Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Chulalongkorn University

สมรรถนะ

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์ Apr 2017

“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาให้กับเยาวชนถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยการปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน การพัฒนาครู การกระจายอำนาจ การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ในภาพรวมของการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปในช่วงเวลาที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นนัยสำคัญด้านประสิทธิผลของการจัดการศึกษาว่ายังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายการปฏิรูปการศึกษาบัญญัติไว้ เกิดเป็นวิกฤตทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถและคุณภาพในการแข่งขันระดับสากล ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ??ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู?? มาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน บทความนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของครู ในการสร้างบรรยากาศที่ทำให้เด็กมีความสุข และอยากมาโรงเรียน ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดโปรแกรมการเรียน การจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่อันดีในโรงเรียน รวมทั้งมีหลักจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในห้องเรียน


ความต้องการกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยเชิงคุณภาพตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์, เฟื่องอุรณ ปรีดีดิลก Jan 2017

ความต้องการกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยเชิงคุณภาพตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน, พงศ์พันธุ์ คำพรรณ์, เฟื่องอุรณ ปรีดีดิลก

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์กรอบและตัวชี้วัดคุณภาพกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความต้องกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยเชิงคุณภาพตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานประกอบการประเภทที่พักขนาดกลางขึ้นไปทั่วประเทศไทย จำนวน 396 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เพื่อวิเคราะห์กรอบและตัวชี้วัดและแบบสอบถามเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ผลการวิจัย พบว่ากรอบและตัวชี้วัดคุณภาพกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียน มีจำนวน 18 องค์ประกอบ 90 ตัวชี้วัด และผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของสถานประกอบการเกี่ยวกับคุณภาพกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยตามมาตรฐานสมรรถนะอาเซียนภาพรวมและจำแนกตามองค์ประกอบ พบว่าอยู่ในระดับมากแต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของสถานประกอบการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 โดยเฉพาะความสามารถด้านภาษาอังกฤษ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ และสมรรถนะร่วมในหน้าที่หลัก ด้วยเหตุนี้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันเร่งรัดและผลักดันการพัฒนาโดยเฉพาะด้านการศึกษาเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถกำลังคนในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของไทยให้ได้มาตรฐานรองรับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียนต่อไป