Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

การพัฒนาหลักสูตร

Articles 1 - 7 of 7

Full-Text Articles in Education

ทิศทางการสอนดนตรีโลก: นิยาม หลักการ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย, นันธิดา จันทรางศุ, สุรสีห์ ชานกสกุล, สกาวรุ้ง สายบุญมี Jan 2020

ทิศทางการสอนดนตรีโลก: นิยาม หลักการ และข้อเสนอแนะสำหรับประเทศไทย, นันธิดา จันทรางศุ, สุรสีห์ ชานกสกุล, สกาวรุ้ง สายบุญมี

Journal of Education Studies

แนวคิดและเทคนิคการสอนดนตรีโลกถูกนํามาใช้ในการปฏิรูปการสอนดนตรีโดยการนํามรดกทางวัฒนธรรมดนตรีที่หลากหลายทั่วโลกสู่ห้องเรียน และมีการพิจารณาว่าจะนําความหลากหลายเหล่านั้นเข้าสู่หลักสูตรได้อย่างไรโดยที่ยังเคารพดนตรีในเขตวัฒนธรรมดั้งเดิมที่โรงเรียนตั้งอยู่การสอนดนตรีโลกเป็นการเปิดมุมมองด้านดนตรีและวัฒนธรรมที่หลากหลาย อีกทั้งยังเชื่อมโยงถึงวัฒนธรรมของมนุษย์และสังคม เนื่องจากดนตรีโลกมีการเรียนการสอนในหลายประเทศทั่วโลก ดังนั้นจึงเป็นแนวโน้มที่ควรนำมาพิจารณาในการพัฒนาครูและหลักสูตรประถมศึกษาของประเทศไทย การสอนดนตรีโลกมีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อให้ความสำคัญกับเนื้อหาและวิธีการสอนดนตรีในยุคโลกไร้พรมแดน 2) เพื่อตอบสนองต่อการเรียกร้องความรับผิดชอบทางสังคม ความหลากหลายความเสมอภาคและการอยู่ร่วมกัน 3) เพื่อเน้นให้ความรู้เกี่ยวกับหลักการทางวัฒนธรรมในการสืบสานและเรียนรู้ดนตรี4) เพื่อเน้นย้ำมุมมองความแตกต่างระหว่างวัฒนธรรมของศิลปิน ครูและผู้เรียน 5) เพื่อให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการฟังที่จะนําไปสู่การมีส่วนร่วมในการแสดง การสร้างสรรค์และดนตรีที่เปรียบเสมือนพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีความหมายทางวัฒนธรรมดนตรีโลกมีขั้นตอนการสอน 5 ขั้นตอน คือการฟังอย่างใส่ใจการฟังอย่างมีส่วนร่วม การฟังเพื่อการเรียนรู้การสร้างสรรค์ดนตรีโลก และการบูรณาการดนตรีโลก


การพัฒนาแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบทเสริมการสอนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, วนิดา อัญชลีวิทยกุล Jul 2018

การพัฒนาแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบทเสริมการสอนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต, วนิดา อัญชลีวิทยกุล

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบทเสริมการสอน ภาษาอังกฤษปรับพื้นฐานสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ และทัศนคติในการเรียนรู้้ไวยากรณ์ของนักศึกษา รวมทั้งความคิดเห็นของผู้สอนที่มีต่อ การใข้แบบฝึกไวยากรณ์เป็นสื่อประกอบการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ประกอบด้วยนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 28 คนจาก 5 หลักสูตร เครื่องมือที่ใช้ในการสอน ได้แก่ แบบฝึกไวยากรณ์ใน บริบทและแผนการสอน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ในการเรียนไวยากรณ์ แบบสอบถามวัดทัศนคติของนักศึกษาที่มีต่อแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบท คำถามในการสัมภาษณ์และบันทีกหลังสอน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ค่า t-test ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้ทฤษฎี Grounded theory ของ Strauss and Corbin (1999) ผลการวิจัยพบว่า คะแนน การทำแบบทดสอบหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าคะแนนการทำแบบทดสอบก่อนเรียนอย่าง มีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 โดยนักศึกษามองเห็นข้อดีของแบบฝึกไวยากรณ์ในบริบททั้งในส่วน ที่ช่วยให้มีการเรียนรู้ไวยากรณ์และส่วนที่ช่วยสร้างแรงจูงใจในการเรียน นอกจากนี้ผู้สอนยัง มองเห็นประโยชน์ของการใช้แบบแกไวยากรณ์ในบริบทเสริมการสอนภาษาอังกฤษปรับพื้นฐาน เพราะช่วยให้นักศึกษามีการเรียนรู้ไวยากรณ์ทั้งในด้านรูปแบบและความหมาย สามารถนำไป ประยุกต์ใช้ในการสื่อสารได้


การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน: รอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นจากชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์ Apr 2017

การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน: รอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นจากชั้นอนุบาลสู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1, ปนัฐษรณ์ จารุชัยนิวัฒน์

Journal of Education Studies

การเริ่มเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของชีวิตเด็กปฐมวัย เด็กจะสามารถปรับตัวกับการเปลี่ยนแปลงและก้าวผ่านช่วงรอยต่อระหว่างชั้นเรียนอนุบาลและชั้นประถมศึกษาไปได้อย่างราบรื่นเพียงใด ขึ้นอยู่กับการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบริบทต่าง ๆ รอบตัวเด็ก ทั้งในระดับครอบครัว โรงเรียน และชุมชน ซึ่งมีอิทธิพลต่อพัฒนาการและการเจริญเติบโตของเด็ก การสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาที่ราบรื่นเกิดจากการทำงานร่วมกันผ่านการพัฒนา 3 มิติของความพร้อม คือ ความพร้อมของเด็ก ความพร้อมของโรงเรียน และความพร้อมของครอบครัว บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับครูอนุบาล ครูประถมศึกษา ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับ ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับบริบทต่าง ๆ รอบตัว และการสร้างรอยเชื่อมต่อระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รวมทั้งนำเสนอแนวทางการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนเพื่อสร้างรอยเชื่อมต่อที่ราบรื่นระหว่างชั้นอนุบาลและชั้นประถมศึกษา ซึ่งเป็นการสนับสนุนและช่วยเหลือเด็กให้สามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และประสบความสำเร็จในการเรียนรู้


กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต, เปรมวดี สาริชีวิน, มนัสวาสน์ โกวิทยา, อาชัญญา รัตนอุบล Oct 2016

กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต, เปรมวดี สาริชีวิน, มนัสวาสน์ โกวิทยา, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

การวิจัยแบบเชิงคุณภาพครั้งนี้ เพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า กระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทยสำหรับประชาชนกลุ่มเสี่ยงต่อโรควิถีชีวิต ประกอบด้วย 2 หลักการ ได้แก่ 1) แนวทางวิถีสุขภาพพอเพียง (พอเพียง พอประมาณ และพอดี) 2) การมีส่วนร่วมของประชาชนและหน่วยงานท้องถิ่น และ 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) ผลที่เกิดจากปัญหาที่รู้สึกไม่พึงพอใจในชีวิต 2) ความรู้เรื่องการส่งเสริมสุขภาพด้วยภูมิปัญญาไทย 3) แรงบันดาลใจของผู้เรียน 4) บุคคลต้นแบบ 5) วิถีชีวิตของชุมชน 6) สื่อการสอน 7) แหล่งเรียนรู้ชุมชน 8) บรรยากาศการเรียนรู้ และประกอบด้วยขั้นตอนการเรียนรู้ 14 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การรับรู้ความรู้สึกไม่พึงพอใจต่อปัญหาที่กำลังเผชิญอยู่ 2) การตรวจสอบตนเองถึงสาเหตุของปัญหาอย่างมีเหตุผล 3) การพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น 4) การปรับเปลี่ยนมุมมองใหม่เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 5) การสร้างภาพจินตนาการบทบาทใหม่ 6) การตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติตามบทบาทใหม่ที่คิดไว้ 7) การเรียนรู้จากการกระทำของต้นแบบ 8) การทดลองปฏิบัติบทบาทใหม่ 9) การสร้างแรงบันดาลใจในการเปลี่ยนแปลงตนเอง 10) การฝึกปฏิบัติตามบทบาทใหม่ 11) การดัดแปลงวิธีปฏิบัติใหม่ให้เข้ากับวิถีชีวิต 12) การกำหนดมาตรการควบคุมกำกับตนเอง 13) การประเมินผลการปฏิบัติตามบทบาทใหม่ 14) การพัฒนาให้เป็นนิสัยใหม่


เปิดประเด็น : ศิลปะเพื่อชุมชน, อภิชาติ พลประเสริฐ Oct 2016

เปิดประเด็น : ศิลปะเพื่อชุมชน, อภิชาติ พลประเสริฐ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


คิดนอกกรอบ : การคิดและคิดนอกกรอบจากกรอบแนวคิด, ณรุทธ์ สุทธจิตต์ Oct 2016

คิดนอกกรอบ : การคิดและคิดนอกกรอบจากกรอบแนวคิด, ณรุทธ์ สุทธจิตต์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย, พระมหาสนอง จำนิล, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ Apr 2015

การพัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์ในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย, พระมหาสนอง จำนิล, พันธ์ศักดิ์ พลสารัมย์, ศรเนตร อารีโสภณพิเชฐ

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย 2)วิเคราะห์แนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย และ 3) พัฒนารูปแบบและยุทธศาสตร์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ปีการศึกษา 2557 จำนวน 78 รูป/คน โดยแบ่งผู้สัมภาษณ์ 26 รูป/คน และผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 78 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 81 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย ประกอบด้วย 6 หลักการ และ 19 แนวทาง ดังนี้ หลักการมี 6 หลัก ประกอบด้วย 1) ความตระหนักในหน้าที่ 2) การเผยแผ่ศาสนาอย่างกว้างไกล 3) การดำเนินงานด้านการเผยแผ่อย่างต่อเนื่อง 4) การสงเคราะห์ประชาชนทุกระดับ 5) ความเป็นประโยชน์ต่อชีวิตชาตินี้ และ 6) การแสวงหาและสร้างกัลยาณมิตร ส่วนแนวทางการเผยแผ่พระพุทธศาสนามี 19 ประการ ประกอบด้วย 1) การเปิดใจยอมรับฟังคำสอนของนักปราชญ์อื่นๆ 2) การสอนแบบบรรยาย 3) การถามตอบปัญหา 4) การสนทนาปราศรัยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5) การสอนด้วยทฤษฎี 4ส. คือ สันทัสสนา สมาทปนา สมุตเตชนา สัมปหังสนา 6) การสอนด้วยปาฏิหาริย์ 3 คืออิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนียปาฏิหาริย์ 7) การเสนอคำสอนที่เป็นแก่นแท้ 8) การประยุกต์/บูรณาคำสอนขึ้นมาใหม่ 9) คณะพระธรรมทูต 10) การปฏิรูปและปฏิวัติ 11) การแสดงพระธรรมเทศนา 12) การปรับบุคลิกภาพตัวเองให้เข้ากับวัฒนธรรมท้องถิ่น 13) การไปเยี่ยมบ้าน 14) …