Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

ประถมศึกษา

Articles 1 - 6 of 6

Full-Text Articles in Education

ทิศทางการสอนดนตรีโลก: นิยาม หลักการ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย, นันธิดา จันทรางศุ, สุรสีห์ ชานกสกุล, สกาวรุ้ง สายบุญมี Jan 2020

ทิศทางการสอนดนตรีโลก: นิยาม หลักการ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย, นันธิดา จันทรางศุ, สุรสีห์ ชานกสกุล, สกาวรุ้ง สายบุญมี

Journal of Education Studies

แนวคิดและเทคนิคการสอนดนตรีโลกถูกนํามาใช้ในการปฏิรูปการสอนดนตรีโดยการนํามรดกทางวัฒนธรรมดนตรีที่หลากหลายทั่วโลกสู่ห้องเรียน และมีการพิจารณาว่าจะนําความหลากหลายเหล่านั้นเข้าสู่หลักสูตรได้อย่างไรโดยที่ยังเคารพดนตรีในเขตวัฒนธรรมดั้งเดิมที่โรงเรียนตั้งอยู่การสอนดนตรีโลกเป็นการเปิดมุมมองด้านดนตรีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังเชื่อมโยงถึงวัฒนธรรมของมนุษย์และสังคม เนื่องจากดนตรีโลกมีการเรียนการสอนในหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นแนวโน้มที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาครูและหลักสูตรประถมศึกษาของประเทศไทย การสอนดนตรีโลกมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อให้ความสำคัญกับเนื้อหาและวิธีการสอนดนตรีในยุคโลกไร้พรมแดน 2) เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องความรับผิดชอบทางสังคม ความหลากหลายความเสมอภาคและการอยู่ร่วมกัน 3) เพื่อเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการทางวัฒนธรรมในการสืบสานและเรียนรู้ดนตรี4) เพื่อเน้นย้ำมุมมองความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของศิลปิน ครูและผู้เรียน 5) เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการฟังที่จะนําไปสู่การมีส่วนร่วมในการแสดง การสร้างสรรค์และดนตรีที่เปรียบเสมือนพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีความหมายทางวัฒนธรรมดนตรีโลกมีขั้นตอนการสอน 5 ขั้นตอน คือการฟังอย่างใส่ใจการฟังอย่างมีส่วนร่วม การฟังเพื่อการเรียนรู้การสร้างสรรค์ดนตรีโลก และการบูรณาการดนตรีโลก


ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้ด้วยการทำงานที่มีต่อทักษะการดูแลตนเองและทักษะการสื่อสารของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3, บุษกร เฉลิมสินสุวรรณ, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Jan 2019

ผลของการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้การเรียนรู้ด้วยการทำงานที่มีต่อทักษะการดูแลตนเองและทักษะการสื่อสารของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3, บุษกร เฉลิมสินสุวรรณ, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการดูแลตนเองและทักษะ การสื่อสาร ระหว่างก่อนและหลังทดลองของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ คะแนนทักษะการดูแลตนเองและทักษะการสื่อสาร หลังทดลองระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม การเลือกกลุ่มตัวอย่างโรงเรียนใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เป็นโรงเรียนวิชูทิศ กรุงเทพมหานคร และ สุ่มห้องเรียนที่เป็นตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบง่าย เป็นนักเรียนกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และนักเรียน กลุ่มควบคุม จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้วิชาสุขศึกษาโดยใช้ การเรียนรู้ด้วยการทำงาน จำนวน 8 แผน แบบวัดทักษะการดูแลตนเองโดยนักเรียน แบบสำรวจทักษะ การดูแลตนเองของนักเรียนโดยผู้ปกครอง และแบบประเมินทักษะการสื่อสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนน ด้วยค่า ?ที? ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการดูแลตนเองและทักษะการสื่อสารหลังการทดลองของกลมุ่ ทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการดูแลตนเองและทักษะการสื่อสารหลังการทดลองของกลมุ่ ทดลอง สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, พรพรรณ ธรรมธาดา, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Apr 2018

การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, พรพรรณ ธรรมธาดา, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิด สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี จากโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการจำนวน195โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ดัชนีค่าความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNIModified ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมี 3 แนวคิด ได้แก่ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ และ 3) การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน และสภาพที่พึงประสงค์ต่อการพัฒนาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด พิจารณาจากค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่สูงที่สุด พบว่า ด้านการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตรตามลำดับ ส่วนด้านการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การคิดขั้นสูงและการแก้ปัญหามุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การเป็นผู้นำและการปรับตัวมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามลำดับ ขณะที่ปัจจัยภายนอกที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ นโยบายด้านการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษของรัฐ และสภาพเทคโนโลยีตามลำดับ


การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ, ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, สมยศ ชิดมงคล Apr 2017

การคิดเชิงระบบ: ประสบการณ์การสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ, ฤทัยรัตน์ ชิดมงคล, สมยศ ชิดมงคล

Journal of Education Studies

การคิดเชิงระบบเป็นทักษะทางปัญญาที่สำคัญสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดเชิงระบบ เป็นผู้ที่สามารถมองลึกลงไปเกินกว่าเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นและเป็นการมองให้เห็นถึงโครงสร้างของเหตุการณ์นั้น การคิดเชิงระบบเป็นการมองแบบองค์รวมและเห็นความเชื่อมโยงขององค์ประกอบต่างๆ ตลอดจนความสัมพันธ์เชิงเหตุและผลที่ส่งผลกระทบต่อกันและกัน ซึ่งจะช่วยให้บุคคลมีความเข้าใจปัญหาและโครงสร้างของปัญหาอย่างลึกซึ้ง และนำไปสู่การตัดสินใจแก้ปัญหาที่แปลกแตกต่างไปจากเดิม โดยเป็นการแก้ปัญหาที่ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาใหม่หรือไม่ทำให้ปัญหารุนแรงกว่าเดิม การคิดเชิงระบบไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้เองตามธรรมชาติ แต่การคิดเชิงระบบต้องได้รับการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรม อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในการศึกษาไทย ยังไม่ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเกี่ยวกับมโนทัศน์ของการคิดเชิงระบบ และแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมการคิดเชิงระบบรวมทั้งนำเสนอประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบในสถาบันการศึกษา


“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์ Apr 2017

“...ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู...”: บทบาทหน้าที่ครูยุคปฏิรูปการศึกษา, จินตนา สรายุทธพิทักษ์, สริญญา รอดพิพัฒน์

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาให้กับเยาวชนถือว่าเป็นภารกิจสำคัญของประเทศที่ต้องเร่งพัฒนาให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ โดยการปฏิรูปหลักสูตร การเรียนการสอน การพัฒนาครู การกระจายอำนาจ การสร้างเครือข่ายแลกเปลี่ยนเรียนรู้ อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ในภาพรวมของการศึกษาไทยภายใต้ยุทธศาสตร์การปฏิรูปในช่วงเวลาที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นนัยสำคัญด้านประสิทธิผลของการจัดการศึกษาว่ายังไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่กฎหมายการปฏิรูปการศึกษาบัญญัติไว้ เกิดเป็นวิกฤตทางการศึกษาที่ส่งผลต่อความสามารถและคุณภาพในการแข่งขันระดับสากล ปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการได้น้อมนำพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ??ให้ครูรักเด็กและเด็กรักครู?? มาเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายการดำเนินงาน บทความนี้ จึงได้นำเสนอแนวทางการดำเนินงานเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของครู ในการสร้างบรรยากาศที่ทำให้เด็กมีความสุข และอยากมาโรงเรียน ด้วยการจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน การจัดโปรแกรมการเรียน การจัดบรรยากาศเพื่อส่งเสริมความเป็นอยู่อันดีในโรงเรียน รวมทั้งมีหลักจิตวิทยาเพื่อส่งเสริมสุขภาพจิตในห้องเรียน


แนะนำหนังสือ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Apr 2016

แนะนำหนังสือ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.