Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Journal of Education Studies

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Publication Year

Articles 1 - 11 of 11

Full-Text Articles in Education

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5e) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐวุฒิ ศรีระษา, ภัทรภร ชัยประเสริฐ, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์ Oct 2021

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5e) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ณัฐวุฒิ ศรีระษา, ภัทรภร ชัยประเสริฐ, เชษฐ์ ศิริสวัสดิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดชลบุรี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 1 ห้องเรียน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบทีแบบกลุ่มไม่อิสระ และการทดสอบทีแบบกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) คะแนนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) คะแนนหลังเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เเละ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง อัตราการเกิดปฏิกิริยาเคมี อยู่ในระดับระดับมากที่สุด


ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พิทักษ์ชัย บรรณาลัย, จินตนา สรายุทธพิทักษ์ Oct 2021

ผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและ การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พิทักษ์ชัย บรรณาลัย, จินตนา สรายุทธพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อและการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 80 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบซักค้านเรื่องอิทธิพลของสื่อ จำนวน 40 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เรื่องอิทธิพลของสื่อแบบปกติจำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเรื่องอิทธิพลของสื่อด้านความรู้ เจตคติ การปฏิบัติและการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างจากก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนฯ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Ai กับการแบ่งกลุ่มข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการเรียนรู้การแบ่งกลุ่มข้อมูลชนิด K-Mean, สุริยัน เขตบรรจง, วิลัยวรรณ มาวัน Apr 2021

เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ Ai กับการแบ่งกลุ่มข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้วิธีการเรียนรู้การแบ่งกลุ่มข้อมูลชนิด K-Mean, สุริยัน เขตบรรจง, วิลัยวรรณ มาวัน

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเพื่อศึกษาผลการจัดกลุ่มข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็น กลุ่มเก่ง กลุ่มปานกลาง กลุ่มอ่อน และเพื่อศึกษาผลการจัดกลุ่มข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI แบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชาเป็น กลุ่มเด่น กลุ่มกลาง กลุ่มด้อย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) สำนักงานเขตดินแดง กรุงเทพมหานคร จำนวน 33 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างอย่างง่ายด้วยวิธีจับสลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ AI โดยใช้วิธีการเรียนรู้การแบ่งกลุ่มข้อมูลชนิด K-mean ผลการวิจัย พบว่า การแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็น กลุ่มเก่ง 11 คน กลุ่มปานกลาง 11 คน กลุ่มอ่อน 11 คน และการแบ่งกลุ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของรายวิชาเป็น กลุ่มเด่น 4 รายวิชา กลุ่มกลาง 3 รายวิชา กลุ่มด้อย 3 รายวิชา โดยมีรายวิชาที่เด่นสุดคือ วิชาประวัติศาสตร์ รองลงมาคือ วิชาการงานอาชีพ และรายวิชาที่ด้อยสุดคือ วิชาภาษาอังกฤษ


การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, พิชญาวี ทองกลาง, วรกุล เชวงกูล Jan 2021

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน, พิชญาวี ทองกลาง, วรกุล เชวงกูล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร หมวดวิชาศึกษาทั่วไปของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน เก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวอย่าง จำนวน 76 คน พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ย (M = 7.09) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 1.31) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย (M = 16.58) หลังเรียนมีค่าเฉลี่ย (M = 19.20) และมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนการแสดงความพึงพอใจมากที่สุดในแต่ละด้าน พบว่า นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และแสดงความคิดเห็นร่วมกัน จัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนแบบผสมผสานได้อย่างเหมาะสม มีกิจกรรมการเรียนการสอนทำให้เข้าใจเนื้อหา มีความสนใจศึกษา จดจำเนื้อหาได้นาน สร้างความรู้และความเข้าใจด้วยตนเองได้ โดยมีค่าเฉลี่ย (M = 3.85) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD = 0.69) ภาพรวมอยู่ในระดับมาก พบว่า อาจารย์สร้างบรรยากาศให้เป็นกันเองกับนักศึกษา กิจกรรมส่งเสริมให้นักศึกษาได้แลกเปลี่ยนความรู้และแสดงความคิดเห็น การจัดการเรียนการสอนทำให้ได้รู้จักเพื่อนมากขึ้นและร่วมงานกับผู้อื่นได้


การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์ Oct 2019

การศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาอังกฤษระหว่างนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม, พิสันธนีย์ ศรีดุรงฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน และ(2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษแตกต่างกัน ได้แก่ (1) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทย และ(2) การเรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษา ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 32 คนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลการวิจัยพบว่า (1) นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูชาวไทยมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 89.10 คะแนน ขณะที่นักเรียนที่เรียนภาษาอังกฤษกับครูเจ้าของภาษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาอังกฤษคิดเป็นค่าเฉลี่ย 87.68 คะแนน และ (2) นักเรียนที่ได้รับการจัดประสบการณ์การเรียนภาษาอังกฤษที่แตกต่างกันทั้ง 2 รูปแบบ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = .368, p = 0.695)


ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สมรัก อินทวิมลศรี, สกลรัชต์ แก้วดี, สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์ Apr 2019

ผลของการใช้แนวคิดสะตีมศึกษาในวิชาชีววิทยาที่มีต่อความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, สมรัก อินทวิมลศรี, สกลรัชต์ แก้วดี, สิทธิพร ภัทรดิลกรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษา (2) เปรียบเทียบความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังเรียน (3) ศึกษาระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียน กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษในกรุงเทพมหานครการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นครั้งนี้มีรูปแบบ การวิจัยแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน มีการเก็บข้อมูลความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียน และเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์(2) แบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เชิงปฏิบัติการ และ (3) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ นักเรียนที่เรียนชีววิทยาตามแนวคิดสะตีมศึกษามีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนในระดับดีขึ้นไป มีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกัน และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาหลังเรียนในระดับปานกลาง


การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พิเชษฐ เทบำรุง Apr 2019

การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี, พิเชษฐ เทบำรุง

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 และเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ด้านความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 27 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม ผู้วิจัยพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 4 แผน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1) แบบวัดความ สามารถในการคิดวิเคราะห์ และ 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางเรียน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีแบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยใช้การเรียนรู้ แบบสืบเสาะหาความรู้ร่วมกับการเรียนรู้แบบอุปนัย สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.07/79.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด 2) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาหลังเรียนด้วย แผนการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาหลังเรียนด้วยแผนการจัดการเรียนรู้สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน, จิรชพรรณ ชาญช่าง Apr 2019

ผลของการใช้ชุดการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชันเพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน, จิรชพรรณ ชาญช่าง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนก่อนและหลังการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน (2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างระดับความสำมารถของผู้เรียนกับการจัดการเรียนการสอนที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคการเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนสำธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้เรียนที่มีการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตร่วมกับแนวคิดเกมมิฟิเคชัน มีคะแนนหลังเรียนผ่านชุดการเรียนฯ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ขณะที่ผู้เรียนที่มีการเรียนรู้ผ่านแท็บเล็ตเพียงอย่างเดียว มีคะแนนก่อนและหลังเรียนไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ระดับความสำมารถและการจัดการเรียนการสอนไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F = 0.693, Sig. = 0.504)


Investigate Cloud-Based E-Portfolio, An Explicit Tool For Learning Transitions, Suthanit Wetcho Oct 2018

Investigate Cloud-Based E-Portfolio, An Explicit Tool For Learning Transitions, Suthanit Wetcho

Journal of Education Studies

Cloud-based E-Portfolio is a new way of using portfolio in learning progress which is not only the product of learning is shown but also the process of their works. A systematic collection of their works and reflections of their own background learning help learners face the transitions. Both taking a step to another class or level and connecting between new and previous learning experience. E-Portfolio is a systematic collection of evidences which is showing the students? true abilities in terms of progress, knowledge, skills and attitudes. E-Portfolio can be served as a powerful pedagogical implement for self-reflection to control their …


การศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, ศิวารักข์ พรหมรักษา Jul 2018

การศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ของนักศึกษาวิชาเอกคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, ศิวารักข์ พรหมรักษา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ ปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อมโนทัศน์ ทางคณิตศาสตร์ และ 2) วิเคราะห์มโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ กลุ่มเป้าหมายเป็น นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ? 4 วิชาเอกคณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2559 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จำนวน 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบ ทดสอบคณิตศาสตร์ จำนวน 100 ข้อ ประกอบด้วย สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ สาระ ที่ 2 การวัด สาระที่ 3 เรขาคณิต สาระที่ 4 พีชคณิต สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความ น่าจะเป็น และสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหา ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และวิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้กรอบแนวคิดนีโอเพียเจท์ของ Case ซึ่งประกอบ ด้วยระดับการคิด 4 ระดับ ได้แก่ ระดับที่ 1 Predimensional ระดับที่ 2 Unidimensional ระดับที่ 3 Bidimensional และระดับที่ 4 Integrated bidimensional ผลการวิจัย พบว่า นักศึกษากลุ่มเป้าหมายมีคะแนนเฉลี่ยร้อยละของมโนทัศน์ทาง คณิตศาสตร์ เท่ากับ 82.90 และจำแนกตามสาระ ได้แก่ สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ สาระที่ 2 การวัด สาระที่ 3 เรขาคณิต สาระที่ 4 พีชคณิต สาระที่ 5 การวิเคราะห์ข้อมูลและความ น่าจะเป็น และสาระที่ 6 ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ …


การพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นหลักที่มีการเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอภิปัญญา, ฐิติมา ช่วงชัย, จรัญ แสนราช Jan 2017

การพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นหลักที่มีการเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอภิปัญญา, ฐิติมา ช่วงชัย, จรัญ แสนราช

Journal of Education Studies

งานวิจัยฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นหลักที่มีการเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอภิปัญญา เพื่อนำไปใช้เป็นรูปแบบในการพัฒนาระบบช่วยสอนของบทเรียนวิชาคอมพิวเตอร์พื้นฐานและการโปรแกรม สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการผลิตและสารสนเทศ ระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในวิธีการดำเนินงานผู้วิจัยได้ทำการสังเคราะห์กรอบแนวคิด แล้วนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่านทำการประเมิน จากนั้นสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และโจทย์ที่เป็นสถานการณ์ของบทเรียนจำนวน 6 สถานการณ์ พร้อมกับเกณฑ์การให้คะแนนในแบบ Rubric score ส่วนของการพัฒนาระบบใช้ภาษา HPH และ MySQL เป็นฐานข้อมูลสำหรับการจัดการภายใน และแบบสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจและแบบประเมินคุณภาพของเครื่องมือ(แบบทดสอบ) ผลจากการดำเนินงานพบว่า รูปแบบการเรียนรู้แบบเน้นปัญหาเป็นหลักที่มีการเสริมศักยภาพการเรียนรู้เพื่อพัฒนาอภิปัญญาผ่านการสังเคราะห์โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 ท่าน ประเมินความเหมาะสมให้อยู่ในระดับดี ส่วนความสอดคล้องของวัตถุประสงค์กับเนื้อหาด้วยผู้เชี่ยวชาญ 5 ท่านมีทั้งสิ้น 33 วัตถุประสงค์ ไม่ผ่าน 1 วัตถุประสงค์ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์จำนวน 152 ข้อ ค่า IOC ยอมรับได้ตั้งแต่ 0.6 ขึ้นไปมีจำนวน 144 ข้อโจทย์ปัญหาทั้ง 6 สถานการณ์ มี 25 ข้อคำถาม ค่า IOC ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 23 ข้อ ไม่ผ่าน 2 ข้อ ผู้วิจัยทำการปรับปรุงตามข้อเสนอแนะเพื่อให้ได้โจทย์ครบจำนวน การวิเคราะห์หาค่าความยากง่าย อำนาจจำแนก และความเชื่อมั่น ทดสอบนักเรียนจำนวน 30 คนพบว่า ข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์ของค่าความยากง่ายมีจำนวน 134 ข้อ ค่าอำนาจจำแนกมีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 121 ข้อ และค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบอยู่ที่ 0.92