Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

2021

Keyword

Articles 1 - 30 of 79

Full-Text Articles in Education

แนวทางการออกแบบปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริงกับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, จงกล ทำสวน, ศันสนีย์ เณรเทียน Oct 2021

แนวทางการออกแบบปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริงกับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, จงกล ทำสวน, ศันสนีย์ เณรเทียน

Journal of Education Studies

การคิดอย่างมีวิจารณญาณในบทความนี้เป็นการคิดไตร่ตรอง การให้เหตุผล การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลเพื่อตัดสินใจดำเนินการในสถานการณ์หรือแก้ปัญหาที่พบเจอ การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์สามารถทำได้ในหลายแนวทาง สำหรับบทความนี้จะนำเสนอแนวทางการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่เหมาะสำหรับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในวิชาคณิตศาสตร์ใน 4 ลักษณะ ดังนี้ 1) ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีหลายคำตอบหรือหลายวิธีการ 2) ปัญหาเรื่องราวคณิตศาสตร์ที่เป็นสถานการณ์เสมือนจริงที่เน้นการเชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตจริงมาใช้ในการแก้ปัญหา 3) ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ และ 4) สถานการณ์หรือปัญหาในชีวิตจริงที่เน้นการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ ความคิดและประสบการณ์ที่มีอยู่มาใช้ในการอธิบายสถานการณ์หรือหาคำตอบของปัญหานั้น โดยสถานการณ์หรือปัญหาที่ออกแบบจะมุ่งพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามความสามารถย่อย ทั้งนี้ความรู้คณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้อธิบายสถานการณ์หรือแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ไม่จำเป็นต้องเป็นความรู้ในระดับสูงที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ


การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5e) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐวุฒิ ศรีระษา, ภัทรภร ชัยประเสริฐ, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ Oct 2021

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5e) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐวุฒิ ศรีระษา, ภัทรภร ชัยประเสริฐ, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เเละ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อยู่ในระดับระดับมากที่สุด


ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ไปปฏิบัติของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, สันติชูชัย ชำนาญ, กุลชลี จงเจริญ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ Oct 2021

ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายการสร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษา ไปปฏิบัติของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี, สันติชูชัย ชำนาญ, กุลชลี จงเจริญ, ชูชาติ พ่วงสมจิตร์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ 2) ศึกษาสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรทางการบริหารกับสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติ และ 4) ศึกษาปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโดยวิธีแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2) สภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 3) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการนำนโยบายไปปฏิบัติ และสภาพการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษา มีความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูง และ 4) ปัจจัยคัดสรรทางการบริหารที่ส่งผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ได้แก่ ด้านการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล ด้านผู้นำองค์การ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร และด้านข้อความนโยบาย ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายการนำนโยบายไปปฏิบัติของสถานศึกษาได้ร้อยละ 64.20 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่อง ประวัติศาสตร์สากลด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, อธิป อนันต์กิตติกุล, เพ็ญพนอ พ่วงแพ Oct 2021

การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่อง ประวัติศาสตร์สากลด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, อธิป อนันต์กิตติกุล, เพ็ญพนอ พ่วงแพ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์เรื่อง พัฒนาการ ความร่วมมือและความขัดแย้งในประวัติศาสตร์สากล ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร ปีการศึกษา 2563 จำนวน 37 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการ ความร่วมมือและความขัดแย้งในประวัติศาสตร์สากลที่ใช้วิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเกม แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม ค่าสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (M) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมสูงกว่าก่อนการใช้การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกม พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมเป็นไปในทางบวก โดยผู้เรียนชื่นชอบด้านบรรยากาศในการเรียนรู้มากที่สุด การจัดการเรียนรู้โดยใช้เกมช่วยส่งเสริมบรรยากาศในการเรียนรู้ ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจเนื้อหาได้ง่ายขึ้นและช่วยส่งเสริมการคิดวิเคราะห์


บทบรรณาธิการ, ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์ Oct 2021

บทบรรณาธิการ, ศูนย์นวัตกรรมทางการศึกษา สื่อสิ่งพิมพ์ และสื่อออนไลน์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, ภัคภร อุบลน้อย, พีรพัฒน์ ยางกลาง Oct 2021

การพัฒนาทักษะการพูดภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, ภัคภร อุบลน้อย, พีรพัฒน์ ยางกลาง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยทักษะการพูดภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น และ 2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่น ตัวอย่าง คือ นักเรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 35คน โดยเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือ 1) แบบทดสอบทักษะการพูด 2) แบบสอบถามความพึงพอใจ 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยหาค่าเฉลี่ย Mส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน SD t-test dependent และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่าคะแนนเฉลี่ยของทักษะการพูดภาษาอังกฤษของกลุ่มตัวอย่างหลังการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีระดับความพึงพอใจสูงสุด มีทัศนคติไปในทางบวก โดยเห็นว่าการจัดการเรียนรู้ที่เน้นภาระงานเกี่ยวกับการค้าขายสินค้าประจำท้องถิ่นมีประโยชน์และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ, เมษา นวลศรี, กุลชาติ พันธุวรกุล Oct 2021

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ, เมษา นวลศรี, กุลชาติ พันธุวรกุล

Journal of Education Studies

บทความวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัย เรื่อง แนวทางในการพัฒนาสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลองค์ประกอบสมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่าง คือ นักศึกษาครูจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ จํานวน 900 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบวัดชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ โดยผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ในช่วง .80 ถึง 1.00 ค่าความเที่ยงของแบบวัดโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.991 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสอง ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะดิจิทัลสำหรับนักศึกษาครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ การรู้ดิจิทัล การใช้งานดิจิทัล การมีปฏิสัมพันธ์และติดต่อสื่อสาร จรรยาบรรณทางดิจิทัล และการจัดการเรียนรู้ แต่ละองค์ประกอบมี 3 ตัวบ่งชี้ และมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาจากค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืน คือ c2 = 97.155 (df = 78, p = .070), c2 /df = 1.246, CFI = .998, GFI = .986, AGFI = .978, RMSEA = .017 และ SRMR = .013 แต่ละองค์ประกอบมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง .889 ถึง .979 แต่ละตัวบ่งชี้ขององค์ประกอบหลักมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานอยู่ในช่วง .755 ถึง .845


การศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นภาดา แป้นสัมฤทธิ์ Oct 2021

การศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการสร้างความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นภาดา แป้นสัมฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการสร้างความผูกพันต่อองค์กร 2) เสนอแนวทางในการปรับปรุง พัฒนา และสร้างความผูกพันต่อองค์กร ตัวอย่างในการวิจัย คือ บุคลากรของสำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 117 คน และบุคลากรที่รับผิดชอบการพัฒนาบุคลากร จำนวน 18 คน เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบบันทึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสำคัญต่อประสิทธิภาพของกระบวนการสร้างความผูกพันต่อองค์กร โดยภาพรวมประเด็นที่สำคัญมากที่สุด คือ บุคลากรมีความภาคภูมิใจที่ได้ทำงานในองค์กรนี้ และผลการดำเนินการที่โดดเด่นมากที่สุด คือ บุคลากรเข้าใจถึงบทบาทและความรับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน ผลวิเคราะห์การเปรียบเทียบความสำคัญกับผลการดำเนินการ พบว่า ค่า gap score สูงสุด คือ สภาพการทำงานที่ก่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการดำเนินชีวิตและการทำงาน 2) แนวทางในการสร้างความผูกพันของบุคลากร ได้แก่ การจัดประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการถ่ายทอดงานจากพี่สู่น้อง การดูแลความก้าวหน้าในสายอาชีพ และการสร้างความสุขในที่ทำงาน องค์กรควรส่งเสริมให้บุคลากรได้มีโอกาสเรียนรู้เรื่องต่าง ๆ เพื่อเพิ่มทักษะใหม่ ๆ โดยผ่านทางออนไลน์ องค์กรควรมีการมอบรางวัลและยกย่องชมเชยบุคลากรที่มีผลงานดีเด่น และองค์กรควรเพิ่มช่องทางการสื่อสารในองค์กรให้หลากหลายมากขึ้น


ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พิทักษ์ชัย บรรณาลัย, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2021

ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พิทักษ์ชัย บรรณาลัย, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านเรื่องอิทธิพลของสื่อ จำนวน 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อแบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


กระบวนการสอนและการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, อัจฉรา ปุราคม, ธารินทร์ ก้านเหลือง, ทัศนีย์ จันติยะ Oct 2021

กระบวนการสอนและการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, อัจฉรา ปุราคม, ธารินทร์ ก้านเหลือง, ทัศนีย์ จันติยะ

