Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

2019

Articles 1 - 30 of 56

Full-Text Articles in Engineering

Wind Load Analysis Of A High-Rise Building By Computational Fluid Dynamics, Canh Thiet Phung Jan 2019

Wind Load Analysis Of A High-Rise Building By Computational Fluid Dynamics, Canh Thiet Phung

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

As new buildings become taller due to limited land area, often irregular in shapes for esthetics and some design constraints, wind load formula provided in design codes/standards cannot be applied because of the limitations. Wind tunnel test (WTT) is thus the suggested approach to obtain appropriate wind load for the design of such buildings. However, WTT is costly and time-consuming as it often requires much preparation of the small-scale model of the target building, instrumentation, and numerous realistic blocks of surrounding buildings (SBs). In this study, the CFD's accuracy will be evaluated by comparing its results to WTT by a …


Impacts And Adaptive Measures For Groundwater Use In The Mekong Delta. Case Study : Tra Vinh Province, Tuan Pham Van Jan 2019

Impacts And Adaptive Measures For Groundwater Use In The Mekong Delta. Case Study : Tra Vinh Province, Tuan Pham Van

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Because of the rapid growth of population and fast economic development in the Vietnamese Mekong Delta (VMD), the surface water resources are unable to meet these demands and groundwater is also over-abstracted. Groundwater depletion and saline water intrusion become the main problems that threaten drinking water supplies, farming systems, and livelihoods in the delta, especially coastal areas. It is necessary to provide a fully comprehensive picture of groundwater use (GWU) and its impact issues In Tra Vinh Province, a coastal province of VMD, dependency on GW increases from north to south which has a strong relation with availability of freshwater …


Development Of Flotation Enhanced Stirred Tank (Fest) Process For Petroleum Hydrocarbons Removal From Drill Cuttings, Marina Phea Jan 2019

Development Of Flotation Enhanced Stirred Tank (Fest) Process For Petroleum Hydrocarbons Removal From Drill Cuttings, Marina Phea

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This work aims to develop the treatment process for the removal of total petroleum hydrocarbons (TPH) from DC by using the combination of air floatation and stirring processes, called Flotation Enhanced Stirred Tank (FEST). Initially, stirring, induced air flotation (IAF), and dissolved air flotation (DAF) are individually investigated over DC washing. Afterward, the combination process between “stirring-DAF” and “stirring-IAF-DAF” are continuously observed for finding the better conditions of TPH removal efficiency. To optimize the operational terms of the treatment process, the Design of Experiment (DOE) is applied to design the experimental conditions within the central composite design-response surface methodology (CCD-RSM). …


Municipal Solid Waste Fly Ash Washing For Cement Application, Suthatta Dontriros Jan 2019

Municipal Solid Waste Fly Ash Washing For Cement Application, Suthatta Dontriros

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Waste incineration is general solution to manage of municipal solid waste. However, large amount of municipal solid waste incineration fly ash (MSWI FA) accumulating heavy metals poses problem to the environment. One of the fundamental treatments is called solidification-stabilization of MSWI FA with cement to cap hazardous elements. Elements such as chloride and sulfate are captured in MSWI FA when it is collected in an air pollution control device causing low compressive strength of concrete. Thus, a further treatment of MSWI FA to remove these salts are required. Therefore, this study investigated MSWI FA treatment by deionized water, 0.01M and …


Balancing Mass Transit Ridership Through Land Use Development, Achara Limmonthol Jan 2019

Balancing Mass Transit Ridership Through Land Use Development, Achara Limmonthol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The utmost utility of the transit system can be supported by the balance of ridership. It is not only gaining more operational benefits but also enhancing the efficiency of the system as a whole. Transit Oriented Development (TOD) is defined as an integration between land use and transportation, which focuses on the station areas. Land use characteristics are the essential factors that affect trip generation and trip attraction. Some types of land use generate trips mainly during peak hours. Meanwhile, some other types generate trips during off-peak hours. This dissertation therefore focuses on the balancing mass transit ridership through land …


A Business Success Evaluation Of Market Entry Mode Types In Myanmar Construction, Naw Ruth Po Gay Jan 2019

A Business Success Evaluation Of Market Entry Mode Types In Myanmar Construction, Naw Ruth Po Gay

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The optimal entry mode decision and knowing the critical success factors are important for successful international market expansion. However, there are not many studies for developing Asian countries, such as Myanmar. Investors need to know what factors influence entry mode decision and business success. Therefore, the objectives of this study are 1) to identify the factors that influence entry modes decision, 2) to identify the critical success factors of entry modes for business, 3) to identify the significant factors that affect business success. The questionnaire survey using a five-point Likert scale was developed and distributed in Yangon, the commercial city …


A Study On Intermediate Debonding For Steel Beams Strengthened With Fiber Reinforced Polymer Plates, Tosporn Prasertsri Jan 2019

A Study On Intermediate Debonding For Steel Beams Strengthened With Fiber Reinforced Polymer Plates, Tosporn Prasertsri

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

There are limited previous works focusing on the occurrence of intermediate debonding in steel beams strengthened with fiber reinforced polymer (FRP) plates. Tested beams in the past experiments invoked an intermediate debonding by creating notch in steel beams. An anchorage system at FRP termination points was installed on some tested beams in literature. This research uses an initial bond defect to induce an intermediate debonding at the FRP-steel interface. The bond behavior of FRP-steel interface was investigated through the FRP-steel joints under the single lap shear testing. A four-point bending test was conducted to examine the flexural properties of FRP-strengthened …


Modified Response Spectrum Analysis For Computing Seismic Demands Of Multi-Tower Building Sharing A Common Podium, Tarek Youssef Jan 2019

Modified Response Spectrum Analysis For Computing Seismic Demands Of Multi-Tower Building Sharing A Common Podium, Tarek Youssef

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To design irregular tall buildings, performance-based design (PBD) approach, which requires nonlinear response history analysis (NLRHA), is the most accurate method. However, PBD approach is not always used in the current design practice because of its complexity, and as allowed in ASCE 7-16, design engineer can use code-based approach such as response spectrum analysis (RSA) procedure. This paper aims to investigate the accuracy of RSA procedure when applied to irregular tall buildings, and in particular for multi-tower buildings sharing a common podium. Also, a modified response spectrum analysis (MRSA) procedure previously proposed for computing shear demand in regular tall buildings, …


Seismic Enhancement Of Reinforced Concrete Columns With Lap Splices Using External Steel Collars, Pochara Kruavit Jan 2019

Seismic Enhancement Of Reinforced Concrete Columns With Lap Splices Using External Steel Collars, Pochara Kruavit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigated the behavior of reinforced concrete (RC) columns with lap splices and mechanical splices. The study conducted the full-scale test and predicted a lateral load capacity using the proposed numerical model. The test configuration was a cantilever column subjected to a cyclic lateral loading and a constant gravity load. The tested specimens consisted of the RC column without lap splices, RC columns with spliced reinforcement including lap splices and mechanical splices, and RC column with lap splices strengthened by external steel collars. The experimental result indicated that the lateral load capacity of the RC column with mechanical splices …


Analysis Of Demand On Shared Mobility Packages In University Campus, Sandar Win Jan 2019

