Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

2017

Chulalongkorn University

Keyword

Articles 1 - 30 of 93

Full-Text Articles in Education

ผลของการใช้รูปแบบการสอน 7e ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขัน วิชาหลักภาษาไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาไทยและทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ Oct 2017

ผลของการใช้รูปแบบการสอน 7e ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขัน วิชาหลักภาษาไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาไทยและทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนทักษะชีวิตของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขันกับนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนปกติ ก่อนและหลังทดลอง2) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขันกับนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอนปกติ ก่อนและหลังทดลอง 3)เปรียบเทียบคะแนนทักษะชีวิตของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขันก่อนและหลังการทดลอง4) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาไทยของนักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขัน ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 ห้องเรียน ใช้เวลาสอนกลุ่มละ 2 คาบต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 16 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาหลักภาษาไทย และ แบบสอบถามทักษะชีวิตของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยการทดสอบค่าทีผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขันมีคะแนนทักษะชีวิตสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขันมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขันมีคะแนนทักษะชีวิตสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยรูปแบบการสอน 7E ร่วมกับเทคนิคกลุ่มร่วมมือแข่งขันมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


มุมห้องเรียน: การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษ, อร่าม ทองมี Oct 2017

มุมห้องเรียน: การจัดการเรียนรู้แบบเน้นภาระงานเพื่อพัฒนาการสื่อสารภาษาอังกฤษ, อร่าม ทองมี

Journal of Education Studies

No abstract provided.


แนะนำหนังสือ, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง Oct 2017

แนะนำหนังสือ, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์ โควี่, ชนัญญา ใยลออ, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา Oct 2017

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์ โควี่, ชนัญญา ใยลออ, มนัสวาสน์ โกวิทยา, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นตามแนวคิดความฉลาดทางวัฒนธรรม และแนวคิดอุปนิสัย 7 ประการของสตีเฟ่น อาร์โควี่ และ 2) ตรวจสอบยืนยันองค์ประกอบทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แรงงานต่างสัญชาติที่ทำงานร่วมกันในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมโดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจงจำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วยคำถามจำนวนทั้งสิ้น 25 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ จำนวน และร้อยละ โดยใช้โปรแกรม SPSS for WINDOWS และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ซึ่งทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม M Plus ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบทักษะการทำงานร่วมกันกับผู้อื่นในองค์กรธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม5องค์ประกอบ และ 25 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ การเปิดใจต่อการเรียนรู้เพื่อเข้าใจความแตกต่างในการทำงานร่วมกัน 5 ตัวบ่งชี้การกำหนดเป้าหมายและการวางแผนการเรียนรู้ด้านความแตกต่างเพื่อการทำงานร่วมกัน 5 ตัวบ่งชี้ การผสานประโยชน์ร่วมกันในการทำงานด้วยการมีทัศนคติเชิงบวกต่อกัน 5 ตัวบ่งชี้ การปรับตัวเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างสร้างสรรค์ 5 ตัวบ่งชี้ การพัฒนาตนเองเพื่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างยั่งยืน 5 ตัวบ่งชี้ 2) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรม M Plus พบว่าโมเดลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์โดยมีดัชนีวัดความกลมกลืนค่าไคสแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ 1.856 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 0.915ค่าความคลาดเคลื่อน (RMSEA) เท่ากับ 0.076 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องในรูปความลาดเคลื่อนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ0.73


ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และการประเมินสถานการณ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, วิสุทธิวัฒน์ ต๊ะผัด, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2017

ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้กระบวนการคิดวิเคราะห์และการประเมินสถานการณ์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการรู้เท่าทันสื่อของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, วิสุทธิวัฒน์ ต๊ะผัด, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองและนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน กลุ่มละ 40 คน โรงเรียนสตรีวัดอัปสรสวรรค์ กรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้วิจัยได้แก่ แผนจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยกระบวนการคิดวิเคราะห์และการประเมินสถานการณ์ จำนวน 8 แผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า ?ที? ผลการวิจัยพบว่า1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติและการปฏิบัติหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติและการปฏิบัติหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา, อรชร กิตติชนม์ธวัช, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2017

ภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา, อรชร กิตติชนม์ธวัช, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา และ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนประถมศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินและแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา มี 6 คุณลักษณะหลัก 13 คุณลักษณะย่อย โดยคุณลักษณะหลัก 6 ด้าน ได้แก่ (1) ความสามารถทางปัญญาและการรู้แจ้ง (2) บุคลิกภาพสร้างสรรค์ (3) ความกล้า (4) ความใจกว้างและเชื่อมั่นในผู้รับมอบหมายงาน (5) ความปรารถนาและมุ่งมั่นให้สำเร็จ และ (6) ความรอบรู้ จากผลการวิเคราะห์ระดับภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษา พบว่าคุณลักษณะด้านความปรารถนาและความมุ่งมั่นมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ในขณะที่ด้านบุคลิกภาพสร้างสรรค์มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด โดยเฉพาะคุณลักษณะย่อยความฉลาดทางอารมณ์ และ 2) สภาพปัจจุบันของรูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนประถมศึกษาพบว่า องค์ประกอบของการบริหารส่วนใหญ่เป็นรูปแบบเพื่อนร่วมงาน รองลงมาคือ รูปแบบทางการ และรูปแบบวัฒนธรรม ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพที่พึงประสงค์ทุกองค์ประกอบ