Journal of Education Studies

การเรียนรู้กิจกรรมทางกายมีความสำคัญต่อการปรับปรุงการทำหน้าที่ทางกายสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยทำให้ดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสอน และการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จากผู้สูงอายุพฤฒิพลัง อายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 30 คน ลงทะเบียนอบรมในหลักสูตรกิจกรรมทางกายแบบองค์รวม ณ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างเดือนมกราคม–มีนาคม 2562 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกระบวนสอนและการเรียนรู้ และแบบทดสอบความรู้ด้านทักษะกิจกรรมทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยจำแนก จัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์องค์ประกอบ สรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการเรียนรู้ ด้วยสถิติ paired t–test ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการสอนและการเรียนรู้กิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ มุ่งเน้นทักษะป้องกันหกล้ม ข้อเข่า สมองเสื่อม และประเมินสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกาย กลวิธีสร้างสุข สนุกสนาน แรงจูงใจหลายรูปแบบจัดสภาพแวดล้อมทั้งสถานที่ สื่อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม ผลการสังเคราะห์กระบวนการสอนและการเรียนรู้ 5 องค์ประกอบ คือ 1) เคลื่อนไหวด้วยความสนุก 2) เรียนรู้แบบกลุ่ม 3) เชื่อมโยงประสบการณ์ 4) แรงจูงใจจากภายในและภายนอก 5) ความสุขในความสำเร็จแห่งตน เสนอแนะให้สถานศึกษาพัฒนาระบบการเรียนรู้กิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งหลักสูตร การสอน และการประเมินผล


แนวทางการพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารใหม่ในจังหวัดขอนแก่น, ครรชิต พิมใจ, สรินดา อุปรี, เยาวลักษณ์ ลพพันทอง, ดาวรุวรรณ ถวิลการ Oct 2021

แนวทางการพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารใหม่ในจังหวัดขอนแก่น, ครรชิต พิมใจ, สรินดา อุปรี, เยาวลักษณ์ ลพพันทอง, ดาวรุวรรณ ถวิลการ

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารใหม่ในจังหวัดขอนแก่น 2) เสนอแนวทางการพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารใหม่ในจังหวัดขอนแก่น ระยะที่ 1 เก็บข้อมูลเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารใหม่ในจังหวัดขอนแก่น จำนวน 108 คน ใช้การสุ่มอย่างง่าย และระยะที่ 2 เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ จากผู้ให้ข้อมูลจำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.91 วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าดัชนีความต้องการจำเป็น และแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์เนื้อหาและนำเสนอด้วยการบรรยายเป็นความเรียง ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และลำดับความต้องการจำเป็นของการพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ในลำดับแรก คือ ด้านการติดต่อสื่อสาร 2) แนวทางการพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ของผู้บริหารใหม่ในจังหวัดขอนแก่น ประกอบด้วย ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการจัดองค์การ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และด้านการอำนวยการที่จำเป็นในการทำงาน


สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบภาวะผู้นำสำหรับผู้อำนวยการศูนย์สหกิจศึกษาในมหาวิทยาลัยของไทย, ฐาณิฏา โขมพัตราภรณ์, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2021

สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบภาวะผู้นำสำหรับผู้อำนวยการศูนย์สหกิจศึกษาในมหาวิทยาลัยของไทย, ฐาณิฏา โขมพัตราภรณ์, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบภาวะผู้นำ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรทั้งสิ้น 17 มหาวิทยาลัยที่มีการจัดตั้งศูนย์สหกิจศึกษา วิธีการเก็บข้อมูล คือ การสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้างและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า PNI ผลการวิจัย พบว่า สภาพที่พึงประสงค์ของรูปแบบภาวะผู้นำดังกล่าววิเคราะห์จากค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ลำดับ คือ รูปแบบภาวะผู้นำแบบอำนวยบริการ รูปแบบภาวะผู้นำแบบพี่เลี้ยง และรูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้ไกล่เกลี่ย ผลจากการสัมภาษณ์ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย พบว่า สภาพปัจจุบันของรูปแบบภาวะผู้นำวิเคราะห์จากค่าความถี่สูงสุด คือ รูปแบบภาวะผู้นำแบบกำกับติดตามและรูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้ประสาน สภาพพึงประสงค์ คือ รูปแบบภาวะผู้นำแบบผู้ไกล่เกลี่ยและรูปแบบภาวะผู้นำนวัตกรรม


การวิเคราะห์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยะพร ป้อมเกษตร์, เพ็ญวรา ชูประวัติ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2021

การวิเคราะห์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา, ปิยะพร ป้อมเกษตร์, เพ็ญวรา ชูประวัติ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์สภาพการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ครูที่ปรึกษา ครูแนะแนว และครูฝ่ายปกครอง รวมจำนวนทั้งสิ้น 1,338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ลำดับความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNImodifiedผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดของการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 กรอบแนวคิด ได้แก่ 1) กรอบแนวคิดการบริหาร 2) กรอบแนวคิดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 3) กรอบแนวคิดคุณภาพของนักเรียน 2) การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษามีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การประเมินผล (PNImodified = 0.187) รองลงมาคือ การวางแผน (PNImodified = 0.178) และการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ (PNImodified = 0.170) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านตามกระบวนการของระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน พบว่า มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ การส่งต่อ (PNImodified = 0.238) รองลงมาคือ การป้องกัน (PNImodified = 0.177) การรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคลและการพัฒนาและส่งเสริมนักเรียน (PNImodified= 0.173 เท่ากัน) และการคัดกรองนักเรียน (PNImodified = 0.169) ตามลำดับ เมื่อจำแนกตามคุณภาพนักเรียน พบว่า มีค่าความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านจิตใจ (PNImodified = 0.193) รองลงมาคือ ด้านสติปัญญาและทักษะ (PNImodified = 0.188) ด้านคุณธรรม จริยธรรม (PNImodified = 0.182) และด้านร่างกาย …


การพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาระดับการสะท้อนคิดของนิสิตครู, พรสวรรค์ ศุภศรี, สุมาลี ชิโนกุล Oct 2021

การพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาระดับการสะท้อนคิดของนิสิตครู, พรสวรรค์ ศุภศรี, สุมาลี ชิโนกุล

Journal of Education Studies

ทักษะสำคัญสำหรับครูในยุคปัจจุบันนี้ คือ ทักษะการสะท้อนความคิดเพื่อพัฒนาการสอนได้ด้วยตนเอง ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญในพัฒนาและเสริมสร้างนิสิตครูให้มีทักษะนี้ ผู้วิจัยจึงจัดทำงานวิจัยนี้ขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการสะท้อนคิด และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดเครื่องมือที่มีต่อระดับการสะท้อนคิดของนิสิตครู ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาในการพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการคิดไตร่ตรอง กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตครูเอกภาษาอังกฤษที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาคปลายปีการศึกษา2555 จำนวน 4 คน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณถูกใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้ชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการคิดไตร่ตรอง ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการสะท้อนคิดประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ (1) ตัวกระตุ้นความคิด ซึ่งอยู่ในรูปแบบวีดีโอการสอนของนิสิตครูแต่ละคน (2) ตัวเสริมศักยภาพความคิด ซึ่งอยู่ในรูปแบบคำถามเพื่อสะท้อนความคิด และ (3) แบบประเมินคุณภาพความคิด 2) การพัฒนาระดับความคิดไตร่ตรองของนิสิตครูสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการพัฒนาด้านบวก และกลุ่มที่ระดับความคิดคงเดิม


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และรูปแบบความเป็นไปได้ของการขยาย ความในการโน้มน้าวใจเพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล, นาตยา รัตนอัมภา, วิชัย เสวกงาม Oct 2021

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และรูปแบบความเป็นไปได้ของการขยาย ความในการโน้มน้าวใจเพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล, นาตยา รัตนอัมภา, วิชัย เสวกงาม

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการถ่ายโยงการเรียนรู้และรูปแบบความเป็นไปของการขยายความในการโน้มน้าวใจเพื่อส่งเสริมทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุสำหรับนักศึกษาพยาบาล ตัวอย่างในการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ เกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริกส์ มีค่าความเที่ยงภายในผู้ให้คะแนน เท่ากับ .934 และแบบวัดเจตคติในการพยาบาลผู้สูงอายุ มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของ ครอนบาค และ 0.825 ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการเรียนการสอน ซึ่งมี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นความสามารถ ขั้นสร้างโครงสร้างความรู้และวางแผนการพยาบาล ขั้นปฏิบัติการพยาบาล และขั้นไตร่ตรองและสรุปความคิดรวบยอด (4) การกำหนดขอบเขตในการเรียนรู้ (5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน 2) ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอน พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยทักษะและเจตคติในการปฏิบัติการพยาบาลผู้สูงอายุในภาพรวมภายหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05


การวิเคราะห์การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, กมลวรรณ ไข่มุกข์, ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์, ธิดาดาว เดชศรี Oct 2021

การวิเคราะห์การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, กมลวรรณ ไข่มุกข์, ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์, ธิดาดาว เดชศรี

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมหนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหรรณพาราม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นวัตกรรมหนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ชี้แจงจุดประสงค์ (2) เสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา (3) กระตุ้นให้ผู้เรียนนึกถึงความรู้เดิม (4) เสนอเนื้อหาสาระและเชื่อมโยงกับผังกราฟิก พร้อมกับให้เหตุผลในการเลือกผังกราฟิก (5) เสนอและอภิปรายผลการใช้ผังกราฟิกกับเนื้อหา (6) ซักถามปรับความเข้าใจและขยายความจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจกระจ่างชัด และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิกมีความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนสำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข, พรทิพย์ จับจิตต์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ธีรภัทร กุโลภาส Oct 2021

สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนสำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข, พรทิพย์ จับจิตต์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ธีรภัทร กุโลภาส

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนสำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข ตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 342 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือฝ่ายบริหาร และครู จำนวน 684 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้ PNImodified ผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนสำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.77) และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.58) ความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ การบริหารทั่วไป (PNImodified = 0.2391) รองลงมา คือ การบริหารวิชาการ (PNImodified = 0.2316)


การสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, เพ็ญโบมัย ซัมแอล, สุชาติ ทั่งสถิรสิมา, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ Oct 2021

การสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, เพ็ญโบมัย ซัมแอล, สุชาติ ทั่งสถิรสิมา, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างแรงจูงใจของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยการสอนภาษาอังกฤษด้วยการใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 23 คนโดยมีรูปแบบการวิจัยคือ แบบแผนการทดลองขั้นต้นโดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่ใช้รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และแบบวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ Paired Sample t-Test การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส่งผลต่อแรงจูงใจของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ ผลการวิจัย พบว่า ก่อนทดลอง (pre-test) (M = 70.17, SD = 9.60) และหลังการทดลอง (post-test) (M = 74.78, SD = 5.87) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.16)


การพัฒนาความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิด เรื่อง สารละลายของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบอิงบริบท, เอกภูมิ จันทรขันตี, ญาณิศา ทรัพย์สิน, เยาวดี จันทร์นามอม Oct 2021

การพัฒนาความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิด เรื่อง สารละลายของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบอิงบริบท, เอกภูมิ จันทรขันตี, ญาณิศา ทรัพย์สิน, เยาวดี จันทร์นามอม

Journal of Education Studies

งานวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิด เรื่อง สารละลาย และค้นหาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้แบบอิงบริบทที่สามารถพัฒนาความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิดของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 30 คน ของโรงเรียนสตรีแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิด แบบบันทึกหลังการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกการนิเทศ และแบบสัมภาษณ์นักเรียนแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและสถิติ เชิงบรรยาย ผลการวิจัย พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิดในแต่ละองค์ประกอบแตกต่างกัน โดยองค์ประกอบที่ 1 ความเข้าใจในแนวคิด และองค์ประกอบที่ 3 การตัดสินใจนำแนวคิดไปใช้อย่างเป็นเหตุเป็นผลอยู่ในระดับดี แต่องค์ประกอบที่ 2 การเชื่อมโยงแนวคิดเข้ากับสถานการณ์ใหม่ นักเรียนมีการพัฒนาอยู่ในระดับพอใช้ สำหรับแนวปฏิบัติที่ดีที่ค้นพบ คือ 1) ควรสอดแทรกแนวคิดคลาดเคลื่อนในขั้นกำหนดสถานการณ์ เพื่อให้นักเรียนเกิดความสงสัยและนำไปสู่การลงมือสำรวจตรวจสอบ 2) ควรใช้สื่อการทดลองออนไลน์ร่วมกับการถามคำถามซักไซ้ความคิด เพื่อส่งเสริมความเข้าใจแนวคิดทางวิทยาศาสตร์และการเชื่อมโยงความรู้ไปยังสถานการณ์อื่น ๆ 3) เรียงลำดับเนื้อหาโดยเรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม 4) ใช้สถานการณ์ที่ใกล้ตัวนักเรียนร่วมกับการเล่าเรื่องประกอบสถานการณ์ เพื่อกระตุ้นความสามารถในการถ่ายโอนแนวคิด


การพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านโดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์, วิภาวรรณ เอกวรรณัง, ฐาปกรณ์ อยู่สันเทียะ Jul 2021

การพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านโดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3, ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์, วิภาวรรณ เอกวรรณัง, ฐาปกรณ์ อยู่สันเทียะ

Journal of Education Studies

การวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบ และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านระหว่างนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบกับนักเรียนที่ได้รับการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2563 จำนวน 80 คน ได้มาโดยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง จำนวน 40 คน และกลุ่มควบคุม จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบการรู้เรื่องการอ่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบ มีความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 ที่ได้รับการสอนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนแบบสืบสอบ มีความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการสอนด้วยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, ธันยบูรณ์ ธัญลักษณ์มะระ, กมลวรรณ ตังธนกานนท์ Jul 2021

