Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

โรงเรียนเอกชน

Publication Year

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียน, ผาสุก สุมามาลย์กุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ปองสิน วิเศษศิริ Apr 2021

การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียน, ผาสุก สุมามาลย์กุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ปองสิน วิเศษศิริ

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดโรงเรียนที่สร้างความผูกพันครูและนักเรียน 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจำเป็น ในการบริหารโรงเรียนเอกชน และ 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารโรงเรียนเอกชน ตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียน ตัวอย่าง คือ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา จำนวน 330 แห่ง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียนรวม 873 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบประเมิน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI modified) ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดโรงเรียนที่สร้างความผูกพันมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การทำงานที่มีความหมาย (2) ฝ่ายบริหารร่วมปฏิบัติงานและตัดสินใจอย่างเหมาะสม (3) สภาพแวดล้อมการทำงานเชิงบวก (4) การให้โอกาสก้าวหน้า (5) การมีความเชื่อมั่นในภาวะผู้นำ (6) การปฏิบัติอย่างเป็นธรรม 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดองค์การที่สร้างความผูกพันของครูและนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ระดับมากที่สุด 3) จุดแข็ง คือ โรงเรียนสามารถสร้างความเชื่อมั่นในภาวะผู้นำให้แก่ครูและนักเรียน จุดอ่อน คือ การให้โอกาสความก้าวหน้าแก่ครูและนักเรียน สภาพสังคมและเทคโนโลยีเป็นโอกาส การเมืองและนโยบายของรัฐบาล และสภาพเศรษฐกิจเป็นภาวะคุกคาม


กลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา, เปี่ยมพร ตังตระกูลไพศาล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, เพ็ญวรา ชูประวัติ Oct 2020

กลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา, เปี่ยมพร ตังตระกูลไพศาล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, เพ็ญวรา ชูประวัติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจําเป็นและพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา ดําเนินการวิจัยโดยใช้วิธีแบบผสมวิธี เก็บข้อมูลจากโรงเรียนเอกชน จํานวน 272 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลําดับความต้องการจําเป็นของการบริหารแบรนด์ด้วยดัชนี PNI Modified ได้แก่ 1) การประเมินผลแบรนด์ 2) การนําแผนการบริหารแบรนด์ไปปฏิบัติ และ 3) การวางแผนการบริหารแบรนด์ สําหรับกลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 7 กลยุทธ์รอง และ 24 วิธีดําเนินงาน


กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ปอส์ ไกรวิญญ์, บัญชา ชลาภิรมย์ Apr 2020

กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ปอส์ ไกรวิญญ์, บัญชา ชลาภิรมย์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลและการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลและ 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร หลักสูตรสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 252 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ แนวคิดการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน และแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.414, SD = 0.956) สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (M = 4.147, SD = 0.741) 3) กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์หลัก และ 6 กลยุทธ์รอง


การวิเคราะห์การบริหารครูเจเนอเรชั่นวายของโรงเรียนเอกชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนในศตวรรษที่ 21, ฐาปนี วงศ์พรหม, ชญาพิมพ์ อุสาโห, วลัยพร ศิริภิรมย์ Jan 2019

การวิเคราะห์การบริหารครูเจเนอเรชั่นวายของโรงเรียนเอกชนเพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนในศตวรรษที่ 21, ฐาปนี วงศ์พรหม, ชญาพิมพ์ อุสาโห, วลัยพร ศิริภิรมย์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิด การบริหารครูเจเนอเรชั่นวาย 2) วิเคราะห์สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารครูเจเนอเรชั่นวายของโรงเรียนเอกชน เพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนในศตวรรษที่ 21 โดยใช้การวิจัยผสมวิธี ประเมินกรอบแนวคิดโดยผู้ทรงคุณวุฒิจํานวน 5 คน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จํานวน 371 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน และครูเจเนอเรชั่นวายของโรงเรียนเอกชน จํานวน 676 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิด ประกอบด?วย (1) การบริหารครู (2) ครูเจเนอเรชั่นวาย (3) คุณภาพนักเรียนในศตวรรษที่ 21 2) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน ตามลําดับดังนี้ (1) ด้านการนําเข้าสู่หน่วยงานและการธํารงรักษา (2) ด้านการพัฒนาวิชาชีพและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (3) ด้านการบริหารผลการปฏิบัติงานและการให้ค่าตอบแทน (4) ด้านการสรรหาและการคัดเลือก จุดแข็ง ได้แก่ การสรรหาและการคัดเลือก การนําเข้าสู่หน่วยงานและการธํารงรักษา จุดอ่อน ได้แก่ การบริหารผลการปฏิบัติงานและการให้ค่าตอบแทน การพัฒนาวิชาชีพและการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ โอกาส ได้แก่ สภาพเศรษฐกิจ และเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม ได้แก่ การเมือง และสภาพสังคม


การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา, เกสิณี ชิวปรีชา Jul 2016

การพัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา, เกสิณี ชิวปรีชา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและ 2) พัฒนารูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสานทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ (1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ในการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 126 โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถาม และหาค่าความต้องการจำเป็นในการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (2) ยกร่างรูปแบบการบริหารเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา (3) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบ โดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล 30 คนและประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ 15 คนและ (4) ปรับปรุงและนำเสนอรูปแบบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย อยู่ในระดับมากและมากที่สุด ตามลำดับ และ 2) รูปแบบการบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำหรับสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ชื่อรูปแบบ คือ รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ส่วนที่ 2 หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ 3 การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4 งาน ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาบุคลากร และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ส่วนที่ 4 การนำรูปแบบไปใช้และเงื่อนไขความสำเร็จ