Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2017

Articles 1 - 30 of 46

Full-Text Articles in Engineering

Quantification Of Seismic Performance Factors For Circular Concrete-Filled Steel Tube Diagrid Structures, Nattanai Kuangmia Jan 2017

Quantification Of Seismic Performance Factors For Circular Concrete-Filled Steel Tube Diagrid Structures, Nattanai Kuangmia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In 21st century, diagrid structures become more popular lateral force-resisting systems for high-rise buildings world-wide. It consists of several grids of diagonal members on building perimeter serving as both lateral bracing and vertical-load carrying members. Since the diagrid structure is a relatively new type of lateral force-resisting system, current building codes do not explicitly provide the seismic performance factors (SPFs) for this system to use in design process. This thesis aims to determine appropriate SPFs for the diagrid structure incorporating circular concrete-filled steel tube to enable structural engineers to design this system according to seismic performance expected in building codes. …


Analysis Of Near Interface Cracks By Weakly Singular Boundary Integral Equation Method, Pisit Watanavit Jan 2017

Analysis Of Near Interface Cracks By Weakly Singular Boundary Integral Equation Method, Pisit Watanavit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents a weakly singular boundary integral equation method for analysis of sub-interface cracks in a three-dimensional, linearly elastic, multi-material domain. The formulation is established in a general framework allowing finite bodies, general material anisotropy and loading conditions, arbitrarily shaped cracks, and curved material interface to be treated. A system of integral equations governing the unknown data on the boundary, the crack surface and the material interface are established using a pair of weakly singular, weak-form displacement and traction integral equations and the continuity along the material interface. A symmetric Galerkin boundary element method together with the standard finite …


Multi-Layered Elastic Medium Under Axisymmetric Loading And Surface Energy Effects, Kanin Tarntira Jan 2017

Multi-Layered Elastic Medium Under Axisymmetric Loading And Surface Energy Effects, Kanin Tarntira

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Multi-layered nano-scale structures have been found in a wide range of applications these days. Since the surface energy effect is presented at the nano-scale level, a novel calculation scheme is required to accurately capture the mechanical behaviors of such structures. In this study, a solution scheme for analysis of a multi-layered elastic medium with influence of surface energy effects subjected to axisymmetric loading by adopting Gurtin-Murdoch surface elasticity theory is presented. The standard Love's representation and Hankel integral transform are employed to derive the general solutions, and the obtained solutions are employed in the determination of the stiffness matrix for …


การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการมูลฝอยชุมชนจากสถานประกอบการ, ณัฐณิชา พุทธเกษม Jan 2017

การประเมินการลดก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการมูลฝอยชุมชนจากสถานประกอบการ, ณัฐณิชา พุทธเกษม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาแนวทางการจัดการมูลฝอยโดยเน้นการคัดแยกมูลฝอยและจัดการที่แหล่งกำเนิด เพื่อหาทางเลือกการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสมทั้งในด้านสิ่งแวดล้อมและเศรษฐศาสตร์ โดยงานวิจัยนี้ทำการศึกษาในอาคารสถานประกอบการทั้งหมด 4 แห่ง ได้แก่ ซูเปอร์มาร์เก็ต คอนโดมิเนียม คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงแรม ซึ่งมีแนวทางการจัดการมูลฝอยทั้งหมด 5 ทางเลือก ได้แก่ ทางเลือกที่ 1 การฝังกลบ ทางเลือกที่ 2 การรีไซเคิลและการฝังกลบ ทางเลือกที่ 3.1 การรีไซเคิล การผลิตก๊าซชีวภาพ และการฝังกลบ ทางเลือกที่ 3.2 การรีไซเคิล การนำเศษอาหารไปทำอาหารสัตว์ และการฝังกลบ และทางเลือกที่ 4 การรีไซเคิล การผลิตก๊าซชีวภาพ การผลิตเชื้อเพลิงมูลฝอยอัดแท่ง (RDF) และการฝังกลบ โดยในงานวิจัยนี้ใช้วิธีประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (TGO) และกลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) และคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) และประเมินความเหมาะสมทางเศรษฐศาสตร์โดยใช้การประเมินต้นทุนการบำบัดมลพิษ (Abatement cost) จากผลการศึกษาพบว่าองค์ประกอบทางกายของกรณีศึกษาซูเปอร์มาร์เก็ตพบเศษอาหารมากที่สุดร้อยละ 35 และแนวทางการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 4 สำหรับกรณีศึกษาคอนโดมิเนียมมีองค์ประกอบทางกายภาพของมูลฝอยเป็นเศษอาหารมากที่สุดร้อยละ 53.62 และการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 2 สำหรับกรณีศึกษาคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ องค์ประกอบมูลฝอยพบกระดาษมากสุดร้อยละ 33 สำหรับแนวทางการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ ทางเลือกที่ 2 และกรณีศึกษาสุดท้าย คือ โรงแรมพบองค์ประกอบมูลฝอยมีเศษอาหารมากสุดร้อยละ 29 โดยการจัดการมูลฝอยที่เหมาะสม คือ แนวทางเลือกที่ 2 จากการศึกษาสรุปได้ว่าอาคารแต่ละประเภทมีลักษณะการดำเนินกิจกรรมที่แตกต่างกัน ส่งผลให้องค์ประกอบมูลฝอยมีความแตกต่างตามไปด้วย จึงทำให้การจัดการมูลฝอยแต่ละประเภทอาคารมีลักษณะที่ไม่เหมือนกัน


Weakly Singular Boundary Integral Equation Method For Analysis Of Generalized T-Stresses Of Cracks In 3d Coupled-Field Media, Naruethep Sukulthanasorn Jan 2017

Weakly Singular Boundary Integral Equation Method For Analysis Of Generalized T-Stresses Of Cracks In 3d Coupled-Field Media, Naruethep Sukulthanasorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents the development of a weakly singular boundary integral equation method for the analysis of the generalized T-stress of isolated cracks embedded in a coupled-field whole space. A pair of weak-form integral equations, one for crack-face generalized traction and the other for the gradient of the crack-face generalized displacement, is established in a general framework allowing various types of materials including elastic, piezoelectric, piezomagnetic and piezoelectromagnetic solids, general crack geometry and loading conditions to be handled in a unified fashion. In addition, the final governing integral equations contain only weakly singular kernels and this, as a result, renders …


Study Of Liquefaction Mechanism In Chiang Rai Province, Lindung Zalbuin Mase Jan 2017

Study Of Liquefaction Mechanism In Chiang Rai Province, Lindung Zalbuin Mase

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เผชิญภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งคือ แผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางอยู่ ที่เมืองทาร์เลย์ในประเทศเมียนมาปี ค.ศ. 2011 และแผ่นดินไหว ที่อ.แม่ลาว จ.เชียงรายในปี ค.ศ. 2014 งานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาการเกิดทรายเหลวระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เริ่มจากการวิเคราะห์ด้วยสูตรเชิงประสบการณ์โดยใช้ข้อมูลในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ การศึกษาผลตอบสนองแผ่นดินไหวสามารถนำไปใช้ประเมินผลของการแผ่ขยายของคลื่นแผ่นดินไหวในชั้นดินได้ นอกเหนือจากนี้ มีการสำรวจพื้นที่ด้วยการทดสอบไมโครทริมเมอร์และการวิเคราะห์สเปกตรัมคลื่นผิวดินบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดทรายเหลวในระหว่างแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อการเกิดทรายเหลวแบบหนึ่งมิติเพื่อสังเกตพฤติกรรมพลศาสตร์ของชั้นดินพบว่า ชั้นทรายชั้นแรกและชั้นที่สองของบริเวณที่ทำการศึกษามีโอกาสการเกิดทรายเหลวค่อนข้างสูง นอกเหนือจากนี้ ผลวิเคราะห์การแผ่ขยายของคลื่นพบว่า ที่บริเวณอ.แม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา อาจเกิดความเสียหายต่ออาคารความสูงปานกลางจากการขยายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากการสั่นพ้องระหว่างดินและโครงสร้าง ส่วนผลการสำรวจพื้นที่ยังพบว่าสภาพทางธรณีวิทยาประกอบไปด้วยชั้นดินตะกอนของแม่น้ำที่มีความต้านทานต่อแรงเฉือนค่อนข้างต่ำ พฤติกรรมของดินพวกนี้ระหว่างการแผ่ขยายคลื่นน่าจะโอกาสเกิดทรายเหลวได้ง่าย การศึกษานี้น่าใช้แนะนำวิศวกรท้องถิ่นเพื่อให้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยต่อแผ่นดินไหวและการเกิดทรายเหลวในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายได้


