Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Civil and Environmental Engineering

Chulalongkorn University

Theses/Dissertations

2019

Articles 1 - 30 of 56

Full-Text Articles in Engineering

Seismic Enhancement Of Reinforced Concrete Columns With Lap Splices Using External Steel Collars, Pochara Kruavit Jan 2019

Seismic Enhancement Of Reinforced Concrete Columns With Lap Splices Using External Steel Collars, Pochara Kruavit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigated the behavior of reinforced concrete (RC) columns with lap splices and mechanical splices. The study conducted the full-scale test and predicted a lateral load capacity using the proposed numerical model. The test configuration was a cantilever column subjected to a cyclic lateral loading and a constant gravity load. The tested specimens consisted of the RC column without lap splices, RC columns with spliced reinforcement including lap splices and mechanical splices, and RC column with lap splices strengthened by external steel collars. The experimental result indicated that the lateral load capacity of the RC column with mechanical splices …


การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน, นันทวุฒิ อินทรียงค์ Jan 2019

การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน, นันทวุฒิ อินทรียงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหากัดเซาะชายฝั่งในประเทศไทยมีความรุนแรงอย่างมากในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริเวณอ่าวไทยตอนบน ที่ซึ่งมีลักษณะเป็นหาดโคลน มีเพียงโครงสร้างที่สามารถส่งถ่ายน้ำหนักและแรงลงสู่ชั้นดินที่ลึกลงไปเท่านั้นที่สามารถสร้างในพื้นที่โคลนนี้ได้ การใช้โครงสร้างเสาเข็มปักลงในดินและมีชิ้นส่วนลักษณะคล้ายกำแพงในบริเวณผิวน้ำ โดยขอนิยามว่า “เขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วน” อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการป้องกันพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นฐานรากอ่อน อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพการทำงานของเขื่อนกันคลื่นแบบไม่เต็มส่วนยังไม่ได้รับการพิสูจน์ จึงเป็นเหตุให้การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณสมบัติคลื่นและลักษณะทางกายภาพของโครงสร้าง กับความสามารถในการสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น แบบจำลองทางกายภาพ 2 มิติถูกพัฒนาในอ่างจำลองคลื่น ภายใต้เงื่อนไขคลื่นสม่ำเสมอที่ถูกสร้างจากเครื่องกำเนิดคลื่นด้วยความชันคลื่น (Hi/L) ในช่วง 0.010 – 0.025 แบบจำลองเขื่อนกันคลื่นถูกสร้างจากเหล็กกล่องด้วยการเปลี่ยนแปลงความลึกการจมจาก 0.075 – 0.300 เมตร และช่องว่างระหว่างเสาเปลี่ยนแปลงจาก 0.5 – 1.5 เมตร ระดับน้ำนิ่งและความหนาของเขื่อนกันคลื่นทีค่าคงที่เท่ากับ 0.45 และ 0.0375 เมตร ตามลำดับ การทดลอง 120 กรณีถูกดำเนินการโดยมีวัดขนาดของความสูงคลื่นด้านหน้าและหลังโครงสร้าง แล้วคำนวณค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น จากผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นมีความสัมพันธ์กับความหนาโครงสร้างสัมพัทธ์ (b/L), ความลึกโครงสร้างสัมพัทธ์(D/d), ปัจจัยความไม่เต็มส่วนของเขื่อนกันคลื่น​, ความลึกสัมพัทธ์ (d/L), ความสูงคลื่นสัมพัทธ์ (Hi/d) และความชันคลื่น (Hi/L) ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนของคลื่นมีค่าลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อ b/L, d/L, Hi/d หรือ Hi/L เพิ่มขึ้น แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อ D/d เพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่คลื่นล้นและไม่ล้นข้ามโครงสร้าง อีกทั้งเมื่อคลื่นล้นข้ามโครงสร้างจะทำให้ค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนของคลื่นลดลง สำหรับผลลัพธ์ของการส่งผ่านคลื่นพบว่าการส่งผ่านคลื่นมีแนวโน้มที่ลดลงอย่างเอกซ์โพเนนเชียลเมื่อ b/L, d/L, Hi/d หรือ Hi/L เพิ่มขึ้น แต่มีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อปัจจัยความไม่เต็มส่วนของเขื่อนกันคลื่นเพิ่มขึ้น ทั้งในกรณีที่คลื่นล้นและไม่ล้นข้ามโครงสร้าง อีกทั้งค่าสัมประสิทธิ์การส่งผ่านยังเพิ่มขึ้นเมื่อคลื่นสามารถล้นข้ามโครงสร้างได้ นอกจากนี้ยังพบว่าการเปลี่ยนแปลงช่องว่างระหว่างเสาไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญต่อค่าสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่น ในการศึกษานี้ได้พัฒนาสมการของสัมประสิทธิ์การสะท้อนและการส่งผ่านคลื่นด้วยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงซ้อน เพื่อสนับสนุนการออกแบบโครงสร้างในการบรรเทาปัญหากัดเซาะชายฝั่งสำหรับพื้นที่แบบหาดโคลนในอนาคต


ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองโดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียประเภทชักนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, วนาลี ภานุพรประพงศ์ Jan 2019

ประสิทธิภาพในการประสานรอยแตกของมอร์ตาร์ซ่อมแซมตัวเองโดยใช้สปอร์ของแบคทีเรียประเภทชักนำให้เกิดการตกตะกอนแคลเซียมคาร์บอเนต, วนาลี ภานุพรประพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการซ่อมแซมตัวเองของมอร์ตาร์ที่ผสมไมโครแคปซูลของสปอร์แบคทีเรียชนิดชักนำให้เกิดการตกตะกอนของแคลเซียมคาร์บอเนต โดยห่อหุ้มสปอร์ของแบคทีเรียด้วยโซเดียมอัลจิเนตเพื่อให้สปอร์สามารถดำรงชีวิตอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมของการขึ้นรูปมอร์ตาร์ได้ ปริมาณไมโครแคปซูลที่เลือกใช้ในการศึกษา คือ ร้อยละ 0, 0.5 และ 1.0 โดยน้ำหนักของซีเมนต์ ชนิดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ มอร์ตาร์รูปทรงลูกบาศก์ ขนาด 50 มม. สำหรับทดสอบกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน และมอร์ตาร์รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีรอยบากบริเวณฐาน ขนาด 280 x 177.5 x 50 มม. สำหรับทดสอบประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตก ซึ่งวัดผลจากความกว้างและพื้นที่รอยแตกด้วยกระบวนการประมวลผลภาพจากภาพถ่ายดิจิตอล จากการศึกษาพบว่าไมโครแคปซูลที่บรรจุสปอร์ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการซ่อมแซมรอยแตกเพิ่มขึ้น โดยมอร์ตาร์ที่มีปริมาณไมโครแคปซูลร้อยละ 1.0 สามารถซ่อมแซมรอยแตกได้สมบูรณ์ที่รอยแตกกว้างที่สุดขนาด 0.8 มม. ภายใน 3 วันหลังจากพ่นน้ำ นอกจากนี้ยังศึกษาผลของปริมาณไมโครแคปซูลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน ความพรุน และการดูดซึมน้ำของมอร์ตาร์ จากผลการทดสอบพบว่าปริมาณไมโครแคปซูลไม่ส่งผลต่อกำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วัน ความพรุน และการดูดซึมน้ำของมอร์ตาร์ อย่างไรก็ตามเมื่อเติมสารอาหารสำหรับแบคทีเรียลงในมอร์ตาร์จะส่งผลให้กำลังรับแรงอัดประลัยที่ 28 วันของมอร์ตาร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ


การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ, สิทธิณัฐ ศรีน้อย Jan 2019