Analysis Of Demand On Shared Mobility Packages In University Campus, Sandar Win

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Shared mobility is the emerging service and comes in various forms. In Chulalongkorn University, innovative shared mobility services such as shared bicycle (CU Bike), small electric vehicle sharing (Ha:mo) and ride sharing tricycle (Muvmi) are offered along with conventional free bus (Pop bus) circulation. This study aimed to explore the attributes of the monthly mobility package which have effect on student’s decision while offering the integrated service package for CU students. Two phases of questionnaire surveys were conducted to find out the satisfaction on existing mobility services quality, barriers that discourage students from using shared mobilities, and factors that influence …


ผลของปริมาณบอแรกซ์และเถ้าแกลบต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง, กิตติ์ จันทร์ประสิทธิ์ Jan 2019

ผลของปริมาณบอแรกซ์และเถ้าแกลบต่อสมบัติของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์จากเถ้าลอยแคลเซียมสูง, กิตติ์ จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักในการพัฒนาสมบัติของวัสดุจีโอโพลิเมอร์ที่ผสมบอแรกซ์ที่เรียกว่า “บอโรอลูมิโนซิลิเกต (BASG)” ซึ่งเป็นหนึ่งในวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนเชื่อมประสานของจีโอโพลิเมอร์ทำจากเถ้าลอยแคลเซียมสูง โซเดียมไฮดรอกไซด์ (NH) โซเดียมซิลิเกต (NS) และบอแรกซ์ ทุกส่วนผสมใช้สัดส่วนเถ้าลอยต่อทรายคงที่เท่ากับ 1:2.75 โดยน้ำหนัก ใช้อัตราส่วน NS/NH โดยน้ำหนักเท่ากับ 1:1, 0.75:1 และ 0.5:1 ใช้บอแรกซ์แทนที่ NS ในปริมาณ 0%, 10%, 20% และ 30% โดยน้ำหนัก และศึกษาการใช้เถ้าแกลบ (RHA) ในการพัฒนากำลังรับแรงและความทึบน้ำของจีโอโพลิเมอร์มอร์ต้าร์ โดยใช้ RHA ในปริมาณ 0%, 3.6%, 4.8% และ 6.0% โดยน้ำหนักของเถ้าลอย จากการทดสอบพบว่าการแทนที่ NS ด้วยบอแรกซ์ส่งผลให้ความสามารถทำงานได้และความแข็งแรงของมอร์ต้าร์ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับส่วนผสมควบคุมที่ไม่ผสม RHA พบว่า BASG มอร์ต้าร์ที่ผสม RHA มีกำลังอัด กำลังดัด และความทึบน้ำที่ดีกว่า ผลการทดสอบโครงสร้างระดับจุลภาคบ่งชี้ว่าการใส่ RHA ช่วยเพิ่มสัดส่วน Si/Al ของจีโอโพลิเมอร์เจล โดยกำลังรับแรงอัดของ BASG มอร์ต้าร์ที่ผสม RHA มีค่าสูงสุดเท่ากับ 58.6 MPa


การบริหารการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการนำ Bim มาใช้ในองค์การ Aec, รุ่งอนันต์ พระพรเพ็ญ Jan 2019

การบริหารการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการนำ Bim มาใช้ในองค์การ Aec, รุ่งอนันต์ พระพรเพ็ญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแบบจำลองธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม เทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบ (disruptive technology) ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งได้นำการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เข้ามาใช้อย่างกว้างขวาง BIM จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่องค์กรด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และก่อสร้าง (Architecture, Engineering, and Construction, AEC) นำมาใช้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงองค์กรมีความซับซ้อนเนื่องจากขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น วัฒนธรรมขององค์กร ทรัพยากรที่องค์กรมี ความพร้อมและทักษะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้เสนอแนวทางในการเปลี่ยนแปลงองค์กรซึ่งนำ BIM มาใช้ ทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองทฤษฎีถูกนำมาใช้สร้างกรอบแนวคิดเบื้องต้น ข้อมูลที่จำเป็นถูกรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 11 ท่านจากองค์กรเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษา เราสามารถแบ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ 3 รูปแบบตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างองค์กร โดยสองรูปแบบแรกเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยองค์กรตนเองเป็นหลัก ส่วนอีกรูปแบบอาศัยองค์กรที่ปรึกษาเป็นหลัก ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงองค์กร BIM ขึ้นอยู่กับ ผู้นำ BIM และวัฒนธรรมองค์กร


การพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปด้วยแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก, วรากร อิ่มรักษา Jan 2019

การพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปด้วยแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก, วรากร อิ่มรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก โดยผนังมีวัสดุแกนกลางเป็นฉนวนทำจากคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก ปิดผิวหน้าทั้ง 2 ด้านด้วยแผ่นซีเมนต์บอร์ดในลักษณะของผนังแบบแซนวิช (Sandwich panels) เพื่อให้ได้ผนังที่มีความต้านทานความร้อน ความทนไฟ และประหยัดพลังงานสูงกว่าผนังทั่วไป ในการศึกษานี้พิจารณาแผ่นผนังขนาดความกว้าง 0.60 เมตร ความสูง 2.40 เมตร และหนา 0.12 เมตร ใช้คอนกรีตความหนาแน่นต่ำมากที่มีค่าความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 200 - 300 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การพัฒนาเริ่มจากการวิเคราะห์ออกแบบด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อเสริมให้แผ่นผนังสามารถทนต่อแรงกระแทกได้เพียงพอตามมาตรฐาน จึงเพิ่มการประสานระหว่างแผ่นซีเมนต์บอร์ดด้วยก้อนลูกบาศก์คอนกรีตขนาด 0.1x0.1x0.1 เมตร3 ทาปูนกาวจำนวน 6 ก้อน กระจายรอบแผ่นผนัง จากนั้นจึงผลิตแผ่นผนังต้นแบบ ผลการทดสอบหาค่าสภาพการนำความร้อน (Thermal conductivity, k) ตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM C518 ในห้องปฏิบัติการพบว่าแผ่นผนังที่พัฒนามีค่าสภาพการนำความร้อนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าผนังประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ผลการทดสอบความแข็งแรงของผนังตามมาตรฐาน BS 5234 ได้แก่ การทดสอบความแข็งแรงของผนังโดยใช้การกระแทกด้วยวัสดุแข็งขนาดเล็ก (Small hard body impact) และผลการทดสอบความแข็งแรงของผนังโดยใช้การกระแทกด้วยวัสดุอ่อนนุ่มขนาดใหญ่ (Large soft body impact) ก็แสดงให้เห็นว่าผนังที่พัฒนาขึ้นนี้มีความแข็งแรงในระดับ Medium duty (MD) ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้งานเป็นผนังกั้นห้องในอาคารพักอาศัย สำนักงาน และอาคารพาณิชย์ทั่วไป


แบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้ยานพาหนะร่วมกัน: กรณีศึกษาผู้ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร, วีรชัย โสธนนันทน์ Jan 2019

แบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้ยานพาหนะร่วมกัน: กรณีศึกษาผู้ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร, วีรชัย โสธนนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งจะเป็นทางเลือกในเดินทางที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเป็นทางเลือกการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารที่ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างมาเป็นการใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยเจาะจงกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่ย่านศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพมหานครจำนวน 349 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงกล่าวอ้างด้วยการจำลองสถานการณ์สมมติ 6 สถานการณ์และสร้างแบบจำลองโลจิสติคทวินามบนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม Rstudio จากผลของการศึกษาพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เวลาและค่าใช้จ่ายของรถจักรยานยนต์รับจ้าง ความเต็มใจจ่ายในการใช้บริการ ระยะเวลาเดินที่ยอมรับได้ ความถี่ในการใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อสัปดาห์ การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ สำหรับตัวแปรระยะทางในการเดินทาง สถานะภาพการสมรส จำนวนรถจักรยานยนต์และจำนวนรถยนต์ในครอบครองครอบครองส่งผลเชิงลบต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยมูลค่าเวลาในการเดินทางของผู้โดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเท่ากับ 5.63 บาทต่อนาที


