Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

2005

Articles 1 - 30 of 68

Full-Text Articles in Education

บทบาทตามหลัก 3m ของผู้เกี่ยวข้องในการสร้างโอกาสการเรียนรู้, สุวิมล ว่องวาณิช Oct 2005

บทบาทตามหลัก 3m ของผู้เกี่ยวข้องในการสร้างโอกาสการเรียนรู้, สุวิมล ว่องวาณิช

Journal of Education Studies

การมีส่วนร่วมและการรวมพลังของครอบครัวและชุมชนจะต้องได้รับการส่งเสริมมากขึ้นในการสร้างโอกาสการเรียนรู้สําหรับผู้เรียนในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ บทบาทของ ผู้เกี่ยวข้องจะเปลี่ยนไปเป็น “ผู้ร่วมพัฒนาผู้เรียน” โดยทุกฝ่ายจะต้องมีการสร้างปฏิสัมพันธ์ ร่วมกันในการสร้างโอกาสการเรียนรู้ให้กับผู้เรียนทั้งในและนอกห้องเรียน ทั้งในและนอก โรงเรียน และทั้งในและนอกระบบการศึกษา เนื่องจากการเรียนรู้ของผู้เรียนจะเกิดขึ้นใน โลกกว้าง และเกิดขึ้นโดยไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องตระหนักถึงบทบาท หน้าที่ของตนเอง และปฏิบัติตนตามแนวทางที่พึงประสงค์ บทบาทตามหลัก 3M คือ บทบาทที่พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู ควรใช้ในการสร้างโอกาสการเรียนรู้สําหรับผู้เรียน ได้แก่ การเป็นผู้ให้กำลังใจ การเป็นผู้ใส่ใจกำกับ และการเป็นผู้สนับสนุนส่งเสริม เพื่อให้นักเรียน มีโอกาสการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน ในและนอกโรงเรียน


กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สมสุข ธีระพิจิตร, วัชนีย์ เชาวน์ดำรงค์ Oct 2005

กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สมสุข ธีระพิจิตร, วัชนีย์ เชาวน์ดำรงค์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อพัฒนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาของประเทศไทย โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ การจัดประชุม เฉพาะกลุ่ม (Focus Group) และการสัมมนาร่วมกับฟอรั่มประกันคุณภาพ ข้อค้นพบได้ คุณลักษณะบัณฑิตและกระบวนการผลิตบัณฑิตเป็นคุณสมบัติ ๔ ด้าน คือ ด้านความรู้ ความคิด ความสามารถ และคุณธรรมจริยธรรม อีกด้านหนึ่งเป็น ๔ ระดับ คือ ระดับพื้นฐาน ก้าวหน้า เชิงรุกและเป็นเลิศ หลังจากนั้นได้พัฒนากรอบคุณวุฒิ ๗ ระดับ คือ ระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต ระดับปริญญาโท ระดับประกาศนียบัตร บัณฑิตขั้นสูง ระดับปริญญาเอก และระดับหลังปริญญาเอก รายละเอียดของคุณลักษณะ มีอธิบายไว้อย่างละเอียดในรายงานนี้


รูปแบบการสอนศิลปะแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชื่อมโยงของนักเรียนในศิลปะกับวัฒนธรรมไทย, สุมิตรา เทียนตระกูล Oct 2005

รูปแบบการสอนศิลปะแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชื่อมโยงของนักเรียนในศิลปะกับวัฒนธรรมไทย, สุมิตรา เทียนตระกูล

Journal of Education Studies

งาวิจัยนี้ ศึกษาเพื่อฝึกและพัฒนาความสามารถในการคิดสร้างสรรค์และความคิด เชื่อมโยงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓ เกี่ยวกับศิลปะกับวัฒนธรรมไทย ด้วยกิจกรรม ศิลปะในการออกแบบหน้ากากผีตาโขน โดยใช้หวดนึ่งข้าวเหนียวและใช้วิธีการเรียน ทัศนศิลป์ด้วยสไลด์ประกอบเพลง ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการสอนดังกล่าว ทำให้ ผู้เรียนสามารถคิดสร้างสรรค์ได้ดี เพราะรู้สึกสนุกกับกิจกรรมที่มีความแปลกใหม่นอกจากนี้สามารถทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดเชื่อมโยงในการนำวัสดุพื้นบ้าน ไปสร้างงานศิลปะ และเรียนรู้วัฒนธรรมไทยไปพร้อมกัน


คิดนอกกกรอบเท่าทันทุนนิยม, เกียรติวรรณ อมาตยกุล Oct 2005

คิดนอกกกรอบเท่าทันทุนนิยม, เกียรติวรรณ อมาตยกุล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


แนะนำหนังสือ, วรรัตน์ อภินันท์กูล Oct 2005

แนะนำหนังสือ, วรรัตน์ อภินันท์กูล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การครุศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ Oct 2005

การครุศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพ, ไพฑูรย์ สินลารัตน์

