Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Engineering Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chemical Engineering

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Theses/Dissertations

2020

Articles 1 - 30 of 59

Full-Text Articles in Engineering

Biofuel Production From Spent Coffee Grounds By Supercritical Ethyl Acetate, Wirasinee Supang Jan 2020

Biofuel Production From Spent Coffee Grounds By Supercritical Ethyl Acetate, Wirasinee Supang

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this work, spent coffee grounds (SCGs) was used as the feedstock for biofuel production by supercritical ethyl acetate. The SCGs is waste obtained from coffee industrial that is continuously increasing every year. To make SCGs becomes more valuable, utilization of ethyl acetate as the extracting and reacting solvents for biofuel production via interesterification reaction. The characterization of SCGs sample showed that the moisture content of fresh SCGs was around 56 wt%. After oven drying, the moisture of SCGs was reduced to 12.76 %wt. To prolong the shelf-life of the sample and to minimize impact of hydrolysis on interesterification reaction, …


การพัฒนาสูตรตำรับยาแคลเซียมชนิดเม็ดด้วยวิธีการตอกตรง, อรรถพล ฮกเจริญ Jan 2020

การพัฒนาสูตรตำรับยาแคลเซียมชนิดเม็ดด้วยวิธีการตอกตรง, อรรถพล ฮกเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาสูตรตำรับแคลเซียมชนิดเม็ดด้วยวิธีการตอกตรง โดยทุกวัตถุดิบจะผ่านการผสมให้เข้ากันเป็นเนื้อเดียว และตอกขึ้นรูปเม็ดด้วยเครื่องตอกเม็ดยาแบบสากเดี่ยว วัตถุดิบที่ทดสอบในงานนี้ ได้แก่ แคลเซียมคาร์บอเนต ไตรแคลเซียมซิเตรท และแคลเซียมคาร์บอเนตที่ได้มาจากเปลือกไข่ ใช้เป็นสารสำคัญหลัก ชนิดของสารช่วยตอกเม็ด ได้แก่ แลคโตสโมโนไฮเดรต, ไฮดรอกซีโพรพริลเมทิลเซลลูโลส, โคโพวิโดน, โซเดียมสตาร์ซไกลโคเลท, แมกนีเซียมสเตียเรท และคอลลอยดัลซิลิคอนไดออกไซด์ ที่อัตราส่วนต่างๆ ถูกนำมาทดสอบในเครื่องผสมแบบคิวบิก ผลของอัตราส่วนของสารสำคัญต่อคุณสมบัติทางกายภาพ คุณลักษณะของเม็ด และการขึ้นสูตรต้นตำรับได้ถูกศึกษา จากผลที่ได้ พบว่า ธาตุแคลเซียมที่วิเคราะห์ด้วยเครื่องอะตอมิกซ์แอบชอร์พชันสเปกโทรมิเตอร์ที่ความยาวคลื่น 422.7 นาโนเมตร มีค่าใกล้เคียงกับค่าที่คำนวณจากทฤษฎี เม็ดหลักที่เตรียมด้วยวิธีการตอกตรงที่อัตราส่วนต่างๆ มีลักษณะทางกายภาพที่ดี โดยเม็ดหลักมีสีขาวที่พื้นผิวเรียบ คุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ความแข็ง ความกร่อน ความหนา และความแปรปรวนของน้ำหนักเม็ด ได้ยืนยันตามมาตรฐานเภสัชตำรับของอเมริกา นอกจากนี้ การศึกษาการละลายมีค่ามากกว่า 80% ในสารละลายฟอสเฟสบัพเฟอร์ ที่มีค่าความเป็นกรดด่าง 6.8 ในเวลา 1 ชั่วโมง ข้อมูลของการทดลองการละลายมีความสอดคล้องกับรูปแบบทางคณิตศาสตร์ของ Korsmeyer-Peppas ในสูตรตำรับ F 1 และสอดคล้องกับสมการจลนศาสตร์อันดับหนึ่ง ในสูตรตำรับ F02 และ F3 เม็ดหลักได้ถูกนำมาเก็บในภาชนะขวดสีชาฝาเกลียวปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสมบัติทางกายภาพ ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของความแข็ง ความกร่อน และความแปรปรวนของน้ำหนักเม็ดระหว่างการผลิตแบบกะขนาดเล็กและแบบขยายขนาด


การเตรียมคาร์บอนที่มีรูพรุนจากเรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์, วรวรรณ จันทรา Jan 2020

การเตรียมคาร์บอนที่มีรูพรุนจากเรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์, วรวรรณ จันทรา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ในงานวิจัยนี้ได้ศึกษาการนำน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ มาใช้เป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับการสังเคราะห์เรซินน้ำมันเปลือกเมล็ดมะม่วงหิมพานต์-ฟอร์มาลดีไฮด์ผ่านทางกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชันโดยไม่มีการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยา เพื่อทดแทนการใช้ฟีนอลซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางปิโตรเลียม และเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเรซิน จึงได้นำเรซินไปต่อยอดเป็นวัตถุดิบสำหรับการสังเคราะห์เป็นคาร์บอนที่มีรูพรุน ผ่านทางกระบวนการคาร์บอไนเซชันภายใต้แก๊สไนโตรเจน และเพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่ผิวจำเพาะ และปริมาตรของรูพรุนให้กับคาร์บอนที่สังเคราะห์ได้ จึงได้มีการนำไปผ่านกระบวนการกระตุ้น 2 วิธี ได้แก่ การกระตุ้นทางกายภาพด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และการกระตุ้นทางเคมีด้วยสารละลายเหล็ก (III) ไนเตรต [Fe(NO3)3] ในส่วนของการวิเคราะห์ เรซินจะถูกทดสอบสมบัติเชิงความร้อน คาร์บอนจะถูกทดสอบสมบัติด้วยวิธี เอกซ์เรยดิฟแฟรกชัน การดูดซับและการคายซับไนโตรเจน และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด จากการศึกษาพบว่าเรซินมีสมบัติเชิงความร้อนอยู่ในช่วงอุณหภูมิ 382-750 องศาเซลเซียส เมื่อนำเรซินไปผ่านกระบวนการคาร์บอไนเซชันภายใต้แก๊สไนโตรเจน คาร์บอนที่ได้มีค่าพื้นที่ผิวจำเพาะ ปริมาตรรูพรุนแบบไมโครพอร์และมีโซพอร์น้อยมากจนถือว่าไม่มีรูพรุนเกิดขึ้น ในทางกลับกันเมื่อทำการกระตุ้นทางกายภาพด้วยแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ คาร์บอนที่ได้มีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น โดยช่วยเสริมสร้างการเกิดของรูพรุนแบบไมโครพอร์ ส่งผลให้ค่าพื้นที่ผิวจำเพาะสูงที่สุดมีค่าเท่ากับ 291 ตารางเมตรต่อกรัม โดยมีปริมาตรรูพรุนแบบไมโครพอร์เท่ากับ 0.1104 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม นอกจากนี้เมื่อนำไปกระตุ้นทางเคมีด้วยสารละลายเหล็ก (III) ไนเตรต สามารถช่วยก่อให้เกิดการสร้างของรูพรุนแบบมีโซพอร์ ที่มีพื้นที่ผิวจำเพาะสูงมีค่าเท่ากับ 153 ตารางเมตรต่อกรัม และมีปริมาตรรูพรุนแบบมีโซพอร์เท่ากับ 0.0928 ลูกบาศก์เซนติเมตรต่อกรัม อีกทั้งคาร์บอนที่ได้ยังแสดงคุณสมบัติทางแม่เหล็ก สามารถแยกออกจากตัวกลางได้ง่ายด้วยแรงแม่เหล็กภายนอก


