Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

เด็กปฐมวัย

Articles 1 - 14 of 14

Full-Text Articles in Education

แนวทางการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับเด็กปฐมวัย : เหตุการณ์การกราดยิง, ตวงพร เพ็งสกุล, สุพัตรา ตรีวิเศษ, อภิสรา ราชนาวงศ์, อังคณา ห้วยระหาญ, อัญชนา ห้อยมาลา, มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ, ธิดาพร คมสัน Jan 2021

แนวทางการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินสำหรับเด็กปฐมวัย : เหตุการณ์การกราดยิง, ตวงพร เพ็งสกุล, สุพัตรา ตรีวิเศษ, อภิสรา ราชนาวงศ์, อังคณา ห้วยระหาญ, อัญชนา ห้อยมาลา, มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ, ธิดาพร คมสัน

Journal of Education Studies

สถานการณ์ฉุกเฉินเป็นสถานการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตและทวีความรุนแรงมากขึ้นในปัจจุบัน เหตุการณ์การกราดยิงถือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินซึ่งยังไม่มีแนวทางการรับมือที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย บทความนี้นำเสนอแนวทางสำหรับครูปฐมวัยในการรับมือกับเหตุการณ์การกราดยิง ในขณะเกิดเหตุ ครูต้องตั้งสติ พยายามดูแลเด็กให้อยู่ในความสงบ นำเด็กไปหลบในสถานที่ปลอดภัย และเคลื่อนย้ายเด็กให้เร็วและเงียบที่สุด หลังจากสิ้นสุดเหตุการณ์ ครูควรสังเกตความเปลี่ยนแปลงทางพฤติกรรมและอารมณ์ของเด็ก โดยประสานขอความร่วมมือจากผู้ปกครองในการสังเกต หากพบพฤติกรรมที่เป็นปัญหาควรหาแนวทางร่วมกันในการแก้ไข รวมทั้งเตรียมความพร้อมให้กับเด็กปฐมวัยเพื่อให้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการปฏิบัติตนหากต้องประสบกับเหตุการณ์การกราดยิงโดยการบูรณาการในกิจกรรมหลัก 6 กิจกรรม


การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ, พิสิษฏ์ นาสี Jan 2021

การพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ, พิสิษฏ์ นาสี

Journal of Education Studies

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอผลการศึกษาจากโครงการวิจัยเรื่องการพัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ โดยบทความนี้นำเสนอผลของโรงเรียนเทศบาลวัดดอนแก้ว อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โครงการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหา สถานภาพของหลักสูตรและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ 2) พัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ และ 3) จัดทำคู่มือและสื่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้านพหุวัฒนธรรมศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัยในพื้นที่ชายขอบ โครงการวิจัยประยุกต์ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม และใช้เทคนิคแบบเจาะจงเพื่อเลือกพื้นที่เป้าหมาย คือ โรงเรียนอนุบาลในสังกัดเทศบาลจำนวน 3 แห่งในพื้นที่ชายขอบ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวิจัยเอกสาร การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า หลักสูตรของโรงเรียนก่อนหน้านี้ไม่ได้เชื่อมโยงกับความแตกต่างทางเชื้อชาติและวัฒนธรรมในพื้นที่ จึงได้พัฒนาหลักสูตรพหุวัฒนธรรมศึกษาจำนวนสองหน่วย พร้อมคู่มือที่เป็นกรอบแนวคิดหลักสูตร และแผนการสอนและสื่อหนึ่งชุด ที่มุ่งเน้นความแตกต่างทางวัฒนธรรมและพหุวัฒนธรรมศึกษามากขึ้น รวมถึงเชื่อมโยงกับนโยบายของโรงเรียน ซึ่งสามารถเทียบเคียงได้กับระดับที่ 3 (การเปลี่ยนหลักสูตร) ตามแนวคิดการบูรณาการเนื้อหาพหุวัฒนธรรมศึกษา 4 ระดับ ของ James Banks


การเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการจัดประสบการณ์ภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา, อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว, ฉัตรชยา รอดระหงษ์ Oct 2020

การเสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพในการจัดประสบการณ์ภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสงขลา, อภิรัตน์ดา ทองแกมแก้ว, ฉัตรชยา รอดระหงษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เสริมสร้างสมรรถนะครูปฐมวัยด้านภาษาและการรู้หนังสือโดยใช้แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรู้เชิงวิชาชีพ ในด้านการออกแบบแผนการจัดประสบการณ์และความสามารถในการจัดประสบการณ์ 2) ศึกษาทักษะด้านภาษาของเด็กปฐมวัย ได้แก่ ทักษะการฟัง พูดอ่าน เขียน และการสื่อสาร ตัวอย่าง คือ ครูปฐมวัย โรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จํานวน 3 คน และเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ในโรงเรียนเทศบาล 2 (อ่อนอุทิศ) จํานวน 70 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่มเครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของครูปฐมวัยด้วยกระบวนการ PLC และ แบบประเมินทักษะทางภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยร่วมกับการสังเกตผลงานของเด็กปฐมวัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูมีสมรรถนะในการจัดประสบการณ์ภาษาและการรู้หนังสือสําหรับเด็กปฐมวัยในระดับมากทุกตัวบ่งชี้ โดยการออกแบบการจัดการเรียนรู้ (M = 4.00) มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงที่สุด รองลงมาคือ การจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ (M = 3.89) และ 2) หลังเรียน ร้อยละของเด็กที่มีทักษะทางภาษาสูงขึ้น คิดเป็น 97.1 โดยการเล่าเรื่องราวที่เชื่อมโยงกับเรื่องราวอื่น มีค่าร้อยละต่ําที่สุด คิดเป็นร้อยละ 67.1


การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, อัครพล ไชยโชค Oct 2019

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์ ปลูกปั้นเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21, อัครพล ไชยโชค

Journal of Education Studies

การใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์เป็นแนวการจัดประสบการณ์โดยบูรณาการเทคโนโลยีที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งให้เด็กมีทักษะการคิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ ทักษะการสื่อสาร และทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ท่ามกลางความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม ซึ่งเด็กจะได้ใช้เทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือกล้องถ่ายภาพอย่างสร้างสรรค์ในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัว ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ด้าน เน้นให้เด็กปฐมวัยได้ฝึกคิด สนทนาโต้ตอบอย่างมีเหตุผล และร่วมกิจกรรมกับเพื่อนอย่างมีความสุข นำไปสู่การพัฒนาความรู้ให้กับตนเอง กล่าวได้ว่าการใช้เทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์สามารถพัฒนาเด็กปฐมวัยแบบองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ – จิตใจ สังคม และสติปัญญา พร้อมทั้งทักษะในศตวรรษที่ 21 อันเป็นรากฐานสำคัญที่จะพัฒนาให้เด็กเป็นบุคคลที่คิดเป็น เรียนรู้เป็น และรู้จักใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสมพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่สังคมแห่งการเรียนรู้


การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง Oct 2019

การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยสำหรับเด็กปฐมวัย: การวิจัยเชิงสำรวจ, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์, จิราพร รอดพ่วง

Journal of Education Studies

งานวิจัยเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตย และ 2) ศึกษาแนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยของสถานศึกษาปฐมวัย ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร ครูประจำชั้นระดับอนุบาล อาจารย์และนักศึกษา สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 207 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) คุณลักษณะของเด็กปฐมวัยที่นำไปสู่การพัฒนาทักษะประชาธิปไตยแต่ละข้อมีความสำคัญอยู่ในระดับมากและมากที่สุด คุณลักษณะที่มีความสำคัญอันดับแรก คือ เคารพสิทธิของตนเองและผู้อื่น รองลงมา คือ เคารพข้อตกลง กฎ กติกา และมีส่วนร่วมในการทำงานกับกลุ่มและเรียนรู้จากกลุ่ม 2) แนวทางในการพัฒนาทักษะประชาธิปไตยให้แก่เด็กปฐมวัยในสถานศึกษามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกข้ออันดับแรก คือ บูรณาการผ่านการเล่นและลงมือกระทำจากประสบการณ์ตรงให้เกิดความเข้าใจและได้ซึมซับทักษะประชาธิปไตย รองลงมา คือ ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม จิตสำนึก และวินัยในตนเองในทุกกิจกรรมประจำวันตามโอกาสและเหมาะกับวัย และให้เด็กร่วมกันคิด ใช้เหตุผลตามวัยในการกำหนดข้อตกลงในห้องเรียน และการเคารพข้อตกลง กฎ กติกา


การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, ปัณณ์ธิชา ถนนนอก, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน Jul 2019

การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคมเพื่อพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย, ปัณณ์ธิชา ถนนนอก, รัชชุกาญจน์ ทองถาวร, ไพบูลย์ อุปันโน

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสร้างแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2) เพื่อศึกษาผลการคิดวิเคราะห์ของเด็กปฐมวัย โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 3) เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม และกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2/8 โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ จํานวน 35 คนซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง ซึ่งผู้วิจัยกําหนดเกณฑ์คะแนนการผ่านร้อยละ 70.00
ผลการวิจัย พบว่า: 1. ได้แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม 2. ผลการคิดวิเคราะห์ของกลุ่มเป้าหมายที่เรียนด้วยการจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 92.85 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้ คือร้อยละ 70.00 และคะแนนเฉลี่ยการคิดวิเคราะห์ทุกด้านสูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนด ซึ่งสามารถเรียงลําดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ การจัดหมวดหมู่ (ร้อยละ100) รองลงมาได้แก่ การคาดคะเน (ร้อยละ 96.71) การหาความสัมพันธ์(ร้อยละ 91.42) การเปรียบเทียบ (ร้อยละ 89.28) และการสํารวจ(ร้อยละ 87.86) ตามลําดับ 3. ผลการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์โดยใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และสังคม ของกลุ่มเป้าหมายพบว่าคะแนนผลการประเมินการเรียนรู้วิทยาศาสตร์คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 93.14 สูงกว่าเกณฑ์ที่กําหนดไว้คือร้อยละ 70.00


ผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย, ณัฐิกา เพ็งลี Jul 2019

ผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย, ณัฐิกา เพ็งลี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมทักษะการเคลื่อนไหวพื้นฐานที่มีต่อทักษะกลไกการเคลื่อนไหวของเด็กปฐมวัย ประชากรในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนอนุบาลในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอนุบาลอายุระหว่าง 4-5 ปี จํานวน 36 คน แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 18 คน กลุ่มทดลอง 18 คน ทําการทดลอง 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 30 นาที เก็บข้อมูลก่อนการทดลอง และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 โดยทดสอบทักษะกลไกเคลื่อนไหว 3 ด้าน คือ 1) ทักษะการเคลื่อนไหวเคลื่อนที่ 2) ทักษะการควบคุมอุปกรณ์ และ 3) พัฒนาการกล้ามเนื้อมัดใหญ่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวแต่ละด้านระหว่างกลุ่มด้วยสถิติที (Independent t-test) และภายในกลุ่มด้วยสถิติที (Paired t-test)
ผลการวิจัยพบว่า ก่อนการทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกัน และหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเมื่อเปรียบเทียบภายในกลุ่มทดลองค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 สูงขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะกลไกการเคลื่อนไหวทั้ง 3 ด้าน หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 8 ไม่แตกต่างกับก่อนการทดลอง


การศึกษาการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของนักวิจัยไทยและนิสิต-นักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย ในการวิจัยเชิงปริมาณทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม การท่องเที่ยว และอื่น ๆ, เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, ละเอียด ศิลาน้อย, ชำนาญ ศรีสวัสดิ์, ผกามาศ ชัยรัตน์ Jan 2019

การศึกษาการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างของนักวิจัยไทยและนิสิต-นักศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย ในการวิจัยเชิงปริมาณทางด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ การโรงแรม การท่องเที่ยว และอื่น ๆ, เพ็ญพิมพ์ พวงสุวรรณ, ละเอียด ศิลาน้อย, ชำนาญ ศรีสวัสดิ์, ผกามาศ ชัยรัตน์