Journal of Education Studies

ครูเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลให้เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะขั้นสูงเหมาะสมสอดคล้องกับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ โครงการวิจัยจึงได้พัฒนา รูปแบบการครุศึกษาเชิงสร้างสรรค์และผลิตภาพขึ้น เพื่อเป็นต้นแบบการผลิตและการพัฒนา ครู โดยมีองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการ คือ คุณลักษณะของผู้เรียนที่พึงประสงค์แบบ ๔๔. อันเป็นเป้าหมายหลักของการพัฒนาหลักสูตรมหาวิทยาลัยในโรงเรียนที่เน้นการปฏิบัติ การจริงในโรงเรียน รูปแบบการเรียนการสอนแบบ CRP ที่เน้นการพัฒนาผู้เรียนให้ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ และรูปแบบการบริหารองค์กรที่จะส่งเสริมสนับสนุนการครุศึกษา สามารถผลิตและพัฒนาครูที่สร้างสรรค์และมีผลิตภาพ


การวิเคราะห์งานวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในประเทศไทย : พัฒนาการของการใช้ทฤษฎี การปฏิบัติ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี, วชิราพร อัจฉริยโกศล Oct 2005

การวิเคราะห์งานวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาในประเทศไทย : พัฒนาการของการใช้ทฤษฎี การปฏิบัติ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี, วชิราพร อัจฉริยโกศล

Journal of Education Studies

การศึกษาพัฒนาการการใช้ทฤษฎี การปฏิบัติ และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในงานวิจัยทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาเป็นการศึกษาสิ่งที่ได้ทำมาแล้วในอดีต พร้อม ทั้งชี้ให้เห็นถึงสิ่งที่ยังขาดอยู่ ผลงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า งานวิจัยในสาขานี้ในประเทศไทยระหว่าง ปี พ.ศ. ๒๕๐๗ - ๒๕๕๕ นั้น ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมนิยมเป็นทฤษฎีที่ใช้มากที่สุด และ ใช้มาตลอด ส่วนการปฏิบัติที่ใช้มากที่สุด คือ การปฏิบัติเชิงบรรยาย (Descriptive Approach) สำหรับการศึกษาเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี พบว่า การศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยี ระดับพื้นบ้านและระดับกลางได้เริ่มในช่วงปีแรก ๆ ส่วนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระดับสูง ในงานวิจัยเกิดขึ้นในช่วงปีหลัง ๆ


สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวิชาการศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ Oct 2005

สภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวิชาการศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทย, ไพฑูรย์ สินลารัตน์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและแนวโน้มของวิชาการ ศึกษาทั่วไปในมหาวิทยาลัยไทยครอบคลุมประเด็นจุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ การเรียนการสอน การบริหาร และแนวโน้ม โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ การวิเคราะห์เอกสารและการจัด ประชุมเฉพาะกลุ่ม (Focus Group) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริหาร อาจารย์และนิสิตนักศึกษา ยังมีความเข้าใจแตกต่างกันในเรื่องทางวิชาการศึกษาทั่วไปอยู่ แต่ความเข้าใจในจุดมุ่งหมาย ของวิชาการศึกษาทั่วไปในระหว่างผู้บริหารอาจารย์และนักศึกษามีความชัดเจนขึ้น โดยเน้น การให้ผู้เรียนมีโลกทัศน์กว้างขึ้น ส่วนเนื้อหาเน้นไปที่การนําไปใช้ในชีวิตประจำวัน แต่การ สอนยังเน้นการบรรยายเป็นหลัก ส่วนในด้านการบริหารความพอใจยังอยู่ในระดับปานกลาง และแนวโน้มต้องการให้มีการวิจัยค้นคว้า และพัฒนารายวิชาใหม่ๆ ขึ้น ผู้วิจัยยังมีข้อเสนอ หลายประการจากการวิจัยนี้


คุณลักษณะบุคคลที่พึงประสงค์สําหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้, วรวรรณ เหมชะญาติ, สร้อยสน สกลรักษ์ Oct 2005

คุณลักษณะบุคคลที่พึงประสงค์สําหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้, วรวรรณ เหมชะญาติ, สร้อยสน สกลรักษ์

Journal of Education Studies

คุณลักษณะของบุคคลที่พึงประสงค์สำหรับสังคมเศรษฐกิจความรู้ประกอบด้วย ๔๕ คือ การรู้ทันรู้นำโลก เรียนรู้ชำนาญเชี่ยวชาญปฏิบัติ รวมพลังสร้างสรรค์สังคม และ รักษ์วัฒนธรรมไทย ใฝ่สันติ


การศึกษาสภาพการบริหารการจัดและปัญหาการจัดการเรียนรู้ใน "สัปดาห์ แสนสนุกสุขหรรษา" ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ศรียา เนตรน้อย Oct 2005

การศึกษาสภาพการบริหารการจัดและปัญหาการจัดการเรียนรู้ใน "สัปดาห์ แสนสนุกสุขหรรษา" ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ศรียา เนตรน้อย

