Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Theses/Dissertations

Elementary Education

Chulalongkorn University

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา, พิมพ์ผกา ศิริหล้า Jan 2022

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเพื่อพัฒนาการคิดเชิงประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา, พิมพ์ผกา ศิริหล้า

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม รูปแบบการวิจัยเป็นการทดลอง ใช้แนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 60 คน ใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ 2) แบบประเมินเชิงพฤติกรรมเพื่อวัดความสามารถการคิดเชิงประยุกต์ สถิติที่ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สูตร t-test for Independent และเปรียบเทียบสามารถในการคิดเชิงประยุกต์ก่อนเรียนและหลังเรียนของกลุ่มทดลอง โดยใช้สูตร t-test for Dependent วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐานผสานแนวคิดสะเต็มศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการคิดเชิงประยุกต์สูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ผลการวิจัยนี้อาจเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ในระดับประถมศึกษาให้ดียิ่ง ๆ ขึ้นไปได้ และจะช่วยในการพัฒนาความสามารถด้านการคิดเชิงประยุกต์เพื่อตอบสนองนโยบายประเทศไทยในการเตรียมพลเมืองสู่ศตวรรษที่ 21


ผลการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา, พัชกุล แก้วกำพลนุชิต Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดที่มีต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนประถมศึกษา, พัชกุล แก้วกำพลนุชิต

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองด้วยการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด 2) เพื่อเปรียบเทียบการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้น Year 6 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) โครงการหลักสูตรนานาชาติ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความ วิชาภาษาและวัฒนธรรมไทย ที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิด จำนวน 12 แผน 2) แบบสังเกตการพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเองของนักเรียนเป็นรายบุคคล 3) แบบวัดการตระหนักรู้ในตนเอง ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนมีการตระหนักรู้ในตนเองเพิ่มขึ้นทั้ง 3 องค์ประกอบ โดยค่าเฉลี่ยของคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองที่เพิ่มขึ้นสูงสุด ได้แก่ การประเมินตนเอง การตระหนักรู้ทางอารมณ์ และความเชื่อมั่นในตนเอง ตามลำดับ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคการสะท้อนคิดมีการตระหนักรู้ในตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนประถมศึกษา, นลินี ดวงเนตร Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานที่มีต่อการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนประถมศึกษา, นลินี ดวงเนตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานกับนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดเชิงคำนวณของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานหลังเรียนและก่อนเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนเอกชนในจังหวัดสุรินทร์ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 2 ห้องเรียน ห้องเรียนละ 30 คน รวมทั้งสิ้น 60 คน โดยกำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานจำนวน 17 แผน โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบวัดความสามารถในการคิดเชิงคำนวณฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน โดยตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือจากค่าดัชนีความสอดคล้องของผู้ทรงคุณวุฒิ วิเคราะห์ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเที่ยง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีด้วยการทดสอบสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่เป็นอิสระจากกันและไม่เป็นอิสระจากกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นฐานมีค่าเฉลี่ยคะแนนการคิดเชิงคำนวณหลังเรียนสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา, ปฏิมา คำแก้ว Jan 2021

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชัน เพื่อส่งเสริมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา, ปฏิมา คำแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคของกลุ่มทดลอง 1 (2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคร่วมกับการใช้เกมการศึกษาของกลุ่มทดลอง 2 และ (3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชัน และการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการใช้เกมศึกษาของกลุ่มทดลองกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติของกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแห่งหนึ่งสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ และแบบบันทึกพฤติกรรมการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (ระหว่างเรียน) วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t (t-test Dependent) และการทดสอบค่า F (F-test Independent) ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชัน พบว่า หลังใช้สูงกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการใช้เกมการศึกษา พบว่า หลังใช้สูงกว่าก่อนใช้อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชัน และใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดเกมมิฟิเคชันร่วมกับการใช้เกมศึกษาของกลุ่มทดลองกับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติของกลุ่มควบคุม พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


การศึกษาวิธีการอบรมบ่มเพาะความซื่อสัตย์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาของโรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, ปานวาด กอวัฒนา Jan 2021

