Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2021

การสะท้อนคิด

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาระดับการสะท้อนคิดของนิสิตครู, พรสวรรค์ ศุภศรี, สุมาลี ชิโนกุล Oct 2021

การพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาระดับการสะท้อนคิดของนิสิตครู, พรสวรรค์ ศุภศรี, สุมาลี ชิโนกุล

Journal of Education Studies

ทักษะสำคัญสำหรับครูในยุคปัจจุบันนี้ คือ ทักษะการสะท้อนความคิดเพื่อพัฒนาการสอนได้ด้วยตนเอง ด้วยเล็งเห็นถึงความสำคัญในพัฒนาและเสริมสร้างนิสิตครูให้มีทักษะนี้ ผู้วิจัยจึงจัดทำงานวิจัยนี้ขึ้นโดยมีจุดประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการสะท้อนคิด และ 2) เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดเครื่องมือที่มีต่อระดับการสะท้อนคิดของนิสิตครู ผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบการวิจัยและพัฒนาทางการศึกษาในการพัฒนาชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการคิดไตร่ตรอง กลุ่มตัวอย่างคือนิสิตครูเอกภาษาอังกฤษที่กำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาคปลายปีการศึกษา2555 จำนวน 4 คน การวิเคราะห์เชิงคุณภาพและเชิงปริมาณถูกใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลองใช้ชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการคิดไตร่ตรอง ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดเครื่องมือการประเมินความสามารถด้านการสะท้อนคิดประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 3 อย่าง คือ (1) ตัวกระตุ้นความคิด ซึ่งอยู่ในรูปแบบวีดีโอการสอนของนิสิตครูแต่ละคน (2) ตัวเสริมศักยภาพความคิด ซึ่งอยู่ในรูปแบบคำถามเพื่อสะท้อนความคิด และ (3) แบบประเมินคุณภาพความคิด 2) การพัฒนาระดับความคิดไตร่ตรองของนิสิตครูสามารถแบ่งออกได้เป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่มีการพัฒนาด้านบวก และกลุ่มที่ระดับความคิดคงเดิม


การประยุกต์ใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ, อารีรักษ์ มีแจ้ง, วรรณประภา สุขสวัสดิ์ Jul 2021

การประยุกต์ใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ของครูผู้สอนภาษาอังกฤษ, อารีรักษ์ มีแจ้ง, วรรณประภา สุขสวัสดิ์

Journal of Education Studies

การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้เป็นหน้าที่หลักของครูในสถานศึกษา ขั้นตอนการปฏิบัติงานดังกล่าวเริ่มจากการที่ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ เมื่อเสร็จแล้วจึงนำส่งผู้บังคับบัญชาซึ่งอาจเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระ หรือผู้บริหารสถานศึกษาพิจารณาให้ความเห็นชอบ จากนั้นจึงนำไปใช้จัดการเรียนการสอน ซึ่งครูจะได้ข้อมูลย้อนกลับจากการสอนเกี่ยวกับปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนที่อาจนำไปสู่การปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ อย่างไรก็ตามการดำเนินการดังกล่าวยังขาดความชัดเจนในประเด็นของวิธีการและเครื่องมือในการตรวจสอบที่จะนำไปสู่การพัฒนางานในส่วนนี้ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการนำเสนอการประยุกต์ใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดเพื่อพัฒนาคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ ซึ่งนอกจากจะสร้างความเข้าใจให้แก่ครูภาษาอังกฤษเกี่ยวกับการวางแผน และการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่ถูกต้องชัดเจนแล้ว ยังส่งเสริมให้ครูใช้การประเมินตนเองและการสะท้อนคิดในการตรวจสอบ และทบทวนการทำงานของตนเอง ซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาการปฏิบัติงานในวิชาชีพต่อไป