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้ศึกษาสภาพการบริหารการจัดและปัญหาการวัดการเรียนรู้ใน “สัปดาห์ แสนสนุกสุขหรรษา” ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของนักเรียน ป. ๑ โดยเก็บข้อมูลจากผู้สอน และนักเรียน ป.๑ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ชอบการเรียนรู้แบบนี้ เพราะได้เล่น เกมและสนุก และนักเรียนสามารถเลือกโปรแกรมการเรียนตามความสนใจด้วยตนเอง ทําให้ นักเรียนมีเพื่อนใหม่และมีพัฒนาการดีขึ้น ด้านอาจารย์ส่วนใหญ่พึงพอใจ เนื่องจาก หลักสูตรไม่เน้นเนื้อหา มีกิจกรรมที่หลากหลาย สำหรับปัญหาที่พบคือ งบประมาณไม่ชัดเจน การจัดตารางเวลาการสอนของอาจารย์ เวลาในการจัดกิจกรรมสถานที่ และการประสานงาน


หลักสูตรเติมเต็มศักยภาพรายบุคคล : บนพื้นฐานแนวคิด Fulfillment, ชูชัย รัตนภิญโญพงษ์ Oct 2005

หลักสูตรเติมเต็มศักยภาพรายบุคคล : บนพื้นฐานแนวคิด Fulfillment, ชูชัย รัตนภิญโญพงษ์

Journal of Education Studies

การเตรียมพัฒนาบุคลากรเข้าสู่สังคมยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ เป็นสิ่งสำคัญที่ต้อง รีบดำเนินการ กระบวนการที่ดีที่สุด คือ การพัฒนาผ่านระบบการให้การศึกษา พัฒนา ตั้งแต่เยาว์วัย ให้มีคุณสมบัติอันพึงประสงค์ติดเป็นอุปนิสัยประจำตัว สำหรับการดำเนินชีวิต ในการศึกษาต่อ หรือในการประกอบอาชีพ ให้เป็นผู้ที่รู้วิธีการเรียนรู้ รู้จักสืบค้นหาความรู้ จากทุกแหล่งตามยุคสมัย มีความสามารถทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ รู้จักคิดค้นประดิษฐ์สิ่งใหม่ๆ รู้จักคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิธีการแก้ปัญหาด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม วัฒนธรรม รักษ์ความเป็นไทย อันก่อให้เกิดความเชื่อมั่นในความสามารถแข่งขัน ในสังคมโลกปัจจุบัน การให้การศึกษาจัดหลักสูตร เพื่อการพัฒนาผู้เรียนดังกล่าว นับเป็นจุด เริ่มต้นที่สำคัญยิ่งหลักสูตรเติมเต็มศักยภาพรายบุคคล สําหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา : บนพื้นฐานแนวคิด Fulfillment เป็นหลักสูตรที่สนองตอบการพัฒนาผู้เรียนให้มี คุณสมบัติอันพึงประสงค์ดังกล่าว เป็นหลักสูตรที่เน้นให้ผู้เรียนมีโอกาสเลือกเรียน และ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพ ความสามารถ ความถนัด และความสนใจ ส่งเสริม ให้สามารถพัฒนาตนเองให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ต้องได้รับความร่วมมือสนับสนุนส่งเสริม จากคณาจารย์ผู้สอน ผู้บริหาร ผู้ปกครอง ตลอดจนสังคม และชุมชน


รูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้, ศิริชัย กาญจนวาสี Oct 2005

รูปแบบของระบบการบริหารจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ สำหรับเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา สำหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้, ศิริชัย กาญจนวาสี

Journal of Education Studies

การพัฒนาประเทศสู่สังคมเศรษฐกิจฐานความรู้ ซึ่งต้องเป็นสังคมที่ประชาชนมี ความรู้และศักยภาพในการแสวงหาความรู้และสร้างผลผลิตสําหรับการดำรงชีวิตและการ ประกอบอาชีพ จำเป็นต้องมีสมรรถนะพื้นฐาน ได้แก่ สามารถเรียนรู้ สร้างความรู้ ใช้ความรู้ และผลิตผลงานคุณภาพสําหรับแข่งขันได้ จึงมีความจำเป็นในการเปลี่ยนผ่านการบริหาร จัดการศึกษา ที่จะต้องมีรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ซึ่งต้องอาศัย กระบวนทัศน์ทางการศึกษาใหม่ๆ การวิจัยนี้ ได้แบ่งการดําเนินการวิจัยเป็น ๓ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ เป็นการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาหลักการ และรูปแบบทั่วไปของระบบบริหารจัดการ ศึกษาแบบบูรณาการกับเขตพื้นที่ และสถานศึกษาแกนนํา ผลการวิจัยทําให้ได้ระบบการ บริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการสําหรับเขตพื้นที่และสถานศึกษา ประกอบด้วย ๔ องค์ ประกอบหลัก ได้แก่ ๑. วาดภาพความสําเร็จ ๒. กําหนดโครงสร้าง ๓. บริหารจัดการ ซึ่ง ต้องมีการบูรณาการโดยใช้ MSPA อันประกอบด้วย การระดมทรัพยากรที่หลากหลาย (M) การวางแผนกลยุทธ์ (S) การมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง (P) และมีความเป็นอิสระคล่องตัว ในการบริหารจัดการ (A) เป็นตัวขับเคลื่อน และ ๔. ติดตามกํากับ การดำเนินการวิจัยระยะที่ ๒ เป็นการสนับสนุนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการศึกษา สำหรับเขตพื้นที่และสถาน ศึกษาแกนนำ และเครือข่ายใน ๕ ภูมิภาค โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง โดย เฉพาะเครือข่ายทั้งในระดับสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และสถาบันอุดมศึกษาในท้องถิ่น สำหรับระยะที่ ๓ เป็นการนำรูปแบบบริหารจัดการศึกษาไปทดลองใช้ และสรุปรูปแบบการ บริหารจัดการศึกษาแบบบูรณาการ ผลการวิจัยทำให้ได้คู่มือการบริหารจัดการศึกษาสำหรับ เขตพื้นที่และสถานศึกษา และผลจากการนำไปทดลองใช้ของ ๑๐ เขตพื้นที่การศึกษา และ ๔๓ สถานศึกษา ตลอดจนการเรียนรู้ประสบการณ์ของการบริหารจัดการศึกษาร่วมกัน


การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา อื่นๆ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๓ และ ๖ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ประมาท เทียนศรี Oct 2005

การศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทย กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา อื่นๆ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๓ และ ๖ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, ประมาท เทียนศรี

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้ศึกษาและเปรียบเทียบความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา ภาษาไทยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอื่นๆ ของนักเรียนชั้น ป. ๓ และ ป. ๖ ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของวิชาภาษาไทยมี กสพ. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาอื่น ทุกวิชา โดยนักเรียน ป. ๓ ป.๖ มีผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย สัมพันธ์กับวิชาภาษาอังกฤษ (ป.๓) และคณิตศาสตร์ (ป.๖) มากที่สุด เนื่องจากการเรียนวิชาอื่นๆ ผู้เรียนจำเป็นต้องใช้ภาษาไทย เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ เพื่อทำความเข้าใจและใช้การสื่อสารในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ เขียนรายงาน และตอบคําถาม


การประเมินหลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไป ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไพฑูรย์ สินลารัตน์ Oct 2005

การประเมินหลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไป ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ไพฑูรย์ สินลารัตน์

Journal of Education Studies

วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้เพื่อประเมินหลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไป ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในด้านจุดมุ่งหมาย การเรียนการสอน และการบริหารจัดการ โดย ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจเก็บข้อมูลจากนิสิตปัจจุบันและอาจารย์ นอกจากนั้นยังจัดประชุม เฉพาะกลุ่ม (Focus Group) นิสิต บัณฑิต คณาจารย์และผู้บริหารและผู้ใช้บัณฑิต ผลการ วิจัยพบว่า ในจุดมุ่งหมายทั้ง ๕ ข้อของการศึกษาทั่วไปนั้นมีเพียงข้อเดียวที่ประสบความ สําเร็จมาก คือ ความรู้กว้าง นำความรู้ไปใช้ประโยชน์ด้วยตนเองและส่วนรวม นอกนั้นประสบความสําเร็จแค่ปานกลาง การสอนก็ประสบความสําเร็จปานกลางและยังใช้การบรรยายเป็นหลัก ระบบที่ให้นิสิตเลือกอย่างอิสระก็ไม่ประสบความสําเร็จเท่าที่ควรเพราะนิสิตจะเลือกลงทะเบียนในวิชาหลักๆ ไม่กี่วิชา ความพอใจในการบริหารของนิสิตและ อาจารย์อยู่ในระดับปานกลางความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษาทั่วไประดับมหาวิทยาลัยและคณะยังไม่เชื่อมโยงกันมากพอ งานวิจัยยังได้ให้ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงไว้ด้วย


สัตตศิลา: หลัก ๗ ประการในการเปลี่ยนผ่านการศึกษา, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สร้อยสน สกลรักษ์ Oct 2005

สัตตศิลา: หลัก ๗ ประการในการเปลี่ยนผ่านการศึกษา, ไพฑูรย์ สินลารัตน์, สร้อยสน สกลรักษ์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วราพรรณ วงษ์จันทร์ Oct 2005

การพัฒนาดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วราพรรณ วงษ์จันทร์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้ศึกษาเพื่อสร้างดัชนีชี้วัดสุขภาพของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้ กรอบแนวคิดสุขภาพกาย สุขภาพจิต และสุขภาพทางสังคม โดยใช้เทคนิคเดลฟายรวบรวม ความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญสุขศึกษา หรือด้านสุขภาพ ๑๗ คน ผลการวิจัยพบว่า ดัชนี ชี้วัดด้านสุขภาพของนักเรียนที่เหมาะสมด้านสุขภาพกาย มีจำนวน ๑๒ ดัชนี ด้านสุขภาพจิต มีจำนวน ๑๔ ดัชนี และด้านสุขภาพทางสังคม มีจำนวน ๙ ดัชนี ที่สามารถนำมาใช้เป็น แนวทางการวางแผนโปรแกรมสุขภาพ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพได้อย่าง ถูกต้องและรวดเร็วต่อไป


แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, มลิวัลย์ ลับไพรี Oct 2005

แนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของเด็กที่มีความสามารถพิเศษ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม, มลิวัลย์ ลับไพรี

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้ สำรวจและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ปกครองและนักเรียน ในการ จัดโครงการส่งเสริมเด็กที่มีความสามารถพิเศษของนักเรียนประถม เพื่อศึกษาความสําเร็จของนักเรียนและทราบแนวทางในการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาศักยภาพของนักเรียน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ปกครองและนักเรียนมีความคิดเห็นระดับมากทุกด้านเกี่ยวกับ โครงการ และเห็นว่าการปรับปรุงในเรื่องของเวลาในการจัดกิจกรรมเกณฑ์การคัดเลือก การจัดชั้นเรียน การประชาสัมพันธ์ ความต่อเนื่องของโครงการในระดับมัธยมศึกษา การกําหนดนโยบายการจัดการเรียนการสอน และการจัดตั้งศูนย์กลางที่บริหารงานโดยเฉพาะ


การศึกษาสภาพและปัญหาของการใช้ห้องเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คงคารัตน์ กิจจานนท์ Oct 2005

การศึกษาสภาพและปัญหาของการใช้ห้องเรียน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, คงคารัตน์ กิจจานนท์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้ศึกษาสภาพและปัญหาการใช้ห้องเรียนรวมของของคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ในการวางแผนทางด้านการบริหารจัดการและ การพัฒนาห้องเรียน โดยเก็บข้อมูลจากคณาจารย์ นิสิต และเจ้าหน้าที่ผู้ประสานตารางสอน และเจ้าหน้าที่บริการห้องเรียน ผลการวิจัยพบว่า การใช้ห้องเรียนควรมีการจัดระบบการ บริหารจัดการที่ดี ใช้งานได้เต็มที่ และการใช้ระบบคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดระบบ และ การติดตั้งอุปกรณ์ช่วยสอนประจําห้องเรียน และกําหนดระยะเวลาการใช้งานและผู้ใช้บริการให้ชัดเจน เพื่อให้การจัดการมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น


หลักสูตรตามแนวคิด Fun Find Focus ที่เน้นผู้เรียน เป็นรายบุคคล, ลัดดา ภู่เกียรติ Oct 2005

หลักสูตรตามแนวคิด Fun Find Focus ที่เน้นผู้เรียน เป็นรายบุคคล, ลัดดา ภู่เกียรติ

Journal of Education Studies

การพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาจากห้องปฏิบัติการคณะครุศาสตร์สู่โรงเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษากระบวนการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนสาธิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม และโรงเรียนเครือข่าย ๒) ทดลองและติดตาม ประเมินผลการทดลองใช้นวัตกรรมทางการศึกษาที่แต่ละโรงเรียนได้พัฒนาขึ้น และ ๓) สังเคราะห์รูปแบบของการพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษาของโรงเรียนที่ร่วมเครือข่าย ผลการศึกษาครั้งนี้ได้หลักสูตรตามแนวคิด FUN FIND FOCUS ของโรงเรียนแกนนำและ โรงเรียนเครือข่าย ซึ่งมีลักษณะแตกต่างตามบริบทของแต่ละแห่ง แบ่งออกเป็น ๓ รูปแบบ คือ ๑) รูปแบบตลาดนัดวิชา ๒) รูปแบบตลาดนัดวิชาควบคู่กับรายวิชาเลือกเสรี ๓) รูปแบบ ตลาดนัดวิชาควบคู่กับรายวิชาเลือกเสรีและ วิชาบังคับเลือก จากการทดลองใช้พบว่า หลักสูตรดังกล่าวสามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะ ๔) ได้ คือ ๑) รู้ทันรู้นําโลก (Smart Consumer) ๒) เรียนรู้เชี่ยวชาญชํานาญปฏิบัติ (Breakthrough Thinker) ๓) รวมพลัง สร้างสรรค์สังคม (Social Concerns) และ ๔) รักษ์วัฒนธรรมไทยใฝ่สันติ (Thai Pride)


หลักการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสําหรับสังคมไทย, อาชัญญา รัตนอุบล Oct 2005

หลักการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศสําหรับสังคมไทย, อาชัญญา รัตนอุบล