การศึกษาวิธีการอบรมบ่มเพาะความซื่อสัตย์สำหรับนักเรียนประถมศึกษาของโรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ, ปานวาด กอวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมบ่งชี้ความซื่อสัตย์ของนักเรียนประถมศึกษาสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ และเพื่อศึกษาวิธีการอบรมบ่มเพาะความซื่อสัตย์ให้กับนักเรียนประถมศึกษาของโรงเรียนสังกัดมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และ เชิงคุณภาพ โดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มจากอาจารย์ผู้บริหาร อาจารย์ประจำชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 รวมจำนวน 210 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 อาจารย์ผู้บริหาร และอาจารย์ประจำชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 มีมุมมอง ทัศนคติด้านพฤติกรรมตังบ่งชี้ และความหมายของความซื่อสัตย์ที่ใกล้เคียงกัน โดยแตกต่างกันที่พฤติกรรมในการแสดงออก ความรู้ และประสบการณ์ที่ได้รับในด้านการปลูกฝัง และส่งเสริมความซื่อสัตย์ให้กับนักเรียน อาจารย์ประจำชั้นมีการปลูกฝัง และส่งเสริมความซื่อสัตย์ให้กับนักเรียน คือ สอนความซื่อสัตย์ผ่านการโฮมรูม ยกย่อง ชื่นชม นักเรียน บุคคลภายนอกที่มีความซื่อสัตย์ เป็นแบบอย่างให้กับนักเรียน ปลูกฝังความซื่อสัตย์ผ่านการสอนในรายวิชาที่รับผิดชอบ มอบหมายให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติด้านความซื่อสัตย์ หรือ นำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ให้นักเรียนระดมความคิดเห็นต่อสถานการณ์ ประเด็น หรือ ข่าว และให้นักเรียนได้ปฏิบัติผ่านสถานการณ์จำลอง หรือ เหตุการณ์สมมติ ทั้งนี้นักเรียนอยากให้อาจารย์สอนเรื่องความซื่อสัตย์ โดยการยกตัวอย่างที่เห็นภาพชัดเจน เข้าใจง่ายมากยิ่งขึ้น รวมทั้งเชื่อมโยงความซื่อสัตย์สู่การนำไปใช้ในชีวิตประจำวันผ่านเรื่องเล่า การแสดงบทบาทสมมุติ ข่าว สถานการณ์ เกม คลิปต่าง ๆ นอกจากนี้คำพูดของอาจารย์สามารถเป็นการกระตุ้น และกำลังใจให้นักเรียนทำความดี ตลอดจนคิดต่อยอดสร้างสรรค์ในเรื่องต่าง ๆ


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อความสามารถทางคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, ชนิดา สารทอง Jan 2021

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อความสามารถทางคำศัพท์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, ชนิดา สารทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการใช้คำศัพท์จากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อความสามารถทางคำศัพท์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของความสามารถทางคำศัพท์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมหลังจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบว่ามีความต่างกันอย่างไร 3) ศึกษาพฤติกรรมจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบต่อความสามารถในการเรียนรู้คำศัพท์ของนักเรียนกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านนาราบ (จุลเกษตรศึกษาคาร) ใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) มีจำนวนห้องเรียนเป็นหน่วยของการเลือก ห้องนักเรียนกลุ่มทดลองและห้องนักเรียนกลุ่มควบคุม มีจำนวนห้องละ 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถทางคำศัพท์ก่อนและ หลังการทดลอง และแบบสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มทดลองต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ ในงานวิจัยครั้งนี้ใช้การคำนวณหาค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยครั้งนี้สรุปได้ดังนี้ 1) หลังการเรียนภาษาอังกฤษ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบของนักเรียนกลุ่มทดลอง นักเรียนมีความสามารถทางคำศัพท์สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการเรียนภาษาอังกฤษนักเรียนกลุ่มทดลอง มีความสามารถทางคำศัพท์สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) เมื่อเรียนรู้ภาษาอังกฤษแบบเน้นคำศัพท์ โดยใช้กระบวนการคิดเชิงออกแบบ นักเรียนเกิดพฤติกรรมความมุ่งมั่นในการทำงาน มีความสนใจใฝ่รู้ รวมถึงการใช้ทักษะต่าง ๆ ระหว่างเรียนในด้าน ทักษะความร่วมมือรวมพลัง ทักษะการสร้างสรรค์และการดำเนินด้านนวัตกรรม


การศึกษาสภาพการจัดการอารมณ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติ, ปิ่นประไพ โชติชัชวาลย์กุล Jan 2021

