Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 144

Full-Text Articles in Education

บทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, อภิพร เป็งปิง Jan 2018

บทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, อภิพร เป็งปิง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาบทบาทครูในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ใน 2 ด้าน ได้แก่ การสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ และการจัดการเรียนรู้ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูประจำชั้นระดับอนุบาล 1-3 จำนวน 456 คน ในโรงเรียนเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 4 สังกัด ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ ครูอนุบาลมีบทบาทในการส่งเสริมความเข้มแข็งทางจิตใจของเด็กวัยอนุบาลในระดับมาก (x̅ = 4.23) โดยด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติ (x̅ = 4.36) สูงกว่าด้านการจัดการเรียนรู้ (x̅ = 4.10) เมื่อพิจารณารายละเอียดแต่ละด้าน พบว่า 1) ด้านการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ครูเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้ที่มีความเข้มแข็งทางจิตใจโดยการเป็นผู้ที่รับฟังผู้อื่นอย่างตั้งใจ ส่งเสริมให้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีในห้องเรียน ปลูกฝังให้เด็กเป็นผู้พูดและผู้ฟังที่ดีครูเป็นบุคคลที่เด็กให้ความไว้วางใจ และให้ความร่วมมือกับผู้ปกครองในการดูแลเด็ก สร้างบรรยากาศที่ให้เด็กมีส่วนร่วมในห้องเรียน มีตารางกิจวัตรประจำวันที่แน่นอนเพื่อให้เด็กคาดเดาเหตุการณ์ได้ มองข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นในห้องเรียนเป็นสิ่งที่ยอมรับได้และเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้การแก้ปัญหาจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง 2) ด้านการจัดการเรียนรู้ ครูสอนทักษะทางสังคมให้เด็กโดยการเป็นแบบอย่างของผู้ที่แก้ปัญหาอย่างใจเย็น ปฏิบัติตามข้อตกลงในชั้นเรียนที่ทำร่วมกัน สอนให้เด็กรู้จักขอบคุณและขอโทษผู้อื่น สนับสนุนให้เด็กประเมินและควบคุมอารมณ์ของตนเอง จัดประสบการณ์ในชั้นเรียนให้มีความหลากหลายและคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก ให้การเสริมแรง ด้วยคำชมเมื่อเด็กแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม เปิดโอกาสให้เด็กเล่นอย่างอิสระและฝึกแก้ปัญหาด้วยตัวเอง ครูเป็นผู้อำนวยความสะดวกในการจัดเตรียมสื่อ อุปกรณ์ และให้ความช่วยเหลือเด็กตามความเหมาะสม


ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นครินทร์ สุกใส Jan 2018

ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันที่มีต่อความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นครินทร์ สุกใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชัน 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายระหว่างกลุ่มที่จัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชันกับกลุ่มที่ใช้การจัดการเรียนการสอนแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจงและดำเนินการสุ่มนักเรียน 2 ห้องเรียนเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม โดยกลุ่มทดลองได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับเกมมิฟิเคชัน ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนแบบปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยดำเนินการจัดการเรียนการสอนแก่นักเรียนทั้งสองกลุ่มใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 คาบเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์ ฉบับก่อนเรียนมีค่าความเที่ยง (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ 0.89 และฉบับหลังเรียน ค่าความเที่ยง (สัมประสิทธิ์แอลฟา) เท่ากับ 0.84 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ทางคอมพิวเตอร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, จิตรแก้ว พงษ์ไชย Jan 2018

แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษา ของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง, จิตรแก้ว พงษ์ไชย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์และความต้องการจำเป็นในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 2. เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 6 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน รองผู้อำนวยการโรงเรียน 6 คน และครู 56 คน รวมผู้ให้ข้อมูล จำนวน 68 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของ (ร่าง) แนวทางฯ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยการแจกแจงความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (M) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index: PNIModified) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (M=2.65) และมาก (M=4.40) ตามลำดับ โดยด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การวางแผนการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบ (PNIModified=0.699) รองลงมา คือ การปรับปรุงและพัฒนาการปฏิบัติงาน (PNIModified=0.682) และด้านที่มีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุดคือ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการปฏิบัติงานร่วมกัน (PNIModified=0.601) แนวทางการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพด้านสะเต็มศึกษาของโรงเรียนเอกชนเครือข่ายสะเต็มศึกษาสมทบ กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง มีทั้งหมด 5 แนวทาง โดยเรียงลำดับความต้องการจำเป็นตามลำดับ ดังนี้ 1) การพัฒนากระบวนการวางแผนการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาอย่างเป็นระบบของสมาชิกในเครือข่าย 2) การพัฒนากระบวนการปรับปรุงและพัฒนาการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาของสมาชิกในเครือข่าย 3) การพัฒนากระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการจัดสรรและบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาระหว่างสมาชิกในเครือข่าย 4) การพัฒนากระบวนการนำแผนการออกแบบหลักสูตรสะเต็มศึกษาไปสู่การปฏิบัติและเสนอผลสะท้อนกลับระหว่างสมาชิกในเครือข่าย และ 5) การพัฒนากระบวนการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายในการจัดสรรและบริหารงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนสะเต็มศึกษาร่วมกันของสมาชิกในเครือข่าย


แนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร, ภาคี เดชตรัยรัตน์ Jan 2018

แนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร, ภาคี เดชตรัยรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารคนเก่ง 2. นำเสนอแนวทางพัฒนาการบริหารคนเก่งของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ฝ่ายงานการบริหารบุคคล และข้าราชการครูที่มีวิทยฐาณะครูชำนาญการพิเศษ (ค.ศ.3) ขึ้นไป จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในกรุงเทพมหานคร จำนวน 463 คน โดยใช้เครื่องมือที่เก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม และทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์สถิติพื้นฐาน ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพปัจจุบันของการบริหารคนเก่ง ด้านการพัฒนาคนเก่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการรักษาคนเก่ง และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2. สภาพพึงประสงค์ของการบริหารคนเก่ง ด้านการรักษาคนเก่งมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านการพัฒนาคนเก่ง และด้านการจ่ายค่าตอบแทนและให้รางวัลคนเก่งมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด และ 3. แนวทางการบริหารคนเก่ง แบ่งเป็น 7 แนวทาง คือ 1) เมื่อคนเก่งมีผลงานดีเด่น ผู้อำนวยการโรงเรียนควรให้การยกย่องชมเชย 2) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรแจ้งให้คนเก่งทราบถึงนโยบาย แนวทาง และกลยุทธ์ของโรงเรียน รวมไปถึงมีแนวทางให้คนเก่งสามารถมีส่วนร่วมให้โรงเรียนบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ 3) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรสร้างกลยุทธ์ในการขึ้นเงินเดือนให้แก่คนเก่งและครูอื่นๆ เพื่อปรับให้คุณสมบัติสอดคล้องกับเป้าหมายและกลยุทธ์โรงเรียน 4) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรกำหนดกลยุทธ์การบริหารคนเก่งให้สอดคล้องกับเป้าหมาย นโยบาย และทิศทางของโรงเรียน 5) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรมีนโยบายกระตุ้นให้คนเก่งคิดแบบก้าวหน้าในการพัฒนาตนเองตามความสามารถ 6) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลและสนับสนุนให้ครูทุกคนได้แสดงความสามารถอย่างเต็มศักยภาพ 7) ผู้อำนวยการโรงเรียนควรมอบหมายให้คนเก่งเข้าร่วมการฝึกอบรมทั้งภายในและภายนอกองค์การ หรือร่วมกิจกรรมต่างๆ


แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูในโรงเรียนประถมศึกษา, มณีรัตน์ ปรางค์ทอง Jan 2018

แนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูในโรงเรียนประถมศึกษา, มณีรัตน์ ปรางค์ทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา 2) นำเสนอแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา โดยเก็บข้อมูลจากครูโรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 304 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พฤติกรรมด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมากที่สุด คือ พฤติกรรมการให้ความร่วมมือ พฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่น และพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือ ส่วนพฤติกรรมด้านที่มีค่าเฉลี่ยระดับมาก คือ พฤติกรรมความอดทนอดกลั้น และพฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่ 2. ภาพรวมแนวทางการพัฒนาพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครูโรงเรียนประถมศึกษา มีแนวทางการพัฒนาเป็นรูปแบบผสมผสานระหว่างการฝึกอบรมในขณะปฎิบัติงานและการฝึกอบรมนอกงาน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านพฤติกรรมความสำนึกในหน้าที่แนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การเรียนรู้แบบออนไลน์และการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว ด้านพฤติกรรมความอดทนอดกลั้นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การอบรมสัมมนาและการเรียนรู้ผ่านการทำงานกลุ่ม ด้านพฤติกรรมการให้ความช่วยเหลือแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การศึกษาดูงานและการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฎิบัติจริงหรือการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ ด้านพฤติกรรมการคำนึงถึงผู้อื่นแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ ระบบพี่เลี้ยงและการศึกษาดูงาน และด้านพฤติกรรมการให้ความร่วมมือแนวทางการพัฒนาที่เหมาะสม คือ การศึกษาดูงานและการให้คำปรึกษาแบบตัวต่อตัว


กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา, ชยานนท์ ภาคีวัฒน์ Jan 2018

กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา, ชยานนท์ ภาคีวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ของกลุ่มจิตอาสา 2) เพื่อนำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา กลุ่มตัวอย่างคือ บ้านชาเลม บ้านพักฉุกเฉิน, สำนักงานคุ้มครองเด็ก สภาคริสตจักรในประเทศไทย, สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย แผนกเยาวชน และฝ่ายสังคม อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เจาะลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ค่าสถิติเบื้องต้น ได้แก่ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ โดยการจำแนกประเภทข้อมูล และการเปรียบเทียบข้อมูล ผลของการวิจัยพบว่ากระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา มีทั้งหมด 4 กระบวนการคือ 1) การตอบสนองต่อสถานการณ์สังคมที่เกิดขึ้น ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือให้เกียรติต่อผู้อื่นมีค่าเฉลี่ย 4.37 2) การกำหนดวิธีการเพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุด คือเห็นความสำคัญของการมีเครือข่ายการทำงานระหว่างกลุ่มจิตอาสามีค่าเฉลี่ย 4.28 3) กระบวนการเสริมสร้าง จิตสาธารณะ ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดคือสนใจเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อแก้ปัญหาสังคม เช่น กิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด กิจกรรมต่อต้านการตัดไม้ทำลายป่า กิจกรรมรณรงค์ปฏิบัติตามกฎจราจร เป็นต้น มีค่าเฉลี่ย 3.98 4) การเปลี่ยนแปลง ข้อที่มีค่าเฉลี่ยรวมมากที่สุดคือเห็นความสำคัญของการทำจิตสาธารณะมากขึ้นมีค่าเฉลี่ย 4.22 และยังพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเสริมสร้างจิตสาธารณะคือครอบครัว ตั้งแต่ก่อนเข้าร่วมกลุ่มจิตอาสา นอกจากนี้พบว่าสื่อโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบัน มีบทบาทสำคัญอีกด้วย การนำเสนอกระบวนการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างจิตสาธารณะของกลุ่มจิตอาสา มีประเด็นที่สำคัญ คือ การสอนบุตรด้วยความรัก, การรู้จักใช้คำพูดที่สื่อสารเชิงบวก และการประพฤติตนให้เป็นแบบอย่าง ของการมีจิตสาธารณะ, มีการป้องกันสื่อด้านลบ, การอบรมเกี่ยวกับการรู้เท่าทันสื่อสังคมออนไลน์แก่สมาชิก การมีบุคคลผู้ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่โซเชียลมีเดียของกลุ่มจิตอาสาเพื่อคัดกรองข้อมูลที่ไม่ดีก่อนที่สมาชิกจะได้อ่าน และนำเสนอข้อมูลที่เป็นด้านบวก และการเสริมสร้างจิตสาธารณะผ่านคำสอนทางศาสนา


การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ, วิชญา ผิวคำ Jan 2018

การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ, วิชญา ผิวคำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดการสืบสอบแบบร่วมมือที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครู การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยใช้กรณีศึกษา ได้แก่ นักศึกษาครูสาขาวิชาประถมศึกษารวม 14 คน ซึ่งการดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ระยะคือ ระยะที่ 1 การศึกษาและสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อใช้พัฒนากระบวนการสร้างเสริมภาวะครูผู้นำ ระยะที่ 2 การพัฒนากระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดสืบสอบแบบร่วมมือ ระยะที่ 3 การทดลองใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น และระยะที่ 4 การนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูบนฐานทฤษฎีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงและแนวคิดสืบสอบแบบร่วมมือแบบสมบูรณ์ โดยใช้เวลาในการนำกระบวนการไปใช้ 1 ปีการศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ ขั้นตอนของกระบวนการ ระยะเวลาของกระบวนการ และการประเมินผล มีหลักการคือ 1)การเรียนรู้ของนักศึกษาครูเกิดขึ้นโดยการรวมกลุ่มเพื่อการแสวงหาคำตอบหรือความรู้ จากการตั้งเป้าหมายให้สมาชิกนักศึกษาครูเกิดความสนใจในการปรับเปลี่ยนกรอบความคิดที่เคยยึดมั่นนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงกรอบแนวคิดใหม่ 2) การให้นักศึกษาครูตระหนักถึงปัญหา ด้วยการใช้คำถามเพื่อการวิเคราะห์ การตีความ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ นำไปสู่การทบทวนกรอบความคิดและความเชื่อ 3) การใช้คำถามและการสนทนาเชิงเหตุผลให้นักศึกษาครูใคร่ครวญร่วมกัน เพื่อตรวจสอบและทบทวนสถานการณ์ที่เป็นปัญหานำไปสู่การวางแผน การออกแบบ ค้นหาข้อสรุปเพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติใหม่ต่อไป 4) การให้นักศึกษาครูสะท้อนการเรียนรู้และประสบการณ์จากการลงมือปฏิบัติที่เกิดขึ้นเป็นวงจรซ้ำๆ ผ่านการใคร่ครวญและการสานเสวนานำไปสู่การปรับกรอบความคิด และมีขั้นตอนของกระบวนการ 9 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ก่อเกิดกลุ่ม ขั้นที่ 2 ตรวจสอบเพื่อรับรู้ ขั้นที่ 3 ทำความเข้าใจประสบการณ์ ขั้นที่ 4 ค้นหาแนวทางปฏิบัติ ขั้นที่ 5 หาความรู้เพื่อวางแผน ขั้นที่ 6 ทดลองลงมือปฏิบัติ ขั้นที่ 7 ตรวจสอบประเมินผล ขั้นที่ 8 ออกแบบตัวตน และขั้นที่ 9 ตัดสินใจเพื่อยืนยัน 2) การศึกษาผลการใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษา พบว่า หลังใช้กระบวนการเสริมสร้างภาวะครูผู้นำของนักศึกษาครูที่พัฒนาขึ้น นักศึกษาครูทั้ง 14 กรณีศึกษาเกิดการเปลี่ยนแปลงภาวะครูผู้นำด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลทั้งการร่วมมือและการพัฒนาตนเอง และด้านทักษะทั้งการสื่อสารและการปฏิบัติการสอน และมีระดับภาวะครูผู้นำในระดับมาก เป็นจำนวนมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 50 และเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับภาวะผู้นำมาสู่ระดับมากเป็นจำนวนมากที่สุด …


ผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธชาทัช ไชยมุทา Jan 2018

ผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ธชาทัช ไชยมุทา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครฯ จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิส และ กลุ่มควบคุม จำนวน 15 คน ที่ได้รับการฝึกโปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลแบบปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ โปรแกรมการฝึกวอลเลย์บอลร่วมกับพิลาทิสที่มีต่อความสามารถในการเสิร์ฟ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 80 นาที แบบประเมินความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลประกอบด้วย 1) แบบประเมินท่าทางการเสิร์ฟ 2) แบบวัดความแม่นยำการเสิร์ฟวอลเลย์บอลโดยใช้แบบทดสอบของสมาคมสุขศึกษา พลศึกษา และนันทนาการแห่งสหรัฐอเมริกา (AAHPER Serving Accuracy Test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอล นักเรียนกลุ่มควบคุมหลังการทดลองทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยผลการทดสอบคะแนนความสามารถในการเสิร์ฟวอลเลย์บอลหลังการทดลองนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


Effects Of Autonomy-Supportive English Language Instruction On Students' Motivation In English Language Classrooms, Mintra Phithakmethakun Jan 2018

Effects Of Autonomy-Supportive English Language Instruction On Students' Motivation In English Language Classrooms, Mintra Phithakmethakun

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The present study aimed at exploring the effects of Autonomy-Supportive English Language Instruction on students' motivation in English language classrooms, and aimed at investigating students' opinions toward Autonomy-Supportive English Language Instruction. The participants were 25 eleventh grade students who were studying in a public school in the second semester of the academic year 2018, which were selected by purposive sampling. The research instruments were students' self-report motivation in English language classrooms questionnaire, and students' opinions toward autonomy-supportive English language instruction interview questions. The data were analyzed using descriptive statistics, paired-sample t-test and content analysis. The results revealed that students' motivation …


การพัฒนาระบบปรับเหมาะการเรียนแบบจำลองขั้นตอน ตามหลักการออกแบบการเรียนการสอนสี่องค์ประกอบเพื่อพัฒนาความตระหนักด้านความปลอดภัยสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ, ชาญเกียรติ มหันตคุณ Jan 2018

การพัฒนาระบบปรับเหมาะการเรียนแบบจำลองขั้นตอน ตามหลักการออกแบบการเรียนการสอนสี่องค์ประกอบเพื่อพัฒนาความตระหนักด้านความปลอดภัยสำหรับนักศึกษาสาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ, ชาญเกียรติ มหันตคุณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา สภาพ ปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับการพัฒนาระบบฯ 2) พัฒนาระบบฯ 3) ศึกษาผลการใช้ระบบฯ 4) นำเสนอระบบฯ ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพและความต้องการ คือ นิสิตนักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ จำนวน 335 คน ตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ความคิดเห็นและรับรองรูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 27 คน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 8 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตเครื่องประดับอัญมณี 16 คน ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตวิทยาการศึกษา 3 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ นักศึกษาวิทยาลัยเพาะช่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา เครื่องโลหะและรูปพรรณอัญมณี2 จำนวน 26 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองร่างระบบการเรียน แบบประเมินความเหมาะสมของตัวชี้วัด แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อ บทเรียนคอมพิวเตอร์ปรับเหมาะแบบจำลองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความตระหนักด้านความปลอดภัยในกาทำงาน แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบการเรียน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และ one-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า ระบบการเรียนฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 5 องค์ประกอบ คือ 1) การเรียนการสอนแบบปรับเหมาะ 2) การเรียนการสอนสี่องค์ประกอบ 3) เครื่องมือทางเทคโนโลยีการศึกษา 4) การวัดและการประเมินผล 5) บทบาทผู้เกี่ยวข้อง กระบวนการเรียนการสอนในระบบ มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) นำเข้าสู่บทเรียน 2) ทดสอบก่อนเรียนด้วยการปฏิบัติการจำลองขั้นตอน 3) ปฏิบัติการจำลองขั้นตอนแบบปรับเหมาะตามการชี้นำ 4) บันทึกการเรียนรู้ 5) ทดสอบหลังเรียนด้วยการปฏิบัติการจำลองขั้นตอน 6) นำเสนอผลประเมินและสรุปบทเรียน ผลการทดลองใช้ระบบการเรียนฯ พบว่า กลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยความตระหนักด้านความปลอดภัยในการทำงานหลังทดลองสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรรนิสา หนูช่วย Jan 2018

รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรรนิสา หนูช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพและความต้องการคือ ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 154 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบคือ ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง คือ ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามสภาพและความต้องการในการใช้งานสื่อสังคมออนไลน์ของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และแบบประเมินรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบวัดความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม แบบวัดเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม แบบวัดพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และแบบประเมินความคิดเห็นต่อการใช้รูปแบบการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐานด้วยสื่อสังคมออนไลน์เพื่อส่งเสริมการรู้สิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ผลการวิจัยสามารถสรุปได้ดังนี้ 1) สื่อสังคมออไลน์ที่ผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายใช้งานมากที่สุดสามอับดับได้แก่ Youtube (X = 2.71, S.D = 0.56) Facebook Messenger (X = 2.69, S.D. = 0.57) และ Facebook (X = 2.62, S.D. = 0.62) 2) องค์ประกอบของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน กิจกรรมการเรียนโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สื่อสังคมออนไลน์ และ การประเมินผล 3) ขั้นตอนของรูปแบบฯ ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ การเตรียมการ การอภิปรายประเด็นสิ่งแวดล้อมในชุมชนบริเวณรอบโรงเรียน การวางแผนดำเนินโครงงาน การดำเนินโครงงาน และ การประเมินผล 4) ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบฯ มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด (X= 4.77, SD.=0.33) 5) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ด้านสิ่งแวดล้อมหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยเจตคติด้านสิ่งแวดล้อม หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7) ผลการศึกษาพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม พบว่า ผู้เรียนมีคะแนนพฤติกรรมด้านสิ่งแวดล้อม อยู่ในระดับดีมาก (X = 2.76, …


ผลการจัดกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน, จุฑาเทพ จิตวิลัย Jan 2018

ผลการจัดกระบวนการการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน, จุฑาเทพ จิตวิลัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อจัดกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดย ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อความความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน 2) เพื่อศึกษา ผลของกระบวนการจัดการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านเป็นฐานที่มีต่อ ความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน ซึ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย ผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน และเยาวชนจำนวน 10 คน ในอำเภอ ชนบท จังหวัด ขอนแก่น ที่สนใจภูมิปัญญา พื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกันโดยใช้กระบวนการ Andragogy ของ Knowles (1980) แบ่ง ออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างบรรยากาศการจัดสภาพแวดล้อมระหว่างผู้สูงอายุและ เยาวชน ระยะที่ 2 การหาความต้องการและเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้สูงอายุและเยาวชน ระยะ ที่ 3 การวางแผนดำเนินกิจกรรมและการประเมินผลภูมิปัญญาพื้นบ้าน สำหรับเครื่องมือที่ใช้ รวบรวมข้อมูลคือแบบบันทึกกิจกรรมแบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผู้สูงอายุและเยาวชนได้ทำ กิจกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกัน ตั้งแต่การสร้างบรรยากาศและการจัด สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการเรียนรู้ระหว่างกัน อีกทั้งได้ร่วมกันหาเป้าหมายวางแผนออกแบบ ดำเนินกิจกรรมและวัดประเมินผลการทำผ้าไหมร่วมกัน 2. หลังจากผู้สูงอายุและเยาวชนได้ทำ กิจกรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านการทำผ้าไหมมัดหมี่ร่วมกันได้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้สูงอายุและ เยาวชนซึ่งประกอบไปด้วย 1) การสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นระหว่างกัน 2) การช่วยเหลือซึ่งกัน และกัน 3) การให้โอกาสเชื่อใจในการทำงานระหว่างกัน 4) การแสดงความจริงใจและชื่นชนยินดี ระหว่างกัน 5) การยอมรับลักษณะเฉพาะบุคคลระหว่างกัน


แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ประกายดาว แก้วชัยเถร Jan 2018

แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต, ประกายดาว แก้วชัยเถร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการการบริการของแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยของเยาวชน และเพื่อนำเสนอแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม กับเยาวชน จำนวน 400 คน ที่เข้าใช้แหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หอศิลป์ ศูนย์การกีฬาและนันทนาการ และสวนสาธารณะ นำข้อมูลมาวิเคราะห์ผลและจัดทำเป็นร่างแนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริมเยาวชนให้เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตนำเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญทางด้านการจัดแหล่งการเรียนรู้จำนวน 10 ท่าน พร้อมทั้งร่างแผนที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนำเสนอต่อเยาวชนในพื้นที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำนวน 187 คน เพื่อพัฒนาเป็นแนวทางการจัดแหล่งเรียนรู้และแผนที่การเรียนรู้ที่สมบูรณ์ โดยใช้แบบประเมินแนวทางและแบบประเมินแผนที่ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า (1) เยาวชนเลือกใช้วิธีการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองมากที่สุด และเลือกใช้แหล่งเรียนรู้ที่ตรงตามความต้องการและความสนใจของตนเองในการส่งเสริมการเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ตลอดชีวิตมากที่สุดในทุกแหล่งเรียนรู้ เยาวชนมีปัญหาในเรื่องอุปกรณ์ใช้สอยไม่เพียงพอต่อผู้ใช้บริการในการใช้แหล่งเรียนรู้ และเยาวชนมีความต้องการในเรื่องการจัดเตรียมสถานที่ให้บริการของแหล่งการเรียนรู้อยู่ในระดับมากเป็นอันดับแรก (2) แนวทางการจัดแหล่งการเรียนรู้ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ เนื้อหากิจกรรม ทรัพยากรการเรียนรู้ สถานที่ และการบริหารจัดการ ในส่วนของแผนที่การเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นเว็บไซต์แนะนำแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่รอบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยที่เยาวชนนิยมเลือกใช้ จำนวน 20 แหล่งเรียนรู้ ซึ่งในเว็บไซต์บอกข้อมูลเบื้องต้นของแหล่งเรียนรู้ที่เยาวชนต้องการทราบ ได้แก่ เนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ วันเวลาที่เปิดให้บริการ ค่าบริการ สถานีรถไฟฟ้า รูปภาพแหล่งเรียนรู้ การเดินทางทั้งนี้ได้เชื่อมโยงกับ google map เพื่อให้ทำทางไปยังแหล่งเรียนรู้ และเชื่อมโยงกับเว็บไซต์หลักของแหล่งเรียนรู้เพื่อให้สามารถข้าไปดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ตามความต้องการ


แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน, ภัสราภรณ์ ศรีอาจนันทโชติ Jan 2018