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมเพื่อการติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ, สิทธิณัฐ ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางใหม่ในการติดตามความคืบหน้าในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แทนการใช้งานเอกสารประกอบการติดตามความคืบหน้าอย่างในปัจจุบันซึ่งยากต่อการนำไปเปรียบเทียบกับสภาพงานตามจริงของโครงการ การวิจัยนี้จึงนำเสนอระบบการติดตามความคืบหน้าการก่อสร้างผ่านการสร้างแบบจำลองความเป็นจริงเสริม (Augmented Reality) ซึ่งเกิดจากการดึงข้อมูลของแผนการทำงานจากโปรแกรมจัดการโครงการและแบบจำลองสามมิติจากระบบสารสนเทศอาคาร (BIM) โดยแบบจำลองความเป็นจริงเสริมที่ได้สามารถแสดงสภาพของโครงการตามแผนงานตามวันที่กำหนด จากนั้นแบบจำลองความเป็นจริงเสริมจะถูกนำมาซ้อนทับลงบนวิดีโอของสภาพงานจริงซึ่งได้จากการใช้อากาศยานไร้คนขับ (UAV) ในการสำรวจโครงการ จากการทดสอบระบบการติดตามความคืบหน้าในงานวิจัยกับกรณีศึกษาโครงการก่อสร้างทางยกระดับ พบว่าผลลัพธ์ที่ได้ทำให้สามารถวิเคราะห์ความคืบหน้าของงานก่อสร้างโดยการเปรียบเทียบความเหมือนหรือความแตกต่างระหว่างแบบจำลองความเป็นจริงเสริมและสภาพงานจริง ระบบจะทำการสร้างภาพเสมือนของโครงสร้างงานทางยกระดับและแสดงความก้าวหน้าซ้อนทับบนโครงสร้างจริงเพื่อแสดงความก้าวหน้าหรือล่าช้าจากแผนงาน สำหรับการวิจัยในอนาคตการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการประมวลผลภาพด้วยปัญญาประดิษฐ์อาจนำมาใช้ร่วมกับการศึกษานี้เพื่อวิเคราะห์ความคืบหน้าของการก่อสร้างโดยอัตโนมัติ


การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย Jan 2019

การพัฒนากระบวนการเมมเบรนแบบผสมผสาน (ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส และเมมเบรนชนิดนาโนฟิลเตรชัน) เพื่อการปรับปรุงคุณภาพน้ำบาดาลสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม, เอื้ออนุช ศรีน้อย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัญหาในการนำน้ำบาดาลมาใช้คือ ความกระด้างของน้ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดตระกรันในระบบ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการกำจัดความกระด้างด้วยกระบวนการเมมเบรนผสมผสาน(ฟอร์เวิร์ดออสโมซิส-อัลตราฟิลเตรชัน/นาโนฟิลเตรชัน) โดยทดลองกับน้ำบาดาลสังเคราะห์ สารดึงที่ถูกนำมาใช้ในกระบวนการฟอร์เวิร์ดออสโมซิสได้แก่ 1) โซเดียมคลอไรด์ 2) แมกนีเซียมซัลเฟต และ 3) อีดีทีเอ ซึ่งพารามิเตอร์ที่พิจารณาในกระบวนการนี้คือ ค่าฟลักซ์ของสารดึงหลังผ่านกระบวนการ ผลการศึกษาพบว่าสารดึงทั้ง 3 ชนิดมีความดันออสโมติกมากกว่าน้ำบาดาล โดยสารละลายโซเดียมคลอไรด์ และแมกนีเซียมซัลเฟตที่ความเข้มข้น 0.6 โมลต่อลิตร ให้ค่าฟลักซ์เท่ากับเท่ากับ 5.74 และ 4.82 ลิตรต่อตารางเมตร ชั่วโมง ในการเลือกใช้สารดึงจำเป็นต้องพิจารณาถึงความเหมาะสมของกระบวนการที่ใช้ฟื้นฟูสภาพด้วย ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้เลือกใช้กระบวนการนาโนฟิลเตรชันในการฟื้นฟูสภาพสารดึง เนื่องจากมีเปอร์เซ็นต์การกำจัดที่สูงกว่าอัลตราฟิลเตรชัน และจากการออกแบบการทดลองด้วยโปรแกรม Minitab พบว่าสารสะลายแมกนีเซียมซัลเฟตให้ฟลักซ์ที่สูงที่สุด นอกจากนี้คุณภาพน้ำที่ได้จากกระบวนการนาโนฟิลเตรชันมีความกระด้างและซิลิกาผ่านเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับระบบหล่อเย็นของ Japanese Refigeration and Air Conditioning Industry Association (JRA)


ผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศและ ผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ, พัชราภรณ์ เที่ยงทอง Jan 2019

ผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์ต่อประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศและ ผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ, พัชราภรณ์ เที่ยงทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาผลของภาระบรรทุกสารอินทรีย์และระยะเวลาเก็บกักต่ออัตราการบำบัดและ ประสิทธิภาพถังกรองไร้อากาศและผลของความลึกชั้นทรายต่อประสิทธิภาพของถังกรองทรายชีวภาพ โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ที่เตรียมจากน้ำตาลทรายซึ่งมีความเข้มข้นเริ่มต้น 1,000 มิลลิกรัมซีโอดีต่อลิตรตลอดทั้งการทดลอง ปรับอัตราการไหลเข้าของน้ำเสีย 4 ค่า ได้แก่ 24 , 48 , 96 และ 192 ลิตรต่อวัน คิดเป็นภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.5 , 1 , 2 และ 4 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตามลำดับ และใช้ถังกรองไร้อากาศออกเป็น 4 ถังต่อแบบอนุกรมโดยให้ไหลแบบตามกัน (Plug Flow) เพื่อให้มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียตั้งแต่ 0.0625-2 วัน เดินระบบแบบไหลต่อเนื่องและควบคุมค่าพีเอชระหว่าง 7.0-7.5 ผลการทดลองพบว่าที่ภาระบรรทุกสารอินทรีย์ 0.5 , 1 , 2 และ 4 กิโลกรัมซีโอดีต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน มีระยะเวลาเก็บกักน้ำเสียรวม 2 , 1 , 0.5 และ 0.25 วัน ตามลำดับ สามารถบำบัดสารอินทรีย์ได้ถึงร้อยละ 84.76 , 93.06 , 91.90 และ 88.58 ตามลำดับ มีค่าซีโอดีที่สามารถย่อยสลายได้เท่ากับ 861.0±30.6 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าสัมประสิทธิ์ของปฏิกิริยาลำดับที่ 1 (k1) อยู่ที่ 18.8±2.40 วัน-1 และมีค่าซีโอดีที่ไม่สามารถบำบัดได้เท่ากับ 128.2±16.3 มิลลิกรัมต่อลิตร และพบว่าเมื่อเดินระบบร่วมกับถังกรองทรายชีวภาพที่ความลึกชั้นทราย 80 , 60 , 40 , 20 และ 0 เซนติเมตร ระบบมีค่าประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีอยู่ที่ร้อยละ 92-94 โดยถังกรองทรายชีวภาพช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีร้อยละ 1-5 ปริมาณซัลไฟด์ในน้ำทิ้งจากถังกรองทรายชีวภาพที่ความลึกชั้นทรายต่างๆลดลงอยู่ในช่วง 16-18 มิลลิกรัมซัลไฟด์ต่อลิตร โดยที่ความลึกชั้นทราย 80 , 60 , …


A Business Success Evaluation Of Market Entry Mode Types In Myanmar Construction, Naw Ruth Po Gay Jan 2019

A Business Success Evaluation Of Market Entry Mode Types In Myanmar Construction, Naw Ruth Po Gay

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The optimal entry mode decision and knowing the critical success factors are important for successful international market expansion. However, there are not many studies for developing Asian countries, such as Myanmar. Investors need to know what factors influence entry mode decision and business success. Therefore, the objectives of this study are 1) to identify the factors that influence entry modes decision, 2) to identify the critical success factors of entry modes for business, 3) to identify the significant factors that affect business success. The questionnaire survey using a five-point Likert scale was developed and distributed in Yangon, the commercial city …


Fundamental Solutions Of Multi-Layer Elastic Media With Couple Stress Theory, Wipavee Wongviboonsin Jan 2019

