Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Chulalongkorn University

Journal

2007

Articles 1 - 27 of 27

Full-Text Articles in Education

คิดนอกกรอบ, วรรัตน์ อภินันท์กูล Apr 2007

คิดนอกกรอบ, วรรัตน์ อภินันท์กูล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: อีกหนึ่งแนวคิดของการดูแลและการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์ Apr 2007

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: อีกหนึ่งแนวคิดของการดูแลและการจัดการศึกษาให้แก่เด็กปฐมวัย, จีระพันธุ์ พูลพัฒน์

Journal of Education Studies

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นหน่วยงานหนึ่งที่เข้ามาดูแลรับผิดชอบการจัดการศึกษาสำหรับเด็กปฐมวัย โดยมีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาหลักให้การดูแลและการจัดการศึกษาให้แก่เด็ก ปฐมวัยผ่านการดูแลของผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กชุมชนปานุราชได้นำแนวคิดการสอนแบบศูนย์ การเรียนบูรณาการกับแนวคิดการสอนแบบมอนเตสซอรี่ มาเป็นแนวทางในการทำงานกับเด็กปฐมวัย ได้ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิผล เนื่องด้วยความตั้งใจจริงของผู้ดูแลเด็ก การสนับสนุนจาก ผู้บริหาร ทำให้ผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการทำงานกับเด็กปฐมวัย ผู้ปกครองและชุมชนได้อย่างดี และได้รับการยกย่องเป็นศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบที่เหมาะสําหรับเป็นแหล่งเรียนรู้สําหรับผู้ทํางานกับเด็กปฐมวัย


นกกระเต็นด่อน : วิเคราะห์ความเชื่อ และภาพสะท้อนของสังคม, ศุภชัย ภักดี, สนม ครุฑเมือง Apr 2007

นกกระเต็นด่อน : วิเคราะห์ความเชื่อ และภาพสะท้อนของสังคม, ศุภชัย ภักดี, สนม ครุฑเมือง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์ความเชื่อ และภาพสะท้อนสังคมจากวรรณกรรม เรื่อง นกกระเต็นด่อน ซึ่งชำระโดย พระราชรัตโนบล (พิมพ์ นารโท) ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อที่ปรากฏใน วรรณกรรมเรื่อง นกกระเต็นด่อน พบความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ มากที่สุด รองลงมาคือ ความเชื่อเรื่อง ฤกษ์ ยาม โชค เคราะห์ ความเชื่อเรื่องนรกสวรรค์ ความเชื่อเรื่องบุคคล ความเชื่อเรื่องภูตผี ปีศาจ ความเชื่อเรื่องเครื่องรางของขลัง ไสยศาสตร์ ความเชื่อเรื่องสุขภาพ และสวัสดิภาพ ความเชื่อเรื่อง หมอดู โหราศาสตร์ ความเชื่อเรื่องสิ่งแวดล้อมและความเชื่อที่ไม่พบในวรรณกรรมเรื่องนี้เลย คือ ความ เชื่อเรื่องเพศกับความความฝัน การศึกษาภาพสะท้อนทางสังคม พบว่า ผู้แต่งได้สะท้อนภาพและสะท้อน สังคม คือ สภาพความเป็นอยู่ การเมืองการปกครอง ประเพณีและคติธรรม


เปิดประเด็น, ระวี สัจจโสภน Apr 2007

เปิดประเด็น, ระวี สัจจโสภน

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ค่ายการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเยาวชน : โครงการบริการวิชาการในความร่วมมือของ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และธนาคารอาคารสงเคราะห์, วรรณี เจตจํานงนุช, เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ Apr 2007

ค่ายการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเยาวชน : โครงการบริการวิชาการในความร่วมมือของ คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ และธนาคารอาคารสงเคราะห์, วรรณี เจตจํานงนุช, เกียรติศักดิ์ แสงอรุณ

Journal of Education Studies

เยาวชนเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่สำคัญ เต็มไปด้วยพลังแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาเยาวชนไทย ให้ได้รับการศึกษานั้น นอกจากสถาบันครอบครัวยังมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนอีกมากมาย ที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนา พระราชบัญญัติการศึกษาของไทยทําให้เห็นว่า การจัดการศึกษา ของชาติ จะต้องมุ่งพัฒนาคุณธรรมที่พึงประสงค์ ให้บุคคลทุกคนในชาติ มีคุณธรรมขั้นพื้นฐาน การพัฒนาคนจึงได้รับการเอาใจใส่เป็นอย่างดียิ่ง จากองค์กรทั้งรัฐและเอกชนโดยเฉพาะในเรื่องของ การให้การศึกษา การพัฒนาคนออกเป็น ๔ แนวทางหลัก คือ ๑) การพัฒนาทางกาย ๒) การพัฒนา ความรู้ ๓) การพัฒนาคุณธรรม และ ๔) การพัฒนาด้านทักษะและความชำนาญ การศึกษาเพื่อพัฒนา ทักษะชีวิตเป็นการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อสร้างเสริมความรู้ความสามารถของบุคคล ให้สามารถ จัดการกับตนเอง สิ่งแวดล้อม ให้มีความสุขตามสภาพ ความสงบสุข ความปลอดภัยในสังคม ทักษะชีวิต ที่จำเป็นที่สุดที่ทุกคนควรมีคือ ๑) ทักษะการตัดสินใจ ๒) ทักษะการแก้ปัญหา ๓) ทักษะการคิด สร้างสรรค์ ๔) ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ๕) ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ ๖) ทักษะการ สร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ๗) ทักษะการตระหนักรู้ในตน ๔) ทักษะการเข้าใจผู้อื่น ๙) ทักษะการ จัดการกับอารมณ์ ๑๐)ทักษะการจัดการกับความเครียด คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีส่วน ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นผู้มีทักษะชีวิต มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามจุดมุ่งหมายของ การศึกษาไทย ในปี ๒๕๕๘ - ๒๕๕๐ สำนักงานกิจการนิสิต และสำนักวิจัยและบริการวิชาการ คณะ ครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมความรู้ให้กับบุตรพนักงาน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ทั้งในรูปแบบของการอบรมและกิจกรรมค่ายเยาวชน ซึ่งถือเป็นกิจกรรมความ ร่วมมือทางวิชาการร่วมกับธนาคารอาคารสงเคราะห์ กระทรวงการคลัง และเป็นพันธกิจที่มุ่งพัฒนา เยาวชนของชาติให้เป็นคนเก่ง ดี และมีความสุข ตามจุดมุ่งหมายการศึกษา


แนะนำหนังสือ, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล Apr 2007

แนะนำหนังสือ, สุวิธิดา จรุงเกียรติกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เทคนิคและวิธีสอนนาฏศิลป์ในระดับประถมศึกษา, สุกัญญา ทรัพย์ประเสริฐ Apr 2007

