Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Articles 1 - 30 of 184

Full-Text Articles in Education

การนำเสนอกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมเจตคติทางดนตรี สำหรับเด็กด้อยโอกาส, คณิต พรมนิล Jan 2017

การนำเสนอกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมเจตคติทางดนตรี สำหรับเด็กด้อยโอกาส, คณิต พรมนิล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มี วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมเจตคติดนตรีสำหรับเด็กด้อยโอกาส 2) นำเสนอแนวทางการจัดกิจกรรมดนตรีเพื่อส่งเสริมเจตคติดนตรีสำหรับเด็กด้อยโอกาส โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา ในการเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ออกแบบกิจกรรมโดยวิเคราะห์เอกสารและศึกษาเกี่ยวกับสภาพบริบทเด็กด้อยโอกาสที่เกี่ยวข้องกับดนตรี นำกิจกรรมไปทดลองใช้กับโรงเรียนอนุบาลหมู่บ้านเด็กสานรัก มูลนิธิเด็ก จังหวัดนครปฐม จำนวน 10 คน ด้วยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเด็กที่เข้าร่วมกิจกรรมไม่มีพื้นฐานด้านดนตรีมาก่อน ศึกษาผลการใช้กิจกรรมด้วยวิธีการสัมภาษณ์ผู้เรียน ผู้สอนประจำชั้นเรียนและการสังเกตเจตคติในการเรียนการสอนดนตรีและพัฒนาการทางดนตรี โดยศึกษาจากพฤติกรรมการร่วมกิจกรรม ความสนใจ ทัศนคติต่อการเรียนการสอนดนตรี การวิจัยครั้งนี้ตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการสามเส้า ประกอบด้วยข้อมูลจาก 1) การสัมภาษณ์ผู้เรียน 2) การสัมภาษณ์ผู้สอนประจำชั้นเรียนของมูลนิธิ 3) การสังเกตการเรียนการสอนโดยผู้สอนดนตรีเป็นผู้บันทึกหลังกิจกรรมการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ห้องเรียนไม่มีผู้สอนวิชาดนตรีและไม่มีหลักสูตรการเรียนการสอนดนตรีที่ต่อเนื่อง ผู้เรียนมีพัฒนาการทางด้านสติปัญญาและอารมณ์ช้ากว่าปกติ การจัดการเรียนการสอนเป็นลักษณะการเรียนร่วม นอกจากนี้ยังพบว่าในห้องเรียนมีเครื่องดนตรี เช่น อูคูเลเล่ ระนาดขนาดเล็ก กลองยาวเล็ก แทมบูริน เป็นต้น 2) แนวทางการจัดกิจกรรมดนตรี ฯ แบ่งเป็น 3 ช่วง คือ ช่วงต้นมุ่งเน้นกิจกรรมการเคลื่อนไหวและการฟังเพื่อให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์เบื้องต้น ช่วงกลางมุ่งเน้นกิจกรรมการร้องเพื่อให้สามารถร้องและเคลื่อนไหวประกอบเพลงได้ ช่วงสุดท้ายมุ่งเน้นกิจกรรมการเล่นระนาดขนาดเล็กเพื่อให้เกิดประสบการณ์ด้านทักษะดนตรี 3) ผลการจัดกิจกรรมดนตรี ฯ ด้านทักษะทางดนตรี สามารถปฏิบัติดนตรีได้ดีขึ้น สำหรับด้านเนื้อหาดนตรี สามารถอธิบายเนื้อหาดนตรีได้ดี ด้านเจตคติทางดนตรี ผู้เรียนมีความสนใจต่อกิจกรรมเป็นอย่างดีและผู้เรียนแสดงความเอื้อเฟื้อแบ่งปันระหว่างผู้เรียนและผู้เรียน


การพัฒนารูปแบบโมบายเลิร์นนิงแบบร่วมมือร่วมกับการใช้เหรียญตราดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6, วิภาดา แก้วคงคา Jan 2017

การพัฒนารูปแบบโมบายเลิร์นนิงแบบร่วมมือร่วมกับการใช้เหรียญตราดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6, วิภาดา แก้วคงคา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบโมบายเลิร์นนิงแบบร่วมมือร่วมกับการใช้เหรียญตราดิจิทัลเพื่อเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีมของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 โดยมีขั้นตอนการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ (1) การพัฒนารูปแบบฯ โดยการศึกษาความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน (2) การศึกษาผลการใช้รูปแบบฯ (3) การนำเสนอรูปแบบฯ โดยการประเมินรับรองรูปแบบฯจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 32 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ด้วยการทดสอบการแจกแจงของประชากรแบบโคโมโกรอฟ สเมอร์นอฟ (Kolmogorov - Smirnov Z) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ แบบทดสอบบุคลิกภาพ แบบประเมินทักษะการทำงานเป็นทีม แบบสอบถามความเห็นการเรียนด้วยรูปแบบฯ ระบบสังคมการเรียนรู้บนโมบายแอปพลิเคชัน และแผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิตและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test ผลการวิจัยพบว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (2) ผู้สอนและผู้เรียน (3) โมบายเลิร์นนิงแบบร่วมมือ (4) เหรียญตราดิจิทัล (5) ระบบสังคมการเรียนรู้ (6) การปฏิสัมพันธ์ และ (7) การประเมิน โดยทั้ง 7 องค์ประกอบมีความเหมาะสมกับขั้นตอนการสอนของรูปแบบทั้ง 5 ขั้นตอน ผลของการศึกษาการใช้รูปแบบฯ พบว่าค่าเฉลี่ยทักษะการทำงานเป็นทีมของผู้เรียนเมื่อเรียนด้วยรูปแบบฯ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนที่มีบุคลิกภาพแบบเก็บตัวเมื่อเรียนด้วยรูปแบบฯ มีทักษะการทำงานเป็นทีมที่แตกต่างกับผู้เรียนแบบแสดงตัวอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบ, อนุพงษ์ กันธิวงค์ Jan 2017

การเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน: การประยุกต์ใช้ทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบ, อนุพงษ์ กันธิวงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบของผู้เชี่ยวชาญ 2) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบที่ได้จากการคัดเลือกโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกันและ3) เพื่อเปรียบเทียบดัชนีความเป็นคู่ขนานของข้อสอบที่ได้จากการคัดเลือกโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีลักษณะแตกต่างกัน ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนนักศึกษาแพทย์วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้าจากการเลือกแบบเจาะจง 100 คน โดยจัดกลุ่มเพื่อคัดเลือกข้อสอบสำหรับสร้างแบบสอบคู่ขนานตามระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบวัดระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบและข้อสอบสำหรับคัดเลือกเพื่อสร้างแบบสอบคู่ขนานสำหรับกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนน้อยกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบในช่วง 0.40-0.59, 0.60-0.79 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ แตกต่างจากผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปที่ 0.60-0.79, 0.40-0.59 และ 0.80-1.00 ตามลำดับ 2) แบบสอบคู่ขนานที่สร้างขึ้นจากการคัดเลือกข้อสอบโดยกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่มีระดับความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบระดับ 0.80-1.00 และมีประสบการณ์สอนตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไปมีความเป็นคู่ขนานของแบบสอบสูงกว่ากลุ่มที่อยู่ในระดับต่ำกว่า (RMSD = 0.283 [MSG = 0.020] และ MRD = 0.042 [MRIG = 0.003]) และ3) ในทุกกลุ่มผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำของการตรวจสอบความสามารถในการตัดสินความเป็นคู่ขนานของข้อสอบเป็นโดยอาศัยทฤษฎีฉันทามติทางวัฒนธรรมแบบมีรูปแบบมีค่าเฉลี่ยของ RMSD ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (F=0.582, p=0.755)


ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, สุมาลี ชูบุญ Jan 2017

ผลการใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, สุมาลี ชูบุญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 4) ศึกษาความสามารถในการอ่านจับใจความของนักเรียนกลุ่มทดลองที่มีแบบการเรียนรู้ต่างกัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดบางหญ้าแพรก แบ่งเป็น กลุ่มทดลอง 28 คน และกลุ่มควบคุม 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบทดสอบการอ่านจับใจความฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน และแบบสำรวจแบบการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือ แผนการจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิก และแผนการจัดกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดที่ไม่ใช้ผังกราฟิก วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1)นักเรียนกลุ่มทดลองที่ร่วมกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกมีคะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)นักเรียนกลุ่มควบคุมที่ร่วมกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดที่ไม่ใช้ผังกราฟิกมีคะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3)นักเรียนกลุ่มทดลองที่ร่วมกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดร่วมกับผังกราฟิกมีคะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ร่วมกิจกรรมการอ่านจับใจความโดยใช้เทคนิคเพื่อนคู่คิดที่ไม่ใช้ผังกราฟิก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4)คะแนนความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนรายบุคคลเมื่อวิเคราะห์ตามแบบการเรียนรู้ เรียงลำดับจากคะแนนสูงไปต่ำ ได้แก่ นักเรียนที่มีแบบการเรียนรู้แบบการดูหรือมองเห็น การสัมผัสหรือเคลื่อนไหวร่างกาย และการฟังหรือได้ยิน ตามลำดับ


กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ปอส์ ไกรวิญญ์ Jan 2017

กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล, ปอส์ ไกรวิญญ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากรอบแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลและการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลและ 3) เพื่อพัฒนากลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัลใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษาในเขตกรุงเทพมหานคร หลักสูตรสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 252โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ได้แก่ร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ( )ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) ผลการวิจัยพบว่า 1. กรอบแนวคิดการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบด้วย 2 ประเด็นคือ แนวคิดการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน และแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล 2. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.416, S.D. = 0.962) ส่วนสภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.151, S.D. = 0.752) 3. กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์หลัก คือ 1) เร่งรัดพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านการปกป้องตนเองและผู้อื่น มี 2 กลยุทธ์รอง และ 8 วิธีดำเนินการ 2) ยกระดับผู้บริหารโรงเรียนเอกชนให้มีความเป็นพลเมืองดิจิทัลด้านการให้การศึกษาตนเองและผู้อื่น มี 2 กลยุทธ์รอง และ 8 วิธีดำเนินการ และ 3) ส่งเสริมให้ผู้บริหารโรงเรียนมีความเป็นพลเมืองดิจิทัล ด้านการเคารพตนเองและผู้อื่นๆ มี 2 กลยุทธ์รอง และ 8 วิธีดำเนินการ


ผลของการใช้คำถามระดับสูงในการสอนอ่านจับใจความที่มีผลต่อความตระหนักในความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ทศพร ศรีแสง Jan 2017

ผลของการใช้คำถามระดับสูงในการสอนอ่านจับใจความที่มีผลต่อความตระหนักในความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ทศพร ศรีแสง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้คำถามระดับสูงในการสอนอ่านจับใจความที่มีต่อความตระหนักในความเป็นไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2560 จำนวน 64 คน กลุ่มทดลอง 32 คน กลุ่มควบคุม 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สาระการอ่าน โดยใช้คำถามระดับสูง และแผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สาระการอ่าน แบบปกติ แบบสังเกตพฤติกรรมที่แสดงถึงความตระหนักในความเป็นไทย เป็นลักษณะแบบตรวจสอบรายการ แบบวัดความตระหนักในความเป็นไทย ใช้มาตราวัดอันดับคุณภาพ และแบบวัดความตระหนักในความเป็นไทย มีลักษณะการเขียนเติมประโยคให้สมบูรณ์ โดยคำนวณหาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า พบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการสอนอ่านจับใจความโดยใช้คำถามระดับสูงมีความตระหนักในความเป็นไทยหลังการทดลองสูงกว่านักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการสอนอ่านจับใจความรูปแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, วิชนนท์ พูลศรี Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, วิชนนท์ พูลศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลอง 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยก่อนและหลังการทดลองระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยการวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 64 คน โรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม แบ่งเป็นนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสถานการณ์จำลองที่มีผลต่อทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัย จำนวน 32 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้วิชาพลศึกษาแบบปกติ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้สถานการณ์จำลองที่มีต่อทักษะกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัย จำนวน 8 แผน, แบบวัดทักษะการหยุดลูกบอล, ทักษะการเลี้ยงลูกบอล, ทักษะการยืนโหม่งลูกบอล และทักษะการกระโดดโหม่งลูกบอลเพื่อความปลอดภัยในกีฬาฟุตบอล และแบบสังเกตการปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยในกีฬาฟุตบอล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการหยุดลูกบอล, ทักษะการเลี้ยงลูกบอล ทักษะการยืนโหม่งลูกบอล และทักษะการกระโดดโหม่งลูกบอลในกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัยนักเรียนกลุ่มทดลอง หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะการหยุดลูกบอล, ทักษะการเลี้ยงลูกบอล ทักษะการยืนโหม่งลูกบอล และทักษะการกระโดดโหม่งลูกบอลในกีฬาฟุตบอลเพื่อความปลอดภัย ก่อนการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, พัชราวลัย อินทร์สุข Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, พัชราวลัย อินทร์สุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีจุดประสงค์เพี่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้เรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนตลิ่งชันวิทยา จำนวน 32 คน ได้มาจากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและการสุ่มอย่างง่าย ระยะเวลาในการทดลอง 27 คาบๆ ละ 50 นาที เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบดำเนินการ 4 ระยะ ได้แก่ 1) การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน 2) การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนและการจัดทำเอกสารประกอบรูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน และ 4) การปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอน ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ หลักการ จุดมุ่งหมาย ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ และรูปแบบการเรียนการสอนประกอบด้วย 5 ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นกระตุ้นความสนใจ ขั้นเรียนรู้และฝึกฝนกลยุทธ์ ขั้นอ่านร่วมกันเป็นกลุ่ม ขั้นประเมินความเข้าใจของตนเอง และขั้นตอบสนองต่อบทอ่าน 2. การศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้น จากการนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง พบว่า ผู้เรียนที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนอ่านภาษาอังกฤษที่พัฒนาขึ้นมีความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยเลขคณิต () ก่อนและหลังการทดลองเท่ากับ 7.47 และ 16.78 คะแนนตามลำดับ กลุ่มตัวอย่างที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการอ่านแบบชี้แนะกับกลวิธีความสัมพันธ์ของคำถามและคำตอบมีพัฒนาการของความสามารถในการอ่านเชิงวิเคราะห์หลังจากเรียนรู้ด้วยรูปแบบที่พัฒนาขึ้น


ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ณชนก หล่อสมบูรณ์ Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกที่มีต่อทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณในการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4, ณชนก หล่อสมบูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 2) ศึกษาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) ศึกษาการสร้างสรรค์ผลงานของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก และ4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนศศิภา จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อการจัดการเรียนรู้วิชาศิลปะ 2) แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก 3) แบบประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ 4) แบบประเมินการสร้างสรรค์ผลงาน 5) แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Repeated Measured ANOVA และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1 )แผนการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกมีความเหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นสาธิต (Demonstration) สามารถส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณได้จากการตั้งคำถามของผู้สอน และการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น รวมถึงสามารถส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานจากการสาธิตเทคนิควิธีการต่างๆของผู้สอน (2) ขั้นสตูดิโอ (Studio Time) สามารถส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณด้วยการฝึกให้ผู้เรียนได้วางแผน ร่างแบบจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อใช้ในการตัดสินใจเลือกวัสดุ อุปกรณ์และตั้งชื่อผลงาน และเปิดโอกาสให้ผู้เรียนแลกเปลี่ยนความคิดระหว่างกันเพื่อนำมาพัฒนาการสร้างสรรค์ผลงานเป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงาน นอกเหนือจากการให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติ เพื่อค้นพบเทคนิควิธีการใหม่ๆ (3) ขั้นคลีนอัพ (Cleanup) เป็นการส่งเสริมการสร้างสรรค์ผลงานให้ผู้เรียนรู้จักทำความสะอาดและเก็บวัสดุอุปกรณ์ และ(4) ขั้นวัดผล (Assessment) ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการสร้างสรรค์งานผลงานโดยให้ผู้เรียนระบุปัญหาและหาแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ อีกทั้งผู้เรียนสามารถนำเสนอเทคนิคและวิธีการใหม่ๆที่ค้นพบ และการประเมินผลงานของตนเองและเพื่อน 2) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) การจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกทำให้ผู้เรียนมีพัฒนาการการสร้างสรรค์ผลงานสูงขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ4) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาบนฐานทางเลือกอยู่ในระดับมาก ( σ = 4.38)


การนำเสนอหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นิศาชล ภาวงศ์ Jan 2017

การนำเสนอหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, นิศาชล ภาวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการจำเป็นของหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อนำเสนอร่างหลักสูตรรายวิชา พลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างจำนวน 525 คน แบ่งเป็น ครูพลศึกษาและผู้บริหาร โดยผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไป 180 ชุด ได้กลับคืนมา 140 ชุด คิดเป็นร้อยละ 77.78 โดยเป็นแบบสอบถามของผู้บริหาร 20 ชุด แบบสอบถามของครูพลศึกษา 120 ชุด และส่งแบบสอบถามให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำนวน 450 ชุด ได้กลับคืนมา 385 ชุด คิดเป็นร้อยละ 85.56 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ พบว่า ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องรวมของผู้บริการและครูพลศึกษาเท่ากับ 0.73 และได้ค่าดัชนีความสอดคล้องรวมของนักเรียนเท่ากับ 0.77 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดการเรียนรู้รายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาประกอบด้วย 4 ด้านคือ ด้านการกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้ ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้ ด้านวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ สภาพ ปัญหาโดยรวมพบว่า ผู้บริหารมีสภาพ ปัญหาอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกำหนดเนื้อหาสาระการเรียนรู้และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีสภาพ ปัญหาอยู่ในระดับมาก ขณะที่ความต้องการจำเป็นในทุกด้านอยู่ในระดับมาก และ พบว่า ครูพลศึกษามีสภาพ ปัญหาโดยรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ มีสภาพ ปัญหาอยู่ในระดับมาก ขณะที่ความต้องการจำเป็นในทุกด้านอยู่ในระดับมาก และนอกจากนี้พบว่านักเรียนมีสภาพ ปัญหา และความต้องการจำเป็นในทุกด้านอยู่ในระดับมาก 2) การนำเสนอหลักสูตรรายวิชาพลศึกษาเพื่อเสริมสร้างความมีน้ำใจนักกีฬาประกอบด้วย จุดมุ่งหมายหลักสูตร โครงสร้างรายวิชา จุดประสงค์ของรายวิชาน้ำใจนักกีฬา กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้/แหล่งการเรียนรู้ การจัดการเรียนการสอน คำอธิบายรายวิชา ประมวลรายวิชา และการวัดและการประเมินผล


ยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ, อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง Jan 2017

ยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ, อวิรุทธ์ ฉัตรมาลาทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาแนวคิดและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ 2) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ 3) วิเคราะห์ปัจจัยความสำเร็จของการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ และ 4) นำเสนอยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจเพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ โดยมีกลุ่มตัวอย่าง คือ 1) ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนามหาวิทยาลัยเชิงประกอบการในประเทศไทย จำนวน 6 คน 2) ผู้บริหารระดับคณะและหน่วยงานของมหาวิทยาลัยวิจัย จำนวน 209 คน 3) ผู้บริหารระดับนโยบายของมหาวิทยาลัยวิจัย จำนวน 9 คน 4) ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ จำนวน 5 คน 5) ผู้บริหารองค์กรภาคธุรกิจอุตสาหกรรม จำนวน 5 คน และ 6) ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวิเคราะห์สาระ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม แบบตรวจสอบร่างยุทธศาสตร์และโมเดลพันธกิจฯ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์สาระ การวิเคราะห์ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. แนวคิดและการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ พบว่า มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการคือมหาวิทยาลัยที่มีกระบวนการทางความคิดแบบผู้ประกอบการเป็นพื้นฐานสำคัญของวัฒนธรรมองค์กรและการบริหารจัดการ การดำเนินงานแบ่งออกเป็น 7 ด้าน คือ 1) การนำองค์กรและการกำกับมหาวิทยาลัย 2) ความสามารถขององค์กร 3) การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ 4) การเตรียมความพร้อมและการสนับสนุนเพื่อเป็นผู้ประกอบการ 5) ความสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยกับภาคส่วนภายนอกเพื่อการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ 6) ความเป็นนานาชาติ และ 7) การวัดผลกระทบของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ 2. สภาพปัจจุบันและความต้องการจำเป็นของมหาวิทยาลัยวิจัยของการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยสู่มหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ พบว่า สภาพปัจจุบันการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง โดยการสร้างคุณค่าของมหาวิทยาลัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด และการวัดผลกระทบของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็นที่ต้องพัฒนา ลำดับที่ 1 การวัดผลกระทบของมหาวิทยาลัยเชิงประกอบการ ลำดับที่ 2 การจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการ ลำดับที่ 3 มี 2 ด้าน คือ …