Journal of Education Studies

ในปัจจุบันการเปลี่ยนผ่านการศึกษามีความจําเป็นอย่างยิ่งต่อการเปลี่ยนแปลง ในยุคเศรษฐกิจฐานความรู้ การเปลี่ยนผ่านการศึกษามุ่งพัฒนาความรู้ความสามารถของ บุคคลเพื่อนำสู่การพัฒนาพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและโทรคมนาคม เพิ่มคุณค่า ลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการผลิตผลงานหรือผลิตภัณฑ์หรือบริการสมัยใหม่ อันนําไปสู่ การตอบสนองความต้องการและความคาดหวังของสังคมไทยได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว การศึกษาเพื่อเสริมสร้างการรู้สารสนเทศเป็นแนวทางหนึ่งของการเปลี่ยนผ่านการศึกษาจึง ช่วยพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคคลในการเข้าถึงสารสนเทศจากทั่วทุกมุมโลก และ นำสารสนเทศออกมาเป็น “ความรู้” เพื่อนําความรู้นั้นมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการ ส่งเสริมเสรีภาพในการเรียนรู้ เพื่อบุคคลสามารถเข้าถึงสารสนเทศ ประเมินสารสนเทศ และใช้สารสนเทศ จากกิจกรรมและแหล่งเรียนรู้ต่างๆ กระบวนการพัฒนาการรู้สารสนเทศ ๔ ขั้นตอน ได้แก่ กำหนดภารกิจตรงจุดเข้าถึงแหล่ง ประเมินสารสนเทศ บูรณาการวิถีการ ใช้งาน ภายใต้หลักการเสริมสร้างการรู้สารสนเทศ “NET” ซึ่งประกอบแนวคิดการทำงาน


แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้, วชิราพร อัจฉริยโกศล, บุหงา วัฒนะ, วราภรณ์ บวรศิริ, วลัย พานิช, สุญาณี เดชทองพงษ์, นาถวดี นันทาภินัย, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ Oct 2005

แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจฐานความรู้, วชิราพร อัจฉริยโกศล, บุหงา วัฒนะ, วราภรณ์ บวรศิริ, วลัย พานิช, สุญาณี เดชทองพงษ์, นาถวดี นันทาภินัย, ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ

Journal of Education Studies

การศึกษาแนวทางการจัดการศึกษาสําหรับสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้จาก โรงเรียนที่มีปฏิบัติการดีเลิศ (best practice) นั้น ถือเป็นการศึกษาจากต้นแบบที่ประสบ ความสําเร็จ แนวทางการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถสร้างความรู้และใช้ความรู้ได้ในสังคมเศรษฐกิจฐานความรู้นั้น น่าจะต่างจากการจัดการศึกษาเดิมที่เน้นครูเป็นศูนย์กลาง


การใช้เวลาว่างในแต่ละวันของคณบดีคณะครุศาสตร์ : ศึกษาจากสมุดนัด, อโนทัย แทนสวัสดิ์ Oct 2005

การใช้เวลาว่างในแต่ละวันของคณบดีคณะครุศาสตร์ : ศึกษาจากสมุดนัด, อโนทัย แทนสวัสดิ์

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้ศึกษาการใช้เวลาแต่ละวันของคณบดีคณะครุศาสตร์ ในช่วงปี ๒๕๕๕ และ ๒๕๔๖ เพื่อเป็นเครื่องชี้แนะภาระงานของคณบดีเรียงลําดับงานที่ปฏิบัติประกอบด้วย การประชุมเฉพาะกิจ การรับแขก การสอน การประชุมสัมมนา การเปิด/ปิดงาน การให้ สัมภาษณ์ งานดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า การบริหารงานของคณะฯ เน้นการบริหารแบบมี ส่วนร่วม การปรึกษาหารือจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย และเน้นการบริหารงานทางวิชาการและ สถาบันภายนอกอีกด้วย


การสอนรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดของออร์ฟ, วิทยา ไล้ทอง Jul 2005

การสอนรีคอร์เดอร์ตามแนวคิดของออร์ฟ, วิทยา ไล้ทอง

Journal of Education Studies

No abstract provided.


ประสบการณ์ดนตรีของประเทศแถบเอเชีย, พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์ Jul 2005

ประสบการณ์ดนตรีของประเทศแถบเอเชีย, พงษ์ลดา ธรรมพิทักษ์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การประเมินโครงการรับนักเรียน ผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะ เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ณรุทธ์ สุทธจิตต์, อานุภาพ ธงภักดี, แคทลียา ทาวะรมย์, นิลวรรณ จิว Jul 2005

การประเมินโครงการรับนักเรียน ผู้มีความสามารถพิเศษระดับชาติทางศิลปะ เข้าศึกษาในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ณรุทธ์ สุทธจิตต์, อานุภาพ ธงภักดี, แคทลียา ทาวะรมย์, นิลวรรณ จิว