เทคนิคและวิธีสอนนาฏศิลป์ในระดับประถมศึกษา, สุกัญญา ทรัพย์ประเสริฐ

Journal of Education Studies

บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นประโยชน์และแนวทางสำหรับครูผู้สอนวิชานาฏศิลป์ในระดับ ประถมศึกษา โดยเฉพาะระดับประถมศึกษาตอนต้น ในการนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อให้ ผู้เรียนเรียนอย่างมีความสุขและพัฒนาการเรียนการสอนวิชานาฏศิลป์ให้ดียิ่งขึ้น


มาตรฐานวิชาชีพครูสุขศึกษาและพลศึกษา, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ Apr 2007

มาตรฐานวิชาชีพครูสุขศึกษาและพลศึกษา, เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์

Journal of Education Studies

มาตรฐานวิชาชีพครูสุขศึกษาและพลศึกษา เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ ซึ่งใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาในสถานศึกษาทั่วไประดับการศึกษาขั้นพื้นฐานตามปรัชญาและแนวคิดหลักทั่วไป ครูสุขศึกษาควรมีความรู้ความสามารถในการจัดสิ่งแวดล้อมทางสุขภาพ การจัดบริการสุขภาพในโรงเรียนและการจัดการเรียน การสอนสุขศึกษา ส่วนครูพลศึกษาควรมีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาในชั้นเรียนการจัดแข่งขันกีฬาภายในโรงเรียน การจัดแข่งขันกีฬาระหว่างโรงเรียน การจัดกิจกรรมนันทนาการและการจัดกิจกรรมพลศึกษาสําหรับเด็กพิเศษ นอกจากนั้นครูสุขศึกษาและครูพลศึกษา ควรมีคุณลักษณะที่ พึงประสงค์สอดคล้องกับพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๖ อีกด้วย ซึ่งได้แก่ คุณลักษณะในด้านมาตรฐานความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และมาตรฐาน การปฏิบัติตน โดยครูสุขศึกษาและพลศึกษาควรมีความรู้ในการดูแลสุขภาพและสมรรถภาพ การป้องกัน โรค การสร้างเสริมสุขภาพและสมรรถภาพ ศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ มีคุณธรรม รู้จักรักษาสุขภาพ เป็น แบบอย่างที่ดีในเรื่องสุขภาพและสมรรถภาพ สามารถจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยคำนึงถึง ผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้ผู้เรียนรู้จักคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ สามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหา สุขภาพได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนประสานความร่วมมือกับชุมชนและพัฒนาสุขภาพของชุมชนด้วย


ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมในสัปดาห์แสนสนุกสุขหรรษา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗, นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์, ศรียา เนตรน้อย, อนุทัย โรจนวิภาต Apr 2007

ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมในสัปดาห์แสนสนุกสุขหรรษา กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗, นวรัตน์ สุขวัฒนาสินิทธิ์, ศรียา เนตรน้อย, อนุทัย โรจนวิภาต

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมในสัปดาห์แสนสนุกสุขหรรษากับ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๗ มีวัตถุประสงค์ ๒ ประการคือ ๑) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมที่นักเรียนเลือกกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนในรายวิชานั้น ๒) ศึกษาเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชา ระหว่าง นักเรียนที่มีโปรแกรมการเลือกเรียนแตกต่างกัน ผลการวิจัยพบว่า ๑) ความสัมพันธ์ระหว่างการเลือกเรียนโปรแกรมกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในรายวิชาที่ เกี่ยวข้องกับโปรแกรมการเลือกของนักเรียน ตลอดการเลือกทั้ง ๓ ครั้งพบว่า มีเพียง ๑ โปรแกรมที่มี ความสัมพันธ์ระหว่างโปรแกรมการเลือกกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ โปรแกรมภาษาไทยกับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาไทยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พบค่าความสัมพันธ์ที่ระดับนัยสําคัญ.๐๕ ๒) คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในแต่ละรายวิชาพบว่า ในระดับชั้นประถม ศึกษาปีที่ ๑ นักเรียนที่เลือกเรียนตามโปรแกรมต่างๆ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนรายวิชาสูงทุกวิชา ๓) ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคต้นและภาคปลาย คะแนนเฉลี่ยรายวิชาของนักเรียน สูงขึ้นทุกวิชาเมื่อนําไปเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ๔ กลุ่มวิชากับโปรแกรมที่นักเรียนเลือกในแต่ละครั้งเป็นดังนี้ ๑) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง ๔ กลุ่มรายวิชาของ นักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย ๓.๙๕๔ และ ๓.๙๔๒ ตามลำดับ ๒) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ การวัดครั้งที่ ๑ ภาคเรียนที่ ๑ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทั้ง ๔ กลุ่มรายวิชาของนักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงานอาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย ๓.๙๔๐ และ ๓.๙๗๓ ตามลำดับ ๓) การวัดครั้งที่ ๒ ของระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ภาคเรียนที่ ๒ คะแนนผลสัมฤทธิ์ทาง การเรียนทั้ง ๔ กลุ่มรายวิชาของนักเรียนทุกโปรแกรมมีค่าเฉลี่ยสูง โดยเฉพาะวิชาดนตรีและการงาน อาชีพ มีคะแนนเฉลี่ย ๓.๙๘๙ และ ๓.๙๗๔ ตามลำดับ


การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าทํางานตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, สุพรรณิกา กัลยาณมิตร, อาชัญญา รัตนอุบล Apr 2007

การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนเข้าทํางานตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, สุพรรณิกา กัลยาณมิตร, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (๑) เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของสายการบินด้านความรู้ ด้านทักษะ ที่จำเป็น และด้านทัศนคติในการทํางานบริการของบุคคลที่จะรับเข้าทํางานเป็นพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน ความต้องการของผู้โดยสารด้านความประทับใจในการบริการของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (๒) เพื่อ วิเคราะห์ความต้องการของผู้เข้าฝึกอบรมด้านเนื้อหาวิชา ด้านวิธีการฝึกอบรม และด้านวิธีการประเมินผล (๓) เพื่อพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้าทำงานตำแหน่งพนักงานต้อนรับบน เครื่องบิน (๔) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการนํารูปแบบการฝึกอบรมไปใช้ เป็นการวิจัย เชิงพรรณนาโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพประกอบเชิงปริมาณ รวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เชิงคุณลักษณะกับกลุ่มผู้บริหารสายการบินตัวอย่าง ๕ สายจํานวน ๒๕ คน กลุ่มผู้โดยสารของสายการบิน ตัวอย่าง ๕ สายจํานวน ๕๐ คน กลุ่มผู้เข้าฝึกอบรมของสถาบันฝึกอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเข้า ทำงานตำแหน่งพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน จํานวน ๓๐ คนมาวางแผนและออกแบบหลักสูตรเพื่อสรุป (ร่าง) รูปแบบการฝึกอบรมให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ๗ คนตรวจสอบ นำ (ร่าง) รูปแบบไปทดลองกับผู้เข้าฝึกอบรม ของสถาบันฝึกอบรมตัวอย่างจํานวน ๒๐ คน เปรียบเทียบผลการทดลองกับการใช้รูปแบบเดิมในการ ฝึกอบรม ปรับปรุงแก้ไขเสนอรูปแบบการฝึกอบรมที่สมบูรณ์ ผลการวิจัยพบว่าการพัฒนารูปแบบเกิดจาก การวางแผนในการกําหนดคุณสมบัติที่สอดคล้องกับทักษะที่จําเป็นที่ค้นพบจากการวิจัยเพื่อนํามาสู่การออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมและการประเมินผล ทําให้ค้นพบรูปแบบการฝึกอบรมคือ ขั้นที่ ๑ วิเคราะห์ ความรู้ ทักษะที่จําเป็น และทัศนคติในการทำงานบริการ ขั้นที่ ๒ วิเคราะห์การขาดความรู้ ทักษะที่จำเป็น และทัศนคติในการทำงานบริการ ขั้นที่ ๓ จัดลําดับเนื้อหาวิชา ขั้นที่ ๔ กำหนดวัตถุประสงค์ ขั้นที่ ๕ กำหนดยุทธศาสตร์ ขั้นที่ ๖ กำหนดวิธีการฝึกอบรม ขั้นที่ ๗ ดำเนินการฝึกอบรม ขั้นที่ ๔ นิเทศการปฏิบัติ จริง ขั้นที่ ๙ ประเมินผล นำรูปแบบไปทดลองใช้พบว่าผู้เข้าฝึกอบรมได้รับความรู้ ทักษะ ทัศนคติอยู่ใน ระดับมาก ร้อยละ ๙๒.๑ มีความพึงพอใจด้านเนื้อหาวิชา วิทยากร การจัดบรรยากาศในการเรียนรู้และ การประเมินผลในระดับมาก มีความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนดีมากคิดเป็นร้อยละ ๔๕ มีส่วนร่วมในการ ฝึกอบรมดีมากร้อยละ ๔๕ …


บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส ของวัยรุ่นภาคกลางตอนบนของประเทศไทย, สุมาลี สวยสอาด Apr 2007

บุพปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส ของวัยรุ่นภาคกลางตอนบนของประเทศไทย, สุมาลี สวยสอาด

Journal of Education Studies

การศึกษาวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาถึงสภาพของครอบครัว สภาพแวดล้อม จิตวิทยาสังคม และการมี เพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของวัยรุ่น รวมทั้งอิทธิพลของครอบครัว สภาพแวดล้อม และจิตวิทยาสังคม ที่มี ผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของวัยรุ่น การวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการผสมผสานทั้งแนวทางเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ด้วยการใช้ แบบสอบถามวัยรุ่น ตัวอย่างเป็นนักเรียนที่กําลังศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔, ๕ และ ๖ ภาคการศึกษา ที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ จํานวน ๑,๙๑๗ คน และแบบสัมภาษณ์เจาะลึกจํานวน ๒๕ คน ในพื้นที่ ๘ จังหวัด ของภาคกลางตอนบน คือ ลพบุรี สระบุรี สิงห์บุรี ชัยนาท อยุธยา อ่างทอง ปทุมธานี และ นนทบุรี โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ทวิ การทำตารางไขว้ การวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบเชิง ชั้น และการวิเคราะห์เส้นทางความสัมพันธ์ ผลจากการศึกษา พบว่า วัยรุ่นส่วนใหญ่ต่างมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในครอบครัว ค่อนข้างดี มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ครอบครัวอบรมสั่งสอนในด้านสุขอนามัยทางเพศ การ และการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าการอธิบายถึงลักษณะ ทางสรีระวิทยาแก่วัยรุ่น สำหรับการอบรมเลี้ยงดูส่วนใหญ่เป็นแบบประชาธิปไตยมีการรับฟังเหตุผล เปลี่ยนแปลงด้านอารมณ์จิตใจนอกจากนี้วัยรุ่นส่วนใหญ่ให้ความสนใจในการยอมรับจากกลุ่มเพื่อนมากกว่าการติดตามข้อมูลข่าวสาร เกี่ยวกับเรื่องเพศจากสื่อต่างๆ และจากโรงเรียน โดยวัยรุ่นมีความรู้ความเข้าใจด้านอนามัยเจริญพันธุ์ ค่อนข้างดี มีทัศนคติและค่านิยมที่ดีเกี่ยวกับเรื่องเพศ เริ่มมีแฟนหรือคนรักตอนอายุระหว่าง ๑๒-๑๕ ปี มี การเกี้ยวพาราสีสู่การนัดหมายที่ส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในช่วงอายุระหว่าง ๑๒-๑๕ ปี สาเหตุส่วนใหญ่ของการมีเพศสัมพันธ์มาจากความต้องการทางเพศของวัยรุ่นชายมากที่สุด รองลงมา เป็นการหาประสบการณ์ ความต้องการผูกมัด และการถูกบังคับข่มขู่ ซึ่งมักจะเกิดในเพศหญิงมากกว่า เพศชาย สำหรับสถานที่ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมักจะเป็นบ้านแฟนหรือคู่รัก สำหรับปัจจัยด้านประชากร พบว่า วัยรุ่นที่มีอายุมาก และสถานภาพการแยกกันอยู่ของบิดา มารดามีผลโดยตรงต่อการเกิดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรสของวัยรุ่น และความเป็นเพศหญิงร่วมกับการ พักอาศัยอยู่กับบิดามารดาช่วงเรียนหนังสือมีผลทางอ้อมต่อการเกิดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส ส่วน ปัจจัยด้านครอบครัว พบว่าการอบรมสั่งสอนเรื่องเพศที่ถูกต้อง และลักษณะการอบรมเลี้ยงดูแบบ เข้มงวด บนพื้นฐานของการรับฟังเหตุผล มีผลทั้งทางตรงและทางอ้อมที่ไม่ก่อให้เกิดการมีเพศสัมพันธ์ ก่อนสมรสของวัยรุ่น สําหรับปัจจัยสภาพแวดล้อม พบว่าการเลือกคบเพื่อนที่ดี มีพฤติกรรมที่ไม่เสี่ยงต่อ การมีเพศสัมพันธ์ มีผลทางอ้อมต่อการไม่เกิดการมีเพศสัมพันธ์ก่อนสมรส ในขณะที่ปัจจัยจิตวิทยาสังคม …


การเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบการจัดการเรียน การสอนวิชาคณิตศาสตร์, พิมพ์พร อสัมภินพงศ์ Apr 2007

การเรียนแบบร่วมมือ รูปแบบการจัดการเรียน การสอนวิชาคณิตศาสตร์, พิมพ์พร อสัมภินพงศ์

Journal of Education Studies

คณิตศาสตร์มีบทบาทสําคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดของมนุษย์ ทําให้มนุษย์มีความคิด สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็นระบบ ระเบียบ สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ต่างๆ ได้ อย่างรอบคอบ คณิตศาสตร์จึงมีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตและช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ในสภาพการจัดการเรียนการสอนในปัจจุบันจะเห็นได้ว่า มีสภาพที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้กับนักเรียนเท่าใด นัก เนื่องจากปัจจัยหลากหลายประการทำให้นักเรียนไม่กล้าที่จะซักถาม หรือตอบคําถามที่ครูถาม เมื่อ นักเรียนไม่เข้าใจเนื้อหาในบทเรียนนี้ก็ทำให้นักเรียนขาดความตั้งใจเรียนในเรื่องต่อๆ ไป ดังนั้นครูควร จะมีวิธีการสอนที่จะช่วยให้นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นและมีส่วนร่วมในกิจกรรม การเรียนการสอนมากยิ่งขึ้นเพื่อที่จะทำให้นักเรียนรู้สึกว่าตนเป็นส่วนหนึ่งของชั้นเรียน การเรียนแบบร่วมมือ (Cooperative learning) เป็นรูปแบบหนึ่งในการจัดการเรียนการสอน ที่สามารถตอบสนองความต้องการที่ทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและฝึกการทำงาน ร่วมกับผู้อื่น โดยมากมักใช้เทคนิคการสอนเป็นกลุ่มเพื่อนที่ช่วยเหลือเพื่อนเป็นรายบุคคล (Team Assisted Individualization หรือ TAI) ปรับใช้ตามวิธีการของสลาวิน (Slavin, 1995) พัฒนาขึ้นให้มี ความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ในระดับชั้นประถมศึกษาโดยเฉพาะ ลักษณะที่สำคัญคือ การจัดนักเรียนเป็นกลุ่มกลุ่มละ ๔-๕ คน สมาชิกในกลุ่มต้องมีระดับความสามารถที่แตกต่างกัน หากพบ ปัญหานักเรียนจะช่วยเหลือกัน ประกอบด้วย ๑) การนำเข้าสู่บทเรียน ๒) ขั้นสอน ๓) ขั้นฝึกทักษะ ๔) ขั้นทดสอบ และ ๕) ขั้นประเมินผล การเรียนแบบร่วมมือเป็นวิธีการจัดการเรียนการสอนที่ช่วยให้นักเรียนรู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ได้รับประสบการณ์ที่สัมพันธ์กับชีวิตจริง ช่วยส่งเสริมทักษะทางสังคม ฝึกการช่วยเหลือ เกื้อกูลกัน ฝึกการทำงานกลุ่มและมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่ทําให้นักเรียนเกิดการยอมรับตนเองอันจะส่งผลให้นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อสิ่งต่างๆ รอบข้าง และยังช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยเฉลี่ยของ นักเรียนสูงขึ้น


การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ของสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วรรัตน์ อภินันท์กูล Apr 2007

การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ของสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชานโยบาย การจัดการ และความเป็นผู้นำทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วรรัตน์ อภินันท์กูล

Journal of Education Studies

การวิจัยเรื่อง การวิเคราะห์วิทยานิพนธ์ของสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน ภาควิชา นโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นําทางการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาในวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตของสาขาวิชาการ ศึกษานอกระบบโรงเรียน ระหว่างปีการศึกษา ๒๕๒๕ ถึงปีการศึกษา ๒๕๔๙ ด้วยวิธีการวิเคราะห์เชิง ปริมาณ วิทยานิพนธ์ที่นํามาวิเคราะห์มีทั้งหมด ๑๗๕ เล่ม เป็นวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ๑๔๗ เล่ม ดุษฎีบัณฑิต ๒๘ เล่ม ผู้วิจัยใช้แบบวิเคราะห์และคู่มือวิเคราะห์เป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล และ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงนับความถี่และคำนวณค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า รายละเอียดเกี่ยวกับผู้ทําวิทยานิพนธ์มีดังนี้ ผู้ทําวิทยานิพนธ์ส่วนมากเป็น เพศหญิง (ร้อยละ ๖๕.๗๑) อายุระหว่าง ๒๐ - ๓๐ ปี (ร้อยละ ๔๒.๔๖) โดยเป็นนิสิตระดับมหาบัณฑิต มากที่สุด (ร้อยละ ๔๔.๐๐) ส่วนปีที่สําเร็จการศึกษามากที่สุดจะอยู่ปี พ.ศ. ๒๕๔๗ (ร้อยละ ๙.๗๑) ส่วนมากสําเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยของรัฐ (ร้อยละ ๔๕.๗๑) และทํางานอยู่ในหน่วยงานของ รัฐบาล (ร้อยละ ๓๔.๔๖) โดยรายละเอียดเกี่ยวกับวิทยานิพนธ์มีดังนี้ ปรัชญาการศึกษานอกระบบ โรงเรียน ส่วนใหญ่มีการทำวิทยานิพนธ์ซึ่งสอดคล้องกับปรัชญาพิพัฒนาการนิยม (ร้อยละ ๕๓.๗๒) กิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียน ส่วนมากเป็นการศึกษานอกระบบโรงเรียนประเภทการศึกษาสาย สามัญ (ร้อยละ ๓๐.๒๙) พื้นที่ที่ศึกษา ส่วนใหญ่เลือกพื้นที่ที่ศึกษาคือ ๑ จังหวัด (ร้อยละ ๕๕.๔๓) ภาค ที่ทำการศึกษา ภาคที่เลือกทำการศึกษามากที่สุดคือ ภาคกลาง (ร้อยละ ๓๗.๑๔) หน่วยงานของประชากร ที่ทำการศึกษาที่นิยมทำการศึกษามากที่สุดคือ หน่วยงานรัฐบาล (ร้อยละ ๖๔.๐๐) กลุ่มเป้าหมายของการ ศึกษานอกระบบโรงเรียนที่เป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญที่สุดคือ กลุ่มผู้ใหญ่ (ร้อยละ ๗๒.๐๐) ระยะเวลาของ ข้อความรู้ ส่วนใหญ่เป็นการศึกษาสภาพที่เป็นอยู่ขณะปัจจุบัน (ร้อยละ ๕๗.๑๔) เป้าหมายของการวิจัย จุดเน้นอยู่ที่การวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษา (ร้อยละ ๓๕.๐๘) ประเภทของการวิจัย ส่วนใหญ่เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา …


การประเมินโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำเพื่อเป็นนักกีฬา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม แบบเรียนร่วมห้องเรียน, ณัฐพร สุดดี, สุปราณี จิราณรงค์ Jan 2007

การประเมินโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำเพื่อเป็นนักกีฬา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม แบบเรียนร่วมห้องเรียน, ณัฐพร สุดดี, สุปราณี จิราณรงค์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมิน ๑) ปัจจัยเบื้องต้น โดยพิจารณาจากความคิดเห็นที่มี ต่อโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำฯ ความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดตามดูแลนักเรียน ความคิดเห็นเกี่ยวกับคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการว่ายน้ำของนักเรียน ความเหมาะสมด้านระยะเวลาการจัด โครงการและระดับชั้น ๒) กระบวนการดำเนินการโดยพิจารณาจากความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการ จัดการเรียนรู้แบบเรียนร่วมห้อง รูปแบบการฝึกซ้อมว่ายน้ำของนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำฯ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนของนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬา ว่ายน้ำฯ ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการจัดโครงการและข้อเสนอแนะที่ควรเพิ่มเติมในการฝึกซ้อม สําหรับนักเรียนในโครงการ ๓) ผลผลิต โดยพิจารณาจากความพึงพอใจที่มีต่อประสิทธิภาพทางการ ว่ายน้ำ ความพึงพอใจที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับพัฒนาการด้านว่ายน้ำของนักเรียนใน โครงการฯ ระดับพัฒนาการของนักเรียนด้านต่างๆ และความพึงพอใจกับนักเรียนในโครงการ ๔) ความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯ ๕) ประสิทธิภาพทางทักษะกีฬาว่ายน้ำของนักเรียน ในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำฯ 5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโครงการพัฒนาทักษะ กีฬาว่ายน้ำฯ กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ๑) นักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำ จำนวน ๑๕ คน ๒) ผู้ปกครองนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำจำนวน ๑๕ คน ๓) อาจารย์ ประจำชั้น อาจารย์ประจำวิชา จำนวน ๙ คน ๔) ผู้ฝึกสอนกีฬาว่ายน้ำโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกพัฒนาการว่ายน้ำ และแบบรายงานการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ที่ผู้วิจัย สร้างขึ้น โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติหาค่าร้อยละ สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า ๑) ความคิดเห็นที่มีต่อโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำเพื่อเป็นนักกีฬาโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม แบบเรียนร่วมห้องเรียน ความคิดเห็นเกี่ยวกับการติดตามดูแล นักเรียน ความคิดเห็นเกี่ยวกับความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการว่ายน้ำของนักเรียน ความ เหมาะสมด้านระยะเวลาการจัดโครงการ และระดับชั้นอยู่ในระดับเหมาะสมมาก ๒) ความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบเรียนร่วมห้อง รูปแบบการฝึกซ้อมว่ายน้ำ ของนักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาว่ายน้ำ รูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนของ นักเรียนในโครงการพัฒนาทักษะกีฬาเพื่อเป็นนักกีฬาโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม แบบเรียนร่วมห้อง ปัญหาหรืออุปสรรคที่พบในการจัดโครงการ และข้อเสนอแนะที่ควรเพิ่มเติมในการ ฝึกซ้อมสําหรับนักเรียนในโครงการ อยู่ระดับเหมาะสมมาก ๓) ความพึงพอใจที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการว่ายน้ำ ความพึงพอใจที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระดับพัฒนาการด้านว่ายน้ำของนักเรียนในโครงการ ระดับพัฒนาการของนักเรียนด้านต่างๆ และ …


ศิลปะ : การค้นหาความหมายในบริบท สุนทรียศาสตร์ และจิตวิทยาในศิลปะ, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์ Jan 2007

ศิลปะ : การค้นหาความหมายในบริบท สุนทรียศาสตร์ และจิตวิทยาในศิลปะ, ปุณณรัตน์ พิชญไพบูลย์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ผลของการเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้เว็บเควสท์ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีความสามารถในการเรียนทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน, จุลลดา จุลเสวก Jan 2007

ผลของการเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้เว็บเควสท์ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีความสามารถในการเรียนทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน, จุลลดา จุลเสวก

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการเรียนแบบสืบสอบร่วมกับการใช้ เว็บเควสท์ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และเปรียบเทียบคะแนนความร่วมมือในการปฏิบัติงาน กลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่มีความสามารถในการเรียนทางวิทยาศาสตร์ต่างกัน ผลการ วิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนก่อนเรียน หลังเรียน และความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันที่ ระดับ .๐๕ ซึ่งกลุ่มสูง สูง ต่ำมีค่าเฉลี่ยของคะแนนความร่วมมือในการปฏิบัติงานกลุ่มสูงสุด ส่วนกลุ่ม สูง กลาง กลาง และกลุ่มสูง กลาง ต่ำ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด โดยกลุ่มสูง สูง ต่ำ มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงสุด ทั้งในด้านความรับผิดชอบ และด้านการให้ความช่วยเหลือ กลุ่มกลาง กลาง กลาง มีค่าเฉลี่ยของ คะแนนสูงสุดทั้งในด้านการแสดงความคิดเห็น ด้านการรับฟังความคิดเห็น และด้านการสื่อความหมาย และกลุ่มสูง สูง สูง มีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงสุดในด้านการใช้กระบวนการกลุ่ม


เปิดประเด็น, สุชาติ โสมประยูร Jan 2007

เปิดประเด็น, สุชาติ โสมประยูร

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติสําหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม), รังสี เกษมสุข, สุขุมาล เกษมสุข Jan 2007

การพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติสําหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม), รังสี เกษมสุข, สุขุมาล เกษมสุข

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติสําหรับ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายประถม) กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ จํานวน ๕๔ คน กลุ่มตัวอย่างได้รับ การพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติ จำนวน ๑๒ เรื่อง ใช้เวลาทดลอง ๒๖ ครั้ง ครั้งละ ๕๐ นาที มีการวัดตัวแปร ๓ ครั้ง คือก่อนการทดลองหลังการทดลองและหลังการทดลองแล้วเป็นเวลา ๑ เดือน เครื่องมือที่ใช้วัดตัวแปรคือ แบบวัดจิตสาธารณะซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น .๔๗ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test ผลการวิจัยพบว่า ๑. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติ มีจิตสาธารณะหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๑ ๒. นักเรียนที่ได้รับการพัฒนาจิตสาธารณะโดยใช้บทบาทสมมติ มีจิตสาธารณะหลังการทดลอง และหลังการทดลองแล้วเป็นเวลา ๑ เดือน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสําคัญทางสถิติ นั่นคือมีความคงทน ของจิตสาธารณะ หลังการทดลองแล้วเป็นเวลา ๑ เดือน


การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการใช้ทักษะกระบวนการและ ทัศนคติ ที่มีต่อรายวิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ได้รับการสอนแบบเน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และการสอนแบบถ่ายทอดความรู้, สมศักดิ์ แตงสกุล Jan 2007

การศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการใช้ทักษะกระบวนการและ ทัศนคติ ที่มีต่อรายวิชาสุขศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่ได้รับการสอนแบบเน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และการสอนแบบถ่ายทอดความรู้, สมศักดิ์ แตงสกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การใช้ทักษะ กระบวนการ และทัศนคติที่มีต่อรายวิชาสุขศึกษา พ ๔๑๑๐๑ ที่ได้รับการสอน แบบเน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์ และการสอนแบบถ่ายทอดความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ที่เรียนรายวิชาสุขศึกษา พ ๔๑๑๐๑ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย ศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน จำนวน ๑๙๔ คน จาก ๖ ห้องเรียน แบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่เรียนอยู่ใน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จํานวน ๓ ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๓๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๓๓ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๓๔ จำนวน ๙๗ คน ที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการ กลุ่มสัมพันธ์ กลุ่มควบคุม เป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน ที่เรียนอยู่ใน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ จํานวน ๓ ห้องเรียน คือ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๔๑ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๔๒ และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔/๑๔๓ จํานวน ๙๗ คน ที่เรียนโดยใช้ แผนการจัดการเรียนรู้แบบถ่ายทอดความรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS FOR WINDOWS ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ๑. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รายวิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ ๔๑๑๐๑ จากผลการทดลองพบว่า คะแนนผลการสอบหลังเรียนรายวิชาสุขศึกษา รหัสวิชา พ ๔๑๑๐๑ ระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้แผนการเรียนรู้แบบเน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์กับนักเรียน ๒. การใช้ทักษะกระบวนการ รายวิชาสุขศึกษา พ ๔๑๑๐๑ นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนโดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบที่เน้นกระบวนการกลุ่มสัมพันธ์มี ความสามารถในการใช้ทักษะกระบวนการต่าง ๆ กล้าแสดงความคิดเห็น …


แนวโน้มสมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๘, พิมพรินทร์ ลิมปโชติ Jan 2007

แนวโน้มสมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๘, พิมพรินทร์ ลิมปโชติ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย (Descriptive Research) โดยใช้เทคนิคเดลฟาย มี วัตถุประสงค์เพื่อ (๑) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับแนวโน้มสมรรถภาพของนักเทคโนโลยี การศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔ และ (๒) นำเสนอแนวโน้มสมรรถภาพของ นักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ครั้งนี้มี ๒ กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน ๕ คน และอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญ ในการบริหารและปฏิบัติงานด้านเทคโนโลยีการศึกษาจำนวน ๒๐ คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย แบบสอบถามจํานวน ๓ รอบ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม ความแตกต่างระหว่าง ฐานนิยมกับมัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัยพบว่า : แนวโน้มสมรรถภาพของนักเทคโนโลยีการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ระหว่างปี พ.ศ. ๒๕๔๙-๒๕๕๔ แบ่งเป็น ๓ ด้าน ประกอบด้วย ๑๓๖ สมรรถภาพ ได้แก่ ด้านความรู้ ๕๙ สมรรถภาพ ด้านทักษะ ๕๙ สมรรถภาพ และด้านคุณลักษณะนิสัย ๑๔ สมรรถภาพ ดังนี้ ๑. ด้านความรู้ แบ่งได้ ๗ ข้อ ๕๙ สมรรถภาพ ได้แก่ ๑) ความรู้ทางการบริการ ๒) ความรู้ทาง วิชาการ ๓) ความรู้ทางการออกแบบ ๔) ความรู้ทางการพัฒนา ๕) ความรู้ทางการใช้ ๖) ความรู้ ทางการจัดการ และ๗) ความรู้ทางการประเมิน ๒. ด้านทักษะ แบ่งได้ ๗ ข้อ ๕๙ สมรรถภาพ ได้แก่ ๑) ทักษะทางการบริการ ๒) ทักษะทาง วิชาการ ๓) …


การพัฒนาทางการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ : ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, สุพร ชัยเดชสุริยะ Jan 2007

การพัฒนาทางการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ : ศึกษาเฉพาะกรณี โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, สุพร ชัยเดชสุริยะ

Journal of Education Studies

การปฏิรูปการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีการเปลี่ยนแปลง แนวคิดและวิธีการจัดการศึกษาครั้งสำคัญเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างกว้างขวางและทันต่อความ ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วและไม่หยุดยั้งของโลกปัจจุบัน ซึ่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่าย ประถมได้ดำเนินการภายใต้กฎหมายฉบับนี้อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ผู้วิจัยดำเนินการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอแนวทางพัฒนาทางการศึกษาเพิ่มเติมให้บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุดของ กฎหมายฉบับนี้ ซึ่งขอบเขตของการวิจัยจะศึกษาเฉพาะรูปแบบการพัฒนาการศึกษาตามบริบทของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ส่วนวิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยนําวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ที่จะนําแนวทางการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียนแห่งนี้ไปใช้ในโรงเรียนอื่นตามบริบทที่เหมาะสมของแต่ละโรงเรียน ผลการวิจัยพบว่าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยฝ่ายประถม ได้พัฒนาทางการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ในทุกๆ ด้านแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่าสิ่งที่โรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม น่าจะดำเนินการเพิ่มเติมก็คือควรให้โอกาสแก่เด็กด้อยโอกาสใน แหล่งชุมชนปทุมวันได้เข้าเรียนในโรงเรียน ซึ่งจะทำให้เด็กด้อยโอกาสเหล่านี้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น นอกจากนี้ควรจัดทำหลักสูตรสำหรับผู้มีความสามารถพิเศษโดยเฉพาะ รวมทั้งเผยแพร่ตำราเรียนที่ โรงเรียนได้จัดทำขึ้นไปยังโรงเรียนต่างๆ บันทึกรูปแบบการเรียนการสอนทุกช่วงชั้นและทุกคาบลงใน เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาต่างๆ เพื่อถ่ายทอดให้กับโรงเรียนที่สนใจนําไปใช้ในการเรียนการสอน และ โรงเรียนควรจัดทำโครงการหลักสูตร สองภาษา โดยเป็นหลักสูตรที่แยกออกจากหลักสูตรปกติ สิ่งเหล่านี้ จะทำให้การพัฒนาทางการศึกษาภายใต้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ ของโรงเรียน สาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม บรรลุวัตถุประสงค์สูงสุด


