Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

การจัดการศึกษา

Publication Year

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

“บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” : แนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทย, พรสวรรค์ วงษ์กาญจนกุล, กรรณิการ์ สัจกุล Jul 2021

“บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” : แนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทย, พรสวรรค์ วงษ์กาญจนกุล, กรรณิการ์ สัจกุล

Journal of Education Studies

บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการจัดการศึกษาของ สตรีไทย 2) เพื่อวิเคราะห์แนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” และ 3) เพื่อประยุกต์แนวคิดและรูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” วิธีการศึกษาใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ศึกษาวิเคราะห์พระราชนิพนธ์ พระนิพนธ์ประเภทต่าง ๆ ในฐานะสื่อสะท้อนแนวคิดและการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของ “บางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้” ผลการศึกษา พบว่า การศึกษาของสตรีไทยในช่วงปี พ.ศ. 2410-2474 แบ่งออกเป็น 2 แบบหลัก คือ การศึกษาแบบโบราณ และการศึกษาแบบใหม่ โดยปัจจัยสําคัญที่มีอิทธิพลต่อการศึกษาของสตรีไทย ได้แก่ บริบททางสังคมและวัฒนธรรมของ ประเทศในขณะนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งอิทธิพลจากบริบททางประวัติศาสตร์ในช่วงการแพร่ขยายลัทธิการล่าอาณานิคมของ มหาอํานาจตะวันตก นอกจากนี้ แนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยของบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้เป็นการบูรณาการพหุวิทยาการต่าง ๆ ทั้งจารีตประเพณีไทยแบบโบราณ และความรู้ใหม่แบบตะวันตก โดยประยุกต์ให้ เหมาะสมกับบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี อีกทั้งการจัดการศึกษาของบางขุนพรหมยูนิเวอร์ซิตี้ยังสามารถ พัฒนาสตรีไทยให้มีความรู้ความสามารถทัดเทียมอารยประเทศ และธํารงเอกลักษณ์ที่ดีงามของสตรีไทยได้อย่างครบถ้วน สรุปได้ว่า การศึกษาเป็นเครื่องมือที่สําคัญในการพัฒนาสตรีไทยให้มีความเท่าเทียม และความเสมอภาค นอกจากนี้ ยังสามารถนําแนวคิดดังกล่าวมาใช้ในการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาสตรีไทยในยุคปัจจุบันได้เป็นอย่างดี


รูปแบบการจัดการศึกษา "โรงเรียนสัมมาชีพ" สำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม เชียงใหม่, จรีพร นาคสัมฤทธิ์ Apr 2019

รูปแบบการจัดการศึกษา "โรงเรียนสัมมาชีพ" สำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง: กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตสังกัดมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ แม่แจ่ม เชียงใหม่, จรีพร นาคสัมฤทธิ์

Journal of Education Studies

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการศึกษาสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง 2) เสนอรูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสำหรับเด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง วิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ ใช้แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เก็บข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย (PNImodified) ค่าความต้องการจำเป็น (PNImodified) และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า การจัดการศึกษามีค่าเฉลี่ยรวมของสภาพที่พึงประสงค์ (X bar = 4.12) สูงกว่าค่าเฉลี่ยรวมของสภาพปัจจุบันทั้งหมด ( = 3.72) สภาพที่พึงประสงค์ ได้แก่ จัดการศึกษาโดยเทียบโอน ประเมินผลมาตรฐาน หลักสูตรเน้นทักษะอาชีพควบคู่หลักสูตรแกนกลาง จัดการศึกษาและประเมินผลยืดหยุ่นจัดทำสื่อการสอน จัดการศึกษาแบบสำธิตทางเลือก สร้างนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และวิจัยการเรียนการสอน รูปแบบการจัดการศึกษาที่เหมาะสมแก่เด็กกลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูง คือ รูปแบบโรงเรียนสำธิต?สัมมาชีพ? จัดการศึกษา 3 ระบบ ใช้วิถีชีวิตของผู้เรียนและชุมชนเป็นฐานเรียนรู้ ส่งเสริมนวัตกรรมจัดหลักสูตรสัมมาชีพที่เหมาะสมสำหรับกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นห้องปฏิบัติการฝึกอบรมครู ประเมินผลยืดหยุ่น เทียบโอนผลการเรียนรู้ พัฒนาจรรยาบรรณวิชาชีพครู ส่งเสริมความสำมัคคีในกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายจัดมาตรฐานการศึกษาแบบพิเศษ ใช้ภาษาชนเผ่า ใช้สื่อการสอนหลากหลาย ดึงศักยภาพของผู้เรียนกลุ่มชาติพันธุ์ให้พึ่งพาตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง


กลยุทธ์การกำกับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนภัทร พงษ์อร่าม, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์ Jan 2019

กลยุทธ์การกำกับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, ธนภัทร พงษ์อร่าม, วีระวัฒน์ อุทัยรัตน์

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสําคัญ กําหนดกลยุทธ์ และประเมินกลยุทธ์ การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาของสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้อํานวยการสถานศึกษาในสังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมจํานวน 464 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบถามองค์ประกอบการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 2) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 3) แบบสอบถามเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา 4) แบบประเมินโอกาสและอุปสรรคของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา และ5) แบบประเมินแผนกลยุทธ์เพื่อกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์ปัจจัย การวิเคราะห์ SWOT และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบสําคัญของการกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯ ประกอบด้วย4 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การจัดและใช้แหล่งเรียนรู้และการวัดผลประเมินผลรวมทั้งสิ้น 22 องค์ประกอบ 2) กลยุทธ์การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯประกอบด้วย กลยุทธ์การปฏิบัติ จุดมุ่งหมายเชิงกลยุทธ์ แนวทางการดําเนินการ และตัวชี้วัดความสําเร็จ3) กลยุทธ์การกํากับผลลัพธ์การจัดการศึกษาฯ ในภาพรวมมีความถูกต้อง ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยข้อมูลมีการกระจายตัวน้อย


ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน, อนุสรา สุวรรณวงศ์, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ Jul 2016

ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน, อนุสรา สุวรรณวงศ์, วลัยพร ศิริภิรมย์, พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี วัตถุประสงค์ในการวิจัยครั้งนี้เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชน ประชากรในการวิจัย ได้แก่ โรงเรียนเอกชนในระบบ ประเภทสามัญศึกษา จำนวน 341 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนมาคิดเป็นร้อยละ 80.05 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนี PNIModified ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และสภาพที่พึงประสงค์ของการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูในโรงเรียนเอกชนด้วยค่าดัชนี PNIModified พบว่า ด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ ด้านการแสวงหาการสนับสนุนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รองลงมาคือด้านการบริหารที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการส่งเสริมการยอมรับและความเชื่อถือไว้วางใจในการทำงานร่วมกัน ด้นการจัดการเรียนรู้ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ ส่วนการกระจายความเป็นผู้นำทางวิชาชีพเป็นด้านที่มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นต่ำที่สุด


Development Of A Non-Formal Education Program To Enhance The Drug Abuse Resilience Quotient Of Youth-At-Risk Of Drug Relapse, Methpiya Kerdphol Thangrattana, Worarat Pathumcharoenwattana, Wirun Ninlamot Jan 2014

Development Of A Non-Formal Education Program To Enhance The Drug Abuse Resilience Quotient Of Youth-At-Risk Of Drug Relapse, Methpiya Kerdphol Thangrattana, Worarat Pathumcharoenwattana, Wirun Ninlamot

Journal of Education Studies

The purpose of this research was to develop a non-formal education program to enhance drug abuse resilience quotient of youth at-risk of drug relapse. The researcher studied the effects of the non-formal education program on the enhancement of drug abuse resilience quotient of 60 youth at-risk of drug relapse. The design of this study was the quasi-experimental research approach with two-group pretest and posttest. The experimental group, which consisted of 30 relapse drug at-risk youth who used the developed program, was compared to the controlled group, which consisted of 30 relapse drug at-risk youth who used the drug addicted treatment …