Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

เทคโนโลยี

Publication Year

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, อมรินทร์ อำพลพงษ์ Apr 2019

การพัฒนาบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, อมรินทร์ อำพลพงษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต2) ศึกษาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 3) วัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนบทเรียนบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต วิชาการออกแบบและเทคโนโลยีตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 2 ห้องเรียน แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ และแผนการเรียนศิลป์ แผนละ 1 ห้องเรียน ในภาคเรียน 2/2558 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ บทเรียนคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตฯแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบวัดเจตคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียน ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ผลการวิจัยพบว่า บทเรียนคอมพิวเตอร์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ฯ นักเรียนแผนการเรียนวิทยาศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพ 85.30/86.71 สูงกว่ามาตรฐาน และนักเรียนแผนการเรียนศิลป์มีค่าประสิทธิภาพ 76.68/76.09 สูงกว่ามาตรฐานที่กหนดไว้ไม่ต่ำกว่า 75/75 ส่วนด้านเจตคติของนักเรียนผลปรากฏว่า นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนเทียบผ่านเกณฑ์เฉลี่ย 3.5 โดยใช้แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับของลิเคิร์ท (Likert)


การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, ประภาวดี ทามนตรี Apr 2018

การสร้างแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2, ประภาวดี ทามนตรี

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบฝึกพัฒนาทักษะอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการอ่านจับใจความ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง จากจำนวนนักเรียนทั้งหมด 7 ห้อง ใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่าแบบฝึกทักษะอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 88.88/88.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่กำหนดไว้ และมีผลสัมฤทธิ์ หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะอ่านจับใจความสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์, ประธาน พิศงาม, ศิริรัตน์ ศรีสอาด Jul 2016

การพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์, ประธาน พิศงาม, ศิริรัตน์ ศรีสอาด

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อพัฒนาหลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้าจังหวัดสุรินทร์ โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1) ศึกษาความสอดคล้องของหลักสูตรสุขศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนบ้านหนองหว้า จังหวัดสุรินทร์ กับมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 2) จัดทำขอบข่ายเนื้อหาและการจัดลำดับการเรียนรู้สาระการเรียนรู้สุขศึกษา 3) จัดทำคำอธิบายรายวิชา 4) ประเมินความเหมาะสมของคำอธิบายรายวิชาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5) วิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิและปรับปรุงคำอธิบายรายวิชา ใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (\bar{x}) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิเคราะห์ข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยครูกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา โรงเรียนมัธยมศึกษา ศึกษานิเทศก์ งานนิเทศกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา และอาจารย์ในระดับอุดมศึกษาที่เชี่ยวชาญด้านสุขศึกษา ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้หลักสูตรสุขศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น แบบอิงมาตรฐาน ได้รายวิชาทั้งสิ้น 6 วิชา ซึ่งผ่านกระบวนการพัฒนาหลักสูตรตามขั้นตอนการวิจัย 2) คำอธิบายรายวิชาทั้ง 6 วิชา มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และมากที่สุดในทุกประเด็นคำถาม


การสอนพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ, นวรัตน์ หัสดี Apr 2016

การสอนพลศึกษาสำหรับเด็กพิเศษ, นวรัตน์ หัสดี

Journal of Education Studies

การสอนพลศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษตามแนวคิดของบรรดิการพลศึกษา มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย อารมณ์ สังคมและสติปัญญา โดยมีการวางแผน การประเมินผล การปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อม ทั้งด้านกระบวนการสอน วิธีการสอน เนื้อหาวิชา หลักสูตร เครื่องมือและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียน เพื่อตอบสนองต่อความสามารถและความต้องการของผู้เรียนเป็นรายบุคคล ครูพลศึกษามีบทบาทสำคัญในการพัฒนานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษตามแผนการศึกษาเฉพาะบุคคล โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมพลศึกษา การออกกำลังกายและกีฬา มุ่งเน้นให้นักเรียนได้พัฒนากล้ามเนื้อ ช่วยแก้ไขส่วนที่บกพร่องและเสริมสร้างพัฒนาการทุกด้านให้เหมือนหรือใกล้เคียงความปกติให้มากที่สุด


5ts กับความสำเร็จด้านครุศึกษาของประเทศฟินแลนด์, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร Jul 2015

5ts กับความสำเร็จด้านครุศึกษาของประเทศฟินแลนด์, ภาวิณี โสธายะเพ็ชร

Journal of Education Studies

ความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าของประเทศขึ้นอยู่กับคุณภาพของประชากรเป็นสำคัญ ขนาดของประเทศไม่ได้เป็นตัวชี้วัดต่อจำนวนคนที่มีคุณภาพ การมีประชากรจำนวนน้อยแต่มีคุณภาพที่ดีต่างหากที่สามารถเปลี่ยนประเทศของตนให้ใหญ่ขึ้นได้ในแง่ของอำนาจและศักยภาพ ประเทศฟินแลนด์เป็นตัวอย่างหนึ่งของการมีประชากรที่มีจำนวนน้อยแต่มีคุณภาพ การให้ความสำคัญด้านการศึกษาของรัฐแก่พลเมืองในประเทศถือเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการมุ่งพัฒนาคุณภาพคนเป็นสำคัญ ความสำเร็จประการหนึ่งของประเทศฟินแลนด์คือ ครูมีความเป็นมืออาชีพสูง ด้วยเหตุนี้ครุศึกษา จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตครูในประเทศฟินแลนด์ ผลลัพธ์ที่ได้คือ การได้ประชากรที่มีคุณภาพให้กับประเทศ ดังนั้น องค์ประกอบ 5 ประการที่ส่งผลให้ประเทศฟินแลนด์ประสบความสำเร็จด้านการศึกษา และครุศึกษา ก็คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ (T1: Trust) ครู (Teacher: T2) การฝึก (Training: T3) เทคโนโลยี (Technology: T4) และการทำงานเป็นทีม (Teamwork: T5) ซึ่งทั้ง 5 องค์ประกอบนี้มีความเกื้อกูลและส่งเสริมกันและกันจนทำให้ประเทศฟินแลนด์บังเกิดผลสำเร็จดังที่กล่าวมา