Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2019

นักศึกษาครู

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ, หฤทัย อนุสสรราชกิจ, ญาณิศา บุญพิมพ์ Oct 2019

การพัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ, หฤทัย อนุสสรราชกิจ, ญาณิศา บุญพิมพ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทยโดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาครู ในด้านคุณลักษณะความเป็นครู และสมรรถนะการสอน ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักศึกษาครูที่กำลังศึกษาในคณะครุศาสตร์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 50 คน การดำเนินการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนาโดยใช้วิธีการวิจัยแบบปฏิบัติการประกอบด้วย 5 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ (1) การศึกษาข้อมูลแนวคิดที่เกี่ยวข้อง (2) การพัฒนาต้นแบบกระบวนการผลิตครู (3) การนำกระบวนการไปใช้ปฏิบัติการ (4) การวิเคราะห์ ปรับปรุงและประเมินผลกระบวนการและ (5) การสรุปและนำเสนอผลการพัฒนา
ผลการวิจัย มีดังนี้
1. กระบวนการผลิตครูในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย โดยใช้แนวคิดจิตตปัญญาศึกษาและการชี้แนะ ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก คือ แนวคิดและหลักการ วัตถุประสงค์ ยุทธศาสตร์ขั้นตอน และการประเมินผล ขั้นตอนหลักที่สำคัญในการดำเนินการ คือ (1) การพัฒนาความเข้าใจผ่านการจัดการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยง (2) การเรียนรู้ร่วมกันในสถานศึกษาของนักศึกษาครูและครูพี่เลี้ยง และ (3) การสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน
2. ด้านผลการเรียนรู้พบว่า นักศึกษาครูเกิดการพัฒนาตนเองในด้าน (1) คุณลักษณะความเป็นครู และ (2) สมรรถนะการสอน รวมถึงความเข้าใจตนเอง ความเข้าใจผู้อื่น ทัศนะเกี่ยวกับความเป็นครู และกระบวนการจัดการเรียนรู้


การใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู, บุญสม ทับสาย Apr 2019

การใช้แนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครู, บุญสม ทับสาย

Journal of Education Studies

งานวิจัยปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) ศึกษาความสามารถของนักศึกษาครูในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน และ (2) นำเสนอกระบวนการส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ นักศึกษาครูจำนวน 6 คนเป็นผู้เข้าร่วมวิจัยโดยความสมัครใจ เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกการไตร่ตรองเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนแบบประเมินการปฏิบัติการสอน และแบบสังเกตการจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์ วิธีวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การวิเคราะห์เนื้อหา การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาความเที่ยงระหว่างผู้สังเกต ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการที่ทดลองใช้ส่งเสริมให้นักศึกษาครูมีความสามารถในการไตร่ตรองและออกแบบการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาครูมีความสามารถในการปฏิบัติการสอนโดยทั่วไปและความสามารถในการจัดการเรียนการสอนโฟนิกส์แบบสร้างคำอยู่ในระดับดีมาก 2) กระบวนการส่งเสริมความสามารถในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาครูที่ทดลองใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 7 ขั้นตอน คือ (1) กำหนดความต้องการจำเป็นด้านการเรียนรู้ของนักเรียนและนักศึกษาครู (2) ระบุเป้าหมายการเรียนรู้ของนักศึกษาครูที่จะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายการเรียนรู้ของนักเรียน (3) พัฒนาความรู้และทักษะของนักศึกษาครู (4) ออกแบบการเรียนการสอนและไตร่ตรองเกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ (5) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน (6) สังเกตและไตร่ตรองเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน และ (7) ประเมินผลและไตร่ตรองเกี่ยวกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษาครูและนักเรียน