Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

หลักสูตร

Publication Year

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบแนวคิดการบูรณาการความรู้ เทคโนโลยี ศาสตร์การสอนและเนื้อหา และทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาครูสังคมศึกษา, ศิริศักดิ์ ทิพย์ทวีชาญ, ธันวดี ดอนวิเศษ Apr 2022

การพัฒนาหลักสูตรตามกรอบแนวคิดการบูรณาการความรู้ เทคโนโลยี ศาสตร์การสอนและเนื้อหา และทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมการเรียนการสอนของนักศึกษาครูสังคมศึกษา, ศิริศักดิ์ ทิพย์ทวีชาญ, ธันวดี ดอนวิเศษ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรตามกรอบแนวคิดการบูรณาการความรู้ เทคโนโลยี ศาสตร์การสอนและเนื้อหาและทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น วิธีการดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยประยุกต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาครู สาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 3 คณะครุศาสตร์ จังหวัดจันทบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 29 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมการเรียนการสอนและ 2) แบบประเมินความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นมีหลักการ จุดมุ่งหมาย และแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เป็นไปตามทฤษฎีการเรียนรู้ของผู้ใหญ่ ซึ่งโครงสร้างเนื้อหาของหลักสูตรจะเป็นไปตามกรอบแนวคิดทีแพคและผลการประเมินหลักสูตรเท่ากับ 0.90 2) คุณภาพของหลักสูตรที่พัฒนาขึ้น พบว่า (1) ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมการเรียนการสอนของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาครูสังคมศึกษาหลังการทดลองสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) กลุ่มตัวอย่างที่เข้ารับการอบรมมีความพึงพอใจทั้งในด้านหลักสูตรการฝึกอบรม ด้านการจัดกิจกรรมการฝึกอบรม และด้านการบริหารจัดการฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งด้านผลผลิตอยู่ในระดับมาก


Profiling Bscs Students Learning Style Preferences In Relation To Their Mobile Phone Utility, Joe Anthony M. Milan, Maria Concepcion G. Balcita, Nema Rose D. Rivera Oct 2018

Profiling Bscs Students Learning Style Preferences In Relation To Their Mobile Phone Utility, Joe Anthony M. Milan, Maria Concepcion G. Balcita, Nema Rose D. Rivera

Journal of Education Studies

Every learner in a classroom preferentially learns and understands lessons in different ways. This study aims to describe the BSCS students learning preferences in relation to their mobilephone utility. Specifically, to determine the learning preferences of BSCS Students; the uses of mobile phones; and the association of the BSCS Students? learning styles and their mobile phone utility. In order to achieve the objectives of the study, a quantitative approach using questionnaire was taken to gather the data in which the descriptive method of research was employed. Perceptual Learning Style Preference Survey Questionnaire and Learning Style Survey, and Mobile Learning Survey …


การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน: รอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นจากชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์ Apr 2017

การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน: รอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นจากชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์

Journal of Education Studies

การเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชีวิตเด็กปฐมวัย เด็กจะสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวผ่านช่วงรอยต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและชั้นประถมศึกษาไปได้อย่างราบรื่นเพียงใด ขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบริบทต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ซึ่งมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาที่ราบรื่นเกิดจากการทำงานร่วมกันผ่านการพัฒนา 3 มิติของความพร้อม คือ ความพร้อมของเด็ก ความพร้อมของโรงเรียน และความพร้อมของครอบครัว บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครูอนุบาล ครูประถมศึกษา ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบริบทต่าง ๆ รอบตัว และการสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รวมทั้งนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และประสบความสำเร็จในการเรียนรู้


Steam ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก, วิสูตร โพธิ์เงิน Jan 2017

Steam ศิลปะเพื่อสะเต็มศึกษา: การพัฒนาการรับรู้ความสามารถและแรงบันดาลใจให้เด็ก, วิสูตร โพธิ์เงิน

Journal of Education Studies

STEAM เป็นแนวทางการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการที่นำศิลปะมาบูรณาการกับการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ปัจจัยสำคัญในการนำแนวคิด STEAM มาใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ คือ บริบท (Context) การออกแบบสร้างสรรค์ (Creative Design) และการสร้างความจับใจ (Emotional Touch) ในการออกแบบกิจกรรมสร้างสรรค์ สิ่งสำคัญในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สำคัญ 4-ประเด็น คือ 1) การบูรณาการ (Integration) 2) ความหลากหลาย (Variety) 3) ความลึก (Deep) และ4) ความเป็นพลวัต (Dynamic)