The Effects Of Digital Story Writing Instruction On Narrative Writing Skills Of Junior High School Students In Indonesia, Elsa Widya Hapsari Jan 2017

The Effects Of Digital Story Writing Instruction On Narrative Writing Skills Of Junior High School Students In Indonesia, Elsa Widya Hapsari

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The objectives of the study were: 1) to explore the effects of digital story writing instruction on narrative writing skills of junior high school students in Indonesia; 2) to investigate how digital story writing instruction enhance English writing motivation of junior high school students in Indonesia. The instruments used in this study were online narrative writing test, writing motivation questionnaire, and a semi-structured interview. The sample in this study was 35 students from eighth- grade who were studying in 2017 academic year at Sekolah Menengah Pertama Islam Terpadu (SMP IT) in Indonesia. The research design was one-group pretest-posttest, quasi-experimental design. …


การศึกษาปัจจัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนออนไลน์ด้านการเงิน, ณัฐวรรษ ชุ่มฉิมพลี Jan 2017

การศึกษาปัจจัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนออนไลน์ด้านการเงิน, ณัฐวรรษ ชุ่มฉิมพลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่มีต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนแหล่งชุมชนออนไลน์ด้านการเงิน 2) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนแหล่งชุมชนออนไลน์ด้านการเงิน ตัวอย่างวิจัยในครั้งนี้ได้แก่ นักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน จำนวน 5 คน และสมาชิกผู้ใช้งานในชุมชนออนไลน์ที่เป็นกรณีศึกษาตอบแบบสอบถามจำนวน 92 คน คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสัมภาษณ์เชิงลึกจำนวน 3 คน ด้วยเทคนิควิธีอ้างอิงต่อเนื่องจากปากต่อปาก (Snowball Sampling Technique) เครื่องมือวิจัยที่ใช้เก็บข้อมูลได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงโครงสร้าง แบบสังเกตพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในชุมชนออนไลน์ และแบบสอบถามออนไลน์ ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินที่มีต่อแหล่งชุมชนออนไลน์ด้านการเงินพบว่าแหล่งชุมชนออนไลน์มีประโยชน์ช่วยเปิดโลกการเรียนรู้ที่กว้างขึ้น ข้อมูลในชุมชนออนไลน์เกิดจากประสบการณ์จริงของผู้ใช้งานที่ประสบปัญหาด้านการเงินและแก้ไขปัญหาได้แล้วสามารถนำมาเป็นตัวอย่างกรณีศึกษาได้ สำหรับนักเรียนนักศึกษาในอนาคตจะต้องเติบโตเป็นผู้ใหญ่เข้าสู่วัยทำงานมีความจำเป็นที่จะต้องมีความรู้ทางด้านการเงินเพื่อเป็นผู้ที่มีความมั่งคงทางการเงินและไม่สร้างปัญหาในอนาคต 2. ปัจจัยภายในเป็นปัจจัยสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ส่วนปัจจัยภายนอกเป็นส่วนของการสร้างสภาพแวดล้อมที่ดีของชุมชนออนไลน์แต่ไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการแลกเปลี่ยนความรู้ของสมาชิก ปัจจัยภายใน ได้แก่ 1) การเห็นคุณค่าของความรู้ตนเอง 2) ความต้องการแบ่งปันข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้อื่น 3) ความมีจิตอาสาช่วยเหลือผู้อื่น ปัจจัยภายนอก ได้แก่ 1) ปฏิสัมพันธ์จากการสร้างกิจกรรมแบ่งปันความรู้ระหว่างกัน 2) คำกล่าวเสริมความคิดบวกหรือสัญรูปชูนิ้วโป้งช่วยสร้างกำลังใจในการแบ่งปันข้อมูล ลักษณะชุมชนออนไลน์ ได้แก่ 1) เอื้ออำนวยความสะดวกในการเข้าถึงข้อมูล 2) ช่วยสร้างความผูกพันในชุมชนออนไลน์ 3) ให้ความช่วยเหลือระหว่างกันในชุมชนออนไลน์


การพัฒนาโมเดลวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : การประยุกต์ใช้โมเดลฟิวชัน, ธนิยา เยาดำ Jan 2017

การพัฒนาโมเดลวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 : การประยุกต์ใช้โมเดลฟิวชัน, ธนิยา เยาดำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2) พัฒนาแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) ตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 4) วินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้โมเดลฟิวชัน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย (1) ผู้เชี่ยวชาญ 17 คน เพื่อพัฒนาทักษะความเข้าใจในการอ่าน (2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 818 คน เพื่อวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่าน เครื่องมือมี 3 ฉบับ คือ แบบสอบถาม 2 ฉบับ สำหรับผู้เชี่ยวชาญเป็นสอบถามเกี่ยวกับทักษะความเข้าใจในการอ่าน โดยชุดที่ 1 เป็นแบบสอบถามปลายเปิด ชุดที่ 2 เป็นแบบสอบถามปลายปิด และแบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 1 ฉบับ สำหรับนักเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย หาฉันทามติด้วยค่ามัธยฐาน ผลต่างของมัธยฐานกับฐานนิยม และพิสัยระหว่างควอไทล์ วิเคราะห์โมเดลวินิจฉัยความเข้าใจในการอ่านโดยใช้โมเดลฟิวชัน ผลการวิจัยพบว่า ความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยมี 7 ทักษะ ดังนี้ 1) การบอกความหมายของคำศัพท์โดยไม่อาศัยบริบท 2) การบอกความหมายของคำศัพท์โดยอาศัยบริบท 3) การจับใจความรองโดยไม่อาศัยบริบท 4) การจับใจความรองโดยอาศัยบริบท 5) การจับใจความหลักโดยไม่อาศัยบริบท 6) การจับใจความหลักโดยอาศัยบริบท และ 7) การตีความ ทักษะความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย 7 ทักษะ ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นเป็นฉันทามติในระดับมากที่สุด (Md=5.00, |Md-Mo|=0, IR=0) แบบทดสอบความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่ครอบคลุมทั้ง 7 ทักษะ มีจำนวนข้อสอบ 23 ข้อ เป็นแบบทดสอบแบบอิงสถานการณ์ รูปแบบข้อสอบเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก คุณภาพของข้อสอบจากการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม MULTILOG มีค่าความยากง่าย (b) …


การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรินทร์ หยกพิทักษ์โชค Jan 2017

การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรินทร์ หยกพิทักษ์โชค

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัถตุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาลักษณะเฉพาะและตรวจสอบคุณภาพของลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ 2) เพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต ตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น แบ่งขั้นตอนการดำเนินงานออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดการพัฒนาลักษณะเฉพาะของแบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยี สารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ 21 สำหรับนิสิตนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิต และ ระยะที่ 2 การพัฒนาแบบวัดฯ ตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดที่ได้สร้างขึ้น ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นิสิตระดับปริญญาบัณฑิต สังกัดมหาวิทยาลัยในเขตกรุงเทพมหานครฯ และปริมณฑล มาจากการเลือกแบบเจาะจง จึงได้ตัวอย่างจำนวน 301 คน เพื่อเก็บข้อมูลจากแบบวัดฯ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินลักษณะเฉพาะฯ และ แบบวัดทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีฯที่พัฒนาขึ้นจากลักษณะเฉพาะฯ ซึ่งมีรูปแบบข้อคำถามเป็นแบบผสม ประกอบด้วยข้อคำถามแบบปรนัยหลายตัวเลือก อัตนัยตอบสั้น และ การมอบหมายภาระงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและตรวจสอบคุณภาพรายข้ออำนาจจำแนกโดยการพิจารณาการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (T-Test independent) ด้วยโปรแกรม SPSS ตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง ด้วยโปรแกรม Mplus ตรวจสอบค่าความเที่ยงโดยพิจารณาค่าความสอดคล้องภายในด้วยสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบวัดฯตามลักษณะเฉพาะของแบบวัดฯที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีองค์ประกอบของลักษณะเฉพาะได้แก่ บทนำ คำอธิบายทั่วไปในการใช้ลักษณะเฉพาะ วัตถุประสงค์ของการสอบ เนื้อหาสาระและทักษะที่ต้องการวัด โครงสร้างแบบวัด รูปแบบของแบบวัด ลักษณะเฉพาะของข้อคำถาม ขั้นตอนการออกแบบและพัฒนาข้อคำถาม เกณฑ์การประเมิน ตัวอย่างข้อคำถาม ในภาพรวมมีผลการตรวจสอบคุณภาพอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.25 2) การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดทักษะฯที่พัฒนาขึ้นจากลักษณะเฉพาะโดยการตรวจสอบคุณภาพความตรงเชิงเนื้อหาจากกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างโดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Chi-square = 152.429, df= 128, P=0.069, CFI= 0.958, TLI= 0.956, RMSEA = 0.025, SRMR=0.046) การตรวจสอบความเที่ยงของแบบวัดทักษะฯมีค่าความเที่ยงในระดับสูง (α=0.77) และการพิจารณาการทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย (T-Test independent) พบว่า ผลการทดสอบวัดระดับทักษะการรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารแห่งศตวรรษที่ …


ผลการใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วีรพล เทพบรรหาร Jan 2017

ผลการใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, วีรพล เทพบรรหาร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระหว่างนักเรียนกลุ่มที่ใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดกับนักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติ 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่งในสังกัดมหาวิทยาลัยรัฐ/มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ เขตกรุงเทพมหานคร ภาคการเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 34 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบสังเกตพฤติกรรม และใบกิจกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนกลุ่มทดลองมีความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่านักเรียนกลุ่มที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความสามารถในการให้เหตุผลและความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ตัวแทนทางความคิดและตัวแบบเชิงคณิตศาสตร์ร่วมกับแนวคิดการสอนแนะให้รู้คิดมีพัฒนาการดีขึ้น


ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, หฤทัย จตุรวัฒนา Jan 2017

ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนตามแนวคิดการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย, หฤทัย จตุรวัฒนา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 2) ศึกษาผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) นำเสนอข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยตำบลทุ่งขวาง จำนวน 30 คนซึ่งทำการคัดเลือกจากผลการวัดระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบวัดระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหา แผนการจัดกิจกรรม แบบประเมินความพึงพอใจ ประเด็นคำถามเพื่อพิจารณา(ร่าง) ข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอกำแพงแสนมีระดับความสามารถในการคิดแก้ปัญหาน้อยที่สุด ( x¯= 3.62) 2. ผลการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบว่า คะแนนเฉลี่ยหลังการเข้าร่วมกิจกรรมสูงกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (x¯= 3.91) ผลความพึงพอใจในการจัดกิจกรรมในระดับมาก (x¯ = 4.23) ความพึงพอใจด้านกระบวนการ/ขั้นตอนดำเนินการจัดกิจกรรมในระดับมาก ( x¯= 4.27) ความพึงพอใจด้านนำไปใช้ในการทำงานในระดับมากที่สุด (x¯ = 4.40) 3. ผลการนำเสนอข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พบข้อเสนอแนะการจัดกิจกรรม 2 ข้อ ได้แก่ 1) ข้อเสนอแนะหลัก 5 ด้าน ดังนี้ (1) แนวคิดและหลักการการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (2) ด้านความสามารถในการแก้ไขปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย (3) ด้านเนื้อหากิจกรรม (4) ด้านกระบวนการจัดกิจกรรม (5) ด้านการวัดและประเมินผล และ 2) ข้อเสนอแนะทั่วไปที่ช่วยให้การจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบโรงเรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการคิดแก้ปัญหาของนักศึกษาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น


สภาพและปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา, จิตโสภิณ โสหา Jan 2017

สภาพและปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษา, จิตโสภิณ โสหา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มุ่งศึกษาสภาพและปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ การวางแผนการดำเนินงานการสร้างรอยเชื่อมต่อ การสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างรอยเชื่อมต่อ และการส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน ตัวอย่างคือ ครูประจำชั้นของเด็กอายุ 5 ถึง 6 ปี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 323 คน เขตกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาอยู่ในระดับมาก (x̅=3.99) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุดคือ การส่งเสริมความพร้อมทางการเรียน (x̅=4.26) รองลงมาคือ การวางแผนการดำเนินงานการสร้างรอยเชื่อมต่อ (x̅=3.91) และค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำสุดคือ การสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างรอยเชื่อมต่อ (x̅=3.81) ตามลำดับ 2. ปัญหาของครูในการสร้างรอยเชื่อมต่อทางการศึกษาของเด็กอนุบาลเพื่อเข้าสู่ชั้นประถมศึกษาใน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผนการดำเนินงานการสร้างรอยเชื่อมต่อพบว่า (1) การไม่เชื่อมต่อระหว่างหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานและหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย (2) การมีนโยบายที่เร่งให้เด็กอ่านออกเขียนได้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และการวัดประเมินผล ด้านการสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในการสร้างรอยเชื่อมต่อพบว่า (1) การขาดความเข้าใจในการเรียนการสอนระดับอนุบาล พัฒนาการและการเรียนรู้ของผู้บริหาร ครูประถมศึกษา และผู้ปกครอง (2) การขาดโอกาสในการสร้างความรู้ความเข้าใจร่วมกันของครูอนุบาลและครูประถมศึกษา และด้านส่งเสริมความพร้อมทางการเรียนพบว่า (1) ความแตกต่างของเด็กและครอบครัวเป็นรายบุคคลที่ส่งผลต่อความพร้อมของเด็ก (2) ผู้ปกครองมีความคาดหวัง และความกังวลใจในการสอบเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (3) ครูประถมศึกษาปีที่ 1 มีความคาดหวังเกี่ยวกับความพร้อมด้านวิชาการที่เกินกว่าพัฒนาการของเด็ก


A Case Study Of An English Teacher Learning Community In Thailand, Hasakamon Duangmani Jan 2017

A Case Study Of An English Teacher Learning Community In Thailand, Hasakamon Duangmani

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

One of the current approaches to improving instructional quality is to form a Teacher Learning Community (TLC), in which teachers collaborate and support each other's development. In this study, the learning and instructional practices of five English teachers working in public schools in Sisaket were examined over the period of three months while they were collaborating in one TLC that the group established on their own free will. Data from the observations, journals, and lesson plans were then analyzed using the coding method.
The findings revealed benefits of TLC on teacher learning and instructional practices. The English teachers in this …


An Exploration Of Motivational Strategies, Beliefs, And Contextual Factors: A Case Of Chinese Efl Teachers, Xiaosu Chen Jan 2017

An Exploration Of Motivational Strategies, Beliefs, And Contextual Factors: A Case Of Chinese Efl Teachers, Xiaosu Chen

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Based on the Self-determination theory, teachers can enhance learners' intrinsic motivation and their use of motivational strategies may be influenced by their beliefs and contextual factors. This case study was thus designed to explore these relationships in the contexts of EFL classrooms in Northwest of China, in which student's motivation levels in English learning were found in previous studies to be lower than that of the students in other regions. Six EFL teachers from a public upper secondary school in this region were observed in their tenth grade English classrooms over one month. After the observations, they were interviewed to …


ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู, ชยการ คีรีรัตน์ Jan 2017

ระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู, ชยการ คีรีรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานและการเรียนรู้ส่วนบุคคลเพื่อพัฒนาสมรรถนะของผู้ประกอบวิชาชีพครู 2) ศึกษาผลการใช้งานระบบสนับสนุนการปฏิบัติงานและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ส่วนบุคคล เพื่อพัฒนาสมรรถนะครูด้านการออกแบบการเรียนรู้และการจัดการเรียนรู้ โดยการทดลองกับนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพ วิชาเอกคอมพิวเตอร์การศึกษา และวิชาเอกเทคโนโลยีการศึกษา ภาควิชาเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน 13 โรงเรียน จำนวน 29 คน ระยะเวลาในการทดลอง 1 ภาคเรียน เป็นภาคเรียนต้น ปีการศึกษา 2559 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของระบบฯ ประกอบด้วย 1) ทรัพยากรพื้นฐาน 2) บุคลากรผู้เกี่ยวข้อง 3) แบบจำลองสมรรถนะ 4) ทรัพยากรด้านเทคโนโลยี และ 5) ผลลัพธ์การเรียนรู้ 2. กระบวนการดำเนินงาน ประกอบด้วย 1) กระบวนของระบบ และ 2) กระบวนการเรียนรู้ในระบบ 3. การประเมินทักษะและสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในภาพรวม ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติทดสอบที พบว่านิสิตมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวังหลังการสอน (Mean = 3.32) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนปฏิบัติการสอน (Mean = 2.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังปฏิบัติการสอน (Mean = 3.18) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนปฏิบัติการสอน (Mean = 2.32) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวัง และคะแนนหลังปฏิบัติการสอน พบว่านิสิต มีคะแนนเฉลี่ยความคาดหวัง (Mean = 3.32) และค่าเฉลี่ยคะแนนหลังปฏิบัติการสอน (Mean = 3.18) ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. การประเมินทักษะและสมรรถนะการปฏิบัติการสอนในสาขาวิชาเฉพาะในภาพรวม ผลการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติทดสอบที พบว่านิสิตมีค่าเฉลี่ยคะแนนความคาดหวัง (Mean = 3.38) สูงกว่า ค่าเฉลี่ยคะแนนก่อนปฏิบัติการสอน (Mean …


การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศการเสริมการเรียนรู้ และ Z To A เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์, ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์ Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศการเสริมการเรียนรู้ และ Z To A เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์, ธิดารัตน์ ตันนิรัตร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ การสร้างผลงานสร้างสรรค์และการยื่นคำขอรับสิทธิบัตรของนิสิต นักศึกษา 2) เพื่อพัฒนา ทดลอง และปรับปรุงรูปแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการแนวคิดการแก้ปัญหาด้วยสารสนเทศ การเสริมการเรียนรู้ และ Z TO A เพื่อสร้างผลงานสร้างสรรค์และยื่นขอสิทธิบัตร ตัวอย่างในการวิจัยได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน คือ นิสิต นักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 557 คน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และรูปแบบการเรียนการสอนฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล ผลการวิจัยมีดังนี้ 1. นิสิต นักศึกษาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ระดับปริญญาบัณฑิตมีความต้องการจำเป็นในการทำความเข้าใจขั้นตอนการขอรับความคุ้มครองสิทธิบัตร ในลำดับความต้องการมากที่สุด (PNIModified=0.495) รองลงมาคือ มีความต้องการจำเป็นในการเขียนอธิบายผลงานที่สร้างขึ้น เพื่อร่างคำขอรับสิทธิบัตรได้ (PNIModified=0.476) 2. รูปแบบการเรียนการสอนฯ เป็นการเรียนแบบผสมผสาน มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ 2) กลยุทธ์การเรียนการสอน 3) บทบาทของอาจารย์ผู้สอน 4) คุณลักษณะของผู้เรียน 5) สื่อการเรียนการสอน และ 6) การประเมินผล ขั้นตอนการเรียนการสอน มี 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) เกริ่นนำและให้ความรู้ 2) กำหนดปัญหาด้วยสารสนเทศ 3) ค้นหาข้อมูล 4) พิจารณาข้อมูล 5) นำข้อมูลไปใช้ในการสร้างผลงานสร้างสรรค์ และ 6) ร่างและยื่นเอกสารประกอบการขอรับสิทธิบัตร 3. ผู้เรียนสร้างผลงานสร้างสรรค์และยื่นคำขอสิทธิบัตร คิดเป็นร้อยละ 84.62 อยู่ในระดับมากที่สุด และเป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยที่กำหนดไว้ 4. ผลการประเมินและรับรองรูปแบบการเรียนการสอนฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 อยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด


การพัฒนารูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน, วาเลน ดุลยากร Jan 2017

การพัฒนารูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน, วาเลน ดุลยากร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างรูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนารูปแบบ คือ ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน ครูระดับประถมศึกษา สังกัดคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน 387 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสำรวจสภาพการบูรณาการไอซีทีในการสอนและการพัฒนาความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอนในปัจจุบันและสภาพที่มุ่งหวัง 2) แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินรับรองรูปแบบ กลุ่มทดลองใช้รูปแบบ ได้แก่ ครูระดับประถมศึกษาจำนวน 21 คน แบ่งเป็นบทบาทสมาชิกหลัก 13 คน และบทบาทเพื่อนร่วมเรียนรู้ 8 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) ระบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ และ 2) เกณฑ์ประเมินความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอนแบบรูบริค ใช้ระยะเวลาทดลอง 10 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. รูปแบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ในกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกันตามกรอบแนวคิดทีแพคเพื่อส่งเสริมความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอน ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) กลุ่มครูผู้สอน 2) กลุ่มผู้รู้ไอซีที 3) เป้าหมายด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน 4) ระบบวีดิทัศน์สะท้อนคิดออนไลน์ 5) ผู้ดำเนินการ โดยมี 8 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ร่วมกันวิเคราะห์และกำหนดเป้าหมายด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน 2) ร่วมกันเลือกวิธีการสอน วางแผนการสอนในขั้นตอนหลักและเลือกเครื่องมือไอซีทีที่นำมาใช้สนับสนุนเป้าหมายการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) พัฒนาแผนจัดการเรียนรู้ ผลิตหรือเตรียมเครื่องมือไอซีที และทดลองใช้ 4) ดำเนินการสอนและบันทึกวีดิทัศน์การสอน 5) สังเกต สะท้อนคิดแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และบันทึกข้อค้นพบในระบบ 6) ร่วมกันอภิปรายผล 7) ปรับปรุงแผนจัดการเรียนรู้และเครื่องมือไอซีทีให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น 8) แบ่งปันผลการเรียนรู้ 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบพบว่า ครูกลุ่มทดลองที่มีบทบาทเป็นสมาชิกหลักมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถการบูรณาการไอซีทีในการสอนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 …


การพัฒนารูปแบบการออกแบบการสอนแบบเปิดด้วยวิธีการคิดอย่างเป็นระบบและกระบวนการกลุ่มโดยใช้วิดีโอเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา, นรินธน์ นนทมาลย์ Jan 2017

การพัฒนารูปแบบการออกแบบการสอนแบบเปิดด้วยวิธีการคิดอย่างเป็นระบบและกระบวนการกลุ่มโดยใช้วิดีโอเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา, นรินธน์ นนทมาลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการออกแบบการสอนแบบเปิดด้วยวิธีการคิด อย่างเป็นระบบและกระบวนการกลุ่มโดยใช้วิดีโอเป็นฐาน 2) ศึกษาผลของรูปแบบฯ ที่มีต่อความสามารถ ในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา การศึกษาระยะแรกเป็นการสำรวจความคิดเห็น เกี่ยวกับการเรียนแบบเปิด จากกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้เรียนระดับอุดมศึกษา จำนวน 419 คน ผู้เรียนนอกหลักสูตร จำนวน 319 คน และผู้สอนสาขาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา จำนวน 108 คน ในระยะที่ 2 เป็นการทดลองใช้รูปแบบการออกแบบการสอนแบบเปิด ทดลองใช้กับนิสิตภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใน 2 รายวิชา จำนวน 26 คน และ 29 คน ระยะเวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงกลุ่ม และทดสอบสมมุติฐานด้วยการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการออกแบบการสอนแบบเปิดด้วยวิธีการคิดอย่างเป็นระบบและกระบวนการกลุ่ม โดยใช้วิดีโอเป็นฐาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของผู้เรียนระดับอุดมศึกษา ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ บุคลากร หลักสูตร วิธีวิทยาการสอน เทคโนโลยี และมีขั้นตอน การออกแบบการสอน 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) กำหนดเป้าหมาย หลักสูตร รายวิชา 2) วิเคราะห์ผู้เรียน 3) กำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา 4) ออกแบบกิจกรรมกลุ่ม 5) ออกแบบวิธีการประเมิน 6) พัฒนาวิดีโอ และการนำไปใช้ และ 7) ประเมินการออกแบบการสอน 2. กลุ่มตัวอย่างที่เรียนในรายวิชาที่ได้รับการออกแบบตามรูปแบบ มีคะแนนความสามารถ ในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และคะแนนในการออกแบบประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญในระดับดีมาก และมีการประเมินโดยกลุ่มเพื่อน มีค่าคะแนนความสอดคล้องของความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์รายกลุ่ม อยู่ในเกณฑ์มาก หรือค่อนข้างสมบูรณ์ที่ขนาดความสอดคล้อง 0.95


การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีกิจกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดสำหรับนิสิตวิชาชีพสารสนเทศ, ศศิพิมล ประพินพงศกร Jan 2017

การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีกิจกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดสำหรับนิสิตวิชาชีพสารสนเทศ, ศศิพิมล ประพินพงศกร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีกิจกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันเพื่อส่งเสริมความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดสำหรับนิสิตวิชาชีพสารสนเทศ 2) ศึกษาผลการใช้กระบวนการเรียนรู้ฯ และ 3) วิเคราะห์บทบาทของเครื่องมือ กฎกติกา บทบาทและความรับผิดชอบในทฤษฎีกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น ตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นิสิตหลักสูตรสารสนเทศศึกษา ระดับปริญญาตรี จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดก่อน-หลังเรียน แบบประเมินนวัตกรรมห้องสมุด แบบสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนและบรรณารักษ์ แบบสังเกตและแบบสัมภาษณ์ แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นที่มีต่อกระบวนการเรียนรู้ฯ และแบบประเมินรับรองกระบวนการเรียนรู้ฯ ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. กระบวนการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แหล่งข้อมูล (แหล่งข้อมูลสถานที่ แหล่งข้อมูลบุคคล และแหล่งข้อมูลออนไลน์) 2) ชุมชน (ผู้สอน ผู้เรียน และบรรณารักษ์) 3) เทคนิคการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ เช่น เทคนิค Why-Why เทคนิค SCAMPER และเทคนิคผังความคิด เป็นต้น 4) คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกัน และ 5) การประเมินผล และมี 7 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) เตรียมความพร้อม 2) ทำความเข้าใจปัญหา 3) สร้างแนวคิดนวัตกรรม 4) เลือกแนวคิดนวัตกรรม 5) นำเสนอแนวคิดนวัตกรรมเพื่อขอความเห็นชอบ 6) วางแผนและสร้างผลงานนวัตกรรม 7) เผยแพร่ผลงานนวัตกรรม ภาพรวมของการจัดกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้ฯ ดำเนินการ 2 รอบ ใช้ระยะเวลาทั้งสิ้น 16 สัปดาห์ 2. ผลการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมห้องสมุดของนิสิตที่เรียนด้วยกระบวนการเรียนรู้ด้วยการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีกิจกรรมโดยใช้คอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 นวัตกรรมห้องสมุดที่ผู้เรียนสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการโดยมีคะแนนผลงานนวัตกรรมห้องสมุดในระดับมากที่สุด ผลการประเมินและรับรองกระบวนการเรียนรู้ฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเหมาะสมในระดับดีมาก (ค่าเฉลี่ย 4.62) 3. ผลการวิเคราะห์บทบาทของเครื่องมือ กฎกติกา บทบาทและความรับผิดชอบของสมาชิกในชุมชนด้วยทฤษฎีกิจกรรมตามกระบวนการเรียนรู้ฯ ที่ได้พัฒนา พบว่า เครื่องมือคอมพิวเตอร์สนับสนุนการเรียนรู้ร่วมกันเป็นเครื่องมือสำคัญที่สนับสนุนการติดต่อสื่อสารและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิกในชุมชน ส่วนบทบาทและความรับผิดชอบของผู้เรียนแต่ละกลุ่ม พบว่า …


ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐาณรงค์ ทุเรียน Jan 2017

ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, ฐาณรงค์ ทุเรียน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมก่อนและหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองและของนักเรียนกลุ่มควบคุม 2) เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมหลังการทดลองระหว่างนักเรียนกลุ่มทดลองกับนักเรียนกลุ่มควบคุม กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 60 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบปกติ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือ 8 แผน แบบวัดทักษะทางสังคมและแบบบันทึกทักษะทางสังคมโดยการสังเกต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่มีต่อทัศนคติและการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, นฤชน มงคลศิริ Jan 2017

ผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่มีต่อทัศนคติและการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, นฤชน มงคลศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมโดยประยุกต์แนวคิดการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติที่มีต่อทัศนคติและการปฏิบัติในการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย ตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 44 คน โรงเรียนบ้านปลายคลองน้อย จ.สมุทรสาคร แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับชุดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยตามการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติโดยวิธีปกติ จำนวน 22 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยโดยวิธีปกติ จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ ชุดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยตามการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติ มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.93 แบบวัดทัศนคติในการขี่จักรยาน การขี่จักรยานอย่างปลอดภัย และแบบประเมินทักษะการปฏิบัติในการขี่จักรยานอย่างปลอดภัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.82, 0.88, 1.00 ตามลำดับ ค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.88, 0.80, 0.82 ตามลำดับวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า “ที” ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติในการขี่จักรยาน, การปฏิบัติในการขี่จักรยานอย่างปลอดภัย และทักษะการปฏิบัติ หลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยตามการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนทัศนคติในการขี่จักรยาน, การปฏิบัติในการขี่จักรยานอย่างปลอดภัย และทักษะการปฏิบัติ หลักการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการใช้ชุดกิจกรรมเรื่องการขี่จักรยานอย่างปลอดภัยตามการเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก, นิรุตติ์ สุขดี Jan 2017

การพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก, นิรุตติ์ สุขดี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก 2) เพื่อประเมินประสิทธิภาพของโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฎีบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยเพื่อพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ เด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะออทิสซึ่มอยู่ในระดับปานกลาง อายุ 12–18 ปี จำนวน 8 คน จากการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง ดำเนินการทดลอง 8 สัปดาห์ๆ ละ 3 ครั้ง ครั้งๆ 45 นาที ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลก่อนการทดลอง หลังการทดลองและหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การทดสอบความแปรปรวนทางเดียวชนิดวัดซ้ำ One-way ANOVA Repeated Measures การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยใช้ค่า "ที" ผลการวิจัยที่ได้ ดังนี้ 1) โปรแกรมที่ได้พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 3 กิจกรรม คือ กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านไทยโดยใช้ผ้าขาวม้า การออกกำลังกายแบบเดี่ยว การออกกำลังกายแบบเป็นคู่และการออกกำลังกายแบบเป็นกลุ่ม จำนวน 26 ท่า และ 5 ขั้นตอนการออกกำลังกาย โดยมีดัชนีความสอดคล้อง 0.94 2) สมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพของเด็กออทิสติกหลังการทดลองและหลังเสร็จสิ้นการทดลอง 2 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ด้านทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านการสื่อสารทางสังคมและด้านการทำงานร่วมกับบุคคลอื่น จากผลการวิจัยแสดงให้เห็นถึงโปรแกรมการออกกำลังกายโดยใช้ทฤษฏีการบูรณาการประสาทความรู้สึกร่วมกับภูมิปัญญาไทยมีประสิทธิภาพในการพัฒนาสมรรถภาพทางกายที่สัมพันธ์กับสุขภาพและทักษะทางสังคมของเด็กออทิสติกได้


ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, พิชญา สวนช่วย Jan 2017

ผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, พิชญา สวนช่วย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาผลการใช้โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนประถมศึกษาตอนปลายที่มีสมาธิต่ำ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองจำนวน 20 คนได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ 8 สัปดาห์ ๆ ละ 3 วัน วันละ 1 ชั่วโมง และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ โปรแกรมกิจกรรมเกมโดยประยุกต์ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำมีค่า IOC 0.81 แบบประเมินสมาธิค่า IOC 0.75 ค่าความเที่ยง 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมาธิหลังการทดลองของกลุ่มทดลองดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนสมาธิหลังการทดลองของกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมกิจกรรมเกมโดยใช้ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำที่มีต่อสมาธิดีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05


ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภัทร อัญชลีนุกูล Jan 2017

ผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภัทร อัญชลีนุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างคือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนหนึ่งในเขตลาดกระบัง จำนวน 40 คน แบ่งเป็นนักเรียนกลุ่มทดลองที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think – Pair – Share ในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตอง จำนวน 20 คน และนักเรียนกลุ่มควบคุมที่ได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยวิธีปกติ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think – Pair – Share จำนวน 8 แผน และแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนด้วยค่า "ที" ผลการวิจัยพบว่า 1) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองของนักเรียนกลุ่มทดลองหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาการเล่นกีฬาเปตองหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองในการจัดกิจกรรมพลศึกษากีฬาเปตองด้วยกลวิธี Think-Pair-Share สูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05