Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

กระบวนการเรียนรู้

Publication Year

Articles 1 - 5 of 5

Full-Text Articles in Education

กระบวนการสอนและการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, อัจฉรา ปุราคม, ธารินทร์ ก้านเหลือง, ทัศนีย์ จันติยะ Oct 2021

กระบวนการสอนและการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุในอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม, อัจฉรา ปุราคม, ธารินทร์ ก้านเหลือง, ทัศนีย์ จันติยะ

Journal of Education Studies

การเรียนรู้กิจกรรมทางกายมีความสำคัญต่อการปรับปรุงการทำหน้าที่ทางกายสำหรับผู้สูงอายุ ช่วยทำให้ดำเนินชีวิตอย่างมีสุขภาพดี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการสอน และการเรียนรู้กิจกรรมทางกายของผู้สูงอายุ อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเจาะจง จากผู้สูงอายุพฤฒิพลัง อายุ 60 ปี ขึ้นไป จำนวน 30 คน ลงทะเบียนอบรมในหลักสูตรกิจกรรมทางกายแบบองค์รวม ณ คณะศึกษาศาสตร์และพัฒนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ระหว่างเดือนมกราคม–มีนาคม 2562 เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความพึงพอใจต่อกระบวนสอนและการเรียนรู้ และแบบทดสอบความรู้ด้านทักษะกิจกรรมทางกาย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยจำแนก จัดกลุ่มข้อมูล วิเคราะห์องค์ประกอบ สรุปแบบอุปนัย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนและหลังการเรียนรู้ ด้วยสถิติ paired t–test ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการสอนและการเรียนรู้กิจกรรมทางกายผู้สูงอายุ มุ่งเน้นทักษะป้องกันหกล้ม ข้อเข่า สมองเสื่อม และประเมินสมรรถภาพการทำหน้าที่ทางกาย กลวิธีสร้างสุข สนุกสนาน แรงจูงใจหลายรูปแบบจัดสภาพแวดล้อมทั้งสถานที่ สื่อคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสม ผลการสังเคราะห์กระบวนการสอนและการเรียนรู้ 5 องค์ประกอบ คือ 1) เคลื่อนไหวด้วยความสนุก 2) เรียนรู้แบบกลุ่ม 3) เชื่อมโยงประสบการณ์ 4) แรงจูงใจจากภายในและภายนอก 5) ความสุขในความสำเร็จแห่งตน เสนอแนะให้สถานศึกษาพัฒนาระบบการเรียนรู้กิจกรรมทางกายสำหรับผู้สูงอายุ ทั้งหลักสูตร การสอน และการประเมินผล


แนะนำหนังสือ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา Jul 2016

แนะนำหนังสือ, ศรีไพร โชติจิรวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์, อภิญญา อินทรรัตน์, วรรณี แกมเกตุ, สุวิมล ว่องวาณิช Apr 2015

การวิจัยและพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาล: การประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์, อภิญญา อินทรรัตน์, วรรณี แกมเกตุ, สุวิมล ว่องวาณิช

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมของนักศึกษาพยาบาลโดยการประยุกต์ใช้การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากประสบการณ์ การพัฒนารูปแบบฯ มีขั้นตอนคือ 1) การศึกษาเอกสาร 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพ และ 3) การทดลองใช้ โดยใช้การวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาพยาบาล จำนวน 56 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบวัดความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมและเกณฑ์การให้คะแนนแบบรูบริกซึ่งมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ .865 ผลการวิจัยที่สำคัญสรุปได้ดังนี้ 1) รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบ คือ (1) หลักการ (2) วัตถุประสงค์ (3) ขั้นตอนการจัดการเรียนการสอน (2P-CARE) ซึ่งมีขั้นตอนการสอน 6 ขั้น ได้แก่ ขั้นการนำเสนอเรื่องเล่า ขั้นการรับรู้ประเด็นขัดแย้งเชิงจริยธรรม ขั้นการรวบรวมข้อมูลสำคัญ ขั้นการวิเคราะห์ทางเลือกที่เป็นไปได้ ขั้นการตัดสินใจร่วมกันและวางแผนการปฏิบัติ และขั้นการประเมินผลและสะท้อน (4) การกำหนดเนื้อหาการสอน (5) การวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และ (6) ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอน 2) ผลการใช้รูปแบบฯ พบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 การเรียนตามรูปแบบฯที่พัฒนาขึ้นช่วยเสริมสร้างความสามารถในการตัดสินใจเชิงจริยธรรม และในการคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานและในชีวิตประจำวันได้


ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา Apr 2015

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน ของนักเรียนมัธยมศึกษา, ศิรเมศร์ ศิริศักดิ์ธนากุล, วลัย อิศรางกูร ณ อยุธยา

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ก่อนและหลังการใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กับวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ที่มีต่อพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษา และเปรียบเทียบพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนระหว่างก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนศรีอยุธยา ในพระอุปถัมภ์ฯ จำนวน 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 50 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ใช้เวลาในการทดลอง 36 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสำรวจพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย () ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ความถี่การวิเคราะห์เนื้อหาและเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนกลุ่มทดลอง ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีคะแนนพฤติกรรมการบริโภคที่ยั่งยืนสูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิราวัฒนา Jul 2012

จับกระแสการศึกษาโลก, ศรีไพร โชติจิราวัฒนา

Journal of Education Studies

No abstract provided.