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, ธันยบูรณ์ ธัญลักษณ์มะระ, กมลวรรณ ตังธนกานนท์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์ (ลดความคล้าย เพิ่มความคล้าย ความคล้ายคงที่ และบอกคำตอบที่ถูกต้อง) กับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ (สูง ปานกลาง และต่ำ) ที่มีต่อพัฒนาการความสามารถของนักเรียน และ 2) เปรียบเทียบพัฒนาการความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนในแต่ละระดับความสามารถทางฟิสิกส์ที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบด้วยคอมพิวเตอร์ ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 73 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบฝึกหัดการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ด้วยคอมพิวเตอร์ และแบบสอบวัดความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาทางฟิสิกส์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงบรรยาย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง ผลการวิจัย พบว่า 1) มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างประเภทข้อมูลย้อนกลับเชิงโต้ตอบกับระดับความสามารถทางฟิสิกส์ต่อพัฒนาการความสามารถอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนที่มีความสามารถระดับสูงที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับต่างประเภทกันมีพัฒนาการความสามารถไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีความสามารถระดับปานกลางที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบลดความคล้ายและแบบความคล้ายคงที่ รวมถึงนักเรียนที่มีความสามารถระดับต่ำที่ได้รับข้อมูลย้อนกลับแบบความคล้ายคงที่มีพัฒนาการความสามารถสูงกว่าแบบบอกคำตอบที่ถูกต้องอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดความวิตกกังวลของครอบครัว ที่มีบุตรหลานมีภาวะออทิซึมสเปกตรัม, ภู แก้วอำไพ, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์, สุชาติ พหลภาคย์, กรวรรณ โหม่งพุฒ Jul 2021

ผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มเพื่อลดความวิตกกังวลของครอบครัว ที่มีบุตรหลานมีภาวะออทิซึมสเปกตรัม, ภู แก้วอำไพ, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์, สุชาติ พหลภาคย์, กรวรรณ โหม่งพุฒ

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มที่มีต่อความวิตกกังวลของครอบครัวที่มีบุตรหลานมีภาวะออทิซึมสเปกตรัม กลุ่มเป้าหมาย คือครอบครัวที่มีบุตรหลานมีภาวะออทิซึมสเปกตรัม จำนวน 12 ครอบครัว เข้าร่วมโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มโดยใช้ทฤษฎีการเผชิญความจริง จำนวน 8 ครั้ง ครั้งละ 60-75 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวัดความวิตกกังวล คือ แบบวัดระดับความวิตกกังวล (Thai HADS) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที พบว่า ภายหลังจากได้รับโปรแกรมการให้คำปรึกษาแบบกลุ่มแล้วความวิตกกังวลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน, เกริกก้อง มังคละพฤกษ์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา Jul 2021

การศึกษาสภาพการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน, เกริกก้อง มังคละพฤกษ์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, สืบสกุล นรินทรางกูร ณ อยุธยา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน ตัวอย่าง คือ โรงเรียนอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ที่เปิดสอนระดับ ปวช. และ/หรือ ปวส. จำนวน 269 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลในแต่ละโรง คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน ครู จำนวน 1 คน และนักเรียน จำนวน 1 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนอาชีวศึกษาตามแนวคิดการเสริมสร้างค่านิยมในการทำงาน ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยการบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (M = 3.77) รองลงมาคือ การบริหารวิชาการ (M = 3.73) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 4.42) โดยการบริหารวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (M = 4.42) รองลงมาคือ การบริหารกิจการนักเรียนนักศึกษา (M = 4.41)


การคัดสรรบทเพลงและการแสดงรีไซทัลขับร้องคลาสสิค, วีวรรณ โทนชัย Jul 2021

การคัดสรรบทเพลงและการแสดงรีไซทัลขับร้องคลาสสิค, วีวรรณ โทนชัย

Journal of Education Studies

การคัดเลือกรายชื่อบทเพลงและการแสดงรีไซทัลเป็นหัวข้อสำคัญ 2 หัวข้อ ที่เกี่ยวเนื่องกันภายใต้กระบวนการ การเรียนการสอนการขับร้องคลาสสิค ต้องอาศัยความรู้ทางการขับร้องและความใส่ใจในการสังเกตรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ปัญหาที่พบในกระบวนการการเรียนการสอนบางครั้งมาจากการขาดการวางแผนร่วมกันอย่างมีระบบ ดังนั้น จึงต้องแก้ปัญหาด้วยการนำเสนอผลงานจากการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ ผ่านการวางรูปแบบการแสดงด้วยการร่วมมือกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียน คัดสรรกลุ่มรายชื่อบทเพลงที่จะใช้ ผ่านกระบวนการในระหว่างช่วงเวลาในการเรียนการสอนตามปกติ รวมถึง การมีบทเพลงสำรองเพื่อใช้หากมีความจำเป็นต้องปรับรายการแสดง ตลอดจนจัดการองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการแสดง การร่วมมือกันวางแผนฝึกซ้อม การจัดการในวันแสดง และการประเมินผล ผู้ที่ได้อ่านบทความนี้จะได้เห็นภาพรวมของการแสดง เกิดคุณค่าแห่งการรับรู้และเข้าใจการขับร้องคลาสสิค


สภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการทางการเรียนรู้กับการทำงานของผู้เรียนและบัณฑิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาไทย, สยาม ค้าสุวรรณ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ Jul 2021

สภาพปัจจุบันและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการทางการเรียนรู้กับการทำงานของผู้เรียนและบัณฑิตสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาไทย, สยาม ค้าสุวรรณ, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาของการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการทางการเรียนรู้กับการทำงานของผู้เรียนและบัณฑิตที่ศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ ของสถาบันอุดมศึกษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลจากสถาบันอุดมศึกษาในประเทศ จำนวน 33 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า การจัดการเรียนการสอนเป็นการบูรณาการการเรียนรู้กับการทำงาน โดยมีองค์ประกอบ ได้แก่ สถาบันอุดมศึกษา สถานประกอบการ และองค์กรวิชาชีพ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนที่บูรณาการทางการเรียนรู้กับการทำงาน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 2) ด้านผู้เรียน / นิสิต / นักศึกษาและบัณฑิตที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 3) ด้านผู้สอน / คณาจารย์ /อาจารย์ที่ปรึกษา / อาจารย์นิเทศงานสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 4) ด้านสถานประกอบการ / ผู้บริหารสถานประกอบการ / พนักงานที่ปรึกษา /พนักงานที่เป็นผู้ดูแลนักศึกษาช่วงระหว่างปฏิบัติงานสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ และ 5) ด้านการเงิน


ปัญหาการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กตามความคิดครอบครัวนิเวศ, พัฒนาพร ไทยพิบูลย์, จรูญศรี มาดิลกโกวิท Jul 2021

ปัญหาการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กตามความคิดครอบครัวนิเวศ, พัฒนาพร ไทยพิบูลย์, จรูญศรี มาดิลกโกวิท

Journal of Education Studies

บทความวิจัย เรื่อง “ปัญหาการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางเพื่อการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กตามความคิดครอบครัวนิเวศ” ผู้วิจัยใช้ความคิด “ระบบครอบครัวนิเวศ” เป็นกรอบแนวคิดในการวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสานระหว่างวิธีวิจัยเชิงปริมาณและวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการศึกษาครอบครัวแหว่งกลางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางจำนวน 109 ครอบครัว ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงโครงสร้างและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก วัตถุประสงค์ในการวิจัยเพื่อศึกษาสภาพปัญหา และความต้องการการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางตามความคิดครอบครัวนิเวศเพื่อการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กในครอบครัวแหว่งกลาง ผลการศึกษาพบว่าปัญหาการเรียนรู้ของครอบครัวแหว่งกลางที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมความอยู่ดีมีสุขของเด็กจำแนกได้เป็น 6 มิติ คือ 1) สุขภาพของปู่ ย่า ตา ยายในครอบครัวแหว่งกลาง 2) เศรษฐกิจของครอบครัวแหว่งกลาง 3) คุณลักษณะของครอบครัวแหว่งกลาง 4) ความสัมพันธ์ในระบบครอบครัวนิเวศของครอบครัวแหว่งกลาง 5) สังคมวัฒนธรรม และ 6) หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับครอบครัวแหว่งกลาง


ความสัมพันธ์ระหว่างความคล่องแคล่วในการทำงานของมือและความเร็วในการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6, ชนิตา เที่ยงวงษ์, นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์ Jul 2021

ความสัมพันธ์ระหว่างความคล่องแคล่วในการทำงานของมือและความเร็วในการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6, ชนิตา เที่ยงวงษ์, นันทณี เสถียรศักดิ์พงศ์

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความคล่องแคล่วในการทำงานของมือและความเร็วในการเขียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 รูปแบบการศึกษาเป็นแบบ cross sectional study การสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน 96 คน ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยวิธีการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน โรงเรียนที่อยู่ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ เครื่องมือที่ใช้คือ 1) แบบทดสอบความคล่องแคล่วในการทำงานของมือ ประกอบด้วย 4 แบบทดสอบย่อย คือ การย้ายหมุดโดยใช้มือเดียว การย้ายหมุดโดยใช้สองมือ การย้ายหมุดภายในมือ และ การย้ายหมุดโดยใช้อุปกรณ์ และ 2) แบบทดสอบความเร็วในการเขียนของแบบประเมินความสามารถด้านการเขียนพยัญชนะไทย การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า ความคล่องแคล่วในการทำงานของมือกับความเร็วในการเขียนมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยความเร็วในการเขียนมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง (เรียงจากมากไปน้อย) กับการย้ายหมุดโดยใช้สองมือ (r = -.465), และการย้ายหมุดโดยใช้อุปกรณ์คีม (r = -.348) และ การย้ายหมุดภายในมือ (r = -.305), และมีความสัมพันธ์ระดับต่ำ (r = -.202) กับการย้ายหมุดโดยใช้มือเดียว


