Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

Journal of Education Studies

2016

Keyword

Articles 1 - 30 of 95

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย, นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์ Oct 2016

การพัฒนาทักษะชีวิตผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย, นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์

Journal of Education Studies

ทักษะชีวิตเป็นสิ่งที่ช่วยให้มนุษย์สามารถปรับตัวและใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นสุข การพัฒนาทักษะชีวิตให้เกิดแก่ผู้เรียนควรพัฒนาควบคู่ไปกับการได้รับความรู้ในเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ วิชาภาษาไทยเป็นวิชาพื้นฐานที่สำคัญที่ผู้เรียนจะใช้เป็นเครื่องมือในการศึกษาหาความรู้ด้านอื่นๆ ต่อไป ครูสามารถสอนเนื้อหาความรู้และพัฒนาทักษะชีวิตที่สำคัญทั้ง ๔ ด้าน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กิจกรรมแต่ละประเภทมีจุดมุ่งหมายและพัฒนาทักษะชีวิตในแต่ละด้านแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น ได้แก่ การแข่งขันระหว่างกลุ่ม กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ได้แก่ การเล่านิทาน การทายปัญหา และการแข่งขันระหว่างกลุ่ม กิจกรรมที่พัฒนาทักษะการจัดการกับอารมณ์และความเครียด ได้แก่ การทายปัญหา การแข่งขันระหว่างกลุ่มและการร้องเพลง กิจกรรมที่พัฒนาทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ได้แก่ การเล่านิทาน และการแข่งขันระหว่างกลุ่ม ทั้งนี้ในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนควรเลือกใช้กิจกรรมการเรียนการสอนที่เหมาะสม สอดคล้องกับเนื้อหาและบูรณาการกิจกรรมต่างๆควบคู่กัน


กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต, เปรมวดี สาริชีวิน, มนัสวาสน์ โกวิทยา, อาชัญญา รัตนอุบล Oct 2016

กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต, เปรมวดี สาริชีวิน, มนัสวาสน์ โกวิทยา, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

การวิจัยแบบเชิงคุณภาพครั้งนี้ เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต ประกอบด้วย 2 หลักการ ได้แก่ 1) แนวทางวิถีสุขภาพพอเพียง (พอเพียง พอประมาณ และพอดี) 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่น และ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผลที่เกิดจากปัญหาที่รู้สึกไม่พึงพอใจในชีวิต 2) ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย 3) แรงบันดาลใจของผู้เรียน 4) บุคคลต้นแบบ 5) วิถีชีวิตของชุมชน 6) สื่อการสอน 7) แหล่งเรียนรู้ชุมชน 8) บรรยากาศการเรียนรู้ และประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 14 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรับรู้ความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ 2) การตรวจสอบตนเองถึงสาเหตุของปัญหาอย่างมีเหตุผล 3) การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น 4) การปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5) การสร้างภาพจินตนาการบทบาทใหม่ 6) การตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติตามบทบาทใหม่ที่คิดไว้ 7) การเรียนรู้จากการกระทำของต้นแบบ 8) การทดลองปฏิบัติบทบาทใหม่ 9) การสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง 10) การฝึกปฏิบัติตามบทบาทใหม่ 11) การดัดแปลงวิธีปฏิบัติใหม่ให้เข้ากับวิถีชีวิต 12) การกำหนดมาตรการควบคุมกำกับตนเอง 13) การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทใหม่ 14) การพัฒนาให้เป็นนิสัยใหม่


การเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนสำหรับผู้เรียนในระดับปริญญาตรี, อินทิรา พรมพันธุ์ Oct 2016

การเรียนการสอนโดยใช้แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืนสำหรับผู้เรียนในระดับปริญญาตรี, อินทิรา พรมพันธุ์

Journal of Education Studies

การออกแบบอย่างยั่งยืนเป็นแนวคิดการออกแบบที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกระแสโลก ความสำคัญของการเลือกใช้ทรัพยากรที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่น้อยที่สุด รวมถึงการเชื่อมโยงผู้คนเข้ากับสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ มุ่งสร้างวิถีการดำรงชีวิตที่ยั่งยืน ตลอดจนช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมโลกในด้าน อัตราการเพิ่มของจำนวนประชากรที่เป็นผลให้ทรัพยากรธรรมชาติลดลงอย่างมหาศาล การเสียสภาวะสมดุลทางสิ่งแวดล้อม และการขาดความหลากหลายทางชีวภาพ วัตถุประสงค์ของบทความนี้นำเสนอถึงความสำคัญของการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่นำไปสู่แนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน โดยยกตัวอย่างความสำเร็จจากการวิจัยผลิตภัณฑ์นวัตกรรมดินจุฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยงไปสู่การนำไปใช้ในการเรียนการสอนออกแบบสำหรับผู้เรียนในระดับปริญญาตรี เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากการลงมือทำ มีทักษะและพฤติกรรมที่จะเสริมสร้างการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้ชำนาญและสามารถนำไปปรับใช้ในเรื่องที่สัมพันธ์และเกี่ยวข้อง ผลงานการออกแบบสามารถแสดงออกและสะท้อนความเข้าใจถึงแนวคิดการออกแบบอย่างยั่งยืน มีความเข้าใจสามารถนำแนวทางการออกแบบอย่างยั่งยืนไปใช้กระบวนการออกแบบและกระบวนการผลิตและมีทัศนคติที่ดีต่อการแนวทางการออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม


เปิดประเด็น : ศิลปะเพื่อชุมชน, อภิชาติ พลประเสริฐ Oct 2016

เปิดประเด็น : ศิลปะเพื่อชุมชน, อภิชาติ พลประเสริฐ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การใช้มันดาลาเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ Oct 2016

การใช้มันดาลาเพื่อเสริมสร้างการตระหนักรู้ในตนเองของนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้มันดาลาต่อการตระหนักรู้ในตนเองของนิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย กลุ่มเป้าหมาย คือ นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชา 2717306 การประเมินและการส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2557 จำนวนทั้งสิ้น 16 คน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยในชั้นเรียน โดยจัดให้นิสิตได้สร้างสรรค์มันดาลาทั้งเดี่ยว กลุ่มย่อย และกลุ่มใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 6 ครั้ง เก็บข้อมูลเชิงปริมาณก่อนและหลังการทดลองใช้มันดาลาโดยใช้แบบประเมินการตระหนักรู้ในตนเอง และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์กลุ่มย่อยหลังการทดลองใช้มันดาลาร่วมกับการใช้ข้อมูลจากบันทึกสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ของนิสิต วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้การคำนวณหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน แล้วนำมาทดสอบค่าทีด้วยวิธีการเปรียบเทียบรายคู่ และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการใช้มันดาลา นิสิตกลุ่มเป้าหมายมีค่าเฉลี่ยของคะแนนการตระหนักรู้ในตนเองสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 2) นิสิตสะท้อนความคิดว่า มันดาลาทำให้ได้ทบทวนตนเอง ได้ฝึกฝนการสะท้อนตนเองนำไปสู่การตระหนักรู้ในตนเอง นิสิตสะท้อนความคิดว่า เกิดการตระหนักรู้ในตนเองในประเด็น การเห็นและยอมรับตนเอง และการรู้จักและเข้าใจผู้อื่น และ 3) นิสิตสะท้อนความคิดว่า มันดาลาทำให้เกิดการเข้าใจในประเด็นการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็ก ได้แก่ การเท่าทันอคติของผู้ประเมิน การไม่รีบตัดสินข้อมูล การมีสติรู้ตัวการไม่ลำเอียงในการประเมิน และการยอมรับในความเป็นตัวตนของเด็ก


ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมด้วยกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, อรอุมา ขำวิจิตร์ Oct 2016

ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมด้วยกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, อรอุมา ขำวิจิตร์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมด้วยกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาเป็นเด็กปฐมวัยที่กำลังศึกษาในระดับชั้นอนุบาล 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย กิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหวเพื่อพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัยตามแผนการสอน 16 แผน และ แบบสังเกตพฤติกรรมทางสังคมก่อนและหลังการจัดกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว 1 ฉบับ และใช้ระยะเวลาในการศึกษา 8 สัปดาห์ๆ ละ 2 วัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การทดสอบค่าทีแบบ Paired Sample t-test ผลการวิจัยพบว่า ผลการพัฒนาพฤติกรรมทางสังคมของเด็กปฐมวัย ระดับชั้นอนุบาล 1 ภายหลังการจัดกิจกรรมดนตรีและการเคลื่อนไหว มีค่าเฉลี่ย (Mean = 17.22) สูงกว่า พฤติกรรมก่อนการจัดกิจกรรม (Mean = 9.63) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, อาจารี สุวัฒนพงษ์, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2016

การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, อาจารี สุวัฒนพงษ์, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีของทักษะการคิดเชิงวิพากษ์และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา (2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการวิจัยเรื่องกลยุทธ์การบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้อำนวยการ หรือรองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษารายด้าน พบว่า ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ประกอบด้วย 6 ทักษะ ได้แก่ การวิเคราะห์ การตีความ การประเมินผล การอนุมาน การอธิบาย และการตรวจสอบแก้ไขตนเองได้ มีความเหมาะสมทุกด้าน และการเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ ประกอบด้วย 2 แนวทาง ได้แก่ กำหนดรายวิชาสอนการคิดเชิงวิพากษ์เป็นการเฉพาะ และกำหนดให้สอนการคิดเชิงวิพากษ์สอดแทรกในรายวิชาของกลุ่มสาระการเรียนรู้ มีความเหมาะสม สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การนิเทศการศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันทุกด้าน และมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน คือด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด ส่วนค่าดัชนีความต้องการจำเป็นของการบริหารวิชาการเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ค่าสูงที่สุด คือการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน และค่าต่ำที่สุด คือการพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียน


การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามความแตกต่างระหว่างบุคคลของครูด้วยระบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ, ปัญญา อัครพุทธพงศ์, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง Oct 2016

การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนตามความแตกต่างระหว่างบุคคลของครูด้วยระบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ, ปัญญา อัครพุทธพงศ์, จุไรรัตน์ สุดรุ่ง

Journal of Education Studies

ในปัจจุบันการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนจะใช้รูปแบบการนิเทศทางตรง เป็นส่วนใหญ่ ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ การขาดแคลนผู้นิเทศ การนิเทศไม่สอดคล้องกับความต้องการของครู ทำให้ครูไม่เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและไม่นำผลการนิเทศไปพัฒนาการสอนเท่าที่ควร ระบบการนิเทศแบบหลากหลายวิธีการ ซึ่งโรงเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกานำมาใช้อย่างมากในการนิเทศการสอน น่าจะเป็นทางออกสำหรับปัญหาดังกล่าวได้ ในระบบการนิเทศนี้ ครูจะมีส่วนร่วมในการกำหนดรูปแบบการนิเทศของตนเอง ซึ่งประกอบด้วย 1) การนิเทศแบบคลินิก ซึ่งเป็นช่วยเหลือครูโดยตรงของผู้นิเทศ 2) การนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ ซึ่งเป็นการช่วยเหลือกันเองในกลุ่มครู 3) การนิเทศแบบพึ่งตนเองซึ่งเป็นการช่วยเหลือตนเองของครู และ 4) การนิเทศโดยผู้บริหาร ซึ่งเป็นการตรวจเยี่ยมชั้นเรียนของผู้บริหาร โดยมุ่งหวังว่าการนิเทศในรูปแบบที่หลากหลายจะสามารถตอบสนองต่อความต้องการจำเป็นที่หลากหลายของครูได้ และทำให้ครูเกิดการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพตามศักยภาพของตน


แนะนำหนังสือ, วิทยา ไล้ทอง Oct 2016

แนะนำหนังสือ, วิทยา ไล้ทอง

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย, กฤษณะ บุหลัน, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2016

การพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตร รัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย, กฤษณะ บุหลัน, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดกรอบและตัวบ่งชี้คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย วิเคราะห์คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย และพัฒนากลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนิสิต/นักศึกษา ดุษฎีบัณฑิตและอาจารย์ประจำในหลักสูตรของ 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเกริก โดยมีประชากร ทั้งสิ้น 280 คน ซึ่งแบ่งออกตามสถาบันซึ่งมีประชากรของมหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวน 94 คน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 79 คน และมหาวิทยาลัยเกริก จำนวน 107 คน ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยกำหนดกรอบ และตัวบ่งชี้คุณค่าของหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย และวิเคราะห์การบูรณาการแนวคิดห่วงโซ่คุณค่าและแนวคิดดัชนีชี้วัดแบบสมดุลจากเอกสาร พบว่าได้ตัวบ่งชี้เชิงคุณค่าทั้งหมด 18 ตัวบ่งชี้ นอกจากนี้ยังพบว่าการวิเคราะห์คุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทยทั้ง 3 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยรามคำแหง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยเกริก พบว่า การประเมินอยู่ในเกณฑ์ดี และพอใช้เป็นส่วนใหญ่ ส่วนการพัฒนาหลักสูตรควรกำหนดให้สอดคล้องกับบริบทและความต้องการของสังคมภายนอก แต่ต้องไม่ทำให้อัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัยหายไป โดยเฉพาะปี ค.ศ.2015 ประเทศไทยจะก้าวสู่บริบทของประชาคมอาเซียนอย่างเต็มตัว นอกจากนั้นนำผลการวิเคราะห์คุณค่าของหลักสูตรมาทำการวิเคราะห์สว๊อตและ ทาวน์เมตทริก เพื่อกำหนดกลยุทธ์การสร้างคุณค่าสำหรับหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตของสถาบันอุดมศึกษาไทย ซึ่งพบว่า ทั้ง 3 สถาบันเป็นกลยุทธ์เชิงรุกหรือในสถานการณ์แบบดาวรุ่ง


การพัฒนารูปแบบการเรียนตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย, ยอดชาย สุวรรณวงษ์, มนัสวาสน์ โกวิทยา, เกียรติวรรณ อมาตยกุล Oct 2016

การพัฒนารูปแบบการเรียนตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย, ยอดชาย สุวรรณวงษ์, มนัสวาสน์ โกวิทยา, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยแบบผสมผสานครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย จากการวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ด้านสุขภาพและกระบวนการทางวัฒนธรรมของหมู่บ้านจัดการสุขภาพต้นแบบ 4 หมู่บ้าน ในสี่ภาคของประเทศไทย ผลการศึกษา พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมสุขภาพสำหรับสังคมไทย ประกอบด้วย 5 หลักการ และ 4 องค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ 5 ประการ ได้แก่ ความตระหนักรับผิดชอบต่อสุขภาพ, บูรณาการสุขภาพเข้ากับความจำเป็นพื้นฐานของชีวิต, มีการเรียนรู้อย่างอิสระบนหลักประชาธิปไตย, สอดคล้องกับวิถีท้องถิ่น, และสร้างกระแสสุขภาพในสังคมอย่างต่อเนื่อง และ 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. แรงขับเคลื่อนการเรียนรู้ด้านสุขภาพ 2. กระบวนการเรียนรู้ผ่านกุศโลบายท้องถิ่น ใน 7 ขั้น โดยเริ่ม 1) จากการรับรู้ความต้องการเป้าหมาย, 2) การแสวงหาความรู้ที่ชอบ, 3) การกลั่นกรองความรู้ที่ใช่, 4) การตัดสินใจเลือกให้ถูก, 5) การเรียนรู้และใช้ประโยชน์จากความรู้, 6) การตรวจสอบและประเมินตนเอง, และ 7) แลกเปลี่ยนให้สืบทอด 3. คุณค่าของวิถีท้องถิ่นในด้านภูมิปัญญาและหลักการสุขภาพชุมชน และ 4. โครงสร้างและเงื่อนไขทางสังคม


กลยุทธ์การบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา, รับขวัญ ภูษาแก้ว, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Oct 2016

กลยุทธ์การบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา, รับขวัญ ภูษาแก้ว, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามของการบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารคนเก่งและองค์การสมรรถนะสูงสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาโดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 350 โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยายและเทคนิค PNImodified ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารคนเก่งโรงเรียนมัธยมศึกษามีค่าเฉลี่ยในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และสภาพปัจจุบันของการบริหารองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษามีค่าเฉลี่ยในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) จุดแข็งของการบริหารคนเก่ง ได้แก่ การกำหนดค่านิยมและกลยุทธ์องค์การ จุดอ่อน ได้แก่ การค้นหาคนเก่ง การพัฒนาคนเก่ง การสร้างวัฒนธรรมส่งเสริมคนเก่ง และการบริหารคนเก่งเชิงบูรณาการทั่วทั้งองค์การ ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก นโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคมและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของประเทศเป็นภาวะคุกคาม จุดแข็งของการบริหารองค์การสมรรถนะสูง ได้แก่คุณภาพการบริหาร ความเปิดเผยและมุ่งเน้นการปฏิบัติ และทิศทางระยะยาว จุดอ่อนได้แก่ การปรับปรุงและการทำใหม่อยู่ตลอด และคุณภาพบุคลากร ส่วนสภาพแวดล้อมภายนอก นโยบายของรัฐและความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีของประเทศเป็นโอกาส สภาพเศรษฐกิจและสภาพสังคมของประเทศเป็นภาวะคุกคาม 3) กลยุทธ์การบริหารคนเก่งสำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย (1) ยึดมั่นในค่านิยมและกลยุทธ์ของการบริหารคนเก่ง (2) แสวงหาวิธีการเชิงรุกในการค้นหาคนเก่ง (3) ยกระดับขีดความสามารถของคนเก่ง (4) สร้างความเข้มแข็งของวัฒนธรรมส่งเสริมคนเก่ง และ (5) บริหารคนเก่งเชิงบูรณาการ กลยุทธ์การบริหารองค์การสมรรถนะสูงของโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย (1) ยกระดับคุณภาพการบริหาร (2) มุ่งพัฒนาการปฏิบัติงาน (3) มุ่งผลงานระยะยาว (4) พัฒนางานอย่างต่อเนื่อง และ (5) ยกระดับคุณภาพครูและบุคลากร


