Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2021

เด็กปฐมวัย

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

แนวทางการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับเด็กปฐมวัย : เหตุการณ์การกราดยิง, ตวงพร เพ็งสกุล, สุพัตรา ตรีวิเศษ, อภิสรา ราชนาวงศ์, อังคณา ห้วยระหาญ, อัญชนา ห้อยมาลา, มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ, ธิดาพร คมสัน Jan 2021

แนวทางการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับเด็กปฐมวัย : เหตุการณ์การกราดยิง, ตวงพร เพ็งสกุล, สุพัตรา ตรีวิเศษ, อภิสรา ราชนาวงศ์, อังคณา ห้วยระหาญ, อัญชนา ห้อยมาลา, มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ, ธิดาพร คมสัน

Journal of Education Studies

สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน เหตุการณ์การกราดยิงถือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งยังไม่มีแนวทางการรับมือที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย บทความนี้นำเสนอแนวทางสำหรับครูปฐมวัยในการรับมือกับเหตุการณ์การกราดยิง ในขณะเกิดเหตุ ครูต้องตั้งสติ พยายามดูแลเด็กให้อยู่ในความสงบ นำเด็กไปหลบในสถานที่ปลอดภัย และเคลื่อนย้ายเด็กให้เร็วและเงียบที่สุด หลังจากสิ้นสุดเหตุการณ์ ครูควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก โดยประสานขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการสังเกต หากพบพฤติกรรมที่เป็นปัญหาควรหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไข รวมทั้งเตรียมความพร้อมให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการปฏิบัติตนหากต้องประสบกับเหตุการณ์การกราดยิงโดยการบูรณาการในกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม


การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ, พิสิษฏ์ นาสี Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ, พิสิษฏ์ นาสี

Journal of Education Studies

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาจากโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ โดยบทความนี้นำเสนอผลของโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา สถานภาพของหลักสูตรและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ 2) พัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ และ 3) จัดทำคู่มือและสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ โครงการวิจัยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และใช้เทคนิคแบบเจาะจงเพื่อเลือกพื้นที่เป้าหมาย คือ โรงเรียนอนุบาลในสังกัดเทศบาลจำนวน 3 แห่งในพื้นที่ชายขอบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรของโรงเรียนก่อนหน้านี้ไม่ได้เชื่อมโยงกับความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ จึงได้พัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาจำนวนสองหน่วย พร้อมคู่มือที่เป็นกรอบแนวคิดหลักสูตร และแผนการสอนและสื่อหนึ่งชุด ที่มุ่งเน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรมและพหุวัฒนธรรมศึกษามากขึ้น รวมถึงเชื่อมโยงกับนโยบายของโรงเรียน ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับระดับที่ 3 (การเปลี่ยนหลักสูตร) ตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหาพหุวัฒนธรรมศึกษา 4 ระดับ ของ James Banks