Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 87

Full-Text Articles in Education

A Needs Assessment Study In Developing Cultural Awareness Of Undergraduate Students, Panchalee Wiangying, Jaitip Na-Songkhla Oct 2020

A Needs Assessment Study In Developing Cultural Awareness Of Undergraduate Students, Panchalee Wiangying, Jaitip Na-Songkhla

Journal of Education Studies

This research aims to study the need to develop cultural awareness among undergraduate students in Thailand. The sample group comprised 400 undergraduate students under the Office of the Higher Education Commission (OHEC), Ministry of Education, Bangkok, who were recruited by the purposive sampling method. Applied tools used to collect data consisted of a questionnaire which elicited the students’ opinions about critical media literacy, multiculturism, virtual worlds and infographics of undergraduate students, and included a checklist of 45 items, rating scales and open-ended questions. Findings were presented as percentage, mean and standard deviations, and modified Priority Needs Index. The results show …


Creative Leadership For Primary School Principals To Promote Teachers' Creativity In Guangxi, China, Qingling Zhang, Pruet Siribanpitak, Nuntarat Charoenkul Oct 2020

Creative Leadership For Primary School Principals To Promote Teachers' Creativity In Guangxi, China, Qingling Zhang, Pruet Siribanpitak, Nuntarat Charoenkul

Journal of Education Studies

The objectives of this research were to study the conceptual framework and the current and desirable state of creative leadership by primary school principals to promote teachers’ creativity. This study employed mixed-method research and involved 636 school principals and teachers from 106 schools as samples. The instruments used in this study were a questionnaire and a conceptual framework evaluation form of suitability and feasibility. The data was analysed by using frequency, percentage, average, standard deviation. The results showed that 1) the conceptual framework of creative leadership by primary school principals to promote teachers’ creativity consists of roles of creative leadership …


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐาณรงค์ ทุเรียน, สุธนะ ติงศภัทิย์ Oct 2020

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐาณรงค์ ทุเรียน, สุธนะ ติงศภัทิย์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้ แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตในสังกัดมหาวิทยาลัยรัฐของประเทศไทย จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลองที่ ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคม เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน วันละ 1 ชั่วโมง จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุม รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษา ตามรูปแบบปกติจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะทางสังคม วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะทาง สังคมหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05


หลักสููตรการรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการบููรณาการเนื้อหากับภาษา และการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภูริชญา เผือกพรหม, ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ Oct 2020

หลักสููตรการรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการบููรณาการเนื้อหากับภาษา และการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภูริชญา เผือกพรหม, ฤดีรัตน์ ชุษณะโชติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรการรู้ภาษาอังกฤษตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหากับภาษาและการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช จํานวน 36 คน ใช้เวลาในการทดลอง 18 สัปดาห์ รวม 36 คาบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบวัดการรู้ภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรการรู้ภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) สรุปหัวเรื่องที่จะทําโครงงาน 2) กําหนดรูปแบบการนําเสนอชิ้นงานสุดท้าย 3) ออกแบบการทําโครงงาน 4) ปฏิบัติการรวบรวมข้อมูล 5) วิเคราะห์และ แยกแยะข้อมูล 6) สื่อความหมายรายงานข้อมูล 7) สรุปและประเมินผล หลังการนําหลักสูตรไปใช้ พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรู้ภาษาอังกฤษสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ผลการประเมินความคิดเห็นของนักเรียน ครู และผู้บริหารสถานศึกษา เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรอยู่ในระดับดี โดยมีข้อเสนอแนะในการนําหลักสูตรไปใช้ ได้แก่ ครูควรปรับเปลี่ยนเนื้อหาจากท้องถิ่นภาคใต้เป็นเนื้อหาท้องถิ่นของตนเอง และควรกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแรงจูงใจในการทําโครงงานการแสวงหาข้อมูล และดึงศักยภาพของตนเองมาใช้ในการทําโครงงานได้อย่างเต็มที่


การบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสําหรับประชาคมอาเซียน, อิศเรศ จันทร์เจริญ, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Oct 2020

การบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสําหรับประชาคมอาเซียน, อิศเรศ จันทร์เจริญ, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสําหรับประชาคมอาเซียนเก็บรวบรวมข้อมูลจากวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชน จํานวน 218 สถาบัน ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหาร จํานวน 176 คน ครู จํานวน 184 คน รวมทั้งสิ้น 360 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารทุนมนุษย์ของวิทยาลัยอาชีวศึกษาเอกชนตามแนวคิดคุณลักษณะนักศึกษาอาชีวศึกษาสําหรับประชาคมอาเซียน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการบริหารผลงานและค่าตอบแทน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีสภาพที่พึงประสงค์ในระดับมากที่สุด ได้แก่ การพัฒนาบุคลากร และการสรรหาและคัดเลือกบุคลากร ส่วนการบริหารผลงานและค่าตอบแทน มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก


ผลของการใช้โปรแกรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายตามทฤษฎีการกระทําด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันภาวะอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ําหนักเกิน, อานนท์ คงสุนทรกิจกุล, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2020

ผลของการใช้โปรแกรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายตามทฤษฎีการกระทําด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันภาวะอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ําหนักเกิน, อานนท์ คงสุนทรกิจกุล, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการบริโภคอาหารและการออกกําลังกายตามทฤษฎีการกระทําด้วยเหตุผลเพื่อป้องกันภาวะอ้วนของนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน ตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 4-6 ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จํานวน 40 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มทดลองจากโรงเรียนวัดพระยายัง จํานวน 20 คน และกลุ่มควบคุมจากโรงเรียนวัดดวงแข จํานวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดการปฏิบัติตนในด้านการบริโภคอาหารและการออกกําลังกาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตนของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) หลังการทดลอง ค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติตนของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวของกลุ่มทดลองก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างอย่างกันมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ค่าเฉลี่ยของน้ำหนักตัวหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05


รูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชน, ภัทรา วยาจุต, อาชัญญา รัตนอุบล, วีรฉัตร์ สุปัญโญ Oct 2020

รูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตสำหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชน, ภัทรา วยาจุต, อาชัญญา รัตนอุบล, วีรฉัตร์ สุปัญโญ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตสําหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชน เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ดําเนินการวิจัย ร่วมกันระหว่างผู้วิจัยและคณะทํางานองค์กรชุมชนทรัพย์สินพัฒนา ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นการวางแผนร่วมกัน 2) ขั้นการลงมือปฏิบัติตามแผน 3) ขั้นการสังเกตผล และ 4) ขั้นการสะท้อนผลลัพธ์ พื้นที่ชุมชนที่ศึกษา ได้แก่ ชุมชนทรัพย์สินพัฒนา แขวงแสมดํา เขตบางขุนเทียน กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการศึกษาตลอดชีวิตสําหรับเด็กและเยาวชนนอกระบบโดยองค์กรชุมชน เป็นแบบจําลองที่แสดงความสัมพันธ์ของโครงสร้างต่าง ๆ ของการจัดการศึกษาตลอดชีวิต พัฒนาขึ้นอย่างสอดคล้องกับสภาพปัญหา ปัจจัยสาเหตุ และความต้องการของเด็กและเยาวชนนอกระบบของชุมชน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก คือ 1) ความเชื่อ เกี่ยวข้องกับความเชื่อในศักยภาพของเด็กและเยาวชนนอกระบบ ประกอบด้วย ปรัชญา แนวคิด และหลักการ 2) บริบทของรูปแบบ ประกอบด้วย บริบทของปัญหา และเป้าหมายที่พึงประสงค์ 3) คน หมายถึง ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับรูปแบบ ได้แก่ กลุ่มเป้าหมาย ผู้จัดการศึกษา และเครือข่ายสนับสนุน 4) แผนการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ประกอบด้วย เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะและความรู้ด้านอาชีพ กิจกรรมการเรียนรู้ ทรัพยากรสนับสนุนการเรียนรู้ และการประเมินผล และ 5) วิธีการจัดการศึกษาตลอดชีวิต แบ่งเป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ มีแบบแผน กึ่งแบบแผน ไม่มีแบบแผน


การพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม, ฐาปณีย์ โลพันตุง, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พถุทธิ์ สิริบรรณพิทักษ์ Oct 2020

การพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม, ฐาปณีย์ โลพันตุง, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พถุทธิ์ สิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิดกิจการเพื่อ สังคม ใช้การวิจัยผสมวิธี (mixed-method research) ตัวอย่าง คือ โรงเรียนขนาดเล็กสังกัด สพฐ. ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารโรงเรียนและครู เครื่องมือ คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน และสภาพพึงประสงค์ แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของระบบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified)
ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กตามแนวคิด กิจการเพื่อสังคม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลางและระดับมาก ตามลำดับ และผลที่ได้ของการพัฒนาระบบ บริหารฯ คือ ระบบบริหารโรงเรียนขนาดเล็กที่เน้นนโยบายการจัดเรียนการสอนและกิจกรรมเสริมหลักสูตร ตามแนวคิดกิจการเพื่อสังคม 3 ประการ มีองค์ประกอบ คือ นโยบาย การจัดการเรียนการสอนและกิจกรรม เสริมหลักสูตร แนวคิดกิจการเพื่อสังคม 3 ประการคือ 1) มีการนำผลกำไรจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลับ ไปลงทุนต่อยอดกิจการและสร้างประโยชน์แก่ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม 2) มีการผลิตสินค้า/ บริการที่ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องเพื่อจำหน่าย และ 3) มีการสร้างและพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหา และพัฒนาสังคม


กรอบมโนทัศน์ความเครียดจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในนักศึกษาวิชาชีพครู, ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ Oct 2020

กรอบมโนทัศน์ความเครียดจากการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในนักศึกษาวิชาชีพครู, ฐิติกาญจน์ บุญรักษา อินทาปัจ

Journal of Education Studies

ยุคสมัยปัจจุบันความเครียดกลายเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ทั้งความเครียดจากการดำรงชีวิต และความเครียดจากการทำงาน ครูถือเป็นอาชีพที่ประสบกับความเครียดสูงในการทำงาน โดยเฉพาะ ช่วงต้นของอาชีพเช่นเดียวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาวิชาชีพครู ซึ่งมีสาเหตุความเครียด ทั้งปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) การขาดความแม่นยำทางทฤษฎีในการฝึกปฏิบัติการสอน 2) การบริหารจัดการ เวลา 3) การเกิดความรู้สึกทางลบ และ 4) การมีปัญหาสถานะทางการเงิน และปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) การมีภาระงานหนัก 2) การควบคุมชั้นเรียน 3) การอยู่ภายใต้บุคคลที่มีสถานะสูงกว่า และ (4) บรรยากาศภายในโรงเรียน โดยมีวิธีจัดการความเครียดทั้งมิติบุคคลมิติวิชาชีพมิติสังคม และมิติสถาบัน และแนวทางการสนับสนุนนักศึกษาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) การทบทวน ความรู้ด้านเนื้อหา 2) การอบรมความรู้เสริมเกี่ยวกับความเครียดในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู 3) การอบรมการเสริมพลังในตนเอง และ 4) การเปิดโอกาสให้นักศึกษาวิชาชีพครูได้พบกับครูพี่เลี้ยงและ อาจารย์นิเทศก์ก่อนการเริ่มฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูและปัจจัยสนับสนุนภายนอก ได้แก่ 1)การประเมิน พฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียนในชั้นเรียนด้วยเครื่องมือประเมินที่มีคุณภาพ 2) การส่งเสริมให้จ่าย ค่าตอบแทนแก่นักศึกษาวิชาชีพครูตามความเหมาะสม และ 3) การเสริมสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์


Development Of A Curriculum To Enhance Informative Speaking Ability Based On Competency-Based Approach In English For Upper Secondary School Students, Nonglak Pangroean, Wipawan Wongsuwan Kongpow, Sumalee Chinokul Oct 2020

Development Of A Curriculum To Enhance Informative Speaking Ability Based On Competency-Based Approach In English For Upper Secondary School Students, Nonglak Pangroean, Wipawan Wongsuwan Kongpow, Sumalee Chinokul

Journal of Education Studies

The principle purposes of this research and development study were to develop and evaluate the effectiveness of Thailand’s secondary school curriculum, and enhance the informative English speaking skills of secondary school students using a competency-based approach. The study comprised four main stages, namely: 1) Preparation; 2) Development; 3) Implementation; and 4) Evaluation. The curriculum was verified and tested by experts, and a one-group pre-test/ post-test design was used to investigate the effectiveness of the curriculum. The samples consisted of 40 grade 11 students in the 2015 academic year. The research instruments employed consisted of an achievement test, and assessment of …


การนําเสนอกระบวนการผลิตนักออกแบบระดับปฏิบัติการสําหรับสถาบันอาชีวศึกษา, ศมาภร การะเกตุ, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ Oct 2020

การนําเสนอกระบวนการผลิตนักออกแบบระดับปฏิบัติการสําหรับสถาบันอาชีวศึกษา, ศมาภร การะเกตุ, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์

Journal of Education Studies

วิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและความต้องการคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักออกแบบระดับปฏิบัติการตามความคิดเห็นของสถานประกอบการ และนําเสนอกระบวนการผลิตนักออกแบบระดับปฏิบัติการสําหรับสถาบันอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่ามัธยฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอแนะและความคิดเห็นเพิ่มเติม ใช้วิธีวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า ด้านนโยบาย ควรสร้างนักออกแบบระดับปฏิบัติการให้มีความคิดสร้างสรรค์ประกอบกับการเป็นผู้ชํานาญการ การสนับสนุนเวทีการประกวด การร่วมมือในการพัฒนาครูผู้สอนด้านทักษะปฏิบัติ รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการประเมินร่วมกับครูผู้สอนด้านกําหนดเนื้อความรู้และทักษะในรายวิชาการออกแบบ และร่วมประเมินทักษะการฝึกงานของผู้เรียน มีกระบวนการคัดเลือกผู้เรียนที่มีทักษะความสามารถทางศิลปะเป็นพื้นฐาน เพื่อให้แสดงถึงความสนใจในด้านการออกแบบการเรียนการสอนต้องพัฒนาให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ รวมทั้งมีสมรรถนะทักษะวิชาชีพทางด้านการออกแบบที่สนองต่อสถานประกอบการ เน้นการออกแบบเชิงธุรกิจที่สามารถนําไปจัดแสดงที่สาธารณะเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้ชมผลงาน


การเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการจัดประสบการณ์ภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา, อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว, ฉัตรชยา รอดระหงษ์ Oct 2020

การเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการจัดประสบการณ์ภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา, อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว, ฉัตรชยา รอดระหงษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านภาษาและการรู้หนังสือโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ในด้านการออกแบบแผนการจัดประสบการณ์และความสามารถในการจัดประสบการณ์ 2) ศึกษาทักษะด้านภาษาของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการฟัง พูดอ่าน เขียน และการสื่อสาร ตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จํานวน 3 คน และเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ในโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จํานวน 70 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยด้วยกระบวนการ PLC และ แบบประเมินทักษะทางภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยร่วมกับการสังเกตผลงานของเด็กปฐมวัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีสมรรถนะในการจัดประสบการณ์ภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยในระดับมากทุกตัวบ่งชี้ โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้ (M = 4.00) มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (M = 3.89) และ 2) หลังเรียน ร้อยละของเด็กที่มีทักษะทางภาษาสูงขึ้น คิดเป็น 97.1 โดยการเล่าเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวอื่น มีค่าร้อยละต่ําที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.1


ปณิธานพระโพธิสัตว์และการบริหารสถานศึกษา : กรณีโรงเรียนมัธยมฉือจี้สังกัดมหาวิทยาลัยฉือจี้, เมืองฮวาเหลียน, ไต้หวัน, ธนดล ภูธนะศิริ Oct 2020

ปณิธานพระโพธิสัตว์และการบริหารสถานศึกษา : กรณีโรงเรียนมัธยมฉือจี้สังกัดมหาวิทยาลัยฉือจี้, เมืองฮวาเหลียน, ไต้หวัน, ธนดล ภูธนะศิริ

Journal of Education Studies

บทความนี้ ผู้เขียนเรียบเรียงจากประสบการณ์การไปศึกษาดูงานที่โรงเรียนมัธยมฉือจี้ ประเทศ ไต้หวัน และได้สังเคราะห์ข้อมูลเพิ่มเติมจากเอกสารต่าง ๆ พบว่าหัวใจของการบริหารโรงเรียนมัธยมฉือจี้ คือการคิดแบบพระโพธิสัตว์และมองผู้อื่นเป็นพระโพธิสัตว์ ทำให้ครูและบุคลากรต้องสุภาพ ให้เกียรติและ มีเมตตาต่อลูกศิษย์เหมือนพระโพธิสัตว์ที่มีเมตตากรุณาต่อทุกสรรพสัตว์โดยไม่มีแบ่งแยก ครูฉือจี้จะ ถูกคัดเลือกอย่างระมัดระวังและได้รับการพัฒนาทักษะความรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนการสอนด้านหนึ่งปฏิบัติ ตามหลักสูตรแห่งชาติ แต่อีกด้านก็เน้นสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนพัฒนาหัวใจพระโพธิสัตว์ โดยปลูกฝังเรื่องคุณธรรมและจิตอาสาผ่านหมวดวิชา "วัฒนธรรมมนุษย์" ได้แก่ วิถีพู่กันจีน วิถีการชงชา วิถีจัดดอกไม้ นอกจากนี้ โรงเรียนยังปลูกสงให้นักเรียนมีระเบียบวินัย รู้จักรับผิดชอบต่อตนเองและอยู่ร่วมกับผู้อื่น มีการให้รางวัลนักเรียนที่มีผลการเรียนดีด้วยการให้ทำความสะอาดห้องน้ำ อาคารเรียนมีลักษณะทาง สถาปัตยกรรมสอดคล้องกับคิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น แฝงคติธรรมและหลักคิดของพระโพธิสัตว์ตามส่วน ต่าง ๆ ของอาคาร ใส่ใจต่อระบบนิเวศของโรงเรียนและพื้นที่โดยรอบ โรงเรียนไม่มีภารโรง แต่เป็นครูและนักเรียนที่ช่วยกันดูแลรักษาความสะอาดของโรงเรียน


ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเรื่องภัยธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, เจนจิรา ประภาสะวัต, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2020

