Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Journal of Education Studies

Journal

2018

ประถมศึกษา

Articles 1 - 1 of 1

Full-Text Articles in Education

การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, พรพรรณ ธรรมธาดา, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Apr 2018

การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพ นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน, พรพรรณ ธรรมธาดา, ปองสิน วิเศษศิริ, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากรอบแนวคิด สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการตามแนวคิดการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน และครูหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี จากโรงเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการจำนวน195โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ดัชนีค่าความต้องการจำเป็นด้วยเทคนิค PNIModified ผลการวิจัยพบว่า แนวคิดเชิงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมี 3 แนวคิด ได้แก่ 1) การบริหารงานวิชาการ 2) การเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ และ 3) การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยสภาพที่พึงประสงค์มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าสภาพปัจจุบันในทุกด้าน และสภาพที่พึงประสงค์ต่อการพัฒนาอย่างเร่งด่วนมากที่สุด พิจารณาจากค่าดัชนีความต้องการจำเป็นที่สูงที่สุด พบว่า ด้านการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การวัดและประเมินผล การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาหลักสูตรตามลำดับ ส่วนด้านการเสริมสร้างคุณภาพนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ได้แก่ การคิดขั้นสูงและการแก้ปัญหามุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน การเป็นผู้นำและการปรับตัวมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน และการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารมุ่งสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนตามลำดับ ขณะที่ปัจจัยภายนอกที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด ได้แก่ สภาพสังคม สภาพเศรษฐกิจ นโยบายด้านการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษของรัฐ และสภาพเทคโนโลยีตามลำดับ