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ, สิทธิณัฐ ศรีน้อย Jan 2019

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ, สิทธิณัฐ ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ในการติดตามความคืบหน้าในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แทนการใช้งานเอกสารประกอบการติดตามความคืบหน้าอย่างในปัจจุบันซึ่งยากต่อการนำไปเปรียบเทียบกับสภาพงานตามจริงของโครงการ การวิจัยนี้จึงนำเสนอระบบการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างผ่านการสร้างแบบจำลองความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ซึ่งเกิดจากการดึงข้อมูลของแผนการทำงานจากโปรแกรมจัดการโครงการและแบบจำลองสามมิติจากระบบสารสนเทศอาคาร (BIM) โดยแบบจำลองความเป็นจริงเสริมที่ได้สามารถแสดงสภาพของโครงการตามแผนงานตามวันที่กำหนด จากนั้นแบบจำลองความเป็นจริงเสริมจะถูกนำมาซ้อนทับลงบนวิดีโอของสภาพงานจริงซึ่งได้จากการใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในการสำรวจโครงการ จากการทดสอบระบบการติดตามความคืบหน้าในงานวิจัยกับกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ พบว่าผลลัพธ์ที่ได้ทำให้สามารถวิเคราะห์ความคืบหน้าของงานก่อสร้างโดยการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างแบบจำลองความเป็นจริงเสริมและสภาพงานจริง ระบบจะทำการสร้างภาพเสมือนของโครงสร้างงานทางยกระดับและแสดงความก้าวหน้าซ้อนทับบนโครงสร้างจริงเพื่อแสดงความก้าวหน้าหรือล่าช้าจากแผนงาน สำหรับการวิจัยในอนาคตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์อาจนำมาใช้ร่วมกับการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์ความคืบหน้าของการก่อสร้างโดยอัตโนมัติ


แบบจำลองการตัดสินใจของรัฐเพื่อการต่อสัญญาสัมปทานโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมภายใต้ความไม่แน่นอนโดยวิธีเรียลออปชัน, อภิชัย รักประสงค์ Jan 2019

แบบจำลองการตัดสินใจของรัฐเพื่อการต่อสัญญาสัมปทานโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมภายใต้ความไม่แน่นอนโดยวิธีเรียลออปชัน, อภิชัย รักประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โครงการโครงสร้างพื้นฐานที่ใช้สัญญาร่วมลงทุน (Public Private Partnership, PPP) ที่ใกล้สิ้นสุดสัญญา กฎหมายกำหนดให้หน่วยงานของรัฐเจ้าของโครงการต้องว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวทางการดำเนินการโครงการซึ่งอาจมีได้หลายรูปแบบ โดยงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงใน 3 แนวทาง ได้แก่ (1) รัฐรับผิดชอบในการดำเนินโครงการเอง (2) รัฐต่อสัญญาโดยวิธี PPP Net Cost และ (3) รัฐต่อสัญญาโดยวิธี PPP Gross Cost สำหรับประกอบการตัดสินใจของหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบโครงการ แบบจำลองเพื่อวิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินและความเสี่ยงที่ใช้ในการศึกษา มีขั้นตอนดังนี้ (1) สร้างแบบจำลองทางการเงินของโครงการในแต่ละทางเลือก โดยใช้โครงการทางด่วนศรีรัชเป็นกรณีศึกษา (2) พยากรณ์ปริมาณจราจรและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยวิธี Double Moving Average, Standard Normal Probability และ Geometric Brownian Motion (3) วิเคราะห์ผลตอบแทนทางการเงินที่รัฐและเอกชนคาดว่าจะได้รับ โดยใช้อัตราคิดลดที่เหมาะสมกับระดับความเสี่ยงของกระแสเงินในโครงการ (4) วิเคราะห์ความอ่อนไหว เพื่อระบุตัวแปรสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนทางการเงินของโครงการ ผลที่ได้จากการวิเคราะห์พบว่า รัฐควรเลือกใช้สัญญา PPP Gross Cost ในการต่อสัญญา เพราะเป็นแนวทางที่คาดว่ารัฐจะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดในระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ และผลจากการวิเคราะห์ความอ่อนไหวพบว่า ตัวแปรเสี่ยงจราจรที่มีผลกระทบต่อผลตอบแทนทางการเงินมากที่สุด คือ ปริมาณจราจรสาย A-B ส่วนตัวแปรเสี่ยงค่าใช้จ่ายดำเนินการที่มีผลกระทบมากที่สุด คือ งานจัดเก็บค่าผ่านทาง ในการศึกษานี้จึงได้เสนอการจัดการความเสี่ยงโดยการใช้สัญญาสัมปทานระยะสั้นและใช้วิธีเรียลออปชั่นในการประเมินมูลค่าในการต่อสัญญาถัดไป เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของรัฐและภาคเอกชน


ผลของตัวกลางต่อการกำจัดซีโอดีและไนโตรเจน ในถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพเบดเคลื่อนที่, เพ็ญพนิต โพธิ์สวัสดิ์ Jan 2019

ผลของตัวกลางต่อการกำจัดซีโอดีและไนโตรเจน ในถังปฏิกรณ์ฟิล์มชีวภาพเบดเคลื่อนที่, เพ็ญพนิต โพธิ์สวัสดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาชนิดตัวกลางและปริมาณการบรรจุที่เหมาะสมต่อการเกาะของจุลินทรีย์ รวมถึงประเมินประสิทธิภาพในการบำบัดน้ำเสียของระบบบำบัดชีวภาพชนิดเบดเคลื่อนที่โดยใช้ตัวกลาง 2 ชนิดคือตัวกลางพีวีเอเจล และตัวกลางพลาสติกพีอี นอกจากนี้ยังศึกษาผลของการเติมอนุภาคเหล็กนาโนที่ส่งผลต่อการสร้างไบโอฟิล์ม โดยทดลองในถังปฏิกรณ์ที่มีระยะเวลากักเก็บ 4 ชั่วโมง ใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเตรียมจากกลูโคสที่ความเข้มข้น 500 1,000 2,000 และ 3,000 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตร มีอัตราน้ำเสียเข้าระบบ 18 ลิตรต่อวัน ผลการทดลองพบว่าปริมาณการบรรจุร้อยละ 10 20 และ 30 ของตัวกลางพีวีเอเจล มีประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ร้อยละ 86 - 89 โดยปริมาณบรรจุตัวกลางพีวีเอเจลที่ร้อยละ 20 ให้ประสิทธิภาพสูงที่สุดคือร้อยละ 89.13 ± 6.12 และมีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะเท่ากับ 425.86 ± 69.79 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตรต่อตารางเมตรต่อชั่วโมง เมื่อเปรียบเทียบชนิดตัวกลางพลาสติกพีอีกับตัวกลางพีวีเอเจล พบว่าการใส่ตัวกลางพลาสติกทั้งสองชนิดที่มีพื้นที่ผิวเท่ากันให้ประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีเฉลี่ยไม่แตกต่างกันในช่วงร้อยละ 78.62 - 80.25 (ทดสอบทางสถิติด้วยเทคนิค t-test) กรณีที่ทดลองด้วยอนุภาคเหล็กนาโน พบว่ามีประสิทธิภาพการบำบัดซีโอดีสูงขึ้นเพียงเล็กน้อย แต่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ทดสอบด้วยเทคนิค t-test) ส่วนการบำบัดไนโตรเจนในระบบชีวภาพเบดเคลื่อนที่พบว่าทุกการทดลองมีประสิทธิภาพการบำบัดทีเคเอ็นอยู่ในช่วงร้อยละ 33.88 – 38.49 ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างนัยสำคัญ (ทดสอบทางสถิติด้วยเทคนิค t-test) สำหรับการวิเคราะห์การเกาะของจุลินทรีย์บนตัวกลางด้วยเทคนิคกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราดพบว่าจุลินทรีย์จะเกาะติดเฉพาะรอบนอกของตัวกลางพีวีเอเจล และเกาะอยู่พื้นที่ช่องว่างภายในของตัวกลางพลาสติกพีอี และมีรูปร่างส่วนใหญ่ของจุลินทรีย์เป็นกลุ่มเส้นใย แต่เมื่อใช้อนุภาคเหล็กนาโนในการทดลองจะพบสัดส่วนของจุลินทรีย์รูปท่อนเพิ่มสูงขึ้น ส่วนองค์ประกอบทางเคมีของสารไบโอฟิล์มพบว่ามีสัดส่วนโปรตีนสูงกว่าคาร์โบไฮเดรตในทุกการทดลอง แต่ตัวกลางพีวีเอเจลมีความเข้มข้นของโปรตีนน้อยกว่าตัวกลางพลาสติกพีอี ดังนั้นจากการทดลองแสดงให้เห็นว่าชนิด รูปทรงของตัวกลาง และการเติมอนุภาคเหล็กนาโนส่งผลเพียงบางส่วนต่อแนวโน้มของการเกาะติดของจุลินทรีย์ แต่ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการบําบัดซีโอดีและไนโตรเจน


การปลดปล่อยคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำและไอออนจากกระบวนการดูดซับฟลูออไรด์ด้วยถ่านกระดูกและถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด, กฤษกร ศรีรังสิต Jan 2019

การปลดปล่อยคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำและไอออนจากกระบวนการดูดซับฟลูออไรด์ด้วยถ่านกระดูกและถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด, กฤษกร ศรีรังสิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดฟลูออไรด์ด้วยถ่านกระดูก (BC) และถ่านกระดูกที่ถูกกระตุ้นด้วยสารโซเดียมไฮดรอกไซด์และโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ รวมถึงศึกษาการปลดปล่อยสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำ (DOC) จากถ่านกระดูก และศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับ DOC ด้วยถ่านกัมมันต์ชนิดเกล็ด (GAC) จากการศึกษาแบบทีละเทพบว่า BC มีประสิทธิภาพในการกำจัดฟลูออไรด์มากกว่าถ่านกระดูกที่ถูกกระตุ้นด้วยสารเคมี เนื่องจากการกระตุ้นด้วยสารเคมีทำให้สารไฮดรอกซีอะพาไทต์ (HAP) ภายในวัสดุดูดซับลดลง โดยจลนพลศาสตร์และไอโซเทอมการดูดซับฟลูออไรด์ด้วย BC สอดคล้องกับสมการจลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับหนึ่งเสมือนและไอโซเทอมการดูดซับแบบเส้นตรง ขณะที่จลนพลศาสตร์และไอโซเทอมการดูดซับ DOC ด้วย GAC สอดคล้องกับสมการจลนพลศาสตร์การดูดซับอันดับสองเสมือนและไอโซเทอมการดูดซับแบบเส้นตรงและแบบเรดลิชและปีเตอร์สัน สำหรับการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของไอออน พบว่าฟลูออไรด์ ฟอสเฟต (PO43-) และแคลเซียม (Ca2+) เป็นไอออนที่เกิดการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ทั้งนี้กลไกหลักของการกำจัดฟลูออไรด์และ Ca2+ คือการแลกเปลี่ยนไอออนและการตกตะกอนจากปฏิกิริยาทางเคมี ตามลำดับ และผลจากการแลกเปลี่ยนไอออนของฟลูออไรด์ทำให้ PO43- ถูกปลดปล่อยออกสู่สารละลาย จากการศึกษาแบบคอลัมน์พบว่าการเพิ่มความสูงของชั้นวัสดุดูดซับ ส่งผลให้เวลา ณ จุดความเข้มข้นเบรกทรูเพิ่มมากขึ้นในขณะที่อัตราการใช้วัสดุดูดซับลดลง โดยกราฟเบรกทรูที่ได้จากการทดลองทั้งกรณีการดูดซับฟลูออไรด์โดยถ่านกระดูกและการดูดซับ DOC โดย GAC สอดคล้องกับแบบจำลองของโทมัส ขณะที่การปลดปล่อย DOC ของระบบคอลัมน์ BC มีค่ามากที่สุดในช่วงเริ่มต้นการทดลองและลดลงตามระยะเวลา


การดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยวัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์, จิรภิญญา โอทอง Jan 2019

การดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยวัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์, จิรภิญญา โอทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์เพื่อดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทน โดยทำการสังเคราะห์วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ (MOFs) ชนิด MIL-53(Al), ZIF-8(Zn) และ HKUST-1(Cu) ที่อุณหภูมิห้อง และนำมาผ่านกระบวนการคาร์บอนไนเซชันที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ภายในก๊าซไนโตรเจน ( carbonized MIL-53(Al), carbonized ZIF-8(Zn) และ Carbonized HKUST-1(Cu)) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในวัฏภาคน้ำ และศึกษาดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ คลอโรฟอร์ม(TCM), โบรโมฟอร์ม(TBM), โบรโมไดคลอรามีเทน (BDCM) และไดโบรโมคลอรามีเทน (DBCM) แบบทีละเทในน้ำประปา โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับกับถ่านกัมมันต์ชนิดผงเกรดการค้า (PAC) จากผลการทดลองพบว่าตัวดูดซับที่ทำการคาร์บอไนซ์มีประสิทธิภาพในการดูดซับสูงกว่าตัวดูดซับแบบปกติ carbonized MIL-53(Al) มีอัตราเร็วในการดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนทั้ง 4 ชนิดสูงกว่า carbonized MOFs อีก 2 ตัวและใกล้เคียงกับ PAC โดยจลนพลศาสตร์การดูดซับของสารไตรฮาโลมีเทนของ carbonized MIL-53(Al) และถ่านกัมมันต์ชนิดผงเกรดการค้า เป็นไปตามจลนพลศาสตร์การดูดซับลำดับที่ 2 เสมือน และเข้าสู่สภาวะสมดุลภายในระยะเวลา 40 นาที และ 60 นาที ตามลำดับ การศึกษาไอโซเทอมการดูดซับพบว่า carbonized MIL-53(Al) สามารถดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนได้ดีกว่า PAC โดยสามารถดูดสารโบรโมฟอร์มได้ดีที่สุด (TCM