Journal of Education Studies

การศึกษาครั้งนี้พบว่า งานวิจัยร้อยละ 26.23% ไม่บอกที่มาของตัวเลขขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้และงานวิจัยร้อยละ 48.36 ใช้สูตรคำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (ซึ่งในจำนวนนี้ร้อยละ 76.27 ใช้สูตร ที่ผิดพลาด) นอกจากนี้งานวิจัยอีกร้อยละ 25.41 ใช้ตารางสำเร็จรูปในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง (ซึ่งปรากฏว่าใช้ตารางสำเร็จรูปอย่างผิดพลาดทั้งหมด) ความผิดพลาดที่พบคือ งานวิจัยที่ทำการศึกษา ค่าเฉลี่ยประชากร (ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเป็นคำตอบ) กลับนำเอาสูตรของ ยามาเน่มาใช้มากถึงร้อยละ 73.33 รองลงมาเป็นการใช้สูตรของโคแครนและสูตรของกัลยา วานิชย์บัญชาใน ส่วนที่ออกแบบไว้เพื่อการศึกษาสัดส่วนประชากร และสูตรของเคร็จซี่แอนด์มอร์แกนร้อยละ 13.33, 8.88 และ 4.44 ตามลำดับซึ่งถือว่าผิดพลาดเพราะสูตรดังกล่าวเป็นสูตรที่ใช้คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อ การศึกษาสัดส่วนประชากร (ซึ่งจะได้ผลลัพธ์เป็นจำนวน ความถี่ ร้อยละ สัดส่วน) และกรณีใช้ตารางสำเร็จรูป กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการศึกษาค่าเฉลี่ยประชากรพบว่าร้อยละ 74.19 นำเอาตารางสำเร็จรูป ของเคร็จซี่แอนด์มอร์แกนมาใช้งาน ร้อยละ 25.81 นำเอาตารางสำเร็จรูปของยามาเน่มาใช้งานซึ่งเป็น การใช้สูตรผิดประเภทของการศึกษาวิจัยดังกล่าว


Improving The Performance Of Pre-Service Teachers In Genetics Through An Interactive Software, Maria Cristina B. Bandarlipe Oct 2018

Improving The Performance Of Pre-Service Teachers In Genetics Through An Interactive Software, Maria Cristina B. Bandarlipe

Journal of Education Studies

This research aimed to improve the performance of pre-service teachers in Genetics and develop their TPACK (Technological, Pedagogical, and Content Knowledge) confidence level using an interactive software. The one-group pretest-posttest experimental design was used to examine the Pre-service teachers? TPACK and to test the effectiveness of a validated interactive software. Twenty-seven pre-service teachers served as the respondents for the study. The quantitative data was collected using the two instruments as pre and posttests, namely the TPACK in Science Survey developed by Graham, Burgoyne, Smith, St Calir & Harris. (2009) and a validated 30 ? item pretest/posttest on Genetics concepts. Based …


แนะนำหนังสือ, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ Jul 2017

แนะนำหนังสือ, ศศิลักษณ์ ขยันกิจ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Apr 2017

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดแคใน, วิเชียร หรรษานิมิตกุล Oct 2016

การวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดแคใน, วิเชียร หรรษานิมิตกุล

Journal of Education Studies

รายงานการวิจัยและพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดแคใน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อศึกษา (1) บริบทของโรงเรียน (2) ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และโปรแกรมการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่ได้ดำเนินการตามโครงการ 17 โครงการ (3) ผลการดำเนินโครงการ 17 โครงการ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี ที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน (4) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการ 17 โครงการ ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาในโรงเรียน และผลกระทบที่มีต่อชุมชน วิธีการดำเนินการวิจัย โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และสังเกตการณ์และบันทึกการเข้าร่วมโครงการต่างๆ ตามแผนพัฒนาสถานศึกษา ปีงบประมาณ 2552 ของโรงเรียนวัดแคใน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2552 เป็นเวลา 2 ภาคการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายและวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยพบว่า(1) บริบทของโรงเรียน โรงเรียนที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปฐมวัย ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนครูทั้งสิ้น 14 คน จำนวนนักเรียน 170 คน (2) ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ สื่อการเรียนรู้ และโปรแกรมการพัฒนาโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โรงเรียนวัดแคได้จัดทำการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาอิงมาตรฐาน การจัดทำแผนกลยุทธ์โรงเรียนอยู่ระหว่างดำเนินการกลยุทธ์สู่การปฏิบัติ การดำเนินงานตามระบบการบริหารและนิเทศภายใน และการประเมินผลระบบการบริหารและการนิเทศยังไม่ได้ดำเนินการ (3) ผลการดำเนินโครงการ 17 โครงการ ของโรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรีที่มีต่อการพัฒนาโรงเรียนในด้านผู้บริหารและระบบการบริหาร ครูและระบบการจัดการเรียนการสอน ระบบสภาพแวดล้อมของโรงเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของนักเรียน (4) ผลกระทบของการพัฒนาโรงเรียนตามโครงการ 17 โครงการ ที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้และวิถีชีวิตของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทางการศึกษาในโรงเรียน และผลกระทบที่มีต่อชุมชนคือประโยชน์ที่ครูจะได้รับทางด้านการจัดการเรียนรู้และการปรับภูมิทัศน์ของสถานศึกษา


การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สุธาสินี แสงมุกดา, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล Jul 2013

การพัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน, สุธาสินี แสงมุกดา, ปิยพงษ์ สุเมตติกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) กำหนดองค์ประกอบภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา ขั้นพื้นฐาน ๒) พัฒนาเครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ๓) กำหนด เกณฑ์ปกติวิสัยของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารจำนวน ๖๘๙ คนและครูจำนวน ๒๕๕ คนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม ภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS ในการ หาค่าสถิติพื้นฐาน และใช้โปรแกรม LISREL ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ผลการวิจัยพบว่า ๑. องค์ประกอบภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี ๕ องค์ประกอบ ได้แก่ ๑) การตระหนักในตนเอง ๒) การมีกฎเกณฑ์ศีลธรรมของตนเอง ๓) ความโปร่งใสเชิงสัมพันธ์ ๔) กระบวนการที่สมดุล และ ๕) การเรียนรู้จากอนาคต โดยโมเดลองค์ประกอบภาวะผู้นำที่แท้จริงของ ผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (?2 =171.07, df = 159) โดยองค์ประกอบที่ ๕ การเรียนรู้จากอนาคต มีค่านํ้าหนักองค์ประกอบมากที่สุด ๒. เครื่องมือวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นมาตรประมาณค่า ๕ ระดับ ซึ่งสามารถวัดได้ทั้งการแยกแต่ละองค์ประกอบ และแบบรวมทั้ง ๕ องค์ประกอบ โดยแบ่งออก เป็น ๒ ชุด คือ แบบวัดภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับผู้บริหาร และสำหรับ ครู ผลการประเมินแบบวัดพบว่ามีคุณภาพอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ค่าความเที่ยงรวมทั้งฉบับมีค่า ๐.๙๐๔๓ ๓. เกณฑ์ปกติวิสัยของภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าเกณฑ์ปกติ รวม ผู้บริหารส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๒๖.๘๘) มีคะแนนภาวะผู้นำที่แท้จริงอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนเกณฑ์ ปกติขององค์ประกอบย่อย พบว่าองค์ประกอบที่ ๑ และ ๓ ผู้บริหารส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๒๘.๐๖, ๒๙.๒๕ ตามลำดับ) มีคะแนนภาวะผู้นำที่แท้จริงอยู่ในระดับตํ่า ส่วนองค์ประกอบที่ ๒, …


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืน, เกียรติวรรณ อมาตยกุล Jul 2012

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืน, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อเสริมสร้างการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ การสังเกต และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๑๐ คน ผลการวิจัยพบว่า ๑) มีการนำแนวคิดแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสมาใช้ในการจัดการศึกษาแต่ละระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย สามารถทำให้ผู้เรียนมีคลื่นสมองตํ่า มีภาพพจน์ด้านบวกของตัวเองสูงขึ้น และมีแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองได้ดีขึ้น ๒) รูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสเพื่อส่งเสริมการพัฒนามนุษย์และสังคมอย่างยั่งยืนมีรูปแบบการจัดการศึกษาที่ชัดเจน ประกอบด้วย เป้าหมาย และหลักการที่คล้ายกัน แต่มีกระบวนการแตกต่างกัน และ ๓) แนวทางการนำรูปแบบการเรียนรู้ตลอดชีวิตตามแนวคิดนีโอฮิวแมนนิสไปใช้ปฏิบัติในบริบทสังคมไทยสามารถนำไปปรับใช้ได้ใทุกบริบทของการเรียนรู้ในสังคมไทย โดยองค์ความรู้ที่ได้สามารถนำไปกำหนดเป็นยุทธศาสตร์การพัฒนามนุษย์และสังคม และใช้เป็นข้อมูลสำคัญสำคัญผู้สนใจในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อนำไปศึกษาหรือทำวิจัยต่อไป