Fundamental Solutions Of Multi-Layer Elastic Media With Couple Stress Theory, Wipavee Wongviboonsin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This thesis presents fundamental solutions of a two-dimensional, elastic, multi-layered medium under surface loadings by taking the influence of material micro-structure into account. An underlying mathematical model for simulating such small-scale influence is established within the continuum-based framework via the well-known couple stress theory. For each material layer, the generalized Navier’s equation governing the displacement field is established and the method of Fourier integral transform is applied to derive its general solution in a transformed space. A set of boundary conditions and the continuity of fields along the material interfaces are enforced to obtain a system of linear algebraic equations …


ทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน, ณัฐสัญญ์ ปัญญาวิสุทธิชัย Jan 2019

ทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน, ณัฐสัญญ์ ปัญญาวิสุทธิชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

เขตบริเวณโรงเรียนเป็นพื้นที่ที่มีจำนวนผู้เดินเท้าจำนวนมากโดยเฉพาะนักเรียน การข้ามถนนในบริเวณโรงเรียนที่มีจำนวนมากนำมาซึ่งโอกาสในการเกิดอุบัติเหตุระหว่างการข้ามถนน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อทัศนคติในการข้ามถนนและต้องการลดอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นกับนักเรียนในอนาคต โดยได้รวบรวมทัศนคติของนักเรียนต่อการใช้งานทางข้ามบริเวณโรงเรียน ด้วยการใช้แบบสอบถามข้อมูลทัศนคติในการข้ามถนนและประสบการณ์ในการข้ามถนนบริเวณโรงเรียน นอกจากนี้งานวิจัยชิ้นนี้ยังศึกษาทัศนคติด้านความปลอดภัยในการข้ามถนนภายใต้สถานการณ์สมมติ โดยพิจารณาองค์ประกอบ 4 ปัจจัยได้แก่ สัญญาณไฟคนข้ามถนน สัญลักษณ์เตือนผู้ขับขี่ ทางแยกและสิ่งกีดขวางบริเวณทางข้าม ในส่วนของทัศนคติในการข้ามถนนและประสบการณ์การข้ามถนนวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ Principal Component Analysis (PCA) ในการแบ่งกลุ่ม เพื่อนำไปหาความสัมพันธ์ของความรู้สึกปลอดภัยในการข้ามถนนเทียบกับตัวแปรอื่นโดยการใช้การวิเคราะห์ถดถอยแบบเส้นตรง ผลการศึกษาจากรวบรวมข้อมูลนักเรียนโดยการใช้แบบสอบถามเป็นจำนวน 430 ชุดพบว่า เพศหญิงจะมีทัศนคติต่อการข้ามถนนที่ปลอดภัยกว่า ได้รับประสบการณ์ในการข้ามถนนที่แย่กว่า สำหรับการวิเคราะห์สถานการณ์จำลองพบว่า สัญญาณไฟคนข้ามถนนเป็นองค์ประกอบที่ส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยในการข้ามถนนมากที่สุด นอกจากนี้ยังพบว่าทางข้ามที่มีทางแยกและสิ่งกีดขวางร่วมกัน จะมีความปลอดภัยในการข้ามถนนต่ำกว่าทางข้ามอื่น


An Application Of Line Of Balance And Building Information Modeling For Optimal Resource And Schedule: A Case Study Of An Elevated Highway Construction, Thanakon Uthai Jan 2019

An Application Of Line Of Balance And Building Information Modeling For Optimal Resource And Schedule: A Case Study Of An Elevated Highway Construction, Thanakon Uthai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Project scheduling is an essential tool to support construction operations completing the project under limited time and cost. The linear infrastructure project such as elevated highway construction involves a large scale of working area and complexity of management. Recently, schedules are planned manually based on planners’ experience and intuition which may consume time and lead to human-errors. Moreover, the presentations of schedule by using the existing methods dose not cover the overview of projects in various aspects. The objective of this research is to establish an application of Line of Balance (LOB) and Building Information Modeling (BIM) for optimal resource …


Enhancement Of Municipal Wastewater Management System With Polluter Pays Principle (Ppp): A Case Study Of Cities In Thailand, Kwanmanas Meethavorn Jan 2019

Enhancement Of Municipal Wastewater Management System With Polluter Pays Principle (Ppp): A Case Study Of Cities In Thailand, Kwanmanas Meethavorn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Poor water quality in public water bodies caused by several reasons mainly due to a lack of efficient WWM system and sufficient financial support. Polluter pays principle has long been a promising strategy to help improving water quality in pubic water bodies in Thailand. However, WW charge has not yet been practically levied. This research ains to evaluate factors affecting residents' preferences on WTPs for water quality improvement. Three different characteristic cities were selected as case studies. The technique applied to estimate WTPs is CVM to reveal key factors influencing WTP decision as well as WTP pay-out level. The result …


Modified Response Spectrum Analysis For Computing Seismic Demands Of Multi-Tower Building Sharing A Common Podium, Tarek Youssef Jan 2019

Modified Response Spectrum Analysis For Computing Seismic Demands Of Multi-Tower Building Sharing A Common Podium, Tarek Youssef

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

To design irregular tall buildings, performance-based design (PBD) approach, which requires nonlinear response history analysis (NLRHA), is the most accurate method. However, PBD approach is not always used in the current design practice because of its complexity, and as allowed in ASCE 7-16, design engineer can use code-based approach such as response spectrum analysis (RSA) procedure. This paper aims to investigate the accuracy of RSA procedure when applied to irregular tall buildings, and in particular for multi-tower buildings sharing a common podium. Also, a modified response spectrum analysis (MRSA) procedure previously proposed for computing shear demand in regular tall buildings, …


The Performance Of Automatic Adaptive Edge-Based Smoothed Finite Element Method In Engineering Mechanics Applications, Vu Hoang Le Jan 2019

The Performance Of Automatic Adaptive Edge-Based Smoothed Finite Element Method In Engineering Mechanics Applications, Vu Hoang Le

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The thesis investigates the performance of an edge-based smoothed finite element method (ES-FEM) combined with an automatic mesh refinement (AMR) algorithm to provide the solutions of in-plane elastic engineering mechanics applications. The ES-FEM adopts a strain smoothing technique over the edges adjoining the two adjacent triangular-shape meshes, whilst a layer of singular yet compatible five-node elements in addition to standard three-node ES-FEs can be employed to overcome the problems associated with stress singularity. The proposed framework enables the effective model construction of realistic engineering structures with complex geometry at modest computational resources. The AMR algorithm adopts the newest node bisection …


แบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้ยานพาหนะร่วมกัน: กรณีศึกษาผู้ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร, วีรชัย โสธนนันทน์ Jan 2019

แบบจำลองพฤติกรรมการเลือกใช้ยานพาหนะร่วมกัน: กรณีศึกษาผู้ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างในกรุงเทพมหานคร, วีรชัย โสธนนันทน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งจะเป็นทางเลือกในเดินทางที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตและเป็นทางเลือกการเดินทางของประชาชนในกรุงเทพมหานคร งานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นวิเคราะห์หาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจเปลี่ยนรูปแบบการเดินทางของผู้โดยสารที่ใช้รถจักรยานยนต์รับจ้างมาเป็นการใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยเจาะจงกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้โดยสารที่ใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างเพื่อเชื่อมต่อกับระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในพื้นที่ย่านศูนย์กลางทางธุรกิจของกรุงเทพมหานครจำนวน 349 ตัวอย่าง โดยใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงกล่าวอ้างด้วยการจำลองสถานการณ์สมมติ 6 สถานการณ์และสร้างแบบจำลองโลจิสติคทวินามบนพื้นฐานของทฤษฎีอรรถประโยชน์ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ทางสถิติด้วยโปรแกรม Rstudio จากผลของการศึกษาพบว่าตัวแปรที่มีอิทธิพลเชิงบวกต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่งอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ เวลาและค่าใช้จ่ายของรถจักรยานยนต์รับจ้าง ความเต็มใจจ่ายในการใช้บริการ ระยะเวลาเดินที่ยอมรับได้ ความถี่ในการใช้บริการรถจักรยานยนต์รับจ้างต่อสัปดาห์ การมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์ สำหรับตัวแปรระยะทางในการเดินทาง สถานะภาพการสมรส จำนวนรถจักรยานยนต์และจำนวนรถยนต์ในครอบครองครอบครองส่งผลเชิงลบต่อการเลือกใช้บริการมอเตอร์ไซค์แชริ่ง โดยมูลค่าเวลาในการเดินทางของผู้โดยสารรถจักรยานยนต์รับจ้างของกลุ่มตัวอย่างมีค่าเท่ากับ 5.63 บาทต่อนาที