กรอบคุณวุฒิของประเทศไทย, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สิริภักตร์ ศิริโท Oct 2016

กรอบคุณวุฒิของประเทศไทย, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สิริภักตร์ ศิริโท

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้เป็นอีกหนึ่งข้อเสนอสำหรับการพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิของประเทศไทย ในอนาคต วัตถุประสงค์การวิจัยมุ่งเน้นการพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์และกระบวนการพัฒนาของผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา และนำเสนอโมเดลการพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิของไทยที่มีความเชื่อมโยงกันในระดับมัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และอุดมศึกษา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะในการนำไปประยุกต์ใช้ วิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวกับการพัฒนากรอบคุณวุฒิทางการศึกษาของต่างประเทศ และเอกสารหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรอาชีวศึกษาของไทย ผลการวิจัยนำเสนอแนวทางการพัฒนากรอบคุณวุฒิทางการศึกษาของไทยในอนาคต ภายใต้กรอบข้อเสนอผลลัพธ์การเรียนรู้โดยไพฑูรย์ สินลารัตน์และคณะ 2552) และการสัมภาษณ์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน ผู้บริหาร บัณฑิต และผู้ใช้บัณฑิต


แนวทางส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้บริบทชีวิตประจำวัน, อรวิภา อรวิภา, วีรฉัตร์ สุปัญโญ Oct 2016

แนวทางส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยใช้บริบทชีวิตประจำวัน, อรวิภา อรวิภา, วีรฉัตร์ สุปัญโญ

Journal of Education Studies

การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความใฝ่รู้ใฝ่เรียนตามการรับรู้ของผู้เรียน ผู้สอน และผู้บริหาร และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบโดยใช้บริบทชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษานอกระบบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 400 คน ผู้สอนนักศึกษานอกระบบ จำนวน 40 คน และผู้บริหารจากศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยระดับอำเภอจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม (focus group) สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ระดับความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบตามการรับรู้ของผู้เรียนอยู่ในระดับมาก โดยด้านวิชาการมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ผู้สอนนักศึกษานอกระบบและผู้บริหารต่างเห็นตรงกันว่าความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบอยู่ในระดับปานกลาง โดยแสดงพฤติกรรมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนด้านวิชาการมากที่สุด แนวทางส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนของนักศึกษานอกระบบโดยใช้บริบทชีวิตประจำวัน ประกอบด้วย หลักการของการคิดเป็น วิธีการในการส่งเสริม ได้แก่ การทำเรื่องง่ายให้อยากทำ กิจกรรมในการส่งเสริมความใฝ่รู้ใฝ่เรียนประกอบด้วยกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับครอบครัว วิชาการ อาชีพ และสังคมของนักศึกษานอกระบบ ผู้สอนนักศึกษานอกระบบและผู้บริหาร ควรส่งเสริมและจัดการเรียนการสอนให้เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในชีวิตของผู้เรียน เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ นอกจากนั้นควรให้ความสำคัญกับการส่งเสริมให้นักศึกษาเป็นผู้ที่มีความกล้าแสดงออกในด้านต่างๆ


คิดนอกกรอบ : การคิดและคิดนอกกรอบจากกรอบแนวคิด, ณรุทธ์ สุทธจิตต์ Oct 2016

คิดนอกกรอบ : การคิดและคิดนอกกรอบจากกรอบแนวคิด, ณรุทธ์ สุทธจิตต์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน, กฤติกา สุทธิพันธุ์, อาชัญญา รัตนอุบล, เกียรติวรรณ อมาตยกุล Oct 2016

ระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน, กฤติกา สุทธิพันธุ์, อาชัญญา รัตนอุบล, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกันชีวิต ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่เกิดจากการผสมผสานทักษะชีวิต กับความสามารถในการฟื้นพลัง เพื่อศึกษาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน ด้วยระเบียบวิธีวิจัยแบบผสานวิธี มีจุดมุ่งหมายในการ 1) วิเคราะห์และสังเคราะห์องค์ประกอบของภูมิคุ้มกันชีวิต และ 2) ศึกษาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตของผู้ใหญ่วัยทำงาน โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบวัดภูมิคุ้มกันชีวิต ซึ่งเป็นแบบสำรวจตัวเองที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้น เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ใหญ่วัยทำงานที่เป็นนักศึกษาการศึกษานอกระบบในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 210คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภูมิคุ้มกันชีวิตสำหรับบุคคลในวัยทำงานประกอบด้วยองค์ประกอบ 7ด้าน ได้แก่ การจัดการอารมณ์ ความมุมานะ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา ทักษะทางสังคม การรู้ตระหนักรู้ในตน และ ความกล้าเผชิญ 2) ผู้ใหญ่วัยทำงานมีระดับภูมิคุ้มกันชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง (x ? = 3.29, S.D. = 0.32) ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาระดับภูมิคุ้มกันชีวิตในแต่ละองค์ประกอบพบว่า มีเพียงองค์ประกอบด้านทักษะทางสังคมอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ (x ? = 2.95, S.D. = 0.93) ในขณะที่ภูมิคุ้มกันชีวิตจำแนกตามองค์ประกอบในด้านอื่นอีก 6 ด้านอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีองค์ประกอบด้านการตระหนักรู้ในตนมีระดับค่าเฉลี่ยสูงที่สุด (x ? = 3.46, S.D. = 0.53)


การเรียนรู้กลับด้าน: โอกาสและความท้าทายในการสอนของครูมัธยมศึกษาในประเทศไทย, กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง Oct 2016

