Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน

Publication Year

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

การพัฒนากระบวนการนําครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน, เกรียง ฐิติจำเริญพร, ชาริณี ตรีวรัญญู, สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา Jan 2019

การพัฒนากระบวนการนําครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอน, เกรียง ฐิติจำเริญพร, ชาริณี ตรีวรัญญู, สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพโดยใช้แนวคิดการพัฒนา บทเรียนร่วมกันเป็นฐานร่วมกับการเป็นพี่เลี้ยง และศึกษาผลของกระบวนการที่มีต่อความสามารถใน การออกแบบการเรียนการสอนของครูใหม่ กรณีศึกษาเป็นครูประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีวุฒิการศึกษา 8 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ แบบประเมิน แผนการจัดการเรียนรู้ การนำแผนการจัดการเรียนรู้ไปใช้ และการวิเคราะห์และปรับปรุงแผนการจัด การเรียนรู้เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ การสังเกตชั้นเรียน การสังเกตการสะท้อนคิดและ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการนำครูใหม่เข้าสู่วิชาชีพที่พัฒนาขึ้นมี 3 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้าง ทีมงานและตั้งเป้าหมายร่วมกัน การเรียนรู้การออกแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียน และการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางวิชาชีพในการออกแบบการเรียนการสอนและการปฏิบัติการสอน กระบวนการที่พัฒนาขึ้นส่งผล ให้ครูใหม่มีพัฒนาการด้านความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนสูงขึ้น ออกแบบกิจกรรม การเรียนการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้และมีส่วนร่วมมากขึ้น เลือกใช้สื่อการสอนที่ เหมาะสมกับผู้เรียนออกแบบการวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างหลากหลาย และจัดการชั้นเรียนที่เอื้อ ต่อการเรียนการสอน


รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดํารงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พัชรา จันทรัตน์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jan 2019

รูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดํารงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พัชรา จันทรัตน์, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุน การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดีของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) กำหนดรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุน การพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ และ 3) ประเมินรูปแบบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนา หลักสูตรบูรณาการฯ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนสถานศึกษาละ 9-15 คน รวม 377 โรงเรียน ภายใต้รูปแบบการวิจัยแบบผสมวิธีที่ประกอบด้วยการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการบริหารแบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร บูรณาการฯ มี 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ สร้างสรรค์การวิเคราะห์มาตรฐาน ส่งเสริมการพัฒนาและ การสื่อสาร สืบสานการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดี รวมทั้งหมด 22 องค์ประกอบย่อย 2) รูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ ประกอบด้วยจุดเน้น วัตถุประสงค์ กระบวนการ และวิธีการเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำหลักสูตร ได้แก่ การสร้างสรรค์การวิเคราะห์มาตรฐาน การส่งเสริม การพัฒนาและการสื่อสาร และการสืบสานการดำรงตนให้เป็นพลเมืองดีภายใต้การเข้ามามีหน้าที่และ รับผิดชอบต่อกระบวนการจัดการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) รูปแบบการบริหาร แบบมีส่วนร่วมเพื่อสนับสนุนการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการฯ มีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็น ประโยชน์ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่ามีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็น ประโยชน์ในระดับมากที่สุดทุกข้อ


การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ, บุญชู บุญลิขิตศิริ Apr 2017

การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในรายวิชาออกแบบ, บุญชู บุญลิขิตศิริ

Journal of Education Studies

ความคิดสร้างสรรค์ (creative Thinking) เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นต่อการพัฒนาในสิ่งต่าง ๆ เพราะจะทำให้สามารถมองเห็นแนวทาง วิธีการ รวมทั้งโอกาสใหม่ ๆ ในการพัฒนานวัตกรรมเพิ่มโอกาสประสบความสำเร็จ สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21 ที่สำคัญของผู้เรียนที่ประกอบด้วย 4 C ซึ่งได้แก่ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (critical thinking), การสื่อสาร (communication), การร่วมมือ (collaboration) และ ความคิดสร้างสรรค์ (creativity) เพื่อให้ผู้เรียนที่มีทักษะที่สำคัญเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการทำงานและเป็นนวัตกรที่มีประสิทธิภาพต่อไปเมื่อเข้าสู่การประกอบอาชีพในอนาคต โดยรายงานสภาเศรษฐกิจโลกได้กล่าวถึง 10 ทักษะ ที่ตลาดแรงงานโลกต้องการในปี 2020 นั้น ความคิดสร้างสรรค์เป็น 1 ใน 10 ทักษะที่ถูกเสนอขึ้นมา อีกทั้งองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) เสนอข้อมูลว่า นายจ้างขององค์กรในศตวรรษที่ 21 มีความต้องการให้คนในองค์กรมีทักษะด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณและความคิดสร้างสรรค์ มากที่สุด สอดคล้องกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สำหรับประเทศไทย 4.0 ที่จะใช้เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (creative economy) ในการพัฒนาประเทศโดยขับเคลื่อนด้วยความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี ในการสร้างมูลค่า ความแตกต่าง หรือการต่อยอดในการพัฒนาสินค้าและบริการ เป็นปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (innovation-based economy) ต่อไป


แรงจูงใจและการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์, สกลรัชต์ แก้วดี Jan 2017

แรงจูงใจและการเรียนรู้ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในห้องเรียนวิทยาศาสตร์, สกลรัชต์ แก้วดี

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการเรียนรู้และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ ศึกษาวิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 3 ประชากรในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และครูวิทยาศาสตร์ ผู้เข้าร่วมการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 315 คน และครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 12 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล 12 โรงเรียน ครอบคลุม 4 ภาคของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสอบถามแรงจูงใจในการเรียนรู้และการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนประเมินตนเอง 2) แบบสอบถามแรงจูงใจ การเรียนรู้ และวิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจสำหรับครูเป็นผู้ประเมิน แล3) แบบสังเกตแรงจูงใจในการเรียนรู้ การเรียนรู้ และวิธีการเสริมสร้างการเรียนรู้ สำหรับผู้สังเกตการณ์ การสรุปข้อมูลแรงจูงใจและการเรียนรู้วิเคราะห์จากความสอดคล้องของข้อมูลโดยใช้การตรวจสอบแบบสามเส้าจาก 3 แหล่ง คือ นักเรียน ครูผู้สอน และผู้สังเกตการณ์ ส่วนข้อมูลวิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจพิจารณาจากความสอดคล้องกันของข้อมูลครูผู้สอนและผู้สังเกตการณ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีระดับแรงจูงใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์อยู่ระหว่างระดับ ปานกลาง-สูง ถึง ระดับสูง และนักเรียนส่วนใหญ่มีแรงจูงใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์จากภายใน 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ส่วนใหญ่มีระดับการเรียนรู้อยู่ระหว่าง ระดับต่ำ-ปานกลาง 3) วิธีการเสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ครูส่วนใหญ่ใช้ คือ การกระตุ้นในเกิดการเรียนรู้ร่วมกันทั้งชั้นเรียน และการกระตุ้นแรงจูงใจของนักเรียนด้วยปัจจัยภายใน