Seismic Effects Of Cornice Projection In Masonry-Infill Reinforced Concrete Buildings In Bhutan, Tek Nath Kararia Jan 2017

Seismic Effects Of Cornice Projection In Masonry-Infill Reinforced Concrete Buildings In Bhutan, Tek Nath Kararia

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Bhutan is located in utmost active seismic zone in the belt of the Himalayan region. However, there is a prevailing architectural requirement of cornice projections away from the perimeter columns at each floor proportional to the floor level to increase floor area and retain Bhutanese architectural style. This irregular projection with thick solid brick walls resting at the edge of cantilever projection affects the structural response during a strong earthquake. To date, there is not adequate investigation on the effects of such cornice projection on seismic performance of buildings. In this study, Nonlinear Response History Analysis (NLRHA) using vertical ground …


พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้งคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปที่เสริมด้วยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค, วริศร์ ศิริโสม Jan 2017

พฤติกรรมการรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้งคอนกรีตอัดแรงสำเร็จรูปที่เสริมด้วยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค, วริศร์ ศิริโสม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การประยุกต์ใช้ชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปในงานก่อสร้างประเภทช่วงยาวให้ผลที่ดีมาก ทั้งในด้านความประหยัด คุณภาพงานที่สูง การก่อสร้างที่รวดเร็วและผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อย ในอดีตชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปแต่ละชิ้นจะเชื่อมต่อกันโดยอาศัยอีพ็อกซีเป็นตัวเชื่อมประสาน แต่การใช้อีพ็อกซีจะทำให้การก่อสร้างเสียเวลามาก ต่อมาจึงได้มีการใช้งานรอยต่อแบบแห้งขึ้น ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างน้อยกว่า อย่างไรก็ตาม รอยต่อแบบแห้งก็ยังมีข้อจำกัดในการใช้งาน นั่นคือผิวสัมผัสระหว่างชิ้นส่วนแต่ละชิ้นหรือบริเวณสลักรับแรงเฉือนไม่สามารถต่อเข้ากันได้อย่างแนบสนิทพอดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอยต่อประเภทหลายสลัก ส่งผลให้รอยต่อไม่สามารถรับแรงเฉือนได้อย่างเต็มที่ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงกำลังรับแรงเฉือนของรอยต่อแบบแห้ง โดยอาศัยแผ่นยางอีลาสโตเมอริค และได้ทำการทดสอบชิ้นส่วนตัวอย่าง เปรียบเทียบกับรอยต่อแบบแห้ง ผลการทดสอบเปรียบเทียบกำลังรับแรงเฉือนและพฤติกรรมขณะรับแรงของรอยต่อ การใช้ยางอีลาสโตเมอริคช่วยลดความเข้มข้นของความเค้นและช่วยกระจายแรงได้ดีขึ้นจากพฤติกรรมการวิบัติของสลักรับแรงเฉือนแต่มีกำลังรับแรงเฉือนน้อยกว่ารอยต่อแบบแห้งประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ ผลการปรับเปลี่ยนใช้ยางอีลาสโตเมอริค 60IRHD และ 70IRHD รอยต่อมีพฤติกรรมรับแรงคล้ายกัน และตำแหน่งการใส่ยางกับสลักรับแรงเฉือน ไม่ส่งผลต่อพฤติกรรมขณะรับแรงของรอยต่อ


การกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียจากกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการร่วมโคแอกกูเลชั่น-อัลตราฟิลเตรชัน, ชาญชนะ จิตตะโสภี Jan 2017

การกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียจากกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการร่วมโคแอกกูเลชั่น-อัลตราฟิลเตรชัน, ชาญชนะ จิตตะโสภี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์และน้ำเสียกระบวนการลอกแป้งด้วยกระบวนการโคแอกกูเลชันและกระบวนการอัลตราฟิลเตรชัน จากการศึกษากระบวนการโคแอกกูเลชันพบว่าสารสร้างตะกอน MgCl2 500 mg/L ที่ความเข้มข้นสารโพลิเมอร์ชนิดไม่มีประจุ (Poly ethylene oxide) 0.1 mg/L ที่ค่าพีเอช 8 มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอมากที่สุด เท่ากับ 21.90% และมีประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น และค่าซีโอดี เท่ากับ 12.5% และ 36.59% ตามลำดับ สำหรับน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์ 10.5 g/L และเมื่อศึกษาน้ำเสียกระบวนการลอกแป้งพบว่าปริมาณสารสร้างตะกอน MgCl2 ที่เหมาะสมเท่ากับ 1,000 mg/L มีประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอเท่ากับ 14.83% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่น และค่าซีโอดีเท่ากับ 86.60% และ 8.99% ตามลำดับ
กระบวนการโคแอกกูเลชันจึงเป็นเพียงการบำบัดขั้นต้นเพื่อลดความขุ่นก่อนเข้าสู่ระบบอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเพื่อลดการอุดตันที่ผิวเมมเบรน การศึกษาระบบอัลตราฟิลเตรชันเมมเบรนเพื่อกำจัดสารพีวีเอในน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์โดยไม่ผ่านกระบวนการโคแอกกูเลชัน พบว่าที่ความดันทรานส์เมมเบรนเท่ากับ 2 bar และที่ขนาดรูพรุน 150 kDa มีประสิทธิภาพในการกำจัดสาร พีวีเอมากที่สุดเท่ากับ 90.25% และมีประสิทธิภาพในการกำจัดความขุ่น ค่าซีโอดี เท่ากับ 70.59% และ 83.44% ตามลำดับ ที่ความเข้มข้นน้ำเสียพีวีเอสังเคราะห์ 400 mg/L เมื่อศึกษากระบวนการร่วมโคแอกกูเลชัน-อัลตราฟิลเตรชันในน้ำเสียกระบวนการลอกแป้ง โดยใช้ MgCl2 เป็นสารสร้างตะกอน จากการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการกำจัดสารพีวีเอมากที่สุด คือที่ขนาดรูพรุน 150 kDa


การพัฒนากระบวนการร่วมทางกายภาพ-เคมีเพื่อผลิตน้ำหล่อเย็นและน้ำในหม้อไอน้ำจากน้ำใต้ดิน, สุพัตรา ศรีสันต์ Jan 2017

