Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Science and Mathematics Education

Theses/Dissertations

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 51

Full-Text Articles in Education

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, ธิปัตย์ สุขเกิด Jan 2022

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดที่มีต่อความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, ธิปัตย์ สุขเกิด

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยกึ่งทดลองเกี่ยวกับความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมโดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิด โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3. ศึกษาพัฒนาการด้านความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิด กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดชุมพร จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ก่อนทดลองและหลังทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) พัฒนาการความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวการศึกษาคณิตศาสตร์ที่สอดคล้องกับชีวิตจริงร่วมกับการใช้คำถามเชิงการรู้คิดดีขึ้น


การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, เชฏฐพร เชื้อสุพรรณ Jan 2021

การพัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4, เชฏฐพร เชื้อสุพรรณ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็มหลังทดลอง 3) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังจากการใช้ชุดกิจกรรม 4) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ใช้ชุดกิจกรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของจังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์ ทั้งหมดจำนวน 4 ฉบับ ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดกิจกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดการคิดให้เป็นคณิตศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมีคุณภาพ 2) นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 65 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) พัฒนาการของความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้คณิตศาสตร์ของนักเรียนในด้านการอธิบายแนวทางการแก้ปัญหา ด้านการระบุความรู้ทางคณิตศาสตร์ และด้านการระบุตัวอย่างที่ใกล้เคียงเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีตามลำดับ


ผลการใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, จิรวัฒน์ ตัณทานนท์ Jan 2021

ผลการใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4, จิรวัฒน์ ตัณทานนท์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพกับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) เพื่อศึกษาลักษณะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนหลังเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 โรงเรียนสุโขทัยวิทยาคม ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 35 คน ใช้เวลาในการวิจัย 20 คาบเรียน เป็นเวลา 10 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน และแบบสัมภาษณ์ลักษณะการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบลำดับเครื่องหมายของข้อมูลที่จับกันเป็นคู่ของวิลคอกซ์สัน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 2) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่เรียนโดยใช้รูปแบบการสอนที่เน้นกระบวนการแอบสแตรกชันร่วมกับกลวิธีการเรียนรู้เชิงภาพมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนตัวแทนส่วนใหญ่ สามารถแยกแยะข้อมูล ค้นหาความสัมพันธ์ และค้นหาหลักการหรือความรู้มาอธิบายความสัมพันธ์จากสถานการณ์ที่กำหนดได้


กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมากับการพัฒนาความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, ธัญวรัตน์ สมทรัพย์ Jan 2021

กระบวนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมากับการพัฒนาความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา, ธัญวรัตน์ สมทรัพย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา 2) เปรียบเทียบความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมากับเกณฑ์ร้อยละ 70 ของคะแนนเต็ม 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษในจังหวัดร้อยเอ็ด ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 36 คน ใช้เวลาในการวิจัย 18 คาบเรียน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การคิดเชิงอุปมา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน แบบประเมินลักษณะการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ระหว่างเรียน และแบบสัมภาษณ์การใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา มีความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามองค์ประกอบย่อยทั้ง 2 องค์ประกอบ 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา มีความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ70 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามองค์ประกอบย่อยทั้ง 2 องค์ประกอบ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้การคิดเชิงอุปมา มีพัฒนาการความสามารถในการใช้ตัวแทนทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น ทั้งในภาพรวมและเมื่อจำแนกตามองค์ประกอบย่อยทั้ง 2 องค์ประกอบ


ผลการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธนิต กาญจนโกมล Jan 2021

ผลการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย, ธนิต กาญจนโกมล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังเป็นทักษะหนึ่งในทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 มีลักษณะของการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนและมีความสอดคล้องกับสถานการณ์ในชีวิตจริง การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังและเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้สืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 สังกัดคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตกรุงเทพมหานครจำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัยได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลัง แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการสังเกต และแบบประเมินการทำงานเป็นทีม ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน โดยก่อนเรียนนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 30 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 70 และหลังเรียนพบว่าความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังของนักเรียนอยู่ในระดับสูงคิดเป็นร้อยละ 80 ระดับปานกลางคิดเป็นร้อยละ 20 และไม่พบนักเรียนที่มีความสามารถนี้ในระดับต่ำ นอกจากนี้กระบวนการสืบสอบแบบแนะนำเน้นกระบวนการสามารถส่งเสริมให้เกิดความสามารถในการแก้ปัญหาแบบร่วมมือรวมพลังในทุกองค์ประกอบ ส่งเสริมสมรรถนะด้านการจัดการและการทำงานเป็นทีม ความเข้าใจมโนทัศน์และการประยุกต์ใช้ความรู้อีกด้วย