การวิเคราะห์องค์ประกอบความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพการบริการในระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, พีชญาดา พื้นผา Oct 2017

การวิเคราะห์องค์ประกอบความพึงพอใจเกี่ยวกับคุณภาพการบริการในระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษา คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานีในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง, พีชญาดา พื้นผา

Journal of Education Studies

การเพิ่มขึ้นของคณะและสาขาวิชาในสถาบันอุดมศึกษามีเป็นจำนวนมากในปัจจุบัน นำมาซึ่ง การแข่งขันอย่างรุนแรงในธุรกิจการศึกษาจึงทำให้คุณภาพการบริการของมหาวิทยาลัยมีความสำคัญมากที่จะทำให้นักเรียนตัดสินใจเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาตัวบ่งชี้และองค์ประกอบความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพการบริการในระดับอุดมศึกษา 2. ตรวจสอบความกลมกลืนของตัวบ่งชี้และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันความพึงพอใจของนักศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพ การบริการของในระดับอุดมศึกษาเชิงทฤษฎีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2/2559 คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี จำนวน 531 คน จาก 7 สาขา เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามที่มีความเที่ยงเท่ากับ 0.93 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ 32 ข้อคำถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สองด้วยโปรแกรม MPLUS ผลการวิจัย พบว่า โมเดลองค์ประกอบคุณภาพการบริการของคณะบริหารศาสตร์เชิงทฤษฏีสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (c2 = 822.993, df = 445) โดยทุกองค์ประกอบของคุณภาพการบริการของ คณะบริหารศาสตร์มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 นั่นคือทุกข้อคำถามทั้ง 6 องค์ประกอบมีความเที่ยงสูงถึงสูงมาก เมื่อเรียงลำดับคุณภาพการบริการตามน้ำหนักองค์ประกอบจากมากไปน้อยได้ดังนี้ 1) คุณภาพบริการด้านการจัดการเรียนการสอน 2) คุณภาพบริการด้านการวัดและประเมินผล 3) คุณภาพบริการด้านการเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานวิชาชีพ 4) คุณภาพบริการด้านเนื้อหาในหลักสูตร 5) คุณภาพบริการด้านคุณภาพของอาจารย์ผู้สอน และ 6) คุณภาพบริการด้านอาจารย์ที่ปรึกษา ดังนั้น คุณภาพการบริการด้านอาจารย์ที่ปรึกษา จึงเป็นด้านที่นักศึกษาต้องการให้มีการปรับปรุงคุณภาพการบริการมากที่สุด โดยเฉพาะนักศึกษาต้องการได้รับคำแนะนำอย่างเพียงพอจากที่ปรึกษาเพื่อใช้แก้ปัญหาด้านวิชาการและที่ปรึกษาควรมีช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ ผลการวิจัยนี้นำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนเชิง กลยุทธ์สู่การปฏิบัติและการบริหารจัดการในคณะบริหารศาสตร์หรือในระดับมหาวิทยาลัยต่อไป


การพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา, จันทนี ตันสกุล, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2017

การพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา, จันทนี ตันสกุล, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบบรรยาย ประเมินกรอบแนวคิดโดยผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 379 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการ ครูหัวหน้ากลุ่มบริหารงานบุคคล ครูหัวหน้ากลุ่มบริหารงานวิชาการ และครูหัวหน้ากลุ่มสาระ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา ประกอบด้วย (1) การพัฒนาครู 4 วิธี คือการยึดองค์กรเป็นฐาน การยึดปัจเจกบุคคลเป็นฐาน การยึดบทบาทของนักการศึกษาเป็นฐาน การยึดผู้ให้การอบรมเป็นฐาน (2) การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามรูปแบบ PRIME คือการให้ความสำคัญคุณลักษณะอันพึงประสงค์เป็นอันดับแรก การสร้างสัมพันธภาพ การสร้างแรงจูงใจภายใน การเป็นตัวแบบของความดี การเสริมพลังอำนาจนักเรียน (3) คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนมี 4 ด้านคือ สำนึกความเป็นพลเมืองดี คุณธรรมจริยธรรม สมรรถนะคุณธรรม จิตสาธารณะ 2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาครูเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบัน ในทุกด้าน


แนะนำหนังสือ, สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง Oct 2017

แนะนำหนังสือ, สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน, ณัฏฐภรณ์ หลาวทอง

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น, ชญาภัสร์ สมกระโทก, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2017

ผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น, ชญาภัสร์ สมกระโทก, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตนเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนของนักเรียนหญิงชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนหญิงมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 50 คน ที่มีพฤติกรรมการออกกำลังกายน้อยกว่าสัปดาห์ละ 3 ครั้ง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง จำนวน 25 คน และกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับการจัดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตน จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยใช้ทฤษฎีความสามารถแห่งตน แบบวัดความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน แบบวัดเจตคติในการป้องกันโรคกระดูกพรุน แบบวัดการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคกระดูกพรุน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า ?ที? ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนด้านความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน ด้านเจตคติในการป้องกันโรคกระดูกพรุน และด้านการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคกระดูกพรุนหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมป้องกันโรคกระดูกพรุนด้านความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุนและการป้องกัน ด้านเจตคติในการป้องกันโรคกระดูกพรุน และด้านการปฏิบัติตนในการป้องกันโรคกระดูกพรุนหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การทดลองใช้ตัวบ่งชี้ในการจัดการฝึกอบรมผู้ประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ตามกรอบแห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและ มัคคุเทศก์ พ.ศ.2551, เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, ละเอียด ศิลาน้อย, เศรษฐวัสภุ์ พรมสิทธิ์ Oct 2017