Journal of Education Studies

การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาเกณฑ์และดําเนินการประเมินโครงการ และ ติดตามบัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาไป ๒) ประเมินผลความสำเร็จการดำเนินงานของโครงการตาม วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และ ๓) ศึกษาวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัยในการพัฒนาด้านศิลปะ และแนวทาง การดำเนินงานของโครงการในอนาคต กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ๑) นิสิตปัจจุบัน จํานวน ๔๗ คน ๒) ศิลปินบัณฑิต จำนวน ๓๑ คน ๓) ผู้บริหาร/อดีตผู้บริหารและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๑๑ คน และ ๔) อาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้สอนนิสิตในโครงการ จำนวน ๑๔ คน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการประเมินสรุปได้ดังนี้ ๑. ผลวิเคราะห์การศึกษาเกณฑ์และการประเมินในด้านต่างๆ มีรายละเอียดดังนี้ ๑.๑) ระดับ ผลการเรียนของนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก โดยภาพรวมแล้วส่วนใหญ่ (ร้อยละ ๔๒) อยู่ในระดับ ปานกลางถึงดีมาก ๑.๒) ระดับผลการเรียนของนิสิตในโครงการ ผลการเรียนต่ำสุดอยู่ในช่วง ๒.๐๓-๒.๔๑ สูงสุดอยู่ในช่วง ๒.๗๔-๓.๙๙ ค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง ๒.๔๔-๓.๒๓ ๑.๓) ตําแหน่งหน้าที่การงาน และความรับผิดชอบของศิลปินบัณฑิต (งานประจำ, งานพิเศษ) ส่วนใหญ่มีหน้าที่การงานที่เกี่ยวข้องกับ การใช้ความรู้ความสามารถทางด้านศิลปะทั้งงานประจำและงานพิเศษ ๒. ผลวิเคราะห์การประเมินผลความสําเร็จการในดําเนินงานของโครงการตามวัตถุประสงค์ ๒.๑) จํานวนผู้ที่ได้รับคัดเลือกทั้งหมดในแต่ละปีการศึกษา นิสิตในโครงการรวมทั้งสิ้น ๒๓๕ คน เป็น นิสิตคณะครุศาสตร์ ๕๗ คน และนิสิตคณะศิลปกรรมศาสตร์ ๑๗๔ คน ๒.๒) สัดส่วนของจํานวน ผู้สมัครต่อจำนวนผู้ที่ได้รับคัดเลือกในแต่ละปีการศึกษา โดยภาพรวม สัดส่วนของจำนวนผู้สมัครและ จำนวนที่รับในแต่ละปีการศึกษาอยู่ในช่วง ๑ : ๑ ถึง ๑ : ๑๓ …


การศึกษาลักษณะของห้องปฏิบัติการ ศิลปศึกษาที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร, พัชริน สงวนผลไพโรจน์ Jul 2005

การศึกษาลักษณะของห้องปฏิบัติการ ศิลปศึกษาที่มีประสิทธิภาพในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร, พัชริน สงวนผลไพโรจน์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะห้องปฏิบัติการศิลปศึกษาที่มีประสิทธิภาพใน โรงเรียนมัธยมศึกษา เพื่อหาเกณฑ์มาตรฐานและสร้างแบบจำลองห้องปฏิบัติการศิลปศึกษาสำหรับนำ มาใช้เป็นแบบอย่างในอนาคต โดยแบ่งออกเป็น ๔ ด้าน คือ ด้านการออกแบบ ด้านการจัดการเรียนการ สอน ด้านวัสดุอุปกรณ์ และด้านบรรยากาศในห้องปฏิบัติการ ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่ม ตัวอย่างประชากร ซึ่งเป็นครูศิลปศึกษา ได้รับแบบสอบถามคืนจำนวน ๑๓๗ ราย จาก ๕๕ โรงเรียน คิดเป็นร้อยละ ๔๓ นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS แล้วนำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ผู้วิจัยนำ ข้อมูลมาหาเกณฑ์มาตรฐานเพื่อสร้างแบบจำลองห้องปฏิบัติการศิลปศึกษานำส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจสอบ ผลการวิจัยแบ่งเป็น ๒ ส่วน ดังนี้ ส่วนที่ ๑. ผลการวิจัยจากแบบสอบถาม พบว่า ๑. ด้านการออกแบบในห้องปฏิบัติการ มีความต้องการสูงสุด คือ การมีห้องปฏิบัติการที่ออกแบบ สำหรับการเรียนศิลปะโดยเฉพาะ การมีพื้นที่ว่างในห้องปฏิบัติการเพื่อความคล่องตัวในการทำกิจกรรม แต่ละประเภท การมีห้องพักครูใกล้ห้องปฏิบัติการ ๒. ด้านวัสดุอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ มีความต้องการสูงสุด คือ การมีกระจกปูพื้นโต๊ะ การ วางแผนการใช้อุปกรณ์การสอนให้สอดคล้องกับเนื้อหา การมีแท่นพิมพ์สำหรับการปฏิบัติงานภาพพิมพ์ ๓. ด้านการจัดการเรียนการสอนในห้องปฏิบัติการ มีความต้องการสูงสุด คือ การมีสื่อการสอน ในห้องปฏิบัติการโดยไม่ปะปนกับวิชาอื่น มีสื่อการสอนที่เสนอให้นักเรียนรับรู้เป็นสื่อดลใจ เช่น หุ่นนิ่ง ภาพทิวทัศน์ และ มีตู้สำหรับเก็บสื่อการสอนโดยเฉพาะ ๔. ด้านบรรยากาศในห้องปฏิบัติการ มีความต้องการสูงสุด คือ การตกแต่งผลงานศิลปะภายใน ห้องปฏิบัติการ มีหน้าต่างให้อากาศถ่ายเทสะดวก และมีห้องที่มีบริเวณเปิดโล่งเพื่อให้เห็นทิวทัศน์ภายนอก ส่วนที่ ๒. ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากส่วนที่ ๑ นําส่งผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาเกณฑ์มาตรฐานนํามา สร้างแบบจำลองห้องปฏิบัติการศิลปศึกษา โดยได้รูปแบบอาคารเรียนศิลปศึกษาโดยเฉพาะ มีขนาด กว้าง 4 เมตร สูง ๙ เมตรและยาว ๒๘ เมตร ๓ ชั้น มีจำนวนทั้งหมด ๑๐ ห้อง ดังนี้ ชั้นที่ …


ดนตรีสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ, ณรุทธ์ สุทธจิตต์ Jul 2005

ดนตรีสำหรับผู้เรียนที่มีความต้องการพิเศษ, ณรุทธ์ สุทธจิตต์

Journal of Education Studies

No abstract provided.


