Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Chulalongkorn University

Journal

2021

แรงจูงใจ

Articles 1 - 2 of 2

Full-Text Articles in Education

การสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, เพ็ญโบมัย ซัมแอล, สุชาติ ทั่งสถิรสิมา, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์ Oct 2021

การสร้างแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ด้วยรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม, เพ็ญโบมัย ซัมแอล, สุชาติ ทั่งสถิรสิมา, ปิยะวรรณ ศรีสุรักษ์

Journal of Education Studies

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเสริมสร้างแรงจูงใจของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยการสอนภาษาอังกฤษด้วยการใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 23 คนโดยมีรูปแบบการวิจัยคือ แบบแผนการทดลองขั้นต้นโดยใช้กลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษที่ใช้รูปแบบการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และแบบวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษ วิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติ Paired Sample t-Test การสอนภาษาอังกฤษโดยใช้รูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมส่งผลต่อแรงจูงใจของนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ ผลการวิจัย พบว่า ก่อนทดลอง (pre-test) (M = 70.17, SD = 9.60) และหลังการทดลอง (post-test) (M = 74.78, SD = 5.87) มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (t = 2.16)


แรงจูงใจที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, วสินี ไขว้พันธุ์, สมปรารถ ขำเมือง Apr 2021

แรงจูงใจที่มีผลต่อการเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรี คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, วสินี ไขว้พันธุ์, สมปรารถ ขำเมือง

Journal of Education Studies

งานวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการเลือกเข้าศึกษาต่อระดับปริญญาตรีในคณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นิสิตชั้นปีที่ 1 คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2561 จำนวน 123 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล ด้วย ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัย พบว่า โดยภาพรวม นิสิตมีแรงจูงใจในการเข้าศึกษาคณะนี้อยู่ในระดับมาก (Mu = 3.65) โดยด้านความมั่นคง และความก้าวหน้า มีค่าเฉลี่ยคะแนนสูงสุด รองลงมา คือ ด้านความถนัดและสนใจในอาชีพ ด้านสถาบัน ด้านการประชาสัมพันธ์ส่วนด้านอิทธิพลการชักจูงจากบุคคลอื่นมีค่าเฉลี่ยคะแนนต่ำที่สุดและอยู่ในระดับน้อย นอกจากนี้พบว่า นิสิตที่เลือกเข้าศึกษาในหลักสูตรที่แตกต่างกันมีแรงจูงใจในการเข้าศึกษาต่อในด้านความถนัดและความสนใจในอาชีพแตกต่างกันและรายได้ของผู้ปกครองที่แตกต่างกันมีผลในการเข้าศึกษาต่อในสถาบันแตกต่างกัน