การศึกษาสภาพการจัดการอารมณ์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา: กรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติ, ปิ่นประไพ โชติชัชวาลย์กุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ในโรงเรียนนานาชาติ และนำเสนอแนวทางสำหรับครูในการส่งเสริมให้นักเรียนมีการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) ระเบียบวิธีวิจัยกรณีศึกษา (case study) ทำการเก็บข้อมูลจากแหล่งข้อมูล 3 ส่วน ด้วยวิธีการรวบรวมข้อมูลทั่วไปที่เกี่ยวกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนนานาชาติ ทำการสังเกตการณ์นักเรียนที่เป็นกรณีศึกษาจำนวน 6 คน และสัมภาษณ์ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการอารมณ์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ มี 3 ปัจจัย ได้แก่ ปัจจัยด้านความเครียดจากการศึกษา ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านความขัดแย้งระหว่างเพื่อนร่วมชั้นเรียน 2) แนวทางการส่งเสริมให้นักเรียนมีการจัดการอารมณ์ที่เหมาะสม สำหรับครูและผู้เกี่ยวข้องกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ในโรงเรียนนานาชาติ ประกอบด้วย 2 แนวทาง โดยแนวทางแรก คือ แนวทางในการส่งเสริมให้นักเรียนมีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสม ได้แก่ การใช้กลยุทธ์วิธีการจัดการอารมณ์ การฝึกสมาธิ และการสร้างระบบกลุ่มย่อยภายในโรงเรียน แนวทางที่สอง คือ แนวทางในการลดการแสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสมของนักเรียน ได้แก่ การรับฟังสภาพอารมณ์ของนักเรียน การฝึกฝนวิธีการแสดงออกทางอารมณ์ที่เหมาะสมกับครูแนะแนว การใช้อุปกรณ์เสริมเพื่อเบี่ยงเบนความสนใจ และการขอความร่วมมือจากผู้ปกครอง


ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทยในราชสำนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษา, อัญญารัตน์ นิติศักดิ์ Jan 2020

ผลของการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้และความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทยในราชสำนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษา, อัญญารัตน์ นิติศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย และเพื่อเปรียบเทียบความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทยในราชสำนักก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เขตพระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 27 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม โดยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติม ภูมิปัญญาไทย โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ จำนวน 7 แผนการเรียนรู้ 20 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ก่อนเรียนและหลังเรียนรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และแบบวัดความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทยในราชสำนักของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความตระหนักรู้คุณค่างานฝีมือไทยในราชสำนักหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบในรายวิชาเพิ่มเติมภูมิปัญญาไทย ค่าเฉลี่ยคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด


ผลการใช้ชุดกิจกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา, เชษฐชาตรี นวลขำ Jan 2019

ผลการใช้ชุดกิจกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา, เชษฐชาตรี นวลขำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรม เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่อพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่เลือกเข้ากิจกรรมชมรมชวนคิดส์ออนไลน์ ประจำปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย คือ 1) ชุดการจัดกิจกรรมชมรม เรื่อง การใช้สื่อสังคมออนไลน์ โดยใช้ปรากฏการณ์เป็นฐาน และ 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา และเกณฑ์การประเมินพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนระดับประถมศึกษา ฉบับก่อนเรียน และหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลคะแนนแบบสังเกตพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียน พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการวิเคราะห์คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์จากแบบสังเกตพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า มีพัฒนาการในระดับที่แตกต่างกัน 3. ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพที่สะท้อนพัฒนาการรู้ดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษา พบว่า เมื่อใช้ชุดกิจกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามแนวคิดปรากฏการณ์เป็นฐานร่วมกับการสะท้อนคิด นักเรียนมีพัฒนาการในแต่ละรายพฤติกรรมของการรู้ดิจิทัลที่แตกต่างกัน


แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากระดับประถมศึกษาสู่ระดับมัธยมศึกษา : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติ, โชติกา กังสนันท์ Jan 2019