การทดลองใช้ตัวบ่งชี้ในการจัดการฝึกอบรมผู้ประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย ตามกรอบแห่งพระราชบัญญัติธุรกิจนำเที่ยวและ มัคคุเทศก์ พ.ศ.2551, เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, ศักดิ์ชัย นิรัญทวี, ละเอียด ศิลาน้อย, เศรษฐวัสภุ์ พรมสิทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทดลองใช้ตัวบ่งชี้ในการจัดการฝึกอบรมผู้ประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทย 2) เพื่อเสนอแนะการจัดการฝึกอบรมผู้ประสงค์จะเป็นมัคคุเทศก์ของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในประเทศไทยแก่สถาบันการศึกษาที่ต้องการจัดฝึกอบรมอย่างต่อเนื่อง โดยผู้วิจัยใช้ตัวบ่งชี้ที่เกี่ยวข้อง 34 ตัวบ่งชี้ แบ่งได้ 7 ด้าน ทดลองกับมหาวิทยาลัยพะเยาและมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบวัดความรู้ก่อนและหลัง ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.75 ค่าความยากง่ายอยู่ในช่วง 0.2-0.8 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.2-0.8 ใช้สถิติค่าทีแบบคู่ได้ผลลัพธ์คะแนนเฉลี่ยการสอบวัดความรู้หลังการจัดฝึกอบรมสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ .05 การฝึกอบรมมีผลเพิ่มพูนความรู้ของผู้เข้ารับการอบรมจริง 2) แบบสอบถามความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมตามตัวบ่งชี้ทั้ง 34 ตัวบ่งชี้ พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมหาวิทยาลัยพะเยา มีความพอใจมากที่สุดคุณสมบัติของวิทยากรด้านความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในรายวิชาที่สอนด้านมัคคุเทศก์ ตลอดจนคุณสมบัติของวิทยากรด้านความสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ (= 4.83, S.D.= 0.38) ผู้เข้ารับการฝึกอบรม มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทิร์น มีความพอใจมากที่สุดในคุณสมบัติของวิทยากร ด้านความรู้ความสามารถและประสบการณ์ในรายวิชาที่สอนด้านมัคคุเทศก์ (= 4.36, S.D.= 0.49) 3) การประเมินผลจากการทดลองนำ ตัวบ่งชี้มาใช้จากผู้จัดการฝึกอบรม ได้รับประโยชน์และยังมีความคิดเห็นว่า มีประสิทธิภาพสูงมากในการนำ ตัวบ่งชี้มาเป็นตัวกำกับการจัดการฝึกอบรมก่อให้เกิดความพึงพอใจแก่ผู้เข้ารับการฝึกอบรม 4) การประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน เห็นว่าทั้งสองสถาบันใช้ตัวบ่งชี้ทุกตัวในการจัดฝึกอบรม ซึ่งส่งผลให้กระบวนการดำเนินงานการจัดการฝึกอบรมมีความราบรื่นและบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม


การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาครูวิชาชีพ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย, วิเศษ ชิณวงศ์ Oct 2017

การพัฒนารูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาครูวิชาชีพ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย, วิเศษ ชิณวงศ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาครูวิชาชีพ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย โดยทั่วไปการใช้เครือข่ายเพื่อการสื่อสารทั่วโลกได้ถูกนำมาใช้ระหว่างตัวบุคล กลุ่ม และองค์กร ซึ่งการศึกษานี้เป็นแนวโน้มใหม่ที่ตรงข้ามกับรูปแบบ ?การทำงานแบบตัวบุคคล? ในการสอนและเรียนรู้ซึ่งเห็นได้โดยทั่วไปสำหรับครูหรือบุคลากรทางการศึกษา ประเด็นคลุมเครือที่มากขึ้นและยากให้การอภิปรายถึง ?การเรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญของครูวิชาชีพ? ในบทความวิจัยนี้ได้ศึกษา 3 กระบวนการความคิดหลัก ได้แก่ เครือข่ายการเรียนรู้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ และการเรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญของครูวิชาชีพ งานวิจัยนี้ใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การเก็บข้อมูลเชิงปริมาณใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย และการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การจัดการประชุมกลุ่มเป้าหมาย การทดลองรูปแบบ และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา งานวิจัยนี้ใช้วิธีการพัฒนารูปแบบด้วยการทดลองรูปแบบและกระบวนการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพครูผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ และได้ข้อสรุปจากการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า รูปแบบเครือข่ายการเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ จังหวัดสุรินทร์ ประเทศไทย คือ รูปแบบ ?WISEST HOPE Model? โดยให้ครูทำกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ที่พัฒนาขึ้น การเรียนรู้อย่างเชี่ยวชาญของครูวิชาชีพผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์แสดงผลอย่างมีนัยสำคัญ


ผลของโปรแกรมเพิ่มน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์, ศรัณย์ โสพิณ, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2017