แนวทางการส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน, ภัสราภรณ์ ศรีอาจนันทโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้านและเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน 2. เพื่อนำเสนอแนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ (Survey) กลุ่มตัวอย่างเป็นการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี และจังหวัดเพชรบุรี รวมทั้งหมด 753 คน และผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ (ร่าง) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ความเหมาะสมในการนำไปใช้และความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ของ (ร่าง) แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ สภาพ พบว่าเหตุผลส่วนใหญ่ในการเป็นอาสาสมัครคือ ต้องการช่วยเหลือผู้สูงอายุ และเหตุผลส่วนใหญ่ในการพัฒนาตนเองคือ นำความรู้และวิธีการใหม่ๆมาดูแลและแนะนำผู้สูงอายุและครอบครัวโดยส่วนใหญ่ใช้เวลาว่างในการพัฒนาตนเอง และวิธีการพัฒนาตนเองส่วนใหญ่ใช้วิธีการเข้ารับฝึกอบรม และเนื้อหาที่เรียนรู้ได้แก่ เรื่องการดูแลผู้สูงอายุเบื้องต้น และส่วนใหญ่เรียนรู้จากโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ปัญหาและความต้องการแบ่งเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจ ด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ บ้านวิธีการพัฒนาตนเอง และด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้ พบว่าปัญหาทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับน้อย ซึ่งปัญหาที่พบมากที่สุดคือ ปัญหาด้านแรงจูงใจโดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 2.8 และความต้องการทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก ซึ่งความต้องการที่พบมากที่สุดคือ ความต้องการด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.67 และผลการเปรียบเทียบความต้องการในการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน มีความต้องการในการพัฒนาตนเองทั้ง 4 ด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แนวทางส่งเสริมการพัฒนาตนเองเพื่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ประกอบด้วยแนวทาง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านแรงจูงใจส่งเสริมในเรื่องสวัสดิการสำหรับอาสาสมัคร และการคัดเลือกอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานดีเด่น ด้านสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมการเรียนรู้สนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ให้พร้อมใช้งาน และออกแบบคู่มือการปฏิบัติงานและการดูแลผู้สูงอายุให้เข้าใจง่ายสนับสนุนสัญญาณเครือข่ายให้มีความเสถียรและจัดโครงการเพื่อสร้างความสนิทสนมระหว่างอาสาสมัครและผู้สูงอายุ ด้านวิธีการพัฒนาตนเองเน้นการลงมือปฏิบัติจริงและเห็นของจริง จัดประชุมสรุปงานทุกเดือนเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันจัดพื้นที่เป็นศูนย์รวมให้อาสาสมัครได้ศึกษาเรียนรู้ จัดหลักสูตรฝึกอบรมที่หลากหลาย และด้านเนื้อหากิจกรรมการเรียนรู้จัดการเรียนรู้ให้ครอบคลุมเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงอายุ และมีเนื้อหาที่ทันสมัยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้


การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ, อมรทิพย์ สันตวิริยะพันธุ์ Jan 2018

การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ, อมรทิพย์ สันตวิริยะพันธุ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ และ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้แทนจากครอบครัว องค์กร และชุมชน จำนวน 30 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่เข้าร่วมสนทนากลุ่ม จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ และร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. โปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ร่วมกันทบทวนและเรียนรู้บทบาท 2) ร่วมกันเรียนรู้และประเมินเบื้องต้น 3) ร่วมกันเรียนรู้และประเมินสถานประกอบการ 4) ร่วมกันกำหนดอาชีพที่เหมาะสม 5) ร่วมกันประสานความร่วมมือจากภายนอก 6) ร่วมกันประเมินผล 7) ร่วมกันสะท้อนคิดและบทเรียนที่ได้รับ และ 8) ร่วมกันถ่ายทอดการเรียนรู้ 2. แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างครอบครัว องค์กร และชุมชนด้วยโปรแกรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนในการเตรียมบุคคลออทิสติกเข้าสู่อาชีพ มีจำนวนทั้งสิ้น 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านที่ 1 ด้านกายภาพ ได้แก่ เปิดพื้นที่ในการสร้างโอกาสอย่างอิสระในการเลือกสถานที่ และเวลาในการเข้ามาพบปะเรียนรู้ร่วมกันด้วยความสมัครใจทั้งจากครอบครัว องค์กร และชุมชน ด้านที่ 2 จิตใจ ได้แก่ ตระหนักในบทบาทหน้าที่ ยอมรับฟังความคิดเห็นและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่นบนพื้นฐานของความเข้าใจและให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ด้านที่ 3 ด้านเทคนิค ได้แก่ มีความรู้ ความเข้าใจในวัตถุประสงค์ ทักษะ กระบวนการ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม และตรงกับความต้องการ และด้านที่ 4 ด้านเครือข่าย ได้แก่ การประสานความร่วมมือกับเครือข่ายต่างๆ เพื่อสนับสนุนทรัพยากร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกัน


สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล, ปรียาภรณ์ คงแก้ว Jan 2018

สภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กวัยอนุบาล, ปรียาภรณ์ คงแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์ การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาลใน 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ และการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือครูอนุบาลในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการการ ศึกษานิเทศก์ และครูแกนนำระดับปฐมวัย หลักสูตรการจัดกิจกรรมการบูรณาการตามแนวทางสะเต็มศึกษาในระดับปฐมวัย จำนวน 278 คน จาก 4 ภูมิภาค เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสังเกตพฤติกรรม และแบบสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการปฏิบัติของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล มีระดับการปฏิบัติในระดับมาก (X ̅ = 4.00) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนการปฏิบัติสูงที่สุด คือด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 4.09) รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 4.00) และด้านการจัดการเรียนรู้ (X ̅ = 3.92) ตามลำดับ ปัญหาของครูในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษาสำหรับเด็กอนุบาล ที่พบมากที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นการสนับสนุนให้เด็กมีส่วนร่วมในการออกแบบและแก้ไขปัญหาที่มีลักษณะแปลกใหม่ รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ ในประเด็นการประเมินวิธีการทำงานเกี่ยวกับการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายในการนำเสนอชิ้นงาน และด้าน การวางแผนการจัดการเรียนรู้ในประเด็นการคัดเลือกสาระการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงกับปัญหาในชีวิตประจำวันของเด็ก


การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร, อาทิตยา ปะทิเก Jan 2018

การวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกร, อาทิตยา ปะทิเก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรด้วยการวิจัยเชิงปฏิบัติการ กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวไรซ์เบอรี่ อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 17 คน กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผนเพื่อร่วมกันศึกษาปัญหาและวางแผนการแก้ปัญหา 2) การดำเนินการเพื่อร่วมกันลงมือปฏิบัติตามแผนที่ได้ร่วมกันออกแบบไว้ 3) การสังเกตเพื่อร่วมกันบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลที่ได้ปฏิบัติ และ 4) การสะท้อนผลเพื่อร่วมกันสะท้อนผลการเรียนรู้ในการแก้ปัญหา โดยกลุ่มเกษตรกรเป็นผู้ใหญ่จึงต้องจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับการเรียนรู้ในวัยผู้ใหญ่ เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิต เครื่องมือวิจัยที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุมกลุ่ม แบบบันทึกการสังเกต แบบวัดผลการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจ และมีผลการวิจัยดังต่อไปนี้ ปัญหาหลักของกลุ่มเกษตรกร คือปัญหาด้านการจัดการผลผลิต โดยกลุ่มเกษตรกรร่วมกันเลือก 3 ปัญหาที่ต้องการแก้ไขมากที่สุด คือ 1) ปัญหาการตลาด โดยมีสาเหตุมาจากการขาดความรู้ด้านการตลาด แก้ปัญหาโดยวิธีการหาเครือข่าย สร้างไลน์กลุ่มเพื่อเป็นพื้นที่ในการขยายการตลาด ผลสำเร็จได้พื้นที่การตลาดเพิ่มขึ้นคือไลน์กลุ่ม 2) ปัญหาคนในพื้นที่ไม่นิยมรับประทาน โดยมีสาเหตุมาจากการที่คนในพื้นที่นิยมรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก แก้ปัญหาโดยวิธีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวไรซ์เบอรี่ เป็นไอศครีมและสบู่จากข้าวไรซ์เบอรี่ ผลสำเร็จได้ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าวไรซ์เบอรี่ และ 3) ปัญหาบรรจุภัณฑ์ไม่สวย โดยมีสาเหตุมาจาก การที่ขาดความรู้ในการทำบรรจุภัณฑ์ที่สวยงาม แก้ไขปัญหาโดยการเรียนรู้การทำบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่สวยงาม รวมถึงร่วมกันออกแบบบรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ใหม่ ผลสำเร็จได้บรรจุภัณฑ์และตราสัญลักษณ์ที่สวยงาม ผลสะท้อนจากการปฏิบัติการวิจัย คือ กลุ่มเกษตรกรเกิดการเรียนรู้ในการแก้ปัญหาการจัดการผลผลิตของกลุ่มเกษตรกรจากการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 1) กลุ่มเกษตรกรสามารถระบุปัญหา และหาสาเหตุของปัญหาได้ 2) กลุ่มเกษตรกรสามารถวางแผนในการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี 3) กลุ่มเกษตรกรสามารถปฏิบัติตามแผนงาน 4) กลุ่มเกษตรกรสามารถประเมินแนวทางการแก้ปัญหา สังเกต และปรับแก้แนวทางการแก้ปัญหาได้ และสะท้อนผลการเรียนรู้การแก้ปัญหาได้


ผลการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการสร้าง แบบจําลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรกมล ปล้องมาก Jan 2018

ผลการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานที่มีต่อสมรรถนะการสร้าง แบบจําลองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, วรกมล ปล้องมาก

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบสมรรถนะการสร้างแบบจําลองของนักเรียนระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐาน และ (2) ศึกษา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้การจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็น ฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จํานวน 43 คน ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น มี รูปแบบการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดสองครั้ง มีการเก็บข้อมูลสมรรถนะการสร้างแบบจําลองก่อนเรียนและ หลังเรียน และเก็บข้อมูลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ (1) แบบวัดสมรรถนะการสร้างแบบจําลอง และ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี เรื่อง เคมีอินทรีย์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบทีแบบไม่อิสระ และสถิติ Wilcoxon Signed Ranks test ผลการวิจัยสรุปดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานมีสมรรถนะการ สร้างแบบจําลองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนการสอนด้วยการสร้างแบบจําลองเป็นฐานมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนเคมีหลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 69.21 จัดอยู่ในระดับพอใช้


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์, วิชญาดา นวนิจบำรุง Jan 2018

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์, วิชญาดา นวนิจบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ เป้าหมายของการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บทบาทของผู้สอนวิทยาศาสตร์ บทบาทของผู้เรียนวิทยาศาสตร์ แนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ และแนวทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 2) สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่มีต่อความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 74 คน ซึ่งกำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีต่อความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาความสอดคล้องระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการปฏิบัติการสอน โดยใช้การศึกษารายกรณี ผู้วิจัยเลือกกลุ่มที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสังเกตการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา


การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับในวิชาเคมี, อาทิตยา สีหราช Jan 2018

การส่งเสริมความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับในวิชาเคมี, อาทิตยา สีหราช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ ที่มีต่อความสุขในการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 เป็นการวิจัยทดลองเบื้องต้น ตัวอย่างวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ 2) แบบวัดความสุขในการเรียนรู้ 3) แบบสัมภาษณ์ความสุขในการเรียนรู้ 4) แบบสังเกตความสุขในการเรียนรู้ และ 5) แบบสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี เรื่อง สมดุลเคมี การวิเคราะห์ข้อมูลแบ่งเป็นสองส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติบรรยายประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละพัฒนาการ สถิติสรุปอ้างอิงประกอบด้วย การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเลขคณิต โดยใช้สถิติทดสอบที (t-test) และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และการสังเกต ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีคะแนนของความสุขในการเรียนรู้ก่อนการจัดการเรียนรู้และหลังการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีพัฒนาการของความสุขในการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงขึ้นลง และ 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ผ่านการสะท้อนคิดด้วยการให้ข้อมูลย้อนกลับ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี มากกว่าร้อยละ 60 ในขณะเดียวกัน ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์และการสังเกตบ่งชี้ว่านักเรียนเกิดความสุขในการเรียนรู้


ผลการใช้โจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง และโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชา, ฮกเฬง เสียง Jan 2018

ผลการใช้โจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง และโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชา, ฮกเฬง เสียง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชากลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องและกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย และ (2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชาระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องกับกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนเกรด 10 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560-2561 โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่ง จังหวัดกำปงธม ประเทศกัมพูชา จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มทดลอง คือ กลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้อง มีนักเรียนจำนวน 44 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ คือ กลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัย มีนักเรียนจำนวน 43 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ เรื่อง กลศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร สถิติทดสอบผลต่างค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน และสถิติทดสอบไคสแควร์
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) ระดับความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชากลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องและกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยอยู่ในระดับไม่ผ่าน และมีคะแนนต่ำกว่าเกณฑ์ระดับดีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์หลังเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเทศกัมพูชาระหว่างกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาที่ให้คำตอบไม่ถูกต้องกับกลุ่มที่เรียนด้วยโจทย์ปัญหาแบบอัตนัยไม่แตกต่างกัน


ผลของโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, วรัฐา นพพรเจริญกุล Jan 2018

ผลของโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, วรัฐา นพพรเจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากได้รับโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์, ชัยเทพ ชัยภักดี Jan 2018

กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์, ชัยเทพ ชัยภักดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์ชีวประวัติของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ 2) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอกของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ วิธีดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย นำเสนอผลการวิจัยเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) ชีวประวัติของครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ ประกอบด้วย 4 ด้าน (1) ข้อมูลทั่วไป เป็นบุตรของครูเพชร จรรย์นาฏย์ กับนางปริก จรรย์นาฏย์ เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2460 สมรสกับนางสังวาลย์ จรรย์นาฏย์ และนางทองหยด จรรย์นาฏย์ มีบุตรธิดารวม 15 คน (2) การศึกษา ศึกษาวิชาสามัญจากวังบูรพาภิรมย์ ศึกษาวิชาดนตรีกับครูเพชร จรรย์นาฏย์ และครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) (3) การทำงาน รับราชการเป็นมหาดเล็กนักดนตรีไทยของวังบางคอแหลมและวังลดาวัลย์ และจัดตั้งสำนักปี่พาทย์ครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ รับงานบรรเลงดนตรีไทย และสอนดนตรีไทย (4) ผลงาน ประกอบด้วย ผลงานการประพันธ์เพลงทั่วไปและเพลงเดี่ยว การบรรเลงในโอกาสสำคัญ ผลงานการประชันปี่พาทย์ และผลงานการปรับวงปี่พาทย์ 2) กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงระนาดเอก ประกอบด้วย 4 ด้าน (1) ครู เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูกศิษย์ มีจิตวิทยาในการสอน และมีคุณธรรมจริยธรรม (2) ผู้เรียน มีคุณสมบัติของนักดนตรีที่ดี มีทักษะในการบรรเลงระนาดเอกขั้นสูง (3) เนื้อหาสาระ มีการเรียงลำดับบทเพลงในการสอนเป็นหมวดหมู่ ทางเพลงที่ใช้สอนคือทางครูเพชร จรรย์นาฏย์ ทางครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ และทางครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) (4) การจัดการเรียนการสอน ยึดหลักการสอนตามความสามารถของผู้เรียน ใช้วิธีการสอนทางตรง การสอนทางอ้อม และการสอนให้เกิดการเรียนรู้จากประสบการณ์ เทคนิคการสอนคือการเสริมแรง ระยะเวลาในการสอนยืดหยุ่นตามบริบทของผู้เรียน สถานที่ในการสอนคือสำนักปี่พาทย์ครูไพฑูรย์ จรรย์นาฏย์ วัดและประเมินผลโดยวิธีการสังเกต


กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกของครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ, รัษศิษฏา เกลาพิมาย Jan 2018

กระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกของครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ, รัษศิษฏา เกลาพิมาย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกของครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ 2) สร้างคู่มือการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกตามแนวทางของครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ วิธีการดำเนินการวิจัยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสาร และการสัมภาษณ์ (interview) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการตีความข้อมูล (interpretation) สร้างข้อสรุปและนำเสนอเป็นความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูพินิจ ฉายสุวรรณ เป็นศิลปินผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีปี่พาทย์ทั้งภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ และการถ่ายทอด โดยเฉพาะเครื่องมือระนาดเอก ได้รับการยกย่องว่ามีความเป็นเลิศ ครูพินิจได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกจากครูสอน วงฆ้อง ครูพริ้ง ดนตรีรส และครูเชื้อ ดนตรีรส โดยครูทั้งสามท่านนี้เป็นลูกศิษย์โดยตรงของพระยาเสนาะดุริยางค์ ในช่วงหลังขณะที่ครูพินิจรับราชการประจำอยู่ที่วงดนตรีไทยกรุงเทพมหานคร ท่านได้รับการถ่ายทอดบทเพลงเดี่ยวต่าง ๆ จากครูบุญยงค์ เกตุคง รวมทั้งได้ต่อเพลงเดี่ยวเพิ่มเติมกับครูท่านอื่น ๆ ด้วย เช่น ครูบุญช่วย ชิตท้วม ครูสนิท ลัดดาอ่อน เป็นต้น ลูกศิษย์ที่ได้รับการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกจากครูพินิจต้องมีพื้นฐานการบรรเลงระนาดเอกมาก่อนในระดับหนึ่ง ในการถ่ายทอดบทเพลง ครูพินิจเป็นผู้พิจารณาว่าผู้เรียนแต่ละคนเหมาะสมกับบทเพลงใด สำหรับหลักการถ่ายทอดทักษะการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกของครูพินิจ ฉายสุวรรณ มี 3 ประการ ได้แก่ 1) สอนตามสติปัญญาและความสามารถ 2) เน้นเรื่องรสมือของผู้เรียนที่ควรเป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละคน 3) เน้นการบรรเลงที่ถูกต้องชัดเจนไพเราะและได้อรรถรสของบทเพลง 2. คู่มือการถ่ายทอดการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกของครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วย คำชี้แจงในคู่มือ เนื้อหาสาระเกี่ยวกับเนื้อหาที่เป็นความรู้ความเข้าใจในการนำไปถ่ายทอดสำหรับผู้สอน และการนำไปฝึกทักษะการบรรเลงเดี่ยวระนาดเอกสำหรับผู้เรียนตามแนวทางของครูพินิจ ฉายสุวรรณ ศิลปินแห่งชาติ ขั้นตอนการถ่ายทอดและการฝึกทักษะการบรรเลงเดี่ยวระนาด การวัดและประเมินผล และแหล่งอ้างอิง


กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม, ดวงจิต สนิทกลาง Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม, ดวงจิต สนิทกลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากรอบแนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม 2. ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม 3. พัฒนากลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม ดำเนินการวิจัย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน เก็บข้อมูลจากโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 342 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ผู้บริหาร ครู และนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินกรอบแนวคิดในการวิจัย และแบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNIModified) และ การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) จากการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัย พบว่า 1. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม ประกอบด้วย การบริหารงานวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และการวัดผลและประเมินผล และ การบริหารงานกิจการนักเรียน ได้แก่ งานสภานักเรียน และการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2. กรอบแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม ประกอบด้วย 1) การมีวิสัยทัศน์ 2) การรู้จักอัตลักษณ์ของตนเอง 3) การเป็นคนสร้างแรงบันดาลใจ 4) การมีกัลยาณมิตร 5) การมีจิตสาธารณะ 6) การมีภูมิปัญญา 7) การมีความสามัคคีปรองดอง 8) การมีสัจจะ กล้าหาญ มุ่งมั่น และ 9) การยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรมและความดีงาม และ 10) การเน้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และพัฒนา 3. สภาพปัจจุบันของการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยมในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) กลยุทธ์การบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาตามแนวคิดการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม มีกลยุทธ์หลัก 5 กลยุทธ์ ได้แก่ 1) ปฏิรูปหลักสูตรสถานศึกษาเพื่อเสริมสร้างนักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม 2) ปรับปรุงการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม 3) ปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนานักเรียนให้มีภาวะผู้นำที่ยอดเยี่ยม …


การพัฒนาคู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, คเชนเทพ จันทรวงศ์ Jan 2018

การพัฒนาคู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา, คเชนเทพ จันทรวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา และเพื่อพัฒนาคู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยมีแหล่งข้อมูลประกอบด้วยเอกสารดังต่อไปนี้ 1) ระเบียบ/ข้อบังคับ/ธรรมนูญว่าด้วยสภานักเรียนของโรงเรียน, 2) เอกสารคู่มือ/แนวทางการดำเนินงานสภานักเรียนของโรงเรียน, 3) แผนงาน/โครงการ/รายงานผลการดำเนินงานกิจกรรมสภานักเรียน และ 4) เอกสารประกอบการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบสภานักเรียนในปีที่ได้รับรางวัล ในส่วนของการมีส่วนร่วมของสภานักเรียนในการส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมของโรงเรียน (องค์ประกอบที่ 2) จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 12 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 48 รายการ ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร, แบบประเมินความเหมาะสมของ (ร่าง) แนวทางฯ และแบบประเมินคุณภาพของ (ร่าง) คู่มือการบริหารงานสภานักเรียนฯ และผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ สรุปผลการวิจัยที่สำคัญได้ดังนี้ 1. แนวทางการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา มีทั้งหมด 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน (Planning) ขั้นตอนที่ 2 การนำแผนสู่การปฏิบัติ (Implementation) และขั้นตอนที่ 3 การประเมินผล (Evaluation) ซึ่งการบริหารงานสภานักเรียนแบ่งกิจกรรมเพื่อส่งเสริมความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ ด้านคารวธรรม (Respect for Individuals), ด้านสามัคคีธรรม (Sharing, Participating, and Co-operating) และด้านปัญญาธรรม (Faith in the Method of Intelligence) 2. คู่มือการบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยของนักเรียนโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย ชื่อคู่มือ (Name), คำชี้แจง (Explanation), ความเป็นมาและความสำคัญ (Background and Signification), วัตถุประสงค์ (Objectives), ขอบเขต (Scope), คำจำกัดความ (Definition), การบริหารงานสภานักเรียนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยประกอบด้วย ขั้นตอนการบริหารงาน 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 การวางแผน …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหาร ตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, สราวุฒิ กันเอี่ยม Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหาร ตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21, สราวุฒิ กันเอี่ยม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารและทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 และ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนเตรียมทหารตามแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนเตรียมทหาร ผู้อำนวยการกองวิชา อาจารย์ และนักเรียนเตรียมทหาร รวม 456 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNIModified รวมทั้งการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนเตรียมทหาร ประกอบด้วย (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดผลและประเมินผล (4) การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา และกรอบแนวคิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มี 10 องค์ประกอบ คือ (1) ทักษะการเรียนรู้ (2) ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (3) ทักษะการติดต่อสื่อสาร (4) ทักษะการทำงานเป็นทีม (5) ทักษะการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (6) ทักษะสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี (7) ทักษะในการผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ (8) ทักษะผู้นำที่มีความรับผิดชอบ (9) ทักษะการคิดยืดหยุ่นและการปรับตัว (10) ทักษะทางสังคมและการเรียนรู้สังคมข้ามวัฒนธรรม 2) สภาพปัจจุบันภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือด้านการจัดการเรียนรู้ และการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา 3) จุดแข็ง คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการวัดและประเมินผล จุดอ่อน คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ และด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน และมาตรฐานการศึกษา สภาพแวดล้อมภายนอกในภาพรวมไม่พบโอกาส แต่พบภาวะคุกคาม …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0, พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0, พันธวิชญ์ เลี้ยงชีพชอบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษา และคนไทย 4.0 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 โดยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธีพหุระยะ (Multi - phase mixed method research) ที่ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ผู้ให้ข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมจำนวน 589 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีแบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม และแบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนรู้ (3) การวัดผลประเมินผล (4) การพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา กรอบแนวคิดคนไทย 4.0 มี 9 คุณลักษณะ ได้แก่ (1) พฤติกรรมเชิงรุก (2) ความคิดสร้างสรรค์ (3) ความคิดวิจารณญาณ (4) จิตสาธารณะ (5) ความร่วมมือร่วมใจ (6) พฤติกรรมสร้างสรรค์นวัตกรรม (7) ความฉลาดทางอารมณ์ (8) พฤติกรรมแสวงหาสารสนเทศ (9) ความเป็นผู้ประกอบการดิจิทัล 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการของโรงเรียนประถมศึกษาตามแนวคิดคนไทย 4.0 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ การพัฒนาหลักสูตร ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการพัฒนาสื่อ แหล่งเรียนรู้ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษา 3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ จุดอ่อน …


กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, อมรรัตน์ ศรีพอ Jan 2018

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม, อมรรัตน์ ศรีพอ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม โดยการวิจัยแบบผสมผสานวิธีแบบพหุระยะ กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ โรงเรียนเอกชนในระบบประเภทสามัญที่เปิดทำการเรียนการสอนถึงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 223 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียนฝ่ายวิชาการหรือหัวหน้าฝ่ายวิชาการและครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNImodified และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ประกอบด้วย 3 ด้าน คือ (1) การพัฒนาหลักสูตร (2) การจัดการเรียนการสอน (3) การวัดผลและประเมินผล กรอบแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม 9 ทักษะ ในขณะที่กรอบแนวคิดทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย 5 กลุ่ม 10 ทักษะ 2) สภาพปัจจุบันของการบริหารวิชาการในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารวิชาการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การจัดการเรียนการสอน 3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตร จุดอ่อน คือ การจัดการเรียนการสอน โอกาส คือ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ภาวะคุกคาม คือ การเมืองและนโยบายของรัฐ สภาพเศรษฐกิจ และสภาพสังคม 4) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาเอกชนตามแนวคิดทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ (1) พัฒนาหลักสูตรที่มุ่งลดจุดอ่อนผู้เรียนด้านทักษะความคิดยืดหยุ่นคล่องตัวและหลักแหลมและทักษะการคิดแนวขวาง (2) ยกระดับการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งลดจุดอ่อนด้านทักษะความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และเสริมจุดแข็งด้านทักษะการคิดเชิงนวัตกรรม (3) ปรับระบบการวัดผลและประเมินผลที่มุ่งลดจุดอ่อนผู้เรียนด้านทักษะความคิดริเริ่มสิ่งใหม่และทักษะการคิดแก้ไขและเข้าใจตัวบุคคล


แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา, อภิญญา สุขช่วย Jan 2018

แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา, อภิญญา สุขช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษากับพฤติกรรมการสอนของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา และ 3) เพื่อสังเคราะห์แนวทางการหล่อหลอมความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษา มีแบบแผนการวิจัยเป็นวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณ คือ นิสิตนักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 สาขาวิชาประถมศึกษา จำนวน 274 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงคุณภาพ คือ อาจารย์มหาวิทยาลัยประจำสาขาวิชาประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษามีแนวโน้มไปทางความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยมมากที่สุด อันดับรองลงมา ได้แก่ อัตถิภาวนิยม นิรันตรนิยม ปฏิรูปนิยม และสารัตถนิยม ตามลำดับ 2) ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาในแต่ละสาขาของนิสิตนักศึกษาครู สาขาวิชาประถมศึกษาไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาในสาขาเดียวกัน นอกจากนี้ยังพบว่า ความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาปฏิรูปนิยม มีความสัมพันธ์ในทางบวกกับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาอัตถิภาวนิยม มีความสัมพันธ์ในทางลบกับพฤติกรรมการสอนตามแนวความเชื่อเชิงปรัชญาการศึกษาสารัตถนิยมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) พบว่า มีการนำแนวคิดทางปรัชญาการศึกษาพิพัฒนนิยมมาเป็นแนวทางในการจัดการศึกษา โดยหล่อหลอมผ่านกิจกรรมการลงมือปฏิบัติจริง ผลที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่สอดคล้องกับปรัชญาของหลักสูตรและความคาดหวังของรายวิชา ซึ่งถือว่าได้ผลสำเร็จในภาพรวม