Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

PDF

Journal of Education Studies

เด็กอนุบาล

Articles 1 - 9 of 9

Full-Text Articles in Education

ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดรวบยอดสำหรับเด็กอนุบาล, ศศิญา สุจริต, ศิรประภา พฤทธิกุล, เชวง ซ้อนบุญ Jul 2022

ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการคิดรวบยอดสำหรับเด็กอนุบาล, ศศิญา สุจริต, ศิรประภา พฤทธิกุล, เชวง ซ้อนบุญ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กอนุบาลก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี จำนวน 20 คน ใช้เวลาในการทดลองครั้งละ 60 นาที ติดต่อกันสัปดาห์ละ 4 ครั้ง รวม 6 สัปดาห์ ขั้นตอนการจัดประสบการณ์มี 3 ระยะ ได้แก่ 1) เตรียมการก่อนการจัดประสบการณ์ 2) ดำเนินการจัดประสบการณ์ ประกอบด้วย 5 ขั้นย่อย ได้แก่ เตรียมความพร้อม นำเสนอมโนทัศน์ จัดระเบียบข้อมูล สรุปมโนทัศน์ และสร้างสรรค์ผังกราฟิกรายบุคคล และ 3) ประเมินหลังการจัดประสบการณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบประเมินความสามารถในการคิดรวบยอดของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผล และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) ดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดประสบการณ์โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิก มีค่าเท่ากับ 0.8511 แสดงว่า เด็กอนุบาลมีการพัฒนาความสามารถในการคิดรวบยอดเพิ่มขึ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 85.11 2) เด็กอนุบาลมีความสามารถในการคิดรวบยอด หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า รูปแบบการเรียนการสอนมโนทัศน์ร่วมกับเทคนิคผังกราฟิกสามารถนำไปใช้ในการเสริมสร้างความสามารถในการคิดรวบยอดสำหรับเด็กอนุบาลได้


ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม, ณัฐรุจา ท่าโทม, สุกัลยา สุเฌอ, เชวง ซ้อนบุญ Jul 2022

ผลการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม, ณัฐรุจา ท่าโทม, สุกัลยา สุเฌอ, เชวง ซ้อนบุญ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรมก่อนและหลังการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ ประชากร คือ เด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กลุ่มสหเมืองชลบุรี 1 ประกอบด้วย 3 โรงเรียน จำนวน 3 ห้องเรียน รวม 36 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างจากประชากรโดยการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยสุ่มด้วยวิธีการจับฉลากมา 1 โรงเรียน และกำหนดให้สมาชิกในห้องเรียนดังกล่าวทั้งหมดเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ คือ แผนการจัดประสบการณ์การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ และแบบประเมินพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และดัชนีประสิทธิผล ผลการวิจัย พบว่า 1) ดัชนีประสิทธิผลของการใช้กิจกรรมบทบาทสมมติ มีค่าเท่ากับ 0.9318 หรือคิดเป็นร้อยละ 98.13 แสดงว่า เด็กอนุบาลมีพฤติกรรมทางสังคมในห้องเรียนพหุวัฒนธรรมสูงขึ้น 2) เด็กอนุบาลมีพฤติกรรมทางสังคมในห้องเรียนพหุวัฒนธรรมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แสดงว่า การใช้กิจกรรมบทบาทสมมติสามารถเสริมสร้างพฤติกรรมทางสังคมของเด็กอนุบาลในห้องเรียนพหุวัฒนธรรมได้


ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาลในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, นิศารัตน์ ชูชาญ, ภานุวัฒน์ นิ่มนวล Apr 2022

ผลของโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาลในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร, นิศารัตน์ ชูชาญ, ภานุวัฒน์ นิ่มนวล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาลในเขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิด Precede Framework ประกอบด้วย กิจกรรม 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 เสริมสร้างความรู้ ระยะที่ 2 ปรับสภาพแวดล้อมสร้างทัศนคติ ระยะที่ 3 ส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทาน ตัวอย่าง คือ ผู้ปกครอง จำนวน 32 คน และเด็กอนุบาล อายุ 5-6 ปี จำนวน 32 คน ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร เขตดุสิต จากการเลือกแบบเจาะจง โดยเลือกเด็กที่มีภาวะโภชนาการขาด หรือ ภาวะโภชนาการเกินตามกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโต ไม่มีปัญหาด้านการสื่อสาร ไม่เป็นโรคที่แพทย์ให้จำกัดอาหารบางประเภท และมีผู้ปกครองเป็นผู้ดูแลด้านอาหาร เครื่องมือที่ใช้คือ แบบทดสอบความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับเด็กอนุบาลของผู้ปกครอง และแบบบันทึกพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กอนุบาล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า หลังการใช้โปรแกรมฯ ค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้เรื่องโภชนาการสำหรับเด็กอนุบาลของผู้ปกครองสูงกว่าก่อนเข้ารับการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 และค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของเด็กอนุบาลสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปได้ว่า ผู้ปกครองที่เข้าร่วมโปรแกรมการส่งเสริมพฤติกรรมการรับประทานอาหารสำหรับเด็กอนุบาล สามารถส่งเสริมเด็กอนุบาลให้มีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ดีมีประโยชน์มากขึ้น


การสร้างนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลางสำหรับเด็กอนุบาล, รัถยา เชื้อกลาง, สุทธิพรรณ ธีรพงศ์, ฌลาพิชญ์ บุญจิตสิทธิ์ศักดิ์ Jan 2020

การสร้างนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลางสำหรับเด็กอนุบาล, รัถยา เชื้อกลาง, สุทธิพรรณ ธีรพงศ์, ฌลาพิชญ์ บุญจิตสิทธิ์ศักดิ์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) สำรวจทัศนคติ ความตระหนัก และการเห็นคุณค่าของศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลาง 2) สร้างและศึกษาผลการใช้สื่อนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดียเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลางสำหรับเด็กอนุบาล กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ เด็กชาย-หญิงที่มีอายุ 5-6 ปี โรงเรียนอนุบาลในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดนครปฐม และจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 259 คน งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การสำรวจข้อมูลพื้นฐาน ทัศนคติความตระหนัก และการเห็นคุณค่าของศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลาง โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และเด็กอนุบาล ระยะที่ 2 การพัฒนาสื่อนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดีย ระยะที่ 3 ทดลองใช้สื่อจำนวน 7 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 20 นาที ระยะที่ 4 การนำเสนอสื่อนิทานเพลงพื้นบ้านมัลติมีเดียฉบับสมบูรณ์
ผลการวิจัย พบว่า สื่อที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ นิทานเพลง จำนวน 7 เรื่อง คู่มือการใช้สื่อและแผนการจัดกิจกรรม จำนวน 21 แผน จัดทำในรูปแบบ DVD หลังการใช้สื่อที่พัฒนาขึ้น พบว่า เด็กอนุบาลมีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการอนุรักษ์ศิลปะเพลงพื้นบ้านภาคกลางสูงขึ้นที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


การพัฒนากรอบแนวคิดกระบวนการการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้กับเด็กอนุบาล, ธัญวรัตน์ โหสุภา, วรวรรณ เหมชะญาติ Oct 2019

การพัฒนากรอบแนวคิดกระบวนการการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษให้กับเด็กอนุบาล, ธัญวรัตน์ โหสุภา, วรวรรณ เหมชะญาติ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากรอบแนวคิดกระบวนการการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาล โดยมีระเบียบวิธีวิจัยประกอบด้วยการทบทวนแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กอนุบาล การสอนภาษาอังกฤษสำหรับเด็กอนุบาล การสอนแบบเน้นงานปฏิบัติ ความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ผลการวิจัยสามารถสรุปเป็นกรอบแนวคิดในการวิจัยซึ่งประกอบด้วย ขั้นตอนการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติ 3 ขั้น คือ 1) เปิดประสบการณ์:การทบทวนความรู้เดิมเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษและหน่วยการเรียนรู้ผ่านการพูดคุย หรือการเล่นเกม2) ขยายประสบการณ์: การแนะนำคำศัพท์ใหม่จากหน่วยการเรียนรู้ด้วยการเล่านิทานพร้อมให้เด็กลงมือปฏิบัติกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ และ 3) สรุป: การสรุปความรู้ด้วยการถามคำถามหรือสนทนาเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษจากหน่วยการเรียนรู้ที่ได้เรียนรู้ไป การประเมินผลความสามารถทางภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลใน 2 ด้าน คือ ด้านการเชื่อมโยงคำศัพท์ภาษาอังกฤษกับรูปภาพหรือวัตถุสิ่งของ (การฟัง) และด้านการเชื่อมโยงรูปภาพหรือวัตถุสิ่งของกับคำศัพท์ภาษาอังกฤษ (การพูด)ซึ่งกรอบแนวคิดที่ได้นำไปพัฒนาต่อในการดำเนินการวิจัยผลของการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการแนวการสอนแบบเน้นงานปฏิบัติที่มีต่อความเข้าใจคำศัพท์ภาษาอังกฤษของเด็กอนุบาลในโรงเรียนสังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร


กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ Jul 2019

กรอบแนวคิดของกระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล, กัญจนา ศิลปกิจยาน, วรวรรณ เหมชะญาติ

Journal of Education Studies

บทความนี้นําเสนอผลการสังเคราะห์กระบวนการเรียนการสอนตามแนวคิดสะเต็มศึกษาและการสอนภาษาเพื่อการสื่อสารเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดสะเต็มศึกษา แนวคิดการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร และความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาล โดยผลการศึกษาที่ได้ คือ กระบวนการเรียนการสอนที่ประกอบไปด้วยขั้นจํานวน 4 ขั้น ดังนี้ 1) ขั้นเสนอปัญหา 2) ขั้นสืบสอบ 3) ขั้นเชื่อมโยงความรู้ และ 4) ขั้นประมวลผลการเรียนรู้ ที่มีเป้าหมายในการส่งเสริมความสามารถในการสื่อสารของเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การสนทนาโต้ตอบ การเลาเรื่องหรือเหตุการณ์ และการสร้างสัญลักษณ์


การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร Jul 2019

การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล, ดุษฎี อุปการ, อุดมลักษณ์ กุลพิจิตร

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมเสรีตามแนวคิดเครื่องมือทางปัญญาและการเรียนรู้โดยใช้สมองเป็นฐานเพื่อเสริมสร้างเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ของเด็กอนุบาล และ 2) ศึกษาผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ 1) การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนฯ 2) การนําร่องกระบวนการเรียนการสอนฯ และ 3) การศึกษา
ผลการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ เด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนํ้าพี้มิตรภาพที่ 214 จํานวน 35 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 18 คน และกลุ่มควบคุม 17 คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ระยะเวลาในการดําเนินการวิจัย 16 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินหัวใจและดอกไม้ แบบประเมินเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ (Executive functions) และแบบบันทึกการสังเกตพฤติกรรมที่สะท้อนเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กระบวนการเรียนการสอนฯ มี 4 ขั้น ได้แก่ ขั้นกระตุ้นสมอง ขั้นหยุดคิดก่อนเล่น ขั้นเล่นร่วมกัน และขั้นสะท้อนความสําเร็จ 2) ผลของการใช้กระบวนการเรียนการสอนฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยเอ็กเซ็กคิวทีฟฟังก์ชันส์ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมโดยควบคุมคะแนนเฉลี่ยก่อนการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีขนาดอิทธิพลมาก


การพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, พรพิมล รอดเคราะห์ Apr 2017

การพัฒนาผู้เรียนระดับประถมศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, พรพิมล รอดเคราะห์

Journal of Education Studies

การจัดการศึกษาในระดับประถมศึกษาเป็นการศึกษาระดับพื้นฐานที่มุ่งพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ทั้งทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต และสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข โดยที่ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและวิถีปฏิบัติที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชพระราชทานให้แก่ประชาชนชาวไทยโดยมีเป้าหมายคือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนสามารถรับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายในได้เป็นอย่างดี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม โดยยึดหลักทางสายกลาง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมีภูมิคุ้มกันที่ดี โดยมีเงื่อนไขพื้นฐาน2 ส่วน คือ ความรู้และคุณธรรม ซึ่งเป็นสาระที่ผู้เรียนจะต้องเรียนรู้เพื่อเป็นเครื่องมือหรือทักษะที่สามารถนำไปใช้พัฒนาสมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์อื่น ๆ ได้อีกต่อไป ดังนั้นปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจึงเป็นหลักคิดหลักปฏิบัติที่สามารถช่วยให้เด็ก และเยาวชนผู้เป็นพลเมืองของประเทศสามารถพัฒนาคุณสมบัติอันพึงประสงค์ที่เป็นเป้าหมายของการศึกษาตามที่ได้กำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 จากความสำคัญดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาและบุคลากรที่เกี่ยวข้องจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในองค์ประกอบของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เห็นความสำคัญและคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เห็นแนวทางในการนำไปใช้ในบริบทของตนเอง รวมถึงในการน้อมนำหลักปรัชญามาใช้ในการจัดการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียน โดยสอดแทรกและผสมผสานในกิจกรรมการเรียนการสอน และกิจกรรมพัฒนานักเรียน อันส่งผลให้ผู้เรียนเกิดการฝึกฝนการใช้ชีวิตอย่างพอเพียง เรียนรู้การรู้จักพึ่งตนเอง รู้จักคิด รู้จักวางแผน และการปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนและสังคม


การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, ปราโมทย์ พรหมขันธ์ Jul 2013

การพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน, ปราโมทย์ พรหมขันธ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อศึกษากระบวนการพัฒนาความสามารถของครู ด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน (๒) เพื่อศึกษาความสามารถ ของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา และ (๓) เพื่อนำเสนอกระบวนการฝึกอบรม เพื่อพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้การวิจัยเป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูประจำการของสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาลำปาง เขต ๓ จำนวน ๒๐ คน รูปแบบการวิจัย คือ แบบศึกษากลุ่มทดลองกลุ่มเดียววัดครั้งเดียว (The one-group posttest - only design) ผลการวิจัยพบว่า (๑) กระบวนการพัฒนาความสามารถของครูด้านการออกแบบ และสร้างนวัตกรรมการศึกษาโดยใช้วิจัยเป็นฐานประกอบด้วย ๔ ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นการออกแบบ ขั้นการพัฒนา ขั้นการนำไปทดลองใช้ และขั้นการประเมินผล โดยมีใบงานที่เป็นภาระงานเพื่อ กำหนดกิจกรรม จำนวน ๑๖ ใบงาน (๒) ครูประเมินตนเองด้านความสามารถในการออกแบบและสร้าง นวัตกรรมการศึกษา อยู่ในระดับปานกลางถึงมาก (๓) ครูมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมการ ฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก (๔) ผลการสะท้อนคิดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูส่วนใหญ่คาดหวังที่จะ มีความสามารถในการผลิตสื่อเพื่อใช้ในการเรียนการสอนได้ด้วยตนเอง จากผลการวิเคราะห์ข้อมูล ครูได้รับความรู้ตามที่คาดหวังไว้ และได้รับแนวคิดการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษาที่เป็น ระบบมากยิ่งขึ้น ครูส่วนใหญ่ต้องการให้ผู้จัดการฝึกอบรมแจ้งทรัพยากรในการผลิตสื่อการเรียน การสอนในลักษณะคอมพิวเตอร์ช่วยสอนล่วงหน้า และจัดอบรมอย่างต่อเนื่อง เพิ่มเทคนิคการจัดทำคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเกี่ยวกับรูปแบบที่จะนำไปใช้สอนจริงและสอนทฤษฎีการเรียนรู้เพิ่มเติม และครูส่วนใหญ่ วางแผนที่จะนำทักษะและแนวความคิดในการออกแบบและสร้างนวัตกรรมการศึกษา ไปพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบที่หลากหลาย โดยใช้สื่อประสม เพื่อให้นักเรียนเกิด ความเข้าใจในเนื้อหาง่ายขึ้น