แนวทางการส่งเสริมความพร้อมในรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากระดับประถมศึกษาสู่ระดับมัธยมศึกษา : พหุกรณีศึกษาโรงเรียนนานาชาติ, โชติกา กังสนันท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาทางการเรียนที่เกิดขึ้นกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นนักเรียนไทย ในโรงเรียนนานาชาติ (2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมแก่นักเรียนในรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากระดับประถมศึกษาสู่ระดับมัธยมศึกษาในโรงเรียนนานาชาติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แบบสัมภาษณ์ชนิดมีโครงสร้างคำถาม (2) แบบประเมินรับรองแนวทางการส่งเสริมความพร้อมสำหรับผู้เชี่ยวชาญ กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่สอนในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนนานาชาติ ประกอบด้วย โรงเรียนนานาชาติระบบอังกฤษ 2 โรงเรียน โรงเรียนนานาชาติระบบอเมริกัน 2 โรงเรียน โรงเรียนนานาชาติระบบสิงคโปร์ 2 โรงเรียน และโรงเรียนนานาชาติระบบ International Baccalaureate 1 โรงเรียน จำนวนทั้งหมด 7 โรงเรียน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาทางการเรียนที่เกิดขึ้นกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เป็นนักเรียนไทย ในโรงเรียนนานาชาติ มี 3 ด้าน ได้แก่ (1) พื้นฐานทางวิชาการ (2) สังคมและวัฒนธรรม และ (3) สภาพอารมณ์และจิตใจของนักเรียน และแนวทางการส่งเสริมความพร้อมได้ดังนี้ (1) แนวทางในการส่งเสริมความพร้อมด้านพื้นฐานทางวิชาการ (2) แนวทางการส่งเสริมความพร้อมด้านสังคมและวัฒนธรรม และ (3) แนวทางการส่งเสริมความพร้อมด้านสภาพอารมณ์และจิตใจ ซึ่งประกอบด้วยการจัดการเรียนการสอน การจัดสภาพแวดล้อมในชั้นเรียน และการสร้างความร่วมมือกับผู้ปกครอง


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขนาดเล็ก, นิดาวรรณ ทองไทย Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ที่มีต่อทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในโรงเรียนขนาดเล็ก, นิดาวรรณ ทองไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ 2) เปรียบเทียบทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์กับผู้เรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้เรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 โรงเรียนขนาดเล็กแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี จำนวน 24 คนได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบวัดทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ก่อนเรียน-หลังเรียน แบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมในการแก้ปัญหา และ แบบบันทึกการสัมภาษณ์แนวทางการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนแตกต่างจากก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยคะแนนทักษะหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน 2) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์แตกต่างจากผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยคะแนนทักษะผู้เรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม 3) ผู้เรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับความสามารถด้านมิติสัมพันธ์มีทักษะในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่ดีขึ้น


ผลการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา, พัฒนาภรณ์ มุสิกะสาร Jan 2019

ผลการฝึกอบรมเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาที่มีต่อคุณลักษณะตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนประถมศึกษา, พัฒนาภรณ์ มุสิกะสาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สะเต็มศึกษาเป็นแนวคิดที่เหมาะกับการเรียนรู้ของนักเรียนในยุคปัจจุบัน การให้ความรู้กับครูผ่านการอบรมเกี่ยวกับแนวคิดดังกล่าวจึงมีความสำคัญในการช่วยให้นักเรียนได้ใช้ทั้งความรู้และทักษะควบคู่กันไป วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของมาตรฐานครูที่ได้รับหลังการอบรมที่เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาจากหน่วยงานและองค์กรต่างๆ 2) เพื่อศึกษาผลของมาตรฐานครูจากการนำสิ่งที่ได้รับจากการอบรมของครูผู้สอนไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 คือ ครูผู้สอนในระดับชั้นประถมศึกษา สังกัดสำนักเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในประเทศไทย ที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รวมทั้งสิ้น 156 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การหาค่าความถี่ (f ) ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x̄ ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถามแบบเลือกตอบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ กลุ่มที่ 2 คือ ครูผู้สอนที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษาในระดับชั้นประถมศึกษา ศูนย์สะเต็มศึกษาตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 (นครราชสีมา) จำนวน 2 โรงเรียน โดยสัมภาษณ์และสังเกตการสอนครูผู้สอนโรงเรียนละ 2 คน จำนวนทั้งสิ้น 4 คน รวมทั้งสัมภาษณ์นักเรียนโรงเรียนละ 5 คน จำนวนทั้งสิ้น 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาที่ผ่านการอบรมที่เกี่ยวข้องกับสะเต็มศึกษา มีการปฏิบัติตามมาตรฐานครูของของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.55 (S.D.=0.76) 2) ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาหลังการนำสิ่งที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ในชั้นเรียนประถมศึกษาตามมาตรฐานครูของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษา มีระดับการปฏิบัติปานกลาง มีค่าเฉลี่ยรวมเท่ากับ 3.59 (S.D.=0.78)


ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษา, สุวิมล สาสังข์ Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษา, สุวิมล สาสังข์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2561 ในโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดสมุทรสาคร แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมีที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมแบ่งเป็น แผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมรวมกับเทคนิคการใช้คำถาม จำนวน 10 แผน และแผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมเพียงอย่างเดียว จำนวน 10 แผน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง ไม่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม


ผลของการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ลักษมี แป้นสุข Jan 2019

ผลของการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิกที่มีต่อทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ลักษมี แป้นสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก และ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสายไหม (ทัสนารมย์อนุสรณ์) สังกัดสำนักงานเขตสายไหม กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 93 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยใช้เทคนิคผังกราฟิก แบบทดสอบทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนและหลังเรียน ที่มีลักษณะเป็นแบบอัตนัยโดยการเขียนเป็นเรื่องราวเชิงบรรยาย จำนวน 2 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก มีทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคลโดยใช้เทคนิคผังกราฟิก


การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, รัตนมน เกษจุฬาศรีโรจน์ Jan 2019

การศึกษากระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, รัตนมน เกษจุฬาศรีโรจน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยแบบผสมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร และ(2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการจัดกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กในช่วงรอยเชื่อมต่อจากชั้นเรียนอนุบาลสู่ชั้นเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียน 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร ตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ได้แก่ ครูระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนทั้ง 4 สังกัด ในเขตกรุงเทพมหานคร รวมทั้งสิ้น 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ (1) แบบสำรวจการปฏิบัติเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กประถมศึกษา และ(2) แบบสัมภาษณ์ครูเกี่ยวกับแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมสำหรับเด็กประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ครูมีการปฏิบัติงานที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคมด้านการสร้างปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับเด็กอยู่ในระดับ มากที่สุด (M = 4.54, SD = 0.39) รองลงมาคือด้านการสังเกตพฤติกรรมและประเมินผลการเรียนรู้ของเด็ก (M = 4.42, SD = 0.47) ด้านการชี้แนะโดยตรงเพื่อช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้และการปรับตัว (M = 4.41, SD = 0.39) และด้านการเป็นแบบอย่างในการประพฤติตนสำหรับเด็ก (M = 4.28, SD = 0.36) อยู่ในระดับมาก และครูมีปฏิบัติงานที่ส่งเสริมกระบวนการพัฒนาการเรียนรู้ทางอารมณ์และสังคม ด้านการจัดบรรยากาศการเรียนรู้ที่เอื้อให้เด็กเกิดการเรียนรู้อย่างอิสระน้อยที่สุด (M = 4.03, SD = 0.44)


ผลการใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง: กรณีศึกษาสภานักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, รัตนาวดี แม่นอุดม Jan 2019

ผลการใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง: กรณีศึกษาสภานักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้, รัตนาวดี แม่นอุดม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยเพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งสำหรับสภานักเรียนระดับประถมศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ สภานักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4-6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 จำนวน 31 คน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง 2) แบบสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งแบบกึ่งโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ย จำนวน 18 กิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณจากแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยด้วยค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติทดสอบ (Paired-Sample t-test) วิเคราะห์ความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยใช้ค่าสถิติแบบ (Independent-sample-t-test) และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง โดยวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมรูปแบบเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยมีความสามารถในการแก้ปัญหาความขัดแย้งหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนักเรียนเข้าใจความคิดความรู้สึกของตนเองและรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น รู้จักการเป็นผู้ฟังที่ดีและตระหนักถึงคุณค่าของกระบวนการเพื่อนช่วยไกล่เกลี่ยว่ามีความสำคัญกับตนเองในมิติของการจัดการความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในโรงเรียน


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, เบญจรัตน์ ใจบาน Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาที่มีต่อทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4, เบญจรัตน์ ใจบาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษาและ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่เข้าร่วมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา จำนวน 16 แผน แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และแบบบันทึกพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษา มีทักษะการทำงานกลุ่มหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) พฤติกรรมการทำงานกลุ่มของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีพิพาทเชิงสร้างสรรค์ร่วมกับการใช้กรณีศึกษามีการเปลี่ยนแปลงทั้ง 5 ทักษะ โดยทักษะที่พัฒนามากที่สุด คือ ทักษะการวางแผน รองลงมา คือ ทักษะการสื่อสาร ทักษะในการปฏิสัมพันธ์ ทักษะการแก้ปัญหา และทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้ง


ผลการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะการทํางานร่วมกันของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, วราพร สิทธิ์พรสุวรรณ Jan 2018

ผลการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาที่มีต่อทักษะการทํางานร่วมกันของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1, วราพร สิทธิ์พรสุวรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการทำงานร่วมกันก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาของนักเรียนกลุ่มทดลอง และการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียวของนักเรียนกลุ่มควบคุม และ 2) เปรียบเทียบทักษะการทำงานร่วมกันหลังจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษาของนักเรียนกลุ่มทดลอง และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียวของกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ที่กำลังศึกษาภาคปลาย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสังเกตทักษะการทำงานร่วมกัน แบบประเมินทักษะการทำงานร่วมกัน (ประเมินตนเองและประเมินโดยเพื่อน) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิล ร่วมกับเกมการศึกษา และแผนการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียว วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษา และนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียว มีทักษะการทำงานร่วมกันหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลร่วมกับเกมการศึกษามีทักษะการทำงานร่วมกันหลังการทดลองทั้ง 3 ด้าน สูงกว่านักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยการใช้กลวิธีการสอนแบบคาเริสเซิลเพียงอย่างเดียว อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา, วรรณวรางค์ รักษทิพย์ Jan 2018

ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา, วรรณวรางค์ รักษทิพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษาที่มีต่อการพัฒนาพฤติกรรมประชาธิปไตยของนักเรียนประถมศึกษา ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนห้อง 5/1 กำลังศึกษาอยู่ที่โรงเรียนเพลินพัฒนา กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 มาจากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินพฤติกรรมประชาธิปไตย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกันโดยใช้สถิติ Wilcoxon Singed Rank Test ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ในชั้นเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมประชาธิปไตยหลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา, อภิญญา สุขช่วย Jan 2018

แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา, อภิญญา สุขช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษากับพฤติกรรมการสอนของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา และ 3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา มีแบบแผนการวิจัยเป็นวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาประถมศึกษา จำนวน 274 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยประจำสาขาวิชาประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษามีแนวโน้มไปทางความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยมมากที่สุด อันดับรองลงมา ได้แก่ อัตถิภาวนิยม นิรันตรนิยม ปฏิรูปนิยม และสารัตถนิยม ตามลำดับ 2) ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาในแต่ละสาขาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาในสาขาเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม มีความสัมพันธ์ในทางลบกับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) พบว่า มีการนำแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยมมาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา โดยหล่อหลอมผ่านกิจกรรมการลงมือปฏิบัติจริง ผลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตรและความคาดหวังของรายวิชา ซึ่งถือว่าได้ผลสำเร็จในภาพรวม


สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร, ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร Jan 2017

สภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร, ณัฐพงศ์ เชื้อเพชร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและแนวทางแก้ไขปัญหาเรื่องการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์และการทำแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.สภาพปัญหาเรื่องการสอนอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สรุปได้ว่า 1) ครูที่สอนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมต้น (ป.1-3) ไม่ได้สอนในวิชาภาษาไทยแต่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่อย่างอื่นในโรงเรียน 2) ครูที่สอนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมต้น (ป.1-3) ไม่ได้จบเอกภาษาไทย จึงไม่รู้หลักในการสอนวิชาภาษาไทย 3) นักเรียนที่โรงเรียนรับเข้ามามีหลากหลายปัญหา ได้แก่ เป็นบุตรของแรงงานต่างด้าว มีสภาวะเรียนรู้ช้า เป็นเด็กพิเศษทั้งที่มีใบรับรองแพทย์และไม่มี 4) เวลาที่ครูจะได้ใช้ในการซ่อมเสริมเด็กที่อ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำไม่ได้ มีจำกัด เพราะมีภาระงานทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมากมาย 5) ขาดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำในโรงเรียนเนื่องจากข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ บุคลากรและเวลา รวมถึงความตระหนักในปัญหาที่เป็นอยู่ 2.แนวทางในการแก้ไขปัญหาการสอนอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร สรุปได้ว่า 1) ครูที่สอนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมต้น (ป.1-3) ควรเป็นครูที่จบเอกภาษาไทยซึ่งรู้หลักในการสอนวิชาภาษาไทยโดยเฉพาะเรื่องการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำ 2) การสอนอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อยๆ วันละ 5-10 นาที และควรทำต่อเนื่อง 3) ครูผู้สอนวิชาภาษาไทยควรได้รับการอบรมเรื่องเทคนิคการสอนและการสร้างนวัตกรรมที่ส่งเสริมการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำอย่างต่อเนื่อง 4) ผู้เกี่ยวข้องทุกคนไม่ว่าจะเป็นครูท่านอื่น ผู้ปกครอง ชุมชนควรร่วมมือกันในการส่งเสริมความสามารถในการอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำของเด็กจนกว่าจะสามารถอ่านออกและเขียนได้เพื่อต่อยอดการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น 5) ฝ่ายบริหารควรมีนโยบายในการลดภาระงานที่ไม่จำเป็นของครูลงแต่เพิ่มประสิทธิภาพเชิงวิชาการด้วยการให้ครูได้มีเวลาในการพัฒนาและแก้ปัญหาเด็กอ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ 6) ควรมีการส่งเสริมให้มีการผลิตสื่อการสอนและนวัตกรรมที่ช่วยให้นักเรียนสามารถอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำได้ในรูปแบบที่ทำให้นักเรียนเกิดความสนุกสนานและเพลิดเพลินแต่ได้รับความรู้โดยไม่รู้สึกว่าเป็นการเรียน 7) วิธีการสอนอ่านสะกดคำและเขียนสะกดคำที่ได้ผลมากที่สุดคือการสอนแบบแจกลูกสะกดคำ


