Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

2016

ครุศึกษา

Articles 1 - 3 of 3

Full-Text Articles in Education

การสอนพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ, นวรัตน์ หัสดี Apr 2016

การสอนพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ, นวรัตน์ หัสดี

Journal of Education Studies

การสอนพลศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามแนวคิดของบรรดิการพลศึกษา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยมีการวางแผน การประเมินผล การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ทั้งด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา หลักสูตร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อตอบสนองต่อความสามารถและความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูพลศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษตามแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมพลศึกษา การออกกำลังกายและกีฬา มุ่งเน้นให้นักเรียนได้พัฒนากล้ามเนื้อ ช่วยแก้ไขส่วนที่บกพร่องและเสริมสร้างพัฒนาการทุกด้านให้เหมือนหรือใกล้เคียงความปกติให้มากที่สุด


การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี, ศิริวรรณ จันทรัศมี Apr 2016

การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี, ศิริวรรณ จันทรัศมี

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี โดยมีขั้นตอนในการพัฒนาหลักสูตร 4 ขั้นตอน คือ 1) การศึกษาความต้องการ ความจำเป็นในการฝึกอบรม 2) การสร้างหลักสูตร 3) การนำหลักสูตรไปปฏิบัติจริง และ4) การประเมินผลหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มผู้เข้ารับการอบรม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 3 จำนวน 30 คน โดยใช้การวิจัยแบบ One group pretest-posttest design โดยเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนวัดความรู้ ทักษะ และค่านิยม ก่อนและหลังการฝึกอบรม ทำการวิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ t-test แบบ Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฝึกอบรมภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ สำหรับผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน จังหวัดชลบุรี ประกอบด้วย สภาพปัญหาและความจำเป็นในการฝึกอบรม หลักการของหลักสูตร จุดมุ่งหมายของหลักสูตร เนื้อหาของหลักสูตร แนวทางการฝึกอบรม กระบวนการฝึกอบรม ระยะเวลาที่ใช้ในการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม และการประเมินผลการฝึกอบรม เนื้อหาของหลักสูตร ประกอบด้วย หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ทักษะทางการบริหารตามแบบภาวะผู้แบบผู้รับใช้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ทักษะทางสังคมตามแบบภาวะผู้แบบผู้รับใช้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ทักษะทางการพัฒนาตามแบบภาวะผู้แบบผู้รับใช้ และหลักสูตรฝึกอบรมมีความเหมาะสม สอดคล้อง และมีประสิทธิภาพ 2) การทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม ผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนด้านความรู้ ทักษะ และค่านิยมตามแบบคุณลักษณะภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เข้ารับการอบรมจำนวน 30 คน มีความสนใจในการฝึกทักษะภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ ซักถามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ และให้ความร่วมมือในการร่วมกิจกรรมเป็นอย่างดี


การวิเคราะห์บทเพลงคัดสรรสำหรับนิสิตรายวิชาเครื่องสีไทย กรณีศึกษาทางเดี่ยวซออู้เพลงสุรินทราหูสามชั้น, ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ Apr 2016

การวิเคราะห์บทเพลงคัดสรรสำหรับนิสิตรายวิชาเครื่องสีไทย กรณีศึกษาทางเดี่ยวซออู้เพลงสุรินทราหูสามชั้น, ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์

Journal of Education Studies

การวิเคราะห์บทเพลงคัดสรรสำหรับนิสิตรายวิชาเครื่องสีไทย กรณีศึกษา ทางเดี่ยวซออู้เพลงสุรินทราหู สามชั้นนั้น เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์สังคีตลักษณ์และเทคนิควิธี ที่ปรากฏในบทเพลงคัดสรรเพลงนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ ทางเดี่ยวซออู้เพลงสุรินทราหู สามชั้น สำนวนของ ผศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศที่ 1 ระดับประเทศ งานศิลปหัตถกรรมนักเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 62 พ.ศ.2556 ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวน 3 ชิ้นประกอบไปด้วย แบบบันทึกโน้ตเพลงไทย แบบวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ และแบบวิเคราะห์เทคนิควิธี การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการถอดทางเดี่ยวและทำนองหลักเป็นโน้ตไทยแบบ 8 ห้องเพลง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การอ่านวิเคราะห์แนวคิดแบบอุปนัย ร่วมกับการวิเคราะห์สังคีตลักษณ์ตามองค์ประกอบเนื้อหา/สาระดนตรีของ พิชิต ชัยเสรี (2548) และเกณฑ์มาตรฐานดนตรีไทยและเกณฑ์การประเมินของ สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย (2544) ตามขอบเขตหัวข้อที่กำหนดในกรอบแนวคิดการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์ปรากฏดังนี้ คือ 1) ด้านจังหวะ เชิงปริมาณ จังหวะฉิ่งใช้การบรรเลงฉิ่งในอัตราจังหวะสามชั้นในเที่ยวหวาน และสองชั้นในเที่ยวเก็บ ส่วนเชิงคุณภาพ จังหวะหน้าทับใช้จังหวะหน้าทับปรบไก่ สามชั้น เป็นหลักในการบรรเลง 2) ทำนอง ในมิติของคุณภาพเสียงดัง ? เบา ปรากฏตามวัตถุประสงค์การประดิษฐ์เสียงของผู้ประพันธ์ตลอดทั้งเพลง และในมิติของสำเนียง พบว่าเป็นเพลงไทยสำเนียงมอญ 3) การประสานเสียง พบว่า มีการประสานเสียงเฉพาะแนวดิ่งในทำนองหลักเท่านั้น และไม่พบการประสานเสียงในแนวนอนแต่อย่างใด 4) รูปแบบ ในมิติของแบบแผนการบรรเลง พบว่า เป็นไปตามขนบวัฒนธรรมเพลงเดี่ยวในกลุ่มเครื่องสาย คือ บรรเลงเที่ยวหวาน 1 เที่ยว เที่ยวเก็บ 1 เที่ยว ไล่เรียงทั้ง 3 ท่อน ส่วนในมิติของแบบแผนท่วงทำนอง พบว่า เพลงนี้เป็นเพลง 3 ท่อน ท่อน 1 มี 3 จังหวะ ท่อน 2 และท่อน 3 มีท่อนละ 4 จังหวะ …