Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

ผู้บริหารสถานศึกษา

Publication Year

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

ปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) แพร่ระบาด, พลพีระ วงศ์พรประทีป Jul 2022

ปัญหาในการจัดการเรียนรู้และความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) แพร่ระบาด, พลพีระ วงศ์พรประทีป

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในช่วงสถานการณ์ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด 2) ศึกษาความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด ตัวอย่าง คือ ครูที่ได้รับการนิเทศในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยและกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนแห่งหนึ่งในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 20 คน โดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย การหาค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัญหาการจัดการเรียนรู้ของครูในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านผู้เรียน พบปัญหามากที่สุด ส่วนด้านแหล่งเรียนรู้พบปัญหาน้อยที่สุด 2) ความคาดหวังของครูต่อผู้บริหารสถานศึกษาในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แพร่ระบาด พบว่า ครูมีความคาดหวังต่อผู้บริหารสถานศึกษาทั้ง 4 กลุ่มบริหารงาน ประกอบด้วย กลุ่มบริหารวิชาการ กลุ่มบริหารงบประมาณ กลุ่มบริหารงานบุคคล และกลุ่มบริหารทั่วไป โดยมีความคาดหวังต่อกลุ่มบริหารวิชาการมากที่สุด เพราะเกี่ยวข้องกับตัวครูผู้สอน ผู้เรียน และผู้ปกครองโดยตรง


การเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร, นิเทศก์ ศรีเมือง, ปทุมพร เปียถนอม Apr 2022

การเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร, นิเทศก์ ศรีเมือง, ปทุมพร เปียถนอม

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของข้าราชการครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู ปีการศึกษา 2564 จำนวน 305 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ตารางสำเร็จรูปของโคเฮน และใช้การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.989 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า 1) ความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ 2) ข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษา และตำแหน่งต่างกัน มีการรับรู้ความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยข้าราชการครูที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี มีค่าเฉลี่ยของการรับรู้ มากกว่า ระดับปริญญาตรี ตำแหน่ง ครู (คศ.3) ขึ้นไป มากกว่า ครู (คศ.1) และตำแหน่ง ครู (คศ.2) มากกว่า ครู (คศ.1) ส่วนข้าราชการครูที่สังกัดขนาดสถานศึกษา และต้นสังกัด ต่างกัน มีการรับรู้ความสามารถในการดูดซับความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน


ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2, มารุต ศักดิ์แสงวิจิตร, ทิวัตถ์ มณีโชติ Jan 2021

ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2, มารุต ศักดิ์แสงวิจิตร, ทิวัตถ์ มณีโชติ

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาระดับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู 2) ศึกษาระดับความมุ่งมั่นในการทำงานของครู และ 3) เพื่อวิเคราะห์ผลของภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการทำงานของครู กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูที่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 357 คน ใช้วิธีสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .987 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า 1) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู อยู่ในระดับมาก 2) ความมุ่งมั่นในการทำงานของครู อยู่ในระดับมาก 3) ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความุ่งมั่นในการทำงานของครู พบว่ามี 2 ด้านที่ส่งผล คือ ด้านการสอนงาน และด้านความสามารถในการรับฟัง มีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ เท่ากับ .801 อธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 64.20


การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ศรสวรรค์ เรืองวิจิตร, เหม ทองชัย, ดวงเนตร ธรรมกุล Oct 2019

การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา, ศรสวรรค์ เรืองวิจิตร, เหม ทองชัย, ดวงเนตร ธรรมกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบเชิงสำรวจของภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้า กลุ่มตัวอย่าง คือผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจำนวน 375 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าที่มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายฉบับเท่ากับ 0.88 โดยเริ่มเก็บรวบรวมข้อมูลในเดือนมกราคมปี พ.ศ. 2561 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ หมุนแกนองค์ประกอบแบบออโธโกนอลด้วยวิธีแวริแมกซ์ ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบของภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้าของผู้บริหารสถานศึกษา ทำให้ได้ตัวแปร 37 ตัวบ่งชี้ที่ไม่เป็นเมทริกซ์เอกลักษณ์ (Bartlett’s test: χ2 = 28487.57, df = 666, p = .00) มีค่า KMO = 0.89ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเมื่อหมุนแกนโดยวิธีแวริแมกซ์แล้ว พบว่าได้ 10 องค์ประกอบ ได้แก่1) การทำงานเป็นทีม 2) ความเป็นผู้นำของผู้นำ 3) ความไว้วางใจ 4) ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ 5) ทรัพยากรมนุษย์6) การให้บริการ 7) การสื่อสาร 8) มนุษยสัมพันธ์ 9) การกระจายอำนาจ และ 10) การบริหารการเปลี่ยนแปลงซึ่งสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ร้อยละ 95.23 โดยองค์ประกอบการทำงานเป็นทีมมีร้อยละความแปรปรวนมากที่สุด (ร้อยละ 44.85) และองค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลง มีร้อยละความแปรปรวนน้อยที่สุด (ร้อยละ 2.71) ดังนั้นการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงก้าวหน้า ควรคำนึงถึงองค์ประกอบทั้ง 10 นี้ เพื่อพัฒนาให้เกิดคุณลักษณะเหล่านี้ต่อไป


ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข, บุรินทร์ เทพสาร, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์ Jul 2017

ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข, บุรินทร์ เทพสาร, อภิภา ปรัชญพฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยบรรยายมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลงสถาบัน อุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข โดยการรวบรวมและวิเคราะห์เอกสาร จากการสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านองค์กรแห่งความสุข ผู้บริหารองค์ภาคเอกชน ผู้บริหารสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 19 คน แบบสอบถามกับบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาเอกชน 405 คน และการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยา ผลการวิจัย พบว่า ยุทธศาสตร์การบริหารการเปลี่ยนแปลง สถาบันอุดมศึกษาเอกชนสู่การเป็นองค์กรแห่งความสุข คือ Happy HERMES Strategies ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1) ยุทธศาสตร์การสร้างเสริมบุคลากรมีความสุขกับสุขภาวะดี (Happy Healthy) 2) ยุทธศาสตร์การพัฒนาบุคลากรมีความสุข ด้วยความฉลาดทางอารมณ์(Happy Emotional Quotient) 3) ยุทธศาสตร์การสนับสนุนบุคลากรมีความสุขกับการมีความรับผิดชอบ(Happy Responsibility) 4) ยุทธศาสตร์การส่งเสริม บุคลากรสร้างสุขทางการเงิน(Happy Money) 5) ยุทธศาสตร์การสร้างความผูกพันระหว่างบุคลากรกับองค์กร (Happy Engagement) และ 6) ยุทธศาสตร์การส่งเสริมให้บุคลากรมีความสุขกับการเป็นผู้มีส่วนได้เสีย (Happy Stakeholder)