Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

PDF

Educational Psychology

2018

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 4 of 4

Full-Text Articles in Education

ผลของโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, วรัฐา นพพรเจริญกุล Jan 2018

ผลของโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5, วรัฐา นพพรเจริญกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตที่มีต่อความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสังกัดสำนักบริหารงาน คณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร เขต 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือ โปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคต และแบบวัดความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรค การเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (One-Way Repeated Measures ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังจากได้รับโปรแกรมพัฒนาลักษณะมุ่งอนาคตในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ในระยะหลังการทดลองและระยะติดตามผล นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, สุภชาวัลย์ ชนะศักดิ์ Jan 2018

การจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6, สุภชาวัลย์ ชนะศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านย่านตาขาว ในสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตรัง เขต 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานเพื่อพัฒนาการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ และแบบประเมินการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์ วิเคราะห์ข้อมูลผลการทดลองโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ (One-way Repeated Measure ANOVA) และการทดสอบค่าที (T- test for Independent Samples) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ภายหลังการทดลอง และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์สูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ภายหลังการทดลอง และในระยะติดตามผล กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนการรู้ซึ้งถึงความรู้สึกในการกลั่นแกล้งกันบนโลกไซเบอร์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้โปรแกรมการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง, วัชรินทร์ อินทร์นุ่ม Jan 2018

การเสริมสร้างความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาระดับปริญญาบัณฑิตโดยใช้โปรแกรมการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง, วัชรินทร์ อินทร์นุ่ม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลจากการใช้โปรแกรมการฝึกการสนับสนุนอิสระด้วยตนเองที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักศึกษาโครงการขยายโอกาสทางการศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาบัณฑิตชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 สถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐแห่งหนึ่ง มีรูปแบบการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) แบบแผนการทดลอง แบบสุ่มตลอด (Completely Randomized Design : CRD) นักศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 70 คน ถูกสุ่มเพื่อเข้าเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 35 คน โดยมีเครื่องมือในการวิจัยคือ โปรแกรมฝึกการสนับสนุนอิสระด้วยตนเอง และแบบวัดความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษา การวิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) จากนั้นการเปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระหว่างช่วงเวลาของการวัดค่าเฉลี่ยของคะแนนของความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาโดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ (one-way repeated measures ANOVA) และสถิติทดสอบทีแบบอิสระ (Independent sample t – test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาในระยะหลังการฝึกและระยะติดตามผลสูงกว่าก่อนการได้รับฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (F (2,136) = 69.30 , p =.00, ηp 2 = .421) และ 2) ในระยะหลังการฝึกและระยะติดตามผลกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความยึดมั่นผูกพันของนักศึกษาสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (t (68) = 8.35, p = .00, d = 1.65, t (68) = 7.85, p = .00, d = 1.55 ตามลำดับ)


การพัฒนาต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและทักษะทาง การคำนวณสำหรับนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์, สัณห์ รังสรรค์ Jan 2018

การพัฒนาต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและทักษะทาง การคำนวณสำหรับนักเรียนประถมศึกษาที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์, สัณห์ รังสรรค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์และผลการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ 2. เพื่อออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯจากข้อมูลประสบการณ์ของนักเรียน 3. เพื่อวิเคราะห์ผลของการใช้ต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณของนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯ กระบวนการวิจัยประยุกต์ใช้ กระบวนการการคิดเชิงออกแบบ (design thinking process) เป็นแนวทางหลักในการดำเนินการวิจัย ซึ่งแบ่งการวิจัยและผลการวิจัยเป็น 3 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ดำเนินการสังเกต การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการวิเคราะห์เอกสาร เพื่อวิเคราะห์ประสบการณ์และผลการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณศึกษากับนักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงทางการเรียนรู้ด้านคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 5 คน (นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย) ผู้ปกครองนักเรียน 5 คนและครู 3 คน ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ที่ผ่านมานักเรียนกลุ่มเป้าหมายไม่เคยได้รับการช่วยเหลือทางการศึกษาอย่างเป็นทางการ มีเพียงการสอนเสริมจากครูเป็นครั้งคราว ผู้ปกครองนักเรียนเคยให้นักเรียนเรียนเสริมหลังเลิกเรียนแต่ปัจจุบันไม่มีนักเรียนคนใดเรียนเสริมหลังเลิกเรียน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายร้อยละ 80 เชื่อว่าตนเองไม่มีความสามารถในวิชาคณิตศาสตร์ ครูและผู้ปกครอง มีความเชื่อว่าสติปัญญาเป็นสิ่งที่ส่งผ่านทางพันธุกรรม ครูผู้สอนคณิตศาสตร์เชื่อว่า ศักยภาพในการเรียนรู้ของสมองเรียนรู้ได้อย่างจำกัด ลักษณะที่เป็นปัญหาจากการช่วยเหลือที่ผ่านมาคือ กิจกรรมวิชาคณิตศาสตร์ไม่ตอบสนองการเรียนรู้ของนักเรียน การให้ข้อมูลป้อนกลับแก่นักเรียนในเชิงตัดสิน นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้สึกเชิงลบต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2 นำผลการศึกษาประสบการณ์ในระยะที่ 1 มานิยามปัญหาและใช้เป็นข้อมูลในการดำเนินการอภิปรายกลุ่ม (focus group discussion) เพื่อการระดมความคิดเพื่อออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือจากครูผู้เชี่ยวชาญซึ่งเลือกมาแบบเจาะจงจำนวน 4 คน จากนั้นสังเคราะห์ผลจากการอภิปรายกลุ่มร่วมกับต้นแบบเชิงทฤษฎีที่สังเคราะห์จากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และออกแบบต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาฯ ที่จะนำไปใช้ในระยะที่ 3 ผลการวิจัยระยะที่ 2 พบว่า ต้นแบบดังกล่าวประกอบไปด้วยกิจกรรมทั้งหมด 10 กิจกรรม กิจกรรมละ 60 นาที แต่ละกิจกรรมแบ่งออกเป็น 3 ขั้น คือ ขั้นเสริมสร้างกรอบความคิด ขั้นคณิตคิดสนุก/สนุกคิด และขั้นปลุกพลังในตัวเอง ระยะที่ 3 ดำเนินวิจัยเชิงทดลองเพื่อวิเคราะห์ผลของการใช้ต้นแบบการช่วยเหลือทางการศึกษาที่มีต่อกรอบความคิดเติบโตและทักษะทางการคำนวณ โดยผู้ให้ข้อมูลคือ นักเรียนที่มีภาวะเสี่ยงฯ จำนวน 3 คนและ ครู (ผู้ใช้ต้นแบบฯ) ที่ได้รับการคัดเลือกโดยใช้เกณฑ์ ผลการวิจัยระยะที่ 3 พบว่า หลังเข้ารับการทดลองนักเรียนทุกคนมีคะแนนกรอบความคิดเติบโตเพิ่มขึ้น มีคะแนนกรอบความคิดเติบโตเฉลี่ยหลังการทดลองเท่ากับ 20.67 (SD. …