Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

รูปแบบ

Publication Year

Articles 1 - 9 of 9

Full-Text Articles in Education

รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล, รัชนี พันออด Jul 2019

รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล, รัชนี พันออด

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ กําหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล ประชากร ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล โรงเรียนละ 9 คน จาก 761 โรง รวมทั้งสิ้น 6,849 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) การปฏิรูปการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา (2) การปฏิรูปการจัดทําหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ (3) การปฏิรูปการประกันคุณภาพการศึกษา และ (4) การปฏิรูปการวัดและประเมินผลซึ่งรวมได้เป็น 15 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาฯ เป็นชุดของการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การปฏิบัติ การรับผลที่เกิดขึ้น และการประเมินผล ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงจุดเน้นวัตถุประสงค์ กระบวนการ และวิธีการ ให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และ 3) รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาฯ ในภาพรวม มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน, เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jul 2019

รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน, เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กําหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประชากรที่ใช้ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 42 เขตพื้นที่การศึกษา รวมจํานวน 2,287 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อํานวยการ หรือรองผู้อํานวยการกลุ่มงานบริหารวิชาการ จากโรงเรียน 377 โรง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอย
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ หลักสูตรและการนําหลักสูตรไปใช้ การจัดการเรียนการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา การวิเคราะห์ความสําคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ ประกอบด้วย หลักสูตรและการนําไปใช้ การจัดการเรียนการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภายใต้กรอบของการวางแผน การปฏิบัติการ และการสะท้อนผล ตามองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ โดยมีการกําหนดเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในที่สอดคล้องกับการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์จากสาระหลักสูตรท้องถิ่น และ 3) รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด


ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมด้วยกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, อรอุมา ขำวิจิตร์ Oct 2016

ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมด้วยกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, อรอุมา ขำวิจิตร์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมด้วยกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยตามแผนการสอน 16 แผน และ แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังการจัดกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว 1 ฉบับ และใช้ระยะเวลาในการศึกษา 8 สัปดาห์ๆ ละ 2 วัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าทีแบบ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 ภายหลังการจัดกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว มีค่าเฉลี่ย (Mean = 17.22) สูงกว่า พฤติกรรมก่อนการจัดกิจกรรม (Mean = 9.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน, อนุสรา สุวรรณวงศ์, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2016

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน, อนุสรา สุวรรณวงศ์, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน ประชากรในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญศึกษา จำนวน 341 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 80.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนด้วยค่าดัชนี PNIModified พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการแสวงหาการสนับสนุนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รองลงมาคือด้านการบริหารที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการส่งเสริมการยอมรับและความเชื่อถือไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน ด้นการจัดการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ ส่วนการกระจายความเป็นผู้นำทางวิชาชีพเป็นด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษา, จันทร์ฤทัย พานิชศุภผล Jan 2016

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนเอกชนเพื่อเสริมสร้างความสามารถทางภาษาอังกฤษของนักเรียนประถมศึกษา, จันทร์ฤทัย พานิชศุภผล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การวิเคราะห์การบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความผาสุกของนักเรียนประถมศึกษา, ดวงพร อุ่นจิตต์ Jan 2016

การวิเคราะห์การบริหารโรงเรียนเพื่อส่งเสริมความผาสุกของนักเรียนประถมศึกษา, ดวงพร อุ่นจิตต์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4, ดัชนีย์ จะวรรณะ Jan 2016

กลยุทธ์การพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพของครูอาชีวศึกษา ในสถานศึกษาของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคเหนือ 4, ดัชนีย์ จะวรรณะ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


The Development Of A Community Participation Model For Organizing Lifelong Education By Educational Institutions: A Participatory Action Research, Chittwadee Thongtua, Wirathep Pathumcharoenwatthana, Noppamonton Sibmuenpiam Jan 2014

The Development Of A Community Participation Model For Organizing Lifelong Education By Educational Institutions: A Participatory Action Research, Chittwadee Thongtua, Wirathep Pathumcharoenwatthana, Noppamonton Sibmuenpiam

Journal of Education Studies

The purposes of this research are: 1. to study the conditions and relevant factors of community participation for lifelong education management in local educational institutions; 2. to compare factors of community participation for lifelong education in educational institutions; and 3. to develop a model of community participation for lifelong education in educational institutions through participatory action research The target population was purposive sampling with criteria in the amount of 1,846 people from good schools in sub-districts, in project provided by the OBEC in 2010 and 25 people from 1 good school to conduct the PAR process. The research instruments consisted …


โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, ปกรณ์ ลวกุล Jul 2013

โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, ปกรณ์ ลวกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยใช้กรอบแนวคิดจากบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล ประกอบด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ และผู้บริหารตั้งแต่ระดับรองคณบดีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น ๓๗๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และการใช้ โปรแกรม LISREL ๘.๗๒ ในการ วิเคระห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์เท่ากับ ๑.๑๔๓ ที่องศาอิสระเท่ากับ ๑๒๔ ดัชนี GFI เท่ากับ ๐.๙๒ ดัชนี AGFI เท่ากับ ๐.๘๗ ค่า Standardizer RMR เท่ากับ ๐.๐๒๗ และค่า RMSEA เท่ากับ ๐.๐๔๘ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อบทบาทหน้าที่ของ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้แก่ ภาวะผู้นำ เครือข่ายความร่วมมือ โครงสร้าง ภูมิหลัง และ ระบบบริหาร