การศึกษาอายุการใช้งานและผลกระทบที่ได้รับจากระบบกรองน้ำบาดาลเพื่อกำจัดฟลูออไรด์: กรณีศึกษา หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน, กิตติคุณ เสมอภาค Jan 2019

การศึกษาอายุการใช้งานและผลกระทบที่ได้รับจากระบบกรองน้ำบาดาลเพื่อกำจัดฟลูออไรด์: กรณีศึกษา หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน, กิตติคุณ เสมอภาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอายุการใช้งาน การเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงทางสุขภาพเบื้องต้น และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบกรองน้ำที่ทำการติดตั้งในหมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จากการศึกษาพบว่า น้ำขาออกจากระบบมีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำบาดาลสำหรับบริโภค ซึ่งเมื่อทำการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของผู้ได้รับผลประโยชน์ พบว่า ค่าดัชนีความเป็นอันตรายเนื่องจากฟลูออไรด์มีค่าลดลงจนถึงระดับน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ ส่วนการประเมินอายุการใช้งานของระบบการกำจัดฟลูออไรด์ และสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำด้วยระบบคอลัมน์ พบว่า ที่ความสูงของชั้นกรองที่ 25.00 ซม. อัตราการกรอง 2.30 มล./นาทีสามารถกำจัดฟลูออไรด์และสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำได้ดีที่สุด ด้วยมีระยะเวลาที่จุดเบรกทรูยาวนาน มีค่าอัตราการใช้สารกรองต่ำ และระยะเวลาการสัมผัสสารของชั้นกรองสูง และจากการทำนายอายุการใช้งานของสารกรอง ตามสมการ ของ Thomas พบว่า การกำจัดฟลูออไรด์และคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำด้วยระบบคอลัมน์ ที่ความสูงชั้นกรองที่ 25.00 ซม. อัตราการกรอง 2.30 มล./นาที สารกรองมีค่าความสามารถในการดูดซับสูงสุด และจากการศึกษาผ่านสมการ Bohart and Adam พบว่าการกำจัดฟลูออไรด์เป็นไปตามความสัมพันธ์ดังสมการ Y=429X–6.430 โดย Y คือ เวลาเบรกทรู(นาที) และ X คือ ความสูงของชั้นกรองถ่านกระดูก(ซม.)ที่อัตราการกรอง 0.01 ลบ.ม./ชม. ส่วนการกำจัดสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำ พบว่า สมการความสัมพันธ์คือ Y=50,931X–934 โดยที่ Y คือ เวลาเบรกทรู(นาที) และ X คือ ความสูงชั้นกรองถ่านกัมมันต์(ซม.) ที่อัตราการกรอง 0.01 ลบ.ม./ชม. และจากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการ พบว่า ความคุ้มค่าของโครงการกรณีภาครัฐลงทุนให้ และส่งมอบชาวบ้าน มีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ(NPV) คือ 6,448.36 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนโครงการ(B/C Ratio) 1.008 อัตราผลตอบแทนโครงการ(IRR) ร้อยละ 4.407 และระยะเวลาคืนทุน(PB) 0 ปี ส่วนกรณีชาวบ้านลงทุนด้วยตัวเองและจัดการทั้งหมด พบว่ามูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ คือ -365,822.50 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนโครงการ ร้อยละ 0.6909 อัตราผลตอบแทนโครงการ และระยะเวลาคืนทุน ไม่สามารถหาค่าได้


การดูดซับไอบูโพรเฟนโดยตัวกลางดูดซับแบบโครงข่ายโลหะสารอินทรีย์ Mil-53(Al) ที่เคลือบเมโสพอรัสซิลิกา, บุญฤทธิ์ ศิริรังสรรค์กุล Jan 2019

การดูดซับไอบูโพรเฟนโดยตัวกลางดูดซับแบบโครงข่ายโลหะสารอินทรีย์ Mil-53(Al) ที่เคลือบเมโสพอรัสซิลิกา, บุญฤทธิ์ ศิริรังสรรค์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประส่งค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสารตกค้างจากยากลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ไอบูโพรเฟน (IBP) ในนำ้เสียสังเคราะห์ โดยตัวกลางดูดซับโครงข่ายโลหะอินทรีย์ MIL-53(Al) และ MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังศึกษาเสถียรภาพของ MIL-53(Al) ในนำ้เสียสังเคราะห์ทั้งก่อนและหลังการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกา รวมถึงการศึกษาการนำตัวกลางดูดซับกลับมาใช้ใหม่ภายหลังจากฟื้นสภาพตัวกลางดูดซับด้วยเมธานอล จากผลการทดลองกระบวนการดูดซับภายใต้ระบบทีละเท พบว่า MIL-53(Al) มีอัตราเร็วในการดูดซับไอบูโพรเฟนสูงกว่าถ่านกัมมันต์ชนิดผง (PAC) โดยเข้าสู่สมดุลภายใน 75 นาที และเมื่อทำการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนต่างๆ พบว่าอัตราเร็วในการดูดซับเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยใช้ระยะเวลาในการเข้าสู่สมดุลภายใน 25 และจลนพลศาสตร์การดูดซับของตัวกลางดูดซับทั้งหมดสอดคล้องกับจลนพลศาตร์การดูดซับเสมือนลำดับที่ 2 ในขณะที่ตัวกลางดูดซับเมโสพอรัสซิลิกาเพียงอย่างเดียวไม่พบการดูดซับ โดย MIL-53(Al) มีความสามารถในการดูดซับสูงสุด เมื่อเคลือบเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนโดยโมลของ MIL-53(Al) ต่อเตตระเอธิลออร์โธซิลิเกต (TEOS) เท่ากับ 1:0.48 มีความสามารถในการดูดซับไอบูโพรเฟนสูงกว่าสัดส่วนอื่นๆ และไอโซเทอมการดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองของเรดลิช-ปีเตอร์สัน ถึงแม้ว่าการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาจะมีประสิทธิภาพในการดูดซับลดลง แต่ยังมีความสามารถในการดูดซับใกล้เคียงกับ PAC จากการศึกษาเสถียรภาพพบว่า MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกามีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นและมีการชะละลายของสารอินทรีย์และโลหะน้อยลง นอกจากนี้ MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 2 ครั้งหลังจากสกัดด้วยเมทานอล ในขณะที่ MIL-53(Al) ไม่สามารถในการดูดซับไอบูโพรเฟนได้อีกเมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งที่ 2 เนื่องจากการพังทลายของโครงสร้าง


ผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศและ ผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ, พัชราภรณ์ เที่ยงทอง Jan 2019

ผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศและ ผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ, พัชราภรณ์ เที่ยงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์และระยะเวลาเก็บกักต่ออัตราการบำบัดและ ประสิทธิภาพถังกรองไร้อากาศและผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่เตรียมจากน้ำตาลทรายซึ่งมีความเข้มข้นเริ่มต้น 1,000 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตรตลอดทั้งการทดลอง ปรับอัตราการไหลเข้าของน้ำเสีย 4 ค่า ได้แก่ 24 , 48 , 96 และ 192 ลิตรต่อวัน คิดเป็นภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.5 , 1 , 2 และ 4 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตามลำดับ และใช้ถังกรองไร้อากาศออกเป็น 4 ถังต่อแบบอนุกรมโดยให้ไหลแบบตามกัน (Plug Flow) เพื่อให้มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียตั้งแต่ 0.0625-2 วัน เดินระบบแบบไหลต่อเนื่องและควบคุมค่าพีเอชระหว่าง 7.0-7.5 ผลการทดลองพบว่าที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.5 , 1 , 2 และ 4 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียรวม 2 , 1 , 0.5 และ 0.25 วัน ตามลำดับ สามารถบำบัดสารอินทรีย์ได้ถึงร้อยละ 84.76 , 93.06 , 91.90 และ 88.58 ตามลำดับ มีค่าซีโอดีที่สามารถย่อยสลายได้เท่ากับ 861.0±30.6 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์ของปฏิกิริยาลำดับที่ 1 (k1) อยู่ที่ 18.8±2.40 วัน-1 และมีค่าซีโอดีที่ไม่สามารถบำบัดได้เท่ากับ 128.2±16.3 มิลลิกรัมต่อลิตร และพบว่าเมื่อเดินระบบร่วมกับถังกรองทรายชีวภาพที่ความลึกชั้นทราย 80 , 60 , 40 , 20 และ 0 เซนติเมตร ระบบมีค่าประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ร้อยละ 92-94 โดยถังกรองทรายชีวภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีร้อยละ 1-5 ปริมาณซัลไฟด์ในน้ำทิ้งจากถังกรองทรายชีวภาพที่ความลึกชั้นทรายต่างๆลดลงอยู่ในช่วง 16-18 มิลลิกรัมซัลไฟด์ต่อลิตร โดยที่ความลึกชั้นทราย 80 , 60 , …


การวิเคราะห์แนวทางการลดของเสีย: กรณีศึกษาของกระบวนการผลิตขวดเพท, พีรพล วงศ์บุญนาค Jan 2019

การวิเคราะห์แนวทางการลดของเสีย: กรณีศึกษาของกระบวนการผลิตขวดเพท, พีรพล วงศ์บุญนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ขวดเพทได้รับความนิยมแก่ผู้บริโภคเพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการใช้งาน แต่ในกระบวนการผลิตนั้นมักจะก่อให้เกิดของเสียพลาสติกขึ้นมา ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่วิเคราะห์จุดกำเนิดของเสียและหาข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการลดของเสียพลาสติก ในการวิจัยได้ใช้การวิเคราะห์การไหลของมวลสารเพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานของการใช้ทรัพยากร ค้นหาจุด Hot spot และนำไปสู่การประเมินแนวทางจัดการของเสียพลาสติกให้ตรงจุดมากที่สุด งานวิจัยได้ออกแบบการเก็บข้อมูลโดยการพัฒนาและออกแบบแบบฟอร์มใบรายงานการผลิต การสัมภาษณ์ การศึกษาคู่มือ ตลอดจนการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดของเสียพลาสติกจากกระบวนการเป่าขวดเพท และนำองค์ความรู้ที่รวบรวมได้ไปใช้งานจริงในการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาพบว่าแผนกฉีดพรีฟอร์มเกิดของเสียจากการเซ็ตอัพมากที่สุด แผนกเป่าขวดเพท ก่อให้เกิดของเสียประเภทอื่นๆที่อยู่นอกเหนือจากการจำแนกประเภทมากที่สุด แนวทางการลดของเสียที่แนะนำให้ดำเนินการเพื่อลดของเสียพลาสติกในภาพรวม คือ การปรับปรุงระบบสนับสนุนของกระบวนการผลิต ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบลม, ลำดับต่อมา คือ การสร้างองค์ความรู้แก่พนักงาน, การใช้เอกสารประกอบการทำงาน, สุดท้าย คือ การรักษาสภาพเครื่องจักรให้มีความสมบูรณ์ทั้งก่อนและระหว่างทำการผลิต แนวทางการปรับปรุงที่ดำเนินการสามารถทำให้ของเสียในภาพรวมลดลงได้


การสร้างและประสิทธิภาพของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน, อริยะ กาญจนโกมุท Jan 2019

การสร้างและประสิทธิภาพของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน, อริยะ กาญจนโกมุท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเม็ดตะกอนโดยใช้เวลาตกตะกอนที่แตกต่างกัน โดยใช้ถังปฏิกิริยาแบบทีละเท การทำงานของระบบเป็นรอบการบำบัด ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการเติมน้ำเสียสังเคราะห์จากซูโครสความเข้มข้นซีโอดี ในถังปฏิกิริยา 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณแอมโมเนียมคลอไรด์ 380 มิลลิกรัมต่อลิตร การเติมอากาศโดยควบคุมความเร็วการเติมอากาศ 3.5 เซนติเมตรต่อวินาที การตกตะกอน และการทิ้งน้ำโดยใช้สัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย 50% โดยไม่มีการทิ้งตะกอนและเปลี่ยนแปลงเวลาตกตะกอน 60 30 15 5 และ 2 นาที ผลการทดลองค่า MLSS เฉลี่ยที่ 30,200 31,600 26,750 15,733 และ 9,770 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่า SVIคงที่อยู่ในช่วง 13.2-19.5 มิลลิลิตรต่อกรัม มีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะคงที่ 6.29-10.81 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัม MLSS ต่อวัน ขนาดเม็ดตะกอนในระบบที่เริ่มต้นใช้เวลาตกตะกอน 60 นาที พบเม็ดตะกอนขนาดเล็กเป็นส่วนมาก ซึ่งเม็ดตะกอนดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร และเมื่อลดเวลาตกตะกอนลงเหลือ 30 15 5 และ 2 นาที เม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้น และเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ที่สุดในระบบมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร โดยมีความหนาแน่นของตะกอนจุลินทรีย์อยู่ในช่วง 1.025-1.342 g/mL ต่อมาการทดลองส่วนที่ 2 เลือกใช้เวลาตกตะกอน 15 นาที และเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย 50% 60% 70% 80% และ 90% ผลการทดลองค่า MLSSเฉลี่ยที่ 17,240, 18,590, 10,207, 7,293 และ 4,030 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่า SVI คงที่อยู่ในช่วง 19.5-27.0 มิลลิลิตรต่อกรัม มีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะคงที่ 6.29-10.39 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัม MLSS ต่อวัน …


การศึกษาการประยุกต์ใช้แผ่นยางพารารมควันเป็นยางรองใต้หมอนในทางรถไฟที่มีหินโรยทางในการใช้งานระยะยาวเพื่อลดการสึกหรอและจำนวนรอบของการซ่อมบำรุงรักษา, ศุภกร รอดการทุกข์ Jan 2019