การเรียนรู้กลับด้าน: โอกาสและความท้าทายในการสอนของครูมัธยมศึกษาในประเทศไทย, กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาจากทั่วทุกภาคของประเทศไทยเกี่ยวกับการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้าน และเสนอแนะแนวทางในการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านในระดับมัธยมศึกษา โดยมีการดำเนินงาน 3 ขั้นตอนคือ 1) สัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 2) สอบถามความคิดเห็นของครูมัธยมศึกษา และ 3) นำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้าน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เชี่ยวชาญจำนวน 6 คนและครูผู้สอนระดับมัธยมศึกษาจำนวน 370 คนโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามความคิดเห็น ผลการวิจัยพบว่า ครูส่วนมากเห็นว่าการจัดการเรียนการสอบแบบการเรียนรู้กลับด้านมีความสำคัญ แต่ครูยังขาดความรู้ความเข้าใจและวิธีการที่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน และแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดเรียนการสอนแบบการเรียนรู้กลับด้านมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ 1) บริบทและสภาพแวดล้อม 2) เนื้อหา 3) กลยุทธ์การเรียนการสอน 4) สื่อและเทคโนโลยีในการเรียนการสอน 5) การประเมินการเรียนการสอน 6) บทบาทของครูผู้สอน และ 7) บทบาทของผู้เรียน


คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนไทย, ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย, อาชัญญา รัตนอุบล, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล Oct 2016

คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนไทย, ชูศักดิ์ เอื้องโชคชัย, อาชัญญา รัตนอุบล, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Journal of Education Studies

การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านต่างๆ ของสังคมโลก ทำให้เยาวชนไทยซึ่งเป็นกำลังหลักในการพัฒนาประเทศในอนาคตต้องมีคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ดังนั้นการวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอคุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับเยาวชนไทย โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต และการประเมินคุณลักษณะโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ตามลำดับ ผลการวิจัยพบว่า คุณลักษณะการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ประกอบด้วยคุณลักษณะ 4 ด้าน ได้แก่ (1) คุณลักษณะด้านพฤติกรรม ประกอบด้วย (1.1) รักการอ่าน (1.2) สงสัยและซักถาม (1.3) ฟังและคิดอย่างมีวิจารณญาณ (1.4) การเขียนและบันทึก (1.5) เรียนรู้ด้วยตนเอง (1.6) ปรับตัวและยืดหยุ่น (1.7) สร้างสรรค์และประยุกต์ (1.8) แสวงหาความรู้ (1.9) สะท้อนผลการเรียนรู้ (1.10) นักปฏิบัติ (2) คุณลักษณะด้านเจตคติ ประกอบด้วย (2.1) เห็นคุณค่าและศักยภาพในตนเอง (2.2) มีทัศนคติเชิงบวก (2.3) กระหายในความรู้ (2.4) มีแรงจูงใจใฝ่สำเร็จ (2.5) เชื่อในคุณค่าของสังคมและสิ่งแวดล้อม (2.6) ตระหนักในคุณค่าของผู้อื่น (2.7) ตระหนักในคุณค่าของสังคมและสิ่งแวดล้อม (2.8) มีจิตสาธารณะ (2.9) ยอมรับข้อจำกัดทางสังคม (3) คุณลักษณะด้านทักษะ ประกอบด้วย (3.1) ทักษะการเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง (3.2) ทักษะการแสวงหาความรู้ (3.3) ทักษะการใช้ภาษาแม่และภาษาต่างประเทศ (3.4) ทักษะสังคม (3.5) ทักษะการสื่อสาร (3.6) ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (3.7) ทักษะการสร้างสรรค์และนวัตกรรม (3.8) ทักษะทางสื่อ เทคโนโลยี และสารสนเทศ (4) คุณลักษณะด้านความรู้ ประกอบด้วย (4.1) ความรู้ทางวิชาการ (4.2) ความรู้จากประสบการณ์ (4.3) ความรู้ด้านบริบทชุมชน (4.4) ความรู้ด้านอาชีพ (4.5) ความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงของโลก (4.6) ความรู้ด้านสื่อ เทคโนโลยี …


การวิเคราะห์องค์ประกอบกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, นฤภพ ขันทับไทย, ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล Oct 2016

การวิเคราะห์องค์ประกอบกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, นฤภพ ขันทับไทย, ธีระภาพ เพชรมาลัยกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิธีการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 วิเคราะห์องค์ประกอบกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการศึกษา วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลหลักจำนวน 24 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ที่มีค่า CVI เท่ากับ 0.95 สร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการทำ SWOT Matrix Analysis ตรวจสอบกลยุทธ์โดยจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 14 คน และเก็บข้อมูลกับครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนส่งเสริมความเป็นเลิศทางดนตรี จำนวน 63 คน แล้วหาค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์องค์ประกอบ ตอนที่ 2 ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยใช้แบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.70 กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเหมาะสม คือผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 21 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นไปได้ คือครูที่สอนวิชาดนตรี จำนวน 42 คน จากโรงเรียนที่มีผลงานปรากฏในตัวผู้เรียนด้านดนตรีเป็นที่ประจักษ์ และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย การทดสอบไคสแควร์ และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่างเดียว ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ 53 แนวปฏิบัติ 2) กลยุทธ์การบริหารจัดการเพื่อส่งเสริมความเป็นเลิศด้านดนตรีในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่สร้างขึ้นมีความเหมาะสม และมีความเป็นไปได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


การวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดแคใน, วิเชียร หรรษานิมิตกุล Oct 2016

การวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดแคใน, วิเชียร หรรษานิมิตกุล

Journal of Education Studies

รายงานการวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดแคใน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา (1) บริบทของโรงเรียน (2) ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และโปรแกรมการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่ได้ดำเนินการตามโครงการ 17 โครงการ (3) ผลการดำเนินโครงการ 17 โครงการ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน (4) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการ 17 โครงการ ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาในโรงเรียน และผลกระทบที่มีต่อชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัย โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และสังเกตการณ์และบันทึกการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ตามแผนพัฒนาสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2552 ของโรงเรียนวัดแคใน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 เป็นเวลา 2 ภาคการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า(1) บริบทของโรงเรียน โรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนครูทั้งสิ้น 14 คน จำนวนนักเรียน 170 คน (2) ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และโปรแกรมการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โรงเรียนวัดแคได้จัดทำการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน การจัดทำแผนกลยุทธ์โรงเรียนอยู่ระหว่างดำเนินการกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ การดำเนินงานตามระบบการบริหารและนิเทศภายใน และการประเมินผลระบบการบริหารและการนิเทศยังไม่ได้ดำเนินการ (3) ผลการดำเนินโครงการ 17 โครงการ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน (4) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการ 17 โครงการ ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาในโรงเรียน และผลกระทบที่มีต่อชุมชนคือประโยชน์ที่ครูจะได้รับทางด้านการจัดการเรียนรู้และการปรับภูมิทัศน์ของสถานศึกษา


ความต้องการในการเรียนรู้ความฉลาดทางจริยธรรมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง, อภิรดี ผลประเสริฐ, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ภัทรพล มหาขันธ์ Oct 2016

ความต้องการในการเรียนรู้ความฉลาดทางจริยธรรมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง, อภิรดี ผลประเสริฐ, วรรัตน์ ปทุมเจริญวัฒนา, ภัทรพล มหาขันธ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมตามแนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสโดยผู้วิจัยได้วิเคราะห์ความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมตามแนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิส เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการอย่างแท้จริงของเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และนำแนวคิดที่ได้มาเป็นข้อมูลในการพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดมรรคมีองค์แปดและแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมของเยาวชนกลุ่มเสี่ยงในขั้นตอนต่อไป กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนอาชีวศึกษา ระดับปวช. จำนวน 400คน ในสถาบันการอาชีวศึกษา กลุ่มเสี่ยง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 10 สถานศึกษา โดยใช้การสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย จากจำนวนนักเรียนอาชีวศึกษา ระดับปวช.ทั้งหมดในสถาบันการอาชีวศึกษากลุ่มเสี่ยง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 21 สถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ แบบสำรวจความต้องการในการเรียนรู้ความฉลาดทางจริยธรรม การวัดผลและประเมินผลเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการสำรวจข้อมูลพบว่า ประเด็นที่เยาวชนกลุ่มเสี่ยงกลุ่มตัวอย่างมีความต้องการในการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความฉลาดทางจริยธรรมในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าเยาวชนกลุ่มเสี่ยงมีความต้องการเรียนรู้ ด้านความเป็นธรรมมากที่สุดรองลงมาคือด้านความเคารพ และด้านการควบคุมตนเองตามลำดับ


อภิวัฒน์ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา: จากอนาลอกสู่ศตวรรษนวัตกรรมดิจิทัล, ใจทิพย์ ณ สงขลา, ธีรวดี ถังคบุตร, โอภาส เกาไศยาภรณ์, เฉลิมรัฐ นาควิเชียร Oct 2016

อภิวัฒน์ขอบข่ายเทคโนโลยีการศึกษา: จากอนาลอกสู่ศตวรรษนวัตกรรมดิจิทัล, ใจทิพย์ ณ สงขลา, ธีรวดี ถังคบุตร, โอภาส เกาไศยาภรณ์, เฉลิมรัฐ นาควิเชียร

Journal of Education Studies

ระยะเวลากว่าครึ่งศตวรรษของการก่อตั้งศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาหรือที่รู้จักกันในชื่อเดิมว่า ?โสตทัศนศึกษา? ขึ้นในฐานะศาสตร์ว่าด้วยการการประยุกต์ เทคนิควิธีการ แนวความคิด อุปกรณ์และเครื่องมือเพื่อช่วยในการสนับสนุนคุณภาพของการจัดการเรียนการสอน (ชัยยงค์ พรหมวงศ์, 2521) ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีการศึกษาได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไปอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วจากการประยุกต์อุปกรณ์ช่วยสอน สื่อ วีดิทัศน์ และบทเรียนมัลติมีเดียด้วยตนเอง ไปสู่การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ผู้เรียนมีอิสระในการเข้าถึงสื่อและบทเรียนต่างๆ ได้ง่ายดายและสะดวกขึ้น โดยกิจกรรมการเรียนการสอนมีทั้งที่อยู่ในรูปแบบการเรียนรู้แบบรายบุคคลและแบบกลุ่มซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะบริหารจัดการการเรียนของตนเองได้ นอกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถพูดคุย ติดต่อและการสื่อสารแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เรียนคนอื่น ๆ ได้พร้อม ๆ กันผ่านเครือข่ายสังคม โดยการเผยแพร่ส่งต่อสารในลักษณะนี้จะเรียกว่าไวรัล (Viral) ซึ่งไวรัลจะส่งผลต่อความคิด ความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเสนอนิยามของเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาจากการทบทวนโดย สมาคมเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา (Association for Educational Communications and Technology (AECT)) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีการศึกษาขึ้นมาครั้งแรก ในปี ค.ศ. 1923 (พ.ศ. 2466) หรือราวเกือบร้อยปีมาแล้ว การเรียนรู้ที่มุ่งเข้าสู่ศูนย์กลางที่ผู้เรียนรายบุคคลสามารถเลือกรับความรู้ คัดสรรเองตามวัตถุประสงค์เรียนรู้ที่เชื่อมโยงและต่อยอดโครงข่ายตามความคิดของตนเอง (Semantic network) สร้างสรรค์นวัตกรรมที่ต่อยอดอย่างไม่หยุดนิ่ง ซึ่งถือเป็นการอภิวัฒน์สมรรถนะและบทบาทของทั้งผู้เรียนและนักเทคโนโลยีการศึกษาในโลกดิจิทัลไปจากเดิมโดยสิ้นเชิง


การพัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะเพื่อฝึกทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา, อนุชาติ ศรีศิริวัฒน์, พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์, ภาณี น้อยยิ่ง, สมศักดิ์ แก้วพันธ์ Oct 2016

การพัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะเพื่อฝึกทักษะผู้เรียนให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา, อนุชาติ ศรีศิริวัฒน์, พูลศักดิ์ โกษียาภรณ์, ภาณี น้อยยิ่ง, สมศักดิ์ แก้วพันธ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้พัฒนาวิธีการสอนแบบสืบเสาะด้วยกิจกรรมแบบวงจรการเรียนรู้ 5E เพื่อฝึกทักษะการพูด การเขียน และการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนช่างอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการและสถานศึกษาระดับอาชีวศึกษา ซึ่งสำรวจจากการสัมภาษณ์สถานประกอบการจำนวน 20 แห่ง และสถานศึกษาจำนวน 18 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย คู่มือการเรียนการสอนแบบสืบเสาะ แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน แบบประเมินทักษะการพูด การเขียน และการทำงานเป็นทีม และแบบประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ประชากรคือผู้เรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ปีที่ 2 จำนวน 23 คน ในวิชาอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม แผนกไฟฟ้ากำลัง วิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรี งานวิจัยนี้ได้แสดงผลการประเมินทักษะทั้งสามด้านแบบรูบิค ซึ่งทักษะการพูดและการเขียนของผู้เรียนส่วนใหญ่อยู่ระดับพอใช้ ในขณะที่ทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนส่วนใหญ่อยู่ระดับดี ผลการประเมินความรู้แสดงค่าคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบหลังเรียนของวิธีแบบสืบเสาะสูงกว่าวิธีแบบปกติที่ระดับนัยสำคัญ .05 และผู้เรียนมีความพึงพอใจในการเรียนการสอนแบบสืบเสาะระดับมาก


มุมห้องเรียน : จากวิถีชุมชนเยาวราชสู่ห้องเรียนวิถีชีวิตดนตรีไทย, กีฏะ เพิ่มพูล Oct 2016

มุมห้องเรียน : จากวิถีชุมชนเยาวราชสู่ห้องเรียนวิถีชีวิตดนตรีไทย, กีฏะ เพิ่มพูล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนากิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค Stad, สุริยัน เขตบรรจง, นพพร แหยมแสง Oct 2016

การพัฒนากิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค Stad, สุริยัน เขตบรรจง, นพพร แหยมแสง

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของงานวิจัย 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวกลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ระหว่างหลังเรียนและก่อนเรียน 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่อง การบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือ เทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดประชุมราษฎร์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานี เขต 2 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 24 คน ที่เรียนคณิตศาสตร์ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย (Simple Random Sampling) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที แบบไม่อิสระที่ระดับ .01 3) ความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เรื่องการบวก ลบ เศษส่วนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.92)


การสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬามวยปล้ำ สำหรับนักเรียนโรงเรียนกีฬา, จีราวุธ วิเชียร, บุญเลิศ อุทยานิก, อวยพร ตั้งธงชัย Oct 2016

การสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬามวยปล้ำ สำหรับนักเรียนโรงเรียนกีฬา, จีราวุธ วิเชียร, บุญเลิศ อุทยานิก, อวยพร ตั้งธงชัย

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬามวยปล้ำสำหรับนักเรียนโรงเรียนกีฬากลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการหาคุณภาพเครื่องมือได้แก่นักเรียนโรงเรียนกีฬาจังหวัดศรีษะเกษจำนวน 33 คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Judgment sampling) เกณฑ์การประเมินทักษะกีฬามวยปล้ำ 7 ทักษะประกอบด้วย 1)ทักษะการยืนเตรียมความพร้อมพื้นฐาน 2)ทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน 3)ทักษะการจับขาคู่ล้ม 4)ทักษะการดึงแขนบังคับด้านข้างจับขาคู่ล้ม 5)ทักษะสอดแขนบิดทุ่มด้วยสะโพก 6)ทักษะการเปิดล็อคศีรษะทุ่ม และ7)ทักษะการปิดล็อคศีรษะทุ่ม ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยวิธีการหาดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านและใช้วิธีการทดสอบซ้ำ (test-retest) เพื่อตรวจสอบ ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ ผลการวิจัยพบว่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาของ ทักษะการยืนเตรียมความพร้อมพื้นฐานทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐาน ทักษะการจับขาคู่ล้ม ทักษะการดึงแขนบังคับด้านข้างจับขาคู่ล้ม ทักษะสอดแขนบิดทุ่มด้วยสะโพก ทักษะการเปิดล็อคศีรษะทุ่ม และทักษะการปิดล็อคศีรษะทุ่มมีค่าเท่ากับ 1.0 ในทุกทักษะ และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อถือได้ในแต่ละทักษะ เท่ากับ 0.81 0.93 0.86 0.88 0.88 0.89 และ 0.93 ตามลำดับ จากผลการวิจัยสนับสนุนว่าเกณฑ์การประเมินทักษะกีฬามวยปล้ำทั้ง 7 ทักษะมีความเที่ยงตรงและความเชื่อถือได้ในระดับสูงและสามารถนำไปใช้ประเมินการพัฒนาทักษะกีฬามวยปล้ำสำหรับนักเรียนโรงเรียนกีฬาได้


ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์, วัสสิกา รุมาคม, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Oct 2016

ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์, วัสสิกา รุมาคม, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ 2) วิเคราะห์ จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและภาวะคุกคามในการบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ 3) พัฒนายุทธศาสตร์การบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ เก็บข้อมูลจากผู้บริหารและคณาจารย์ของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์จำนวน 96 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกประเด็น 2) กิจกรรมการบริหารด้านการวางแผนส่วนมากมีสภาพเป็นจุดแข็งในการบริหาร ในขณะที่กิจกรรมการบริหารด้าน การประเมินผลส่วนมากมีสภาพเป็นจุดอ่อนในการบริหาร สภาพแวดล้อมภายนอกด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และเทคโนโลยีส่วนมากมีสภาพเป็นภาวะคุกคามต่อการบริหาร 3) ยุทธศาสตร์การบริหารเพื่อเสริมสร้างคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตของคณะครุศาสตร์และคณะศึกษาศาสตร์ประกอบด้วยยุทธศาสตร์หลัก 7 ยุทธศาสตร์ และยุทธศาสตร์รอง 14 ยุทธศาสตร์