การศึกษาอายุการใช้งานและผลกระทบที่ได้รับจากระบบกรองน้ำบาดาลเพื่อกำจัดฟลูออไรด์: กรณีศึกษา หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน, กิตติคุณ เสมอภาค Jan 2019

การศึกษาอายุการใช้งานและผลกระทบที่ได้รับจากระบบกรองน้ำบาดาลเพื่อกำจัดฟลูออไรด์: กรณีศึกษา หมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน, กิตติคุณ เสมอภาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินอายุการใช้งาน การเปลี่ยนแปลงความเสี่ยงทางสุขภาพเบื้องต้น และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ของระบบกรองน้ำที่ทำการติดตั้งในหมู่บ้านบ้านใหม่ในฝัน ตำบลสะเนียน อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน จากการศึกษาพบว่า น้ำขาออกจากระบบมีคุณภาพผ่านเกณฑ์มาตรฐานน้ำบาดาลสำหรับบริโภค ซึ่งเมื่อทำการประเมินความเสี่ยงทางสุขภาพของผู้ได้รับผลประโยชน์ พบว่า ค่าดัชนีความเป็นอันตรายเนื่องจากฟลูออไรด์มีค่าลดลงจนถึงระดับน้อยกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ยอมรับได้ ส่วนการประเมินอายุการใช้งานของระบบการกำจัดฟลูออไรด์ และสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำด้วยระบบคอลัมน์ พบว่า ที่ความสูงของชั้นกรองที่ 25.00 ซม. อัตราการกรอง 2.30 มล./นาทีสามารถกำจัดฟลูออไรด์และสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำได้ดีที่สุด ด้วยมีระยะเวลาที่จุดเบรกทรูยาวนาน มีค่าอัตราการใช้สารกรองต่ำ และระยะเวลาการสัมผัสสารของชั้นกรองสูง และจากการทำนายอายุการใช้งานของสารกรอง ตามสมการ ของ Thomas พบว่า การกำจัดฟลูออไรด์และคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำด้วยระบบคอลัมน์ ที่ความสูงชั้นกรองที่ 25.00 ซม. อัตราการกรอง 2.30 มล./นาที สารกรองมีค่าความสามารถในการดูดซับสูงสุด และจากการศึกษาผ่านสมการ Bohart and Adam พบว่าการกำจัดฟลูออไรด์เป็นไปตามความสัมพันธ์ดังสมการ Y=429X–6.430 โดย Y คือ เวลาเบรกทรู(นาที) และ X คือ ความสูงของชั้นกรองถ่านกระดูก(ซม.)ที่อัตราการกรอง 0.01 ลบ.ม./ชม. ส่วนการกำจัดสารคาร์บอนอินทรีย์ละลายน้ำ พบว่า สมการความสัมพันธ์คือ Y=50,931X–934 โดยที่ Y คือ เวลาเบรกทรู(นาที) และ X คือ ความสูงชั้นกรองถ่านกัมมันต์(ซม.) ที่อัตราการกรอง 0.01 ลบ.ม./ชม. และจากการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทนโครงการ พบว่า ความคุ้มค่าของโครงการกรณีภาครัฐลงทุนให้ และส่งมอบชาวบ้าน มีมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ(NPV) คือ 6,448.36 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนโครงการ(B/C Ratio) 1.008 อัตราผลตอบแทนโครงการ(IRR) ร้อยละ 4.407 และระยะเวลาคืนทุน(PB) 0 ปี ส่วนกรณีชาวบ้านลงทุนด้วยตัวเองและจัดการทั้งหมด พบว่ามูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนสุทธิ คือ -365,822.50 บาท อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุนโครงการ ร้อยละ 0.6909 อัตราผลตอบแทนโครงการ และระยะเวลาคืนทุน ไม่สามารถหาค่าได้


การวิเคราะห์ผังการไหลและการประเมินวัฏจักรชีวิตของทองคำจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของคอมพิวเตอร์, วริษฐา พงษ์หิรัญ Jan 2019

การวิเคราะห์ผังการไหลและการประเมินวัฏจักรชีวิตของทองคำจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของคอมพิวเตอร์, วริษฐา พงษ์หิรัญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปริมาณซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ชนิดแผงวงจรหลักและการ์ดแสดงผลของคอมพิวเตอร์ประเภทตั้งโต๊ะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2558-2561 สามารถจำแนกตามแหล่งกำเนิดได้แก่ ครัวเรือน สำนักงานและโรงแรม/อะพาร์ตเมนต์ อุตสาหกรรมและการนำเข้าและส่งออก โดยพบว่าปริมาณมากกว่าร้อยละ 68 ถูกจัดการโดยผู้ประกอบการที่ไม่ใช่โรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งยังไม่มีการควบคุมกระบวนการหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการอย่างชัดเจน งานวิจัยนี้จึงศึกษาเปรียบเทียบผลกระทบของกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรชนิดที่มีโลหะมีค่าสูงได้แก่ หน่วยความจำ ซีพียูและส่วนประกอบของการ์ดแสดงผล ที่ใช้กรดกัดทองเป็นสารชะละลายทองคำโดยมีและไม่มีการจัดการของเสีย และเลือกกระบวนการที่ใช้สารประกอบไซยาไนด์เป็นสารชะละลายโดยมีการจัดการของเสียอย่างเหมาะสมเป็นกรณีอ้างอิง กระบวนการที่ใช้กรดกัดทองเป็นสารชะละลายสามารถนำกลับคืนทองคำได้เฉลี่ยร้อยละ 95.25 ที่ความบริสุทธิ์ของทองคำแตกต่างกันตามองค์ประกอบของสารชะละลายแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์แต่ละชนิด โดยปริมาณสารเคมีที่ใช้และทองคำที่นำกลับคืนจากกระบวนการรีไซเคิลซากแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ด้วยกรดกัดทองและสารประกอบไซยาไนด์จะถูกวิเคราะห์ในผังการไหลและประเมินผลกระทบด้วยโปรแกรม SimaPro เวอร์ชัน 9.0.0.35 ตามลำดับ ซึ่งงานวิจัยพบว่า แนวทางในการลดผลกระทบของกระบวนการคือ การแยกโลหะชนิดอื่นๆออกจากน้ำเสียเพื่อเข้าสู่กระบวนการนำกลับคืนและบำบัดน้ำเสียส่วนที่เหลือ ส่วนตะกอนสามารถกำจัดด้วยวิธีการฝังกลบหรือการเผาทำลายในเตาเผาเฉพาะของเสียอันตรายตามความเหมาะสม ทั้งนี้ กระบวนการที่ใช้กรดกัดทองจะสามารถให้ผลกระทบต่ำกว่ากระบวนการที่ใช้สารประกอบไซยาไนด์ที่มีการจัดการของเสียอย่างเหมาะสม เมื่อมีการลดการใช้สารเคมีด้วยการชะละลายซ้ำตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป


การสร้างและประสิทธิภาพของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน, อริยะ กาญจนโกมุท Jan 2019

การสร้างและประสิทธิภาพของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน, อริยะ กาญจนโกมุท

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเม็ดตะกอนโดยใช้เวลาตกตะกอนที่แตกต่างกัน โดยใช้ถังปฏิกิริยาแบบทีละเท การทำงานของระบบเป็นรอบการบำบัด ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการเติมน้ำเสียสังเคราะห์จากซูโครสความเข้มข้นซีโอดี ในถังปฏิกิริยา 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณแอมโมเนียมคลอไรด์ 380 มิลลิกรัมต่อลิตร การเติมอากาศโดยควบคุมความเร็วการเติมอากาศ 3.5 เซนติเมตรต่อวินาที การตกตะกอน และการทิ้งน้ำโดยใช้สัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย 50% โดยไม่มีการทิ้งตะกอนและเปลี่ยนแปลงเวลาตกตะกอน 60 30 15 5 และ 2 นาที ผลการทดลองค่า MLSS เฉลี่ยที่ 30,200 31,600 26,750 15,733 และ 9,770 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่า SVIคงที่อยู่ในช่วง 13.2-19.5 มิลลิลิตรต่อกรัม มีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะคงที่ 6.29-10.81 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัม MLSS ต่อวัน ขนาดเม็ดตะกอนในระบบที่เริ่มต้นใช้เวลาตกตะกอน 60 นาที พบเม็ดตะกอนขนาดเล็กเป็นส่วนมาก ซึ่งเม็ดตะกอนดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร และเมื่อลดเวลาตกตะกอนลงเหลือ 30 15 5 และ 2 นาที เม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้น และเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ที่สุดในระบบมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร โดยมีความหนาแน่นของตะกอนจุลินทรีย์อยู่ในช่วง 1.025-1.342 g/mL ต่อมาการทดลองส่วนที่ 2 เลือกใช้เวลาตกตะกอน 15 นาที และเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย 50% 60% 70% 80% และ 90% ผลการทดลองค่า MLSSเฉลี่ยที่ 17,240, 18,590, 10,207, 7,293 และ 4,030 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่า SVI คงที่อยู่ในช่วง 19.5-27.0 มิลลิลิตรต่อกรัม มีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะคงที่ 6.29-10.39 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัม MLSS ต่อวัน …


Balancing Mass Transit Ridership Through Land Use Development, Achara Limmonthol Jan 2019

Balancing Mass Transit Ridership Through Land Use Development, Achara Limmonthol

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The utmost utility of the transit system can be supported by the balance of ridership. It is not only gaining more operational benefits but also enhancing the efficiency of the system as a whole. Transit Oriented Development (TOD) is defined as an integration between land use and transportation, which focuses on the station areas. Land use characteristics are the essential factors that affect trip generation and trip attraction. Some types of land use generate trips mainly during peak hours. Meanwhile, some other types generate trips during off-peak hours. This dissertation therefore focuses on the balancing mass transit ridership through land …


ระบบแผงรายงานซึ่งสามารถใช้กับการจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับติดตามและควบคุมโครงการก่อสร้าง, พิมพ์พิสุทธิ์ นันทภาณุวัฒน์ Jan 2019

ระบบแผงรายงานซึ่งสามารถใช้กับการจำลองสารสนเทศอาคารสำหรับติดตามและควบคุมโครงการก่อสร้าง, พิมพ์พิสุทธิ์ นันทภาณุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การติดตามและควบคุมโครงการก่อสร้างโดยทั่วไปจะอาศัยเอกสารกระดาษเป็นหลัก ซึ่งมักจะเกิดข้อผิดพลาดรวมถึงไม่สามารถจัดระเบียบและเรียกใช้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องได้สะดวก การจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เป็นแนวคิดสมัยใหม่ซึ่งสามารถใช้จัดการจัดการข้อมูลสารสนเทศในทุกขั้นตอนของโครงการก่อสร้างได้อย่างมีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้พัฒนาระบบซึ่งเชื่อมต่อแบบจำลอง BIM กับแผงรายงานสถานะของโครงการ ซึ่งสามารถรายงานความก้าวหน้าของโครงการ การจ่ายเงินงวดสำหรับผู้รับจ้างก่อสร้าง และความก้าวหน้าของงานก่อสร้างแต่ละส่วนโดยแสดงผ่านแบบจำลองสามมิติ งานวิจัยเริ่มจากศึกษาและวิเคราะห์กระบวนการติดตามและควบคุมความก้าวหน้าของโครงการก่อสร้างทั่วไป จากนั้นจึงพัฒนากระบวนการติดตามและควบคุมโครงการโดยอาศัย BIM ซึ่งจะถูกนำไปใช้สำหรับพัฒนาโครงสร้างสถาปัตยกรรมระบบของแผงรายงาน ระบบที่พัฒนาขั้นนี้ใช้โปรแกรม Autodesk Revit สำหรับพัฒนาแบบจำลอง BIM, Microsoft Excel สำหรับจัดเก็บข้อมูล, Dynamo สำหรับเชื่อมต่อโปรแกรม Autodesk Revit และ Excel รวมถึง Unity สำหรับการสร้างแผงรายงาน กระบวนการและระบบแผงรายงานถูกนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการก่อสร้างอาคารจริง ผลลัพธ์และข้อคิดเห็นจากผู้ใช้ระบบได้ถูกนำมาปรับปรุงเพื่อให้ได้ระบบที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพสูงสุด


การบริหารการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการนำ Bim มาใช้ในองค์การ Aec, รุ่งอนันต์ พระพรเพ็ญ Jan 2019

การบริหารการเปลี่ยนแปลงอันเนื่องมาจากการนำ Bim มาใช้ในองค์การ Aec, รุ่งอนันต์ พระพรเพ็ญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงแบบจำลองธุรกิจในทุกอุตสาหกรรม เทคโนโลยีที่เข้ามามีผลกระทบ (disruptive technology) ครอบคลุมถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างซึ่งได้นำการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) เข้ามาใช้อย่างกว้างขวาง BIM จึงเป็นทางเลือกใหม่ที่องค์กรด้านสถาปัตยกรรม วิศวกรรม และก่อสร้าง (Architecture, Engineering, and Construction, AEC) นำมาใช้ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงองค์กรมีความซับซ้อนเนื่องจากขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น วัฒนธรรมขององค์กร ทรัพยากรที่องค์กรมี ความพร้อมและทักษะของผู้นำการเปลี่ยนแปลง งานวิจัยนี้เสนอแนวทางในการเปลี่ยนแปลงองค์กรซึ่งนำ BIM มาใช้ ทฤษฎีการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสองทฤษฎีถูกนำมาใช้สร้างกรอบแนวคิดเบื้องต้น ข้อมูลที่จำเป็นถูกรวบรวมจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เชี่ยวชาญ 11 ท่านจากองค์กรเจ้าของโครงการ ผู้ออกแบบ ผู้รับจ้างก่อสร้าง และที่ปรึกษา เราสามารถแบ่งรูปแบบการเปลี่ยนแปลงในองค์กรได้ 3 รูปแบบตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างองค์กร โดยสองรูปแบบแรกเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยอาศัยองค์กรตนเองเป็นหลัก ส่วนอีกรูปแบบอาศัยองค์กรที่ปรึกษาเป็นหลัก ความสำเร็จของการเปลี่ยนแปลงองค์กร BIM ขึ้นอยู่กับ ผู้นำ BIM และวัฒนธรรมองค์กร


การพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปด้วยแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก, วรากร อิ่มรักษา Jan 2019

การพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปด้วยแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก, วรากร อิ่มรักษา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

