Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2021

การบริหารโรงเรียน

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Education

สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนสำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข, พรทิพย์ จับจิตต์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ธีรภัทร กุโลภาส Oct 2021

สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนสำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข, พรทิพย์ จับจิตต์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์, ธีรภัทร กุโลภาส

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนสำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข ตัวอย่างคือ โรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 342 โรง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียนหรือฝ่ายบริหาร และครู จำนวน 684 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ลำดับความต้องการจำเป็นโดยใช้ PNImodified ผลการวิจัย พบว่า ปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาเพื่อสนับสนุนการเสริมสร้างคุณลักษณะนักเรียนสำหรับสังคมอยู่ดีมีสุข โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (M = 3.77) และสภาพที่พึงประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (M = 4.58) ความต้องการจำเป็นสูงสุด ได้แก่ การบริหารทั่วไป (PNImodified = 0.2391) รองลงมา คือ การบริหารวิชาการ (PNImodified = 0.2316)


หลักธรรมการบริหารเชิงพุทธของการบริหารโรงเรียน, ทรงพล บุญประเสริฐ Apr 2021

หลักธรรมการบริหารเชิงพุทธของการบริหารโรงเรียน, ทรงพล บุญประเสริฐ

Journal of Education Studies

บทความนี้นำเสนอนวัตกรรมทางการศึกษา คือ หลักธรรมการบริหารเชิงพุทธของการบริหารโรงเรียน เป็นการสร้างความพร้อมในการเรียนรู้อย่างรอบด้านของผู้มีส่วนร่วมในการบริหารการศึกษาไปพร้อมกับนักเรียน บนพื้นฐานการให้คุณค่าด้านจิตใจและการใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ประกอบด้วยหลักสังคหวัตถุ 4 คือทาน (generosity) ปิยวาจา (kindly speech) อัตถจริยา (useful conduct) และสมานัตตตา (equality/ impartiality) โดยมีเป้าประสงค์เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมและบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียน ส่งเสริมให้มีการเรียนรู้แบบบูรณาการ (integrated learning) โดยผสานรากฐานการเรียนรู้แบบไทยเข้ากับศาสตร์สากล เกิดเป็นองค์ความรู้ที่มีการพัฒนามาจากภายในจิตใจ ก่อให้เกิดอัตลักษณ์ (identity) ที่ชัดเจนของความเป็นคนไทย มีรากแก้ว (root) ที่แข็งแรงและสมบูรณ์ในด้านภาษาและวัฒนธรรม เพื่อเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาชาติไทยให้มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน ภายใต้ภูมิทัศน์ใหม่ของโลก สอดรับกับ Roadmap ในการขับเคลื่อนการศึกษา เพื่อเตรียมคนไทย 4.0 เข้าสู่โลกที่หนึ่ง


การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา, ทัศพร ปูมสีดา, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Apr 2021

การศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา, ทัศพร ปูมสีดา, ชญาพิมพ์ อุสาโห, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ตัวอย่าง คือ โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จํานวน 375 โรง ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา และครู จํานวน 500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ คkาความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ลําดับความตqองการจําเป็น โดยใช้ PNImodified ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย 2 แนวคิด ได้แก่ 1.1) การบริหารโรงเรียนขนาดเล็ก ประกอบด้วย การบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป 1.2) คุณภาพการศึกษา ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนขนาดเล็กเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับ มาก (3.82) ในขณะที่สภาพที่พึงประสงค์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.68) ยิ่งไปกว่านั้นสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูง กว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน ส่วนค่าความต้องการจําเป็นเมื่อพิจารณาตามขอบข่ายการบริหารงาน พบว่า ด้าน การบริหารวิชาการ (0.235) มีค่าความต้องการจําเป็นสูงสุด เมื่อพิจารณาตามคุณภาพการศึกษา พบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (0.246) มีค่าความต้องการจําเป็นสูงสุด