การศึกษาการประยุกต์ใช้แผ่นยางพารารมควันเป็นยางรองใต้หมอนในทางรถไฟที่มีหินโรยทางในการใช้งานระยะยาวเพื่อลดการสึกหรอและจำนวนรอบของการซ่อมบำรุงรักษา, ศุภกร รอดการทุกข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เครือข่ายรถไฟส่วนใหญ่ในโลกเป็นทางรถไฟที่ใช้หินโรยทาง เมื่อปริมาณการจราจรสะสมมากขึ้นหินโรยทางจะเสื่อมสภาพมากขึ้นเนื่องจากมวลรวมแตก รอยขีดข่วนและการขัดสี ดังนั้นความพยายามที่จะลดการสึกหรอของหินโรยทางเพื่อลดต้นทุนการบำรุงรักษาจึงเป็นหัวข้อสำคัญสำหรับทางรถไฟและนักวิจัยจำนวนมาก ทางเลือกที่พิสูจน์แล้วว่าประสบความสำเร็จคือการใช้แผ่นรองใต้หมอนซึ่งเป็นวัสดุแบบยืดหยุ่น (USP) ระหว่างอนุภาคของหินโรยทางและหมอนรถไฟ วัสดุโพลีเมอร์สังเคราะห์ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมการรถไฟ USP หลายชนิดและสามารถลดการเสื่อมสภาพของหินโรยทางและรวมถึงการลดการสั่นสะเทือนได้ จากการศึกษาล่าสุดพบว่ายางธรรมชาติสามารถทำหน้าที่คล้ายกับ USP ได้เช่นกัน เนื่องจากยางธรรมชาติมีอยู่มากในประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจที่จะตรวจสอบประสิทธิภาพในเชิงลึกในฐานะ USP ในการศึกษานี้ USP ยางธรรมชาติได้รับการติดตั้งในการทดสอบภายใต้การจราจรที่หนาแน่นโดยใช้การทดสอบกล่องรับแรงกระทำซ้ำภายใต้สภาพฐานรากที่แข็ง ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า USP ยางธรรมชาติสามารถลดปริมาณการแตกของอนุภาคหินโรยทางลงได้อย่างมากเมื่อเทียบกับกรณีที่ไม่มี USP


อิทธิพลของสถาปัตยกรรมระบบรากและชีวกลศาสตร์รากของหญ้าแฝกต่อการเสริมกำลังดิน, ณฐพล วรกมล Jan 2019

อิทธิพลของสถาปัตยกรรมระบบรากและชีวกลศาสตร์รากของหญ้าแฝกต่อการเสริมกำลังดิน, ณฐพล วรกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในพื้นที่มรสุมเขตร้อน เช่น เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมถึงประเทศไทย มีการใช้หญ้าแฝกอย่างแพร่หลายในฐานะที่เป็นวิธีประหยัดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับการเพิ่มเสถียรภาพของลาดดินและป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ความแพร่หลายและยั่งยืนของการใช้หญ้าแฝกต่อวิศวกรรมนิเวศวิทยาเป็นผลมาจากระบบรากของหญ้าแฝกซึ่งสามารถหยั่งลึกลงไปในดินได้กว่า 3 เมตร หญ้าแฝกได้ถูกนำมาใช้หลากหลายงานในทางวิศวกรรมนิเวศวิทยาและการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม เช่น เสถียรภาพของลาดดิน ป้องกันการกัดเซาะหน้าดิน ตลอดจน การบำบัดดิน งานวิจัยนี้ศึกษาอิทธิพลของรากหญ้าแฝกต่อกำลังรับแรงเฉือนของงดิน ตัวอย่างหญ้าแฝกสายพันธุ์สงขลาสามซึ่งเป็นหญ้าแฝกลุ่มถูกเลือกมาใช้ในการศึกษา กล่องไรโซบล็อกถูกนำมาใช้สังเกตระบบสถาปัตยกรรมรากของหญ้าแฝก โดยตัวอย่างหญ้าแฝกในกล่องไรโซบล็อกจะถูกปลูกในเถ้าแกลบสีดำเพื่อการสังเกตรากได้อย่างชัดเจน จากนั้นใช้กระบวนการภาพถ่ายในการหาค่าอัตราส่วนรากด้านข้าง สำหรับเรื่องกำลังของรากตัวอย่างหญ้าแฝกจะปลูกในดินลูกรังที่มักจะพบเจอในบริเวณที่ลาดชัน ดำเนินการทดสอบแรงดึงของรากหญ้าแฝกเพื่อหาค่ากำลังรับแรงดึงและโมดูลัสของราก ในทางตรงข้ามการดำเนินการทดสอบแรงเฉือนทางตรงของตัวอย่างดินที่มีหญ้าแฝกในสภาพอิ่มตัวด้วยน้ำเพื่อหาผลการเพิ่มกำลังรับแรงเฉือนของเนื่องจากรากหญ้าแฝก หลังจากดำเนินการทดสอบในห้องปฏิบัติการเสร็จสิ้น ผลการทดสอบทั้งหมดจะถูกนำมาวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างชีวกลศาสตร์กับสมบัติทางกายภาพของรากได้ เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างกำลังรับแรงดึงหรือโมดูลัสกับเส้นผ่าศูนย์กลางและ/หรือความหนาแน่นของรากในสภาพแห้ง ตลอดจนการเพิ่มขึ้นของกำลังรับแรงเฉือนในดินเนื่องจากรากสามารถเชื่อมโยงไปที่ค่ากำลังรับดึงของราก อัตราส่วนรากด้านข้าง และชีวมวลของรากแห้ง ข้อมูลจากงานวิจัยนี้สามารถใช้สนับสนุนการใช้หญ้าแฝกสำหรับเพิ่มเสถียรภาพของลาดดินได้


ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองโดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียประเภทชักนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, วนาลี ภานุพรประพงศ์ Jan 2019

ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองโดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียประเภทชักนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, วนาลี ภานุพรประพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการซ่อมแซมตัวเองของมอร์ตาร์ที่ผสมไมโครแคปซูลของสปอร์แบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต โดยห่อหุ้มสปอร์ของแบคทีเรียด้วยโซเดียมอัลจิเนตเพื่อให้สปอร์สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของการขึ้นรูปมอร์ตาร์ได้ ปริมาณไมโครแคปซูลที่เลือกใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ 0, 0.5 และ 1.0 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ ชนิดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ มอร์ตาร์รูปทรงลูกบาศก์ ขนาด 50 มม. สำหรับทดสอบกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน และมอร์ตาร์รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรอยบากบริเวณฐาน ขนาด 280 x 177.5 x 50 มม. สำหรับทดสอบประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตก ซึ่งวัดผลจากความกว้างและพื้นที่รอยแตกด้วยกระบวนการประมวลผลภาพจากภาพถ่ายดิจิตอล จากการศึกษาพบว่าไมโครแคปซูลที่บรรจุสปอร์ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตกเพิ่มขึ้น โดยมอร์ตาร์ที่มีปริมาณไมโครแคปซูลร้อยละ 1.0 สามารถซ่อมแซมรอยแตกได้สมบูรณ์ที่รอยแตกกว้างที่สุดขนาด 0.8 มม. ภายใน 3 วันหลังจากพ่นน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของปริมาณไมโครแคปซูลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน ความพรุน และการดูดซึมน้ำของมอร์ตาร์ จากผลการทดสอบพบว่าปริมาณไมโครแคปซูลไม่ส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน ความพรุน และการดูดซึมน้ำของมอร์ตาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อเติมสารอาหารสำหรับแบคทีเรียลงในมอร์ตาร์จะส่งผลให้กำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วันของมอร์ตาร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


การหาปริมาณของเสียในการก่อสร้างจากภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ, กาญจนพจน์ ศรีสุขใส Jan 2019