ผลกระทบของ So2 และ No ต่ออัตราการออกซิไดซ์โทลูอีนด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา Wo3/Tio2, วีรวิช เตชัสวงศ์ Jan 2020

ผลกระทบของ So2 และ No ต่ออัตราการออกซิไดซ์โทลูอีนด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา Wo3/Tio2, วีรวิช เตชัสวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ทางจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีน ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยา WO3/TiO2 ทำการวิเคราะห์คุณลักษณะตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยเทคนิค SEM-EDX, Nitrogen Physisorption, XRD และ NH3-TPD ทำการทดสอบความสามารถของตัวเร่งปฏิกิริยา WO3/TiO2 ที่บรรจุลงในเครื่องปฏิกรณ์แบบเบดนิ่งปริมาณ 0.1 g ในการออกซิไดซ์โทลูอีน 800-1000 ppm ในช่วงอุณหภูมิ 150-450 °C โดยมีความเข้มข้นของ O2 ที่ 3, 12 และ 21 vol% ความเข้มข้นของ SO2 ที่ 0, 25 และ 50 ppm ความเข้มข้นของ NO ที่ 0 และ 100 ppm และปรับอัตราไหลรวมเป็น 200 mL/min โดยใช้ก๊าซไนโตรเจน จากการศึกษาพบว่าการเพิ่มขึ้นของความเข้มข้น O2 ส่งผลให้ค่าการเปลี่ยนแปลงของการออกซิไดซ์โทลูอีนด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาดีขึ้น และเห็นได้เด่นชัดในช่วงอุณหภูมิสูง เมื่อมีค่าความเข้มข้นของ SO2 เข้ามาในระบบ จะส่งผลต่อค่าการเปลี่ยนแปลงของการออกซิไดซ์โทลูอีนดีขึ้นเพียงเล็กน้อย เมื่อพิจารณาค่าพารามิเตอร์ทางจลนพลศาสตร์ พบว่าในปฏิกิริยาการออกซิไดซ์โทลูอีนเมื่อความเข้มข้นของ O2 เพิ่มขึ้นค่าพลังงานกระตุ้นมีค่าลดลง โดยค่าพลังงานกระตุ้นที่ความเข้มข้น O2 3 vol% อยู่ในช่วง 55-66 kJ/mol ที่ความเข้มข้น O2 12 vol% อยู่ในช่วง 55-56 kJ/mol และที่ความเข้มข้น O2 21 vol% อยู่ในช่วง 55-57 kJ/mol เมื่อเพิ่ม NO เข้าไปในระบบพบว่าค่าการเปลี่ยนแปลงของโทลูอีนเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจากพบว่าไม่พบการเกิด CO2 ขึ้นในระบบ จึงคาดว่าโทลูอีนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารอินทรีย์ที่มีจุดเดือดสูง นอกจากนี้ได้ทดลองใช้โปรแกรม GNU-Octave โดยใช้แบบจำลอง pseudo-homogeneous แบบหนึ่งมิติ เพื่อคำนวณผลของค่า WHSV ต่อค่าการเปลี่ยนแปลงของการออกซิไดซ์โทลูอีนในระบบ พบว่าเมื่อเพิ่มค่า WHSV จะทำให้ค่าการเปลี่ยนแปลงของการออกซิไดซ์โทลูอีนมีค่าลดลง


การแยกน้ำออกจากสารละลายโซเดียมเมทิลเลทในเมทานอลด้วยวิธีการสตริปปิ้ง, ศิวกร นามเขื่อนแพทย์ Jan 2020

การแยกน้ำออกจากสารละลายโซเดียมเมทิลเลทในเมทานอลด้วยวิธีการสตริปปิ้ง, ศิวกร นามเขื่อนแพทย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

โซเดียมเมทิลเลทเป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ใช้ในกระบวนการผลิตไบโอดีเซล โซเดียมเมทิลเลทสามารถผลิตได้จากการทำปฏิกิริยาของเมทานอลกับโซเดียมไฮดรอกไซด์ ซึ่งเกิดน้ำเป็นผลิตภัณฑ์ข้างเคียง น้ำจะไปรบกวนกระบวนการผลิตไบโอดีเซลทำให้เกิดสบู่ การศึกษานี้เป็นการศึกษาการแยกน้ำออกจากสารละลายโซเดียมเมทิลเลทในเมทานอลด้วยวิธีการสตริปปิ้ง การทดลองทำในหอสตริปปิ้งต้นแบบที่สภาวะอุณหภูมิการป้อนเข้าของไอเมทานอลร้อนยวดยิ่งที่อุณหภูมิจาก 100 ถึง 140 องศาเซลเซียส อัตราส่วนของเหลวต่อไอ (L/V ratio) จาก 1:1.3 ถึง 1:2 เท่าของอัตราส่วนของเหลวต่อไอสูงสุด ((L/V)max) และปริมาณน้ำในของเหลวที่ป้อนเข้าจากร้อยละ 3.23 ถึง 6.25 โดยน้ำหนัก (เทียบเท่าสารละลายโซเดียมเมทิลเลทที่ร้อยละ 10 ถึง 20 โดยน้ำหนัก) ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าเมื่อเพิ่มอุณหภูมิของไอเมทานอล น้ำจะระเหยจากสารละลายโซเดียมเมทิลเลทได้มากขึ้น และปริมาณเมทานอลที่ควบแน่นจากไอเมทานอลลดลง เมื่อเพิ่มอัตราส่วนของเหลวต่อไอสูงสุด ((L/V)max) น้ำจะระเหยจากสารละลายโซเดียมเมทิลเลทได้มากขึ้น และปริมาณเมทานอลที่ควบแน่นจากไอเมทานอลลดลง และเมื่อปริมาณน้ำในสารละลายโซเดียมเมทิลเลทสายป้อนเพิ่มขึ้น ความสามารถในการระเหยน้ำจากสารละลายโซเดียมเมทิลเลทลดลง และปริมาณเมทานอลที่ควบแน่นจากไอเมทานอลเพิ่มขึ้น ผลการทดลองทั้งหมดยังแสดงให้เห็นว่าน้ำถ่ายเทจากสารละลายเข้าสู่ไอเมทานอลโดยน้ำจะระเหยกลายเป็นไอก่อนการถ่ายเท ความร้อนที่ใช้ในการระเหยน้ำได้รับมาจากไอของเมทานอล ส่งผลให้ไอเมทานอลบางส่วนเกิดการควบแน่นกลายเป็นของเหลวลงสู่สารละลาย


การประมาณค่าจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาการสังเคราะห์ดีเฟอราซิร็อกซ์จากค่าการไหลของความร้อนจากปฏิกิริยาเพื่อนำไปขยายขนาดในระดับเครื่องนำร่อง​, วสันต์ คงในขาว Jan 2020

การประมาณค่าจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาการสังเคราะห์ดีเฟอราซิร็อกซ์จากค่าการไหลของความร้อนจากปฏิกิริยาเพื่อนำไปขยายขนาดในระดับเครื่องนำร่อง​, วสันต์ คงในขาว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ดีเฟอราซิร็อก เป็นวัตถุดิบทางเภสัชกรรมได้ถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรค สำหรับผู้ป่วยที่มีสภาวะเหล็กในร่างกายเกิน เช่น ผู้ป่วยธาลัสซีเมีย หรือผู้ที่ร่างกายได้รับการถ่ายเลือดเป็นเวลานาน ดีเฟอราซิร็อกซ์เป็นสารตัวหนึ่งที่สามารถเข้าไปจับกับพันธะของเหล็กในร่างกายได้ โดยในปัจจุบันนี้ทางองค์การเภสัชกรรมได้มีการพัฒนาการการสังเคราะห์ยาดีเฟอราซิร็อกซ์ โดยใช้สารอนุพันธ์ Benzoxazinone เป็นสารตั้งต้นซึ่งมีสถานะเป็นของแข็ง ละลายในตัวทำละลายเอทานอล สำหรับในงานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหาค่าตัวแปรทางจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาเคมีจากข้อมูลการไหลทางความร้อนของปฏิกิริยาซึ่งถูกวิเคราะห์ด้วยเครื่อง Reaction calorimeter โดยทำการทดลองเก็บข้อมูลที่สภาวะของการสังเคราะห์ในเครื่องปฎิกรณ์แบบกะที่อุณหภูมิ 65 ถึง 75 องศาเซลเซียส และความเร็วรอบของใบกวนที่ 50 ถึง 350 รอบต่อนาที การคายความร้อนของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจะถูกนำไปวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับข้อมูลที่ได้ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงถดถอยแบบไม่เป็นเส้นตรงโดยใช้โปรแกรมภาษาไพธอนในการเขียนชุดคำสั่งเพื่อหาค่าตัวแปรทางจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยาจากผลการวิเคราะห์ที่ได้พบว่าค่าคงที่อัตราของปฏิกิริยามีค่าเท่ากับ 0.04029 ลิตรต่อวินาทีต่อโมล และให้ค่าพลังงานกระตุ้นเท่ากับ 181.7 กิโลจูลต่อโมล ซึ่งค่าจลนพลศาสตร์ของปฏิกิริยานี้เป็นข้อมูลที่สำคัญที่สามารถนำไปใช้ในแบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับการทำนายอุณหภูมิของปฏิกิริยาที่มีการคายความร้อนในระดับนำร่องหรือระดับอุตสาหกรรมต่อไปได้


Synthesis Of Mwcnts By Chemical Vapor Deposition From Methane Using Femo/Mgo Catalyst : Role Of Hydrogen And Kinetic Study, Chawalkul Chotmunkhongsin Jan 2020

Synthesis Of Mwcnts By Chemical Vapor Deposition From Methane Using Femo/Mgo Catalyst : Role Of Hydrogen And Kinetic Study, Chawalkul Chotmunkhongsin

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

In this study, carbon nanotubes (CNTs) were synthesized by chemical vapor deposition (CCVD) of methane over FeMo/MgO catalyst in a fixed-bed reactor. The role of hydrogen on CNTs synthesis and kinetics of CNTs formation were experimentally investigated. The study revealed that hydrogen in the catalyst reduction process plays an important role in the structural changes of FeMo/MgO catalyst. The catalyst structure fully transformed into metallic FeMo, resulting in the increased yield of 5 folds higher than the non-reduced catalyst. However, the slightly larger diameter and lower crystallinity ratio of CNTs was obtained. The hydrogen co-feeding during the synthesis can slightly …


Modeling Of Zinc-Air Batteries Using Theoretical And Empirical Approach, Woranunt Lao-Atiman Jan 2020

Modeling Of Zinc-Air Batteries Using Theoretical And Empirical Approach, Woranunt Lao-Atiman

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, an energy storage system (ESS) is attracting widespread research interest. Zinc-air battery (ZAB) is a promising candidate for ESS owing to its high energy density at low cost. Although ZAB has been researched in various aspects, the modeling aspect is still insufficient. Therefore, this work aims to study the modeling of ZAB using both theoretical and empirical approaches. At first, the ZAB system was analyzed using a theoretical approach. The studied system was an integrated system of zinc-air flow battery (ZAFB) and zinc electrolyzer. The zero-dimensional mathematical model was developed in MATLAB and validated against experimental data. The model …


Evaluation Of Cost, Materials, And Safety Of Flow Battery Technologies For Large Scale Energy Storage, Somya Lekcharoen Jan 2020

Evaluation Of Cost, Materials, And Safety Of Flow Battery Technologies For Large Scale Energy Storage, Somya Lekcharoen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

New technologies of flow batteries have been developed but the cost, materials, and safety of each of the technologies are still lacking evaluation such as zinc-based flow batteries, so in this work, the cost, materials, and safety of zinc-based flow batteries including zinc air flow battery, zinc iodine flow battery, zinc iron flow battery, zinc manganese dioxide flow battery and vanadium flow batteries are examined for 12 large scale energy storage applications. This work demonstrated that zinc air flow battery is the most cost-effective because of the lowest cost of investment cost and Levelized cost of storage (LCOS) in all …


Techno-Economic Analysis Of Acetaldehyde Production Via Partial Oxidative Dehydrogenation Of Ethanol, Sudarat Sompong Jan 2020

Techno-Economic Analysis Of Acetaldehyde Production Via Partial Oxidative Dehydrogenation Of Ethanol, Sudarat Sompong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Due to the increased attention regarding the battery electric vehicles, the demand for ethanol as a biofuel may be reduced in the future. Therefore, ethanol transformation towards acetaldehyde is conducted in this work, primarily because of the higher selling price and several advantages of acetaldehyde. Regarding the acetaldehyde preparation, acetaldehyde is produced by partial oxidative dehydrogenation of ethanol. According to the economic analysis results, at the same price of acetaldehyde, an annual production capacity of 120,000 tons is the most profitable production size. In addition, the potential process of producing acetaldehyde from ethanol is acetaldehyde production process at 200°C since …


Effect Of Molecular Sieve Addition On Methanol Synthesis From Co2 And H2 Through Alcohol Assisted Method Over Cu/Zno Catalyst, Tanawut Boonamnuay Jan 2020

Effect Of Molecular Sieve Addition On Methanol Synthesis From Co2 And H2 Through Alcohol Assisted Method Over Cu/Zno Catalyst, Tanawut Boonamnuay

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Low-temperature methanol synthesis from CO2 and H2 was carried out using ethanol as catalytic solvent. The alcohol-assisted method reduced synthesis temperature and enhanced methanol yield (35.8%) at 150 oC (5.0 MPa, Cu/ZnO catalyst). However, ethyl acetate and water were generated as byproducts from the reaction. The byproducts formed azeotrope mixture with methanol and led to a complex product purification. Therefore, in this study, molecular sieves (MS) were introduced to adsorb the byproducts. The effect of different MS (3A and 5A) was studied. It was found that MS helped enhancing methanol yield. The highest methanol yield (42.6%) was obtained when adding …


Process Analysis And Economic Evaluation Of Acetaldehyde Production From Ethanol Via Non-Oxidative Dehydrogenation, Thanakarn Suthirojn Jan 2020

Process Analysis And Economic Evaluation Of Acetaldehyde Production From Ethanol Via Non-Oxidative Dehydrogenation, Thanakarn Suthirojn

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

At present, there is an awareness of global warming. The use of combustion fuel in cars is another cause of carbon dioxide emission which can caused global warming. As a result, electric vehicles (EV) have a greater role in the world Including Thailand, resulting in lower fuel consumption. For this reason, the demand for ethanol may decreased. Due to the higher price and wide range of applications, it is interesting to find alternatives to convert ethanol into acetaldehyde in this work. In this research, Aspen plus will be utilized for the process simulation and economic evaluation of two processes by …


Analysis Of Mass Transfer Coefficient Of Co2 Absorbed By Two-Component Amine Mixture In A Packed Bed Column, Thanakornkan Limlertchareonwanit Jan 2020

Analysis Of Mass Transfer Coefficient Of Co2 Absorbed By Two-Component Amine Mixture In A Packed Bed Column, Thanakornkan Limlertchareonwanit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Nowadays, coal fired plant has an important role in generating energy all over the world. It affects to greenhouse gases effect (GHGs) and global warming. Carbon dioxide (CO2) is a product of coal combustion that is the amount of number one in the world. However, most of the CO2 usually remove from post-combustion process by chemical absorption which is Monoethanolamine (MEA). Anyway, MEA has a disadvantage such as low CO2 loading and corrosion. Therefore, this study needs to investigate the effect of the mass transfer for a new solvents, 2-(Methylamino)ethanol (2-MAE) and Dimethylaminoethanol (DMAE), compensate for the drawbacks of MEA …


Effect Of Cocatalyst Combination In Titanium-Based Ziegler-Natta Catalyst On Olefin Polymerization, Thanyaporn Pongchan Jan 2020

Effect Of Cocatalyst Combination In Titanium-Based Ziegler-Natta Catalyst On Olefin Polymerization, Thanyaporn Pongchan

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research focused on effect of cocatalyst types (TEA, TnOA, and TEA+TnOA) on titanium-based Ziegler-Natta catalyst in olefin polymerization both in slurry and gas-phase systems. This study has been divided into four sections. The commercial titanium-based catalyst was selected to investigate effect of reaction temperature and oxidation state of titanium from ESR measurement on slurry ethylene and propylene polymerization in the first and the second parts, respectively. The commercial catalyst with TEA exhibited the highest activity in ethylene polymerization. However, divalent, and trivalent of titanium (Ti2+ and Ti3+) was active in ethylene polymerization to produce more polymer. Stability of Ti3+ …


Development Of Graphite-Based Conductive Patterns By Copper Electroless Plating And Electroplating Techniques, Vipada Aupama Jan 2020

Development Of Graphite-Based Conductive Patterns By Copper Electroless Plating And Electroplating Techniques, Vipada Aupama

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The screen-printing technique has been widely applied in electronic manufacturing field. In this work, graphite is used for fabricating conductive patterns by screen-printing technique. Moreover, enhance the performance of electrical conductivity by electroless plating and electroplating techniques. The study was separated into two parts. Firstly, optimize the mass ratio between graphite and polyvinylidene fluoride (PVDF). In prepared ink from varied mass ratio; 2.0:0.1, 2:0.2, and 2:0.3 respectively. Volume resistivity analysis of conductive patterns, it was found that the mass ratio between graphite and PVDF of 2: 0.2 provided the lowest volume resistivity of 0.0122 Ω-m. In other cases, the mass …


Synthesis, Characteristic And Application Of Mesocellular Foam Carbon (Mcf-C) As Catalyst For Dehydrogenation Of Ethanol, Yoottapong Klinthongchai Jan 2020

Synthesis, Characteristic And Application Of Mesocellular Foam Carbon (Mcf-C) As Catalyst For Dehydrogenation Of Ethanol, Yoottapong Klinthongchai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

This research aims to investigate the synthesis of MCF-C as catalyst for dehydrogenation of ethanol. The study was classified into 3 parts. In the first part, the mesocellular foam silica (MCF-Si) was converted to mesocellular foam carbon using a surfactant residue as a carbon source, and followed by testing the dehydrogenation of ethanol to acetaldehyde. Surfactant residue in the inside of MCF-Si could be used as the carbon source for MCF-C synthesis. The obtained material could maintain the meso-structure, and exhibited higher activity for ethanol dehydrogenation in comparison to MCF-Si. For the second part, MCF-C was examined for 12 h …


Enhanced Methane Hydrate Formation Using Promoters For Natural Gas Storage And Transportation Application, Katipot Inkong Jan 2020

Enhanced Methane Hydrate Formation Using Promoters For Natural Gas Storage And Transportation Application, Katipot Inkong

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Solidified natural gas (SNG) is an alternative technology for natural gas storage and transportation in the clathrate hydrate formed. It has higher volumetric energy storage with the ease to handle not to mention its safety. Effects of different hydrate promoters, including methyl ester sulfonate (MES), tetrahydrofuran (THF), hollow silica (HS), and sodium dodecyl sulfate (SDS), on the methane hydrate formation was investigated. All experiments were performed in an unstirred tank reactor at desired experimental conditions. The results indicated that all promoters significant enhanced the hydrate formation both kinetics and methane uptake compared with pure water. The increase in the MES …


Effect Of Third Metal On The Performance Of Pt/Wox/Al2o3 For Hydrogenolysis Of Glycerol, Therasak Tapanya Jan 2020

Effect Of Third Metal On The Performance Of Pt/Wox/Al2o3 For Hydrogenolysis Of Glycerol, Therasak Tapanya

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Hydrogenolysis reaction is employed to convert glycerol to valuable chemicals, especially 1,3-Propanediol. In this study, the performance, including activity, selectivity, and stability, are investigated for the third metal promoted Pt/WOx/Al2O3 catalyst. The catalysts were prepared using the wet and wetness impregnation method for Pt/WOx/Al2O3 and M/Pt/WOx/Al2O3, respectively. The morphological properties of catalysts were examined characterized by SEM-EDX, BET, CO-chemisorption techniques. The catalytic stability was tested as a second-round hydrogenolysis reaction that the deactivation is determined by BET, CO-chemisorption, XRD, ICP, and TGA analysis. The results indicated that the addition of the third metal on Pt/WOx/Al2O3 catalyst improves activity while the …


Dimethyl Ether Synthesis From Co2 And H2 Over Cu/Zno-Zro2-Al2o3 And Zeolite, Warangthat Kriprasertkul Jan 2020

Dimethyl Ether Synthesis From Co2 And H2 Over Cu/Zno-Zro2-Al2o3 And Zeolite, Warangthat Kriprasertkul

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Dimethyl ether (DME) is one of higher-valued product from CO2 conversion. In this study, the two steps of DME synthesis from CO2 in a batch reactor, including CO2 hydrogenation to methanol through ethanol-assisted method and methanol dehydration to DME, were investigated. The addition of 10 wt.% ZrO2, Al2O3 and ZrO2-Al2O3 as a promoter into Cu/ZnO was investigated to enhance the catalytic performance in methanol synthesis. Suitable types of zeolite (ZSM-5 and ferrierite) for methanol dehydration reaction were also determined. The catalysts were characterized by TGA, SEM-EDX, H2-TPR, NH3-TPD, BET and XRD. For the ethanol-assisted methanol synthesis, the Cu/ZnO/ZrO2 catalyst provided …


ผลของสารเติมแต่งขั้วสังกะสีต่อสมรรถนะของแบตเตอรี่สังกะสี-ไอออนแบบประจุกลับได้, ธีรบูรณ์ จรูญเสถียรพงศ์ Jan 2020

ผลของสารเติมแต่งขั้วสังกะสีต่อสมรรถนะของแบตเตอรี่สังกะสี-ไอออนแบบประจุกลับได้, ธีรบูรณ์ จรูญเสถียรพงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

แบตเตอรี่สังกะสี-ไอออนแบบกลับประจุได้ถือเป็นแบตเตอรี่ทางเลือกชนิดหนึ่งที่ค่อนข้างได้รับความสนใจในปัจจุบันเนื่องจากขั้วแอโนดของแบตเตอรี่ทำมาจากสังกะสีซึ่งเป็น ธาตุที่สามารถหาได้ง่าย มีราคาถูก และมีความปลอดภัยในการใช้งานที่สูง แต่แบตเตอรี่สังกะสี-ไอออนยังคงมีข้อจำกัดในเรื่องของค่าความจุของแบตเตอรี่และจำนวนรอบการใช้งานต่ำ เกินกว่าจะพัฒนาเป็นแบตเตอรี่เชิงพาณิชย์ ซึ่งข้อจำกัดดังกล่าวมีสาเหตุจากขั้วสังกะสีที่เป็นแผ่นสังกะสีส่งผลให้มีพื้นที่ในการเกิดปฎิกิริยาไฟฟ้าเคมีที่จำกัด นอกเหนือจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องของการเกิดสังกะสีรูปแบบกิ่งก้านซึ่งเมื่อใช้งานแบตเตอรี่หลายครั้งจะมีโอกาสทำให้แบตเตอรี่เกิดการลัดวงจรและส่งผลให้แบตเตอรี่เสียหาย ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงพัฒนาขั้วผงสังกะสีเป็นขั้วแอโนดเพื่อแทนที่ขั้วแผ่นสังกะสี นอกจากนี้ยังทำการศึกษาผลของสารเติมแต่ง ได้แก่ คาร์บอนแบล็คและบิสมัทออกไซด์ที่เติมลงไปในขั้วพร้อมกับผงสังกะสีซึ่ง พบว่า ขั้วคาร์บอนแบล็คและบิสมัทออกไซด์จะแสดงความสามารถในการละลาย/พอกพูนของสังกะสีที่สูงขึ้นซึ่งจะแสดงค่า ∆V ประมาณ 0.03 V นอกจากนี้ยังแสดงค่าความจุของแบตเตอรี่ที่ค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นจนมากกว่าขั้วแผ่นสังกะสีซึ่งจะมีค่าสูงสุดที่ 400 mAh g-1 ที่ความหนาแน่นไฟฟ้า 0.1 A g-1 และ 140 mAh g-1 ที่ความหนาแน่นไฟฟ้า 1 A g-1 และแสดงจำนวนรอบการใช้งานที่สูงมากขึ้นเมื่อใช้กับความหนาแน่นไฟฟ้า 1 A g-1 นอกจากนี้ขั้วยังมีคุณสมบัติในการยับยั้งการเกิดสังกะสีรูปแบบกิ่งก้านและมีค่าความต้านทานการเคลื่อนที่ของไอออนที่ต่ำลงซึ่งส่งผลให้แบตเตอรี่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น


การประยุกต์พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเพื่อทำนายสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนออกซิเจนเชิงปริมาตรรวมของระบบ อากาศ-น้ำ ในถังกวนรัชทอนเทอร์ไบน์คู่แบบไม่มาตรฐาน, กรทรรศน์ สติตรึก Jan 2020

การประยุกต์พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณเพื่อทำนายสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนออกซิเจนเชิงปริมาตรรวมของระบบ อากาศ-น้ำ ในถังกวนรัชทอนเทอร์ไบน์คู่แบบไม่มาตรฐาน, กรทรรศน์ สติตรึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

กระบวนการหมักเป็นกระบวนการที่พบได้มากในอุตสาหกรรม โดยทั่วไปแล้วนิยมใช้เครื่องปฏิกรณ์แบบถังกวนที่มีการป้อนออกซิเจนเข้าสู่ระบบเพื่อให้เซลล์ในระบบทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการขยายขนาดของถังหมักนั้น นอกจากจะต้องคำนึงถึงสภาวะ well mixed แล้ว อัตราการถ่ายโอนออกซิเจนภายในระบบ เป็นอีกตัวแปรหนึ่งที่ต้องคำนึงถึง ในการทดลองขยายขนาดโดยการกำหนดอัตราการถ่ายโอนออกซิเจนคงที่ พบว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้มีคุณภาพแย่ลง อย่างไรก็ตาม ในการขยายขนาดดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงของระยะระหว่างใบปั่นกวน และความสูงของของไหลทำงานที่ใช้ งานวิจัยนี้จึงมีจุดประสงค์ที่จะศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงของสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนออกซิเจนเชิงปริมาตรที่เกิดขึ้นภายในถังกวนระบบน้ำ-อากาศที่ติดตั้งใบปั่นกวนแบบรัชทอนเทอร์ไบน์คู่ โดยใช้พลศาสตร์การไหลเชิงคณนา (CFD) ในการทำนายพลศาสตร์ที่เกิดขึ้นภายในระบบ โดยใช้แบบจำลอง Eulerian และแบบจำลองความปั่นป่วน k-ϵ ร่วมกับสมการ population balance ผลการสอบเทียบสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนออกซิเจนเชิงปริมาตรรวมของระบบ จากแบบจำลองกับผลการทดลอง พบว่ามีแนวโน้มสอดคล้องกัน และมีความคลาดเคลื่อนไม่เกินร้อยละ 10 ผลการทำแบบจำลองพบว่าการเปลี่ยนแปลงระยะระหว่างใบปั่นกวนจะไม่ส่งผลต่อลักษณะการไหลของวัฏภาคน้ำ และอากาศภายในระบบ จะไม่ส่งผลให้สัมประสิทธิ์การถ่ายโอนออกซิเจนเชิงปริมาตรภายในระบบเปลี่ยนแปลง ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงความสูงของของไหลในระบบ พบว่าไม่ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนออกซิเจนเชิงปริมาตรเฉพาะที่ภายในระบบ แต่เนื่องจากระดับของใบปั่นกวนไม่เปลี่ยนแปลงตามความสูงน้ำที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ระบบที่มีความสูงของน้ำอยู่ใกล้กับใบปั่นกวนมีแนวโน้มของสัมประสิทธิ์การถ่ายโอนออกซิเจนเชิงปริมาตรรวมของระบบสูงกว่า นอกจากนี้ที่ระดับความสูงของน้ำใกล้กับใบปั่นกวนมาก ๆ จะส่งผลให้ลักษณะการไหลที่เกิดจากใบปั่นกวนเปลี่ยนไป ทำให้กำลังที่ใช้มีค่าลดน้อยลงด้วย


การเตรียมเเละวิเคราะห์คุณลักษณะของอนุภาคลิโพโซมสำหรับกักเก็บสารอาร์บูตินด้วยเครื่องโฮโมจิไนเซอร์เเรงดันสูง, รัชพล ชูทับ Jan 2020