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเรื่องภัยธรรมชาติ เพื่อพัฒนาทักษะการตัดสินใจและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร, เจนจิรา ประภาสะวัต, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาเรื่องภัยธรรมชาติที่มี ต่อทักษะการตัดสินใจและทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่าง คือ นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนประถมทวิธาภิเศก จำนวน 60 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัด การเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษา จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดทักษะการตัดสินใจและแบบวัดทักษะการแก้ปัญหา วิเคราะห์ ข้อมูลโดยการหาเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยสถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการตัดสินใจและทักษะแก้ปัญหาของกลุ่มทดลองหลัง การทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะ การตัดสินใจและทักษะแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลอง 2) ค่าเฉลี่ย คะแนนทักษะการตัดสินใจและทักษะแก้ปัญหาหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ณชนก หล่อสมบูรณ์, โสมฉาย บุญญานันต์ Oct 2020

ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ณชนก หล่อสมบูรณ์, โสมฉาย บุญญานันต์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้คิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศศิภา จำนวน 16 คน ใช้ระยะเวลาในการทดลอง 6 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง ครั้งละ 100 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ศึลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน 5) แบบสอบถาม ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศึลปศึกษาบนฐานทางเลือก และ 6) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศึลปศึกษาบนฐานทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ repeated measures ANOVA และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลังทดลอง กลุ่มเป้าหมายมีพัฒนาการทักษะการคิด อย่างมีวิจารณญาณและพัฒนาการการสร้างสรรค์ผลงานสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดเพชรบุุรี, กฤษฎา วรพิน Oct 2020

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริงเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดเพชรบุุรี, กฤษฎา วรพิน

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาประสิทธิผลของกระบวนการเรียนการสอน ตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ระดับประถมศึกษาในจังหวัดเพชรบุรี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะ แรกเป็นการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดการเรียนรู้ตามสภาพจริง และระยะที่ 2 เป็น การทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 62 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 32 คน และกลุ่มควบคุม 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัด ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการเรียนการสอนที่ พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ชั้นตอน ได้แก่ ขั้นสร้างสถานการณ์ปัญหาในชีวิตจริง ขั้นศึกษาข้อมูลของ สถานการณ์ปัญหาที่กำหนดให้ขั้นลงมือปฏิบัติและแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการกลุ่ม ขั้นอภิปรายแลกเปลี่ยน เรียนรู้แนวทางการแก้ปัญหา ขั้นหาข้อสรุปทั่วไปที่เป็นแบบแผนในการแก้ปัญหา และขั้นขยายองค์ความรู้ เพื่อการประยุกต์ใช้ 2) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ หลังการทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์, จุฑามาศ แสงงาม, ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์, สิริรัตน์ หิตะโกวิท, รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์ Oct 2020

การประเมินความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์, จุฑามาศ แสงงาม, ดารุณี ทิพยกุลไพโรจน์, สิริรัตน์ หิตะโกวิท, รุ่งภรณ์ กล้ายประยงค์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะ ศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ตามการรับรู้ของอาจารย์ 2) ประเมินความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิง รุกของคณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ ตัวอย่าง คือ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ จำนวน 301 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบการตอบสนองคู่ที่มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ ตั้งแต่มากที่สุดถึงน้อยที่สุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่าดัชนี PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอนสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และการประเมิน ผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ผู้เรียน (M = 3.67, SD = 0.80) และ 2) ความต้องการจำเป็นของการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของอาจารย์คณะศึกษาศาสตร์/ ครุศาสตร์ พบว่า มีความต้องการจำเป็นในด้านผู้เรียน กิจกรรมการเรียนการสอน และการประเมินผล การเรียนรู้ ตามลำดับ (PNImodified = 0.22, 0.16 และ 0.16 ตามลำดับ)


A Study Of Problems Related To Volunteer Camp Activity Arrangements For Students In Higher Education, Kajornpong Poolsawad, Naowanit Songkram, Jintavee Khlaisang Oct 2020

A Study Of Problems Related To Volunteer Camp Activity Arrangements For Students In Higher Education, Kajornpong Poolsawad, Naowanit Songkram, Jintavee Khlaisang

Journal of Education Studies

This research aimed to study the problems related to volunteer camp arrangements of lecturers, experts and students in higher education. The handling of camp problems were investigated using explanatory sequential design (quan->QUAL) and consisted of 2 steps: the first step used quantitative data obtained from 480 questionnaires, which were surveyed from students who arranged camps. The second step was conducted using qualitative data via interviewing of 5 students who arranged camps and 5 lecturers who were responsible for camp arrangements. The data was analyzed using descriptive analysis (frequency distribution, percentages), and demand and qualitative data analyses. The research results …


ประสิทธิภาพของการใช้แบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลในการสอนวิชาวิธีการศึกษาธรณีวิทยาภาคสนาม, สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล Oct 2020

ประสิทธิภาพของการใช้แบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลในการสอนวิชาวิธีการศึกษาธรณีวิทยาภาคสนาม, สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล

Journal of Education Studies

ความสามารถด้านการมองเห็นได้เชิงมิติและเชิงวัตถุถูกใช้อย่างมากในการทํางานธรณีวิทยาภาคสนาม อย่างไรก็ตาม ในชั้นเรียนธรณีวิทยานิยมใช้ภาพถ่าย แผนภาพ และแผนที่ เป็นสื่อประกอบการสอน โดยสิ่งที่แสดงในสื่อเป็นผลจากการแปลงภาพสามมิติให้อยู่ในรูปของสองมิติ การใช้ภาพลักษณะนี้อาจไม่เป็นการกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาความสามารถด้านการมองเห็นได้เชิงมิติ ทําให้ผู้ศึกษาไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลเกี่ยวกับระยะ ขนาดและการเอียงเทของชั้นหินที่ได้รับก่อนออกภาคสนามกับสิ่งที่พบในพื้นที่จริงได้ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบและพัฒนาความสามารถเชิงมิติของนิสิตชั้นปีที่ 2 ภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จํานวน 32 คน โดยการสร้างแบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลชนิดสามมิติ บริเวณเหมืองหินปูน อําเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ซึ่งนิสิตจะถูกทดสอบด้วย การกะขนาดกล่องสี่เหลี่ยม จํานวน 4 กล่อง และมุมเอียงเทชั้นหินปูนที่ปรากฏอยู่ในแบบจําลองหินโผล่เปรียบเทียบกับนิสิตที่ใช้แบบทดสอบจากภาพถ่ายหินโผล่ในสถานที่เดียวกัน ผลการทดสอบ พบว่า นิสิตที่ใช้แบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลมีความสามารถในการกะขนาดและมุมที่ได้ดีกว่า แสดงให้เห็นว่า แบบจําลองหินโผล่ดิจิทัลมีประสิทธิภาพต่อการรู้จําปริภูมิที่ถูกต้องแม่นยําของนิสิตธรณีวิทยาในห้องเรียนก่อนการสํารวจพื้นที่จริง


กลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา, เปี่ยมพร ตังตระกูลไพศาล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, เพ็ญวรา ชูประวัติ Oct 2020

กลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา, เปี่ยมพร ตังตระกูลไพศาล, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, เพ็ญวรา ชูประวัติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ ความต้องการจําเป็นและพัฒนากลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา ดําเนินการวิจัยโดยใช้วิธีแบบผสมวิธี เก็บข้อมูลจากโรงเรียนเอกชน จํานวน 272 โรง ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหารและครู เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบประเมินกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา จากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลําดับความต้องการจําเป็นของการบริหารแบรนด์ด้วยดัชนี PNI Modified ได้แก่ 1) การประเมินผลแบรนด์ 2) การนําแผนการบริหารแบรนด์ไปปฏิบัติ และ 3) การวางแผนการบริหารแบรนด์ สําหรับกลยุทธ์การบริหารแบรนด์โรงเรียนเอกชนตามแนวคิดการลดภาระงบประมาณแผ่นดินด้านการศึกษา ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 7 กลยุทธ์รอง และ 24 วิธีดําเนินงาน


การสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสาธิตเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสําหรับนักเรียนมัธยมศึกษา, สุจินต์ วัฒนะรัตน์ Oct 2020

การสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสาธิตเพื่อส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะสําหรับนักเรียนมัธยมศึกษา, สุจินต์ วัฒนะรัตน์

Journal of Education Studies

การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสาธิต เป็นวิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเปลี่ยนแปลงจากการสอนแบบเดิมเป็นการให้ผู้เรียนไปศึกษาสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ มาก่อนล่วงหน้า และมาทํากิจกรรมร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน โดยมีผู้สอนคอยชี้แนะให้คําปรึกษา วิธีการสอนนี้เป็นการลดข้อจํากัดด้านเวลาในการจัดการเรียนการสอน ผู้เรียนมีเวลาในการเรียนรู้หลักการและทฤษฎีอย่างเต็มที่ และผู้สอนมีเวลาในการชี้แนะและให้คําปรึกษาผู้เรียนเป็นรายบุคคลมากยิ่งขึ้น อีกทั้งการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการสาธิตยังเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพจากการลงมือปฏิบัติจริง ส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความคงทนในการเรียนรู้ และสามารถนําหลักการต่าง ๆในการวาดภาพทิวทัศน์ไปต่อยอดความรู้ได้ในอนาคตต่อไปได้


Virtual Community Learning Center Based On The Philosophy Of Sufficiency Economy With Case Based Learning To Enhance Problem Solving Ability Of Undergraduate Students, Kasamesant Sakoolrat, Jintavee Khlaisang, Jaitip Na-Songkhla Oct 2020

Virtual Community Learning Center Based On The Philosophy Of Sufficiency Economy With Case Based Learning To Enhance Problem Solving Ability Of Undergraduate Students, Kasamesant Sakoolrat, Jintavee Khlaisang, Jaitip Na-Songkhla

