Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

การบริหารงานวิชาการ

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาพลเมืองคุณภาพ, เสาวภา นิสภโกมล, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jan 2021

การบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาพลเมืองคุณภาพ, เสาวภา นิสภโกมล, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิด สภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนาพลเมืองคุณภาพ ตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 385 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ และครู รวม 973 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารงานวิชาการ ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน การนิเทศการสอน การพัฒนาและการใช้สื่อเทคโนโลยี การวัดและประเมินผล ส่วนกรอบแนวคิดการพัฒนาพลเมืองคุณภาพ ประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ได้แก่ มีความคิดสร้างสรรค์และมีความคิดเชิงวิพากษ์ มีความสามารถในด้านเศรษฐกิจ มีคุณธรรมและมีความรับผิดชอบ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอน (M = 3.84) ส่วนสภาพพึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาฯ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอน (M = 4.67) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยี (M = 3.74)


รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน, เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jul 2019

รูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน, เกียรติศักดิ์ สาสุทธิ์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กําหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประชากรที่ใช้ ได้แก่ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จาก 42 เขตพื้นที่การศึกษา รวมจํานวน 2,287 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อํานวยการ หรือรองผู้อํานวยการกลุ่มงานบริหารวิชาการ จากโรงเรียน 377 โรง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามองค์ประกอบ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สมการถดถอย
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อสนับสนุนการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียน ประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ หลักสูตรและการนําหลักสูตรไปใช้ การจัดการเรียนการสอน การประกันคุณภาพการศึกษา การวิเคราะห์ความสําคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ 2) รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ ประกอบด้วย หลักสูตรและการนําไปใช้ การจัดการเรียนการสอน และการประกันคุณภาพการศึกษา เป็นการบริหารการเปลี่ยนแปลงภายใต้ภายใต้กรอบของการวางแผน การปฏิบัติการ และการสะท้อนผล ตามองค์ประกอบการบริหารงานวิชาการ โดยมีการกําหนดเกณฑ์การประกันคุณภาพภายในที่สอดคล้องกับการสนับสนุนให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์จากสาระหลักสูตรท้องถิ่น และ 3) รูปแบบการบริหารงานวิชาการฯ มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ในระดับมากที่สุด


แนะนำหนังสือ, วัชระ อินสา Apr 2018

แนะนำหนังสือ, วัชระ อินสา

Journal of Education Studies

-


การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในทศวรรษหน้า, นิภาภรณ์ คำเจริญ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ Jan 2017

การบริหารจัดการคณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในทศวรรษหน้า, นิภาภรณ์ คำเจริญ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพ และปัญหาของการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) นำเสนอกลยุทธ์ในการบริหารจัดการคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหาร 9 คน คณาจารย์ 300 คน นักศึกษา 398 คน และผู้ใช้บัณฑิต 115 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามความต้องการจำเป็น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ผลการวิเคราะห์สภาพ และปัญหาในการบริหารจัดการที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านระบบ พบว่า ควรมีการจัดการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย ผลการประเมินความต้องการจำเป็นในการบริหารจัดการที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ ด้านรูปแบบการบริหาร พบว่า ผู้บริหารควรมีความเสียสละ ทุ่มเททำงานเพื่อคณะอย่างเต็มที่ ส่วนผลการประเมินความต้องการจำเป็นด้านการเรียนการสอนที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด คือ อาจารย์ผู้สอนต้องมีความรู้และมีความเชี่ยวชาญในเนื้อหาวิชาที่สอน และผลการประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ที่มีลำดับความสำคัญสูงที่สุด พบว่า บัณฑิตต้องมีความซื่อสัตย์ สำหรับด้านกลยุทธ์การบริหารจัดการนั้น พบว่า ควรมีกลยุทธ์ดังนี้คือ 1) ด้านโครงสร้าง ประกอบด้วยกลยุทธ์ในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานของคณะ 2) ด้านกลยุทธ์ ประกอบด้วยการพัฒนากลยุทธ์การบริหารงานของคณะ และการพัฒนาบุคลากร 3) ด้านระบบ ประกอบ ด้วยกลยุทธ์การส่งเสริมด้านหลักสูตรและการจัดการเรียนการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ คุณภาพบัณฑิต และการประกันคุณภาพการศึกษา และ 4) ด้านบุคลากร ประกอบด้วยกลยุทธ์การบริหารงานบุคคล การสร้างขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน และการพัฒนาศักยภาพ


แนะนำหนังสือ, มีโชค ทองไสว Oct 2013

แนะนำหนังสือ, มีโชค ทองไสว

Journal of Education Studies

No abstract provided.