Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 41

Full-Text Articles in Education

แนะนำหนังสือ, มีโชค ทองไสว Oct 2013

แนะนำหนังสือ, มีโชค ทองไสว

Journal of Education Studies

No abstract provided.


กระบวนการบริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดการบริหารที่เน้นความเป็นมนุษย์และแนวคิดการศึกษามนุษยนิยม, จรีพร นำคสัมฤทธิ์, นันทรัตน์ เจริญกุล, เกียรติวรรณ อมาตยกุล Oct 2013

กระบวนการบริหารโรงเรียนทางเลือกตามแนวคิดการบริหารที่เน้นความเป็นมนุษย์และแนวคิดการศึกษามนุษยนิยม, จรีพร นำคสัมฤทธิ์, นันทรัตน์ เจริญกุล, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร โรงเรียนทางเลือก ๒) แนวทางการบริหารโรงเรียนทางเลือก ๓) พัฒนากระบวนการบริหารโรงเรียนทาง เลือก โดยใช้แนวคิดการบริหารที่เน้นความเป็นมนุษย์และแนวคิดการศึกษามนุษยนิยม โดยศึกษาจากผู้ บริหาร ๔๕ คน ครู ๒๐๘ คน ผู้เรียน ๑๐๒ คน ด้วยแบบสอบถาม และสัมภาษณ์ผู้บริหารโรงเรียนทาง เลือกจากกรณีศึกษา ๕ คน ผลการวิจัยพบว่าสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนทางเลือกมีค่า เฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกเรื่อง แนวทางบริหารเน้นเรื่องความอยู่รอด ความพอเพียง โลก ความ ยั ่งยืน การรับใช้สังคม การยอมรับนับถือตนเองและผู้อื่นนำมาพัฒนาเป็นกระบวนการบริหารโรงเรียนทาง เลือกที่เน้นความเป็นมนุษย์เป็นฐาน (Soft Side Based-Alternative School Management: SBASM) ประกอบด้วย ๑) วางแผนมาตรการความอยู่รอด ความพอเพียง โลก ความยั่งยืน การรับใช้สังคม การ ยอมรับนับถือตนเอง ๒) ดำเนินการโดยระบุผลลัพธ์ กำหนดตัวชี้วัด เรียงลำดับความสำคัญ ศึกษาสภาพ ปัจจุบัน จัดทำคู่มือเน้นมนุษย์ สร้างกลยุทธ์ในทีม จัดหาทรัพยากร ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ดำเนินการความ พอเพียงและช่วยเหลือสังคม ครูและผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษา ๓) ประเมินผลโดย ตรวจสอบผลงาน รายงานผลสภาพจริง การบรรลุผล ปรับปรุงแนวทางที่เน้นมนุษย์เป็นต้นแบบเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมินผลผู้เรียนในรูปแบบหลากหลายทั้งความสุขและความพึงพอใจ


การนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาลัยราชภัฏเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน, สมจินตนา จิรายุกุล, จรูญศรี มาดิลกโกวิท, อมรวิชช์ นาครทรรพ Oct 2013

การนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาลัยราชภัฏเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน, สมจินตนา จิรายุกุล, จรูญศรี มาดิลกโกวิท, อมรวิชช์ นาครทรรพ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการศึกษาและปัจจัยเงื่อนไขของมหาวิทยาลัย ราชภัฏในการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน ๒) เพื่อวิเคราะห์ความเข้มแข็งทาง เศรษฐกิจของชุมชน ๓) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน ๔) เพื่อนำ เสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจ ของชุมชน ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพการจัดการศึกษา มีนโยบายตามปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นการวิจัยและบริการทางวิชาการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนตามปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียงและสนองโครงการพระราชดำริ มีการจัดกิจกรรมและมีเครือข่ายความร่วมมือกับชุมชน สถาบันการศึกษาและองค์กรในท้องถิ่น ๒) ความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจระดับชุมชนในพื้นที่ตั้งมหาวิทยาลัย ราชภัฏ มีองค์กรชุมชน กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชน กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ภูมิปัญญา ท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายการพัฒนาที่ได้รับการส่งเสริมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๓) กระบวนการเรียนรู้ กิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชน มีองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิต มีฐานการเรียนรู้ทั้งในชุมชน และภายนอกชุมชน มีกระบวนการเรียนรู้การบริโภคตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการ ตลาดมีองค์ความรู้จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน ขาดองค์ความรู้ในการวางแผนการตลาดและช่อง ทางการตลาด มีกระบวนการเรียนรู้การออมโดยกลุ่มออมทรัพย์ในชุมชน ด้านสวัสดิการมีกระบวนการ เรียนรู้ต่อยอดจากกลุ่มออมทรัพย์ ชุมชนต้องการรับการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้กิจกรรมทางเศรษฐกิจ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏ ๔) การนำเสนอยุทธศาสตร์การจัดการศึกษาสำหรับมหาวิทยาลัยราชภัฏ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของชุมชน ยุทธศาสตร์หลัก ๕ ยุทธศาสตร์คือ ๑) ยกระดับ ความเข้มแข็งของเครือข่ายความร่วมมือในท้องถิ่นเพื่อการผลิตบัณฑิตป้อนระบบเศรษฐกิจชุมชน ๒)พลิกโฉมการวิจัยสู่การวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อเสริมสร้างชุมชนเศรษฐกิจเข้มแข็ง ๓) การเชื่อมงานบริการวิชาการกับองค์ความรู้และนวัตกรรมจากการวิจัยสู่การริเริ่มทางเศรษฐกิจของชุมชน ๔) การจัดการ ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่นที่มีศักยภาพเชิงเศรษฐกิจ ๕) เปลี่ยนกระบวนทัศน์ การบริหารจัดการระดับท้องถิ่นมุ่งเสริมสร้างชุมชนเศรษฐกิจเข้มแข็ง


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Oct 2013

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


มุมห้องเรียน: ความรู้ ความร้าย ออนไลน์กับพ่อ แม่ ลูก, ประณาท เทียนศรี Oct 2013

มุมห้องเรียน: ความรู้ ความร้าย ออนไลน์กับพ่อ แม่ ลูก, ประณาท เทียนศรี

Journal of Education Studies

No abstract provided.


