดยใช้แบบจำลองปัจจัยการผลิตและผลผลิต จากการคำนวณการเปลี่ยนแปลงต้นทุนการขนส่งรวมของปูนซีเมนต์ในสถานการณ์ปัจจุบันและสถานการณ์จำลอง พบว่า ในสถานการณ์จำลองที่ 1 ซึ่งกำหนดให้เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนเป็นทางราง ต้นทุนรวมของการขนส่งปูนซีเมนต์ทั้งระบบจะลดลงเหลือร้อยละ 53.71 ของมูลค่าเดิม ในขณะที่ ในสถานการณ์จำลองที่ 2 ซึ่งกำหนดให้เปลี่ยนรูปแบบการขนส่งจากทางถนนเป็นทางรางและทางทะเล ต้นทุนรวมของการขนส่งปูนซีเมนต์ทั้งระบบจะลดลงเหลือร้อยละ 49.44 ของมูลค่าเดิม การวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ต่อปริมาณการใช้พลังงานรวมของทั้งประเทศ พบว่า การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งตามสถานการณ์จำลองที่ 1 และสถานการณ์จำลองที่ 2 จะช่วยลดการใช้พลังงานรวมของทั้งระบบเศรษฐกิจลงได้ ร้อยละ 0.0498 และร้อยละ 0.0532 ตามลำดับ นอกจากนี้ การศึกษาผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการขนส่งต่อการเปลี่ยนแปลงด้านราคาผลผลิตพบว่า ทั้งสองสถานการณ์จำลองให้ผลที่สอดคล้องกัน กล่าวคือ สาขาการผลิตที่มีการลดลงของราคาผลผลิตมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์คอนกรีต การก่อสร้าง ผลิตภัณฑ์อโลหะ ปูนซีเมนต์ และ ประปา ซึ่งล้วนแต่เป็นสาขาการผลิตที่เป็นอุตสาหกรรมปลายน้ำของอุตสาหกรรมการผลิตปูนซีเมนต์ทั้งสิ้น ดังนั้นภาครัฐควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาระบบขนส่งทางรางและทางทะเล เพื่อกระจายผลผลิตไปยังสาขาการผลิตอื่นๆ และผู้บริโภคขั้นสุดท้ายให้มากขึ้น เพราะนอกจากจะช่วยลดต้นทุนการผลิตสินค้า แล้วยังช่วยลดการใช้พลังงานรวมของทั้งระบบเศรษฐกิจลงได้อีกด้วย


การจัดการพลังงานในอาคารเรียน กรณีศึกษา อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปนิดา ตะสิทธิ์ Jan 2017

การจัดการพลังงานในอาคารเรียน กรณีศึกษา อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ปนิดา ตะสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการจัดการพลังงานในอาคารเรียนโดยใช้ อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นกรณีศึกษา อาคาร มีพื้นที่ใช้งานทั้งหมด 22,222 ตารางเมตร มีคนใช้งาน 13,000 คนต่อวัน และทำงานในวันจันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 8.00-16.00 น. การศึกษานี้มุ่งเน้นที่ระบบปรับอากาศและระบบไฟฟ้าแสงสว่าง โดยเก็บข้อมูลการใช้งานของอุปกรณ์ไฟฟ้าและตรวจวัดประสิทธิภาพของอุปกรณ์ก่อนการปรับปรุง เพื่อหามาตรการอนุรักษ์พลังงานที่จะทำให้อาคารมีการจัดการพลังงานที่มีประสิทธิภาพ จากนั้นวิเคราะห์ผลการประหยัดพลังงานจากมาตรการที่กำหนดเพื่อหาความคุ้มค่าในการลงทุน จากผลงานวิจัยในปี 2559 อาคาร มีการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ทั้งหมด 7,152,840 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 31,336,591 บาทต่อปี และมีดัชนีการใช้พลังงานตลอดปี 322 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตร สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าทั้งหมด ประกอบด้วย ระบบปรับอากาศ 68 เปอร์เซ็นต์ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง 30 เปอร์เซ็นต์ และระบบอื่นๆ 2 เปอร์เซ็นต์ ผลการวิเคราะห์ได้มาตรการอนุรักษ์พลังงาน 3 มาตรการ ได้แก่ (1) เปลี่ยนหลอดไฟฟ้าจากหลอดฟลูออเรสเซนต์เป็นหลอด LED มีระยะเวลาคืนทุน 2.3 ปี (2) เปลี่ยนเครื่องทำน้ำเย็นใหม่ 1 เครื่อง มีระยะเวลาคืนทุน 15.1 ปี และ (3) ติดตั้งอินเวอร์เตอร์เพื่อปรับความเร็วรอบที่เครื่องสูบน้ำเย็นมีระยะเวลาคืนทุน 0.7 ปี สรุปรวมผลการจัดการการใช้พลังงานในอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ทุกมาตรการ สามารถประหยัดการใช้พลังงานไฟฟ้าในอาคารได้ 476,524 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อปี เป็นเงินที่ประหยัดได้ 2,087,174 บาทต่อปี


การประเมินทางเลือกของการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยวิธีการเรียลออปชั่น, พชรพร เพ็งอ้น Jan 2017

การประเมินทางเลือกของการลงทุนโรงไฟฟ้าขยะชุมชนขนาด 3 เมกะวัตต์ โดยวิธีการเรียลออปชั่น, พชรพร เพ็งอ้น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการวิเคราะห์ความยืดหยุ่นของปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะชุมชนและประเมินความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีปัจจัยต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป ด้วยการวิเคราะห์ผลตอบแทนจากโครงการด้วยตัวชี้วัดทางการเงินร่วมกับการจำลองสถานการณ์มอนติ คาร์โล โดยทำการศึกษาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะขนาด 3 เมกกะวัตต์ ประกอบด้วยการลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีเตาเผาขยะมูลฝอย เทคโนโลยีแก๊สซิฟิเคชั่น และเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้อากาศและการผลิตขยะเชื้อเพลิง ซึ่งมีทางเลือก 10 ทางเลือก ผลการวิจัยพบว่า การลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้อากาศ (Anaerobic digestion) และการผลิตขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) ขนาด 3 MW มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) และอัตราผลตอบแทนภายในการลงทุน (IRR) สูงที่สุด เท่ากับ 120.59 ล้านบาท และ 10.24% ผลจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหว พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าขยะชุมชนมากที่สุดคือ เงินลงทุนของแต่ละเทคโนโลยี รายได้จากการขายไฟฟ้าและรายได้จากค่ากำจัดขยะ ผลจากการจำลองสถานการณ์มอนติ คาร์โล เพื่อนำมาประเมินความเสี่ยงของโครงการและทำการวิเคราะห์หาความยืดหยุ่นของการลงทุน โดยใช้ค่าความน่าจะเป็นที่เกิดขึ้นมาเขียนเป็นแผนภูมิต้นไม้ สรุปได้ว่า ทางเลือกที่มีความยืดหยุ่นมากที่สุดคือ การลงทุนเทคโนโลยีการย่อยสลายแบบไร้อากาศ (Anaerobic digestion) และการผลิตขยะเชื้อเพลิง (Refuse Derived Fuel) ขนาด 4.5 MW มีความยืดหยุ่นเท่ากับ 366.16 ล้านบาท


การประเมินความต้องการทางเทคโนโลยีพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้าเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, วิสรรค์ ศรีอนันต์ Jan 2017

การประเมินความต้องการทางเทคโนโลยีพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้าเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, วิสรรค์ ศรีอนันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้า เพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีจุดประสงค์เพื่อจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยี/ทางเลือก เพื่อนำไปจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมสนับสนุนเทคโนโลยีพลังงานของภาคการผลิตไฟฟ้า ที่ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การศึกษานี้ใช้วิธีการวิเคราะห์ Multi-criteria Analysis (MCA) โดยให้ผู้เชี่ยวชาญในภาคการผลิตไฟฟ้า ทำการประเมินเพื่อให้คะแนนกับเทคโนโลยี/ทางเลือกพลังงาน ที่สามารถทำการประเมินได้ ซึ่งรายการเทคโนโลยี/ทางเลือก ถูกอ้างอิงจากเอกสารของ United Nations Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) และสำหรับเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประกอบด้วย 2 เกณฑ์หลัก คือ เกณฑ์ด้านความพร้อม และ เกณฑ์ด้านผลกระทบ ผลการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า เกณฑ์ด้านความพร้อมที่ทางผู้เชี่ยวชาญเล็งเห็นถึงความสำคัญมากสุด คือ ด้านการยอมรับจากสังคม ในด้านผลกระทบที่ทางผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญ คือ ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม: มลพิษทางอากาศ, มลพิษทางน้ำ, การปนเปื้อน ฯลฯ เป็นอันดับแรก และ ผลจัดอันดับเทคโนโลยีจากผู้เชี่ยวชาญพบว่า เทคโนโลยีพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นอันดับแรก และลำดับที่ 2 คือ พลังงานไฟฟ้าร่วมโดยใช้แก๊สธรรมชาติแบบทั่วไป ที่ส่งผลกระทบสูงและมีความพร้อมสูง อีกทั้งเมื่อนำกลุ่มเทคโนโลยีที่ส่งผลกระทบสูงมาวิเคราะห์ช่องว่าง ประเด็นหลักที่สำคัญคือ ต้นทุนและผลประโยชน์ และ การสนับสนุนด้านการเงิน ที่ยังต้องได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมที่มากขึ้น ทั้งนี้จึงนำไปสู่ข้อเสนอแนะนโยบายควรให้มีองค์กรหรือสถาบันวิจัยอย่างเป็นรูปธรรม ทำการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีให้กับประเทศไทยโดนเฉพาะ อีกทั้งตั้งกองทุนการสนับสนุนเทคโนโลยี รวมไปถึงกฎหมายควบคุมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการใช้เทคโนโลยีเพื่อลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก


การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ศิวพร ปรีชา Jan 2017

การประเมินความต้องการเทคโนโลยีพลังงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, ศิวพร ปรีชา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาความต้องการเทคโนโลยีพลังงานเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอุตสาหกรรมการผลิตและจัดลำดับความสำคัญของเทคโนโลยีการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อให้สอดรับกับเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามเจตจำนงของประเทศไทยที่ให้ไว้กับภาคีสมาชิกอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) ซึ่งงานวิจัยนี้กำหนดเกณฑ์การประเมินเป็นสองด้านประกอบด้วย ด้านความพร้อม (11 ประเด็น) และด้านผลกระทบ (4 ประเด็น) และอ้างอิงรายการเทคโนโลยีของภาคอุตสาหกรรมการผลิตจาก 3 กลุ่มประเภทพลังงาน คือ กลุ่มพลังงานทางเลือก/พลังงานหมุนเวียน กลุ่มเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน และกลุ่มการบริหารจัดการพลังงาน ตามเอกสารของ UNFCCC ซึ่งทำการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในภาคอุตสาหกรรมการผลิต และวิเคราะห์ด้วยวิธีการประเมินทางเลือกจากหลายเกณฑ์ (MCA) จากผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญให้ความสำคัญของเกณฑ์ด้านความพร้อมในประเด็นนโยบาย โครงสร้างพื้นฐาน รวมทั้งกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และด้านผลกระทบในประเด็นสิ่งแวดล้อมสูงที่สุด โดยผลการจัดลำความสำคัญของเทคโนโลยีพลังงานเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของภาคอุตสาหกรรมการผลิต พบว่า เทคโนโลยีระบบความร้อน ระบายอากาศ ปรับอากาศ (HVAC) เชื้อเพลิงชีวมวล/เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด/การทำความร้อนแบบรวมศูนย์ (Biomass heating, wood pellets, district heating) ระบบไฟฟ้าพลังงานร่วม (CHP) ก๊าซพลังงานสะอาดจากชีวมวล (biogas) และการประหยัดพลังงานของอุตสาหกรรมซีเมนต์ มีความพร้อมและผลกระทบสูงสุดตามลำดับ ซึ่งเทคโนโลยีดังกล่าวมีความพร้อมในประเด็นสถานการณ์ปัจจุบันของเทคโนโลยีในประเทศไทยต่ำ โดยปัจจุบันประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานและเทคโนโลยีพลังงานที่มีประสิทธิภาพจากต่างประเทศ ทำให้การกระจายตัวของเทคโนโลยีกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพและความพร้อมสูงเท่านั้น


การใช้ประโยชน์เถ้ากะลาปาล์มเป็นสารเร่งปฏิกิริยาในการผลิตไบโอดีเซล, สุเชษฐ เทพอาษา Jan 2017

การใช้ประโยชน์เถ้ากะลาปาล์มเป็นสารเร่งปฏิกิริยาในการผลิตไบโอดีเซล, สุเชษฐ เทพอาษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาการใช้ประโยชน์เถ้ากะลาปาล์มเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้ว โดยทำการทดลองที่หลากหลายสภาวะ อาทิ สัดส่วนโดยโมลเมทานอลต่อน้ำมันพืช ร้อยละโดยน้ำหนักของตัวเร่งปฏิกิริยา อุณหภูมิและเวลาที่ใช้ในการเผาเถ้ากะลาปาล์ม เป็นต้น โดยที่ทุกการทดลองใช้น้ำมันพืชปริมาณ 200 กรัม ทำปฏิกิริยาที่ 65 OC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ผลการศึกษาพบว่าตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้จากการเผาเถ้ากะลาปาล์มที่ 900 OC เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ให้ผลผลิตและคุณภาพไบโอดีเซลสูงกว่าการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้จากการเผาเถ้ากะลาปาล์มที่ 800 OC เป็นเวลา 4 ชั่วโมง นอกจากนี้ยังพบว่าสภาวะการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชใช้แล้วสำหรับการศึกษานี้ คือ การผลิตไบโอดีเซลโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่ได้จากการเผาเถ้ากะลาปาล์มที่ 900 OC เป็นเวลา 4 ชั่วโมง ปริมาณร้อยละ 1 โดยน้ำหนักน้ำมันพืชที่ใช้ตั้งต้น เติมเมทานอล 3 เท่าโดยโมลน้ำมันพืช ทำปฏิกิริยาที่ 65 OC เป็นเวลา 1 ชั่วโมง ทั้งนี้พบว่าไบโอดีเซลที่ผลิต ณ สภาวะเหมาะสมนี้ จะให้ผลผลิตไบโอดีเซลสูงถึง 85.6% และมีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกำหนดโดยกระทรวงพลังงานของประเทศไทย