Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2020

พลศึกษา

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

คำแนะนำสำหรับการสอนพลศึกษา การฝึกซ้อม และแข่งขันกีฬาในสภาวะอากาศร้อน, เกรียงไกร อินทรชัย, บัณฑิต เทียบทอง Apr 2020

คำแนะนำสำหรับการสอนพลศึกษา การฝึกซ้อม และแข่งขันกีฬาในสภาวะอากาศร้อน, เกรียงไกร อินทรชัย, บัณฑิต เทียบทอง

Journal of Education Studies

พลศึกษาเป็นส่วนหนึ่งในการเจริญเติบโตของเด็กและนักกีฬาที่จะอยู่ร่วมในสังคมและการเป็นพลเมืองที่ดี ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบ หลักการประชาธิปไตย สามารถพัฒนาร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา นอกจากนี้ยังทำให้รู้จักผิดรู้จักถูก การปรับตัวเข้ากับผู้อื่นและการเผชิญกับความสำเร็จและความผิดหวัง รวมทั้งการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์จริงต่าง ๆ ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน การสอนวิชาพลศึกษา การฝึกซ้อม และการแข่งขันกีฬาต่าง ๆจึงต้องดำเนินการตามสภาพอากาศดังกล่าว การออกกำลังกายหรือเล่นกีฬาในสภาวะอากาศร้อนนั้นร่างกายจะตอบสนองทางสรีรวิทยาโดยการระบายความร้อนด้วยการขับเหงื่อออกมาจนทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ ปริมาณพลาสมาลดลง ระบบไหลเวียนเลือดล้มเหลวและอุณหภูมิแกนกลางเพิ่มสูงขึ้น นำมาซึ่งโรคที่เกิดจากความร้อน เช่น การบวมน้ำจากแดด ผดผื่นแดด การขาดน้ำในร่างกาย มีไข้ เป็นลม เป็นตะคริวอ่อนเพลียเนื่องจากความร้อน และโรคลมแดด สถาบันการศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนการสอนวิชาพลศึกษา การฝึกซ้อมและ การแข่งขันกีฬา ควรให้ความสำคัญในการรับมือกับอันตรายและผลกระทบต่อสุขภาพข้างต้น ด้วยการกำหนดมาตรการและแผนรองรับในกรณีฉุกเฉินให้เหมาะสมเพื่อความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมกิจกรรมเช่น การจัดเตรียมสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ การปรับลดระยะเวลาของกิจกรรมกลางแจ้ง การเพิ่มความถี่ของการพัก การประเมินสภาพแวดล้อม การศึกษาข้อมูลสุขภาพของผู้เข้าร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อความอดทนต่อสภาพอากาศร้อน การกำหนดมาตรการในการจัดการแข่งขัน เป็นต้น


ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับนิสิตในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาสำหรับครู, เกรียงไกร อินทรชัย, บัณฑิต เทียบทอง Jan 2020

ผลของการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกแบบสถานีเพื่อเสริมสร้างสมรรถภาพทางกายสำหรับนิสิตในรายวิชากิจกรรมพลศึกษาสำหรับครู, เกรียงไกร อินทรชัย, บัณฑิต เทียบทอง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานี และ2) ศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมดังกล่าวต่อนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 คน ตัวอย่างถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ และกลุ่มทดลองได้รับชุดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานีที่สร้างขึ้นเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เปรียบเทียบผลการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ 5 รายการ ก่อนและหลังการทดลอง โดยผู้วิจัยพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานี และใช้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และคะแนนที
ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดกิจกรรมส่งเสริมสมรรถภาพทางกายแบบสถานี ประกอบด้วย กิจกรรมเสริมสร้างความอ่อนตัว กิจกรรมเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ กิจกรรมเสริมสร้างความอดทนของกล้ามเนื้อ และกิจกรรมเสริมสร้างความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 1.00 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบสมรรถภาพทางกายรายการลุก-นั่ง 60 วินาทีดันพื้น 30 วินาที นั่งงอตัวไปข้างหน้าและวิ่งระยะไกลของกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ยกเว้นค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกาย และ 3) ค่าเฉลี่ยคะแนนทดสอบสมรรถภาพทางกายหลังการทดลองทุกรายการ ยกเว้นค่าเฉลี่ยดัชนีมวลกายของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05