Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Teacher Education and Professional Development

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Publication Year

Articles 1 - 22 of 22

Full-Text Articles in Education

การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์ Jan 2022

การวิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร International Baccalaureate ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย, ณัฐฐิรา นันทศิริรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการปฏิบัติการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย 2) ศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย และ 3) วิเคราะห์รูปแบบการนิเทศการสอนแบบหลากหลายวิธีการที่ส่งผลต่อความสำเร็จของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทย เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ โรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ที่เปิดสอนระดับชั้น Diploma Programme จำนวน 23 โรงเรียนทั่วประเทศไทย ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในระดับชั้น Diploma Programme รวมทั้งสิ้น 418 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Multiple Regression Analysis) เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การอธิบาย (R2) และค่าสัมประสิทธิ์ถดถอยพหุคูณ (β) ของตัวแปรทำนายแต่ละตัว ผลการวิจัยพบว่า การนิเทศการสอนที่มีการปฏิบัติมากที่สุดคือ การนิเทศแบบพึ่งตนเอง การปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรมากที่สุดมี 2 ด้านคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน และด้านการวัดประเมินผล และผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างรูปแบบการนิเทศการสอนกับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานหลักสูตรของโรงเรียนนานาชาติหลักสูตร IB ระดับชั้น Diploma Programme ในประเทศไทยพบว่า รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองเป็นตัวแปรทำนายที่สำคัญที่สุด (β =.338, P=<.001) รองลงมาคือ รูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร (β =.126, P=.024)


การวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา, นัทท์ฐาอร สมเดช Jan 2022

การวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา, นัทท์ฐาอร สมเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการดำเนินงานขององค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 3) เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา เป็นวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ โรงเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับเหรียญทอง และรางวัลรองชนะเลิศระดับเหรียญทอง สถานศึกษายอดเยี่ยม ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ส่งเสริมการใช้นวัตกรรม PLC ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ในการแข่งขันระดับชาติ ปีการศึกษา 2560-2562 จำนวน 11 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูผู้สอนในโรงเรียน จำนวน 665 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถามลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ เพื่อศึกษาค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยพหุคูณของตัวแปรทำนายแต่ละองค์ประกอบ และวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณเป็นขั้นตอน เพื่อคัดเลือกตัวแปรทำนายที่ร่วมกันส่งผลได้ดีที่สุดต่อการปฏิบัติงานของครู และอธิบายความสามารถในการทำนายของแต่ละสมการ ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีระดับการดำเนินงานมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 5 ชุมชนกัลยาณมิตร โดยข้อที่มีระดับการดำเนินงานขององค์ประกอบชุมชนกัลยาณมิตรมากที่สุดคือ สมาชิกในกลุ่มมีการชื่นชมและสนทนาเชิงบวกเพื่อเสริมกำลังใจกันในการทำงาน ร่วมกันสร้างขวัญและกำลังใจต่อกัน เพื่อให้การดำเนินงาน PLC เป็นไปด้วยความสุขความเข้าใจ การปฏิบัติงานของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา ที่มีระดับการปฏิบัติงานมากที่สุด คือ ด้านที่ 1 การปฏิบัติหน้าที่ โดยข้อที่มีระดับการปฏิบัติงานของด้านการปฏิบัติหน้าที่ครูมากที่สุดคือ การยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ทางด้านเพศ เชื้อชาติ ศาสนา วัฒนธรรม และระดับการเรียนรู้ และองค์ประกอบของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพครูที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของครูมากที่สุด คือ องค์ประกอบที่ 6 โครงสร้างสนับสนุนชุมชน โดยข้อที่มีการดำเนินงานตามองค์ประกอบ โครงสร้างสนับสนุนชุมชนมากที่สุดคือ มีการกำหนดการหรือช่วงเวลาที่นอกเวลาสอนเพื่ออำนวยความสะดวกให้สมาชิกกลุ่มได้พบปะพูดคุยร่วมกัน รองลงมาคือองค์ประกอบที่ 5 ชุมชนกัลยาณมิตร ซึ่งสอดคล้องกับผลวิจัยที่กล่าวข้างต้น


วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สุตาภัทร เข็มวงษ์ Jan 2022

วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สุตาภัทร เข็มวงษ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาการทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) วิเคราะห์วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อ การทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 2,358 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 119 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูต่างชาติที่ปฏิบัติการสอนวิชาภาษาอังกฤษไม่น้อยกว่า 1 ปีการศึกษา ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และ เขต 2 จำนวน 438 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ แบบเติมข้อความ และแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ เพียร์สัน ค่าสถิติที่ใช้วัดความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระ (Tolerance) ค่า Variance Inflation Factor (VIF) ค่าสถิติที่ใช้วัดความเป็นอิสระต่อกันของความคลาดเคลื่อน (Durbin-Watson) และถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัยพบว่า 1) การปฏิบัติวัฒนธรรมองค์กรในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติมากที่สุด คือ ด้านความหลากหลาย 2) การทำงานของครูต่างชาติในภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยการทำงานของครูต่างชาติด้านที่มากที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติตน 3) วัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการทำงานของครูต่างชาติในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวม โดยวัฒนธรรมองค์กรที่ส่งผลต่อการทำงานของครูต่างชาติมากที่สุด คือ ด้านความเป็นเพื่อนร่วมงาน


ทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา, พัฒนพงศ์ ทองศรี Jan 2022

ทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา, พัฒนพงศ์ ทองศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับทักษะการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนที่ได้รับรางวัลโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับการปฏิบัติงานด้านผลลัพธ์ของโรงเรียนที่ได้รับรางวัลโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา 3) เพื่อศึกษาทักษะการนิเทศของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนที่ได้รับรางวัลคุณภาพแห่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 280 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล คือ ครูผู้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้างาน โรงเรียนละ 5 คน คือ งานหลักสูตร งานระดับชั้น งานบุคลากร งานนโยบายและแผน และงานบริหารการเงิน รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น จำนวน 810 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ ผลการวิจัย พบว่า 1. ระดับทักษะการนิเทศของผู้บริหารในภาพรวมมีค่าเฉลี่ย 4.04 อยู่ในระดับมาก 2. ระดับการปฏิบัติงานด้านผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลมีค่าเฉลี่ย 4.89 อยู่ในระดับมากที่สุด 3. ทักษะการนิเทศของผู้บริหารที่ส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลระดับมัธยมศึกษา มี 2 ทักษะ คือ ทักษะด้านการบริหารงานบุคคล และทักษะด้านการประเมินผล ทักษะด้านการบริหารงานบุคคลส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากลทั้งในภาพรวมและทุกด้าน และทักษะด้านการประเมินผลส่งผลต่อผลลัพธ์ของโรงเรียนมาตรฐานสากล 3 ซึ่งด้าน คือ ด้านหลักสูตรและกระบวนการ ด้านนักเรียนและผู้มีส่วนได้ส่วยเสีย และด้านบุคลากร


แนวทางการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศุภลักษณ์ ศรีเดช Jan 2020

แนวทางการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ศุภลักษณ์ ศรีเดช

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรจำนวน 1,110 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 285 โรงเรียน และผู้ให้ข้อมูลจำนวน 15 คน เครื่องมือ คือแบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละวิธี Priority Need Index (PNI) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่าสภาพปัจจุบันของการบริหารหลักสูตรภาษาจีนด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านการศึกษาวิเคราะห์และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรมีการปฏิบัติมากที่สุดอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารหลักสูตรภาษาจีนด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือด้านการศึกษาวิเคราะห์และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงสุด คือด้านการจัดสิ่งอำนวยความสะดวก แนวทางการบริหารหลักสูตรภาษาจีนของโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ 1) โรงเรียนควรส่งเสริมให้ครูภาษาจีนประชุมวิเคราะห์หลักสูตรร่วมกัน 2) โรงเรียนควรจัดชั่วโมงให้ครูชาวจีนสอนทักษะฟัง-พูดให้ครูไทย 3) โรงเรียนควรจัดชั่วโมงการสอนให้ครูไทยและครูชาวจีนอย่างเหมาะสม 4) โรงเรียนควรจัดแผนการเรียนตามความสนใจของผู้เรียน 5) โรงเรียนควรขอความสนับสนุนสถาบันขงจื่อสำหรับหนังสือเรียนและอุปกรณ์ 6) โรงเรียนควรจัดให้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย 7) โรงเรียนควรสนับสนุนให้มีการนิเทศการสอนครูภาษาจีนและติดตามการประเมินผลการนิเทศ 8) โรงเรียนควรส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับหลักสูตรภาษาจีน


การวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทย, มนันยา สายชู Jan 2020

การวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจากวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรในประเทศไทย, มนันยา สายชู

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในประเทศไทย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ วิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาในประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ.2552 จนถึง พ.ศ.2562 จำนวน 240 เรื่อง โดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ด้วยแบบวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตร สถิติที่ใช้ คือ การแจกแจงความถี่และการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) สถาบันที่มีการทำวิทยานิพนธ์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรมากที่สุด คือ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี ภายใต้คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ ในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน ซึ่งส่วนใหญ่ทำการวิจัยในระดับปริญญาโท พิมพ์เผยแพร่มากที่สุดในปีพุทธศักราช 2554 โดยกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี เป็นกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่มีการพัฒนาหลักสูตรมากที่สุด ซึ่งงานวิจัยส่วนใหญ่เป็นการพัฒนาหลักสูตรสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) 2) องค์ความรู้ที่ได้จากการวิเคราะห์การออกแบบหลักสูตร มีรายละเอียดดังนี้ 1. ปรัชญาการศึกษาที่นำมาเป็นแนวทางในการออกแบบหลักสูตรที่นำมาใช้มากที่สุด คือ ปรัชญาพิพัฒนาการนิยม 2. แนวคิดที่ใช้ในการออกแบบหลักสูตรมากที่สุด คือ แนวคิดที่ยึดกิจกรรมและปัญหาของสังคม ท้องถิ่นหรือชุมชน 3. รูปแบบของหลักสูตรที่มีการออกแบบมากที่สุด คือ หลักสูตรเพื่อชีวิตและสังคม 4. จุดมุ่งหมายของหลักสูตรในด้านเนื้อหาที่มีการออกแบบมากที่สุด คือ จุดมุ่งหมายด้านอาชีพ ขณะที่จุดมุ่งหมายด้านพฤติกรรมการเรียนรู้ที่พบมากที่สุด คือ จุดมุ่งหมายด้านพุทธิพิสัย 5. เนื้อหาในหลักสูตรมีการออกแบบหลักสูตรมากที่สุด คือ เนื้อหาวิชาเฉพาะทางหรืออาชีพ 6. กิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้ออกแบบหลักสูตรนำมาบรรจุไว้ในหลักสูตรมากที่สุด คือ กิจกรรมการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนปฏิบัติจริง 7. การวัดประเมินผลโดยใช้การทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์เป็นวิธีการการวัดและประเมินผลที่มีผู้วิจัยเลือกใช้มากที่สุด ขณะที่การประเมินผลตามสภาพจริง ที่มีผู้วิจัยเลือกใช้มากที่สุด คือ การสังเกตพฤติกรรม


แนวทางการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร, สุรเชษฐ์ อโลภะตานนท์ Jan 2020

แนวทางการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร, สุรเชษฐ์ อโลภะตานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูต่อการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเสนอแนวทางการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ดำเนินการเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูต่อการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา ประชากร คือ โรงเรียนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 119 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูไทยที่สอนภาษาจีน 199 คน รองผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานวิชาการ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ หัวหน้างานนิเทศภายในโรงเรียน โรงเรียนละ 3 คน รวมทั้งสิ้น 556 คน เครื่องมือเป็น แบบสอบถาม 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการนิเทศการสอนเพื่อพัฒนาครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษา เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์จาก ผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ และครูผู้นิเทศการสอน จากโรงเรียนที่มีคะแนนเฉลี่ยวิชาความถนัดทางภาษาจีน (PAT 7.4) สูง 3 ปีติดต่อกัน ใน 10 อันดับแรก จำนวน 5 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 15 คน เครื่องมือ คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า สภาพปัจจุบันการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมาก ความคาดหวังการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสื่อการเรียนการสอน และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็นที่มีค่าสูงสุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน แนวทางการนิเทศการสอนครูไทยที่สอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และเขต 2 กรุงเทพมหานคร ประกอบไปด้วย …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำหลักสูตรการป้องกันการทุจริตไปใช้ของโรงเรียนสุจริตต้นแบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กิตติคุณกฤดากร สุขปัญญา Jan 2020

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำหลักสูตรการป้องกันการทุจริตไปใช้ของโรงเรียนสุจริตต้นแบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กิตติคุณกฤดากร สุขปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำหลักสูตรการป้องกันการทุจริตไปใช้ ของโรงเรียนสุจริตต้นแบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร ได้แก่ โรงเรียนสุจริตต้นแบบ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 225 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการ ฝ่ายวิชาการ และครูผู้สอนหลักสูตรการป้องกันการทุจริต โรงเรียนละ 3 คน รวมจำนวน 675 คน เครื่องมือ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับปัจจัยที่จะส่งผลต่อความสำเร็จในการนำหลักสูตรการป้องกันการทุจริตไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.29) เมื่อพิจารณาปัจจัยเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยด้านการบริหารหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน และปัจจัยด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร สำหรับปัจจัยด้านการบริหารหลักสูตร พบว่า คุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การจัดตารางสอน และการจัดครูเข้าสอน ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน พบว่า การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรด้านคุณธรรมจริยธรรม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตร และการจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ ปัจจัยด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร พบว่า การจัดบรรยากาศในโรงเรียนมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ การนิเทศติดตาม และการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง และชุมชน 2) ระดับความสำเร็จในการนำหลักสูตรการป้องกันการทุจริตไปใช้ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามหลักสูตรมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ ในด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามหลักสูตร พบว่า ด้านความรู้ความเข้าใจมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการปฏิบัติตน ในด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ พบว่า ตระหนักและเห็นความสำคัญของการต่อต้านและป้องกันการทุจริตมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองและมีความรับผิดชอบต่อสังคมและปฏิบัติตนเป็นผู้ที่ STRONG/ จิตพอเพียงต่อต้านการทุจริต 3) ผลการทำนายความสำเร็จในการนำหลักสูตรการป้องกันการทุจริตไปใช้ พบว่า ปัจจัยทั้ง 3 ด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จในการนำหลักสูตรดังกล่าวไปใช้ได้ร้อยละ 64.9 (p < .001) โดยตัวแปรทำนายที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ปัจจัยด้านการจัดการเรียนการสอน รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการบริหารหลักสูตร และปัจจัยด้านการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้หลักสูตร เมื่อพิจารณาความสำเร็จเป็นรายด้าน พบว่า ปัจจัยทั้ง 3 ด้านร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนตามหลักสูตรได้ร้อยละ 57.9 (p < .001) และร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความสำเร็จด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ร้อยละ 58.8 (p<.001)


ปัจจัยและแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ปกรณ์พงศ์ อินทองแก้ว Jan 2020

ปัจจัยและแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ปกรณ์พงศ์ อินทองแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยในการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) นำเสนอแนวทางในการขับเคลื่อนปัจจัยในการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 285 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ หัวหน้างานนิเทศภายใน จำนวน 855 คน ผู้ให้สัมภาษณ์ จำนวน 13 คน เครื่องมือคือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดย การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ร้อยละ (Percentage) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า โดยภาพรวม ปัจจัยในการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.09 พบว่า ปัจจัยที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ปัจจัยด้านบุคลากร มีค่าเฉลี่ย 4.13 อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจ มีค่าเฉลี่ย 4.08 อยู่ในระดับมาก และปัจจัยด้านการบริหาร มีค่าเฉลี่ย 4.06 อยู่ในระดับมาก ตามลำดับ แนวทางในการขับเคลื่อนปัจจัยในการดำเนินงานนิเทศภายในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านบุคลากร ควรมีการวางแผนการนิเทศไว้ในแผนการปฏิบัติประจำปี ใช้เทคนิคการนิเทศแบบเพื่อนช่วยเพื่อน การคัดเลือกบุคลากรในการดำเนินงานนิเทศภายในควรคัดเลือกบุคคลที่มีมนุษยสัมพันธ์ และควรกำหนดให้ครูมีการทำ PLC (Professional Learning Community) เพื่อให้ครูได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสะท้อนปัญหาต่าง ๆ และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ด้านแรงจูงใจ ควรส่งเสริมให้ครูปรึกษาสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างครูแบบเป็นกันเอง เพื่อให้ครูสามารถปรึกษาพูดคุยกันได้ ควรจัดให้มีการประชุมสม่ำเสมอ ในการประชุมควรมีการยกย่องเชิดชูเกียรติตามวาระโอกาสแก่ครูที่มีผลงาน และเป็นกำลังใจด้วยการยกย่องชมเชยและแสดง ความยินดี และผู้บริหารควรให้นโยบายและเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจน มอบหมายภาระงานตามความถนัดความรู้ความสามารถของครูแต่ละคน ด้านการบริหาร ควรจัดโครงสร้างการบริหารงานให้กระจายอำนาจทั้ง 4 ฝ่ายงาน เพื่อให้งานนิเทศภายในโรงเรียนประสบความสำเร็จ โดยให้ฝ่ายวิชาการดำเนินการนิเทศด้านงานสอนเป็นหลัก ควรส่งเสริมให้ครูเห็นความสำคัญของการนิเทศภายในโรงเรียนและเข้ามามีส่วนร่วมในการนิเทศ และผู้บริหารควรให้ความสำคัญกับการนิเทศภายในโรงเรียน โดยแต่งตั้งคณะกรรมการในการกำกับติดตามงานนิเทศภายใน


รูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนของครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอกของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เพ็ญรุ่ง คำจันทร์ Jan 2020

รูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนของครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอกของครูโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, เพ็ญรุ่ง คำจันทร์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการนิเทศที่ส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนของครูประถมศึกษาที่สอนไม่ตรงวิชาเอกของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2 จำนวน 278 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ รูปแบบการนิเทศที่ศึกษา ประกอบด้วย รูปแบบการนิเทศแบบคลินิก รูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเอง และรูปแบบการนิเทศโดยผู้บริหาร ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองส่งผลต่อ การปฏิบัติหน้าที่สอนในภาพรวมมากที่สุด โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 8.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 2) รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนด้านการจัดการเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดและปฏิบัติจริง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้มากที่สุด โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 8.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 3) รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนด้านการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ และแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการเรียนรู้มากที่สุด โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 4.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 4) รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนด้านการบริหารจัดการชั้นเรียนเชิงบวกมากที่สุด โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 10.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 5) รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอน ด้านการตรวจสอบและประเมินผู้เรียนอย่างเป็นระบบ และนำผลมาพัฒนาผู้เรียนมากที่สุด โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 6.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 6) รูปแบบการนิเทศแบบพึ่งตนเองส่งผลต่อการปฏิบัติหน้าที่สอนด้านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และให้ข้อมูลสะท้อนกลับเพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนรู้มากที่สุด ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงบวกและสามารถอธิบายความแปรปรวนได้ ร้อยละ 4.3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001


แนวทางการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พงศ์นที คงถาวร Jan 2020

แนวทางการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, พงศ์นที คงถาวร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ด้านการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษา 2) นำเสนอแนวทางการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรคือโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 239 โรง กลุ่มตัวอย่างจำนวน 71 โรง เลือกแบบเจาะจงจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 42 เขตพื้นที่ทั่วประเทศ เขตพื้นที่ละ 2 โรง ยกเว้นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 15 และเขต 22 ที่ไม่มีโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษจึงเหลือ 40 เขตพื้นที่ รวมเป็น 80 โรง ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาตามโครงสร้างการบริหาร 4 กลุ่มงาน รวม 400 คน โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายในการสัมภาษณ์ จำนวน 5 โรง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการจัดบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาและสายปฏิบัติการสอนแยกออกจากกัน ผู้ให้ข้อมูลคือผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการสถานศึกษาตามโครงสร้างการบริหาร 4 กลุ่มงาน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 1 ฉบับ ผลการวิจัยพบว่าสภาพปัจจุบันของการจัดการบุคลากรด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ในระดับมาก และการพัฒนาบุคลากรด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการวางแผนการนิเทศอยู่ในระดับมาก สภาพที่พึงประสงค์ของการจัดการบุคลากรด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการวิเคราะห์และ การออกแบบงานและการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรอยู่ในระดับมากที่สุด และการพัฒนาบุคลากรด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือการวางแผนการนิเทศอยู่ในระดับมากที่สุด ดัชนีและลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นของการจัดการบุคลากรด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือการบริหารผลตอบแทน และการพัฒนาบุคลากรด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุดคือการศึกษาสภาพความต้องการการนิเทศ และแนวทางการจัดการและพัฒนาบุคลากรสายสนับสนุนการศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการจัดการบุคลากรประกอบด้วย 1) การวิเคราะห์และการออกแบบงาน2) การวางแผนบุคลากร 3) การสรรหาและการคัดเลือกบุคลากร 4) การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร 5) การบริหารผลตอบแทน 6) การบริหารความก้าวหน้าทางอาชีพของบุคลากร และด้านการพัฒนาบุคลากรประกอบด้วย 1) การศึกษาสภาพความต้องการการนิเทศ 2) การวางแผนการนิเทศ 3) การสร้างสื่อและเครื่องมือการนิเทศ 4) การปฏิบัติการนิเทศ 5) การประเมินผลการนิเทศ


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรา วงค์ตาผา Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต, พัชรา วงค์ตาผา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมของนิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นิสิตนักศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต จำนวน 35 คน ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา การออกแบบและสร้างชิ้นส่วนผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ซึ่งได้มาจากด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) สถิตที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x ̅) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ทดสอบสมมุติฐานด้วย t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ มีองค์ประกอบได้ แก่ 1) กลุ่มบุคคล ผู้เรียนและผู้สอน 2) การเรียนแบบเผชิญหน้า 3) การเรียนแบบออนไลน์ 4) การติดต่อสื่อสาร 5) ระบบจัดการเรียนรู้ และหลักการสอนแบบทริซ ทฤษฎีการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น ขั้นตอนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 ขั้นการเตรียมสมองการเตรียมความพร้อม ขั้นที่ 2 ขั้นการทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมาย บริบทของผู้ใช้ ขั้นที่ 3 ขั้นการสร้างไอเดีย พัฒนาแนวความคิด และเลือกแนวคิดในการออกแบบ ขั้นที่ 4. ขั้นสร้างต้นแบบ รับฟังคำติชมจากผู้ใช้ ปรับปรุง และขั้นที่ 5 ขั้นนำมาทดสอบและใช้งานจริง 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสานด้วยการคิดเชิงออกแบบร่วมกับหลักการสอนแบบทริซ เพื่อส่งเสริมการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ระดับปริญญาบัณฑิต ผู้เรียน มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรมศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรโครงการโรงเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, ปิยะณัฐ จริงจิตร Jan 2018

การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรโครงการโรงเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, ปิยะณัฐ จริงจิตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรโครงการโรงเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนและผู้ปกครองที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 297 คู่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของสเปียร์แมน และการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลือกศึกษาในหลักสูตรโรงเรียนสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ของนักเรียนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร พบว่า ปัจจัยด้านรายได้ต่อเดือนของผู้ปกครองที่มากกว่า 15,000 บาท และ ปัจจัยด้านการประสัมพันธ์หลักสูตร (PR) มีความน่าจะเป็นที่ส่งผลให้เลือกศึกษาต่อในหลักสูตรโครงการสองภาษา (ไทย-อังกฤษ) ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ .01 ตามลำดับ


การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, ภาวพรรณ ขำทับ Jan 2018

การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์สำหรับนักศึกษาปริญญาบัณฑิต, ภาวพรรณ ขำทับ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักศึกษาปริญญาบัณฑิต ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 25 คน ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) สาระสำคัญ 2) ลำดับขั้นตอน 3) สังคมวิทยา 4) ผู้สอน 5) ผู้เรียน 6) สื่อและเทคโนโลยี และ 7) เครื่องมือประเมิน ขั้นตอนการเรียนรู้ 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมการ ประกอบด้วย วิเคราะห์จุดมุ่งหมาย กำหนดจุดประสงค์ และกระตุ้นผู้เรียน 2) ขั้นดำเนินการ ประกอบด้วย การสอนโดยนำเสนอด้วยวาจา การสาธิตและฝึกปฏิบัติอย่างง่าย การสาธิตและฝึกปฏิบัติที่ซับซ้อน การแก้ปัญหาผ่านภารกิจที่ได้รับ และการอภิปราย 3) ขั้นประเมินผล ประกอบด้วย การประเมินผลก่อนเรียน การประเมินผลระหว่างเรียน และการประเมินผลหลังเรียน ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีเสมือนจริงโดยใช้การฝึกหัดทางปัญญาจากต้นแบบเพื่อเสริมสร้างความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า คะแนนเฉลี่ยและพฤติกรรมความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ในการออกแบบบรรจุภัณฑ์หลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการประเมินความสามารถในการเรียนรู้จากแบบประเมินผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์ พบว่า ผู้เรียนมีความสามารถผ่านเกณฑ์การประเมินผลการออกแบบบรรจุภัณฑ์อยู่ในระดับดี


ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, รัตน์สินี รื่นนุสาน Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, รัตน์สินี รื่นนุสาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากร คือ ครูที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนประจำเป็นระยะเวลาตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป จำนวน 541 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็แบบสอบถาม 1 ฉบับ คือ (1) ปัจจัยด้านบุคคล (2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูในโรงเรียนประจำ (3) การคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจงแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลศึกษาการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำพบว่า (1) ปัจจัยด้านบุคคลมีองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ คือ ด้านภาระครอบครัว ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำด้านความผูกพันในงานของครู และส่งผลต่อด้านความสมดุลการมีชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน กับด้านตำแหน่งที่ได้รับมอบหมาย ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำด้านการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงาน (2) ปัจจัยด้านพึงพอใจในงานมีองค์ประกอบที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำคือ ด้านลักษณะงานส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำด้านความผูกพันในงานของครู และส่งผลต่อด้านการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงาน และปัจจัยด้านความพึงพอใจในงานด้านภาระงาน ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำ ด้านความสมดุลการมีชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน (3) ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำทั้ง 3 ด้าน ด้านที่ส่งผลคือด้านวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลด้านความผูกพันในงานของครูมากที่สุด และด้านความสมดุลการมีชีวิตส่วนตัวกับการทำงาน และด้านการยึดมั่นอุดมการณ์ในการทำงาน เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยทั้งสามด้านพบว่า ปัจจัยด้านองค์กรด้านวัฒนธรรมองค์กรส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำมากที่สุด ซึ่งหมายความว่า ครูที่มีความพึงพอใจด้านวัฒนธรรมองค์กรมาก จะส่งผลต่อการคงอยู่ของครูโรงเรียนประจำมาก


แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนประถมศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, วิไลพร ชิมชาติ Jan 2017

แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษโรงเรียนประถมศึกษา สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร, วิไลพร ชิมชาติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูเกี่ยวกับการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ 2) เพื่อเสนอแนวทางในการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ดำเนินการเป็น 2 ตอน โดยตอนที่ 1 การศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของครูเกี่ยวกับการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ประชากร คือ โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 431 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างจำนวน 431 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม 1 ฉบับ แบบมาตราส่วนประมาณค่า วิเคราะห์ข้อมูลหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การจัดลำดับความสำคัญของการต้องการจำเป็นโดยวิธี Modified Priority Needs Index (PNI) ตอนที่ 2 การศึกษาแนวทางการนิเทศการสอนครูภาษาอังกฤษ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ จาก ศึกษานิเทศก์ จำนวน 5 คน ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 5 คน ครูผู้นิเทศการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน รวม 15 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษ ด้านหลักสูตร 1) ควรกำหนดนโยบายการนิเทศการสอนครูผู้สอนภาษาอังกฤษอย่างเป็นระบบ 2) ควรจัดอบรมให้ความรู้เรื่องการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนกรุงเทพมหานครโดยเฉพาะ เช่น หลักสูตรท้องถิ่นเป็นภาษาอังกฤษ หลักสูตร Jolly phonics เป็นหลักสูตรเพิ่มเติมทุกโรงเรียน 3) ต้องมีนโยบายให้ครูจัดทำและส่งแผนการจัดการเรียนรู้เป็นประจำ ติดตาม ประเมินผลอย่างต่อเนื่อง 4) ควรนิเทศการสอนครูผู้สอนโดยการนิเทศแบบคลินิก Lesson Study, Instructional Rounds หรือ Mini Observation เป็นต้น ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 1) ควรจัดอบรมเพื่อพัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแนวใหม่ตามกรอบมาตรฐานความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล (CEFR) 2) ควรจัดศึกษานิเทศก์ภาษาอังกฤษให้มีจำนวนเพียงพอที่จะสามารถนิเทศครูภาษาอังกฤษได้ทุกโรงเรียน 3) ส่งเสริมให้ครูผู้สอนภาษาอังกฤษและครูชาวต่างชาติ ร่วมกับโรงเรียนในเครือข่ายหรือสำนักงานเขต จัดกิจกรรมร่วมกัน 4) ควรจัดตารางสอนให้ครูไทยเข้าสอนควบคู่กับครูชาวต่างชาติ 5) ควรส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูเข้ารับการอบรมเกี่ยวกับจัดการเรียนการสอนและต้องส่งรายงานการอบรมทุกครั้ง …


ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร, สิทธิศักดิ์ ปะวันเณ Jan 2017

ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร, สิทธิศักดิ์ ปะวันเณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนของครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษระดับประถมศึกษาในโรงเรียนเรียนร่วม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ประชากร คือครูผู้สอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 202 คน จาก 37 โรงเรียน วิเคราะห์ ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า ครูผู้สอนมีความต้องการการนิเทศการสอนอยู่ในระดับมากทุกด้าน ตามลำดับดังนี้ ด้านการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP) และแผนการสอนเฉพาะบุคคล (IIP) (µ=4.05) ด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ (µ=4.03) ด้านเทคนิคการสอนและสื่อการสอน (µ=4.03) และการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน ( µ=3.94) ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอน พบว่า 1) ปัจจัยด้านอายุ ช่วงอายุ 21 – 30 ปี ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ช่วงอายุ 31 – 40 ปี ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และช่วงอายุ 51 – 60 ปี ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนด้านเทคนิคการสอนและสื่อการสอน มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ปัจจัยด้านวุฒิการศึกษา พบว่า วุฒิการศึกษาปริญญาตรีส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนทุกด้าน โดยส่งผลมากที่สุด คือด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) ปัจจัยด้านระดับชั้นที่สอน พบว่า ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนทุกด้าน โดยส่งผลมากที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) ปัจจัยด้านภาระงาน พบว่า ภาระงานที่รับผิดชอบมากกว่า 1 ภาระงาน และ 5) ปัจจัยด้านประสบการณ์การสอน พบว่า การที่ไม่เคยมีประสบการณ์การสอนนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ ส่งผลต่อความต้องการการนิเทศการสอนด้านการเตรียมความพร้อมนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษ และ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนอกห้องเรียน มากที่สุด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ …


การพัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู, ศิริเดช เทพศิริ Jan 2017

การพัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู, ศิริเดช เทพศิริ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู (2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ประชากรคือ ครูระดับมัธยมศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 และ 2 กรุงเทพมหานคร โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 486 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling) เครื่องมือในการวิจัยมี 2 ฉบับ ประกอบด้วย (1) แบบประเมินองค์ประกอบและตัวบ่งชี้ของทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู (2) แบบสอบถามทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู จากนั้นนำข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของกลุ่มตัวอย่างและทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครูมาวิเคราะห์ โดยใช้สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สัมประสิทธิ์การกระจาย (Coefficient of variation) ความเบ้ (Skewness) ความโด่ง (Kurtosis) รวมทั้งวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้ด้วยการวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson's product moment coefficient) ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Window และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง (Second Order Confirmatory Factor Analysis) สำหรับโมเดลตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยโปรแกรม LISREL ผลการพัฒนาตัวบ่งชี้ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครู พบว่า ทัศนคติเชิงบวกต่อการนิเทศของครูสามารถแบ่งได้เป็น 3 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) องค์ประกอบด้านปัญญา (Cognitive Component) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 1.1 มีความรู้ที่ถูกต้องในเรื่องการนิเทศ 1.2 มีความเข้าใจในเรื่องการนิเทศ 1.3 มีความเชื่อมั่นว่าการนิเทศเป็นการพัฒนาวิชาชีพของครู 2) องค์ประกอบด้านความรู้สึก (Affective Component) ประกอบด้วย 3 ตัวบ่งชี้ 2.1 เห็นความสำคัญและประโยชน์ของการนิเทศ 2.2 มีความยินดีและเต็มใจที่จะรับการนิเทศ 2.3 ยอมรับและไว้วางใจผู้นิเทศ 3) องค์ประกอบด้านพฤติกรรม (Behavioral Component) …


แนวทางการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร, ภานุพงศ์ ใจเยือกเย็น Jan 2017

แนวทางการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร, ภานุพงศ์ ใจเยือกเย็น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันเกี่ยวกับความรู้ทักษะและความคาดหวังในการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ 2) เพื่อนำเสนอแนวทางการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ ประชากรคือครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 253 คน ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง 2 ฉบับ ผลการวิจัย พบว่า แนวทางการพัฒนาครูไทยที่สอนในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ 1. การพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ควรจัดสิ่งแวดล้อมระหว่างครูไทยกับครูต่างชาติให้นั่งทำงานอยู่ภายในกลุ่มสาระการเรียนรู้เดียวกันรวมถึงการจัดให้ทำกิจกรรมต่างๆ ให้ครูพัฒนาตนเองในการฝึกทักษะภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวัน ควรกำหนดนโยบายให้ครูไทยที่สอนในโครงการ English Program สอบวัดทักษะภาษาอังกฤษทุกๆ 3 ปีและจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมให้ครูไทยไปอบรมความรู้ด้านการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้งในและต่างประเทศ 2. การพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ควรจัด English Program Boot Camp ให้ครูไทยที่สอนคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สังคมศึกษาฯ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สุขศึกษา ก่อนที่จะเข้าสอนในโครงการ English Program ครูไทยควรวางแผนร่วมกับครูต่างชาติในการจัดทำแผนจัดทำแผนการเรียนรู้เป็นภาษาอังกฤษในรายวิชาโดยให้ครูต่างชาติเป็นผู้ตรวจสอบด้านภาษา ควรจัดสรรงบประมาณจากเงินอุดหนุนช่วยเหลือพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้กับครูไทยที่สามารถจัดการเรียนการสอนในโครงการ English Program จัดการนิเทศการสอนให้ครูไทยโดยใช้เทคนิคการนิเทศแบบคลินิค Mini Observation จัดการนิเทศ Lesson Study ให้ครูไทยได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับครูต่างชาติ 3. การใช้สื่อและอุปกรณ์ในการจัดการเรียนการสอน ให้ครูไทยจัดทำเอกสารประกอบการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษโดยมีครูต่างชาติเป็นผู้ตรวจสอบด้านภาษา จัด English teacher Camp เพื่อสร้างและใช้สื่อการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษ ให้ครูเลือกใช้สื่อออนไลน์ Google Classroom, Google App โดยเลือกให้สอดคล้องกับบทเรียน รายวิชา 4. การพัฒนาการวัดและประเมินผล สนับสนุนให้ครูไทยในกลุ่มเครือข่ายโรงเรียนประชุมและวางแผนเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล ให้ครูไทยและครูต่างชาติร่วมกันออกแบบเครื่องมือในการวัดและประเมินผล 5. การพัฒนาการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ให้ครูไทยไปร่วมทำกิจกรรม ฝึกทำกิจกรรม ศึกษาความรู้ในการทำกิจกรรมทั้งในและต่างประเทศ สนับสนุนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรในลักษณะเครือข่ายโรงเรียนได้เข้าร่วมการแข่งขันทักษะ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี สังคมศึกษาฯ โดยใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางในการแข่งขัน


การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, ภานุพันธุ์ ขันธะ Jan 2017

การวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู, ภานุพันธุ์ ขันธะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จำนวน 320 คน โดยใช้การสุ่มแบบโควตาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเปรียบเทียบวิเคราะห์โดยหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ แล้วนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลในรูปตารางประกอบคำบรรยายและวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ระดับพฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายพฤติกรรมพบว่าอยู่ในระดับมากทุกพฤติกรรม ระดับการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในภาพรวมอยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการนิเทศของครูพี่เลี้ยงส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้และการปฏิบัติงานในสถานศึกษาของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นงานพบว่างานวิชาการ และงานด้านธุรการในชั้นเรียนพฤติกรรมการนิเทศแบบไม่ชี้นำส่งผลมากที่สุด ส่วนงานด้านปกครอง และงานพัฒนานักเรียนด้านต่าง ๆ พฤติกรรมการนิเทศแบบร่วมมือส่งผลมากที่สุด


ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล Jan 2017

ปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูที่สอนในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาโครงการโรงเรียนประชารัฐ, มารุต ทรรศนากรกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู (2) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลเชิงสาเหตุของปัจจัยด้านการนิเทศที่มีต่อสมรรถนะครูกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (3) เพื่อวิเคราะห์ความหลากหลายของความสัมพันธ์เชิงสาเหตุด้านการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครู ประชากร คือ ครูโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาในโครงการโรงเรียนประชารัฐ จำนวน 21,812 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Random Sampling) จำนวน 1,040 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ มีทั้งหมด 2 ตอน คือ ตอนที่ 1 แบบสอบถามข้อมูลด้านสถานภาพและสมรรถนะครู และตอนที่ 2 แบบสอบถามปัจจัยเชิงสาเหตุด้านการนิเทศ ในงานวิจัยนี้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติอนุมานและสถิติเชิงสรุปอ้างอิง การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) และโมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling) ซึ่งผู้วิจัยใช้โปรแกรม SPSS for Window และ R ร่วมกันในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการนิเทศ พฤติกรรมการนิเทศและกิจกรรมการนิเทศเป็นปัจจัยเชิงสาเหตุของการนิเทศที่มีอิทธิพลต่อสมรรถนะครูโดยสามารถนำมาสร้างเป็นโมเดลเชิงสาเหตุของการนิเทศและวิเคราะห์ความหลากหลายได้ 4 โมเดล ดังนี้ 1. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบคลินิก มีรูปแบบการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.44) รองลงมาเป็นพฤติกรรมการนิเทศ (β = 0.29) และกิจกรรมการนิเทศ (β = 0.21) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความผันแปรร่วมกับสมรรถนะครูร้อยละ 77.4 2. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบร่วมพัฒนาวิชาชีพ มีพฤติกรรมการนิเทศเป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.42) ตามด้วยกิจกรรมการนิเทศ (β = 0.26) และรูปแบบการนิเทศ (β = 0.25) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีความผันแปรร่วมกับสมรรถนะครูร้อยละ 74.1 3. โมเดลเชิงสาเหตุของรูปแบบการนิเทศแบบพัฒนาตนเองมีรูปแบบการนิเทศ เป็นตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อสมรรถนะครูสูงสุด (β = 0.79) รองลงมาเป็นกิจกรรมการนิเทศ (β = …


กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต8, วิศนี ใจฉกาจ Jan 2017

กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต8, วิศนี ใจฉกาจ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันของความต้องการในการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (2) เพื่อศึกษาสภาพพึงประสงค์ของความต้องการในการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (3) เพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมของการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ (4) เพื่อนำเสนอกลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ ประชากร คือ ครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 จำนวน 2,683 คน จาก 55 โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ จากนั้นจึงเลือกการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือเป็นแบบสอบถามและแบบประเมินความเหมาะสมของร่างกลยุทธ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนี PNI Modified และการวิเคราะห์เนื้อหา​ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (x̄=3.88) แต่เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (x̄ = 3.93) สภาพพึงประสงค์ของการพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์ ในภาพรวมพบว่า มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (x̄ = 4.32) แต่เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ การสอนคิดวิเคราะห์เนื้อหา มีค่าเฉลี่ยระดับมาก (x̄ = 4.35) ผลการทดสอบค่าดัชนีจัดเรียงลำดับความสำคัญความต้องการจำเป็น (Modified Priority Needs Index; PNImodified) ในภาพรวมมีค่า PNImodified เท่ากับ 0.116 เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า การสอนคิดวิเคราะห์ความสัมพันธ์ มีค่า PNImodified เท่ากับ 0.120 เป็นลำดับที่หนึ่ง กลยุทธ์การพัฒนาครูด้านการสอนคิดวิเคราะห์โรงเรียนมัธยมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 8 ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก และ 16 วิธีการ ดังนี้ 1) การพัฒนาศักยภาพครูด้านการได้รับความรู้ในการคิดวิเคราะห์ มี 5 วิธีการ 2) กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบคิดวิเคราะห์ มี 4 วิธีการ 3) การพัฒนาศักยภาพครูด้านการใช้สื่อ …