Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal

PDF

Chulalongkorn University

การคิดวิเคราะห์

Publication Year

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การวิเคราะห์การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, กมลวรรณ ไข่มุกข์, ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์, ธิดาดาว เดชศรี Oct 2021

การวิเคราะห์การใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิก เพื่อส่งเสริมความสามารถการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, กมลวรรณ ไข่มุกข์, ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์, ธิดาดาว เดชศรี

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนานวัตกรรมหนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิกที่ส่งเสริมความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิก กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมหรรณพาราม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 40 คน จากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นวัตกรรมหนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิกเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียน มีขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ (1) ชี้แจงจุดประสงค์ (2) เสนอผังกราฟิกที่เหมาะสมกับลักษณะของเนื้อหา (3) กระตุ้นให้ผู้เรียนนึกถึงความรู้เดิม (4) เสนอเนื้อหาสาระและเชื่อมโยงกับผังกราฟิก พร้อมกับให้เหตุผลในการเลือกผังกราฟิก (5) เสนอและอภิปรายผลการใช้ผังกราฟิกกับเนื้อหา (6) ซักถามปรับความเข้าใจและขยายความจนผู้เรียนเกิดความเข้าใจกระจ่างชัด และ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมร่วมกับผังกราฟิกมีความสามารถในการอ่าน การคิดวิเคราะห์ และการเขียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ (ซีซีพีอาร์) ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, กนกวรรณ มณฑิราช, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์ Oct 2019

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การสร้างผลผลิต และการมีความรับผิดชอบ (ซีซีพีอาร์) ของนักศึกษาสาขานิเทศศาสตร์ สถาบันอุดมศึกษาเอกชน, กนกวรรณ มณฑิราช, อรุณี หงษ์ศิริวัฒน์, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะด้านการรับรู้หรือความตระหนักในความสำคัญของ ทักษะซีซีพีอาร์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะ ด้านทักษะซีซีพีอาร์ของนักศึกษาสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในประเทศไทยโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณและ เชิงคุณภาพ เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถามที่ใช้กับนักศึกษา 383 คน และแบบสัมภาษณ์เชิงลึกที่ใช้กับ ผู้บริหาร อาจารย์ และนักศึกษา ของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 36 คน จาก 9 สถาบัน ผลการวิจัยสรุปได้ว่า การรับรู้ในความสำคัญด้านคุณลักษณะของทักษะซีซีพีอาร์ ของกลุ่มตัวอย่าง ในภาพรวมอยู่ในระตับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการสร้างผลผลิตและด้านการคิดวิเคราะห์ อยู่ในระดับมาก รองลงมา คือ ด้านความรับผิดชอบและความคิดสร้างสรรค์ และพบว่าขนาดของสถาบัน การศึกษามีผลต่อระดับการรับรู้คุณลักษณะด้านทักษะซีซีพีอาร์ โดยในสถาบันขนาดใหญ่และกลางอยู่ใน ระดับมาก ส่วนสถาบันขนาดเล็กอยู่ในระดับปานกลาง และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะ ด้านทักษะซีซีพีอาร์ ได้แก่ 1. ผู้บริหารสถาบันการศึกษา: นโยบายการบริหารสถาบัน ทัศนคติด้านการพัฒนา เยาวชนรุ่นใหม่ 2. ผู้สอน: ค่านิยมของผู้สอน วิธีการสอน 3. ผู้เรียน: ฐานะ พื้นฐานประสบการณ์ แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ หรือทัศนคติที่มีต่อการเรียน 4. สภาพแวดล้อม: การจัดสถานที่การเรียนการสอน กิจกรรมเสริม ในชั้นเรียนและในชีวิตประจำวัน


การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, ปัณณ์ธิชา ถนนนอก, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน Jul 2019

การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, ปัณณ์ธิชา ถนนนอก, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2) เพื่อศึกษาผลการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2/8 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 35 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งผู้วิจัยกําหนดเกณฑ์คะแนนการผ่านร้อยละ 70.00
ผลการวิจัย พบว่า: 1. ได้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2. ผลการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มเป้าหมายที่เรียนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 92.85 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือร้อยละ 70.00 และคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ทุกด้านสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การจัดหมวดหมู่ (ร้อยละ100) รองลงมาได้แก่ การคาดคะเน (ร้อยละ 96.71) การหาความสัมพันธ์(ร้อยละ 91.42) การเปรียบเทียบ (ร้อยละ 89.28) และการสํารวจ(ร้อยละ 87.86) ตามลําดับ 3. ผลการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ของกลุ่มเป้าหมายพบว่าคะแนนผลการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้คือร้อยละ 70.00


เรือนไทย: อัตลักษณ์แห่งภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, Attayanan Jitrojanaruk, Hatairath Tubporn Apr 2015

เรือนไทย: อัตลักษณ์แห่งภูมิปัญญาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน, Attayanan Jitrojanaruk, Hatairath Tubporn

Journal of Education Studies

No abstract provided.