Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

2017

Chulalongkorn University

การประเมินเด็กปฐมวัย

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

บนเส้นทางที่สร้างด้วยหัวใจ...สู่ก้าวที่มั่นคงในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย, ดวงใจ บุญยะภาส Apr 2017

บนเส้นทางที่สร้างด้วยหัวใจ...สู่ก้าวที่มั่นคงในการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอนภาษาไทย, ดวงใจ บุญยะภาส

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยของศึกษานิเทศก์ภาษาไทยที่ได้รับรางวัลส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยประสบผลสำเร็จ เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพแบบการศึกษาเฉพาะกรณี (Case Study Research) ผ่านการสัมภาษณ์และการศึกษาเอกสาร ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ภาษาไทยที่ได้รับรางวัลส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยประสบผลสำเร็จ ในปี พ.ศ. 2555-2559 จำนวน 7 คน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ศึกษานิเทศก์ทั้ง 7 คน ใช้กระบวนการวิจัยในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยของครู โดยเริ่มจากการสำรวจข้อมูลปัญหาและความต้องการพัฒนาของครู จากนั้นจึงวางแผนแก้ไขปัญหา ดำเนินงานพัฒนาตามแผนที่กำหนดโดยใช้การนิเทศและนวัตกรรมการเรียนการสอนต่าง ๆ ประกอบกับการมีส่วนร่วมในการทำงาน และการติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน ทั้งนี้ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการส่งเสริมและพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยของครู คือ การสร้างแรงจูงใจภายใน ได้แก่ ความมุ่งมั่น ตั้งใจ และความภาคภูมิใจในวิชาชีพ สำหรับแรงจูงใจภายนอก ได้แก่ นโยบาย สภาพปัญหา และรางวัล


การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของเด็กปฐมวัย, สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู Apr 2017

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของเด็กปฐมวัย, สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู

Journal of Education Studies

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองในเด็กปฐมวัย นับเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง โดยกำหนดแนวทางในการจัดประสบการณ์ภายใต้มโนทัศน์สองประการ ประกอบด้วยมโนทัศน์ของพลเมือง ความเป็นพลเมือง และพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย กับ มโนทัศน์การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองกับการศึกษาปฐมวัยในสี่แนวทาง ดังนี้ 1) การจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นเพื่อเรียนรู้ความเป็นพลเมือง ซึ่งเป็นการพัฒนาปฏิสัมพันธ์ทางสังคม การรู้จักแบ่งปัน การเรียนรู้การเป็นผู้นำและผู้ตาม การเรียนรู้กฎและกติกาต่าง ๆ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิดให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและความเป็นจริง 2) การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สู่การเป็นพลเมืองดีมีคุณภาพ โดยเป็นการพัฒนาเด็กในด้านคุณลักษณะของการเป็นพลเมืองที่มีความสามารถทั้งในด้านของสติปัญญาและทักษะ หรือ สมรรถนะการอยู่ร่วมกันในสังคม 3) การจัดประสบการณ์ผ่านบทบาทของครูผู้ปลูกฝังคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยในบทบาทของครูผู้เป็นประชาธิปไตย และบทบาทของผู้ใหญ่ที่มีคุณลักษณะความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตย และ 4) การจัดประสบการณ์เพื่อสร้างคุณค่าความเป็นพลเมืองผ่านกระบวนการทางสังคมในสถานศึกษาปฐมวัยด้วยรูปแบบการสังเกตเลียนแบบจากตัวแบบกับการบอกหรือสอนกันโดยตรงเกี่ยวกับการเป็นพลเมืองที่ดี ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นพลเมืองของเด็กปฐมวัย ครู ผู้ปกครอง และโรงเรียนต้องร่วมกันพิจารณาเนื้อหา แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อพัฒนามโนทัศน์ ทักษะ และคุณลักษณะของเด็กให้มีความเป็นพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยที่มีความตระหนักและเห็นคุณค่าในตนเองและส่วนรวม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และการมีบทบาทที่เหมาะสมในสังคม