เมื่อครูสอนดนตรีระดับประถมศึกษาลงมือทำงานวิจัยในชั้นเรียน, อรนุชา อัฏฏะวัชระ Jul 2005

เมื่อครูสอนดนตรีระดับประถมศึกษาลงมือทำงานวิจัยในชั้นเรียน, อรนุชา อัฏฏะวัชระ

Journal of Education Studies

No abstract provided.


แนะนำหนังสือ, วรรัตน์ อภินันท์กูล Jul 2005

แนะนำหนังสือ, วรรัตน์ อภินันท์กูล

Journal of Education Studies

No abstract provided.


การวิเคราะห์ความเหมาะสมขององค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยตามระบบ Entrance, สุวิมล ว่องวาณิช, ปิยมาภรณ์ โชคอวยชัย, ศรีมาจ ขวัญเมือง, ศุภวรรณ ทรงอำนวยคุณ Jul 2005

การวิเคราะห์ความเหมาะสมขององค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยตามระบบ Entrance, สุวิมล ว่องวาณิช, ปิยมาภรณ์ โชคอวยชัย, ศรีมาจ ขวัญเมือง, ศุภวรรณ ทรงอำนวยคุณ

Journal of Education Studies

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบที่ใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัย ตามระบบ entrance โดยการใช้ฐานข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนสอบของผู้สมัครของทบวงมหาวิทยาลัยใน ช่วงปีการศึกษา ๒๕๕๓-๒๕๕๕ รวมทั้งหมด ๓ ชุด ฐานข้อมูล ได้แก่ ๑) ชุดฐานข้อมูลจากการของผู้ สมัครแต่ละครั้งในช่วง ๓ ปีการศึกษา ปีละ ๒ ครั้งรวม 5 ครั้ง รวมจํานวนผู้สมัคร ๓๖๓,๖๕๖ คน ๒) ชุดฐานข้อมูลที่เลือกเฉพาะคะแนนสอบที่ดีที่สุดในแต่ละวิชาของผู้สมัครแต่ละคน จากการสอบในช่วง ๓ ปี รวมจำนวนผู้สมัคร ๑๓๗,๘๖๔ คน และ ๓) ชุดฐานข้อมูลที่ระบุคะแนนทั้งหมดและอันดับการ เลือกสำหรับใช้ในการตัดสินผลการสอบในปีการศึกษา ๒๕๕๕ รวมจํานวนข้อมูล ๔๔๔,๖๙๗ records ผลการวิจัยพบว่าคะแนน PR มีการกระจายสูงกว่า GPA มาก วิชาหลักที่คะแนนกระจาย มากที่สุดเป็นวิชาทางสายวิทยาศาสตร์ และวิชาที่มีคะแนนเฉลี่ยน้อยที่สุดเป็นวิชาทางสายวิทยาศาสตร์ เช่นกัน นอกจากนี้ยังพบว่าคะแนน GAP และ PR สัมพันธ์กันสูงประมาณ ๐.๘๐ ขึ้นไป และคะแนน GPA มีความสัมพันธ์กับคะแนนรวมในขนาดที่สูงกว่าความสัมพันธ์ระหว่างคะแนน PR กับคะแนน รวม เมื่อเปรียบเทียบผลการคัดเลือกระหว่างการใช้คะแนนจาก GPA และ PR เป็นองค์ประกอบใน การตัดสินโดยคิดเป็น ๑๐ % พบว่าโดยส่วนใหญ่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของผลการตัดสินต่างจากที่ไม่ ใช้ประมาณ ๓%-๕% ใน ๔ กลุ่มสาขาวิชา ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบพบว่าองค์ประกอบและคะแนนในวิชาต่าง ๆ ที่ใช้ในการวัดความ สามารถของผู้เรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ประมาณ ๖๐%-๘๐% และพบว่าความสามารถ ของผู้สมัครสอบประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยประมาณ ๑-๓ องค์ประกอบ ขึ้นอยู่กับกลุ่มสาขาวิชาหรือ วิชาที่ใช้ในการทดสอบ โดยคะแนน GPA และ PR จะแยกเป็นองค์ประกอบย่อยออกไปเป็น ๑ องค์ ประกอบต่างหาก ในขณะที่วิชาภาษาไทย และสังคมศึกษา จะรวมตัวอยู่ภายใต้องค์ประกอบเดียวกันกับ วิชาหลักอื่น ๆ …