วิทยานิพนธ์นี้นำเสนองานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาผนังฉนวนสำเร็จรูปแกนคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก โดยผนังมีวัสดุแกนกลางเป็นฉนวนทำจากคอนกรีตความหนาแน่นต่ำมาก ปิดผิวหน้าทั้ง 2 ด้านด้วยแผ่นซีเมนต์บอร์ดในลักษณะของผนังแบบแซนวิช (Sandwich panels) เพื่อให้ได้ผนังที่มีความต้านทานความร้อน ความทนไฟ และประหยัดพลังงานสูงกว่าผนังทั่วไป ในการศึกษานี้พิจารณาแผ่นผนังขนาดความกว้าง 0.60 เมตร ความสูง 2.40 เมตร และหนา 0.12 เมตร ใช้คอนกรีตความหนาแน่นต่ำมากที่มีค่าความหนาแน่นอยู่ระหว่าง 200 - 300 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร การพัฒนาเริ่มจากการวิเคราะห์ออกแบบด้วยวิธีไฟไนต์เอลิเมนต์ เพื่อเสริมให้แผ่นผนังสามารถทนต่อแรงกระแทกได้เพียงพอตามมาตรฐาน จึงเพิ่มการประสานระหว่างแผ่นซีเมนต์บอร์ดด้วยก้อนลูกบาศก์คอนกรีตขนาด 0.1x0.1x0.1 เมตร3 ทาปูนกาวจำนวน 6 ก้อน กระจายรอบแผ่นผนัง จากนั้นจึงผลิตแผ่นผนังต้นแบบ ผลการทดสอบหาค่าสภาพการนำความร้อน (Thermal conductivity, k) ตามมาตรฐานการทดสอบ ASTM C518 ในห้องปฏิบัติการพบว่าแผ่นผนังที่พัฒนามีค่าสภาพการนำความร้อนอยู่ในเกณฑ์ที่ดีกว่าผนังประเภทต่างๆ ที่นิยมใช้งานในปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่ผลการทดสอบความแข็งแรงของผนังตามมาตรฐาน BS 5234 ได้แก่ การทดสอบความแข็งแรงของผนังโดยใช้การกระแทกด้วยวัสดุแข็งขนาดเล็ก (Small hard body impact) และผลการทดสอบความแข็งแรงของผนังโดยใช้การกระแทกด้วยวัสดุอ่อนนุ่มขนาดใหญ่ (Large soft body impact) ก็แสดงให้เห็นว่าผนังที่พัฒนาขึ้นนี้มีความแข็งแรงในระดับ Medium duty (MD) ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้งานเป็นผนังกั้นห้องในอาคารพักอาศัย สำนักงาน และอาคารพาณิชย์ทั่วไป


การเสริมกำลังรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน, ศิวกร สร้อยศักดิ์ Jan 2019

การเสริมกำลังรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน, ศิวกร สร้อยศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาพฤติกรรมการรับแรงบิดขององค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่เสริมกำลังโดยการพันรอบด้วยแผ่นพอลิเมอร์เสริมเส้นใยคาร์บอน (CFRP) ในการทดสอบประกอบด้วยองค์อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 12 ตัวอย่าง ประกอบด้วยตัวอย่างทดสอบที่ไม่มีการเสริมกำลังจำนวน 6 ตัวอย่าง และที่มีการพันรอบด้วยแผ่น CFRP จำนวน 6 ตัวอย่าง โดยตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ระยะเรียงเหล็กปลอก (75 และ 150 mm) ประเภทมุมของอมาตรฐานของเหล็กปลอก (135 และ 90 องศา) และแรงอัดตามแนวแกน(0 ตัน และ 27 ตัน) ผลการทดสอบที่ศึกษาในงานวิจัยประกอบด้วย รูปแบบการวิบัติ ระยะเรียงรอยร้าว มุมของรอยร้าว ความเครียดที่เหล็กเสริมและแผ่น CFRP และความสัมพันธ์ระหว่างแรงบิดกับมุมบิดของตัวอย่างทดสอบ ผลจากการทดสอบพบว่า การเสริมกำลังด้วย CFRP สามารถเพิ่มกำลังรับแรงบิดของคานและเสาคอนกรีตเสริมเหล็กได้อย่างน้อย 190% การเพิ่มมุมงอขอของเหล็กปลอกในคานที่เสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP และเสาคอนกรีตเสริมเหล็กไม่มีผลต่อการเพิ่มกำลังรับแรงบิด และการเพิ่มปริมาณเหล็กเสริมไม่มีผลต่อการเพิ่มกำลังรับแรงบิดในเสาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาที่เสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP เปรียบเทียบกำลังรับแรงบิดจากการทดสอบกับสมการทำนาย สมการที่เหมาะสมกับการทำนายกำลังรับแรงบิดของคานคอนกรีตเสริมเหล็ก เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก คานคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP และเสาคอนกรีตเสริมเหล็กเสริมกำลังด้วยแผ่น CFRP คือ มาตรฐาน ACI318-14, Rahal และคณะ (2013), มาตรฐาน fib Bulletin 14 (2001) และ He และคณะ (2014) ตามลำดับ


ระบบส่งผ่านสารสนเทศในโครงการที่ใช้ Bim สำหรับการจัดการอาคาร, สุธาสินี ทาแดง Jan 2019

ระบบส่งผ่านสารสนเทศในโครงการที่ใช้ Bim สำหรับการจัดการอาคาร, สุธาสินี ทาแดง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในปัจจุบันการจำลองสารสนเทศอาคาร (Building Information Modeling, BIM) ได้ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางในอุตสาหกรรมก่อสร้าง BIM สามารถถูกนำมาใช้ตลอดวัฏจักรชีวิตของอาคาร ตั้งแต่ขั้นตอนวางแผน ออกแบบ ก่อสร้าง จนถึงปฏิบัติการและบำรุงรักษา (Operation & Maintenance, O&M) ถึงแม้ว่า BIM จะถูกนำมาใช้สำหรับการบริหารจัดการอาคาร (Facility Management, FM) ในช่วง O&M แต่การประยุกต์ใช้ในงานดังกล่าวยังค่อนข้างจำกัด อุปสรรคที่สำคัญคือกระบวนการทำงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความซับซ้อนและการส่งผ่านข้อมูลก็มักจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ งานวิจัยนี้ได้พัฒนาระบบเพื่อดึงข้อมูลและสารสนเทศที่จำเป็นจากแบบจำลอง as-built BIM และส่งผ่านไปยังกระบวนการ FM ระบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 2 ส่วนหลัก ส่วนแรกคือกระบวนการทำงาน (work process) ได้แก่ กระแสงาน (workflow), การแลกเปลี่ยนสารสนเทศ (information exchange), รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบ (roles and responsibilities) ของแต่ละฝ่าย ส่วนที่สองคือซอฟต์แวร์ประยุกต์ (software application) ซึ่งแสดงในรูปแบบของ Graphic User Interface (GUI) โดยใช้ภาษาโปรแกรม Python ระบบทั้งสองส่วนนี้ถูกพัฒนาขึ้นจากแนวคิดที่ได้รับจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน BIM และผู้จัดการอาคาร ระบบที่พัฒนาขึ้นนี้ได้ถูกนำไปประยุกต์สำหรับการจัดการอาคารสำนักงานในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อแสดงประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ โดยเริ่มจากการระบุและตรวจสอบข้อมูลและสารสนเทศสำหรับ FM ในแบบจำลอง as-built BIM จากนั้นจึงเป็นการดึงและส่งต่อข้อมูลและสารสนเทศจากแบบจำลองเข้าสู่กระบวนการ FM สุดท้ายผลลัพธ์จะถูกแสดงโดยซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่พัฒนาขึ้น การประยุกต์นี้แสดงให้เห็นว่าระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้สำหรับการวางแผนปฏิบัติการและบำรุงรักษาอาคาร ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับเจ้าของอาคาร, ผู้จัดการอาคาร และฝ่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ FM


การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบจามจุรีกับเศษผักผลไม้ด้วยระบบภาชนะปิดขนาดเล็ก, ไพฑูรย์ พัชรบำรุง Jan 2019

การทำปุ๋ยหมักจากเศษใบจามจุรีกับเศษผักผลไม้ด้วยระบบภาชนะปิดขนาดเล็ก, ไพฑูรย์ พัชรบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ได้ทำการทดลองทำปุ๋ยหมักระบบภาชนะปิดแบบใช้อากาศขนาดห้องปฏิบัติการที่ขนาด 1.25 ลิตร ด้วยของเสียอินทรีย์ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ เศษผักผลไม้ (VFW) เศษใบจามจุรี (LW) และเศษกิ่งไม้ (WW) ร่วมกับปุ๋ยหมักสมบูรณ์ (MC) จากการทำปุ๋ยหมักภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยแบ่งชุดการทดลองออกเป็น 4 ชุดที่ซึ่งมีการเติมอากาศที่แตกต่างกัน ได้แก่ ชุดการทดลอง A ซึ่งไม่มีจำนวนรอบในการเติมอากาศ ชุดการทดลอง B ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 8 รอบต่อวัน ชุดการทดลอง C ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 4 รอบต่อวันและชุดการทดลอง D ซึ่งมีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 2 รอบต่อวัน และ 5 อัตราส่วนวัตถุดิบที่แตกต่างกัน ได้แก่ การทดลองอัตราส่วนที่ 1 ซึ่งมี VFW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 2 ซึ่งมี LW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 3 ซึ่งมี WW เป็นหลัก การทดลองอัตราส่วนที่ 4 ซึ่งมี VFW และ LW ในปริมาตรเท่ากันและการทดลองอัตราส่วนที่ 5 ซึ่งมี VFW LW และ WW ในปริมาตรเท่ากัน รวมทั้งสิ้น 20 การทดลอง ภายในระยะเวลา 20 วัน และใช้เกณฑ์คุณภาพเบื้องต้น เกณฑ์คุณภาพและการสูญเสียน้ำหนักในการวัดคุณภาพของปุ๋ยหมัก ผลการทดลองพบว่า การทดลองที่ 4 และชุดการทดลอง B มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองผ่านเกณฑ์คุณภาพเบื้องต้นครบทุกตัวแปรมากที่สุด การทดลองที่ 4 และชุดการทดลอง A มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองผ่านเกณฑ์คุณภาพมากที่สุด และส่วนการทดลองที่ 1 และชุดการทดลอง A มีผลทำให้ปุ๋ยหมักจากการทดลองมีการสูญเสียน้ำหนักมากที่สุด สรุปผลการทดลองได้ว่า อัตราส่วนวัตถุดิบที่เป็น VFW และ LW ในปริมาตรเท่ากัน และชุดการทดลองที่มีจำนวนรอบในการเติมอากาศ 4 …


การดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยวัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์, จิรภิญญา โอทอง Jan 2019

การดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนโดยวัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์, จิรภิญญา โอทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีเป้าหมายเพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ที่ทำการคาร์บอไนซ์เพื่อดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทน โดยทำการสังเคราะห์วัสดุโครงข่ายโลหะอินทรีย์ (MOFs) ชนิด MIL-53(Al), ZIF-8(Zn) และ HKUST-1(Cu) ที่อุณหภูมิห้อง และนำมาผ่านกระบวนการคาร์บอนไนเซชันที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส ภายในก๊าซไนโตรเจน ( carbonized MIL-53(Al), carbonized ZIF-8(Zn) และ Carbonized HKUST-1(Cu)) เพื่อเพิ่มเสถียรภาพในวัฏภาคน้ำ และศึกษาดูดซับสารกลุ่มไตรฮาโลมีเทนทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ คลอโรฟอร์ม(TCM), โบรโมฟอร์ม(TBM), โบรโมไดคลอรามีเทน (BDCM) และไดโบรโมคลอรามีเทน (DBCM) แบบทีละเทในน้ำประปา โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการดูดซับกับถ่านกัมมันต์ชนิดผงเกรดการค้า (PAC) จากผลการทดลองพบว่าตัวดูดซับที่ทำการคาร์บอไนซ์มีประสิทธิภาพในการดูดซับสูงกว่าตัวดูดซับแบบปกติ carbonized MIL-53(Al) มีอัตราเร็วในการดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนทั้ง 4 ชนิดสูงกว่า carbonized MOFs อีก 2 ตัวและใกล้เคียงกับ PAC โดยจลนพลศาสตร์การดูดซับของสารไตรฮาโลมีเทนของ carbonized MIL-53(Al) และถ่านกัมมันต์ชนิดผงเกรดการค้า เป็นไปตามจลนพลศาสตร์การดูดซับลำดับที่ 2 เสมือน และเข้าสู่สภาวะสมดุลภายในระยะเวลา 40 นาที และ 60 นาที ตามลำดับ การศึกษาไอโซเทอมการดูดซับพบว่า carbonized MIL-53(Al) สามารถดูดซับสารไตรฮาโลมีเทนได้ดีกว่า PAC โดยสามารถดูดสารโบรโมฟอร์มได้ดีที่สุด (TCM


การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นทีเคเอ็นสูงโดยระบบร่วมถังโปรยกรองและถังกรองกึ่งไร้อากาศ, ชุตาภา มงคลอุปถัมภ์ Jan 2019

การบำบัดน้ำเสียความเข้มข้นทีเคเอ็นสูงโดยระบบร่วมถังโปรยกรองและถังกรองกึ่งไร้อากาศ, ชุตาภา มงคลอุปถัมภ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ศึกษาการบำบัดน้ำเสียทีเคเอ็นความเข้มข้นสูง โดยใช้ระบบถังโปรยกรองร่วมกับถังกรองกึ่งไร้อากาศที่พีเอช 6 เพื่อป้องกันกลิ่นของก๊าซแอมโมเนีย โดยใช้น้ำเสียสังเคราะห์ซึ่งเตรียมจากน้ำตาลกลูโคสที่ความเข้มข้น 2,000 มก.ซีโอดี/ล.และ 150 มก.ไนโตรเจน/ล. โดยแบ่งออกเป็น 4 การทดลอง คือ การทดแทนน้ำเสียใหม่ร้อยละ 16 32 50 และ 68 โดยเดินระบบในถังโปรยกรองเพื่อกำจัดซีโอดีและบำบัดแอมโมเนียไปเป็นไนเตรทแล้วบำบัดต่อด้วยถังกรองกึ่งไร้อากาศเพื่อกำจัดไนเตรทแล้วเวียนน้ำกลับไปที่ถังโปรยกรองก่อนจะถ่ายน้ำที่บำบัดแล้วออกและทดแทนด้วยน้ำเสียสังเคราะห์ใหม่ไปเรื่อยๆ จนประสิทธิภาพของระบบคงที่ ผลการทดลองพบว่าประสิทธิภาพในการบำบัดซีโอดีของระบบโดยรวมคิดเป็น ร้อยละ 97-98 เป็นประสิทธิภาพของถังกรองไร้อากาศร้อยละ 86-93 และถังโปรยกรองอีกร้อยละ 19-75 และมีอัตราการบำบัดซีโอดีสูงสุดของถังกรองกึ่งไร้อากาศและถังโปรยกรองอยู่ที่ 459.82±13.44 และ 117.80±8.45 มก.ซีโอดี/ล.-วัน ตามลำดับ มีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียของทั้งระบบอยู่ที่ร้อยละ 53-100 และมีอัตราไนตริฟิเคชันจำเพาะสูงสุดที่ถังโปรยกรองอยู่ที่ 1.37 ก.-ไนโตรเจน/ตร.ม.-วัน และมีอัตราดีไนตริฟิเคชันจำเพาะสูงสุดที่ถังกรองกึ่งไร้อากาศอยู่ที่ 6.15±0.56 ก.-ไนโตรเจน/ตร.ม.-วัน ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าระบบร่วมนี้ที่การทดแทนน้ำเสียร้อยละ 50 ดีที่สุด ซึ่งมีประสิทธิภาพในการบำบัดไนโตรเจนทั้งหมดได้สูงถึงร้อยละ 37 และมีประสิทธิภาพในการบำบัดแอมโมเนียที่ถังโปรยกรองสูงถึงร้อยละ 97 แต่ประสิทธิภาพในการบำบัดไนเตรทที่ถังกรองกึ่งไร้อากาศและซีโอดีของแต่ละการทดแทนน้ำเสียมีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกันมากนักอยู่ที่ประมาณร้อยละ 95-99


การลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า, ณัฐวดี ปลื้มชิงชัย Jan 2019

การลดก๊าซเรือนกระจกจากการอนุรักษ์พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยของอาคาร : กรณีศึกษาอาคารศูนย์การค้า, ณัฐวดี ปลื้มชิงชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

