Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2018

Art Education

Chulalongkorn University

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา, ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้ Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา, ณัฐกาญจน์ จันทน์เนื้อไม้

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนาและศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน เป็นศิลปินที่ทำงานศิลปะไทยในท้องถิ่น 4 คน อาจารย์สอนศิลปะสำหรับวัยรุ่น 1 คน อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะไทย 4 คน และนักวิชาการที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาชุดกิจกรรม 1 คน และวัยรุ่นที่มีอายุ 18-25 ปี จำนวน 70 คน เพื่อใช้เก็บข้อมูลสร้างชุดกิจกรรม 2) วัยรุ่นในจังหวัดเชียงราย อายุ 18-25 ปี จำนวน 14 คน เพื่อใช้ทดลองชุดกิจกรรม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกต แบบสอบถามและการสะท้อนคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า รูปแบบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนา มีดังนี้ 1) แนวคิดสำคัญของชุดกิจกรรม คือ เป็นกิจกรรมที่บูรณาการทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องราว ความสำคัญของศิลปะล้านนา จากศิลปวัตถุและสถานที่จริง ประกอบกับข้อความรู้จากคู่มือและการทำกิจกรรมการตอบคำถาม ถ่ายภาพ วาดภาพ เล่นเกม และการสร้างสรรค์งานศิลปะที่ได้รับแรงบันดาลใจจากศิลปะล้านนา โดยเป็นกิจกรรมที่มีการเตรียมความพร้อมด้านอุปกรณ์และสื่อต่างๆ มีการใช้บทบาทสมมติและมีรูปแบบกิจกรรมที่เหมาะสมกับธรรมชาติของวัยรุ่น เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างสนุกสนาน เกิดอารมณ์ร่วมกับบทบาทสมมติและบริบททางประเพณีของกิจกรรม ใช้ระยะเวลาในการทำกิจกรรม 1 วัน 2) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเข้าถึงคุณค่าของศิลปะล้านนา ผ่านการซึมซับผลงานศิลปะและสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของตนเอง 3) องค์ประกอบของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่ คู่มือการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เนื้อหา สื่อการเรียนรู้ และแบบประเมิน 4) องค์ประกอบด้านลักษณะของผู้เรียนและผู้สอน ใช้ผู้สอน 1 คนต่อผู้เรียน 15 คน ผู้สอนมีหน้าที่อธิบายรายละเอียดดูแลและควบคุมกิจกรรม ส่วนผู้เรียนมีหน้าที่ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมศิลปะ หลังจากได้นำชุดกิจกรรมไปทดลองใช้กับวัยรุ่นในเชียงรายพบว่า ผู้เรียนเกิดการเห็นคุณค่าศิลปะล้านนาอยู่ในระดับมาก โดยผู้เรียนเห็นคุณค่าศิลปะด้านรูปทรงมากที่สุด มีระดับความรู้เกี่ยวกับศิลปะล้านนาอยู่ในระดับมาก มีพฤติกรรมการเห็นคุณค่าศิลปะถึงระดับการรู้คุณค่าในขั้นชื่นชอบคุณค่าและมีความรู้สึกในเชิงบวกต่อกิจกรรมศิลปะ


การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, วริษา วรรณวิจิตกุล Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, วริษา วรรณวิจิตกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยกลุ่มตัวอย่างและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1) อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ศิลปะในระดับประถมศึกษา โดยเก็บข้อมูลด้วยแบบสัมภาษณ์และแบบสังเกตการสอน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ และระยะที่ 2) นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เพื่อศึกษาผลของการทดลองใช้ชุดกิจกรรม โดยเก็บข้อมูลผ่านแบบประเมินตนเองเกี่ยวกับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังเรียน แบบสังเกตพฤติกรรมอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แบบประเมินผลด้านการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์ และแบบสัมภาษณ์ผู้เรียนด้านความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูล หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าร้อยละและวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีเพื่อส่งเสริมทักษะการสร้างสรรค์ศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ประกอบด้วย 1) แผนการสอน 2) สื่อการสอน 3) แบบประเมินผล โดยมีองค์ประกอบ 5 ประการ 1) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะคอมพิวเตอร์และทักษะการสร้างสรรค์งานศิลปะของผู้เรียน 2) ใช้รูปแบบการสอนด้วยวิธีการคิดเชิงออกแบบ 3) กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับความสนใจผู้เรียน 4) ใช้สื่อการสอนประเภทเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ 5) ประเมินผลจากพฤติกรรมและผลงานของผู้เรียน จากนั้นผู้วิจัยทดลองใช้ชุดกิจกรรมและศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรม พบว่า 1) ผู้เรียนประเมินสมรรถนะด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงขึ้นกว่าก่อนเรียนทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านทักษะคอมพิวเตอร์ทั่วไป, ด้านทักษะการบริหารจัดการไฟล์และการจัดการประมวลผลข้อมูล, ด้านทักษะการสื่อสารแบบออนไลน์และด้านข้อมูลสารสนเทศ 2) นักเรียนมีระดับคุณภาพพฤติกรรมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับดีมาก 3) นักเรียนมีระดับคุณภาพการสร้างสรรค์งานศิลปะด้วยคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับดีมาก และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อชุดกิจกรรมการสอนโปรแกรมวาดภาพระบายสีในระดับดีมาก


การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5, จตุพร ปทุมารักษ์ Jan 2018

การพัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียน ประถมศึกษาปีที่ 5, จตุพร ปทุมารักษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลของการจัดกิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดพระปฐมเจดีย์ฯ จังหวัดนครปฐม จำนวน 40 คน โดยวิธีการสุ่มแบบจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกตการณ์สอน แบบสัมภาษณ์ เพื่อใช้เก็บข้อมูลสร้างกิจกรรม แบบประเมินพัฒนาการแบบองค์รวมแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เรียน เพื่อใช้ทดลองกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กิจกรรมศิลปะแบบพหุศาสตร์เพื่อส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวม เป็นกิจกรรมศิลปะที่บูรณาการเนื้อหาสาระและกระบวนการ ให้ผู้เรียนได้เชื่อมโยงความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาไทย สังคมศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษาและพละศึกษา และภาษาอังกฤษ ผ่านการสร้างสรรค์ผลงานวาดภาพระบายสี การปั้น ภาพพิมพ์ ปะติด และศิลปะประดิษฐ์ โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้แบบ Studio Habits of Mind (SHoM) เป็นกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกวิธีการเรียนรู้ตามความต้องการของตน และช่วยส่งเสริมพัฒนาการแบบองค์รวมผ่านการปฏิบัติกิจกรรมศิลปะระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง 2) ผลพัฒนาการแบบองค์รวมจากการทำกิจกรรมทั้ง 4 ด้าน คือ พัฒนาการด้านร่างกาย พัฒนาการด้านอารมณ์ พัฒนาการด้านสังคม และพัฒนาการด้านปัญญา โดยภาพรวมผู้เรียนมีระดับพัฒนาการอยู่ในระดับมาก และผลของความพึงพอใจของผู้เรียนต่อกิจกรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก


การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม, สุภรัตน์ เบญญากาจ Jan 2018

การพัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม, สุภรัตน์ เบญญากาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนะรรมสำหรับวัยรุ่นอายุ 12-14 ปี และ 2) ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรมกลุ่มเป้าหมาย คือ วัยรุ่นอายุ 12-14 ปี ที่อาศัยในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 30 คน ระยะเวลา 8 ชั่วโมง หรือ 1 วัน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญสันติวัฒนธรรม และผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 2) แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม 3) แบบสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม 4) แบบสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้สันติวัฒนธรรม 5) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนะรรมประกอบด้วย 3 กิจกรรม ได้แก่ กิจกรรมความงามของความหลากหลาย สีน้ำสร้างสุข และสร้างเมืองในฝัน 2) ผลการใช้ชุดกิจกรรมศิลปะเพื่อส่งเสริมสันติวัฒนธรรม สำหรับวัยรุ่น อายุ 12-14 ปี โดยวิเคราะห์ผลจากการสังเกตพฤติกรรมบ่งชี้ทางสันติวัฒนธรรม พบว่า พฤติกรรมสันติวัฒนธรรมที่พบมากที่สุด คือ ด้านการยอมรับความแตกต่าง คิดเป็นร้อยละ 98.71 รองลงมา คือ ด้านทักษะการทำงานร่วมกัน และทักษะการแก้ไขความขัดแย้งและปฏิเสธความรุนแรง คิดเป็นร้อยละ 97.43 ด้านการเข้าใจตนเอง คิดเป็นร้อยละ 96.15 ด้านทักษะการสื่อสารหรือแสดงความคิดเห็น คิดเป็นร้อยละ 74.78 และด้านการรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดเป็นร้อยละ 61.53 ตามลำดับ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจ พบว่า ผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพึงพอใจต่อลักษณะการสื่อสารและการเป็นที่ปรึกษาของวิทยากรมากที่สุดเท่ากับ µ = 4.92 รองลงมา คือ อยากให้มีจัดกิจกรรมขึ้นอีกในอนาคต เท่ากับ µ = 4.84 และความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและอุปกรณ์ต่าง ๆ เท่ากับ µ = 4.72 โดยผู้เข้าร่วมมีความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ µ …