Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

ประสิทธิผล

Publication Year

Articles 1 - 6 of 6

Full-Text Articles in Education

รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, ชัยพร พันธุ์น้อย, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Oct 2019

รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ, ชัยพร พันธุ์น้อย, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กำหนด และประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลสำหรับการบริหารงานของสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหาร และตัวแทนบุคลากรของสถานศึกษาที่อยู่ในความดูแลของสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 172 แห่ง แห่งละ 3 คน รวมทั้งหมด 516 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศูนย์การศึกษาพิเศษ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอยและการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า (1) องค์ประกอบการบริหารการเปลี่ยนแปลงที่มีประสิทธิผลของศนูย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ได้แก่ บุคลากร กระบวนการบริหาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ(2) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงฯ ที่พัฒนาขึ้นเป็นชุดการเปลี่ยนแปลงจุดเน้น วัตถุประสงค์กระบวนการ วิธีการ ซึ่งเป็นวงจรการปฏิบัติที่ต่อเนื่องของการวางแผน การนำไปใช้ การตรวจสอบ และการประเมิน และ (3) รูปแบบการบริหารการเปลี่ยนแปลงฯ ที่พัฒนาขึ้นมีความถูกต้อง เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีการกระจายตัวของข้อมูลน้อย


กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผลในเขตกรุงเทพมหานคร, อนงค์นาฏ รัตน์ศิริจันทร์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Oct 2019

กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผลในเขตกรุงเทพมหานคร, อนงค์นาฏ รัตน์ศิริจันทร์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ กำหนดกลยุทธ์ และประเมินกลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชนที่มีประสิทธิผล ประชากรได้แก่ผู้บริหาร และตัวแทนครูโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร โรงเรียนละ 2 คน จาก 750 โรง รวม 1,500 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินกลยุทธ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์การถดถอย และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการดำเนินงานทางการตลาดที่ส่งเสริมการบริหารโรงเรียนอนุบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ความสัมพันธ์กับลูกค้า ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อย (2) การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบย่อยและ (3) การส่งเสริมการขาย ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย 2) กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดฯ ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ (1) การบริหารความสัมพันธ์ (2) การสร้างนวัตกรรมเพื่อความได้เปรียบในการจัดการศึกษา และ (3) การส่งเสริมจุดขาย และ 3) ในภาพรวม กลยุทธ์การดำเนินงานทางการตลาดฯที่พัฒนาขึ้น มีความถูกต้อง เป็นไปได้ และเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล, รัชนี พันออด Jul 2019

รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล, รัชนี พันออด

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ กําหนดรูปแบบ และประเมินรูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล ประชากร ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนประถมศึกษาในเขตปริมณฑล โรงเรียนละ 9 คน จาก 761 โรง รวมทั้งสิ้น 6,849 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และแบบประเมินรูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาด้วยการมีส่วนนร่วมแบบเข้มของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อการจัดการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ (1) การปฏิรูปการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา (2) การปฏิรูปการจัดทําหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ (3) การปฏิรูปการประกันคุณภาพการศึกษา และ (4) การปฏิรูปการวัดและประเมินผลซึ่งรวมได้เป็น 15 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาฯ เป็นชุดของการเข้ามามีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การปฏิบัติ การรับผลที่เกิดขึ้น และการประเมินผล ในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลงจุดเน้นวัตถุประสงค์ กระบวนการ และวิธีการ ให้การจัดการศึกษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และ 3) รูปแบบการปฏิรูปคุณภาพการศึกษาฯ ในภาพรวม มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้บทเรียน ๑ ประเด็น, สักรินทร์ อยู่ผ่อง Oct 2014

รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้บทเรียน ๑ ประเด็น, สักรินทร์ อยู่ผ่อง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กรโดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ วิศวกร ช่างเทคนิค หัวหน้างาน ในสถานประกอบการอุตสาหกรรมการผลิต จำนวน 10 คน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง วิธีการดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 การศึกษาความต้องการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น ขั้นที่ 2 การพัฒนารูปแบบ ขั้นที่ 3 การนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ฝึกอบรมกับกลุ่มตัวอย่าง และขั้นที่ 4 การประเมินติดตามผลหลังการฝึกอบรม ผลการวิจัยพบว่า บุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กรมีความต้องการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็น อยู่ในระดับมากที่สุด (X ?= 4.67, S.D.= 0.38) รูปแบบการพัฒนาการเรียนรู้ของบุคลากรสายอุตสาหกรรมการผลิตในองค์กร โดยใช้เทคนิคบทเรียน 1 ประเด็นที่พัฒนาขึ้น นำไปสนทนากลุ่ม (Focus Group) ผลจากการสัมมนาผู้ทรงคุณวุฒิ พบว่ารูปแบบการเรียนรู้ฯ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X ?= 4.70, S.D.= 0.51) การนำรูปแบบการเรียนรู้ไปใช้ พบว่าผู้เข้ารับการอบรมได้คะแนนจากภาคปฏิบัติการทำบทเรียน 1 ประเด็น โดยเฉลี่ยคิดเป็นร้อยละ 93.99 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 80 และการติดตามผลการจัดทำบทเรียน 1 ประเด็น ของหัวหน้างานหลังจากที่ผ่านการฝึกอบรมไปแล้ว 1 เดือน มีผลการประเมินในภาพรวมคิดเป็นร้อยละ 91.66 และการติดตามจากผู้บริหาร หัวหน้างาน และฝ่ายทรัพยากรบุคคล ในสถานประกอบการ พบว่า ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (X ?= 3.84, S.D.= 0.78) และทุกรายการอยู่ในระดับมาก


โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, ปกรณ์ ลวกุล Jul 2013

โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล, ปกรณ์ ลวกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล โดยใช้กรอบแนวคิดจากบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยตาม พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ. ๒๕๔๘ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคล ประกอบด้วย กรรมการสภามหาวิทยาลัย กรรมการสภาคณาจารย์และข้าราชการ และผู้บริหารตั้งแต่ระดับรองคณบดีขึ้นไป จำนวนทั้งสิ้น ๓๗๔ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความคิดเห็น การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และการใช้ โปรแกรม LISREL ๘.๗๒ ในการ วิเคระห์ความตรงเชิงโครงสร้างของโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า โมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อบทบาทหน้าที่ของสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์อยู่ในเกณฑ์ดี โดยพิจารณาจาก ค่าไค-สแควร์เท่ากับ ๑.๑๔๓ ที่องศาอิสระเท่ากับ ๑๒๔ ดัชนี GFI เท่ากับ ๐.๙๒ ดัชนี AGFI เท่ากับ ๐.๘๗ ค่า Standardizer RMR เท่ากับ ๐.๐๒๗ และค่า RMSEA เท่ากับ ๐.๐๔๘ ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อบทบาทหน้าที่ของ สภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ได้แก่ ภาวะผู้นำ เครือข่ายความร่วมมือ โครงสร้าง ภูมิหลัง และ ระบบบริหาร


มุมห้องเรียน, อรนุชา อัฏฏะวัชระ Jul 2012

มุมห้องเรียน, อรนุชา อัฏฏะวัชระ

Journal of Education Studies

No abstract provided.