คิดนอกกรอบ, เกียรติวรรณ อมาตยกุล Jan 2007

คิดนอกกรอบ, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ปฏิบัติการวิชาชีพครู : ก้าวแรกของความเป็นครู, เสริมศรี สวนไพรินทร์ Jan 2007

ปฏิบัติการวิชาชีพครู : ก้าวแรกของความเป็นครู, เสริมศรี สวนไพรินทร์

Journal of Education Studies

บทความนี้นำเสนอการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม ซึ่งเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูสำหรับนิสิตชั้นปีที่ ๔ ของคณะครุศาสตร์ โดยนิสิตฝึกสอน จะได้รับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูเสมือนเป็นอาจารย์ประจําเพื่อให้นิสิตได้รับประสบการณ์เกี่ยวข้องกับวิชาชีพครูในอนาคตอย่างแท้จริง โดยมีอาจารย์ประจำของโรงเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ทำหน้าที่เป็นอาจารย์นิเทศก์ ให้คำปรึกษานิสิตในการฝึกประสบการณ์ของวิชาชีพครู ได้แก่ ๑) การจัด การเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ตามสาขาวิชาเอกของนิสิต เพื่อพัฒนานิสิตให้จัด กระบวนการจัดการเรียนรู้ให้นักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพตามกระบวนการวงจรคุณภาพ (PDCA) คือ วางแผนการจัดกระบวนการเรียนการสอน (Plan) จัดกระบวนการเรียนการสอน (Do) ประเมินผล การจัดการเรียนการสอน (Check) และปรับปรุงหลังจากประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน (Act) ๒) การฝึกบทบาทอาจารย์ประจําชั้น ซึ่งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม กําหนดให้ เป็นบทบาทสำคัญที่นิสิตจะต้องฝึกการเป็นอาจารย์ประจำชั้น โดยมีอาจารย์นิเทศก์ ซึ่งเป็นอาจารย์ ประจําชั้นของห้องเรียนนั้นเป็นผู้ให้คำปรึกษา เพื่อให้นิสิตทำหน้าที่ความเป็นครูอย่างแท้จริง เช่น การ ดูแลนักเรียนเข้าแถวเคารพธงชาติ สวดมนต์ และร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี (ทุกวันศุกร์) นอกจากนี้ ในแต่ละวัน ช่วง ๔.๐๐-๔.๓๐ น. เป็นช่วงเวลาของกิจกรรมโฮมรูม เพื่อสร้างความคุ้นเคยระหว่างอาจารย์ประจำชั้นกับนักเรียน และจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ให้เกิดขึ้นในตัว นักเรียน หรือที่เรียกว่า M L C R M = Morality หรือคุณธรรม L = Leadership หรือภาวะผู้นํา C = Critical Thinking and Creative Thinking หรือการคิดอย่างมีเหตุผลและสร้างสรรค์ R - Responsibility หรือความรับผิดชอบ ๓) การร่วมกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน นิสิตจะได้เรียนรู้การให้ คำปรึกษา การกำกับดูแลนักเรียน และสังเกตพฤติกรรม/ทักษะต่างๆ ของนักเรียนผ่านกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียนซึ่งมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น กิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาโรงเรียน กิจกรรมวันสำคัญ ทางศาสนา กิจกรรมของกลุ่มสาระการเรียนรู้ ต่างๆ เช่น วันภาษาไทยแห่งชาติ สัปดาห์วิทยาศาสตร์ แห่งชาติ ดังนั้น โดยสรุปแล้วการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงมีเป้าหมายเพื่อการพัฒนานิสิตให้ …


ผลของการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค Stad ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนพูดสองภาษาที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน, กาสมะห์ เปาะจิ, อริยา คูหา Jan 2007

ผลของการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค Stad ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย และความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนพูดสองภาษาที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน, กาสมะห์ เปาะจิ, อริยา คูหา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค STAD ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยและความคงทนในการเรียนรู้ของนักเรียนพูดสองภาษา ที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน ตลอดจนศึกษากิริยาร่วมระหว่างวิธีสอน และระดับความ สามารถทางการเรียน วิธีสอน แปรเป็น ๒ วิธี คือ การสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค STAD และ การสอนแบบศูนย์การเรียนโดยไม่ใช้เทคนิค STAD ระดับความสามารถทางการเรียน แปรเป็น ๒ ระดับ คือ ระดับความสามารถทางการเรียนสูง และระดับความสามารถทางการเรียนต่ํา กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ซึ่งกําลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๕๔ ของโรงเรียนบ้าน บูเกะตาโมง มิตรภาพที่ ๑๒๔ และโรงเรียนบ้านยานิง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานราธิวาส เขต ๒ จำนวน ๔๐ คน ได้รับการสุ่มการทดลองออกเป็น ๔ กลุ่มๆ ละ ๒๐ คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย จำนวน ๔๐ ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวน โดยใช้วิธีการทดสอบของฮาร์ทเลย์ (Hartley's Test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบกลุ่มสุ่มสรุปพาดพิง (Generalized Randomized Block Design) โมเดลกําหนด ๒ x ๒ (Fixed Model) โดยใช้สูตรของเคิร์ก ผลการวิจัยพบว่า ๑. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีสอนและระดับความสามารถทางการเรียนต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนพูดสองภาษา ๒. ไม่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีสอนและระดับความสามารถทางการเรียนต่อความคงทนในการ เรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนพูดสองภาษา ๓. นักเรียนพูดสองภาษาที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค STAD และนักเรียน พูดสองภาษาที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยไม่ใช้เทคนิค STAD มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทยไม่แตกต่างกัน ๔. นักเรียนพูดสองภาษาที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้เทคนิค STAD และนักเรียน พูดสองภาษาที่ได้รับการสอนแบบศูนย์การเรียนโดยไม่ใช้เทคนิค STAD มีความคงทนในการเรียนรู้วิชา ภาษาไทยไม่แตกต่างกัน ๕. นักเรียนพูดสองภาษาที่มีระดับความสามารถทางการเรียนต่างกัน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาภาษาไทยแตกต่างกัน ๖. …