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, ดาริกา สมนึก Jan 2017

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5, ดาริกา สมนึก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็ก ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่อยู่ในพื้นที่ชนบท ปีการศึกษา 2560 ที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนประถมศึกษาแห่งหนึ่ง ประเภทโรงเรียนรัฐบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่อยู่ในพื้นที่ชนบท จำนวน 25 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ จำนวน 21 แผนการจัดการเรียนรู้ ใช้เวลาในการทดลองทั้งสิ้น 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ แบบปรนัยจำนวน 15 ข้อ 2) แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง จำนวน 5 ข้อ ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากแบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้วยสถิติค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และทดสอบสมมุติฐานด้วยสถิติทดสอบ (Paired-Sample t-test) วิเคราะห์คะแนนเฉลี่ยผลต่างของคะแนนหลังเรียนของนักเรียนแต่ละกลุ่มตาม เพศ อายุ เกรดเฉลี่ย ภูมิลำเนา อาชีพผู้ปกครอง และความสัมพันธ์ในครอบครัว โดยใช้ค่าสถิติแบบ (Independent-sample-t test) และ (One-way-Anova) ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดปรัชญาสำหรับเด็กมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความแตกต่างระหว่างเพศ อายุ เกรดเฉลี่ย อาชีพของผู้ปกครอง และความสัมพันธ์ในครอบครัวไม่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนซึ่งแตกต่างกับภูมิลำเนาของนักเรียนที่ส่งผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์


ผลของการใช้คำถามระดับสูงในการสอนอ่านจับใจความที่มีผลต่อความตระหนักในความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ทศพร ศรีแสง Jan 2017

ผลของการใช้คำถามระดับสูงในการสอนอ่านจับใจความที่มีผลต่อความตระหนักในความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ทศพร ศรีแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้คำถามระดับสูงในการสอนอ่านจับใจความที่มีต่อความตระหนักในความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2560 จำนวน 64 คน กลุ่มทดลอง 32 คน กลุ่มควบคุม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สาระการอ่าน โดยใช้คำถามระดับสูง และแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สาระการอ่าน แบบปกติ แบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตระหนักในความเป็นไทย เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ แบบวัดความตระหนักในความเป็นไทย ใช้มาตราวัดอันดับคุณภาพ และแบบวัดความตระหนักในความเป็นไทย มีลักษณะการเขียนเติมประโยคให้สมบูรณ์ โดยคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนอ่านจับใจความโดยใช้คำถามระดับสูงมีความตระหนักในความเป็นไทยหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการสอนอ่านจับใจความรูปแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


แนวทางการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ทัชชา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา Jan 2017

แนวทางการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ทัชชา ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการนำหลักสูตรอาเซียนศึกษาไปใช้ในระดับประถมศึกษา 2) เพื่อสังเคราะห์และนำเสนอแนวทางการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษาระดับประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่การสอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่อยู่ในโครงการ ASEAN Learning School จำนวน 151 โรงเรียน จำนวน 302 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบสอบถาม และ 2) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การวิเคราะห์ข้อมูล 1) การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสอบถาม ใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 2) การวิเคราะห์และสรุปผลการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขแนวทางการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า สภาพและปัญหาที่พบในการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษา คือ 1) ด้านการเตรียมความพร้อม ครูส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับเอกสารประกอบหลักสูตรอาเซียนศึกษาจากกระทรวงศึกษาธิการ ไม่ได้รับสื่อการสอนอาเซียนศึกษาจากหน่วยงานภายนอกโรงเรียน และยังไม่เคยได้รับการอบรมก่อนการนำหลักสูตรไปใช้ 2) ด้านการบริหารหลักสูตร พบปัญหาในการวางแผนการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษาล่วงหน้า การดำเนินการตามแผนการใช้หลักสูตร การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การจัดทำแผนการประเมินผลและติดตามผลการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษา 3) ด้านการจัดการเรียนการสอน โรงเรียนประถมศึกษามีรูปแบบการจัดกิจกรรมในสถานศึกษาที่หลากหลาย และครูใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่มีความแตกต่างกัน โดยมีปัญหาเกิดขึ้นในทุก ๆ การปฏิบัติ 4) ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร ครูส่วนใหญ่ไม่เคยได้รับการอบรมเกี่ยวกับคู่มือการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษา เทคนิคและวิธีการสอนอาเซียนศึกษา การจัดทำและแนวทางการใช้สื่อ สำหรับแนวทางการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษา ในโรงเรียนประถมศึกษา ผลการวิจัยพบว่า แนวทางการใช้หลักสูตรอาเซียนศึกษาประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1) ด้านการเตรียมความพร้อม 2) ด้านการบริหารหลักสูตร 3) ด้านการจัดกาเรียนการสอน และ 4) ด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร


การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก จังหวัดปทุมธานี, สุพัตรา คำโพธิ์ Jan 2017

การศึกษาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก จังหวัดปทุมธานี, สุพัตรา คำโพธิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก 2) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชากร คือ ครูผู้สอนภาษาไทยระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 1 จำนวน 289 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการจัดการเรียนการสอน ผลการวิจัยในครั้งนี้ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก จังหวัดปทุมธานี พบว่าครูมีการปฏิบัติอยู่ในระดับบางครั้ง (ค่าเฉลี่ย = 2.97) โดยพบปัญหาคือ ครูขาดความชำนาญในการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย และต้องการสื่อที่ใช้ในการสอนภาษาไทย 2. แนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยของครูระดับประถมศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไม่ตรงวิชาเอก คือ 1)การเริ่มต้นพัฒนาตนเองโดยครูผู้สอนต้องตระหนักถึงความรับผิดชอบและหน้าที่ของตนเอง และศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม 2) การได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารสถานศึกษาทั้งด้านสื่อการสอน การนิเทศติดตาม การส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3) การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดอบรมเกี่ยวกับการสอนภาษาไทย


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, นราลักษณ์ ผ่องปัญญา Jan 2017

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, นราลักษณ์ ผ่องปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มที่มีผลต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดแก้ปัญหาก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานและนักเรียนได้ที่รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่ม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 70 คน สุ่มกลุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลอง กลุ่มละ 35 คน กลุ่มทดลองที่ 1 เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มทดลองที่ 2 เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐาน แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่ม และแบบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยแนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาหลังการทดลองของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานและนักเรียนได้ที่รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้แนวคิดการใช้ปัญหาเป็นฐานผ่านกระบวนการกลุ่มสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, สุมาลี ชูบุญ Jan 2017

ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, สุมาลี ชูบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 4) ศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีแบบการเรียนรู้ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางหญ้าแพรก แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบการอ่านจับใจความฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน และแบบสำรวจแบบการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิก และแผนการจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดที่ไม่ใช้ผังกราฟิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนกลุ่มทดลองที่ร่วมกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกมีคะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนกลุ่มควบคุมที่ร่วมกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดที่ไม่ใช้ผังกราฟิกมีคะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)นักเรียนกลุ่มทดลองที่ร่วมกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกมีคะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ร่วมกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดที่ไม่ใช้ผังกราฟิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4)คะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนรายบุคคลเมื่อวิเคราะห์ตามแบบการเรียนรู้ เรียงลำดับจากคะแนนสูงไปต่ำ ได้แก่ นักเรียนที่มีแบบการเรียนรู้แบบการดูหรือมองเห็น การสัมผัสหรือเคลื่อนไหวร่างกาย และการฟังหรือได้ยิน ตามลำดับ