Journal of Education Studies

The objectives of this research were to: 1) Study the needs of students, agriculture teaching specialists, media and educational technology experts regarding their problems and needs for learning and teaching agriculture; and 2) Design a Virtual Community Learning Centre (VCLC) model under the philosophy of a sufficiency economy. The samples consisted of 400 undergraduate students studying at agriculture institutes, and questionnaires were used to collect data. Semi-structured interviews from nine agriculture specialists, and five lecturers in teaching media and technology were also used as research tools. The descriptive statistics, including frequency, percentage and mean, were used to analyse the data. …


การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการจำลองสถานการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนเตรียมทหาร, ชัชรินทร์ เลิศยศบดินทร์, ปรัชญา ปารมี, ณรงค์ฤทธิ์ นาคเม้า Apr 2020

การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการจำลองสถานการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนเตรียมทหาร, ชัชรินทร์ เลิศยศบดินทร์, ปรัชญา ปารมี, ณรงค์ฤทธิ์ นาคเม้า

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและทดลองใช้กิจกรรมการเรียนรู้ทางวิทยาการคำนวณโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมร่วมกับการจำลองสถานการณ์ออนไลน์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาสำหรับนักเรียนเตรียมทหาร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหาร จำนวน 20 นายกิจกรรมการเรียนรู้ใช้เวลา 14 วัน วันละ 2 ชั่วโมง รวม 28 ชั่วโมง แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การเตรียมความพร้อมผู้เรียน (18 ชั่วโมง) เป็นการสร้างองค์ความรู้และวิธีการคิดในขั้นเบื้องต้นให้แก่ผู้เรียน และ 2) การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหา (10 ชั่วโมง) เป็นการให้ผู้เรียนแก้ปัญหาจากภารกิจการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความสามารถในการแก้ปัญหา ด้วยการประเมินผลการเรียนรู้ซ้ำ 6 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า ผลการประเมินรอบสุดท้ายอยู่ในระดับดีมาก (M = 15.35,SD = 0.59) ผลการประเมินความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.84, SD = 0.27)


การพัฒนาโมเดลการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์, ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์, ชุติมา สัจจานันท์ Apr 2020

การพัฒนาโมเดลการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์, ดวงแก้ว เงินพูลทรัพย์, ชุติมา สัจจานันท์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลการพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์ โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเอกสารและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 20 คน จัดทำร่างโมเดล และสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิทางวารสารศาสตร์ บรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ จำนวน 7 คน เพื่อรับรองโมเดล และนำโมเดลไปทดลองใช้ โดยการออกแบบกิจกรรมการเรียนการสอนและทดลองสอนเนื้อหาการร้สู ารสนเทศในรายวิชาของหลักสูตรระดับปริญญาตรี สาขาวารสารศาสตร์ ผลการศึกษา พบว่า โมเดลที่พัฒนาขึ้นมีชื่อว่า “โมเดลการจัดการแบบมีส่วนร่วม ความร่วมมือ และการบูรณาการ” (Participative Management,Collaboration, Integration Model) เรียกโดยย่อว่า พีซีไอโมเดล (PCI Model) ประกอบด้วย ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และกลยุทธ์การพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาวารสารศาสตร์ หลังการทดลองใช้โมเดล พบว่า นักศึกษามีทักษะการรู้สารสนเทศสูงขึ้น และมีความพึงพอใจในบทเรียนและกิจกรรมการบูรณการการรู้สารสนเทศในระดับมากที่สุด


กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ปอส์ ไกรวิญญ์, บัญชา ชลาภิรมย์ Apr 2020

กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ปอส์ ไกรวิญญ์, บัญชา ชลาภิรมย์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลและการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลและ 3) พัฒนากลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร หลักสูตรสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 252 โรง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified)
ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบด้วย 2 ประเด็น คือ แนวคิดการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน และแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) สภาพปัจจุบันของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M = 3.414, SD = 0.956) สภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมาก (M = 4.147, SD = 0.741) 3) กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์หลัก และ 6 กลยุทธ์รอง


การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ เรื่อง พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สุรเดช อนันตสวัสดิ์, กมลวรรณ ตังธนกานนท์, โชติกา ภาษีผล Apr 2020

การพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ เรื่อง พันธะเคมี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สุรเดช อนันตสวัสดิ์, กมลวรรณ ตังธนกานนท์, โชติกา ภาษีผล