การวิจัยเชิงประเมินโครงการจัดหาครูชาวต่างประเทศ เพื่อสอบภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษา ในจังหวัดนนทบุรี, เพียงใจ ศุขโรจน์, อวยพร เรืองตระกูล, กมลวรรณ ตั้งธนกานนท์, อัมพร ม้าคะนอง, รัตนา มหากุศล Jan 2007

การวิจัยเชิงประเมินโครงการจัดหาครูชาวต่างประเทศ เพื่อสอบภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษา ในจังหวัดนนทบุรี, เพียงใจ ศุขโรจน์, อวยพร เรืองตระกูล, กมลวรรณ ตั้งธนกานนท์, อัมพร ม้าคะนอง, รัตนา มหากุศล

Journal of Education Studies

การวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและประเมินโครงการจัดหาครูชาว ต่างประเทศเพื่อสอนภาษาอังกฤษสำหรับสถานศึกษาในจังหวัดนนทบุรี โดยทําการเก็บรวบรวมข้อมูล กับผู้บริหาร ครู นักเรียน และครูชาวต่างประเทศในโรงเรียนที่อยู่ในโครงการ จำนวน ๕๗ โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบทดสอบปากเปล่า แบบสอบถามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู และ นักเรียน แบบสอบถามครูชาวต่างประเทศ แบบสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการผู้บริหาร ครู และนักเรียน รายงานการตรวจเยี่ยม และประเด็นในการทําสนทนากลุ่ม (focus group) ครูชาวต่างประเทศ วิเคราะห์ ข้อมูลด้วยค่าสถิติบรรยาย ประมาณค่าคะแนนพัฒนาการด้วยสูตรคะแนนพัฒนาการแบบเทียบร้อย ส่วนการเปรียบเทียบคะแนนพัฒนาการใช้สถิติทดสอบ t-test และ 1- way ANOVA การวิเคราะห์ ส่วนประกอบความแปรปรวนของคะแนนพัฒนาการ ใช้การวิเคราะห์พหุระดับ ๓ ระดับ ด้วยโปรแกรม HLM การเปรียบเทียบความคิดเห็นระหว่างกลุ่มของนักเรียน ครู และผู้บริหารใช้สถิติทดสอบ t-test 1- way ANOVA ไค-สแควร์ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ ๑. ผู้บริหารต้องการเน้นความสามารถในการนําภาษาอังกฤษไปใช้ในชีวิตประจำวันมากที่สุด โดย มีนโยบายให้ครูไทยสังเกตการสอนและได้มอบหมายให้ฝ่ายวิชาการและหัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศดำเนินการติดตามนิเทศการสอน โดยการบริหารโครงการไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน ระหว่างโรงเรียนที่ต่างประเภทกัน และระหว่างโรงเรียนที่เคย/ไม่เคยมีครู ชาวต่างประเทศ ๒. ครูประสานงานโดยจัดหาแบบเรียนภาษาอังกฤษให้แก่ครูชาวต่างประเทศมากที่สุด และติด ตามผลการสอนโดยสอบถามนักเรียน ซึ่งวิธีการประสานงานนั้นไม่มีความแตกต่างกันระหว่างโรงเรียนที่ มีขนาดต่างกัน และระหว่างโรงเรียนที่เคยไม่เคยมีครูชาวต่างประเทศ แต่แตกต่างกันระหว่างประเภท ของโรงเรียน ๓. จากความคิดเห็นของครู พบว่าครูชาวต่างประเทศมีปัญหามากที่สุดในด้านสำเนียงที่ใช้ รองลงมาได้แก่ ความตรงต่อเวลา การปฏิบัติหน้าที่ในการสอน และความร่วมมือกับโรงเรียนในด้าน ต่าง ๆ ๔. ผลการประเมินคุณภาพการปฏิบัติงานของครูชาวต่างประเทศอยู่ในระดับดี โดยครูเห็นว่า คุณภาพการปฏิบัติของครูชาวต่างประเทศทั้งด้านความสามารถในการสอน ด้านการปฏิบัติ และด้าน คุณลักษณะของความเป็นครูอยู่ในระดับดี ส่วนนักเรียนเห็นว่าคุณภาพของครูชาวต่างประเทศด้านการ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน อยู่ในระดับดี ส่วนด้านบุคลิกภาพของครูอยู่ในระดับดีมาก ๕. การประเมินผลของโครงการที่มีต่อนักเรียน ครูไทย และโรงเรียน พบว่าโครงการฯนี้มีผลต่อ นักเรียน ครู และโรงเรียนอยู่ในระดับดี จากความคิดเห็นของผู้บริหารและครูเกี่ยวกับผลของโครงการฯ พบว่าทั้งผู้บริหารและครูเห็นด้วยในระดับมากว่าโครงการฯมีผลต่อนักเรียนและครู …


แนะนำหนังสือ, สืบสกุล สอนใจ Jan 2007

แนะนำหนังสือ, สืบสกุล สอนใจ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


สุนทรียศาสตร์และศิลปะในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ, อภิชาติ พลประเสริฐ Jan 2007

สุนทรียศาสตร์และศิลปะในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ, อภิชาติ พลประเสริฐ

Journal of Education Studies

หลายหน่วยงานทั่วโลกให้ความสำคัญต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมซึ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นที่พูดถึงกันมากในปัจจุบันและมีการจัดกิจกรรมรณรงค์เพื่อการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างแพร่หลาย อย่างไรก็ตาม บทบาทของวงการศิลปะและสุนทรียศาสตร์เกี่ยวกับ เรื่องนี้อาจไม่เป็นที่ประจักษ์อย่างแพร่หลาย ดังนั้น บทความนี้จึงมุ่งที่จะนำเสนอความเคลื่อนไหวใน วงการศิลปะและสุนทรียศาสตร์ที่มีส่วนในการส่งเสริมการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งประกอบด้วย ประวัติ และปรัชญาบางส่วนของศิลปะภาพทิวทัศน์ (Landscape Art), Land Art Earth Art และ Environmental Art รวมทั้งทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์ที่เรียกว่า Environmental Aesthetics โดยเฉพาะอย่างทฤษฎีของ Allen Carlson ซึ่งเป็นนักสุนทรียศาสตร์ผู้มีผลงานที่มีอิทธิพลต่อแนวคิดในเรื่องนี้ บทความนี้พยายามจะทำให้เห็นว่า การมีความเข้าใจและซาบซึ้งต่อคุณค่าและความงามของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติทั้งโดยการผ่านประสบการณ์ทางสุนทรียะตามแนวทฤษฎีในสุนทรียศาสตร์ ในสิ่งแวดล้อม (Environmental Aesthetics) และโดยการผ่านการชื่นชมงานศิลปะ จะเป็นส่วนสําคัญ ต่อการปลูกฝังจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติได้