Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

นักศึกษาครู

Publication Year

Articles 1 - 8 of 8

Full-Text Articles in Education

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ, เมษา นวลศรี, กุลชาติ พันธุวรกุล Oct 2021

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ, เมษา นวลศรี, กุลชาติ พันธุวรกุล

Journal of Education Studies

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จํานวน 900 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง .80 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบวัดโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.991 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การรู้ดิจิทัล การใช้งานดิจิทัล การมีปฏิสัมพันธ์และติดต่อสื่อสาร จรรยาบรรณทางดิจิทัล และการจัดการเรียนรู้ แต่ละองค์ประกอบมี 3 ตัวบ่งชี้ และมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน คือ c2 = 97.155 (df = 78, p = .070), c2 /df = 1.246, CFI = .998, GFI = .986, AGFI = .978, RMSEA = .017 และ SRMR = .013 แต่ละองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง .889 ถึง .979 แต่ละตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง .755 ถึง .845


การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ, กนกวรรณ วังมณี Jan 2020

การพัฒนาจิตสาธารณะของนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายด้วยโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ, กนกวรรณ วังมณี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับจิตสาธารณะ 2) พัฒนาโปรแกรมการฝึกอบรมจิตสาธารณะ และ 3) ศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะสำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 1–4 คณะครุศาสตร์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบวัดจิตสาธารณะ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
1. นักศึกษาครูมีคะแนนจิตสาธารณะโดยรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.51, SD = 1.26) แต่มีด้านการถือเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ อยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.23, SD = 1.36)
2. โปรแกรมฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ สำหรับนักศึกษาครู มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ประกอบด้วย 4 หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) ครูผู้มีจิตสาธารณะ 2) หน้าที่ของครู 3) จิตสาธารณะสานสัมพันธ์และ 4) โครงการจิตสาธารณะสร้างสรรค์สังคม รวมเวลาในการฝึกอบรม 18 ชั่วโมง และผลการประเมินอยู่ในระดับมาก (M = 4.07, SD = 1.9)
3. ผลการใช้โปรแกรมการฝึกอบรม นักศึกษาครูมีคะแนนจิตสาธารณะหลังอบรม (M = 4.60, SD = 0.51) สูงกว่าก่อนอบรม (M = 4.04, SD = 0.31) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู, พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง Jan 2020

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู, พัชราภรณ์ พิลาสมบัติ, วิชัย เสวกงาม, อัมพร ม้าคนอง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น รูปแบบการวิจัยเป็นแบบกึ่งทดลอง ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน ขั้นตอนที่ 1 พัฒนากระบวนการเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 2 ทดลองใช้กระบวนการที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่าง คือ นักศึกษาครู จำนวน 55 คน จาก 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 30 คน และ กลุ่มควบคุม จำนวน 25 คน ใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่ายด้วยการจับสลาก ระยะเวลาในการทดลอง 15 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพงานวิจัย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการเรียนรู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการสืบสอบและการเรียนรู้เชิงสถานการณ์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการทำวิจัยสำหรับนักศึกษาครู ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 สร้างความสนใจโดยใช้ปัญหาในบริบทจริง ขั้นที่ 2 สืบค้นและใช้ความรู้ในสถานการณ์ที่กำหนด ขั้นที่ 3 นำความรู้ไปฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง ขั้นที่ 4 แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และ 2) หลังใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น กลุ่มทดลองมีความสามารถในการทำวิจัยสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ, หฤทัย อนุสสรราชกิจ, ญาณิศา บุญพิมพ์ Oct 2019

การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ, หฤทัย อนุสสรราชกิจ, ญาณิศา บุญพิมพ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ในด้านคุณลักษณะความเป็นครู และสมรรถนะการสอน ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักศึกษาครูที่กำลังศึกษาในคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 50 คน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบปฏิบัติการประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การศึกษาข้อมูลแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนาต้นแบบกระบวนการผลิตครู (3) การนำกระบวนการไปใช้ปฏิบัติการ (4) การวิเคราะห์ ปรับปรุงและประเมินผลกระบวนการและ (5) การสรุปและนำเสนอผลการพัฒนา
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. กระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ขั้นตอน และการประเมินผล ขั้นตอนหลักที่สำคัญในการดำเนินการ คือ (1) การพัฒนาความเข้าใจผ่านการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยง (2) การเรียนรู้ร่วมกันในสถานศึกษาของนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยง และ (3) การสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน
2. ด้านผลการเรียนรู้พบว่า นักศึกษาครูเกิดการพัฒนาตนเองในด้าน (1) คุณลักษณะความเป็นครู และ (2) สมรรถนะการสอน รวมถึงความเข้าใจตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น ทัศนะเกี่ยวกับความเป็นครู และกระบวนการจัดการเรียนรู้


การใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู, บุญสม ทับสาย Apr 2019

การใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู, บุญสม ทับสาย

Journal of Education Studies

งานวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาความสามารถของนักศึกษาครูในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ (2) นำเสนอกระบวนการส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นักศึกษาครูจำนวน 6 คนเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยโดยความสมัครใจ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการไตร่ตรองเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบประเมินการปฏิบัติการสอน และแบบสังเกตการจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์ วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาความเที่ยงระหว่างผู้สังเกต ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการที่ทดลองใช้ส่งเสริมให้นักศึกษาครูมีความสามารถในการไตร่ตรองและออกแบบการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาครูมีความสามารถในการปฏิบัติการสอนโดยทั่วไปและความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์แบบสร้างคำอยู่ในระดับดีมาก 2) กระบวนการส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่ทดลองใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดความต้องการจำเป็นด้านการเรียนรู้ของนักเรียนและนักศึกษาครู (2) ระบุเป้าหมายการเรียนรู้ของนักศึกษาครูที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียน (3) พัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษาครู (4) ออกแบบการเรียนการสอนและไตร่ตรองเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ (5) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน (6) สังเกตและไตร่ตรองเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และ (7) ประเมินผลและไตร่ตรองเกี่ยวกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาครูและนักเรียน


ธุรกิจศึกษาจากอดีตสู่ยุคศตวรรษที่ 21, บุณฑริกา บูลภักดิ์ Oct 2017

ธุรกิจศึกษาจากอดีตสู่ยุคศตวรรษที่ 21, บุณฑริกา บูลภักดิ์

Journal of Education Studies

ธุรกิจศึกษาเป็นสาขาวิชาที่จัดการเรียนรู้ให้ผู้เรียนมีความรู้ทางด้านธุรกิจ เพื่อเป็นผู้บริโภคที่ฉลาด รู้เท่าทันธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและมีทักษะที่จำเป็นในการทำงาน การจัดการเรียนรู้ด้านธุรกิจบรรจุเป็นวิชาเลือกในกลุ่มวิชาการงานและอาชีพในหลักสูตรระดับมัธยมศึกษามาเป็นเวลานาน ซึ่งในอดีตให้ความสำคัญกับงานอาชีพเป็นอย่างมาก โดยมีวิชาให้เลือกหลากหลาย แต่ปัจจุบันได้มีการปรับหลักสูตรแกนกลาง ความสำคัญของกลุ่มการงานและอาชีพจึงลดลง มีการลดจำนวนคาบเรียนและรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจลง ส่งผลต่อการลดอัตราการจ้างครูธุรกิจ ซึ่งมีผลกระทบเป็นลูกโซ่ต่อหลักสูตรการผลิตครูธุรกิจในสถาบันอุดมศึกษาด้วย ธุรกิจศึกษาในยุคศตวรรษที่ 21 ควรปรับปรุงหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นให้ผู้เรียนมีทักษะจำเป็นในการดำรงชีวิตอย่างฉลาด มีความสามารถในการประกอบอาชีพที่หลากหลายและตอบสนองความต้องการในโลกอนาคตได้ โดยให้ความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน เศรษฐกิจ ธุรกิจ เทคโนโลยี และการเป็นผู้ประกอบการ มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับผู้ปกครอง องค์กรธุรกิจ และชุมชน ส่วนสถาบันผลิตครูธุรกิจควรนำเทคโนโลยีและความรู้ธุรกิจสมัยใหม่มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนให้มากขึ้น สร้างเครือข่ายธุรกิจศึกษาระหว่างสถาบันเพื่อสร้างความเข้มแข็ง ให้สังคมรู้จักและเห็นความสำคัญของธุรกิจศึกษา สร้างความตระหนักให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเห็นความสำคัญของรายวิชาธุรกิจในโรงเรียนและเพิ่มคาบเรียนรายวิชาอาชีพและวิชาธุรกิจให้เป็นวิชาบังคับที่นักเรียนทุกคนต้องเรียน เพื่อให้เป็นผู้บริโภคที่ฉลาดและให้มีทักษะในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต


คิดนอกกรอบ: การปฏิบัติจริงกับความสำเร็จของประกันคุณภาพการศึกษา, คมศร วงษ์รักษา, วรรณี แกมเกตุ Oct 2017

คิดนอกกรอบ: การปฏิบัติจริงกับความสำเร็จของประกันคุณภาพการศึกษา, คมศร วงษ์รักษา, วรรณี แกมเกตุ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ, บุญชู บุญลิขิตศิริ Apr 2017

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ, บุญชู บุญลิขิตศิริ

Journal of Education Studies

ความคิดสร้างสรรค์ (creative Thinking) เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาในสิ่งต่าง ๆ เพราะจะทำให้สามารถมองเห็นแนวทาง วิธีการ รวมทั้งโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญของผู้เรียนที่ประกอบด้วย 4 C ซึ่งได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking), การสื่อสาร (communication), การร่วมมือ (collaboration) และ ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีทักษะที่สำคัญเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการทำงานและเป็นนวัตกรที่มีประสิทธิภาพต่อไปเมื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพในอนาคต โดยรายงานสภาเศรษฐกิจโลกได้กล่าวถึง 10 ทักษะ ที่ตลาดแรงงานโลกต้องการในปี 2020 นั้น ความคิดสร้างสรรค์เป็น 1 ใน 10 ทักษะที่ถูกเสนอขึ้นมา อีกทั้งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เสนอข้อมูลว่า นายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 มีความต้องการให้คนในองค์กรมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มากที่สุด สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับประเทศไทย 4.0 ที่จะใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ในการพัฒนาประเทศโดยขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการสร้างมูลค่า ความแตกต่าง หรือการต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการ เป็นปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (innovation-based economy) ต่อไป