ผลของโปรแกรมเพิ่มน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์, ศรัณย์ โสพิณ, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมเพิ่มน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่มีภาวะน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ โรงเรียนพุทธจักรวิทยา จำนวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมเพิ่มน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 20 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมเพิ่มน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1)โปรแกรมเพิ่มน้ำหนักโดยใช้ทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ 2)แบบวัดความรู้ เจตคติ เรื่องการเพิ่มน้ำหนัก 3)เครื่องชั่งน้ำหนักตัวแบบดิจิตอลและที่วัดส่วนสูง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษา พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ เจตคติ เรื่องการเพิ่มน้ำหนัก และค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ เจตคติ เรื่องการเพิ่มน้ำหนัก และของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความรู้ เจตคติ เรื่องการเพิ่มน้ำหนัก และค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัว หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การจัดกิจกรรมจิตตศิลป์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะของผู้เรียนอายุ 16-18 ปี, อติญา วงษ์วาท, ขนบพร แสงวณิช Oct 2017

การจัดกิจกรรมจิตตศิลป์เพื่อสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะของผู้เรียนอายุ 16-18 ปี, อติญา วงษ์วาท, ขนบพร แสงวณิช

Journal of Education Studies

กิจกรรมจิตตศิลป์ มีส่วนช่วยให้ผู้ฝึกปฏิบัติเข้าใจความหมายและคุณค่าของผลงานศิลปะ เปิดมุมมอง โลกทัศน์ เรื่อง มิติการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและผู้อื่น สำหรับเด็กอายุ 16-18 ปี การสร้างประสบการณ์ทางสุนทรียะ จะเป็นพื้นฐานของการมองโลกในแง่บวก เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาต่อและเป็นพลเมืองของสังคมโลก บทความนี้เป็นการนำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมจิตตศิลป์ 6 ด้าน คือ 1) จุดประสงค์ของกิจกรรม จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงประสบการณ์ทั้งภายในและภายนอก สะท้อนความคิดเกี่ยวกับตนในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะประเภทต่างๆ 2) การสร้างกรอบเนื้อหาของกิจกรรม ออกแบบเนื้อหาตามหลักภาวนา 4 ผู้เรียนสามารถรับรู้ความงามทางศิลปะในรูปแบบต่างๆ 3) รายละเอียดของกิจกรรม จะมีความเกี่ยวข้องกับแนวทางการฝึกกิจกรรม เช่น ระยะเวลา วัสดุ อุปกรณ์ 4) ลักษณะของกระบวนกรและตัวอย่างของการใช้คำพูดที่เหมาะสมกับสถานการณ์ 5) การประเมินผลโดยใช้สมุดบันทึกภาพสะท้อนความคิด 6) แหล่งการเรียนรู้ด้วยตนเองได้ เมื่อวัดประสบการณ์ทางสุนทรียะหลังจากการใช้กิจกรรม พบว่า ผู้เรียนทุกคนมีระดับประสบการณ์ทางสุนทรียะสูงขึ้น ผู้เรียนจำนวน 9 คน มีระดับประสบการณ์ทางสุนทรียะ อยู่ในขั้นความเป็นตัวของตนเอง ซึ่งเป็นระดับความสามารถสูงสุด และผู้เรียนจำนวน 5 คน มีระดับในขั้นรองลงมา


ธุรกิจศึกษาจากอดีตสู่ยุคศตวรรษที่ 21, บุณฑริกา บูลภักดิ์ Oct 2017

ธุรกิจศึกษาจากอดีตสู่ยุคศตวรรษที่ 21, บุณฑริกา บูลภักดิ์

Journal of Education Studies

ธุรกิจศึกษาเป็นสาขาวิชาที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านธุรกิจ เพื่อเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด รู้เท่าทันธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีทักษะที่จำเป็นในการทำงาน การจัดการเรียนรู้ด้านธุรกิจบรรจุเป็นวิชาเลือกในกลุ่มวิชาการงานและอาชีพในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษามาเป็นเวลานาน ซึ่งในอดีตให้ความสำคัญกับงานอาชีพเป็นอย่างมาก โดยมีวิชาให้เลือกหลากหลาย แต่ปัจจุบันได้มีการปรับหลักสูตรแกนกลาง ความสำคัญของกลุ่มการงานและอาชีพจึงลดลง มีการลดจำนวนคาบเรียนและรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจลง ส่งผลต่อการลดอัตราการจ้างครูธุรกิจ ซึ่งมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อหลักสูตรการผลิตครูธุรกิจในสถาบันอุดมศึกษาด้วย ธุรกิจศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ควรปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะจำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างฉลาด มีความสามารถในการประกอบอาชีพที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการในโลกอนาคตได้ โดยให้ความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ เทคโนโลยี และการเป็นผู้ประกอบการ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครอง องค์กรธุรกิจ และชุมชน ส่วนสถาบันผลิตครูธุรกิจควรนำเทคโนโลยีและความรู้ธุรกิจสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น สร้างเครือข่ายธุรกิจศึกษาระหว่างสถาบันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้สังคมรู้จักและเห็นความสำคัญของธุรกิจศึกษา สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของรายวิชาธุรกิจในโรงเรียนและเพิ่มคาบเรียนรายวิชาอาชีพและวิชาธุรกิจให้เป็นวิชาบังคับที่นักเรียนทุกคนต้องเรียน เพื่อให้เป็นผู้บริโภคที่ฉลาดและให้มีทักษะในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต


คิดนอกกรอบ: การปฏิบัติจริงกับความสำเร็จของประกันคุณภาพการศึกษา, คมศร วงษ์รักษา, วรรณี แกมเกตุ Oct 2017

คิดนอกกรอบ: การปฏิบัติจริงกับความสำเร็จของประกันคุณภาพการศึกษา, คมศร วงษ์รักษา, วรรณี แกมเกตุ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, เรวณี ชัยเชาวรัตน์ Oct 2017

สมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ, เรวณี ชัยเชาวรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาครู โดยทดลองใช้กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะของนักศึกษาครูด้านการออกแบบการเรียนการสอนผ่านการเข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพในรายวิชาการฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน 1 (ED18401) แก่นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษาจำนวน 2 ห้อง จำนวน 58 คน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2559 และผลการทดลองใช้กระบวนการ พบว่า นักศึกษาครูที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามกระบวนการ มีสมรรถนะด้านการออกแบบการเรียนการสอนสูงขึ้น ดังนี้ 1) หลังการเข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามกระบวนการ นักศึกษาครูมีพัฒนาการด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอน โดยมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการออกแบบการเรียนการสอนสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ก่อนเรียนนักศึกษามีระดับความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับพอใช้ และเมื่อนักศึกษาได้รับการจัดการเรียนรู้โดยเข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามกระบวนการ นักศึกษามีระดับความสามารถอยู่ในระดับดี และ 3) นักศึกษาครูที่เข้าร่วมเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพตามกระบวนการร้อยละ 100 เห็นความสำคัญของการออกแบบการเรียนการสอนในระดับมาก


เปิดประเด็น: การประเมินผลตอบแทนทางสังคม, โชติกา ภาษีผล Oct 2017

เปิดประเด็น: การประเมินผลตอบแทนทางสังคม, โชติกา ภาษีผล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักศึกษาครู, นันท์นภัส นิยมทรัพย์ Oct 2017

เจตคติต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักศึกษาครู, นันท์นภัส นิยมทรัพย์

Journal of Education Studies

การเรียนรู้แบบร่วมมือเป็นทักษะจำเป็นสำหรับผู้คนในโลกปัจจุบันและอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักศึกษาครูควรมีความสามารถในการทำงานแบบร่วมมือและมีความรู้เรื่องรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาการทำงานแบบร่วมมือของนักเรียน งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาหลักการสอนและการจัดการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือสำหรับนักศึกษาครู และศึกษาเจตคติต่อการเรียนรู้แบบร่วมมือของนักศึกษาครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาครูจำนวน 140 คน ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือจำนวน 3 กิจกรรม และแบบวัดเจตคติก่อนและหลังการสอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่และร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบจิ๊กซอว์และรูปแบบร่วมกันเรียนรู้สามารถนำไปใช้ออกแบบกิจกรรมในเนื้อหาเรื่องทฤษฎีการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนการสอน และวิธีสอนในรายวิชาหลักการสอนและการจัดการเรียนรู้และส่งผลให้นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ร้อยละ 70 นักศึกษาส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงเจตคติในทางบวกทุกด้านเพิ่มขึ้นหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ


องค์ประกอบและกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับครู กศน.ตำบล, ลวพร สุกียาม่า, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์ Oct 2017

องค์ประกอบและกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับครู กศน.ตำบล, ลวพร สุกียาม่า, วีระเทพ ปทุมเจริญวัฒนา, สมบูรณ์ บูรศิริรักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบและกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับครู กศน.ตำบล โดยใช้วิธีการศึกษาเอกสารและเทคนิคการวิจัยแบบเดลฟาย กลุ่มเดิม 20 คน จำนวน 3 รอบ จากผู้บริหาร และนักวิชาการผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในองค์ประกอบ และกระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองให้มีศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของครู กศน. ตำบลมากกว่า 5 ปี และครู กศน.ตำบล โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร และแบบสอบถามเดลฟาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่าองค์ประกอบการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของครู กศน.ตำบล ประกอบด้วย องค์ประกอบภายในตนเอง และองค์ประกอบสนับสนุน ดังนี้ 1. องค์ประกอบภายในตนเอง มี 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) แรงจูงใจและความต้องการ 1.2) ความตระหนักในบทบาท 1.3) ความพร้อมในตนเอง 1.4) คุณลักษณะที่ดี 1.5) ความเชื่อมั่นในความสามารถตน 1.6) การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง และ 1.7) จรรยาบรรณวิชาชีพครู 2. องค์ประกอบสนับสนุน 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 2.1) ผู้จัดและผู้สนับสนุน 2.2) เนื้อหา 2.3) กิจกรรมในการพัฒนา 2.4) สื่อและแหล่งการเรียนรู้ 2.5) ผลสัมฤทธิ์ทางอาชีพ และ 2.6) การวัดและการประเมินผล กระบวนการเรียนรู้ในการพัฒนาตนเองตนเองเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของครู กศน.ตำบลมี 8 ขั้น ได้แก่ 1) สร้างบรรยากาศการเรียนรู้ 2) กำหนดเป้าหมาย ผ่านการวินิจฉัยความต้องการเรียนรู้ และประเมินตนเอง 3) ออกแบบการเรียนรู้ 4) พัฒนาตนเองและเสริมแรงการเรียนรู้ 5) พบกลุ่มเป็นระยะเพื่อสะท้อนความคิด 6) ประเมินผลการพัฒนาตนเอง 7) ปฏิบัติซ้ำจนหมดปัญหา และ 8) ขยายองค์ความรู้สู่ผู้อื่น