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Oct 2016

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ปัจจัยสมรรถนะที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนและการรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุทธนู ศรีไสย์ Oct 2016

ปัจจัยสมรรถนะที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนและการรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สุทธนู ศรีไสย์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันและศึกษาความสัมพันธ์เชิงเหตุผลปัจจัยสมรรถนะที่ส่งผลต่อผลลัพธ์การเรียนและการรับรู้เป้าประสงค์จุฬาฯ ของนิสิต ข้อมูลจากแบบสอบถามที่มีคุณภาพ (สัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบอัลฟ่าทั้งฉบับเป็น 0.952) ของนิสิต 10 คณะ จำนวน 216 คนถูกวิเคราะห์ด้วยค่าสถิติ One-sample t-test การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และ การวิเคราะห์เส้นทางด้วยโปรแกรม LISREL ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) ในภาพรวม มี 1 ใน 4 ปัจจัยสมรรถนะของนิสิตอยู่ในระดับสูง (Mean ? 70% และ P < .05) คือ ทัศนคติต่อการเรียน ส่วนสมรรถนะด้านทักษะการปฏิบัติงาน และ พฤติกรรมการเรียน อยู่ในระดับปานกลาง และ สมรรถนะด้านการจัดการความอยู่ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันพบว่า ปัจจัยผลลัพธ์การเรียน และ การรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิตอยู่ในระดับสูง (P < .05) 2) องค์ประกอบเชิงยืนยันพบว่า ในด้านพฤติกรรมการเรียนมี 2 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญ ด้านทัศนคติต่อการเรียนมี 2 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญ ด้านการจัดการความรู้มี 4 ใน 6 องค์ประกอบสำคัญ ด้านทักษะการปฏิบัติงานมี 1 ใน 5 องค์ประกอบสำคัญ และ ผลลัพธ์การเรียนมี 2 ใน 3 องค์ประกอบสำคัญ ตามลำดับ ส่วนการรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิต ไม่มีองค์ประกอบใดเป็นองค์ประกอบสำคัญอย่างชัดเจน และ 3) ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล พบว่า แบบจำลองมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ มีค่าสถิติคือ Chi-Square = 309.16, df = 288, P-Value = .18711, RMSEA = 0.039 สรุปได้ว่า แบบจำลองมีความเหมาะสม สามารถอธิบายความสัมพันธ์เชิงเหตุผลได้ดังนี้ 3.1) ผลลัพธ์การเรียนของนิสิต ได้รับอิทธิพลโดยตรงมาจากสมรรถนะด้านทักษะการปฏิบัติ และ ทัศนคติต่อการเรียน ในระดับต่ำ ขณะเดียวกันได้รับอิทธิพลทางอ้อมมาจากพฤติกรรมการเรียน ทัศนคติต่อการเรียน และ การจัดการความรู้ โดยส่งผ่านด้านการจัดการความรู้ และ/หรือ ทักษะการปฏิบัติของนิสิตในระดับต่ำ เช่นเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยทั้งสี่ดังกล่าวสามารถทำนายผลลัพธ์การเรียนของนิสิตได้ร้อยละ 6.50 (P >.05) และ 3.2) การรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิต ได้รับอิทธิพลโดยตรงระดับต่ำทุกปัจจัยมาจาก สมรรถนะด้านทัศนคติต่อการเรียน ทักษะการปฏิบัติงาน พฤติกรรมการเรียน และ การจัดการความรู้ และได้รับอิทธิพลทางอ้อมในระดับต่ำมาจากพฤติกรรมการเรียน การจัดการความรู้ และ ทัศนคติต่อการเรียน โดยส่งผ่านทักษะการปฏิบัติงาน และ/หรือ การจัดการความรู้ นอกจากนี้ยังพบว่า ปัจจัยทั้งหมดดังกล่าวสามารถทำนายการรับรู้เป้าประสงค์มหาวิทยาลัยของนิสิตจุฬาฯ ได้ร้อยละ 65.50 อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


การวิเคราะห์วาทกรรมว่าด้วยการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของไทย, เอกภูมิ เจียมวิทยานุกูล Jul 2016

การวิเคราะห์วาทกรรมว่าด้วยการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองของไทย, เอกภูมิ เจียมวิทยานุกูล

Journal of Education Studies

บทความนี้ใช้วิธีการวิเคราะห์วาทกรรม (Discourse Analysis) โดยใช้แนวคิดจากนักสังคมวิทยาหลังสมัยใหม่ คือ มิเชล ฟูโกต์ (Michel Foucault) เป็นฐานสำคัญในการวิเคราะห์เพื่อเปิดเผยให้เห็นถึงการช่วงชิงการนำของวาทกรรมหลัก (Dominant Discourse) ที่ครอบงำการเมืองการปกครองของทั้งโลก คือ วาทกรรมอุดมการณ์ประชาธิปไตย ซึ่งวาทกรรมภายใต้อุดมการณ์นี้ ได้แก่ วาทกรรมการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมืองวาทกรรมชุดนี้ได้สร้างความรู้และความจริงให้กับสังคมไทย โดยการเก็บกด/ปิดกั้นอุดมการณ์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ รวมถึงอุดมการณ์ทางการเมืองอื่นๆ เช่น คอมมิวนิสต์ ไม่ให้มีบทบาทในสังคม โดยผ่านระบบการศึกษา ซึ่งถือเป็นภาคปฏิบัติการของวาทกรรม (Discourse Practices) โดยสะท้อนผ่านกฎหมายแม่บททางการศึกษาตั้งแต่แผนการศึกษาชาติ พ.ศ. 2475 จนถึงพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542