อาคารศูนย์การค้าเป็นหนึ่งในอาคารพาณิชย์ที่มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในปริมาณที่สูงมากต่อปี ทุกกิจกรรมในอาคารสามารถเป็นแหล่งกำเนิดของการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ทั้งการใช้พลังงานและการเกิดขยะมูลฝอย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้พลังงานและการจัดการขยะมูลฝอยในอาคาร โดยใช้การประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากมาตรการอนุรักษ์พลังงาน และการจัดการขยะมูลฝอยจากข้อเสนอแนะ ทั้งนี้ ได้ทำการศึกษากิจกรรม จากอาคารศูนย์การค้าในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาจำนวน 5 อาคาร ใช้ระยะเวลาศึกษาและรวบรวมข้อมูลเป็นระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงธันวาคม พ.ศ.2561) จากการศึกษาพบว่ากิจกรรมหลักที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกอาคารคือการใช้พลังงานไฟฟ้า โดยปริมาณการใช้พลังงานมีความสอดคล้องกับขนาดของพื้นที่ เช่นเดียวกับการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นตามขนาดพื้นที่อาคารอย่างมีนัยสำคัญ และเศษอาหารเป็นสัดส่วนที่พบมากที่สุดในสัดส่วนของขยะมูลฝอยที่จะถูกส่งกำจัดยังหลุมฝังกลบ จากการศึกษามาตรการอนุรักษ์พลังงานและวิเคราะห์ MAC จะแสดงผลประโยชน์การลงทุนของมาตรการอนุรักษ์พลังงานดังกล่าว ทั้งประโยชน์ในแง่สิ่งแวดล้อมที่จะสามารถลดก๊าซเรือนกระจกและในแง่ทางเศรษฐศาตร์ที่จะลดต้นทุนในการดำเนินกิจการ การศึกษาทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นแนวทางการประเมินคาร์บอนฟุตปริ้นท์องค์กร (CFO), การวิเคราะห์ Marginal Abatement Cost (MAC), การวิเคราะห์มาตรการอนุรักษ์พลังงาน และแนวทางการจัดการขยะมูลฝอย จะเป็นข้อมูลตัวอย่างที่อาคารศูนย์การค้าทั่วไปสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอาคารได้เช่นเดียวกัน


การดูดซับไอบูโพรเฟนโดยตัวกลางดูดซับแบบโครงข่ายโลหะสารอินทรีย์ Mil-53(Al) ที่เคลือบเมโสพอรัสซิลิกา, บุญฤทธิ์ ศิริรังสรรค์กุล Jan 2019

การดูดซับไอบูโพรเฟนโดยตัวกลางดูดซับแบบโครงข่ายโลหะสารอินทรีย์ Mil-53(Al) ที่เคลือบเมโสพอรัสซิลิกา, บุญฤทธิ์ ศิริรังสรรค์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประส่งค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการดูดซับสารตกค้างจากยากลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ไอบูโพรเฟน (IBP) ในนำ้เสียสังเคราะห์ โดยตัวกลางดูดซับโครงข่ายโลหะอินทรีย์ MIL-53(Al) และ MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนต่างๆ นอกจากนี้ยังศึกษาเสถียรภาพของ MIL-53(Al) ในนำ้เสียสังเคราะห์ทั้งก่อนและหลังการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกา รวมถึงการศึกษาการนำตัวกลางดูดซับกลับมาใช้ใหม่ภายหลังจากฟื้นสภาพตัวกลางดูดซับด้วยเมธานอล จากผลการทดลองกระบวนการดูดซับภายใต้ระบบทีละเท พบว่า MIL-53(Al) มีอัตราเร็วในการดูดซับไอบูโพรเฟนสูงกว่าถ่านกัมมันต์ชนิดผง (PAC) โดยเข้าสู่สมดุลภายใน 75 นาที และเมื่อทำการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนต่างๆ พบว่าอัตราเร็วในการดูดซับเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยใช้ระยะเวลาในการเข้าสู่สมดุลภายใน 25 และจลนพลศาสตร์การดูดซับของตัวกลางดูดซับทั้งหมดสอดคล้องกับจลนพลศาตร์การดูดซับเสมือนลำดับที่ 2 ในขณะที่ตัวกลางดูดซับเมโสพอรัสซิลิกาเพียงอย่างเดียวไม่พบการดูดซับ โดย MIL-53(Al) มีความสามารถในการดูดซับสูงสุด เมื่อเคลือบเมโสพอรัสซิลิกาที่สัดส่วนโดยโมลของ MIL-53(Al) ต่อเตตระเอธิลออร์โธซิลิเกต (TEOS) เท่ากับ 1:0.48 มีความสามารถในการดูดซับไอบูโพรเฟนสูงกว่าสัดส่วนอื่นๆ และไอโซเทอมการดูดซับสอดคล้องกับแบบจำลองของเรดลิช-ปีเตอร์สัน ถึงแม้ว่าการเคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาจะมีประสิทธิภาพในการดูดซับลดลง แต่ยังมีความสามารถในการดูดซับใกล้เคียงกับ PAC จากการศึกษาเสถียรภาพพบว่า MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกามีเสถียรภาพเพิ่มขึ้นและมีการชะละลายของสารอินทรีย์และโลหะน้อยลง นอกจากนี้ MIL-53(Al) ที่เคลือบชั้นเมโสพอรัสซิลิกาสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ถึง 2 ครั้งหลังจากสกัดด้วยเมทานอล ในขณะที่ MIL-53(Al) ไม่สามารถในการดูดซับไอบูโพรเฟนได้อีกเมื่อนำกลับมาใช้ใหม่ในครั้งที่ 2 เนื่องจากการพังทลายของโครงสร้าง


การวิเคราะห์แนวทางการลดของเสีย: กรณีศึกษาของกระบวนการผลิตขวดเพท, พีรพล วงศ์บุญนาค Jan 2019

การวิเคราะห์แนวทางการลดของเสีย: กรณีศึกษาของกระบวนการผลิตขวดเพท, พีรพล วงศ์บุญนาค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ขวดเพทได้รับความนิยมแก่ผู้บริโภคเพราะมีคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการใช้งาน แต่ในกระบวนการผลิตนั้นมักจะก่อให้เกิดของเสียพลาสติกขึ้นมา ในการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ที่วิเคราะห์จุดกำเนิดของเสียและหาข้อเสนอแนะที่เหมาะสมในการลดของเสียพลาสติก ในการวิจัยได้ใช้การวิเคราะห์การไหลของมวลสารเพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานของการใช้ทรัพยากร ค้นหาจุด Hot spot และนำไปสู่การประเมินแนวทางจัดการของเสียพลาสติกให้ตรงจุดมากที่สุด งานวิจัยได้ออกแบบการเก็บข้อมูลโดยการพัฒนาและออกแบบแบบฟอร์มใบรายงานการผลิต การสัมภาษณ์ การศึกษาคู่มือ ตลอดจนการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการลดของเสียพลาสติกจากกระบวนการเป่าขวดเพท และนำองค์ความรู้ที่รวบรวมได้ไปใช้งานจริงในการปฏิบัติงาน ผลการศึกษาพบว่าแผนกฉีดพรีฟอร์มเกิดของเสียจากการเซ็ตอัพมากที่สุด แผนกเป่าขวดเพท ก่อให้เกิดของเสียประเภทอื่นๆที่อยู่นอกเหนือจากการจำแนกประเภทมากที่สุด แนวทางการลดของเสียที่แนะนำให้ดำเนินการเพื่อลดของเสียพลาสติกในภาพรวม คือ การปรับปรุงระบบสนับสนุนของกระบวนการผลิต ได้แก่ ระบบน้ำ ระบบลม, ลำดับต่อมา คือ การสร้างองค์ความรู้แก่พนักงาน, การใช้เอกสารประกอบการทำงาน, สุดท้าย คือ การรักษาสภาพเครื่องจักรให้มีความสมบูรณ์ทั้งก่อนและระหว่างทำการผลิต แนวทางการปรับปรุงที่ดำเนินการสามารถทำให้ของเสียในภาพรวมลดลงได้


Strength Analysis Of Concrete-Encased Cellular Steel Columns, Worakarn Anuntasena Jan 2019

Strength Analysis Of Concrete-Encased Cellular Steel Columns, Worakarn Anuntasena

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research investigates the compression behavior of bare cellular steel columns and concrete-encased cellular steel (CECS) columns subjected to concentric and eccentric loadings. First, the experimental study of the cellular steel and CECS columns was conducted in the laboratory. For the cellular steel columns subjected to concentric loading, the failure mode of the bare cellular steel columns was local buckling at both web and flanges at the hole section. All cellular steel columns exhibited yielding and hardening behavior. The cellular columns had the average yield loads less than the parent column by 15 %. For the CECS and CES columns …