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ เรื่อง พันธะเคมี ในเรื่องค่าความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยง และความตรง กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มตัวอย่างในการสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 120 คน และกลุ่มตัวอย่างทดลองใช้แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 625 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยสองระดับ และแบบสอบวินิจฉัยสามระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน เรื่อง พันธะเคมี ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 มี 40 เรื่อง และมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนที่พบมากที่สุด คือ สมการไอออนิกสุทธิเขียนได้เฉพาะเมื่อผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นเป็นตะกอนเท่านั้น (ร้อยละ 25.33) 2) แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ เรื่อง พันธะเคมี มีคุณภาพผ่านเกณฑ์ตามทฤษฎีการทดสอบแบบดั้งเดิม (CTT) และตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ (IRT) จำนวน 80 ข้อจากแบบสอบวินิจฉัย จำนวน 96 ข้อ


ปัจจัยแห่งความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ: มิติภาครัฐและภาคเอกชน, อนุสรา สุวรรณวงศ์, สรสิริ วรวรรณ Apr 2020

ปัจจัยแห่งความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ: มิติภาครัฐและภาคเอกชน, อนุสรา สุวรรณวงศ์, สรสิริ วรวรรณ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัจจัยแห่งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน ในการยกระดับการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ผู้บริหารระดับสูงหรือคณะทำงานจากบริษัทเอกชนที่เข้าร่วมโครงการผู้นำเพื่อพัฒนาการศึกษาไทยที่ยั่งยืนจำนวน 12 คน ผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 12 คน และผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐที่มีผลการประเมินการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 12 คน รวมทั้งสิ้น 36 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย
ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยแห่งความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อยกระดับการพัฒนาโรงเรียนประชารัฐ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) การมีวิสัยทัศน์และเป้าประสงค์เชิงรุกร่วมกัน 2) การใช้ทรัพยากรร่วมกัน 3) การมีส่วนร่วมของชุมชน 4) ภาวะผู้นำที่คล่องแคล่วว่องไว 5) ระบบสนับสนุนและกำกับติดตาม โดยสภาพแวดล้อมภายนอกที่เอื้อต่อความร่วมมือ ได้แก่ การสนับสนุนเชิงการเมืองค่านิยมทางสังคม และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี เอื้ออำนวยให้การดำเนินงานระหว่างองค์กรภาครัฐและภาคเอกชนบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผล


The Development Of A Visual Literacy Ability Test For Undergraduate Students, Rattama Rattanawongsa, Prakob Koraneekij, Poonarat Pichayapaiboon Apr 2020

The Development Of A Visual Literacy Ability Test For Undergraduate Students, Rattama Rattanawongsa, Prakob Koraneekij, Poonarat Pichayapaiboon

Journal of Education Studies

The objectives of research were 1) to study the components of the Visual Literacy Ability test (VLA); 2) to develop the VLA for undergraduate students; and 3) to construct a norm for the VLA. The research sample, selected using a stratified multi-stage cluster sampling, was 960 undergraduate students in total.The research tool was the Visual Literacy Ability test. The research results showed that: 1) There are seven VLA components, as follows; i) Determine the extent of the visual materials needed ii) Find and access needed images iii) Interpret and analyze the meanings of images iv) Evaluate images and their sources …


การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในรายวิชาภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, พัชรี ปุ่มสันเทียะ, สิริณดา เจริญชอบ, พัชราวลัย มีทรัพย์, ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล Apr 2020

การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมในรายวิชาภาษาจีนสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, พัชรี ปุ่มสันเทียะ, สิริณดา เจริญชอบ, พัชราวลัย มีทรัพย์, ปิยมนัส วรวิทย์รัตนกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบทักษะการอ่านหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 70 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินคุณภาพของสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการอ่าน แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า 1) คุณภาพของสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริมด้านเนื้อหาอยู่ในระดับมาก (M = 4.42, SD = 0.83) ด้านเทคนิคอยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.61, SD = 0.50) 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t-test = 14.61) 3) ทักษะการอ่านสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อสื่อการเรียนการสอนด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสริม อยู่ในระดับมาก (M = 4.17, SD = 0.39)


Development Of Online Training To Enhance Systems Thinking Ability: A Study Of Existing Conditions And Expectations, Anjarat Suthat Na Ayuthya, Jintavee Khlaisang, Onjaree Natakuatoong Apr 2020

Development Of Online Training To Enhance Systems Thinking Ability: A Study Of Existing Conditions And Expectations, Anjarat Suthat Na Ayuthya, Jintavee Khlaisang, Onjaree Natakuatoong

Journal of Education Studies

This research aims to enhance Systems Thinking (ST) ability into various fields by studying existing conditions and expectations in the context of Flight Attendants? (FAs) training activities and their current understanding of ST. This study represents the first stage of a Research and Development design research consisting of 5 stages, i.e. needs assessment,analysis, design & development, implementation and evaluation and after literature reviews,quantitative data was collected via questionnaires focusing on frequency, percentageand dual-response data prioritization (Priority Needs Index (PNI)). The questionnaires were handed to 296 FAs from 9 airlines. The results showed that 66.89% of FAs had never received any …