อีเลิร์นนิงแบบผสมผสานศาสตร์การสอนตามแนวทางคอนสตรัคติวิสต์ด้วยเครื่องมือทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างการสร้างความรู้ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา : จากรูปแบบที่นำเสนอสู่การนำไปใช้, จินตวีร์ มั่นสกุล คล้ายสังข์ Oct 2013

อีเลิร์นนิงแบบผสมผสานศาสตร์การสอนตามแนวทางคอนสตรัคติวิสต์ด้วยเครื่องมือทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างการสร้างความรู้ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา : จากรูปแบบที่นำเสนอสู่การนำไปใช้, จินตวีร์ มั่นสกุล คล้ายสังข์

Journal of Education Studies

บทความนี้นำเสนอรูปแบบอีเลิร์นนิงแบบผสมผสานศาสตร์การสอนตามแนวทางคอนสตรัคติวิสต์ด้วยเครื่องมือทางปัญญาเพื่อเสริมสร้างการสร้างความรู้ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา ประกอบ ด้วย รูปแบบทั่วไป ๑ รูปแบบประกอบด้วย ๓ องค์ประกอบ ได้แก่ (๑) บทบาทผู้สอน/บทบาทผู้เรียนเชิงรุก (๒) กิจกรรมด้วยเครื่องมือทางปัญญาและ (๓) การประเมินผลในรูปแบบชิ้นงานและกระบวนการ และ ๓ ขั้นตอน ได้แก่ (๑) ขั้นนำ (๒) ขั้นสอน และ (๓) ขั้นสรุป ในขณะที่รูปแบบเฉพาะจำนวน ๓ รูปแบบ ประกอบด้วย ๔ องค์ประกอบ ได้แก่ (๑) บทบาทผู้สอน/บทบาทผู้เรียนเชิงรุก (๒) กิจกรรมด้วยเครื่องมือ ทางปัญญา (๓) การผสมผสานศาสตร์การสอน และ (๔) การประเมินผลในรูปแบบชิ้นงานและกระบวนการ และ ๓ ขั้นตอนหลักอันประกอบด้วย ๗ ขั้นตอนย่อยที่สอดคล้องกับรูปแบบทั่วไปและปรับเฉพาะ ตามศาสตร์การสอนแต่ละประเภท โดยศาสตร์การสอนประกอบด้วย การเรียนออนไลน์โดยใช้วิธีการ อภิปรายร่วมกันกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ การเรียนออนไลน์โดยใช้วิธีการเรียนแบบโครงการเป็นหลัก ร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ และการเรียนออนไลน์โดยใช้วิธีการแก้ปัญหาร่วมกันกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือ ในส่วนท้ายจะเป็นการนำเสนอแนวทางการนำไปใช้ ประกอบด้วยโปรแกรมประยุกต์ สำหรับพัฒนาเครื่องมือทางปัญญาต่างๆ ที่นำมาผสมผสานกับศาสตร์การสอน เพื่อนำสู่การเรียนการสอน ที่มีประสิทธิภาพ อันจะส่งต่อประสิทธิผลของผู้เรียนต่อไป


การพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ชนิตา ไกรเพชร, ศิริชัย กาญจนวาส, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ Oct 2013

การพัฒนาระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, ชนิตา ไกรเพชร, ศิริชัย กาญจนวาส, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนาองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิผลองค์กร ๒) พัฒนา ระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร และ ๓) ประเมินคุณภาพของระบบการประเมินประสิทธิผลองค์กร สำหรับสถาบันอุดมศึกษา สังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วยผู้บริหาร ๑๒ คน คณาจารย์ ๒๕ คน และบุคลากรสายสนับสนุน ๔ คน เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์ การสังเกตแบบ มีส่วนร่วมและการใช้แบบประเมินวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติบรรยายและเชิงคุณภาพด้วยการ วิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัย พบว่า ๑) องค์ประกอบและตัวบ่งชี้ประสิทธิผลองค์กร ประกอบด้วย ๖ องค์ประกอบ ๒๑ ตัวบ่งชี้ ได้แก่ องค์ประกอบที่ ๑ การจัดการเรียนการสอน ๖ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๒ การวิจัย ๓ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๓ การบริการวิชาการแก่สังคม ๑ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๔ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ๑ ตัวบ่งชี้ องค์ประกอบที่ ๕ การบริหารและการพัฒนาองค์กร ๘ ตัวบ่งชี้และองค์ประกอบที่ ๖ การพัฒนากีฬาสู่ความเป็นเลิศ ๒ ตัวบ่งชี้ ๒) ระบบการประเมินประสิทธิผล องค์กรมีองค์ประกอบที่สัมพันธ์กัน ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตและ ด้านข้อมูลป้อนกลับและการใช้ผลการประเมิน และ ๓) ระบบที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้องครอบคลุม มีประโยชน์สำหรับการประเมินผลการปฏิบัติงานหลักขององค์กร มีความเหมาะสมและมีความเป็นไปได้ใน การนำไปใช้ได้จริงและผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุนมีความพึงพอใจระดับมาก


เปิดประเด็น: รวมพลังสร้างค่านิยมให้กับประเทศไทยด้วยพลวัตแห่งการเรียนรู้, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง Oct 2013

เปิดประเด็น: รวมพลังสร้างค่านิยมให้กับประเทศไทยด้วยพลวัตแห่งการเรียนรู้, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การเรียนรู้ของสมเด็จครู ผู้ทรงเป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม, มัทนียา พงศ์สุวรรณ, กรรณิการ์ สัจกุล, สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ Oct 2013

การเรียนรู้ของสมเด็จครู ผู้ทรงเป็นนายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม, มัทนียา พงศ์สุวรรณ, กรรณิการ์ สัจกุล, สิริชัยชาญ ฟักจำรูญ

Journal of Education Studies

สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเป็นปราชญ์หรืออัจฉริยบุคคล ที่รอบรู้และมีพระปรีชาสามารถอย่างอัศจรรย์ในศิลปะทุกสาขา ทั้งด้านจิตรกรรมและลายเส้น ประติมากรรม สถาปัตยกรรม ประณีตศิลปกรรม วรรณกรรม ดนตรีและนาฏศิลป์ ความรอบรู้และ พระปรีชาสามารถด้านต่างๆ ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ เกิดจากการที่ทรงเรียนรู้ ฝึกหัด ทดลองและพัฒนาอย่างต่อเนื่องตามอัธยาศัยตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โปรดการเป็นนักเรียนเพื่อเรียนรู้สิ่งที่ สนพระทัย ทรงเรียนรู้ทุกที่ทุกเวลาและต่อเนื่องตลอดพระชนม์ชีพ ทรงใช้หลากหลายวิธีในการเรียนรู้ ทั้งการจดบันทึก วาดภาพประกอบ รวมทั้งทรงใช้ลายพระหัตถ์ในการแลกเปลี่ยนความรู้กับบัณฑิตผู้ใฝ่ใจ ในวิทยาอย่างเดียวกัน หรือที่ทรงเรียกว่าเพื่อนนักเรียน สิ่งที่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเรียนรู้และบันทึกไว้เป็นแหล่งข้อมูลสำคัญและมีประโยชน์ต่อการศึกษาค้นคว้า ของคนรุ่นหลังเป็นอย่างยิ่ง


ผลของการสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, จรัสศรี พัวจินดาเนตร Oct 2013

ผลของการสอนแบบสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือในวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, จรัสศรี พัวจินดาเนตร

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ เพื่อศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและคุณธรรมจริยธรรม จากการจัดการเรียนการสอนวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี โดยแบ่งออกเป็น ๓ แบบ ดังนี้ (๑) สอด แทรกคุณธรรมจริยธรรม (๒) จัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ และ (๓) ร่วมกันระหว่างการสอด แทรกคุณธรรมจริยธรรมและจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ภาคต้น ปีการศึกษา ๒๕๕๑ จำแนกห้องเรียนที่มีผล คะแนนทดสอบพื้นความรู้ก่อนทดลอง (Pre-test) ออกเป็นกลุ่ม คือ (๑) ห้องเรียนที่มีคะแนนฯ แจกแจง แบบปกติที่มีค่าเฉลี่ยและความแปรปรวนไม่แตกต่างกัน ซึ่งมี จำนวน ๔ ห้องเรียน สุ่มตัวอย่าง ๑ ห้องต่อ แบบวิธีการสอน (๒) ห้องเรียนที่มีคะแนนฯ แจกแจงแบบไม่ใช่แบบปกติ และมีค่ามัธยฐานแตกต่างกัน ๓ ห้องเรียน และ (๓) ห้องเรียนทั้งระดับรวม ๗ ห้องเรียน ใช้เวลาการสอนทั้งหมด ๑๕ สัปดาห์ ประเมิน ผลคุณธรรมจริยธรรมและทักษะการปฏิบัติงานทุกสัปดาห์ สอบวัดความรู้ความเข้าใจในสัปดาห์ที่ ๙ และ ๑๕ สุดท้ายทดสอบพื้นความรู้หลังการทดลอง (Post-test) ผลการศึกษา ได้แสดงผลชัดเจนว่า วิธีการสอนแบบจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือ ให้คะแนนในทุกด้านสูงที่สุด ได้แก่ คุณธรรมจริยธรรม ทักษะการปฏิบัติงาน และความรู้ความเข้าใจ นอกจากนี้ ยังพบว่า การให้กำลังใจและการชมจากครู ประกอบกับเทคนิคการเล่านิทานจะช่วยกระตุ้นให้ นักเรียนโดยเฉพาะในวัยนี้เกิดความสนใจและมีสมาธิได้อย่างดี แต่ครูต้องระวังเรื่องข้อจำกัดของเวลาที่มีอยู่ ดังนั้น หากมีการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมและนิทานที่เข้ากับบทเรียนได้ดี วิธีการสอนแบบ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมโดยใช้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบร่วมมือจะเป็นรูปแบบการสอน ที่ดีเยี่ยมสำหรับวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยีกับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ และผลที่ได้จาก การจัดการเรียนการสอนดังกล่าว ทำ ให้ผู้เรียนมีการพัฒนาเป็นลำ ดับในหลายด้าน โดยเฉพาะการมีแนวคิด ใหม่ๆ มีความรับผิดชอบ มีระเบียบวินัย มีความคิดสร้างสรรค์ และมีขั้นตอนในการทำงานดีขึ้นเป็นลำดับ


การนำเสนอรูปแบบสถาบันฟุตบอลสำหรับสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, สมบัติ เกตุสม, สมบูรณ์ อินทร์ถมยา, จุฑา ติงศภัทิย์ Oct 2013

การนำเสนอรูปแบบสถาบันฟุตบอลสำหรับสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย, สมบัติ เกตุสม, สมบูรณ์ อินทร์ถมยา, จุฑา ติงศภัทิย์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำเสนอรูปแบบสถาบันฟุตบอลสำหรับสโมสรฟุตบอลอาชีพ ในประเทศไทยและทำการศึกษาประเด็นองค์ประกอบของรูปแบบที่ส่งผลให้เกิดรูปแบบสถาบันฟุตบอล สำหรับสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทยโดยการวิจัยแบบบูรณาการ (Integrated research) ซึ่งเป็นการ วิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) และการวิจัยอนาคต (Future Research) ด้วยเทคนิคการวิจัย แบบ EDFR (Ethnographic Delphi Futures Research) บนพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน ผลการ วิจัยพบว่า รูปแบบสถาบันฟุตบอลสำหรับสโมสรฟุตบอลอาชีพในประเทศไทย ประกอบไปด้วย ๑๑ องค์ ประกอบ ได้แก่ ๑) ด้านวัตถุประสงค์ ๒) ด้านการบริหารจัดการ ๓) ด้านงบประมาณ ๔) ด้านสิ่งอำนวย ความสะดวก ๕) ด้านบุคลากร ๖) ด้านการคัดเลือกนักกีฬา ๗) ด้านการลงทะเบียน ๘) ด้านการจัดและ การพัฒนาหลักสูตร ๙) ด้านความรู้และการจัดการความรู้ ๑๐) ด้านการศึกษาและสวัสดิการ และ ๑๑) ด้านการส่งเสริมและเป็นสถาบันทำงานร่วมกับเครือข่าย


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดบรรษัทบริบาล, ศรินทร์รัศม์ เสริฐปัญญา, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Oct 2013

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดบรรษัทบริบาล, ศรินทร์รัศม์ เสริฐปัญญา, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑. ศึกษาสภาพและปัญหา ปัจจัยส่งเสริมและปัจจัยอุปสรรค ของการบริหารเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตาม แนวคิดบรรษัทบริบาล ๒. เพื่อศึกษาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคาม ของการบริหารฯ และ ๓. เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารฯ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสำรวจ จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝันสู่มาตรฐานสากลจำนวน ๒๔๘ โรงเรียน ทั่วประเทศและผู้บริหารองค์กรธุรกิจชั้นนำ จำนวน ๕ แห่ง และผู้บริหารสมาคมจดทะเบียนไทย ๑ แห่ง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดทำกลยุทธ์โดยใช้ เทคนิค SWOT Analysis และการวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า เมื่อพิจารณาในภาพรวมสภาพของ กระบวนการมีส่วนร่วมขององค์กรธุรกิจในการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามแนวคิดบรรษัทบริบาล CSR อยู่ในระดับน้อยมาก ปัญหาอยู่ในระดับน้อยที่สุด กลยุทธ์ประกอบด้วย ๔ กลยุทธ์หลัก ๑๓ กลยุทธ์ รอง และ ๙๕ วิธีกาดำเนินงาน ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ ๑. องค์กรธุรกิจร่วมบริหารวิชาการสู่ความเป็นเลิศ กลยุทธ์หลักที่ ๒ องค์กรธุรกิจร่วมสร้างเครือข่ายการบริหารงบประมาณเพื่อเพิ่มโอกาสทางการศึกษา กลยุทธ์หลักที่ ๓ องค์กรธุรกิจร่วมบริหารกิจกรรมเสริมหลักสูตรและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สู่มาตรฐานสากล และกลยุทธ์หลักที่ ๔ คือ องค์กรธุรกิจร่วมพัฒนาครูมืออาชีพอย่างต่อเนื่อง


กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, คำตัน วิชัยคำจร กิทธินส์, ปองสิน วิเศษศิริ, ศิริเดช สุชีวะ Oct 2013

กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, คำตัน วิชัยคำจร กิทธินส์, ปองสิน วิเศษศิริ, ศิริเดช สุชีวะ

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ และ ๒) พัฒนากลยุทธ์การ บริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา วิจัยแบบผสมผสาน กลุ่ม ตัวอย่าง ๓๖๖ โรงเรียนและโรงเรียนที ่ประสบความสำเร็จ จำนวน ๔ โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และเทคนิค PNI Modif ied ตรวจสอบกลยุทธ์จากผู้ทรง คุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ๒๘ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑. สภาพปัจจุบันของการบริหารการเปลี่ยนแปลงอยู่ ในระดับมาก (๓.๖๘) คุณธรรมของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (๓.๓๗) สภาพที่พึงประสงค์ การบริหาร การเปลี่ยนแปลงอยู่ในระดับมากที่สุด (๔.๗๓) คุณธรรมของนักเรียนอยู่ในระดับมากที่สุด (๔.๗๔) ค่าดัชนี ความต้องการจำเป็น การบริหารการเปลี่ยนแปลงมีค่าเฉลี่ย (PNIModif ied = 0.28) คุณธรรมของนักเรียน มีค่าเฉลี่ย (PNI Modif ied = 0.39) ๒. กลยุทธ์การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อส่งเสริมคุณธรรมของนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา มี ๔ กลยุทธ์ คือ ๑) กลยุทธ์เสริมสร้างความมั่นคงทางคุณธรรม ๒) กลยุทธ์เสริมสร้าง สมรรถนะบุคลากรด้านคุณธรรม ๓) กลยุทธ์พัฒนาวัฒนธรรมการเรียนรู้ทางคุณธรรม และ ๔) กลยุทธ์ เชื่อมโยงเครือข่ายคุณธรรม


กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สุรดา ไชยสงคราม, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2013

กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สุรดา ไชยสงคราม, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ ๑) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารเพื่อพัฒนา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา และ ๒) พัฒนากลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนา คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษา การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย กลุ่มตัวอย่าง ๓๙๖ โรงเรียน และโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ จำนวน ๗ โรงเรียน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย และ PNIModif ied ผลการวิจัยพบว่า ๑) สภาพการบริหาร เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนประถมศึกษามีค่าเฉลี่ยของสภาพที่พึงประสงค์สูงกว่า สภาพปัจจุบันในทุกด้าน และทุกประเด็น ๒) กลยุทธ์การบริหารเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของนักเรียนประถมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานมี ๓ กลยุทธ์ คือ (๑) กลยุทธ์การประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ (๒) กลยุทธ์การนำแผนสู่การปฏิบัติ เพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์และ (๓) กลยุทธ์การวางแผนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์


การเรียนการสอนสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิสตรีในสังคมประชาธิปไตย, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา Oct 2013

การเรียนการสอนสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิสตรีในสังคมประชาธิปไตย, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา

Journal of Education Studies

การเรียนการสอนสังคมศึกษาเพื่อส่งเสริมสิทธิสตรีในสังคมประชาธิปไตย มีวัตถุประสงค์ที่เน้น ให้เกิดเจตคติที่ดี และพฤติกรรมที่แสดงถึงความเคารพในสิทธิและศักดิ์ศรีของสตรี ซึ่งในปัจจุบันสตรีมี บทบาทสำคัญในการพัฒนาประเทศที่เท่าเทียมกับบุรุษ องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ ๘ มีนาคม เป็นวันสตรีสากล (International Women?s Day) โดยให้ความสำคัญของความเท่าเทียมกันของสตรีและ บุรุษ ในการให้ความคุ้มครองสิทธิและปกป้องสตรีจากการถูกเลือกปฏิบัติ การพัฒนาบุคคลให้เกิดความรู้ ทักษะ การปรับเปลี่ยนเจตคติที่ดีในเรื่องสิทธิมนุษยชนของ สตรี ถือว่าเป็นหน้าที่ของครูโดยเฉพาะครูสังคมศึกษา เพราะสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และ วัฒนธรรมมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนซึ่งรวมทั้งสิทธิสตรี ผู้เขียนได้วิเคราะห์มาตรฐาน การเรียนรู้สังคมศึกษา ตัวชี้วัดของสาระการเรียนรู้ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน และนำเสนอองค์ ประกอบในการจัดการเรียนการสอนซึ่งประกอบไปด้วย เนื้อหา การจัดการเรียนการสอน ทักษะพื้นฐาน ที่จำเป็น สื่อและแหลง่ การเรียนรู้ การประเมินผล และการเตรียมตัว ของครู รวมทั้งได้มีการเสนอตัวอย่าง กิจกรรมการเรียนรู้เป็นแนวทางการเรียนการสอนเพื่อสิทธิสตรี


ผลของการใช้กิจกรรมสนทนาตอนเช้าที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมและความรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, กนิษฐา พวงไพบูลย์ Oct 2013

ผลของการใช้กิจกรรมสนทนาตอนเช้าที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมและความรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, กนิษฐา พวงไพบูลย์

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่องการศึกษาผลของการใช้กิจกรรมสนทนาตอนเช้าที่มีต่อการพัฒนาคุณธรรมและ ความรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสำรวจค้นคว้า เกี่ยวกับคุณธรรมที่สมควรได้รับการพัฒนาในชั่วโมงสนทนาตอนเช้า ของเด็กนักเรียนโดยสร้างและทดลองใช้ชุดกิจกรรมสนทนาตอนเช้าเพื่อพัฒนาคุณธรรม และ ๒) เปรียบ เทียบระดับคุณธรรมและความรู้ของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ระหว่างกลุ่มที่ใช้กิจกรรมสนทนาตอนเช้าแบบมีชุดกิจกรรม ๑ ห้องเรียนจำนวน ๓๔ คน และไม่มีชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรม ๑ ห้องเรียนจำนวน ๓๔ คน โดยใช้เครื่องมือคือ ๑) แบบ บันทึกพฤติกรรมคุณธรรมของนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียน เพื่อน และครู ๒) แบบประเมินพฤติกรรม คุณธรรมของนักเรียนโดยผู้ปกครองนักเรียน เพื่อน และครู ๓) แบบสอบถามความคิดเห็น ๔) แบบบันทึก คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๘ กลุ่มสาระการเรียนรู้ ๕) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรม ๖) แผนการ จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณธรรม ในชั่วโมงสนทนาตอนเช้า เพื่อพัฒนาคุณธรรม ผลการทดลองมีดังนี้ ๑) คุณธรรมที่สมควรได้รับการพัฒนาในชั่วโมงสนทนาตอนเช้าทั้งสิ้น ประกอบด้วย ความซื่อสัตย์ ความอดทน ความมีระเบียบวินัยมีน้ำใจ ความสุภาพ ความประหยัด ความสะอาด และความสามัคคี ๒) เมื่อเปรียบเทียบระดับคุณธรรมและความรู้ของนักเรียนกลุ่มควบคุม และกลุ่มทดลองพบว่าระดับคุณธรรมและความรู้ของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม


การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ, ยุวลักษณ เส้นหวาน, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, วราภรณ์ บวรศิริ Oct 2013

การพัฒนารูปแบบและกลไกการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ, ยุวลักษณ เส้นหวาน, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, วราภรณ์ บวรศิริ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและนำเสนอกลไกการบริหารจัดการสถาบัน การพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ โดยใช้วิธี ๑) ร่างรูปแบบการบริหารจัดการสถาบันการพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ จากการเปรียบเทียบผลการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา รอบที่สอง (พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๓) กับยุทธศาสตร์สถาบันการพลศึกษา การสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน ๒๗ คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๕ และ การประเมินความต้องการจำเป็นกับผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน ๓๖๙ คน ๒) จัดประชุมจัดทำวงล้อ อนาคต ผู้บริหารและอาจารย์ จำนวน ๑๙ คน ๓) ประเมินร่างรูปแบบและกลไกฯ จากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๖ คน ๔) จัดประชุมโดยวิธีอิงผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๑๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวิเคราะห์เอกสาร เทคนิควงล้ออนาคต แบบประเมินร่างรูปแบบและกลไกฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี Modif ied Priority Needs Index (PNI Modif ied) และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการสถาบัน การพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วยการบริหาร ๘ ด้าน และกลไกในการบริหารจัดการสถาบัน การพลศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย ๘ วงล้อ ๓๘ กลไก


คิดนอกกรอบ: การยกระดับความเชี่ยวชาญของครูด้วยการจัดการความรู้, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง Oct 2013

คิดนอกกรอบ: การยกระดับความเชี่ยวชาญของครูด้วยการจัดการความรู้, อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการซิกซ์ซิกมาและการประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์, วิชัย เสวกงาม, อลิศรา ชูชาติ, สุวิมล ว่องวาณิช Oct 2013

การพัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการซิกซ์ซิกมาและการประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์, วิชัย เสวกงาม, อลิศรา ชูชาติ, สุวิมล ว่องวาณิช

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนากระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียน การสอนโดยการประยุกต์ใช้กระบวนการซิกซ์ซิกมาและการประเมินความต้องการจำเป็นแบบสมบูรณ์ ๒) ศึกษาประสิทธิภาพของกระบวนการและ ๓) ศึกษาปัจจัยเอื้อและปัญหาอุปสรรคในการใช้กระบวนการ ในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้พหุเทศะกรณีศึกษา ในโรงเรียนมัธยมขนาดเล็กและโรงเรียนมัธยมขนาดใหญ่ ระยะเวลา ๑๘ สัปดาห์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ๑) กระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น มีขั้นตอนของกระบวนการ ๗ ขั้น ได้แก่ ขั้นที่ ๑ การระบุปัญหา ขั้นที่ ๒ การสร้างทีมและการฝึกอบรมทีม ขั้นที่ ๓ การวัดขนาดของ ปัญหา ขั้นที่ ๔ การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ขั้นที่ ๕ การเลือกและการทดลองใช้วิธีการแก้ปัญหา ขั้นที่ ๖ การปรับปรุงวิธีการแก้ปัญหา และขั้นที่ ๗ การควบคุมไม่ให้เกิดปัญหาเดิมอีก ๒) ครูทั้งสอง โรงเรียนสามารถดำเนินการตามกระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้ทุกขั้นตอน ผลของการดำเนินงานพบว่า ครูมีการวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนรู้ตามทฤษฎีและหลักการ และมีการบันทึกหลังการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน นักเรียนสามารถเรียนรู้และ พัฒนาทักษะที่เป็นปัญหาได้ และนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของทักษะที่เป็นปัญหาหลังการใช้กระบวนการ เรียนการสอนสูงกว่าก่อนการใช้กระบวนการเรียนการสอนในทุกทักษะ ในการหาระดับคุณภาพของ ซิกมาพบว่า ระดับคุณภาพของซิกมาหลังการใช้กระบวนการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอนสูง กว่าระดับคุณภาพของซิกมาก่อนใช้กระบวนการในทุกระดับชั้น ๓) ปัจจัยเอื้อต่อการใช้กระบวนการ คือ (๑) การสนับสนุนของผู้บริหาร (๒) การวางแผนและติดตามโครงการอย่างต่อเนื่อง การบริหารโครงการ แบบมีส่วนร่วมและยืดหยุ่น และ (๓) ความร่วมมือของครูผู้ร่วมโครงการ ส่วนปัญหาอุปสรรคต่อการใช้ กระบวนการ คือ (๑) การเป็นโครงการใหม่ซึ่งต้องการการปรับตัวของครู และ (๒) ภาระงานจำนวนมาก ของครูและกิจกรรมจำนวนมากของโรงเรียน


การพัฒนาระบบองค์การเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, มุกดา เลขะวิพัฒน์, บุญมี เณรยอด, ศิริเดช สุชีวะ Oct 2013

การพัฒนาระบบองค์การเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, มุกดา เลขะวิพัฒน์, บุญมี เณรยอด, ศิริเดช สุชีวะ

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบองค์การเพื่อความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้บริหาร ครู และกรรมการสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ โปรแกรม LISREL version ๘.๗๒ นำผลมาพัฒนาเป็นระบบองค์การ มีการตรวจสอบความเป็นไปได้ และความสอดคล้องของระบบโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑) ปัจจัยป้อน ได้แก่ ด้านภาวะผู้นำ ด้านบุคลากรครูและบุคลากรทาง การศึกษา ๒) กระบวนการแปรรูป ได้แก่ การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติ การใช้ทักษะการบริหารและ การปฏิบัติ การบริหารบุคคล งบประมาณและระบบบริหารขององค์การ การติดต่อสื่อสาร ระบบบริหาร การศึกษาของ อปท. การบริหารเชิงกลยุทธ์ การบูรณาการสาระในหลักสูตรก้าวไปสู่อาเซียน การใช้ เทคโนโลยีทางการศึกษา อาคารสถานที่ แหล่งเรียนรู้ภายใน การมีส่วนร่วมของชุมชน องค์กรเอกชน ศาสนา สถาบันทางการศึกษาอื่นๆ การมีส่วนร่วมในการระดมทรัพยากร ความร่วมมือของเครือข่ายความ ร่วมมือ ๓) ผลผลิต ได้แก่ ความพึงพอใจ คุณภาพการปฏิบัติงานของครู ความเจริญงอกงามและมีคุณธรรม จริยธรรม คิดเป็นและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน


มุมห้องเรียน: การพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโดยองค์รวม, กนิษฐา พวงไพบูลย์ Oct 2013

มุมห้องเรียน: การพัฒนาคุณธรรมของนักเรียนโดยองค์รวม, กนิษฐา พวงไพบูลย์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล, เกสิณี ชิวปรีชา, ชญาพิมพ์ อุสาโห Jul 2013

การพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล, เกสิณี ชิวปรีชา, ชญาพิมพ์ อุสาโห

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหาร แบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนดีประจำตำบล ๒) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียน ดีประจำตำบล วิธีดำเนินการวิจัยเป็นแบบวิจัยและพัฒนา โดยมีขั้นตอนการวิจัย ๔ ขั้นตอน คือ (๑) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนดีประจำตำบล ๑๒๓ โรงเรียน โดยใช้แบบสอบถาม และหาค่าความต้องการจำเป็นในการใช้รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ๔ รูปแบบ (๒) ร่างรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล (๓) ประเมินความ เหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล โดย ผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรายบุคคล ๓๐ คน และประชุมกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ ๑๕ คน และ(๔) ปรับปรุงและนำเสนอ รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วม ประกอบด้วย ส่วนที่ ๑ ชื่อรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมสำหรับโรงเรียนดีประจำตำบล คือรูปแบบการบริหารแบบมีส่วน ร่วมโดยครูและชุมชนเป็นหลัก ส่วนที่ ๒ หลักการ แนวคิด และวัตถุประสงค์ของรูปแบบ ส่วนที่ ๓ องค์ ประกอบของการบริหาร ประกอบด้วย การบริหาร ได้แก่ การวางแผน การนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และ การประเมินผลโดยครูและชุมชนเป็นหลัก ส่วนที่ ๔ การนำรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมไปใช้และ เงื่อนไขของความสำเร็จ


การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ฤทัยวรรณ หาญกล้า, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Jul 2013

การพัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, ฤทัยวรรณ หาญกล้า, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และพัฒนากลยุทธ์การ บริหารสถานศึกษาระดับประถมศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูลศึกษาวิเคราะห์ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และตัวแทนชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็นจาก แบบสอบถาม โดยสอบถามจากผู้บริหาร ครู และตัวแทนชุมชน จำนวนกลุ่มละ ๓๖๐ คน และสัมภาษณ์ ผู้บริหาร ครู และตัวแทนชุมชน ใน ๔ ภูมิภาค จำนวนภูมิภาคละ ๓ คน จัดทำกลยุทธ์โดยใช้เทคนิค SWOT นำผลการวิเคราะห์มาจัดทำร่างกลยุทธ์และตรวจสอบกลยุทธ์โดยการประชุมสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า เมื่อพิจารณาในภาพรวมสภาพการดำเนินการในปัจจุบัน อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในภาพรวมสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก และกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาระดับประถม ศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ประกอบด้วย ๕ กลยุทธ์หลัก ๑๓ กลยุทธ์รอง และ ๖๘ วิธีการ ได้แก่ กลยุทธ์หลักที่ ๑ ริเริ่มสร้างสรรค์สัมพันธ์ชุมชน ประกอบด้วย ๒ กลยุทธ์รอง คือ ๑) มุ่งสร้างความตระหนักและพัฒนาศักยภาพด้านความรู้ ความสามารถ ๒) ส่งเสริม ความสัมพันธ์ร่วมกันในชุมชน กลยุทธ์หลัก ที่ ๒ เพิ่มพลังศักยภาพการวางแผน ประกอบด้วย ๓ กลยุทธ์ รอง คือ ๑) มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการร่วมมือในการวางแผน ๒) ส่งเสริมการวางแผนการทำงานอย่าง เป็นระบบ ๓) มุ่งส่งเสริมและสนับสนุนการทำงานในรูปแบบการเป็นคณะกรรมการร่วมกันในทุกฝ่าย กลยุทธ์หลักที่ ๓ การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานสู่ความเป็นเลิศ ประกอบด้วย ๓ กลยุทธ์รอง คือ ๑) มุ่งสร้างความตระหนักและความเข้มแข็งในการบริหารจัดการภายในสถานศึกษาและส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของชุมชน ๒) พัฒนาความสัมพันธ์ด้วยเครือข่ายผู้ปกครองเข้มแข็ง ๓) เสริมพลังสร้างเครือข่ายการ มีส่วนร่วมจากองค์กรภายนอก กลยุทธ์หลักที่ ๔ มุ่งสร้างคุณภาพการประเมินผลสู่ความเข้มแข็ง ประกอบ ด้วย ๓ กลยุทธ์รอง คือ ๑) …


การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน: กรณีศึกษาการยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา "สมรรถนะและผลลัพธ์ของนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑" ของประเทศสิงคโปร์, ทวิกา ตั้งประภา Jul 2013

การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน: กรณีศึกษาการยกระดับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนา "สมรรถนะและผลลัพธ์ของนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑" ของประเทศสิงคโปร์, ทวิกา ตั้งประภา

Journal of Education Studies

"สมรรถนะ" เป็นคุณลักษณะที่สำคัญที่ทำให้บุคคลสามารถทำงานได้ประสบความสำเร็จแตกต่างกัน ในบทความนี้ มุ่งนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะของนักเรียน โดย นำเสนอกรณีตัวอย่าง การยกระดับการจัดการศึกษาของประเทศสิงคโปร์ที่มุ่งพัฒนา "สมรรถนะและ ผลลัพธ์ของนักเรียนในศตวรรษที่ ๒๑ เพื่อเตรียมนักเรียนในเชิงรุกให้เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีความพร้อม ต่อการดำรงชีวิต การทำงานให้ประสบความสำเร็จในโลกยุคโลกาภิวัตน์ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงและมีการ พัฒนาอย่างรวดเร็วโดยมุ่งสร้างความสมดุลทั้งความรู้และศักยภาพที่สะท้อนคุณลักษณะที่สำคัญที่พร้อม รับกับอนาคต และยังคงความเป็นคนสิงคโปร์ที่มีจิตสำนึกของความเป็นรากเหง้าของสิงคโปร์โดยมีแนวคิด การพัฒนาสมรรถนะที่สร้างมาจาก "คุณค่าหลัก" ภายในบุคคล แล้วพัฒนา "สมรรถนะทางด้านสังคม และอารมณ์" เพี่อให้เกิด "สมรรถนะสำหรับศตวรรษที่ ๒๑ และ "ผลลัพธ์ที่ต้องการ" ทั้งนี้ ประเทศ สิงคโปร์มีการดำเนินการยกระดับการจัดการศึกษาเพี่อพัฒนานักเรียนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การกำหนด กรอบแนวคิดใหม่ของสมรรถนะของผู้เรียน การปรับปรุงหลักสูตร การพัฒนาครู การกำหนดแนวทางและ เครี่องมือการวัดผลประเมินผล รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพของวิขาพละ ศิลปะ และดนตรีให้มีความ เข้มแข็งมากขึ้น นอกจากนี้มีการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน อาคารสถานที่ รวมทั้งเครี่องมือ-อุปกรณ์ ต่างๆ ในการพัฒนานักเรียน


แนะนำหนังสือ, นิภาพร กุลสมบูรณ์, อัมพิกา แสงปิ่น, จิรัฏฐา จารุพิสิฐธร, เพิ่มศิริ เปียแก้ว Jul 2013

แนะนำหนังสือ, นิภาพร กุลสมบูรณ์, อัมพิกา แสงปิ่น, จิรัฏฐา จารุพิสิฐธร, เพิ่มศิริ เปียแก้ว

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สุธาสินี แสงมุกดา, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Jul 2013

การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สุธาสินี แสงมุกดา, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) กำหนดองค์ประกอบภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ๒) พัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ๓) กำหนด เกณฑ์ปกติวิสัยของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารจำนวน ๖๘๙ คนและครูจำนวน ๒๕๕ คนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการ หาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. องค์ประกอบภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑) การตระหนักในตนเอง ๒) การมีกฎเกณฑ์ศีลธรรมของตนเอง ๓) ความโปร่งใสเชิงสัมพันธ์ ๔) กระบวนการที่สมดุล และ ๕) การเรียนรู้จากอนาคต โดยโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำที่แท้จริงของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (?2 =171.07, df = 159) โดยองค์ประกอบที่ ๕ การเรียนรู้จากอนาคต มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบมากที่สุด ๒. เครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นมาตรประมาณค่า ๕ ระดับ ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งการแยกแต่ละองค์ประกอบ และแบบรวมทั้ง ๕ องค์ประกอบ โดยแบ่งออก เป็น ๒ ชุด คือ แบบวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้บริหาร และสำหรับ ครู ผลการประเมินแบบวัดพบว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าความเที่ยงรวมทั้งฉบับมีค่า ๐.๙๐๔๓ ๓. เกณฑ์ปกติวิสัยของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าเกณฑ์ปกติ รวม ผู้บริหารส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๒๖.๘๘) มีคะแนนภาวะผู้นำที่แท้จริงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนเกณฑ์ ปกติขององค์ประกอบย่อย พบว่าองค์ประกอบที่ ๑ และ ๓ ผู้บริหารส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๒๘.๐๖, ๒๙.๒๕ ตามลำดับ) มีคะแนนภาวะผู้นำที่แท้จริงอยู่ในระดับตํ่า ส่วนองค์ประกอบที่ ๒, …


การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, ปราโมทย์ พรหมขันธ์ Jul 2013

การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, ปราโมทย์ พรหมขันธ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาความสามารถของครู ด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (๒) เพื่อศึกษาความสามารถ ของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา และ (๓) เพื่อนำเสนอกระบวนการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประจำการของสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาลำปาง เขต ๓ จำนวน ๒๐ คน รูปแบบการวิจัย คือ แบบศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดครั้งเดียว (The one-group posttest - only design) ผลการวิจัยพบว่า (๑) กระบวนการพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบ และสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการออกแบบ ขั้นการพัฒนา ขั้นการนำไปทดลองใช้ และขั้นการประเมินผล โดยมีใบงานที่เป็นภาระงานเพื่อ กำหนดกิจกรรม จำนวน ๑๖ ใบงาน (๒) ครูประเมินตนเองด้านความสามารถในการออกแบบและสร้าง นวัตกรรมการศึกษา อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก (๓) ครูมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมการ ฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก (๔) ผลการสะท้อนคิดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูส่วนใหญ่คาดหวังที่จะ มีความสามารถในการผลิตสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ครูได้รับความรู้ตามที่คาดหวังไว้ และได้รับแนวคิดการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่เป็น ระบบมากยิ่งขึ้น ครูส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้จัดการฝึกอบรมแจ้งทรัพยากรในการผลิตสื่อการเรียน การสอนในลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนล่วงหน้า และจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเทคนิคการจัดทำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเกี่ยวกับรูปแบบที่จะนำไปใช้สอนจริงและสอนทฤษฎีการเรียนรู้เพิ่มเติม และครูส่วนใหญ่ วางแผนที่จะนำทักษะและแนวความคิดในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา ไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย โดยใช้สื่อประสม เพื่อให้นักเรียนเกิด ความเข้าใจในเนื้อหาง่ายขึ้น


เปิดประเด็น, มิ่งขวัญ คงเจริญ Jul 2013

เปิดประเด็น, มิ่งขวัญ คงเจริญ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม, อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์, จารุวรรณ สกุลคู, สุชาดา สุธรรมรักษ์, จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ Jul 2013

การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม, อัมพวัลย์ วิศวธีรานนท์, จารุวรรณ สกุลคู, สุชาดา สุธรรมรักษ์, จักรกฤษณ์ นรนิติผดุงการ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษา ระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม ใน ๓ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ด้าน กระบวนการ และด้านผลผลิต ซึ่งมีกระบวนการวิจัย ๒ ขั้นตอนคือ ขั้นตอนที่ ๑ การกำหนดองค์ประกอบ และตัวบ่งชี้หลักของคุณภาพการจัดการศึกษา และขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนาตัวบ่งชี้ย่อยของคุณภาพการ จัดการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ๕ ท่าน คณะกรรมการบริหารหลักสูตร และนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ศึกษาในปีการศึกษา ๒๕๕๕ จาก จำนวน ๘๒ คน ร้อยละ ๘๒.๐๐ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบ สัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การแจกแจงค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่า คะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีกับเกณฑ์ที่กำหนด และการทดสอบทีแบบกลุ่มตัวอย่าง ที่อิสระจากกัน ผลการวิจัย พบว่า ๑. องค์ประกอบตัวบ่งชี้คุณภาพการจัดการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาศิลปวัฒนธรรม มี ๓ องค์ประกอบ ๙ ตัวบ่งชี้หลัก และ ๑๗๑ ตัวบ่งชี้ย่อย องค์ประกอบหลักทั้งสามมีดังนี้ องค์ประกอบ ด้านปัจจัยนำเข้า มี ๕ ตัวบ่งชี้หลัก ๑๑๔ ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ คุณภาพของอาจารย์ ๒๓ ตัว คุณภาพของ นิสิตนักศึกษา ๑๘ ตัว คุณภาพของผู้บริหารหลักสูตร ๑๒ ตัว คุณภาพของหลักสูตร ๑๙ ตัว และคุณภาพ ของทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ ๔๒ ตัว องค์ประกอบด้านกระบวนการ มี ๒ ตัวบ่งชี้หลัก ๓๒ ตัวบ่งชี้ย่อย ได้แก่ คุณภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ ๑๗ ตัว …


การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, พรเทพ สรนันท์ Jul 2013

การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, พรเทพ สรนันท์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ และพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลสุวรรณภูมิ การวิจัยดำเนินการในลักษณะการวิจัยและพัฒนา ซึ่งมีการดำเนินการวิจัยมี ๒ ขั้นตอน ขั้นตอนที่ ๑ ศึกษาสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามการบริหาร งานวิชาการ แบ่งออกเป็น แบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถามซึ่งเป็นแบบสอบถาม ประเภทตรวจสอบรายการ และแบบสอบถามเกี่ยวกับสภาพและปัญหาการบริหารงานวิชาการซึ่งเป็น แบบสอบถามประเภทมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ การเก็บข้อมูลการวิจัยมีลักษณะเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ ขั้นตอนที่ ๒ การพัฒนารูปแบบการบริหารงานวิชาการ ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นจากข้อมูลการ สำรวจความคิดเห็น การวิเคราะห์เอกสารและการสนทนากลุ่ม พร้อมกับเอกสารประกอบรูปแบบ และ แบบประเมินรูปแบบที่ใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า ๕ ระดับ ผลการวิจัย พบว่า จากการศึกษาสภาพและปัญหาที่พบจากการบริหารงานวิชาการทั้ง ๖ ด้าน ได้แก่ ด้านหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านส่งเสริมและควบคุมงานวิชาการ ด้านการบริการ วิชาการ ด้านการวัดและประเมินผล ด้านการนิเทศและพัฒนาบุคลากร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่า เฉลี่ยเท่ากับ ๓.๕๘ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่มีเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานวิชาการทั้ง ๖ ด้านไม่แตกต่างกันกัน ส่วนการพัฒนา รูปแบบการบริหารงานวิชาการนั้นจะนำผลการศึกษาสภาพและปัญหา ตลอดจนการวิเคราะห์กระบวนการ พัฒนาการบริหารงานวิชาการ โดยใช้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์และการบริหารงานคุณภาพมาเป็นกรอบ ในการร่างรูปแบบการบริหารงานวิชาการซึ่งเป็นรูปแบบในเชิงความคิด (conceptual model) มีส่วน ประกอบดังนี้ (๑) การบริหารงานวิชาการใน ๖ ด้าน (๒) กำกับการบริหารเชิงนโยบายในแต่ละด้านโดย ใช้การบริหารงานเชิงกลยุทธ์ ๖ ขั้น และ (๓) การกำหนดวิธีปฏิบัติในการบริหารงานวิชาการโดยใช้การ บริหารงานคุณภาพกับองค์ประกอบย่อยที่เป็นผลจากการวิจัย และผลการประเมินรูปแบบการบริหารงานวิชาการมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิมีความเห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๗๖