Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2021

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5e) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐวุฒิ ศรีระษา, ภัทรภร ชัยประเสริฐ, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ Oct 2021

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5e) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐวุฒิ ศรีระษา, ภัทรภร ชัยประเสริฐ, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เเละ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อยู่ในระดับระดับมากที่สุด


ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พิทักษ์ชัย บรรณาลัย, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2021

ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พิทักษ์ชัย บรรณาลัย, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านเรื่องอิทธิพลของสื่อ จำนวน 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อแบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Ai กับการแบ่งกลุ่มข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการเรียนรู้การแบ่งกลุ่มข้อมูลชนิด K-Mean, สุริยัน เขตบรรจง, วิลัยวรรณ มาวัน Apr 2021

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Ai กับการแบ่งกลุ่มข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการเรียนรู้การแบ่งกลุ่มข้อมูลชนิด K-Mean, สุริยัน เขตบรรจง, วิลัยวรรณ มาวัน

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาผลการจัดกลุ่มข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็น กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง กลุ่มอ่อน และเพื่อศึกษาผลการจัดกลุ่มข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชาเป็น กลุ่มเด่น กลุ่มกลาง กลุ่มด้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI โดยใช้วิธีการเรียนรู้การแบ่งกลุ่มข้อมูลชนิด K-mean ผลการวิจัย พบว่า การแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็น กลุ่มเก่ง 11 คน กลุ่มปานกลาง 11 คน กลุ่มอ่อน 11 คน และการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชาเป็น กลุ่มเด่น 4 รายวิชา กลุ่มกลาง 3 รายวิชา กลุ่มด้อย 3 รายวิชา โดยมีรายวิชาที่เด่นสุดคือ วิชาประวัติศาสตร์ รองลงมาคือ วิชาการงานอาชีพ และรายวิชาที่ด้อยสุดคือ วิชาภาษาอังกฤษ


การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, พิชญาวี ทองกลาง, วรกุล เชวงกูล Jan 2021

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, พิชญาวี ทองกลาง, วรกุล เชวงกูล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง จำนวน 76 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ย (M = 7.09) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 1.31) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (M = 16.58) หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (M = 19.20) และมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการแสดงความพึงพอใจมากที่สุดในแต่ละด้าน พบว่า นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน จัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสม มีกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหา มีความสนใจศึกษา จดจำเนื้อหาได้นาน สร้างความรู้และความเข้าใจด้วยตนเองได้ โดยมีค่าเฉลี่ย (M = 3.85) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.69) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า อาจารย์สร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองกับนักศึกษา กิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และแสดงความคิดเห็น การจัดการเรียนการสอนทำให้ได้รู้จักเพื่อนมากขึ้นและร่วมงานกับผู้อื่นได้