ผลการสอนธรรมชาติวิทยาศาสตร์แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่ออัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัฐพงศ์ วงค์เขื่อนแก้ว Jan 2021

ผลการสอนธรรมชาติวิทยาศาสตร์แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิดที่มีต่ออัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัฐพงศ์ วงค์เขื่อนแก้ว

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ (2) เพื่อเปรียบเทียบอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ก่อนและหลังการได้รับการจัดการเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์แบบชัดแจ้งร่วมกับการสะท้อนคิด กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนไทยจากโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดลำพูน ปีการศึกษา 2564 การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยแบบผสมวิธี ซึ่งแบ่งการศึกษาเป็น 2 ระยะ โดยการศึกษาระยะที่ 1 มีรูปแบบการวิจัยแบบวิจัยเชิงสำรวจ เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดย (1) แบบวัดอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และ (2) แบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แบบปรนัย และการศึกษาระยะที่ 2 มีรูปแบบการวิจัยแบบวิจัยเชิงทดลองแบบการทดลองเบื้องต้น เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้เครื่องมือ ดังเช่นการศึกษาระยะที่ 1 และเพิ่มเติมแบบวัดความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ แบบอัตนัย มีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One-sample t-test และ Dependent sample t-test โดยใช้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง เพื่อเข้าใจรายละเอียดของอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ และความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ของนักเรียน สรุปผลการศึกษาระยะที่ 1 ดังนี้ (1) กลุ่มเป้าหมายโดยเฉลี่ยแล้วมีระดับอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยภายในองค์ประกอบของอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์ จะเห็นว่านักเรียนมีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะความหลงใหลในวิทยาศาสตร์ (ATS 1) และค่านิยมทางวิทยาศาสตร์ (ATS 2) ที่มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม และยังเป็นผู้ต้องการมีประสบการณ์ทางวิทยาศาสตร์ (OSLE 2) สูงขึ้น (2) กลุ่มเป้าหมายโดยเฉลี่ยแล้วมีระดับความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเป็นผู้ที่มีความเข้าใจขอบข่าย NOS 3 กิจการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีแนวโน้มสูงกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อเทียบกับขอบข่ายอื่น และสรุปผลการศึกษาระยะที่ 2 ดังนี้ (1) ระดับอัตลักษณ์ทางวิทยาศาสตร์หลังการได้รับการจัดการเรียนรู้มีระดับสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ความเข้าใจธรรมชาติของวิทยาศาสตร์หลังการได้รับการจัดการเรียนรู้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้วงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุนิษา สภาพไทย Jan 2021

ผลการใช้วงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่มีต่อความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุนิษา สภาพไทย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่เรียนด้วยวงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ งานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียวที่มีการทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน นักเรียนกลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนจัดการเรียนรู้ตามวงจรการประเมิน การเรียนการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ (2) แบบทดสอบความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยา วิเคราะห์ข้อมูลความก้าวหน้าในการเรียนรู้ ด้วยค่าเฉลี่ยร้อยละของนักเรียนที่มีความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาในแต่ละระดับ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่ (ร้อยละ 42.86) มีความเข้าใจมโนทัศน์ชีววิทยาอยู่ในระดับที่ 4 ซึ่งเป็นระดับแนวคิดที่มีความสัมพันธ์กัน ความก้าวหน้าในการเรียนรู้มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียนมี 3 แบบ ได้แก่ (1) นักเรียน 14 คน (ร้อยละ 50) มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 2 ระดับขึ้นไป (2) นักเรียน 12 คน (ร้อยละ 42.86) มีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น 1 ระดับ และ (3) มโนทัศน์ชีววิทยาของนักเรียน 2 คน (ร้อยละ 7.14) ไม่เปลี่ยนแปลง


กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์กับการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, คณาธิป นรสิงห์ Jan 2021

กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์กับการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา, คณาธิป นรสิงห์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์กับเกณฑ์ร้อยละ 65 ของคะแนนเต็ม และ 3) ศึกษาพัฒนาการของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2564 ของโรงเรียนแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 31 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ และแบบสัมภาษณ์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่า ก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหา ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนมากกว่าร้อยละ 65 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) การจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสร้างตัวแบบทางคณิตศาสตร์ส่งผลต่อพัฒนาการของความสามารถใน การแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทุกองค์ประกอบ โดยขั้นเชื่อมโยงเพื่อนำไปสู่ตัวแบบเป็นขั้นที่ส่งผลมากที่สุด และความสามารถในการแก้ปัญหาทางมีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่ดีขึ้น โดยนักเรียนมีพัฒนาการของความสามารถในการบูรณาการข้อมูลมากที่สุด ตามด้วยการแปลความหมายของปัญหา การวางแผนและกำกับตรวจสอบ และการดำเนินการตามแผน ตามลำดับ