การเตรียมเเละวิเคราะห์คุณลักษณะของอนุภาคลิโพโซมสำหรับกักเก็บสารอาร์บูตินด้วยเครื่องโฮโมจิไนเซอร์เเรงดันสูง, รัชพล ชูทับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การกักเก็บสารสำคัญในรูปแบบของอนุภาคลิโพโซม เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากอนุภาคลิโพโซมมีส่วนประกอบที่สามารถเข้ากับร่างกายได้ ไม่มีความเป็นพิษ และสามารถย่อยสลายได้เอง รวมไปถึงช่วยเพิ่มเสถียรภาพของสารที่นำมากักเก็บให้ดีขึ้น วิธีการเตรียมอนุภาคลิโพโซมเพื่อกักเก็บสารเป็นหนึ่งปัจจัยที่จะต้องคำนึงถึง เพราะจะส่งผลต่อการกระจายตัวและขนาดของอนุภาค รวมไปถึงอัตราการปลดปล่อยของสารและเสถียรภาพความคงตัวของอนุภาคลิโพโซมด้วย งานวิจัยนี้มีความสนใจที่จะศึกษาการเตรียมอนุภาคลิโพโซมสำหรับกักเก็บสารอาร์บูตินด้วยเครื่องโฮโมจิไนเซอร์แรงดันสูง เนื่องจากอาร์บูตินเป็นสารที่มีเสถียรภาพต่ำการกักเก็บสารในรูปแบบของอนุภาคลิโพโซมมีความเป็นไปได้ที่จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพให้กับสารอาร์บูติน การเตรียมอนุภาคด้วยเครื่องโฮโมจิไนเซอร์แรงดันสูงเป็นวิธีที่สะดวกและรวดเร็ว สามารถเตรียมอนุภาคลิโพโซมได้ในปริมาณที่มาก อีกทั้งยังมีความต่อเนื่องของกระบวนการโดยไม่ต้องผ่านหลายขั้น โดยวัตถุประสงค์ของงานวิจัยต้องการศึกษาปัจจัยต่างๆ ได้แก่ อัตราส่วนระหว่างฟอสโฟลิพิด คลอเรสเตอรอล และสารอาร์บูติน อัตราการปลดปล่อยของสารอาร์บูตินและเสถียรภาพความคงตัวของอนุภาคลิโพโซม รวมไปถึง สภาวะของเครื่องโฮโมจิไนเซอร์แรงดันสูง ได้แก่ ความดันและจำนวนรอบ ที่ใช้ในการเตรียมอนุภาคลิโพโซมเพื่อกักเก็บสารอาร์บูติน จากการศึกษาพบว่า การเตรียมอนุภาคลิโพโซมที่กักเก็บสารอาร์บูตินด้วยเครื่องโฮโมจิไนเซอร์แรงดันสูง ทำให้ได้ลิโพโซมขนาดเล็กที่มีผนังสองชั้นเพียงชั้นเดียว ซึ่งจะมีขนาดของอนุภาคลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเพิ่มความดันและจำนวนรอบของเครื่องโฮโมจิไนเซอร์แรงดันสูง โดยมีขนาดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 150 ถึง 200 นาโนเมตร ผลการทดลองความเข้มข้นของลิพิดต่อความสามารถในการกักเก็บสารอาร์บูติน พบว่า เมื่อเพิ่มความเข้มข้นโดยรวมของลิพิด ประสิทธิภาพการกักเก็บสารมีค่าเพิ่มขึ้น ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพการกักเก็บสารเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ 74.29 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนั้น ผลการทดลองยังแสดงให้เห็นว่าการกักเก็บสารสำคัญไว้ในรูปแบบของอนุภาคลิโพโซมและมีการเติมสารคลอเรสเตอรอลลงไปจะสามารถช่วยควบคุมอัตราการปลดปล่อยของสารสำคัญได้ รวมไปถึงช่วยเพิ่มเสถียรภาพความคงตัวให้กับอนุภาคลิโพโซมได้อีกด้วย ดังนั้น สภาวะของเครื่องโฮโมจิไนเซอร์แรงดันสูงและสัดส่วนระหว่างฟอสโฟลิพิดกับคลอเรสเตอรอลที่เหมาะสมในการเตรียมอนุภาคลิโพโซมสำหรับกักเก็บสารอาร์บูติน คือ ความดัน 1000 บาร์ จำนวน 3 รอบ ที่ความเข้มข้นโดยรวมของลิพิดร้อยละ 2 โดยน้ำหนัก อัตราส่วนระหว่างฟอสโฟลิพิดกับคลอเรสเตอรอล 10:2 โดยน้ำหนัก และสภาวะอุณหภูมิในการเก็บรักษาที่ 4 องศาเซลเซียส


การเตรียมและศึกษาคุณสมบัติของไบเจลน้ำมันถั่วดาวอินคา, ญาดา ยะก๊บ Jan 2020

การเตรียมและศึกษาคุณสมบัติของไบเจลน้ำมันถั่วดาวอินคา, ญาดา ยะก๊บ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ไบเจลเป็นเทคโนโลยีแบบใหม่ที่มีศักยภาพมากในการนำส่งสารออกฤทธิ์สำหรับการประยุกต์ใช้ทางเครื่องสำอาง วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อพัฒนาและกำหนดลักษณะระบบไบเจลจากน้ำมันถั่วดาวอินคาที่บรรจุสารเรตินิลปาล์มมิเตท ไบเจลถูกเตรียมโดยการทำให้เป็นเนื้อเดียวกันด้วยแรงเฉือนสูง ระหว่าง ส่วนออร์กาโนเจลด้วยน้ำมันถั่วดาวอินคา และสารซิลิกาไดเมททิลซิลิเลท ส่วนไฮโดรเจลประกอบด้วยคาร์โบพอล 940 และน้ำ พารามิเตอร์ตัวแปรที่ศึกษา ได้แก่ อัตราเฉือน (1200-1500 rpm), ความเข้มข้นของเจลของไฮโดรเจล (0.3-0.5% โดยน้ำหนัก), ความเข้มข้นของสารก่อเจลในออร์กาโนเจล (6-8% โดยน้ำหนัก) และอัตราส่วนของออร์กาโนเจลต่อไฮโดรเจล (10:90-50:50) ผลที่ได้เสดงถึงสภาวะที่เหมาะสมในการเตรียม ได้แก่ อัตราเฉือน 1500 rpm, ความเข้มข้นของเจลของไฮโดรเจล 0.5% โดยน้ำหนัก, ความเข้มข้นของสารก่อเจลในออร์กาโนเจล (6 หรือ 8% โดยน้ำหนัก) และอัตราส่วนของออร์กาโนเจลต่อไฮโดรเจล ที่ 10:90 โครงสร้างจุลภาค คุณสมบัติทางกายภาพ การเรียงตัวและการวิเคราะห์ขนาดอนุภาคถูกตรวจสอบโดยกล้องจุลทรรศน์ ไบเจลให้การปลดปล่อยสารสารเรตินิลปาล์มมิเตทแบบค่อย ๆ ปลดปล่อยและมีคุณลักษณะที่ดี เป็นเวลา 3 เดือน


Property Estimation Of Palmitoylethanolamide And Sucrose Palmitate For Process Design From Methyl Palmitate, Janetiya Wongprathed Jan 2020

Property Estimation Of Palmitoylethanolamide And Sucrose Palmitate For Process Design From Methyl Palmitate, Janetiya Wongprathed

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Methyl palmitate is the primary component of palm oil-based biodiesel. It is a saturated fatty acid methyl ester which has a high melting point that results in low cold flow properties of biodiesel. Besides, lack of government support may affect the revenue of biodiesel business. For that reason, the producers turn attention to using biodiesel as a raw material for the production of value-added chemicals. Initially, we selected the studied products based on the gross profit margin, production process, market demand and application. This work simulated the production of palmitoylethanolamide, sucrose palmitate and normal alkanes from methyl palmitate using Aspen …


Effect Of Single Metal Loading On Cao/Al2o3 Pellet Catalyst For Biodiesel Production, Nattawadee Munbupphachart Jan 2020

Effect Of Single Metal Loading On Cao/Al2o3 Pellet Catalyst For Biodiesel Production, Nattawadee Munbupphachart

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Biodiesel is a sustainable biofuel mainly derived from transesterification of vegetable oil or animal fat. Transesterification is increasingly being catalyzed by heterogeneous catalysts in recent years. As a result of a high-pressure drop, solid base catalysts in a powder form are not suitable for a continuous process. A pellet catalyst is more convenient, but it has lower surface per volume as well as lower in its catalytic activity for transesterification. This research aims at studying the effect of metal oxides loading on CaO/Al2O3 pellet catalyst for improvement of catalytic activity of transesterification. The 20 wt.% single metal loading of metal …


Preparation And Characterization Of Nanopaper From Regenerated Cellulose, Nattorn Paijit Jan 2020

Preparation And Characterization Of Nanopaper From Regenerated Cellulose, Nattorn Paijit

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cellulose nanopapers (RCNP) were prepared from regenerated cellulose (RC) via the solvent casting method. RC was prepared by dissolution of bleached eucalyptus cellulose pulp (BEP) with 85% H3PO4 at -20oC. Water was applied as anti-solvent in the regenerated process. Effects of storage time after dissolution on fiber solubility were investigated at 0, 20, 40, 60 min, 1, and 2 days. ATR FT-IR spectra and crystalline index proved that regenerated cellulose was obtained. The crystalline index of the fiber became stable at 60 min, indicating the fibers were completely dissolved at 60 min. The results from thermogravimetric analysis showed that after …


Sodium Doping Effects On Properties Of Czts Thin Filmsfabricated By Sol-Gel Convective Deposition Technique, Orawan Sukchoy Jan 2020

Sodium Doping Effects On Properties Of Czts Thin Filmsfabricated By Sol-Gel Convective Deposition Technique, Orawan Sukchoy

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Cu2ZnSnS4 (CZTS) is an interesting candidate for thin-film solar cell applications due to its availability and attractive properties (energy band gap of 1.5 eV and high absorption coefficient). However, CZTS solar cell performance is limited because of the defect formation from small grain size, pinholes, rough surface, and negative defects in CZTS such as CuZn. One of the most possible ways to reduce these negative defects, and to increase solar cell performance is by doping with sodium. In this work, CZTS films were synthesized by sol-gel convective deposition technique and Na was doped in CZTS film using 2 different methods: …


Preparation And Characterization Of Sequential Curing With Off-Stoichiometric Amine-Diglycidyl Ether Of Bisphenol A /Novolac Epoxy Blended Systems, Pakawat Suttitham Jan 2020

Preparation And Characterization Of Sequential Curing With Off-Stoichiometric Amine-Diglycidyl Ether Of Bisphenol A /Novolac Epoxy Blended Systems, Pakawat Suttitham

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

B-stage epoxy adhesives are used in many applications such as electronic devices and prepreg composites. The most common available form is in the film form, rolls, sheets, or custom preforms. In this work, B-staged epoxy adhesives were prepared by using sequential curing with off-stoichiometric amine technique. Diethylenetriamine (DETA) was used as the curing agent for the first curing step. While dicyandiamide (DICY) was used as the latent curing agent for the second curing step and 3-(3,4-dichlorophenyl)-1,1dimethylurea (DIURON) as accelerator for reducing the curing temperature of DICY. Novolac epoxy was blended in diglycidyl ether of bisphenol A (DGEBA) with various ratio …


Methanol Synthesis Via Hydrogenation Of Mixed Co/Co2 Over Mn Modified Cu/Zno/Al2o3 Catalyst, Papawin Tunyasitikun Jan 2020

Methanol Synthesis Via Hydrogenation Of Mixed Co/Co2 Over Mn Modified Cu/Zno/Al2o3 Catalyst, Papawin Tunyasitikun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The purposes of this study are to investigate the methanol synthesis by using mixed CO/CO2 hydrogenation on Mn modified Cu/ZnO/Al2O3 catalyst which is prepared by the co-precipitation method and to investigate the overall energy consumption of methanol synthesis based on experimental results through the simulation process using Aspen Plus V.9. The improvement of catalytic activity is performed by a continuous fixed bed microreactor at 250°C under atmospheric pressure for 5 hours on the stream through hydrogenation of different feed composition of CO2/H2, CO/H2, and CO/CO2/H2, and 24000 ml/gcat∙h of GHSV. The physical and chemical properties of the catalysts are measured …


Stability Enhancement Of Cspbbr3 Quantum Dots By Coating Tio2 As A Surface Encapsulation, Parina Nuket Jan 2020

Stability Enhancement Of Cspbbr3 Quantum Dots By Coating Tio2 As A Surface Encapsulation, Parina Nuket

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The cesium lead bromide quantum dots (CsPbBr3 QDs) have exhibited the excellent optical properties which have been widely used in the applications of optoelectronic and photoelectrochemical devices. However, the instability of CsPbBr3 QDs against the environment factors has been a major obstacle hindering the commercialization of corresponding devices. Herein, the new encapsulation process, in-situ method, for CsPbBr3/TiO2 was presented to prevent the agglomeration of the particles and improve the stability of CsPbBr3 QDs without heat treatment at high temperature. The CsPbBr3 QDs were coated with TiO2 by using titanium tetraisopropoxide (TTIP) as a titanium source which was injected during the …