การหาปริมาณของเสียในการก่อสร้างจากภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ, กาญจนพจน์ ศรีสุขใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การก่อสร้างเป็นงานที่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการต่างๆ จำนวนมาก โดยของเสียจากการก่อสร้างจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อีกทั้งการจัดการกับของเสียยังเป็นภาระต่อค่าใช้จ่ายของโครงการ จึงทำให้เกิดการละเลยต่อการจัดการอย่างเหมาะสม โครงการก่อสร้างยังไม่มีวิธีการหรือเครื่องมือที่สะดวกต่อการวัดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นในแต่ละกระบวนการหรือในแต่ละช่วงเวลา งานวิจัยนี้จึงได้นำเสนอระบบหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างโดยใช้ภาพถ่ายดิจิตอลและโมเดล 3 มิติ ระบบในงานวิจัยนี้จะถูกพัฒนาขึ้นโดยใช้วัตถุตัวอย่างที่มีปริมาตรแน่นอน โดยใช้กล้องจากโทรศัพท์มือถือและโปรแกรมในการวิเคราะห์ปริมาตรจากโมเดล 3 มิติ จากนั้นจึงนำระบบไปทดสอบกับของเสียจากการก่อสร้าง ที่นำมาจากโครงการก่อสร้างหมู่บ้านจัดสรร ประกอบไปด้วย อิฐมวลเบา อิฐแดง คอนกรีต กระเบื้องพื้น และกระเบื้องหลังคา งานวิจัยนี้ยังได้มีการพัฒนาเพื่อให้ระบบที่ออกแบบไว้สามารถหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างได้รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยใช้ภาพถ่ายจากวิดีโอ จากการวิเคราะห์ผลจากระบบพบว่าผลการทดสอบมีค่าความคลาดเคลื่อนอยู่ในค่าจำกัดของความสอดคล้องที่ 95 เปอร์เซ็นต์ ของผลลัพธ์จากกลุ่มตัวอย่าง อย่างไรก็ตามระบบยังมีข้อจำกัดในการหาปริมาณของเสีย โดยมีหลายขั้นตอนยังต้องใช้ทักษะของคนในการปรับปรุงโมเดล 3 มิติ งานวิจัยนี้เป็นประโยชน์ต่อโครงการก่อสร้างในการหาปริมาณของเสียจากการก่อสร้างเพื่อนำไปสู่การจัดการอย่างเหมาะสมกับชนิดของเสียต่อไป


การตรวจสอบภาพถ่ายรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, ชนมน จารูญนาม Jan 2019

การตรวจสอบภาพถ่ายรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก, ชนมน จารูญนาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจสอบรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กในปัจจุบัน วิศวกรหรือผู้เชี่ยวชาญจะทำการตรวจสอบโดยการร่างลักษณะและประเมินขนาดความกว้างรอยแตกร้าวเบื้องต้น ซึ่งจะต้องใช้เวลา กำลังคน และค่าใช้จ่ายสูงในการทำงาน จึงได้มีการนำเทคโนโลยีการบันทึกภาพรอยแตกร้าวนำมาปรับปรุงใช้ในการตรวจสอบอาคาร ในงานวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำเอาเทคโนโลยีการบันทึกภาพรอยแตกร้าวเข้ามาประยุกต์ใช้ในการตรวจสอบรอยแตกร้าวภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทั้งการบันทึกภาพด้วยกล้องถ่ายภาพ และการบันทึกภาพจากอากาศยานไร้คนขับหรือยูเอวี (Unmanned Aerial Vehicle: UAV) อีกทั้งยังทำการเปรียบเทียบการตรวจสอบดังกล่าวกับการตรวจสอบที่ใช้ทั่วไปคือการตรวจสอบโดยการประเมินด้วยสายตา และยังหาข้อบกพร่องในเรื่องระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสมอีกด้วย จากผลการศึกษาสามารถหาระยะการถ่ายภาพที่เหมาะสมได้ และจากการเปรียบเทียบการตรวจสอบด้วยวิธีการประเมินด้วยสายตา วิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจากกล้องถ่ายภาพ และวิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจาก UAV พบว่าวิธีการตรวจสอบภาพถ่ายจาก UAV เป็นวิธีที่มีค่าเฉลี่ยเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับความกว้างรอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นจริง เหมาะสมที่จะใช้ในการตรวจสอบภายนอกอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กต่อไป


การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน, นันทวุฒิ อินทรียงค์ Jan 2019

การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน, นันทวุฒิ อินทรียงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหากัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยมีความรุนแรงอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอ่าวไทยตอนบน ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดโคลน มีเพียงโครงสร้างที่สามารถส่งถ่ายน้ำหนักและแรงลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไปเท่านั้นที่สามารถสร้างในพื้นที่โคลนนี้ได้ การใช้โครงสร้างเสาเข็มปักลงในดินและมีชิ้นส่วนลักษณะคล้ายกำแพงในบริเวณผิวน้ำ โดยขอนิยามว่า “เขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน” อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการป้องกันพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นฐานรากอ่อน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการทำงานของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วนยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จึงเป็นเหตุให้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติคลื่นและลักษณะทางกายภาพของโครงสร้าง กับความสามารถในการสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น แบบจำลองทางกายภาพ 2 มิติถูกพัฒนาในอ่างจำลองคลื่น ภายใต้เงื่อนไขคลื่นสม่ำเสมอที่ถูกสร้างจากเครื่องกำเนิดคลื่นด้วยความชันคลื่น (Hi/L) ในช่วง 0.010 – 0.025 แบบจำลองเขื่อนกันคลื่นถูกสร้างจากเหล็กกล่องด้วยการเปลี่ยนแปลงความลึกการจมจาก 0.075 – 0.300 เมตร และช่องว่างระหว่างเสาเปลี่ยนแปลงจาก 0.5 – 1.5 เมตร ระดับน้ำนิ่งและความหนาของเขื่อนกันคลื่นทีค่าคงที่เท่ากับ 0.45 และ 0.0375 เมตร ตามลำดับ การทดลอง 120 กรณีถูกดำเนินการโดยมีวัดขนาดของความสูงคลื่นด้านหน้าและหลังโครงสร้าง แล้วคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาโครงสร้างสัมพัทธ์ (b/L), ความลึกโครงสร้างสัมพัทธ์(D/d), ปัจจัยความไม่เต็มส่วนของเขื่อนกันคลื่น​, ความลึกสัมพัทธ์ (d/L), ความสูงคลื่นสัมพัทธ์ (Hi/d) และความชันคลื่น (Hi/L) ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนของคลื่นมีค่าลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อ b/L, d/L, Hi/d หรือ Hi/L เพิ่มขึ้น แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อ D/d เพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่คลื่นล้นและไม่ล้นข้ามโครงสร้าง อีกทั้งเมื่อคลื่นล้นข้ามโครงสร้างจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนของคลื่นลดลง สำหรับผลลัพธ์ของการส่งผ่านคลื่นพบว่าการส่งผ่านคลื่นมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อ b/L, d/L, Hi/d หรือ Hi/L เพิ่มขึ้น แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อปัจจัยความไม่เต็มส่วนของเขื่อนกันคลื่นเพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่คลื่นล้นและไม่ล้นข้ามโครงสร้าง อีกทั้งค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านยังเพิ่มขึ้นเมื่อคลื่นสามารถล้นข้ามโครงสร้างได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงช่องว่างระหว่างเสาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น ในการศึกษานี้ได้พัฒนาสมการของสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นด้วยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน เพื่อสนับสนุนการออกแบบโครงสร้างในการบรรเทาปัญหากัดเซาะชายฝั่งสำหรับพื้นที่แบบหาดโคลนในอนาคต