การพัฒนากระบวนการร่วมทางกายภาพ-เคมีเพื่อผลิตน้ำหล่อเย็นและน้ำในหม้อไอน้ำจากน้ำใต้ดิน, สุพัตรา ศรีสันต์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาหนึ่งที่มักพบในการนำน้ำบาดาลมาใช้เป็นน้ำทดแทน (Makeup Water) ในระบบหล่อเย็นและหม้อไอน้ำ คือ ความกระด้างของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตะกรันในระบบ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการกำจัดความกระด้างและซิลิกาในน้ำบาดาลด้วยกระบวนการผสมผสานระหว่างกระบวนการทางเคมีและนาโนฟิลเตรชัน โดยทำการทดลองกับน้ำบาดาลสังเคราะห์ที่มีคุณภาพคล้ายกับน้ำบาดาลตัวอย่าง สารเคมีที่ใช้ในการทดลองกระบวนการทางเคมี ได้แก่ 1) ปูนขาว 2) สารส้ม 3) PACl 4) ปูนขาวร่วมกับสารส้ม และ 5) ปูนขาวร่วมกับ PACl โดยตัวแปรที่พิจารณาในการศึกษานี้ ได้แก่ คุณภาพน้ำหลังผ่านกระบวนการทางเคมี-นาโนฟิลเตรชัน และการอุดตันของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรน โดยพิจารณาจากพารามิเตอร์ ดังต่อไปนี้ 1) ค่าฟลักซ์ของน้ำสะอาดที่ถูกเทียบค่าด้วยน้ำ DI (Normality Flux, J/J0) 2) อัตราการไหลของน้ำสะอาดที่ถูกเทียบค่า (Normalized Permeate Flow, NPF) และ 3) การวิเคราะห์พื้นผิวเมมเบรนด้วย SEM-EDX ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการทางเคมี ที่ปริมาณปูนขาว 360 มก./ล. (mg/l) และ PACl 1.2x10-4 โมลอลูมินัม/ล. (mol Al/l) มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการกำจัดความกระด้างทั้งหมดและซิลิกา ทั้งนี้กระบวนการผสมผสานระหว่างกระบวนการทางเคมีและนาโนฟิลเตรชันสามารถกำจัดความกระด้างทั้งหมดและซิลิการวมได้มากกว่า 96.3±0.0 และ 70.8±0.1 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ โดยน้ำหลังผ่านการบำบัดมีความกระด้างและปริมาณซิลิกาผ่านมาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับระบบหล่อเย็นของ Japan Refrigeration and Air Conditioning Industry Association (JRA) นอกจากนี้กระบวนการทางเคมีโดยการเติมปูนขาวร่วมกับ PACl ยังช่วยลดการเกิดการอุดตันของนาโนฟิลเตรชันเมมเบรน ส่งผลให้นาโนฟิลเตรชันเมมเบรนมีอัตราการนำน้ำกลับสูงที่สุด ที่มากกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ และที่อัตราการน้ำกลับดังกล่าว %J/J0 และ %NPF ลดลง 6.0 และ 0.6 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ซึ่งผลการทดลองสอดคล้องกับผลการวิเคราะห์พื้นผิวของเมมเบรนด้วย SEM-EDX พบว่าฟาวแลนท์ที่ผิวเมมเบรนมีลักษณะเป็นคราบ ไม่เห็นเป็นผลึกที่ชัดเจน ซึ่งแตกต่างจากกรณีน้ำที่ไม่ผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งจะเห็นผลึกได้ชัดและรวมตัวเป็นชั้นหนา


Factors Affecting Building Damage And People's Preparedness For Earthquake In Chiang Rai, Narongdej Intaratchaiyakit Jan 2017

Factors Affecting Building Damage And People's Preparedness For Earthquake In Chiang Rai, Narongdej Intaratchaiyakit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

On May 5, 2014, an earthquake with a magnitude of 6.3 on the Richter scale occurred in Chiang Rai, Thailand. This earthquake was the strongest earthquake in Thailand at the Mae Lao District region. It also caused building damage and casualties. In this research, 277 participants living in village no.2 and village no.7 of Dong Mada, a sub-district at Mae Lao district in Chiang Rai, were selected. A questionnaire was used to interview these participants, and the data were analyzed by Chi-square, Fisher's exact test, a Mann-Whitney U test, and a Kruskal-Wallis test. The objective of this study was to …


Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong Jan 2017

Development Of Novel Electrocoagulation Reactor (Ecr) For Turbidity Removal And Decolorization From Textile Industry Wastewater, Penghour Hong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

High concentration of dyes together with turbidity were frequently found in the effluents of textile industry wastewater, which are the toxic substances. To remove these contaminants, the combination between electrocoagulation process (EC) and separation has been proposed in this study. The objective of this present work is to design and evaluate the new electrocoagulation reactor (ECR) for treating dye and turbidity from synthetic textile wastewater. The optimization of electrode configuration and design parameter were examined with the batch column reactor for containing 4 liters of wastewater. The result showed that monopolar arrangement within the inner gap 1.5 cm and current …


การวิเคราะห์คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ธีร์ธวัช โกยแก้วพริ้ง Jan 2017

การวิเคราะห์คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์, ธีร์ธวัช โกยแก้วพริ้ง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากำลังรับแรงของคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กโดยการวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ โดยทำการสร้างแบบจำลองคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนโดยใช้อิพอกซีและสลักเกลียวเพื่อยึดแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กด้านข้างคานทั้งสองด้าน จากนั้นวิเคราะห์ตามระเบียบวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ และเปรียบเทียบการวิเคราะห์กับผลการทดลองจากงานวิจัยในอดีต จากผลการวิเคราะห์พบว่าแบบจำลองสามารถให้ค่ากำลังรับแรงเฉือนของคานได้ใกล้เคียงกับผลการทดลอง โดยมีความคลาดเคลื่อนมากที่สุด 6% เมื่อเปรียบเทียบผลการทดลองแล้วจึงทำการศึกษาตัวแปรที่มีผลต่อกำลังรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังรับแรงเฉือนด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก ได้แก่ ความหนาของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก กำลังรับแรงอัดของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก ค่าพลังงานการแตกหัก (Gf) ของแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก จำนวนสลักเกลียว และการจัดเรียงตัวของสลักเกลียว แล้วเปรียบเทียบผลกับคานคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง จากการวิเคราะห์พบว่าการเสริมกำลังด้วยแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่มีความหนา 10 15 และ 20 มิลลิเมตร ทำให้คานสามารถรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้น 101% 106% และ 110% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก พบว่ากำลังรับแรงเฉือนมีค่าเพิ่มขึ้น 87% 101% และ 104% เมื่อกำลังรับแรงอัดของคอนกรีตมีค่าเท่ากับ 50 70 และ 90 MPa ตามลำดับ นอกจากนี้ พบว่าเมื่อแผ่นคอนกรีตเสริมเส้นใยมีค่า Gf เท่ากับ 4.04 8.82 และ 9.66 N/mm สามารถเพิ่มกำลังรับแรงเฉือน 100% 101% และ 106% เมื่อเทียบกับคานคอนกรีตที่ไม่ได้เสริมกำลัง ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนสลักเกลียว พบว่าการใช้สลักเกลียวจำนวน 4 6 8 และ 10 สลักเกลียว ทำให้กำลังรับแรงเฉือนมีค่าสูงขึ้น 71% 88% 101% และ 92% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบการจัดเรียงตัวของสลักเกลียว พบว่าการจัดเรียงตัวสลักเกลียวแบบสมมาตรทำให้คานรับแรงเฉือนได้น้อยกว่าการจัดเรียงตัวของสลักเกลียวแบบทแยง


ผลของอัตราส่วนระหว่างซิลิกาและอะลูมินาต่อการรวมตัวกันของเบดในกระบวนการแกซิฟิเคชันแบบฟลูอิไดซ์เบดของฟางข้าว, อานันท์ สีเหม่น Jan 2017

ผลของอัตราส่วนระหว่างซิลิกาและอะลูมินาต่อการรวมตัวกันของเบดในกระบวนการแกซิฟิเคชันแบบฟลูอิไดซ์เบดของฟางข้าว, อานันท์ สีเหม่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาผลของอัตราส่วนระหว่างซิลิกาและอะลูมินาต่อการรวมตัวกันของเบดในกระบวนการแกซิฟิเคชันแบบฟลูอิไดซ์เบดของฟางข้าว ทำการศึกษาที่อัตราส่วนอะลูมินาร้อยละ 0 25 50 75 และ 100 อุณหภูมิในการเกิดปฏิกิริยา 700 - 900 องศาเซลเซียส ที่อัตราส่วนสมมูล 0.2 และ 0.4 โดยวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวและองค์ประกอบของเบดที่เกิดการรวมตัวกันด้วยเทคนิคจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกนนิงและจุลวิเคราะห์ (SEM-EDX) ผลการศึกษาพบว่า อัตราส่วนอะลูมินาร้อยละ 100 ที่อุณหภูมิ 700 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการรวมตัวกันของเบดนานที่สุดที่เวลา 60 นาที แต่ขณะเดียวกันที่อัตราส่วนอะลูมินาร้อยละ 0 ใช้เวลาในการรวมตัวกันของเบดนานที่สุดเช่นกัน เมื่อทดลองที่อุณหภูมิ 800 และ 900 องศาเซลเซียส นอกจากนี้ เมื่อศึกษาผลของอัตราส่วนสมมูลต่อการรวมตัวกันของเบดพบว่า อัตราส่วนสมมูลส่งผลต่อการรวมตัวกันของเบดที่อุณหภูมิ 800 และ 900 องศาเซลเซียสเท่านั้น และจากการวิเคราะห์ลักษณะพื้นผิวและองค์ประกอบของเบดที่เกิดการรวมตัวกัน พบองค์ประกอบของ Si K และ Ca เป็นองค์ประกอบหลักตรงบริเวณจุดที่มีการเชื่อมต่อของอนุภาคเบดในทุกอัตราส่วนของอะลูมินาเบดและทุกอุณหภูมิ ซึ่งธาตุเหล่านี้เป็นองค์ประกอบของสารจุดหลอมเหลวต่ำ K2O-CaO-SiO2 ขณะที่บริเวณพื้นผิวของอะลูมินาพบองค์ประกอบของ Si K และ Ca ในปริมาณเล็กน้อย และเมื่อศึกษาก๊าซผลิตภัณฑ์ที่ได้จากกระบวนการแกซิฟิเคชันของฟางข้าว ซึ่งประกอบไปด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซไฮโดรเจนและก๊าซมีเทน พบว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้น ส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์และไฮโดรเจน ซึ่งผลจากการทดลองนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการเดินระบบระบบฟลูอิดไดซ์เบดในระดับอุตสาหกรรมได้ เพื่อลดการรวมตัวกันของเบดและช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย


การบำบัดดินปนเปื้อนอาร์เซเนตโดยใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพแรมโนลิพิดร่วมกับเฟอร์ริกคลอไรด์, วริศรา ตันติวงศ์ Jan 2017

การบำบัดดินปนเปื้อนอาร์เซเนตโดยใช้สารลดแรงตึงผิวชีวภาพแรมโนลิพิดร่วมกับเฟอร์ริกคลอไรด์, วริศรา ตันติวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดินปนเปื้อนอาร์เซเนตเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชนและความมั่นคงของระบบนิเวศ การบำบัดดินปนเปื้อนอาร์เซเนตจึงเป็นสิ่งจำเป็น งานวิจัยนี้ศึกษาการกำจัดอาร์เซเนตออกจากดินปนเปื้อนสังเคราะห์ด้วยวิธีการล้างดิน โดยใช้สารล้างดินที่มีค่าพีเอชเท่ากับ 11 จำนวน 4 ประเภท ประกอบด้วย น้ำกลั่น สารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ สารละลายแรมโนลิพิด และสารละลายแรมโนลิพิดผสมเฟอร์ริกคลอไรด์ ดินที่ทำการศึกษาเป็นดินเกรดวิเคราะห์ 2 ชนิด คือ ดินเหนียวเคโอลิไนท์และดินทรายซิลิกา ซึ่งดินทั้ง 2 ชนิด ไม่มีสารอินทรีย์เป็นองค์ประกอบและมีประจุที่ผิวดินเป็นประจุลบ โดยดินเหนียวเคโอลิไนท์และดินทรายซิลิกาสามารถดูดซับอาร์เซเนตได้ 80.10 และ 29.16 มิลลิกรัมอาร์เซเนตต่อกิโลกรัมดิน ตามลำดับ การดูดซับอาร์เซเนตและสารลดแรงตึงผิวแรมโนลิพิดของดินเหนียวเคโอลิไนท์เป็นไปตามสมการการดูดซับของฟรุนดิชไอโซเทอมและมีความเร็วในการดูดซับเป็นไปตามอัตราเร็วปฏิกริยาอันดับที่สองเสมือน ส่วนการดูดซับอาร์เซเนตและสารลดแรงตึงผิวแรมโนลิพิดของดินทรายซิลิกาเป็นไปตามสมการการดูดซับของฟรุนดิชไอโซเทอมและแลงเมียร์ไอโซเทอมตามลำดับ และมีความเร็วในการดูดซับเป็นไปตามอัตราเร็วปฏิกริยาอันดับที่สองเสมือน การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตออกจากดินปนเปื้อน พบว่า กรณีดินเหนียวเคโอลิไนท์ สารละลายแรมโนลิพิดให้ประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตได้ดีที่สุดเท่ากับร้อยละ 63.36 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 20 ชั่วโมง ตามมาด้วยสารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ น้ำกลั่น และสารละลายแรมโนลิพิดผสมเฟอร์ริกคลอไรด์ ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตเท่ากับ 59.72 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 20 ชั่วโมง และ 54.47 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 24 ชั่วโมง และ 32.56 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 16 ชั่วโมง ตามลำดับ และกรณีของดินทรายซิลิกา สารละลายเฟอร์ริกคลอไรด์ให้ประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตได้ดีที่สุด เท่ากับร้อยละ 96.63 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 4 ชั่วโมง ตามมาด้วยสารละลายแรมโนลิพิด สารละลายแรมโนลิพิดผสมเฟอร์ริกคลอไรด์ และน้ำกลั่น ซึ่งมีประสิทธิภาพการกำจัดอาร์เซเนตเท่ากับ 86.14 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 4 ชั่วโมง และ 75.18 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 8 ชั่วโมง และ 29.54 โดยมวล ที่เวลาล้างดิน 24 ชั่วโมง ตามลำดับ นอกจากนี้แม้ว่าการใช้สารละลายแรมโนลิพิดและเฟอร์ริกคลอไรด์แยกกันจะให้ประสิทธิในการกำจัดอาร์เซเนตได้ดีกว่า แต่ผลการทดลองยังพบว่าการใช้สารละลายแรมโนลิพิดผสมเฟอร์ริกคลอไรด์มีแนวโน้มที่ดีในการป้องกันไม่ให้เกิดการดูดซับอาร์เซเนตซ้ำบนผิวดิน


ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยอบเชย กานพลู ตะไคร้ และสารยูจีนอล เพื่อประยุกต์กับระบบปรับอากาศ, รุ่งระวี ทวีทุน Jan 2017

ประสิทธิภาพการยับยั้งเชื้อจุลชีพของน้ำมันหอมระเหยอบเชย กานพลู ตะไคร้ และสารยูจีนอล เพื่อประยุกต์กับระบบปรับอากาศ, รุ่งระวี ทวีทุน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันผู้คนใช้เวลาร้อยละ 87 อาศัยอยู่ภายในอาคาร (Indoor) ซึ่งอาคารในปัจจุบันโดยส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องปรับอากาศ หากมีการระบายอากาศมีมาตรการที่ไม่เหมาะสม จะทำให้มีมลพิษสะสมภายในตัวอาคาร และส่งผลต่อสุขภาพของผู้ที่อยู่อาศัยภายในอาคาร และเป็นปัจจัยส่งเสริมการเจริญของเชื้อจุลชีพได้มากยิ่งขึ้น ประเทศไทยมีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสมกับการเจริญของเชื้อจุลชีพ คือสภาวะที่มีความชื้นสูง (>60%) และอุณหภูมิที่เหมาะสม ภายในวัสดุที่มีช่องว่างหรือรูพรุน เช่น เฟอร์นิเจอร์ไม้ ผ้าม่าน พรม ฯ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของจุลชีพ นอกจากนั้นจุลชีพบางชนิดมีการสร้างสารพิษ ทำให้เกิดภูมิแพ้ โดยเฉพาะในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อราและแบคทีเรียมีโอกาสทำให้เกิดโรคติดเชื้อที่เป็นอันตรายถึงชีวิต คุณภาพอากาศภายในอาคารโรงพยาบาลจึงมีความสำคัญ การพบเห็นการเจริญของจุลชีพ บ่งบอกถึงปัญหาคุณภาพอากาศภายในอาคารได้ นอกจากนั้นโรงพยาบาลยังเป็นสถานบริการทางด้านสาธารณสุข ทำให้เป็นแหล่งรวมของทั้งผู้ป่วยที่มาด้วยโรคติดเชื้อ หรือไม่ติดเชื้อ ส่งผลให้ภายในโรงพยาบาลมีทั้งชนิดและปริมาณเชื้อที่หลากหลาย สมุนไพรไทยหลายชนิดมีความสามารถในการกำจัดและยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ เช่น อบเชย กานพลู มะนาว ส้ม ตะไคร้ จึงมีการศึกษาสารสกัดจากสมุนไพรในการยับยั้งการเจริญของจุลชีพกันอย่างแพร่หลาย บรรดาสมุนไพรในการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า อบเชย กานพลู ตะไคร้ มีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพได้ดี แต่ยังไม่มีการนำมาปรับใช้ร่วมกับระบบปรับอากาศ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านเชื้อของน้ำมันหอมระเหย 4 ชนิด โดยทำการทดสอบเบื้องต้นกับเชื้อรามาตรฐาน Candida parapsilosis ATCC220019 และนำมาทดสอบกับเชื้อจุลชีพที่คัดแยกได้ในธรรมชาติ พบว่าน้ำมันหอมระเหยกานพลูมีผลในการยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ดีที่สุดในสภาวะของเหลว โดยที่ความเข้มข้นร้อยละ 4 สามารถยับยั้งการเจริญของจุลชีพได้ทุกชนิดที่นำมาทดสอบ ในสภาวะไอระเหยพบว่าน้ำมันหอมระเหยตะไคร้หอมที่ร้อยละ 20 สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อได้ดีที่ระยะเวลา 24 ชั่วโมง เมื่อนำมาประยุกต์กับตู้ทดลองที่มีพัดลมหมุนเวียนอากาศพบว่าต้องเพิ่มความเข้มข้นข้นถึงร้อยละ 40 ถึงจะสามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อจุลชีพได้


Optimum Patch Design For Repairing Cracked Steel Plates Using Genetic Algorithm, Bach Kim Do Jan 2017

Optimum Patch Design For Repairing Cracked Steel Plates Using Genetic Algorithm, Bach Kim Do

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research presents a design optimization process that combines the finite element (FE) method, genetic programming (GP), and optimization solvers, i.e., genetic algorithm (GA) and nonlinear programming, for double-sided fiber-reinforced polymer (FRP) patches used to repair center-cracked steel plates under tension fatigue. An optimization statement is to minimize the patch volume and reduce the stress intensity factor (SIF) range at crack tips below the fatigue threshold range. A detailed three-dimensional (3D) FE model of patch-repaired cracked plates is developed to compute SIF. A total of 864 FE models of patch-repaired cracked plates with different combinations of design parameters are then …


Roles Of Dissimilatory Nitrate Reduction To Ammonium In Biological Nitrogen Removal System, Pokchat Chutivisut Jan 2017

Roles Of Dissimilatory Nitrate Reduction To Ammonium In Biological Nitrogen Removal System, Pokchat Chutivisut

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Biological nitrogen removal system is a wastewater treatment process that normally utilizes nitrification-denitrification to convert nitrogen wastes to unharmful gaseous products. However, apart from these two pathways, dissimilatory nitrate reduction to ammonium (DNRA) can also compete with denitrification for nitrate and yield ammonium waste as the end product. The aim of this research is to extend knowledge on the DNRA pathway, including the study on its occurrence and microorganisms responsible for the process. To observe the presence of DNRA, microbial sludge from aquacultures which utilized biological nitrogen removal processes was applied to examine the pathway of DNRA in these systems. …


Study Of Gas-Liquid Absorption In Terms Of Bubble-Fluid Hydrodynamic And Mass Transfer Parameter: Liquid Phase And Gas Phase, Prajak Sastaravet Jan 2017

Study Of Gas-Liquid Absorption In Terms Of Bubble-Fluid Hydrodynamic And Mass Transfer Parameter: Liquid Phase And Gas Phase, Prajak Sastaravet

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focus on study the effect of continuous system on the bubble hydrodynamic and mass transfer parameters (Qg, QL, DBd, UBd a, kL and kLa). The experiment were set up in a cylindrical acrylic column with 0.15 m inside diameter and 1 m in height. ILALR was setup an acrylic plate for liquid recirculation. Moreover, mass transfer determination, liquid phase was removed dissolved oxygen by using sodium sulphite (Na2SO3). The bubble hydrodynamic mechanisms are investigated by the high speed camera (100 images/sec) and image analysis program is used to determine the bubble hydrodynamic parameters. The bubbles are generated by …


Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng Jan 2017

Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to investigate the effect of ion contaminations and operating conditions on Electro Coagulation (EC) and Oxidation (EO) in turbidity and natural organic matter (NOM) removal. The experiments were conducted in 4 liters column. Ferrous and calcium were chosen as contaminated ions. The operating condition was varied in terms of initial pH and current density. 100 NTU turbidity and 70 mg/L NOM were synthesized from bentonite and humic acid (HA), respectively. The results showed that bipolar arrangement of electrodes with 2 cm gap was the optimal condition in terms of gas flow rate and electrode …


การกำหนดแนวทางของไทยเพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้าน, ฐิฏิพัศถ์ ทรัพย์สอาด Jan 2017

การกำหนดแนวทางของไทยเพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้าน, ฐิฏิพัศถ์ ทรัพย์สอาด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการทบทวนและวิเคราะห์แนวทางการให้ความช่วยเหลือโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศพม่า, สปป.ลาวและกัมพูชาที่รัฐบาลไทยได้ให้การสนับสนุน โดยได้ศึกษาข้อมูลหลักเกณฑ์ของโครงการที่ให้ความช่วยเหลือ, ข้อมูลการจัดลำดับความสำคัญของโครงการ รวมถึงการพิจารณาการประเมินความช่วยเหลือ จากรายงานต่างๆและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการให้ความช่วยเหลือจากทั้งหน่วยงานในไทยและต่างประเทศ หลังจากนั้นจึงสรุปภาพรวมโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งที่ทำการคัดเลือก และการสัมภาษณ์เชิงลึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงการวิเคราะห์เชิงลึกโครงการตัวอย่างทั้ง 7 โครงการ พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นหลัก ได้แก่ การพิจารณาเป็นรายโครงการโดยไม่ได้มองภาพรวมของอนุภูมิภาค การเน้นก่อสร้างโครงการใหม่มากกว่าบำรุงเส้นทางเดิม การขาดความร่วมมือแบบพหุภาคีกับประเทศผู้ให้ทุนอื่นๆ รวมถึงความช่วยเหลือที่เน้นความสัมพันธ์ระหว่างประเทศมากกว่าประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ อีกทั้งยังขาดการใช้มาตรฐานในระดับสากลโดยเฉพาะด้านสิ่งแวดล้อม และขาดการวางแผนการบำรุงรักษาโครงการเมื่อสร้างแล้วเสร็จ จากปัญหาข้างต้น งานวิจัยนี้ได้เสนอให้ไทยต้องกำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมเพื่อส่งผลประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทยและอนุภูมิภาค โดยเสนอให้มีการประยุกต์มาตรฐาน OECD/DAC เพื่อตรวจสอบโดยมีการประเมินหลักเกณฑ์แบ่งเป็น 5 ด้านคือ 1) ความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 2) ด้านประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโครงการและงบประมาณ 3) ด้านประสิทธิผลโดยดูผลประโยชน์ของการลงทุนต่อเงินทุน 4) ด้านสิ่งแวดล้อม เสนอให้ใช้มาตรฐานสากลเพื่อป้องกันปัญหาระยะยาว และ 5) ด้านความยั่งยืน เสนอให้มีข้อกำหนดในสัญญาเกี่ยวกับการดูแลและรับผิดชอบโครงการ เพื่อให้โครงการมีประสิทธิภาพตลอดการใช้งาน นอกจากนี้ยังมีข้อเสนอแนะอื่นๆ ที่ประเทศไทยควรใช้เพื่อพิจารณาประเมินโครงการความช่วยเหลือด้านการคมนาคมขนส่งในประเทศเพื่อนบ้านในอนาคต


การย่อยสลายของวัสดุภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในหลุมฝังกลบที่รับขยะเศษอาหาร, ปาณิศา ศิริบุรมย์ Jan 2017

การย่อยสลายของวัสดุภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในหลุมฝังกลบที่รับขยะเศษอาหาร, ปาณิศา ศิริบุรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทำการศึกษาการย่อยสลายของวัสดุที่ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารแบบใช้แล้วทิ้งในสภาวะมีและไร้ออกซิเจนในช่วงเวลา 90 วัน รวมถึงผลการสลายตัวของวัสดุดังกล่าวต่อกระบวนการภายในถังปฏิกรณ์หลุมฝังกลบ ในช่วงเวลา 120 วัน แบ่งการทดลองออกเป็น 4 ชุด ได้แก่ ชุดควบคุม ชุดวัสดุกระดาษ ชุดวัสดุพอลิสไตรีนโฟม และชุดวัสดุพลาสติกชีวภาพชนิดพีแอลเอ โดยทำการหมักร่วมกับขยะเศษอาหาร ผลการศึกษาพบว่าการสูญเสียน้ำหนักเป็นตัวชี้วัดที่สามารถใช้เปรียบเทียบการย่อยสลายในสภาวะมีและไร้ออกซิเจนของวัสดุกระดาษและวัสดุพลาสติกชีวภาพพีแอลเอได้ โดยกระดาษมีการสูญเสียน้ำหนักใกล้เคียงกันในทั้งสองสภาวะ ค่าสัมประสิทธิ์การย่อยสลายของกระดาษ (K) เท่ากับ 0.005 และ 0.003 ต่อสัปดาห์ ในสภาวะมีออกซิเจนและไร้ออกซิเจนตามลำดับ ส่วนพีแอลเอเกิดการสูญเสียน้ำหนักในปริมาณและความเร็วที่ใกล้เคียงกันในทั้งสองสภาวะโดยสัมประสิทธิ์การย่อยสลาย (K) ของสภาวะมีและไร้ออกซิเจนเท่ากับ 0.0006 และ 0.0007 ต่อสัปดาห์ตามลำดับ ส่วนโฟมไม่สามารถหาค่าสัมประสิทธิ์การย่อยสลายของวัสดุพอลิสไตรีนโฟม (K) ได้ เนื่องจากข้อมูลมีความแปรปรวนสูง จากปัจจัยภายนอกที่ไม่สามารถควบคุมได้ สำหรับลักษณะทางกายภาพพบว่าการเสียหายของวัสดุโฟมในสภาวะมีออกซิเจนมากจากความเข้มข้นของกรดอินทรีย์ที่สูงกว่าสภาวะไร้ออกซิเจนถึง 4 เท่า โดยกรดอินทรีย์มีผลต่อความคงทนของพอลิสไตรีน สำหรับผลการศึกษาของวัสดุต่างๆต่อกระบวนการภายในถังปฏิกรณ์หลุมฝังกลบพบว่าประเภทวัสดุส่งผลต่อการยุบตัวของขยะ สมบัติน้ำชะ และการเกิดแก๊สชีวภาพ โดยถังชุดควบคุมเกิดการยุบตัวมากที่สุดตามด้วยถังชุดวัสดุกระดาษ ถังชุดวัสดุพอลิสไตรีนโฟม และถังชุดพลาสติกชีวภาพพีแอลเอที่ร้อยละ 43.42 40.79 34.29 และ 26.07 ตามลำดับ สอดคล้องกับปริมาณน้ำที่คงค้างในถังโดยในชุดควบคุมน้อยที่สุด ทั้งนี้พบว่าการกระจายน้ำส่งผลต่อการย่อยสลายในหลุมฝังกลบโดยถังที่มีวัสดุบรรจุอยู่เกิดการย่อยสลายได้ช้ากว่าและมีปริมาณน้ำคงค้างสูงกว่า ส่วนผลการย่อยสลายต่อชี้วัดของน้ำชะขยะและแก๊สชีวภาพพบว่าวัสดุมีผลโดยอ้อมกล่าวคือวัสดุสามารถขัดขวางการไหลของน้ำทำให้การกระจายน้ำต่ำ และปฏิกิริยาการย่อยเกิดได้ไม่เป็นไปตามทฤษฎี


Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng Jan 2017

Effect Of Operating Conditions And Ion Contaminations On Electro Coagulation And Oxidation Processes For Water Quality Improvement, Vouchlay Theng

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objective of this study is to investigate the effect of ion contaminations and operating conditions on Electro Coagulation (EC) and Oxidation (EO) in turbidity and natural organic matter (NOM) removal. The experiments were conducted in 4 liters column. Ferrous and calcium were chosen as contaminated ions. The operating condition was varied in terms of initial pH and current density. 100 NTU turbidity and 70 mg/L NOM were synthesized from bentonite and humic acid (HA), respectively. The results showed that bipolar arrangement of electrodes with 2 cm gap was the optimal condition in terms of gas flow rate and electrode …


Travel Time Estimation And Prediction For Urban Arterial Roads, Porntep Puangprakhon Jan 2017

Travel Time Estimation And Prediction For Urban Arterial Roads, Porntep Puangprakhon

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Travel time information has been accepted as the core of advanced traveler information systems (ATIS) and advanced traffic management systems (ATMS). Providing the accurate travel time information to traffic operators and travelers allows them to make informed decisions, leading to more advantage for individual road users and the entire transportation system. Most of the traffic information providers normally deliver the current traffic conditions or current travel times to public assuming the state of traffic remains constant in the near future. Aimed at the more effective applications, short-term future traffic conditions have been proposed as a valuable piece of information in …


Life-Cycle Reliability Assessment Of Existing Rc Bridge Structures Under Multiple Hazards Using Inspection Data, Thanapol Yanweerasak Jan 2017

Life-Cycle Reliability Assessment Of Existing Rc Bridge Structures Under Multiple Hazards Using Inspection Data, Thanapol Yanweerasak

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This study presented a novel methodology to estimate the life-cycle reliability of existing reinforced concrete (RC) corroded bridges under multiple hazards. The life-cycle reliability of a bridge girder under traffic load and airborne chloride hazards was compared with that of a bridge pier under seismic ground motion and airborne chloride hazards. When predicting the life-cycle reliability of existing RC corroded bridges, inspection results could be used to estimate the current material corrosion level. Random variables associated with the estimation of time-variant steel weight loss will be updated to be consistent with the given inspection results by using Sequential Monte Carlo …


การบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในลุ่มน้ำแม่กลอง, เพ็ญนภา พีรวงศ์สกุล Jan 2017

การบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาระบบเศรษฐกิจในลุ่มน้ำแม่กลอง, เพ็ญนภา พีรวงศ์สกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ลุ่มน้ำแม่กลองเป็นลุ่มน้ำที่สำคัญในภาคตะวันตกของประเทศไทย มีเขื่อนขนาดใหญ่วางขนานกันจำนวน 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนศรีนครินทร์ และเขื่อนวชิราลงกรณ โดยทางด้านล่างมีเขื่อนทดน้ำอีกจำนวน 2 เขื่อน ได้แก่ เขื่อนท่าทุ่งนา และเขื่อนแม่กลอง สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อส่งเข้าระบบในช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุดของภาคกลาง และภาคตะวันตกได้อย่างดี โดยในปัจจุบันพบว่าในปีน้ำปกติลุ่มน้ำแม่กลองมีปริมาณน้ำมากกว่าความต้องการใช้น้ำ สามารถผันน้ำเข้าช่วยเหลือโครงการชลประทานบริเวณลุ่มน้ำท่าจีน ผันน้ำเพื่อผลิตน้ำประปาที่โรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ และผันน้ำเพื่อช่วยผลักดันน้ำเค็มทางตอนล่างของลุ่มน้ำ แต่ในปีน้ำน้อยพบว่าลุ่มน้ำแม่กลองมีการขาดแคลนน้ำในลุ่มน้ำเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรม ขาดแคลนน้ำผลักดันน้ำเค็มท้ายลุ่ม และรวมถึงปัญหาปริมาณน้ำในเขื่อนต่ำจนไม่สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ ในปัจจุบันเขื่อนทั้ง 4 เขื่อนในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำแม่กลองนั้น มีการบริหารจัดการน้ำที่เป็นอิสระต่อกัน ทั้งที่อ่างเก็บน้ำเหล่านั้นเชื่อมต่อกันด้วยแม่น้ำแควใหญ่ และแม่น้ำแควน้อย ซึ่งสามารถบริหารจัดการน้ำร่วมกันเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดภายใต้ข้อจำกัดที่มี วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้คือการพัฒนาแบบจำลองการบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำ (multi - reservoir) โดยการหาแนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมกับเป้าหมาย (objective function) ภายใต้เงื่อนไขการพัฒนาเศรษฐกิจของลุ่มน้ำ ในการวิจัยนี้ได้ศึกษาความสัมพันธ์ความสัมพันธ์ระหว่างตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิต (Input - Output Table) และความต้องการใช้น้ำ ของ 3 ภาคส่วนเศรษฐกิจ ได้แก่ ภาคส่วนเกษตรกรรม ภาคส่วนอุตสาหกรรม และภาคส่วนบริการ ซึ่งเป็นวิธีการใหม่ในการพิจารณามูลค่าของน้ำ สามารถหาผลประโยชน์ทั้งทางตรง ทางอ้อม และกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานอุปสงค์ของระบบเศรษฐกิจตามความต้องการใช้น้ำของแต่ละภาคส่วนได้ โดยแบบจำลองของระบบอ่างเก็บน้ำลุ่มน้ำแม่กลองเป็นปัญหาแบบไม่เป็นเชิงเส้นจํานวนผสม (MINLP) การศึกษานี้ได้พัฒนาแบบจำลองการบริหารจัดการระบบอ่างเก็บน้ำในโปรแกรม GAMS ใช้โปรแกรมแก้ปัญหาสำร็จรูป BONMIN โดยจะพิจารณาการบริหารจัดการน้ำในปี พ.ศ. 2556 - 2557 ซึ่งเป็นปีน้ำปกติ และน้ำน้อยตามลำดับ มีสมการเป้าหมาย (objective function) ที่พิจารณาผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ของน้ำที่ส่งไปให้ใช้ประโยชน์ดังนี้ น้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่อการประปาโรงผลิตน้ำมหาสวัสดิ์ น้ำเพื่อภาคอุตสาหกรรมในลุ่มน้ำ น้ำเพื่อภาคบริการในลุ่มน้ำ และพลังงานไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำจากเขื่อนที่พิจารณา จากการศึกษาพบว่าการบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำร่วมกันสามารถลดการขาดน้ำของภาคเกษตรได้ถึงร้อยละ 80 สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำได้มากขึ้นร้อยละ 0.70 และสามารถเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบกับการบริหารจัดการจริงได้ถึงร้อยละ 10.10 ในปีน้ำปกติ ส่วนในปีน้ำน้อยสามารถลดการขาดน้ำของภาคเกษตรได้ถึงร้อยละ 58.56 สามารถผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำได้มากขึ้นร้อยละ 16.15 และสามารถเพิ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐศาสตร์ได้ถึงร้อยละ 4.36


การประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตโดยวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, กานต์ จันทร์ประสิทธิ์ Jan 2017

การประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมรอยร้าวคอนกรีตโดยวิธีการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์, กานต์ จันทร์ประสิทธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นการประเมินคุณสมบัติของการซ่อมแซมรอยร้าวด้วยวิธีการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์ หรือวิธีเอ็มไอซีพี (Microbially induced calcium carbonate precipitation; MICP) โดยใช้แบคทีเรียชนิดบาซิลลัส สฟีรีคัส สายพันธุ์ ATCC22257 ซึ่งเป็นแบคทีเรียในกลุ่มที่สามารถตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตได้ การเตรียมสารเคมีทำโดยการแยกสารละลายออกเป็น 2 ส่วน ประกอบไปด้วย ยูเรีย และสารละลายซึ่งมีส่วนผสมของเชื้อจุลินทรีย์ แคลเซียมคลอไรด์ และสารอาหารสำหรับเชื้อแบคทีเรีย ในการซ่อมแซมคอนกรีตนั้นจะใช้การหยอดสารเคมีทุก 24 ชม. เป็นเวลา 20 วัน ในการศึกษานี้จะเตรียมตัวอย่างมอร์ตาร์ขนาด 15 ลบ.ซม. โดยตัวอย่างที่มีรอยร้าวจะเตรียมโดยใช้แผ่นทองแดงความหนา 0.4 มม. ใส่ไว้ที่ความลึก 2 ซม. ระหว่างการหล่อก้อนตัวอย่าง ทำการประเมินประสิทธิภาพของการซ่อมแซมด้วย 1) การวัดขนาดของรอยร้าวโดยใช้เลนส์ขยายขนาด 40 เท่าด้วยกล้องถ่ายรูปโทรศัพท์มือถือ 2) การทดสอบค่ากำลังรับแรงอัด 3) การทดสอบความสามารถในการซึมผ่านของน้ำ และ 4) การวัดคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิค โดยเปรียบเทียบผลการประเมินระหว่างตัวอย่างควบคุม ตัวอย่างที่มีรอยร้าว และตัวอย่างที่ซ่อมแซม ผลการทดลองพบว่าขนาดของรอยร้าวลดลงอย่างรวดเร็วหลังจากทำการซ่อมแซมไปทั้งสิ้น 6 วัน และการเปลี่ยนแปลงขนาดรอยร้าวเริ่มคงที่เมื่อผ่านไป 12 วัน โดยหลังทำการซ่อมแซมทั้งสิ้น 20 วัน พบว่าสามารถลดขนาดรอยร้าวได้ถึงร้อยละ 84.87 ซึ่งสอดคล้องกับการวัดค่าความเร็วคลื่นความถี่อัลตร้าโซนิคที่ส่งผ่านตัวอย่าง โดยความเร็วคลื่นความถี่หลังผ่านการซ่อมแซมมีค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 82.06 อีกทั้งหลังการซ่อมแซมพบว่าค่ากำลังรับแรงอัดเพิ่มขึ้นกว่าตัวอย่างแบบมีรอยร้าวร้อยละ 27 และคิดเป็นร้อยละ 89.4 จากตัวอย่างแบบไม่มีรอยร้าว นอกจากนั้นหลังการซ่อมแซมยังพบว่าระยะการซึมของน้ำลดลงจากตัวอย่างที่มีรอยร้าวร้อยละ 27.21 และมากกว่าตัวอย่างแบบไม่มีรอยร้าวร้อยละ 108.86 จึงสรุปได้ว่าการซ่อมแซมโดยวิธีวิธีการชักนำให้เกิดตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนตด้วยจุลินทรีย์นั้นสามารถใช้เป็นทางเลือกสำหรับการซ่อมแซมรอยร้าวได้


การนำของเสียเบนโทไนท์มาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นวัสดุกันซึมในหลุมฝังกลบขยะ, ณัฐวรรณ สมรรคนัฏ Jan 2017

การนำของเสียเบนโทไนท์มาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นวัสดุกันซึมในหลุมฝังกลบขยะ, ณัฐวรรณ สมรรคนัฏ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการขุดเจาะใต้ผิวดินทำให้เกิดของเสียจากการขุดเจาะขึ้นในปริมาณมาก เรียกว่า ของเสียเบนโทไนท์ ทั้งนี้หน่วยงานขุดเจาะใต้ผิวดินต้องเสียค่าใช้จ่ายในการนำของเสียเบนโทไนท์ไปกำจัดโดยการถมในพื้นที่ที่ได้รับอนุญาต อีกทั้งพบว่าตัวอย่างของเสียเบนโทไนท์ที่ทำการศึกษาเป็นของเสียไม่อันตราย เนื่องจากค่าการชะละลายของโลหะหนัก คือ ปริมาณของโครเมียม (Cr) นิกเกิล (Ag) สารหนู (As) แคดเมียม (Cd) และตะกั่ว (Pb) ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ. 2548 และมีแอคทีฟเบนโทไนท์ร้อยละ 9.16 โดยน้ำหนักแห้ง งานวิจัยนี้จึงศึกษาการนำของเสียเบนโทไนท์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ และยังเป็นการลดปริมาณของเสียจากกระบวนการขุดเจาะที่ต้องนำไปกำจัด ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการกำจัดของเสีย โดยนำของเสียเบนโทไนท์มาปรับปรุงสภาพดินทรายปนร่วนเพื่อใช้เป็นวัสดุกันซึมในการก่อสร้างสถานที่ฝังกลบขยะมูลฝอย จากการทดสอบอัตราส่วนแอคทีฟเบนโทไนท์ในของเสียเบนโทไนท์กับดินทรายปนร่วนร้อยละ 0 3 6 และ 9 โดยน้ำหนักแห้ง พบว่าการเพิ่มขึ้นของแอคทีฟเบนโทไนท์จะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านลดลง การบวมตัวเพิ่มขึ้น ทั้งนี้การเพิ่มขึ้นของแอคทีฟเบนโทไนท์ในปริมาณเล็กน้อยจะทำให้ค่ากำลังรับแรงเฉือนเพิ่มขึ้น แต่เมื่อปริมาณของแอคทีฟเบนโทไนท์เพิ่มมากเกินไป ค่ากำลังรับแรงเฉือนจะลดลง ผลการทดสอบพบว่าอัตราส่วนแอคทีฟเบนโทไนท์ในของเสียเบนโทไนท์อยู่ที่ร้อยละ 6 โดยน้ำหนักแห้ง เป็นอัตราส่วนที่เหมาะสมที่สุดในการผลิตวัสดุกันซึม เนื่องจากให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของน้ำมีค่าเท่ากับ 7.12 ×10-8 เซนติเมตรต่อวินาที ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ยอมรับได้ที่ไม่เกิน 1×10-7 เซนติเมตรต่อวินาที ของ U.S.EPA และมีกำลังต้านทานต่อแรงเฉือน 269.69 กิโลนิวตันต่อตารางเมตร และบวมตัวร้อยละ 0.31 ของความสูงเดิม ซึ่งไม่ส่งผลกระทบต่อกระบวนการก่อสร้างหลุมฝังกลบขยะ แต่เมื่อมีการทดสอบการซึมผ่านด้วยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ สารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ และสารละลายกรดอะซิติก จะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่านของวัสดุกันซึมจะมีค่าที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับการทดสอบด้วยน้ำปราศจากไอออน


การกำจัดสารกลุ่มฮาโลอะซิโตไนไตรล์ด้วยถ่านกัมมันต์ที่ทำการต่อติดกับอนุภาคเหล็กขนาดนาโน, ต่อศักดิ์ นวนิล Jan 2017

การกำจัดสารกลุ่มฮาโลอะซิโตไนไตรล์ด้วยถ่านกัมมันต์ที่ทำการต่อติดกับอนุภาคเหล็กขนาดนาโน, ต่อศักดิ์ นวนิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการปรับปรุงถ่านกัมมันต์ชนิดผง (PAC) และชนิดเกล็ด (GAC) โดยการต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโน (NZVI) บนพื้นผิว และศึกษาผลกระทบของการต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโนต่อประสิทธิภาพและกลไกการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ล 5 ชนิด ( HANs ) ได้แก่ โมโนคลอโรอะซิโตไนร์ล (MCAN) ,โมโนโบรโมอะซิโตไนไตร์ล (MBAN) ,ไดคลอโรอะซิโตไนไตร์ล ( DCAN) ,ไดโบรโมอะซิโตไนไตร์ล (DBAN) และ ไตรคลอโรอะซิโตไนไตร์ล ( TCAN ) ที่ช่วงความเข้มข้นต่ำ ( 0-500 ไมโครกรัมต่อลิตร ) ที่พีเอช 7 และค่าความแรงประจุ 0.01 โมลาร์ ผลการวิเคราะห์คุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของตัวกลางดูดซับพบว่า การต่อติด NZVI บนพื้นผิวของ GAC และ PAC ส่งผลทำให้รูพรุนของถ่านกัมมันต์เกิดการอุดตัน พื้นที่ผิวภายในตัวกลางดูดซับและปริมาตรรูพรุนของตัวกลางดูดซับลดลงอย่างมากและทำให้ประสิทธิภาพการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ลลดลง การศึกษาจลนพลศาสตร์พบว่าการดูดซับฮาโลอะซิโตไนไตร์ลเข้าสู่สภาวะสมดุลที่ระยะเวลาประมาณ 2- 3 ชั่วโมง และสอดคล้องกับสมการอันดับสองเสมือน การต่อติดอนุภาคเหล็กขนาดนาโนไม่สามารถทำให้อัตราการดูดซับของ PAC และ GAC เร็วขึ้น ไอโซเทอร์มการดูดซับฮาโลอะซิโตไนไตร์ลแบบเดี่ยวทั้ง 5 ชนิดพบว่าประสิทธิภาพการดูดซับสอดคล้องกับความสามารถในการละลายน้ำของ HANs โดย สาร MCAN และ MBAN มีประสิทธิภาพการดูดซับต่ำสุด และการต่อติด NZVI บนพื้นผิวถ่านกัมมันต์ทั้ง 2 ชนิดไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซับสารฮาโลอะซิโตไนไตร์ลได้ ผลการทดลองเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับ HANs ระหว่างแบบผสมและแบบเดี่ยว พบว่าลำดับและปริมาณการดูดซับของ HANs แบบผสมบนพื้นผิวของ PAC , GAC และ PAC/NZVI ลดลงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับผลการทดลองแบบเดี่ยว และการมีอยู่ของไอออนในน้ำประปาไม่กระทบต่อสมบัติการดูดซับแบบคัดเลือกของ PAC PAC/NZVI และ NZVI อย่างชัดเจน


การนำของเสียฉนวนร็อควูล ตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปา และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่ไม่ใช่โลหะเป็นวัสดุผสมในกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ และคอนกรีตบล็อก, ปาณิสรา นามจันทร์ Jan 2017

การนำของเสียฉนวนร็อควูล ตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปา และแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่ไม่ใช่โลหะเป็นวัสดุผสมในกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ และคอนกรีตบล็อก, ปาณิสรา นามจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการของเสีย โดยใช้เทคโนโลยีการรีไซเคิลของเสียทั้ง 3 ชนิด ได้แก่ เส้นใยร็อควูล ตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปา และผงที่บดจากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ส่วนที่ไม่ใช่โลหะ มาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุแทนที่มวลรวมละเอียด ในการผลิตกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ และอิฐบล็อกปูผนัง ซึ่งจะทำการวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ และองค์ประกอบทางเคมีของของเสียแต่ละชนิด ทำการศึกษาสมบัติของวัสดุก่อสร้าง โดยใช้อัตราส่วนผสมของปูนซีเมนต์ต่อทรายเท่ากับ 1 : 2 และอัตราส่วนน้ำต่อปูนซีเมนต์เท่ากับ 0.45 ศึกษาค่าอัตราส่วนของของเสียแต่ละชนิดต่อทรายที่ร้อยละ 1, 5, 10 และ 20 โดยน้ำหนัก และระยะเวลาในการบ่ม 7, 14 และ 28 วัน จากผลการศึกษาพบว่า เมื่อเพิ่มปริมาณการแทนที่ของเสียแต่ละชนิดจะส่งผลให้มอร์ตาร์มีค่าความหนาแน่น กำลังรับแรงอัด และแรงกดแตกตามขวางลดลง แต่ค่าการดูดซึมน้ำเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การแทนที่ของเสียแต่ละชนิดจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเป็นวัสดุป้องกันความร้อนที่ดีขึ้น และการแทนที่ด้วยเส้นใยร็อควูลและตะกอนจากโรงผลิตน้ำประปาจะช่วยปรับปรุงให้มอร์ตาร์มีสมบัติการทนไฟสูง โดยอัตราส่วนการแทนที่ของเสียแต่ละชนิดที่เหมาะสมเท่ากับร้อยละ 10 โดยน้ำหนัก และระยะเวลาบ่ม 28 วัน เนื่องจากเมื่อนำไปผลิตเป็นกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ที่ผสมของเสียแล้วพบว่า มีค่าแรงกดแตกตามขวางและค่าการดูดซึมน้ำ ผ่านมาตรฐานกระเบื้องหลังคาซีเมนต์ (มอก. 535-2556) และเมื่อผลิตเป็นอิฐบล็อกปูผนังที่ผสมของเสียพบว่า มีค่ากำลังรับแรงอัดและค่าการดูดซึมน้ำ ผ่านมาตรฐานอิฐบล็อกไม่รับน้ำหนัก (มอก. 58-2533) ยิ่งไปกว่านั้นยังศึกษาการถ่ายเทความร้อนของกรอบอาคารและการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วยโปรแกรม Building Energy Code พบว่าบ้านที่ใช้วัสดุก่อสร้างที่ผสมของเสียแต่ละชนิดจะมีความสามารถในการถ่ายเทความร้อนต่ำกว่าบ้านที่ใช้วัสดุทั่วไป ซึ่งส่งผลทำให้ช่วยประหยัดการใช้พลังงานได้ ดังนั้นการนำของเสียกลับมาใช้ประโยชน์เป็นวัสดุก่อสร้างนั้น จึงเป็นแนวทางการจัดการของเสีย ลดค่าใช้จ่ายในการกำจัด เพิ่มประสิทธิภาพบางประการให้กับวัสดุก่อสร้าง และสามารถพัฒนาให้เป็นวัสดุทางเลือกในอุตสาหกรรมก่อสร้างต่อไปในอนาคต