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนะ Oct 2017

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนะ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, แทน ไพรสิงห์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2017

ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึกที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, แทน ไพรสิงห์, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหา หลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 80 คน โรงเรียนสตรีวัดมหาพฤฒาราม ในพระบรมราชินูปถัมภ์ กรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก จำนวน 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาแบบปกติ จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบตกผลึก จำนวน 8 แผน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษาด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า?ที? ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติ และความสามารถในการแก้ปัญหาหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา, สิรชัช จันทร์รัศมี, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2017

ผลของโปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา, สิรชัช จันทร์รัศมี, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตชั้นปีที่ 1-4 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง จำนวน 50 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ นิสิตกลุ่มทดลอง จำนวน 25 คนได้รับโปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียด 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนิสิตกลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ไม่ได้รับโปรแกรมออกกำลังกาย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) โปรแกรมออกกำลังกายตามทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรคที่มีต่อการลดความเครียดของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาจำนวน 5 กิจกรรม 2) แบบวัดความเครียดที่พัฒนามาจากแบบวัดความเครียดของสวนปรุงแบบ 20 ข้อ มีค่าความตรง 0.98 ค่าความเที่ยง 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการศึกษา พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดหลังการทดลองของนิสิตกลุ่มทดลองลดลงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความเครียดหลังการทดลองของนิสิตกลุ่มทดลองลดลงกว่านิสิตกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


มาตรฐานอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาของประเทศไทย, จอมพงศ์ มงคลวนิช Oct 2017

มาตรฐานอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาของประเทศไทย, จอมพงศ์ มงคลวนิช

Journal of Education Studies

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอการจัดทำมาตรฐานอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) โดยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยสยาม การจัดทำเริ่มจากการศึกษามาตรฐานอาชีพในประเทศชั้นนำด้านการบริหารสถานศึกษาที่มีมาตรฐานอาชีพผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 ประเทศ และข้อมูลอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาของประเทศไทย นำผลการศึกษาที่ได้เสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียประมาณ 60 คน เพื่อได้กรอบแนวคิดเพื่อการพัฒนามาตรฐานอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาของประเทศไทย จากนั้นได้จัดทำมาตรฐานอาชีพผู้บริหารสถานศึกษา โดยใช้เทคนิควิเคราะห์หน้าที่ (Functional Analysis) โดยมีการประชุมเชิงปฏิบัติการของผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารสถานศึกษาจำนวน 15 ท่าน เพื่อจัดทำ แผนภาพ หน้าที่งาน (Function Map) ซึ่งประกอบด้วยความมุ่งหมายหลัก (Key Purpose) บทบาทหลัก (Key Role) หน้าที่หลัก (Key Function) หน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence) และหน่วยสมรรถนะย่อย (Element of Competence) จากนั้นนำผลการจัดทำเสนอให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิรับรองและจัดสัมมนาประชาพิเคราะห์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำนวน 86 คน โดยได้มาตรฐานอาชีพ ผุ้บริหารสถานศึกษาซึ่ง ประกอบด้วย 1 ความมุ่งหมายหลัก 3 บาทบาทหลัก 7 หน้าที่หลัก 21 หน่วยสมรรถนะ และ 49 หน่วยสมรรถนะย่อย โดยมาตรฐานอาชีพได้กำหนดเกณฑ์การปฏิบัติงาน ขอบเขตการปฏิบัติงานและวิธีการประเมิน ทั้งนี้มาตรฐานอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาได้ผ่านการพิจารณาตรวจรับจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนำไปใช้เป็นมาตรฐานอาชีพผู้บริหารสถานศึกษาของประเทศไทย


การพัฒนาความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะและแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา, กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล, ยศวีร์ สายฟ้า, ชาริณี ตรีวรัญญู Jul 2017

การพัฒนาความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะและแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา, กุณฑลี บริรักษ์สันติกุล, ยศวีร์ สายฟ้า, ชาริณี ตรีวรัญญู

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของการใช้กระบวนการส่งเสริมความสามารถของครูในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษาตามแนวคิดกลุ่มศึกษาทั้งคณะและแนวคิดการชี้แนะทางปัญญา โดยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีระยะเวลาทดลองใช้กระบวนการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2558 ถึงเดือนตุลาคม 2558 ครูผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ ครูสังกัดสำนัก การศึกษา กรุงเทพมหานคร รวม 12 คน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการนี้ ใช้หลักการรวมกลุ่มของครูเพื่อพัฒนาผู้เรียนโดยจัดเป็นกลุ่มศึกษาและใช้การชี้แนะทางปัญญา มีการดำเนินงาน 6 ขั้นตอน คือ (1) สร้างระบบกลุ่มศึกษาทั้งคณะ (2) ชี้แนะทางปัญญา (3) กำหนดเป้าหมาย (4) จัดกลุ่มศึกษา (5) ฝึกฝน พัฒนา (6) ประชุมเพื่อสะท้อนคิด และ 2. ครูผู้เข้าร่วมกระบวนการทุกคน มีการพัฒนาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อจากระดับอนุบาลสู่ระดับประถมศึกษา โดยหลังเข้าร่วมกระบวนการ ครูมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสำหรับเด็กในระยะเชื่อมต่อสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกระบวนการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


พฤติกรรมสัมพันธภาพระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน : รูปแบบเชิงทฤษฎีการวัด และปริทัศน์งานวิจัย, ประสาท อิศรปรีดา, ธีรประภา ทองวิเศษ Jul 2017

พฤติกรรมสัมพันธภาพระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน : รูปแบบเชิงทฤษฎีการวัด และปริทัศน์งานวิจัย, ประสาท อิศรปรีดา, ธีรประภา ทองวิเศษ

Journal of Education Studies

บทความนี้มุ่งนำเสนอรูปแบบเชิงทฤษฎี แนวการวัดพฤติกรรม และการทบทวนงานวิจัยที่เกียวข้องกับพฤติกรรมสัมพันธภาพระหว่างผู้สอนและผู้เรียน โดยได้เน้นรูปแบบพฤติกรรมสัมพันธภาพของครู (Model for Interpersonal Teacher Behavior: MITB) ซึ่งได้จำแนกลักษณะพฤติกรรมสัมพันธภาพของครูต่อผู้เรียนออกเป็น 8 ประเภท คือ พฤติกรรมแบบผู้นำ แบบผู้คอยช่วยเหลือและเป็นมิตร แบบผู้มีความเข้าอกเข้าใจ แบบให้มีอิสระและให้รับผิดชอบ แบบไม่อยู่กับร่องกับรอย แบบแสดงความไม่พึงพอใจ แบบชอบตักเตือน และแบบเข้มงวดกวดขัน ในการวัดพฤติกรรมแต่ละประเภท สามารถวัดจากการรับรู้ของผู้เรียนที่มีต่อผู้สอนด้วยการใช้แบบสอบถามที่สร้างขึ้นจากนิยามปฏิบัติการ การทบทวนงานวิจัยในบทความนี้ทั้งหมดได้นำมาจากผลงานที่ทำทั้งในประเทศแถบตะวันตกและในแถบเอเชีย ผลการวิจัยที่นำเสนอได้ให้ข้อสรุปที่น่าสนใจว่า พฤติกรรมสัมพันธภาพของผู้สอนแต่ละลักษณะมีความสัมพันธ์ทั้งทางบวกและลบกับผลการเรียนรู้ด้านพุทธิพิสัยและจิตพิสัยของผู้เรียน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังคงเหลือคำถามที่เป็นโจทย์วิจัยที่ควรศึกษาในอีกหลายประเด็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการศึกษากับผู้สอนและผู้เรียนในประเทศไทย


แนวทางการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร, ณัฐศริยา จักรสมศักดิ์, สุธนะ ติงศภัทิย์ Jul 2017

แนวทางการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร, ณัฐศริยา จักรสมศักดิ์, สุธนะ ติงศภัทิย์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร 2) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาในสถาบันอาชีวศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้ากลุ่มสุขศึกษาและพลศึกษา และนักศึกษาอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น ซึ่งมีการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาและมีการทดลองใช้ก่อนนำไปใช้จริง ผลการวิจัยพบว่า อัตราส่วนของครูพลศึกษาต่อนักศึกษาเท่ากับ 1 : 422 ครูพลศึกษามีภาระงานสอน 18 คาบต่อสัปดาห์ มีการจัดทำหลักสูตรพลศึกษาด้วยตนเอง จัดการเรียนการสอนพลศึกษาสัปดาห์ละ 2 คาบ สถานที่และอุปกรณ์เพียงพอและเหมาะสม งบประมาณที่ใช้มาจากเงินบำรุงการศึกษา ตัดสินระดับคะแนนแบบอิงเกณฑ์ โดยใช้องค์ประกอบด้านทักษะ ความรู้ สมรรถภาพ คุณธรรมจริยธรรม และเจตคติ กำหนดการให้คะแนนร้อยละ 40, 30, 10, 10, 10 ตามลำดับ การจัดการเรียนการสอนพลศึกษา ควรมีแนวทาง ดังนี้ 1) ควรเพิ่มจำนวนหน่วยกิตวิชาพลศึกษาและกำหนดวัตถุประสงค์ให้ให้ครบตามปรัชญาพลศึกษา 2) ควรมีการบรรจุครูพลศึกษาบรรจุครูพลศึกษาที่มีวุฒิทางพลศึกษาให้มีอัตราส่วนที่เหมาะสมต่อจำนวนนักศึกษา 3) ควรจัดหาสนาม อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก และงบประมาณให้เพียงพอต่อการจัดการเรียนการสอนพลศึกษา


การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ถิรวุฒิ ธนวิชเพียรพาก, จรูญศรี มาดิลกโกวิท, วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์ Jul 2017

การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง, ถิรวุฒิ ธนวิชเพียรพาก, จรูญศรี มาดิลกโกวิท, วิรุจ กิจนันทวิวัฒน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ (2) นำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคที่อยู่อาศัยในอาคารชุดพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในอาคารชุดจำนวน 30 คน ใช้วิธีการคัดเลือกผู้บริโภคแบบกำหนดโควต้า แบ่งเป็นผู้บริโภคที่พักในที่อยู่อาศัยระดับราคาสูงจำนวน 10 คน ผู้บริโภคที่พักในที่อยู่อาศัยระดับราคาปานกลางจำนวน 10 คน และผู้บริโภคที่พักในที่อยู่อาศัยระดับราคาต่ำจำนวน 10 คน และการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านที่อยู่อาศัยจำนวน 10 คน ผลการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งหมด 4 ขั้นตอน คือ 1) การตระหนักในปัญหา 2) การเรียนรู้และวางแผนการปฏิบัติ 3) การลงมือปฏิบัติ และ 4) การติดตามประเมินผล ซึ่งสังเคราะห์เป็นกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ทั้งหมด 3 ด้าน คือ 1) กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยอย่างมีเหตุผล โดยผู้บริโภคมีการใช้งานและการบำรุงรักษาวัสดุอุปกรณ์อย่างมีเหตุผล 2) กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยอย่างพอประมาณ โดยผู้บริโภครู้จักประมาณตนในการวางแผนทางการเงินและพอประมาณในการใช้จ่าย และ 3) กระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยอย่างมีภูมิคุ้มกัน โดยผู้บริโภครู้เท่าทันถึงความสำคัญของกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจแก้ไขปัญหาด้านที่อยู่อาศัย ในส่วนการนำเสนอแนวทางการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ด้านที่อยู่อาศัยของผู้บริโภคในชุมชนเมืองตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1) ด้านกายภาพ จัดทำคู่มือการใช้งานวัสดุอุปกรณ์และแชร์ประสบการณ์กันอย่างมีเหตุผล 2) ด้านการเงิน จัดทำบัญชีครัวเรือนเพื่อให้เกิดความพอประมาณในการใช้จ่าย 3) ด้านการบริหารจัดการ จัดสถานที่ในการเข้าร่วมกิจกรรมและประชาสัมพันธ์ให้เกิดการรู้เท่าทันในการมีส่วนร่วม และ 4) ด้านสิ่งแวดล้อม จัดฝึกการคัดแยกขยะอย่างมีเหตุผลโดยฝึกปฏิบัติจริงโดยรู้เท่าทันปัญหามลพิษทางขยะ ซึ่งแนวทางดังกล่าว จะช่วยทำให้ผู้บริโภคมีการอยู่อาศัยอย่างเกิดความพอดี และสามารถปรับตัวในการใช้ชีวิตภายในที่อยู่อาศัยได้อย่างเกิดความพอเพียง


ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข, บุรินทร์ เทพสาร, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ Jul 2017

ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข, บุรินทร์ เทพสาร, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข โดยการรวบรวมและวิเคราะห์เอกสาร จากการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านองค์กรแห่งความสุข ผู้บริหารองค์ภาคเอกชน ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 19 คน แบบสอบถามกับบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 405 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยา ผลการวิจัย พบว่า ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลง สถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข คือ Happy HERMES Strategies ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมบุคลากรมีความสุขกับสุขภาวะดี (Happy Healthy) 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรมีความสุข ด้วยความฉลาดทางอารมณ์(Happy Emotional Quotient) 3) ยุทธศาสตร์การสนับสนุนบุคลากรมีความสุขกับการมีความรับผิดชอบ(Happy Responsibility) 4) ยุทธศาสตร์การส่งเสริม บุคลากรสร้างสุขทางการเงิน(Happy Money) 5) ยุทธศาสตร์การสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรกับองค์กร (Happy Engagement) และ 6) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้บุคลากรมีความสุขกับการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (Happy Stakeholder)


การศึกษาคุณลักษณะของนักการเมืองสตรีไทยในระดับท้องถิ่น, พิมพ์พันธุ์ ศรีพิพิธ, เฟื่องอุรณ ปรีดีดิลก Jul 2017

การศึกษาคุณลักษณะของนักการเมืองสตรีไทยในระดับท้องถิ่น, พิมพ์พันธุ์ ศรีพิพิธ, เฟื่องอุรณ ปรีดีดิลก

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของนักการเมืองสตรีไทยในระดับท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างการวิจัย ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่เป็นสตรี เป็นการวิจัยผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ผลการศึกษาพบว่าคุณลักษณะของนักการเมืองสตรีไทยในระดับท้องถิ่น ประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ด้านคือ จิตใจ ความคิด ความรู้ และพฤติกรรม โดยเรียงตามลำดับความสำคัญแต่ละคุณลักษณะ 3 ลำดับแรกดังนี้ (1) ด้านจิตใจ ได้แก่ (1.1) เป็นผู้มีความมุ่งมั่นในการทำงาน (1.2) เป็นผู้มีจิตใจที่รักความยุติธรรม (1.3) เป็นผู้มีคุณธรรมจริยธรรม (2) ด้านความคิด ได้แก่ (2.1) เป็นผู้มีอุดมการณ์ทางการเมืองยึดมั่นหลักการประชาธิปไตย (2.2) เป็นผู้มีความคิดริเริ่มใหม่ๆอยู่เสมอในการทำงานเพื่อท้องถิ่น (2.3) เป็นผู้มีความคิดที่มีวิสัยทัศน์กว้างไกล (3) ด้านความรู้ ได้แก่ (3.1) เป็นผู้มีความรู้ด้านบริหารจัดการ (3.2) เป็นผู้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารท้องถิ่น (3.3) เป็นผู้มีความรู้เฉพาะตำแหน่งของผู้บริหารท้องถิ่น และ(4) ด้านพฤติกรรม ได้แก่ (4.1) เป็นผู้มีมนุษยสัมพันธ์ (4.2) เป็นผู้มีความซื่อสัตย์สุจริต (4.3) เป็นผู้มีความซื่อตรงในการทำงาน