การประยุกต์ใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ, อารีรักษ์ มีแจ้ง, วรรณประภา สุขสวัสดิ์ Jul 2021

การประยุกต์ใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ, อารีรักษ์ มีแจ้ง, วรรณประภา สุขสวัสดิ์

Journal of Education Studies

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่หลักของครูในสถานศึกษา ขั้นตอนการปฏิบัติงานดังกล่าวเริ่มจากการที่ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เมื่อเสร็จแล้วจึงนำส่งผู้บังคับบัญชาซึ่งอาจเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระ หรือผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นจึงนำไปใช้จัดการเรียนการสอน ซึ่งครูจะได้ข้อมูลย้อนกลับจากการสอนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่อาจนำไปสู่การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในประเด็นของวิธีการและเครื่องมือในการตรวจสอบที่จะนำไปสู่การพัฒนางานในส่วนนี้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการประยุกต์ใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งนอกจากจะสร้างความเข้าใจให้แก่ครูภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการวางแผน และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องชัดเจนแล้ว ยังส่งเสริมให้ครูใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดในการตรวจสอบ และทบทวนการทำงานของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติงานในวิชาชีพต่อไป


การจัดการเรียนรู้ยุคใหม่, สุรภัฎ ธัญวงศ์ Jul 2021

การจัดการเรียนรู้ยุคใหม่, สุรภัฎ ธัญวงศ์

Journal of Education Studies

การพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีดำเนินไปอย่างก้าวกระโดด ส่งผลถึงทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรมการผลิต การบริการสาธารณสุข รวมถึงการศึกษา โจทย์สำคัญของการจัดการศึกษาไทยเพื่อไปให้ถึงนโยบายประเทศไทยยุค 4.0 คือ การสอนให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ มีทักษะชีวิต และแก้ปัญหาได้ บทความฉบับนี้นำเสนอโมเดลการเรียนรู้ยุคใหม่ ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพเหมาะสมกับเทคโนโลยีและสภาพสังคมปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับผู้เรียน โดยสร้างให้เกิดความสนใจในเนื้อหาสาระ ผ่านสื่อในรูปแบบเกมหรือโปรแกรมจำลองสถานการณ์ จากนั้นกระตุ้นจินตนาการ ผ่านการใช้คำถาม “ถ้าเป็นเช่นนี้แล้วจะเป็นอย่างไร” และสร้างกลุ่มสังคมออนไลน์สำหรับกลุ่มเรียนรู้ในหัวเรื่องที่สนใจร่วมกัน นอกจากนี้ ใช้การสร้างข้อจำกัดหรือเงื่อนไขการเรียนรู้ ผ่านการกำหนดปัญหาเพื่อให้ผู้เรียนฝึกฝนทักษะการแก้ปัญหาและเปิดความเป็นไปได้ในการมองมุมใหม่


“บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” : แนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทย, พรสวรรค์ วงษ์กาญจนกุล, กรรณิการ์ สัจกุล Jul 2021

“บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” : แนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทย, พรสวรรค์ วงษ์กาญจนกุล, กรรณิการ์ สัจกุล

Journal of Education Studies

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการจัดการศึกษาของ สตรีไทย 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” และ 3) เพื่อประยุกต์แนวคิดและรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศึกษาวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ประเภทต่าง ๆ ในฐานะสื่อสะท้อนแนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาของสตรีไทยในช่วงปี พ.ศ. 2410-2474 แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก คือ การศึกษาแบบโบราณ และการศึกษาแบบใหม่ โดยปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาของสตรีไทย ได้แก่ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของ ประเทศในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากบริบททางประวัติศาสตร์ในช่วงการแพร่ขยายลัทธิการล่าอาณานิคมของ มหาอํานาจตะวันตก นอกจากนี้ แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้เป็นการบูรณาการพหุวิทยาการต่าง ๆ ทั้งจารีตประเพณีไทยแบบโบราณ และความรู้ใหม่แบบตะวันตก โดยประยุกต์ให้ เหมาะสมกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการจัดการศึกษาของบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้ยังสามารถ พัฒนาสตรีไทยให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมอารยประเทศ และธํารงเอกลักษณ์ที่ดีงามของสตรีไทยได้อย่างครบถ้วน สรุปได้ว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการพัฒนาสตรีไทยให้มีความเท่าเทียม และความเสมอภาค นอกจากนี้ ยังสามารถนําแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี