Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2021

การคิดอย่างมีวิจารณญาณ

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

แนวทางการออกแบบปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริงกับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, จงกล ทำสวน, ศันสนีย์ เณรเทียน Oct 2021

แนวทางการออกแบบปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริงกับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, จงกล ทำสวน, ศันสนีย์ เณรเทียน

Journal of Education Studies

การคิดอย่างมีวิจารณญาณในบทความนี้เป็นการคิดไตร่ตรอง การให้เหตุผล การวิเคราะห์และประเมินข้อมูลเพื่อตัดสินใจดำเนินการในสถานการณ์หรือแก้ปัญหาที่พบเจอ การพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณของผู้เรียนในวิชาคณิตศาสตร์สามารถทำได้ในหลายแนวทาง สำหรับบทความนี้จะนำเสนอแนวทางการออกแบบสถานการณ์หรือปัญหาที่เหมาะสำหรับการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณในวิชาคณิตศาสตร์ใน 4 ลักษณะ ดังนี้ 1) ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีหลายคำตอบหรือหลายวิธีการ 2) ปัญหาเรื่องราวคณิตศาสตร์ที่เป็นสถานการณ์เสมือนจริงที่เน้นการเชื่อมโยงประสบการณ์ในชีวิตจริงมาใช้ในการแก้ปัญหา 3) ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่มีโครงสร้างไม่สมบูรณ์ และ 4) สถานการณ์หรือปัญหาในชีวิตจริงที่เน้นการนำความรู้ทางคณิตศาสตร์ ความคิดและประสบการณ์ที่มีอยู่มาใช้ในการอธิบายสถานการณ์หรือหาคำตอบของปัญหานั้น โดยสถานการณ์หรือปัญหาที่ออกแบบจะมุ่งพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณตามความสามารถย่อย ทั้งนี้ความรู้คณิตศาสตร์ที่สามารถนำมาใช้อธิบายสถานการณ์หรือแก้ปัญหาที่ออกแบบไว้ไม่จำเป็นต้องเป็นความรู้ในระดับสูงที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการคิดอย่างมีวิจารณญาณ


ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พิทักษ์ชัย บรรณาลัย, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2021

ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พิทักษ์ชัย บรรณาลัย, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านเรื่องอิทธิพลของสื่อ จำนวน 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อแบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05