Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

2017

Health and Physical Education

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 23 of 23

Full-Text Articles in Education

ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ที่มีต่อความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กรกนก คำโกน Jan 2017

ผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ที่มีต่อความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, กรกนก คำโกน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ที่มีต่อความสุขของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 40 คน แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ จำนวน 20 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.71 และแบบประเมินความสุขมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) เท่ากับ 0.91 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.83 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสุขหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสุขของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพโดยใช้กรอบความคิดแบบเติบโตร่วมกับรูปแบบการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐาณรงค์ ทุเรียน Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐาณรงค์ ทุเรียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 60 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 8 แผน แบบวัดทักษะทางสังคมและแบบบันทึกทักษะทางสังคมโดยการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาตะกร้อกับวอลเลย์บอลที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวัฒน์ ช่วยบำรุง Jan 2017

ผลการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาตะกร้อกับวอลเลย์บอลที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธนวัฒน์ ช่วยบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาตะกร้อกับวอลเลย์บอลที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมกีฬาตะกร้อและกีฬาวอลเลย์บอล กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชายและนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 50 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มตะกร้อจำนวน 25 คน กลุ่มวอลเลย์บอลจำนวน 25 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการทดลองระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 วัน วันละ 60 นาที (กลุ่มตะกร้อ 2 วัน กลุ่มวอลเลย์บอล 2 วัน ต่อสัปดาห์) โดยใช้เครื่องมือคือโปรแกรมการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาตะกร้อกับวอลเลย์บอลที่มีต่อความฉลาดทางอารมณ์และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ โดยทดสอบค่าที (t-test) ก่อนและหลังทำการทดลองกับกลุ่มตะกร้อและกลุ่มวอลเลย์บอล จากการทดสอบความฉลาดทางอารมณ์ก่อนและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ โดยทดสอบนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาตะกร้อกับกีฬาวอลเลย์บอล มีค่าคะแนนความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษาโดยใช้กีฬาตะกร้อกับกีฬาวอลเลย์บอล มีค่าคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่มีต่อทัศนคติและการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, นฤชน มงคลศิริ Jan 2017

ผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่มีต่อทัศนคติและการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, นฤชน มงคลศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่มีต่อทัศนคติและการปฏิบัติในการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 44 คน โรงเรียนบ้านปลายคลองน้อย จ.สมุทรสาคร แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยตามการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติโดยวิธีปกติ จำนวน 22 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยโดยวิธีปกติ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยตามการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.93 แบบวัดทัศนคติในการขี่จักรยาน การขี่จักรยานอย่างปลอดภัย และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติในการขี่จักรยานอย่างปลอดภัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.82, 0.88, 1.00 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88, 0.80, 0.82 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติในการขี่จักรยาน, การปฏิบัติในการขี่จักรยานอย่างปลอดภัย และทักษะการปฏิบัติ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยตามการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติในการขี่จักรยาน, การปฏิบัติในการขี่จักรยานอย่างปลอดภัย และทักษะการปฏิบัติ หลักการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยตามการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การนำเสนอหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นิศาชล ภาวงศ์ Jan 2017

การนำเสนอหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นิศาชล ภาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการจำเป็นของหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อนำเสนอร่างหลักสูตรรายวิชา พลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 525 คน แบ่งเป็น ครูพลศึกษาและผู้บริหาร โดยผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไป 180 ชุด ได้กลับคืนมา 140 ชุด คิดเป็นร้อยละ 77.78 โดยเป็นแบบสอบถามของผู้บริหาร 20 ชุด แบบสอบถามของครูพลศึกษา 120 ชุด และส่งแบบสอบถามให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 450 ชุด ได้กลับคืนมา 385 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85.56 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องรวมของผู้บริการและครูพลศึกษาเท่ากับ 0.73 และได้ค่าดัชนีความสอดคล้องรวมของนักเรียนเท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ด้านวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สภาพ ปัญหาโดยรวมพบว่า ผู้บริหารมีสภาพ ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีสภาพ ปัญหาอยู่ในระดับมาก ขณะที่ความต้องการจำเป็นในทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ พบว่า ครูพลศึกษามีสภาพ ปัญหาโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีสภาพ ปัญหาอยู่ในระดับมาก ขณะที่ความต้องการจำเป็นในทุกด้านอยู่ในระดับมาก และนอกจากนี้พบว่านักเรียนมีสภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นในทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) การนำเสนอหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาประกอบด้วย จุดมุ่งหมายหลักสูตร โครงสร้างรายวิชา จุดประสงค์ของรายวิชาน้ำใจนักกีฬา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน คำอธิบายรายวิชา ประมวลรายวิชา และการวัดและการประเมินผล


ผลการใช้โปรแกรมสุขภาพควบคู่กับการฝึกด้วยแรงต้านโดยใช้น้ำหนักตัวที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์, พีรวิชญ์ คล้ายพรหม Jan 2017

ผลการใช้โปรแกรมสุขภาพควบคู่กับการฝึกด้วยแรงต้านโดยใช้น้ำหนักตัวที่ส่งผลต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์, พีรวิชญ์ คล้ายพรหม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้โปรแกรมสุขภาพควบคู่กับการฝึกด้วยแรงต้านโดยใช้น้ำหนักตัวก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความแข็งแรงของกล้ามเนื้อโดยใช้โปรแกรมสุขภาพควบคู่กับการฝึกด้วยแรงต้านโดยใช้น้ำหนักตัวหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาขั้นพื้นฐานจังหวัดกรุงเทพมหานครที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 40 คน โดยแบ่งออกเป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมสุขภาพควบคู่กับการฝึกด้วยแรงต้านโดยใช้น้ำหนักตัว ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 แบบวัดความรู้ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.97 ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.82 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.27-0.57 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.27-0.67 แบบวัดเจตคติ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.97 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.90 แบบวัดพฤติกรรมตนเอง ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 ได้ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 และแบบวัดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ เจตคติ พฤติกรรมตนเอง หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภัทร อัญชลีนุกูล Jan 2017

ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภัทร อัญชลีนุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหนึ่งในเขตลาดกระบัง จำนวน 40 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think – Pair – Share ในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตอง จำนวน 20 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยวิธีปกติ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think – Pair – Share จำนวน 8 แผน และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองในการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีต่อการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, ศราวุฒิ อินพวง Jan 2017

ผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีต่อการทรงตัวและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน, ศราวุฒิ อินพวง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้โบซูบอลที่มีผลต่อการทรงตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ก่อนและหลังการทดลอง เป็นวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีกลุ่มตัวอย่างเพียงหนึ่งกลุ่ม โดยเลือกนักเรียนที่มีความบกพร่องการได้ยิน โรงเรียนโสตศึกษาทุ่งมหาเมฆ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 9 คน โดยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง ทำการเปรียบเทียบผลการทดลอง จากการทดสอบก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และสัปดาห์ที่ 8 ผู้วิจัยทำการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากการทดลองตลอดระยะเวลา 8 สัปดาห์ ไปวิเคราะห์ในเชิงสถิติโดยใช้โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนภายในกลุ่มชนิด (Repeated Measures ANOVA ) และบรรยายเพื่อสรุปผลของการดำเนินการวิจัย
ผลการวิจัยพบว่า สมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สำหรับการวัด 3 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(2, 16) = 20.60, p < .001 เมื่อเปรียบเทียบภายหลังด้วยวิธี bonferroni พบว่า ผลของการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สัปดาห์ที่8 มากกว่า ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 และสัปดาห์ที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งผลการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวอยู่กับที่สัปดาห์ที่4 มากกว่าก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
สมรรถภาพทางด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่เพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบค่าความแตกต่างทางสถิติ พบว่า สัปดาห์ที่8 มากกว่า ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 และสัปดาห์ที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งผลการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการทรงตัวขณะเคลื่อนที่สัปดาห์ที่4 มากกว่าก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
สมรรถภาพทางด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสำหรับการทดสอบ 3 ครั้ง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, F(2, 16) = 13.86, p < .001 เมื่อเปรียบเทียบภายหลังด้วยวิธี bonferroni พบว่า ผลของการทดสอบสมรรถภาพทางด้านการความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสัปดาห์ที่8 มากกว่า ก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 และสัปดาห์ที่4 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อีกทั้งผลการทดสอบสมรรถภาพทางด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อสัปดาห์ที่4 มากกว่าก่อนการทดลองสัปดาห์ที่1 อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ


ผลการใช้โปรแกรมการฝึกเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกโยคะที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, สุภัสสร คำแพงศรี Jan 2017

ผลการใช้โปรแกรมการฝึกเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกโยคะที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, สุภัสสร คำแพงศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมการฝึกเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกโยคะที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับการฝึกเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกโยคะกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกเซปักตะกร้อตามปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ที่เรียนวิชาเซปักตะกร้อ จำนวน 64 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มทดลองจำนวน 32 คน ได้รับโปรแกรมการฝึกเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกโยคะที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อ และกลุ่มควบคุมจำนวน 32 คน ได้รับการฝึกเซปักตะกร้อตามปกติ เป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 60 นาที ทำการทดสอบความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 แล้วนำผลที่ได้มาวิเคราะห์ตามวิธีการทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ทดสอบค่า ที (t-test) และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measurement) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการเปรียบเทียบการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกเซปักตะกร้อร่วมกับการฝึกโยคะ ก่อนการทดลอง หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 4 และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการฝึกเซปักตะกร้อร่วมกับโยคะและกลุ่มควบคุม พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเสิร์ฟตะกร้อหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักของนักศึกษาปริญญาตรี, อัญมณี เมฆปรีดาวงศ์ Jan 2017

ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักของนักศึกษาปริญญาตรี, อัญมณี เมฆปรีดาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักของนักศึกษาปริญญาตรี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 20 คน ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักและกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.85 แบบวัดพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักในด้านความรู้ ด้านเจตคติ และการปฎิบัติ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.63, 0.69 และ 0.71 ตามลำดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.81, 0.83 และ 0.86 ตามลำดับ และเครื่องชั่งน้ำหนักวัดเปอร์เซ็นต์ไขมัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าทีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักในด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ หลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนักในด้านความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติ หลังการทดลองของกลุ่มทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัวและเปอร์เซ็นต์ไขมัน หลังการทดลองของนักศึกษากลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามอุดมการณ์โอลิมปิกเพื่อสร้างเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ปิยภูมิ กลมเกลียว Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามอุดมการณ์โอลิมปิกเพื่อสร้างเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ปิยภูมิ กลมเกลียว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามอุดมการณ์โอลิมปิกเพื่อสร้างเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัยนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 32 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จับสลากแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 16 คน และกลุ่มควบคุม 16 คน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นตอนพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามอุดมการณ์โอลิมปิกตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 และขั้นตอนที่ 2 การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามอุดมการณ์โอลิมปิก ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ และเก็บข้อมูลจำนวน 3 ครั้ง คือ 1) ระยะก่อนการทดลอง 2) เมื่อสิ้นสุดการทดลองในสัปดาห์ที่ 8 และ 3) การติดตามผลหลังสิ้นสุดการทดลอง 2 สัปดาห์ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย (1) แบบทดสอบวัดความรู้วิชาพลศึกษาที่มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .80 (2) แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 (3) แบบประเมินพฤติกรรมที่ส่งเสริมอุดมการณ์โอลิมปิกในด้านความมีมิตรภาพ และ (4) แบบประเมินพฤติกรรมที่ส่งเสริมอุดมการณ์โอลิมปิกในด้านความเคารพให้เกียรติซึ่งกันและกัน มีค่าความเที่ยงตรง เท่ากับ .90 และ .83 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานและสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ทดสอบด้วยสถิติ ที ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัย พบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามอุดมการณ์โอลิมปิกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ (1) หลักการ แนวคิดและอุดมการณ์โอลิมปิกโดยเชื่อมโยงระหว่างหลักการเรียนรู้พลศึกษา (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) เนื้อหา (4) ขั้นตอนการเรียนการสอน และ (5) การประเมินผล ซึ่งประกอบด้วย 8 แผนการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การวิ่งระยะสั้น 2) การวิ่งผลัด 3) พุ่งแหลน 4) ขว้างจักร และ 5) ทุ่มน้ำหนัก 6) กระโดดสูง …


ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ภัทรพงศ์ รัตนกาญจน์ Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้ตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยที่มีต่อเจตคติในการเรียนพลศึกษาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, ภัทรพงศ์ รัตนกาญจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยที่ส่งผลต่อเจตคติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลของความแตกต่างด้านเจตคติของกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาโดยประยุกต์ใช้หลักการทรงงานของศาสตร์พระราชาและทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัยกับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการเรียนการสอนวิชาพลศึกษาแบบปกติกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 50 คน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร แบ่งออกเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัย จำนวน 25 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามหลักการทรงงานของรัชกาลที่ 9 และทฤษฎีพัฒนาด้านจิตพิสัย จำนวน 8 แผน และแบบวัดเจตคติต่อวิชาพลศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อวิชาพลศึกษาหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนเจตคติต่อวิชาพลศึกษาหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก, นิรุตติ์ สุขดี Jan 2017

การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก, นิรุตติ์ สุขดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะออทิสซึ่มอยู่ในระดับปานกลาง อายุ 12–18 ปี จำนวน 8 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 ครั้ง ครั้งๆ 45 นาที ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองและหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ One-way ANOVA Repeated Measures การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยใช้ค่า "ที" ผลการวิจัยที่ได้ ดังนี้ 1) โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยโดยใช้ผ้าขาวม้า การออกกำลังกายแบบเดี่ยว การออกกำลังกายแบบเป็นคู่และการออกกำลังกายแบบเป็นกลุ่ม จำนวน 26 ท่า และ 5 ขั้นตอนการออกกำลังกาย โดยมีดัชนีความสอดคล้อง 0.94 2) สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของเด็กออทิสติกหลังการทดลองและหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ด้านทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการสื่อสารทางสังคมและด้านการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฏีการบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยมีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกได้


ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, พิชญา สวนช่วย Jan 2017

ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, พิชญา สวนช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีสมาธิต่ำ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 20 คนได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำมีค่า IOC 0.81 แบบประเมินสมาธิค่า IOC 0.75 ค่าความเที่ยง 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมาธิหลังการทดลองของกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมาธิหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยใช้ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเสริมต่อศักยภาพการเรียนรู้ที่มีต่อความรับผิดชอบและทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิส, เอก แซ่จึง Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเสริมต่อศักยภาพการเรียนรู้ที่มีต่อความรับผิดชอบและทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิส, เอก แซ่จึง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การเสริมต่อศักยภาพการเรียนรู้ที่มีต่อความรับผิดชอบและทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิสและ 2) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความรับผิดชอบและทักษะการตีโต้หน้ามือในกีฬาเทเบิลเทนนิสก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยพิจารณาคุณสมบัติเพื่อเป็นตัวแทนประชากรในงานวิจัยนี้ เป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 80 คน โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง (40 คน) และกลุ่มควบคุม (40 คน) เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้รับการตรวจสอบและหาค่า IOC (IOC = 0.95) และผ่านกระบวนการทดลองใช้ ก่อนนำไปทดลอง ซึ่งได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 8 แผนแบบทดสอบความรับผิดชอบ และแบบวัดทักษะการตีโต้หน้ามือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรับผิดชอบและการตีโต้หน้ามือหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่กลุ่มควบคุมสูงขึ้นเล็กน้อย โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรับผิดชอบ และการตีโต้หน้ามือหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, วิชนนท์ พูลศรี Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, วิชนนท์ พูลศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 64 คน โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองที่มีผลต่อทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัย จำนวน 32 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาแบบปกติ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัย จำนวน 8 แผน, แบบวัดทักษะการหยุดลูกบอล, ทักษะการเลี้ยงลูกบอล, ทักษะการยืนโหม่งลูกบอล และทักษะการกระโดดโหม่งลูกบอลเพื่อความปลอดภัยในกีฬาฟุตบอล และแบบสังเกตการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในกีฬาฟุตบอล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการหยุดลูกบอล, ทักษะการเลี้ยงลูกบอล ทักษะการยืนโหม่งลูกบอล และทักษะการกระโดดโหม่งลูกบอลในกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการหยุดลูกบอล, ทักษะการเลี้ยงลูกบอล ทักษะการยืนโหม่งลูกบอล และทักษะการกระโดดโหม่งลูกบอลในกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัย ก่อนการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, วชิรวิทย์ ช้างแก้ว Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, วชิรวิทย์ ช้างแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบางแพปฐมพิทยาคม จำนวน 66 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ จำนวน 33 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 33 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนเชิงผลิตภาพ จำนวน 8 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาด้านความรู้ เจตคติการปฏิบัติ และแบบวัดความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัย 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการสร้างสื่อนวัตกรรมทางสุขภาพหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวลสารสนเทศทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, โสภา ช้อยชด Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวลสารสนเทศทางสังคมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2, โสภา ช้อยชด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ ก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม ตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 70 คน โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวลสารสนเทศทางสังคม จำนวน 35 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานและทฤษฎีประมวลสารสนเทศทางสังคม จำนวน 8 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาพฤติกรรมการกลั่นแกล้งทางโลกออนไลน์หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธวัชชัย รักขติวงษ์ Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจที่มีต่อสมรรถภาพทางกาย ทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธวัชชัย รักขติวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 90 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 44 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจ และกลุ่มควบคุม จำนวน 46 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย แบบวัดทักษะการวิ่งเพื่อสุขภาพ และแบบวัดเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดของธอร์นไดค์ที่มีต่อความมีระเบียบวินัยของนักเรียนประถมศึกษา, ศิวณัฐ เล่อยิ้ม Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดของธอร์นไดค์ที่มีต่อความมีระเบียบวินัยของนักเรียนประถมศึกษา, ศิวณัฐ เล่อยิ้ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความมีระเบียบวินัยก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดของ ธอร์นไดค์ที่มีต่อความมีระเบียบวินัยของนักเรียนประถมศึกษาและนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ 2. เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความมีระเบียบวินัยหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดของธอร์นไดค์ที่มีต่อความมีระเบียบวินัยของนักเรียนประถมศึกษากับนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามปกติ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 60 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาตามแนวคิดของธอร์นไดค์ จำนวน 16 แผน และแบบวัดความมีระเบียบวินัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความมีระเบียบวินัยหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความมีระเบียบวินัยหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อรรถวุฒิ เกียรติสุข Jan 2017

ผลการใช้โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, อรรถวุฒิ เกียรติสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา: ผลการใช้โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนระยองวิทยาคมปากน้ำ จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ นักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 20 คน ที่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีผลต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 2 วัน วันละ 1 ชั่วโมง 30 นาที และนักเรียนกลุ่มควบคุม จำนวน 20 คน ที่ไม่ได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำ และมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.94 และแบบวัดการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการจมน้ำ และมีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.98 วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าทีที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ส่งผลให้นักเรียนกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการจมน้ำ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนการปฏิบัติตนเพื่อลดความเสี่ยงในการจมน้ำของนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังได้รับโปรแกรมสร้างเสริมความปลอดภัยโดยประยุกต์ทักษะชีวิตร่วมกับแนวคิดการกำกับตนเองที่มีต่อการลดความเสี่ยงในการจมน้ำของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบคิดค้นการเคลื่อนไหวตามแนวคิดของรูดอล์ฟ ลาบานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, นริศ เฉาะกระโทก Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบคิดค้นการเคลื่อนไหวตามแนวคิดของรูดอล์ฟ ลาบานที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, นริศ เฉาะกระโทก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบคิดค้นการเคลื่อนไหวตามแนวคิดของรูดอล์ฟ ลาบาน และเปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์และความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลโดยใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบคิดค้นการเคลื่อนไหวตามแนวคิดของรูดอล์ฟ ลาบานกับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 60 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุม 30 คน กลุ่มทดลอง 30 คน โดยเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 55 นาที โดยใช้เครื่องมือแผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบรูดอล์ฟ ลาบาน แบบทดสอบความเร็วในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล แบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล แบบสังเกตท่าทางในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล ได้ค่าดัชนีความสอดคล้อง เท่ากับ 0.89 และทำการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอล จากการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์ โดยผลทดสอบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 กลุ่มทดลองที่ได้รับวิธีการจัดการเรียนรู้แบบคิดค้นการเคลื่อนไหว มีค่าคะแนนความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมที่เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัยแสดงว่าวิธีการจัดการเรียนรู้แบบคิดค้นการเคลื่อนไหวสามารถพัฒนาความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลสำหรับนักเรียนชายและหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลของนักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเลี้ยงลูกบาสเกตบอลหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการฝึกเกมสนามเล็กที่มีต่อความสามารถในการรับและส่งลูกฟุตบอลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, นฤชล อรชร Jan 2017

ผลของโปรแกรมการฝึกเกมสนามเล็กที่มีต่อความสามารถในการรับและส่งลูกฟุตบอลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, นฤชล อรชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 90 คน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง จำนวน 44 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจ และกลุ่มควบคุม จำนวน 46 คน ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่แบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในกรีฑาประเภทลู่โดยประยุกต์หลักการของรูปแบบซิปปาร่วมกับทฤษฎีแรงจูงใจ จำนวน 8 แผน แบบทดสอบสมรรถภาพทางกาย แบบวัดทักษะการวิ่งเพื่อสุขภาพ และแบบวัดเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองแตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของผลการทดสอบสมรรถภาพทางกาย คะแนนทักษะและเจตคติต่อการวิ่งเพื่อสุขภาพหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05