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, เสาวลักษณ์ สุวรรณชัยรบ Jan 2020

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์ และการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, เสาวลักษณ์ สุวรรณชัยรบ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบศึกษากลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 2) เปรียบเทียบการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างก่อนกับหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบ ซึ่งการเรียนรู้แบบสืบสอบเป็นการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้สืบค้นความรู้จากคำถาม สถานการณ์ หรือปัญหาที่นักเรียนสนใจ จนนำไปสู่การหาคำตอบหรือแก้ปัญหานั้นด้วยตนเอง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ที่ได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 1 ห้อง ซึ่งเป็นห้องเรียนที่มีการจัดการห้องเรียนปกติแบบคละความสามารถ จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบ เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.78 และแบบวัดการคิดอย่างมีวิจารณญาณฉบับก่อนเรียนและฉบับหลังเรียน มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.87 และ 0.74 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบต่ำกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 2) การคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้การเรียนรู้แบบสืบสอบสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี React ที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, จารุวรรณ ว่องไววิริยะ Jan 2020

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กลวิธี React ที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2, จารุวรรณ ว่องไววิริยะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3) เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ ฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน แบบสะท้อนคิด และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้กลวิธี REACT มีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น


ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พลฐวัตร ฉิมทอง Jan 2020

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานที่มีต่อความรู้ทางคณิตศาสตร์และความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, พลฐวัตร ฉิมทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานกับเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่เรียนด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงาน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 3) เปรียบเทียบความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังจากได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานกับเกณฑ์ร้อยละ 60 และ 4) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานระหว่างเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์ แบบวัดความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ใบงาน และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ฐานนิยม การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานมีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานมีความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์หลังเรียนไม่สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้ตัวอย่างงานมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของความสามารถในการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น


การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทำนายแลกเปลี่ยนความคิดสังเกตอธิบาย, จารุภา กิจเจริญปัญญา Jan 2020

การพัฒนาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นด้วยรูปแบบการเรียนการสอนทำนายแลกเปลี่ยนความคิดสังเกตอธิบาย, จารุภา กิจเจริญปัญญา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบศึกษากลุ่มเดียววัดหลายครั้งแบบอนุกรมเวลา มีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้รูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบายที่มีต่อความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นก่อนและหลังทดลอง 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ระหว่างการใช้รูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย 3) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ก่อนและหลังการทดลองด้วยรูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย 4) เพื่อศึกษาเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมของนักเรียน ระหว่างการใช้รูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยเลือกโรงเรียนแบบเจาะจง ได้แก่ โรงเรียนสาธิตแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในกรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย และเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบสอบความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ เป็นแบบสอบปรนัยคู่ขนาน 2 ฉบับ 2) แบบประเมินความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดเจตคติต่อการทำงานเป็นทีมค่าความเที่ยง และ 4) แบบสัมภาษณ์เจตคติต่อการทำงานเป็นทีม มีลักษณะเป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง ค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) ของเครื่องมือทั้ง 4 เครื่องมือ มีค่าระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนเมื่อวัดซ้ำ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต อธิบาย มีความสามารถในการสร้างแบบจำลองทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนเฉลี่ยร้อยละ 83.73 อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถในการสร้างแบบจำลองภาพรวมจากการวัดทั้ง 4 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 79.79 อยู่ในระดับดี ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการสอนทำนาย แลกเปลี่ยนความคิด สังเกต …


การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร, ชยวัฏ ศิริพันธศักดิ์ Jan 2020

การศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร, ชยวัฏ ศิริพันธศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และ การรู้คิดของนักเรียน 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องระหว่างกรอบแนวคิดการวิจัยที่แสดงองค์ประกอบและความสัมพันธ์ของความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) เพื่อวิเคราะห์กระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียนที่สามารถแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ได้ดี กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 187 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบความสามารถใน การแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ ซึ่งมีความยาก 0.35 ถึง 0.71 อำนาจจำแนก 0.24 ถึง 0.42 และความเที่ยง 0.807 2) แบบวัดการรู้คิด ซึ่งมีค่าความเที่ยง 0.745 3) แบบบันทึกการคิดออกเสียงความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ และ 4) ประเด็นการสัมภาษณ์ การแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยเป็นดังนี้ 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์อยู่ในระดับปานกลาง และมีการรู้คิดอยู่ในระดับสูง 2) กรอบแนวคิดการวิจัยสอดคล้องกับหลักฐานเชิงประจักษ์ (χ2 = 9.19, df = 11, p–value = 0.60, RMSEA = 0.00, RMR = 0.02, SRMR = 0.02, GFI = 0.99, AGFI = 0.96) โดยการรู้คิดมีอิทธิพลทางบวกในระดับสูงต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้งนี้ น้ำหนักองค์ประกอบทั้งหมดในการวัดความสามารถใน การแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยองค์ประกอบของความสามารถในการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์และการรู้คิดที่มีน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานสูงสุดคือ กระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ในภาพรวม และความรู้เกี่ยวกับการคิด ตามลำดับ 3) นักเรียนที่แก้ปัญหาทางฟิสิกส์ได้ดีมีกระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ 3 ขั้นตอน ได้แก่ การวิเคราะห์ปัญหา การดำเนินการแก้ปัญหา และการตรวจสอบผลการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ นักเรียนใช้การรู้คิดทั้งความรู้เกี่ยวกับการคิดและการกำกับควบคุม การคิดในระหว่างกระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ และที่มาของกระบวนการแก้ปัญหาทางฟิสิกส์ของนักเรียน ได้แก่ การฝึกฝนด้วยตนเอง การสืบค้นในกรณีที่แก้ปัญหาทางฟิสิกส์ไม่สำเร็จ การเรียนกับครูที่โรงเรียน การเรียนพิเศษ และ …


ผลการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศักรินทร์ อะจิมา Jan 2020

ผลการจัดการเรียนการสอนชีววิทยาโดยใช้แบบจำลองเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย, ศักรินทร์ อะจิมา

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน 2) ศึกษากระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ผ่านการสร้างแบบจำลองของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน กลุ่มที่ศึกษาคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 34 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ภาคเรียนที่ 1 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์ - คณิตศาสตร์ ปีการศึกษา 2563 ในโรงเรียนสาธิตสังกัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม รูปแบบวิจัยเป็นแบบเชิงทดลองเบื้องต้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐาน รวม 23 คาบ และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ตอนที่ 1 คือ แบบวัดความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ตอนที่ 2 คือ แบบสังเกตกระบวนการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยายได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) ร้อยละ (%) การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานมีคะแนนความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์เฉลี่ยหลังเรียนรวมทุกองค์ประกอบสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ความสามารถในการสร้างข้อกล่าวอ้างและเหตุผลสนับสนุนข้อกล่าวอ้างมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 คิดเป็นร้อยละ 44.00 และความสามารถในการสร้างข้อโต้แย้งที่แตกต่างออกไปมีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนน้อยที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.53 คิดเป็นร้อยละ 28.15 เมื่อพิจารณาตามระดับความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ พบว่า นักเรียนร้อยละ 58.82 มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ในระดับที่สูงขึ้น ขณะที่นักเรียนร้อยละ 44.12 ไม่มีการเปลี่ยนแปลงความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ 2) นักเรียนมีรูปแบบกระบวนการโต้แย้งผ่านการสร้างแบบจำลองที่แตกต่างกัน


การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริมเรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัชชานนท์ ดิษเจริญ Jan 2020

การพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาผสมผสานความเป็นจริงเสริมเรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ เพื่อส่งเสริมมโนทัศน์ทางชีววิทยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัชชานนท์ ดิษเจริญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางชีววิทยา สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชีววิทยา จำนวน 5 ท่าน และผู้ออกแบบหลักสูตรวิชาชีววิทยาในสถานศึกษา จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบบันทึกการสนทนากลุ่มออนไลน์แบบมีโครงสร้างเรื่อง ข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับลักษณะของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ขั้นตอนที่ 2 ออกแบบ สร้าง และประเมินสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา จำนวน 3 ท่าน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการผลิตสื่อการเรียนรู้ จำนวน 3 ท่าน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสบการณ์เรียนเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาต้นแบบ เรื่องเทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ประกอบด้วย 4 หัวเรื่อง และ 2) แบบประเมินความเหมาะสมและสอดคล้องของสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ขั้นตอนที่ 3 นำสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ไปทดลองใช้ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูชีววิทยา จำนวน 1 ท่าน และนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ยังไม่มีประสบการณ์เรียนเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) สื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ ที่ปรับปรุงแก้ไขจากขั้นตอนที่ 2 และ 2) แบบวัดมโนทัศน์ทางชีววิทยาเรื่อง เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ จำนวน 20 ข้อ ในรูปแบบของแบบทดสอบแบบเลือกตอบสองระดับ มีค่าความยากอยู่ในช่วง 0.36-0.79 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ในช่วง 0.43-0.71 และค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.77 …


การศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร, ศิริยุบล หมื่นศรี Jan 2020

การศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของครูวิทยาศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ในกรุงเทพมหานคร, ศิริยุบล หมื่นศรี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ให้ข้อมูลเป็นครูวิทยาศาสตร์จำนวน 187 คนได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ในการวิจัยระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ผู้ให้ข้อมูลคือ ครูวิทยาศาสตร์ จำนวน 4 คนได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง ใช้แบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ แบบสัมภาษณ์ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 1 ส่วนแบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกตการจัดการเรียนรู้ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ สำหรับตอบวัตถุประสงค์การวิจัยข้อที่ 2 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยระยะที่ 1 พบว่า ครูวิทยาศาสตร์มีระดับความสามารถจัดอยู่ในกลุ่มพอใช้มากที่สุด รองลงมาคือ กลุ่มดี กลุ่มดีมาก และกลุ่มปรับปรุงตามลำดับ เมื่อพิจารณาในรายประเด็นที่ศึกษาพบว่า ด้านการวัดประเมินที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ตามมาด้วยการใช้สื่อที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ส่วนการสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณมีค่าเฉลี่ยเท่ากันในอันดับสุดท้าย ผลการวิจัยระยะที่ 2 ครูวิทยาศาสตร์จำนวน 2 คน จาก 4 คนมีการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แต่ในประเด็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ยังคงต้องได้รับการส่งเสริมพัฒนาต่อไป ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยด้านการพัฒนาตนเอง และปัจจัยด้านการสนับสนุน โดยปัจจัยส่วนบุคคลเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลมากที่สุด เนื่องจากครูทั้ง 4 คนได้อธิบายและลงรายละเอียดในปัจจัยนี้


ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ Jan 2020

ผลของการจัดการเรียนการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, จักรกฤต ภุชงค์ประเวศ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 2) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม 3) ศึกษาคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองรูปแบบการทดลองกลุ่มเดียวแบบวัดซ้ำ กลุ่มเป้าหมาย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง รวม 48 คน มีวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .817 2) แบบสอบถามความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .931 และ 3) แบบประเมินคุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .993 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนแตกต่างจากระหว่างเรียนครั้งที่ 2 ระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวัดโดยใช้แบบทดสอบ และการรับรู้ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนแตกต่างจากระหว่างเรียนครั้งที่ 1 และก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อวัดโดยใช้แบบสอบถาม 2) ความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับสูง 3) คุณภาพผลงานเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนอยู่ในระดับดี


การศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร, ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์ Jan 2020

การศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในกรุงเทพมหานคร, ศิรวิทย์ ปฐมชัยวาลย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงสำรวจมีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลกของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 2. เพื่อศึกษาระดับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 3. เพื่อศึกษาการวางแผนและการจัดการเรียนการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนระดับต้นแบบ ดําเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถามเรื่องการศึกษาสภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลก และแบบสอบถามเรื่องการศึกษาความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอน และเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้แบบสัมภาษณ์การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลก แบบบันทึกการสังเกตการจัดการเรียนการสอน แบบประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินบันทึกหลังสอน ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพและปัญหาของการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โลกสรุปได้ดังนี้ ด้านหลักสูตร และด้านการวัดและประเมินผล ไม่พบปัญหา ปัญหาส่วนใหญ่เป็นปัญหาทางด้านกระบวนการการจัดการเรียนรู้ พบว่า ครูไม่สามารถเข้าถึงสื่อการเรียนรู้ที่เหมาะสมได้ 2. ระดับความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนของครูวิทยาศาสตร์โลกส่วนใหญ่อยู่ในระดับพื้นฐาน 3. ครูวิทยาศาสตร์โลกระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีการสอนระดับต้นแบบจะทำการวิเคราะห์หลักสูตรเพื่อกำหนดวัตถุประสงค์การเรียนรู้และสื่อการสอน และให้ความสำคัญกับสิ่งที่ยากต่อการเรียนรู้ สิ่งที่ต้องการสำหรับการเรียนรู้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ และความแตกต่างกันของวิธีการเรียนรู้ของนักเรียน และการสืบสอบและการนำเสนอ และประเมินความก้าวหน้าโดยตรวจสอบความเข้าใจของนักเรียนในระหว่างเรียนรู้และหลังจากการเรียนรู้เสมอ


ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 7e ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, สุสิริยา ธิรากุลนันท์ชัย Jan 2019

ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 7e ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, สุสิริยา ธิรากุลนันท์ชัย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 7E ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ทั้งในภาพรวมและตามองค์ประกอบย่อยของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้วงจรการเรียนรู้แบบ 7E ร่วมกับการใช้คำถามระดับสูงระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดปทุมธานี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง 1 ห้องเรียน จำนวน 35 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ฉบับก่อนเรียนและหลังเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความแปรปรวน ค่าเฉลี่ยร้อยละ การทดสอบค่าที และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ในภาพรวมและตามทุกองค์ประกอบย่อยดีขึ้นทุกด้าน


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศิรดา กันอ่ำ Jan 2019

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1, ศิรดา กันอ่ำ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหาเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม และ 5) ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ กรุงเทพมหานคร จำนวน 44 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรม การเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหา เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 5) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยเน้นประเด็นปัญหามีการเปลี่ยนแปลงของความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ในทางที่ดีขึ้น


การพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกม, ชนัดดา มะโนสร Jan 2019

การพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโดยการจัดการเรียนรู้ แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกม, ชนัดดา มะโนสร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การบรรเทาความรุนแรงของปัญหาสภาพภูมิอากาศเป็นหน้าที่ของพลเมืองโลกทุกคน การพัฒนาให้เยาวชนมีการรู้สภาพภูมิอากาศจึงเป็นประเด็นสำคัญเร่งด่วน จากความเชื่อว่าการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบที่สนับสนุนให้นักเรียนสร้างความรู้ด้วยตนเองผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์และเกมสนับสนุนการเรียนรู้อย่างมีความหมายจากประสบการณ์ในสถานการณ์สมมติ จึงนำมาสู่การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกมที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาต้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นโดยมีนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 1 ห้องเรียนจากโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดน่านที่ได้จากจากการเลือกแบบเจาะจง เนื่องจากบริบททางการเกษตรของชุมชนเป็นพื้นที่เปราะบางในการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกจากกิจกรรมทางการเกษตรและได้รับภัยพิบัติที่เป็นผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือแผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการใช้เกมจำนวน 6 แผนที่ใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ 5 ขั้นตอนร่วมกับเกมที่สนับสนุนการมีส่วนร่วมใน 4 ขั้นตอน ได้แก่ การสร้างความสนใจ การสำรวจและค้นหา การขยายความรู้ และการประเมิน โดยรวบรวมข้อมูลจากแบบวัดความเข้าใจสภาพภูมิอากาศ และแบบวัดความตระหนักต่อสภาพภูมิอากาศ ผลการวิจัยพบว่านักเรียนมีการรู้สภาพภูมิอากาศหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยระดับการรู้สภาพภูมิอากาศเพิ่มจากระดับไม่มีความสนใจในประเด็นสภาพภูมิอากาศเป็นระดับมีความสนใจในประเด็นสภาพภูมิอากาศ นักเรียนมีแนวโน้มในการพัฒนาการรู้สภาพภูมิอากาศไปสู่ระดับมีการแสดงออกของพฤติกรรมภายใต้เงื่อนไขที่สภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยให้สามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตประจำวัน การเลือกประเด็นที่นำเสนอในการจัดการเรียนรู้ควรจะนำไปประยุกต์ได้จริงในชีวิตประจำวัน


การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบเรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5e ร่วมกับผังกราฟิกเชื่อมโยงความคิด, พิณภัทรา เวทย์วิทยานุวัฒน์ Jan 2019

การพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบเรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้วัฏจักรการเรียนรู้ 5e ร่วมกับผังกราฟิกเชื่อมโยงความคิด, พิณภัทรา เวทย์วิทยานุวัฒน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการทดลองเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พัฒนาการความสามารถในการคิดเชิงระบบ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกเชื่อมโยงความคิด กลุ่มที่ศึกษา คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนขนาดใหญ่ แห่งหนึ่งในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 กระทรวงศึกษาธิการ ในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1 ห้องเรียน (25 คน) การวิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวมข้อมูล คือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวัฏจักรการเรียนรู้ 5E ร่วมกับผังกราฟิกเชื่อมโยงความคิด และ (2) แบบประเมินการคิดเชิงระบบ เรื่อง ระบบร่างกายมนุษย์ จำนวน 5 แบบประเมิน ที่ใช้ในการตรวจผังมโนทัศน์การคิดเชิงระบบของนักเรียนที่ตอบคำถามสำคัญเกี่ยวกับ ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบหายใจ ระบบขับถ่าย ระบบประสาท และหัวข้อประยุกต์หลายระบบภายในร่างกาย ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน คะแนนที และร้อยละคะแนนพัฒนาการ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการคิดเชิงระบบเรื่อง การประยุกต์รวมระบบร่างกายมนุษย์ อยู่ในระดับปานกลาง ระบบร่างกายที่นักเรียนส่วนใหญ่มีการคิดเชิงระบบระดับสูง คือ ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบร่างกายที่นักเรียนส่วนใหญ่มีการคิดเชิงระบบระดับปานกลาง คือ ระบบหายใจ และระบบขับถ่าย และระบบร่างกายที่นักเรียนส่วนใหญ่มีการคิดเชิงระบบระดับต่ำ คือ ระบบประสาท เมื่อพิจารณาพัฒนาการความสามารถในการคิดเชิงระบบที่คำนวณค่าพัฒนาการเปรียบเทียบระหว่างเรื่อง ระบบหายใจ และการประยุกต์รวมระบบร่างกายมนุษย์ พบว่า นักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงระบบสูงขึ้นจำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 56.00 และนักเรียนมีความสามารถในการคิดเชิงระบบลดลงจำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 44.00


ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภูริต สงวนศักดิ์ Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานที่มีต่อการรู้เคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ภูริต สงวนศักดิ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีมีรูปแบบงานวิจัยเป็นแบบทดลองเบื้องต้นหนึ่งกลุ่มวัดครั้งเดียว วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการรู้เคมีในแต่ละองค์ประกอบ ประกอบด้วย องค์ประกอบความรู้เนื้อหาทางเคมี การประยุกต์ใช้บริบททางเคมี ทักษะการเรียนรู้ระดับสูง และเจตคติต่อเคมีของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานกับเกณฑ์มาตรฐาน กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ที่เรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ของโรงเรียนขนาดใหญ่แห่งหนึ่งในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 36 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐาน ในเนื้อหาเรื่อง กรด – เบส จำนวน 4 แผน รวมระยะเวลา 6 สัปดาห์ และแบบวัดการรู้เคมีที่มีค่าความเที่ยงด้านพุทธิพิสัย 0.82 และด้านจิตพิสัย 0.94 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติทดสอบ t-test ของกลุ่มตัวอย่างหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานที่ได้จากการหาคะแนนจุดตัดด้วยวิธีการของเบอร์ก ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้บริบทเป็นฐานมีองค์ประกอบของการรู้เคมีสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทุกองค์ประกอบ


การพัฒนาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง, ปณาลี สติคราม Jan 2019

การพัฒนาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาตอนปลายโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบ ร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง, ปณาลี สติคราม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลัง กลุ่มที่ศึกษาเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นโดยมีรูปแบบการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดสองครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลความสามารถในการ การสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยรวมของความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับดี 2. คะแนนความสามารถในการเขียนสื่อสารวิทยาศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัด การเรียนรู้แบบสืบสอบร่วมกับการเขียนแบบร่วมมือรวมพลังสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุภารัตน์ สาลียงพวย Jan 2019

ผลการจัดการเรียนการสอนตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อมที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, สุภารัตน์ สาลียงพวย

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม และ 2) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 จำนวน 1 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 42 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม และ 2) แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาเท่ากับ 22.83 คะแนน คิดเป็น ร้อยละ 63.43 ซึ่งสูงกว่าระดับดีขึ้นไป อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม และสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการแก้ปัญหาหลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาความรู้ทางสถิติ และการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร, ปวิตร เขตต์ชลประทาน Jan 2019

การศึกษาความรู้ทางสถิติ และการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร, ปวิตร เขตต์ชลประทาน

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ทางสถิติ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางสถิติและการคิดเชิงสถิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 15 โรงเรียน จำนวน 525 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบความรู้ทางสถิติ และแบบวัดการคิดเชิงสถิติ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าเฉลี่ยร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการสร้างสมการทำนายด้วยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัยพบว่า 1) ความรู้ทางสถิติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) การคิดเชิงสถิติของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ต่ำกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำร้อยละ 50 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 3) การคิดเชิงสถิติมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ทางสถิติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สามารถสร้างสมการทำนายการคิดเชิงสถิติ จากความรู้ทางสถิติ (X) โดยสามารถทำนายได้ร้อยละ 31.9 และได้สมการถดถอยในการทำนายการคิดเชิงสถิติ (Y) คือ Y = 6.457 + 0.773X


ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงประวัติศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรารถนา เสือกลั่น Jan 2019

ผลการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงประวัติศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, ปรารถนา เสือกลั่น

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ และผลของการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงประวัติศาสตร์ที่มีต่อความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียน ดำเนินการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนใช้วิธีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยง 0.89 การวิจัยระยะที่ 2 เป็นการทดลองเบื้องต้นมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระหว่างก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงประวัติศาสตร์ และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงประวัติศาสตร์กับเกณฑ์ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยคือ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ที่มีค่าความเที่ยง 0.89 และ(2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมี เรื่อง กฎของแก๊ส ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และกำหนดเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีโดยใช้คะแนนจุดตัด (Cut-off score) ซึ่งพิจารณาจากสัมประสิทธิ์ฟี (Phi coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์ร้อยละ 27.34 นักเรียนที่มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับซับซ้อนบางส่วนสามารถระบุตัวแปรอิสระได้ถูกต้องแต่ยังตั้งคำถามเชิงสาเหตุและตั้งสมมติฐานได้แบบไม่สมบูรณ์ ในขณะที่นักเรียนที่มีความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์อยู่ในระดับซับซ้อนน้อยระบุตัวแปรอิสระไม่ได้ ตั้งคำถามเชิงสาเหตุแบบไม่สมบูรณ์ และตั้งสมมติฐานด้วยประโยคคำถาม 2. หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงประวัติศาสตร์ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนความสามารถในการให้เหตุผลเชิงวิทยาศาสตร์สูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดเชิงประวัติศาสตร์ส่งผลให้นักเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการใช้กลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5e ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัตนเกล้า ประดิษฐ์ด้วง Jan 2019

ผลการใช้กลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5e ต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย, รัตนเกล้า ประดิษฐ์ด้วง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E 2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E และ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเคมีหลังเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่มที่เรียนรู้กลยุทธ์ด้วยแนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E กับกลุ่มที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบวงจรการเรียนรู้ 5E กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเขต 1 กรุงเทพมหานคร ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 2 ห้องเรียน รวม 100 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 53 คน และกลุ่มควบคุมจำนวน 47 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แบบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ที่มีค่าความเที่ยงฉบับก่อนเรียนเท่ากับ 0.64 ฉบับหลังเรียนเท่ากับ 0.67 และ 2) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.46 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) การศึกษาพัฒนาการ (normalized gain) และขนาดของผล (effect size) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่เรียนรู้ด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยกลยุทธ์แนวเทียบร่วมกับวงจรการเรียนรู้ 5E มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวงจรการเรียนรู้ 5E อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ที่มีต่อความรู้และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, ทรรศมน วินัยโกศล Jan 2018

ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ที่มีต่อความรู้และความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3, ทรรศมน วินัยโกศล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ที่ตามโมเดลของสไตน์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 2) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ และ 3) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์เทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 60 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนมัธมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 28 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดความรู้ทางคณิตศาสตร์ และแบบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) นักเรียนที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามโมเดลของสไตน์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 60 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์, วิชญาดา นวนิจบำรุง Jan 2018

การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอนและการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และการปฏิบัติการสอนของนิสิตครูวิทยาศาสตร์, วิชญาดา นวนิจบำรุง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ซึ่งครอบคลุม 5 ด้าน ได้แก่ เป้าหมายของการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ บทบาทของผู้สอนวิทยาศาสตร์ บทบาทของผู้เรียนวิทยาศาสตร์ แนวทางการสอนวิทยาศาสตร์ และแนวทางการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 2) สำรวจความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพที่มีต่อความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของนิสิตครูวิทยาศาสตร์สาขาวิชาเอกวิทยาศาสตร์ทั่วไป จำนวน 74 คน ซึ่งกำลังฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยหาค่าความถี่ และค่าร้อยละ ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์ที่ได้รับจากการเรียน และการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูที่มีต่อความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และ 3) ศึกษาความสอดคล้องระหว่างความเชื่อเกี่ยวกับการสอน และการเรียนรู้วิทยาศาสตร์กับการปฏิบัติการสอน โดยใช้การศึกษารายกรณี ผู้วิจัยเลือกกลุ่มที่ศึกษาแบบเฉพาะเจาะจง เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และการสังเกตการจัดการเรียนรู้ร่วมกับวิเคราะห์แผนการจัดการเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา