Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Education Commons

Open Access. Powered by Scholars. Published by Universities.®

Educational Assessment, Evaluation, and Research

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Articles 1 - 30 of 128

Full-Text Articles in Education

การส่งเสริมความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึมในชั้นเรียนคู่ขนาน โดยใช้กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐาน, ศศิ สุริยจันทราทอง Jan 2022

การส่งเสริมความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึมในชั้นเรียนคู่ขนาน โดยใช้กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐาน, ศศิ สุริยจันทราทอง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยครั้งนี้มุ่ง 1) พัฒนาชุดกิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึมในชั้นเรียนคู่ขนาน 2) ศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐานที่มีต่อความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึม ในแต่ละระยะของการวิจัย และ 3) วิเคราะห์ลักษณะการใช้กิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐานในการส่งเสริมความจำขณะใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนมีภาวะออทิซึม ในชั้นเรียนคู่ขนาน ที่มีพื้นฐานและลักษณะแตกต่างกัน โดยตัวอย่างวิจัยในครั้งนี้คือ ผู้เรียนที่ได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะออทิซึม ที่มีระดับความสามารถเทียบเท่าผู้เรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-3 ในชั้นเรียนคู่ขนานออทิซึม ที่ได้รับการวินิจฉัยทางการแพทย์ว่ามีความรุนแรงของภาวะออทิซึม ในระดับ 2 คือ ต้องการการช่วยเหลือสนับสนุนอย่างมากจำนวน 4 คน ซึ่งการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลความจำใช้งาน และพฤติกรรมเป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ 1) การทักทายและขอบคุณ 2) การตอบสนองเมื่อถูกเรียกชื่อ และ 3) การผลัดกันทํากิจกรรมกับผู้อื่น ของตัวอย่างวิจัยในระยะต่าง ๆ ซึ่งแบ่งช่วงการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) ระยะเส้นฐาน 2) ระยะการจัดกระทำ และ 3) ระยะติดตามผลการช่วยเหลือ โดยเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินความจําขณะใช้งาน โดยใช้แบบประเมินทักษะทางสมองเพื่อการบริหารจัดการชีวิต (KU-THEF) และ แบบประเมินพฤติกรรมทางสังคม โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย ตามขั้นตอนที่ผู้วิจัยได้ออกแบบไว้ และนำผลการวิจัยมาวิเคราะห์ข้อมูลด้วยกราฟเส้น (visual inspection) สถิติเชิงบรรยาย และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (context analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐานในงานวิจัยนี้พัฒนาขึ้นจากหลักการ 3 ประการ 1) การคำนึงถึงพัฒนาการและพื้นฐานของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึม 2) การใช้กลยุทธ์ในการพัฒนาความจำใช้งาน 3) การใช้ดนตรีเป็นฐานในกิจกรรมการช่วยเหลือ โดยนำมาออกแบบกระบวนการ และวิธีการส่งเสริมความจำใช้งานและทักษะทางสังคมของผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึม 2. หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีดนตรีเป็นฐาน พบว่าตัวอย่างทั้ง 4 คนมีการแสดงออกพฤติกรรมเป้าหมายด้วยตนเองสูงขึ้นตามลำดับและมีความจำใช้งานที่สูงขึ้น 3. มีการใช้การจัดการพฤติกรรมในชั้นเรียน การเพิ่มการใช้กลยุทธ์ในการส่งเสริมความจำใช้งาน การเพิ่มการส่งเสริมทักษะทางสังคมลงในกิจกรรมดนตรี เพื่อให้กิจกรรมดนตรียังคงตอบสนองต่อผู้เรียนที่มีภาวะออทิซึม ที่มีพื้นฐานลักษณะแตกต่างกัน


An Analysis On Trends Of Research Topics In Civic Education Using Dynamic Topic Model, Poon Thongsai Jan 2022

An Analysis On Trends Of Research Topics In Civic Education Using Dynamic Topic Model, Poon Thongsai

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

The aim of this thesis is to study the trend of civic and citizenship education research from 2000 to 2020 and the influence the regional background of researches has on the research discussion. Relevant data is collected from ERIC and SCOPUS database. This includes abstracts, published year, regional background of researchers, and author h-index. The keywords used are “civic education” or “citizenship education” or “civics”. There are 4917 papers extracted in total. Upon doing further preparation, 4854 articles are prepared for analysis. We apply Structural Topic model (STM) technique to the abstracts with covariates including the published year and the …


การพัฒนารูปแบบการทดสอบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียน ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตามแบบการเรียนของผู้เรียน, ณภาภัช พรหมแก้วงาม Jan 2022

การพัฒนารูปแบบการทดสอบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียน ที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ตามแบบการเรียนของผู้เรียน, ณภาภัช พรหมแก้วงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการทดสอบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียนที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ตามแบบการเรียนของผู้เรียน 2) ตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการทดสอบฯ 3) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการทดสอบฯ และ 4) ประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการทดสอบฯ ตัวอย่างในการวิจัยคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม จำนวน 5 ห้อง จำนวน 126 คน แต่ละกลุ่มประกอบด้วยผู้เรียนที่มีแบบการเรียน (Learning Style) แบ่งเป็น 6 แบบ ได้แก่ แบบอิสระ แบบพึ่งพา แบบร่วมมือ แบบหลีกเลี่ยง แบบแข่งขัน และแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ 1) แบบสอบถามแบบการเรียน 2) แบบทดสอบก่อนเรียน แบบทดสอบหลังเรียนฉบับที่ 1 และ 2 เรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว และ 3) แบบทดสอบระหว่างเรียนเรื่องการแก้สมการเชิงเส้นตัวแปรเดียวที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงบรรยาย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าเฉลี่ยของตัวอย่าง 2 กลุ่มแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบสองทาง (Two-ways MANCOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการทดสอบเพื่อเพิ่มศักยภาพการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ในห้องเรียนที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีโดยใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ตามแบบการเรียนของผู้เรียน รูปแบบมีองค์ประกอบของการทดสอบ มี 3 ประการ ได้แก่ ผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ และผลการทดสอบ และขั้นตอนการทดสอบตามกระบวนการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ การทดสอบก่อนเรียน การทดสอบระหว่างเรียน และการทดสอบหลังเรียน จากการทดลองใช้ พบว่า รูปแบบการเรียนและรูปแบบการให้ข้อมูลย้อนกลับ ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อความน่าจะเป็นในการตอบถูก (F= 0.66, Sig.= 0.76) ไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อพัฒนาการการเรียนรู้ของผู้เรียน (F= 1.48, Sig.= 0.16) และไม่มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกันต่อความคงทนในการเรียนรู้ (F= 0.91, Sig.= 0.53) 2. ผลการตรวจสอบคุณภาพรูปแบบการทดสอบฯ …


การพัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่, วีรวัฒน์ โอษฐงาม Jan 2022

การพัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ด้วยแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่, วีรวัฒน์ โอษฐงาม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์ 2) วิเคราะห์ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) พัฒนาระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ และ 4) ตรวจสอบคุณภาพระบบทดสอบออนไลน์เพื่อวินิจฉัยมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ ระยะที่ 2 การพัฒนาระบบการทดสอบออนไลน์ เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์โดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ และระยะที่ 3 ประเมินคุณภาพระบบการทดสอบออนไลน์เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ โดยใช้แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ ตัวอย่างที่ใช้ในวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 60 คน สำหรับใช้ในการทดลองแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบวินิจฉัยสามระดับ แบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่ แบบประเมินการใช้การอินเทอร์เฟซของระบบทดสอบออนไลน์ และแบบประเมินประสบการณ์ผู้ใช้งานระบบการทดสอบออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความยาก อำนาจจำแนก การวิเคราะห์ความเที่ยง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและความตรงตามเกณฑ์สัมพัทธ์ โดยใช้สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์วีของคราเมอร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัย สี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงมาก (r=0.976) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ความสอดคล้องของผลการวินิจฉัยระหว่างแบบเลือกตอบสามระดับและแบบสอบวินิจฉัยสี่ระดับแบบใหม่สำหรับมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนในวิชาคณิตศาสตร์กับข้อมูลเชิงประจักษ์จากการสัมภาษณ์ด้วยเทคนิคการคิดออกเสียงไม่แตกต่างกัน 3) ผลการพัฒนาระบบฯ พบว่า กระบวนการทำงานของระบบประกอบด้วย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การลงทะเบียนเข้าสู่ระบบทดสอบ 2) การดำเนินการทดสอบ และ 3) การรายงานผลการทดสอบ 4) ผลประเมินการใช้งานอินเทอร์เฟซของระบบทดสอบออนไลน์ พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความเห็นว่าระบบมีความเหมาะสมทั้ง 4 ด้าน โดยด้านที่มีผลการประเมินสูงที่สุดคือ ด้านคู่มือการใช้ระบบมีบทนำที่อธิบายความเป็นมาอย่างชัดเจน สำหรับการประเมินประสบการณ์ผู้ใช้งานระบบการทดสอบออนไลน์ พบว่า รายการที่นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ มีการออกแบบระบบให้มีความสวยงามและน่าสนใจ


การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก, จิระเมศร์ รุจิกรหิรัณย์ Jan 2022

การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้เชิงลึก, จิระเมศร์ รุจิกรหิรัณย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัย เรื่อง การพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนผ่านการรู้จำคำพูดด้วยการเรียนรู้เชิงลึกมีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนจากการวิเคราะห์ความรู้สึกผ่านทางข้อความที่ได้จากกระบวนการรู้จำคำพูดโดยใช้การเรียนรู้ของเครื่องและการเรียนรู้เชิงลึก และ (2) เพื่อวิเคราะห์ความเหมาะสมของโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนที่ได้พัฒนาขึ้น ข้อความที่ใช้ในการพัฒนาโมเดลมีจำนวนทั้งสิ้น 23,974 ข้อความ เก็บรวบรวมจากแหล่งข้อมูล 2 แหล่ง ได้แก่ วีดิทัศน์การสอนของครูในชั้นเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 11 วีดิทัศน์ที่ได้รับการแปลงเป็นข้อความผ่านกระบวนรู้จำคำพูด และฐานข้อมูล Wisesight Sentiment Analysis ในการพัฒนาโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียน ผู้วิจัยใช้โมเดลการเรียนรู้ของเครื่อง 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 โมเดลกลุ่มที่มีการจัดกระทำข้อมูลก่อนการวิเคราะห์และทำการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้ของเครื่อง จำนวน 4 โมเดล กลุ่มที่ 2 โมเดลที่มีการสกัดคุณลักษณะจากข้อความด้วยการเรียนรู้เชิงลึกโดยใช้ autoencoder และมีการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้ของเครื่องจำนวน 4 โมเดล และกลุ่มที่ 3 โมเดลกลุ่มที่มีการจัดกระทำข้อมูลก่อนการวิเคราะห์และทำการวิเคราะห์จำแนกอารมณ์ครูด้วยการเรียนรู้เชิงลึก จำนวน 2 โมเดล ผู้วิจัยดำเนินการจัดเตรียมข้อความให้อยู่ในรูปแบบที่พร้อมสำหรับการนำไปวิเคราะห์ด้วยการสกัดคุณลักษณะจากข้อความด้วยวิธี TF-IDF และมีการลดจำนวนคุณลักษณะด้วยกระบวนการ Principle Component Analysis (PCA) แก้ไขปัญหาความไม่สมดุลกันของจำนวนข้อมูลในตัวแปรตามจึงใช้เทคนิค SMOTE และโมเดลทั้งสามกลุ่มมีการปรับแต่งไฮเพอร์พารามิเตอร์ของโมเดลการวิเคราะห์อารมณ์ครูในชั้นเรียนด้วยวิธีการตรวจสอบไขว้ (Cross validation) การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโมเดลพิจารณาจากค่าดัชนี ความถูกต้อง ความแม่นยำ และความไวในการจำแนกกลุ่ม ผลการวิจัยที่ได้ พบว่า 1. จากทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า โมเดล LSTM ที่มีการปรับไฮเพอร์พารามิเตอร์มีค่าความถูกต้องของโมเดลที่ใช้ในการจำแนกอารมณ์สูงที่สุด ร้อยละ 71 โดยมีความแม่นยำและความไวในการจำแนกกลุ่มทั้งสามประเภทโดยภาพรวมได้ดีที่สุด 2. โมเดลกลุ่มที่ 1 โมเดล Support Vector Machine ที่มีการกำหนดไฮเพอร์พารามิเตอร์ มีค่าความถูกต้องในการจำแนกอยู่ที่ 66% สำหรับโมเดลกลุ่มที่ 2 ที่ใช้โมเดล Multilingual Universal Sentence Encoder ในการสกัดคุณลักษณะควบคู่กับการจำแนกด้วยการเรียนรู้ของเครื่องของโมเดล Support Vector Machine และ โมเดล …


การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์ Jan 2022

การออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงาน เขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน, ณัฏฐริญา ชินะพัฒนวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของครูมีส่วนในการพัฒนาคุณภาพและทักษะในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งนิสิตฝึกสอนที่กำลังจะเป็นครูในอนาคต จึงจำเป็นต้องฝึกทักษะการตรวจงานให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินและแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนของนิสิตฝึกสอนภาษาอังกฤษ จากการวิเคราะห์วิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษจากมุมมองของครูภาษาอังกฤษ ตัวอย่างวิจัยเป็นครูผู้ให้ข้อมูลสำคัญ นิสิตฝึกสอน และนักเรียนโดยจากการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แนวคำถามสัมภาษณ์ปลายเปิดแบบกึ่งโครงสร้าง แบบสอบถามความต้องการจำเป็นด้านทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน และเครื่องมือประเมินการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา การประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า ครูใช้วิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยตรงและวิธีการให้ข้อมูลย้อนกลับเชิงแก้ไขโดยอ้อมต่อข้อผิดพลาดในงานเขียนของนักเรียนที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ครูยังให้ข้อมูลย้อนกลับ คำแนะนำ และคำติชมให้แก่นักเรียนในงานเขียน นอกจากนี้ ผลจากการประเมินความต้องการจำเป็นด้านวิธีการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษพบว่า นิสิตฝึกสอนมีความจำเป็นในเรื่องการเขียนข้อเสนอแนะลงไปในงานเขียนของนักเรียน ส่วนนักเรียนมีความจำเป็นในเรื่องการให้อาจารย์นิสิตเขียนคำอธิบายแก้ไขข้อผิดพลาดให้ชัดเจนมากที่สุด ในขณะที่อาจารย์นิเทศก์มีความจำเป็นเรื่องการให้นักเรียนแก้ไขงานเขียนด้วยตนเองมากที่สุด ผลการวิจัยทั้งหมดนำไปสู่แบบประเมินในรูปแบบข้อคำถามและตัวเลือกพร้อมภาพประกอบโดยประเมินระดับของทักษะการตรวจงานเขียนด้วยเกณฑ์การให้คะแนนรูบริกแบบแยกองค์ประกอบ และแนวทางการพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนในลักษณะข้อควรปฏิบัติ ที่ให้นิสิตฝึกสอนพิจารณา 1) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนสามารถแก้ไขเองได้ 2) ข้อผิดพลาดที่นักเรียนไม่สามารถแก้ไขเองได้ 3) การสร้างแรงจูงใจในการเขียนของนักเรียน และ 4) การให้ข้อมูลย้อนกลับในงานเขียน แนวทางการพัฒนาที่ได้จากงานวิจัยนี้ สามารถนำไปใช้เพื่อพัฒนาทักษะการตรวจงานเขียนภาษาอังกฤษของนิสิตฝึกสอนต่อไป


การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ เพื่อส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ธนวินท์ สุริวงศ์ Jan 2022

การพัฒนาโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ เพื่อส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย, ธนวินท์ สุริวงศ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. วิเคราะห์สถานการณ์การรู้ดิจิทัลของนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย 2. ออกแบบต้นแบบโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟในการส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัลและ 3. วิเคราะห์ผลการใช้โปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ ในการส่งเสริมการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล สำหรับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย และเปรียบเทียบคะแนนการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัลระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 4. วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการยืดหยุ่นทางความคิดและการรู้ดิจิทัล ผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนการดำเนินการออกเป็น 3 ระยะเพื่อตอบวัตถุประสงค์แต่ละข้อ ดังนี้ ระยะที่ 1 เป็นการทำความเข้าใจและวิเคราะห์สถานการณ์ กับนักเรียนประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 69 คนและครูผู้สอนจำนวน 3 คน เครื่องมือที่ใช้วิจัยคือ แบบสังเกตพฤติกรรมและแบบสัมภาษณ์ ผลการวิจัยพบว่า ครูประจำชั้นและครูผู้สอน สอดแทรกในการสอนและการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการยืดหยุ่นทางความคิด บางส่วน โดยส่วนใหญ่เป็นการฝึกความคิดสร้างสรรค์ให้กับนักเรียน รวมถึงการสังเกตพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลของนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง (M=6.25, SD=2.63) หมายถึง มีปัญหาพฤติกรรมการรู้ดิจิทัลบางรายการ แบ่งตามองค์ประกอบรายย่อยคือ ด้านการใช้งาน และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับปานกลาง หมายถึง มีปัญหาการรู้ดิจิทัลบางรายการ ควรได้รับการส่งเสริม และด้านการตระหนักรู้ อยู่ในระดับน้อย หมายถึง มีปัญหาการรู้ดิจิทัล ควรได้รับการปรับปรุง ระยะที่ 2 เป็นการออกแบบต้นแบบโปรแกรมการฝึกทักษะสมองอีเอฟ โดยมีผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนานักเรียน จำนวน 5 คน ร่วมอภิปรายกลุ่ม รูปแบบชุดกิจกรรมประกอบด้วย แผนกิจกรรมทั้งหมด 10 ครั้ง ๆ ละ 60 นาที ผู้วิจัยพัฒนาจากกรอบแนวคิด ได้แก่ ข้อมูลการศึกษาระยะที่ 1 รวมถึงข้อมูลผลการระดมความคิดจากผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาต้นแบบ และข้อมูลการสังเคราะห์ เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะสมองอีเอฟในกลุ่มทักษะพื้นฐาน ประกอบด้วย (1) การจำเพื่อใช้งาน (2) การยั้งคิดไตร่ตรอง และ (3) การยืดหยุ่นทางความคิด ระยะที่ 3 เป็นการทดลองใช้ต้นแบบ โดยดำเนินการทดลองกับตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 2 ห้องเรียน รวมทั้งสิ้น 69 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลอง 1 ห้องเรียน จำนวน …


การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน เพื่อส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, นัทรียา สุคม Jan 2022

การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน เพื่อส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น, นัทรียา สุคม

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลของกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนที่ช่วยส่งเสริมการยอมรับจากเพื่อน ดำเนินการตามกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design thinking) เริ่มจากการทำความเข้าใจความสัมพันธ์ของนักเรียน กำหนดประเด็นปัญหา ศึกษาและออกแบบแผนกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อน โดยการสัมภาษณ์ครูที่ปรึกษา 5 คน ครูผู้สอน 3 คน อาจารย์ระดับบัณฑิตศึกษา 2 คน ตัวแทนนักเรียน 5 คน จากนั้นนำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ออกแบบไปทดลองใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 31 คน และใช้เทคนิคสังคมมิติเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลการยอมรับจากเพื่อน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย ค่าร้อยละ และสถานภาพทางสังคมมิติ ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนเป็นการจัดกิจกรรมที่เอื้อให้นักเรียนทำงานเป็นกลุ่ม โดยใช้รูปแบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw) และการสอนแบบเป็นกลุ่มย่อย (Small-Group Teaching) และการใช้รายงานจากเพื่อนเพื่อให้นักเรียนสังเกตและแจ้งพฤติกรรมเชิงบวกของเพื่อนขณะปฏิบัติกิจกรรมเป็นกลุ่ม 2) หลังการใช้แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมกับรายงานจากเพื่อนพบว่าสถานภาพทางสังคมมิติของนักเรียนทั้งห้องเรียนได้รับการยอมรับจากเพื่อนเพิ่มขึ้น 7 คน และลดลง 2 คน ส่วนสถานภาพของนักเรียนในกลุ่มถูกทอดทิ้งหรือถูกปฏิเสธได้รับการยอมรับจากเพื่อนเพิ่มขึ้น 5 คน


การส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาผ่านหนังสือและสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : การวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบ, รวิวรรณ นิ้มคธาวุธ Jan 2022

การส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาผ่านหนังสือและสื่อการเรียนรู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 : การวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบ, รวิวรรณ นิ้มคธาวุธ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

หนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาของผู้เรียนระดับ ป. 1 ในประเทศไทยมักอยู่ในรูปแบบที่หลากหลาย ซึ่งเป็นข้อมูลพหุรูปแบบที่มีความซับซ้อน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจรูปแบบและลักษณะของหนังสือและสื่อการเรียนรู้ วิเคราะห์ประเภทของสื่อพหุรูปแบบ วิเคราะห์วาทกรรมในสื่อพหุรูปแบบ และพัฒนาฐานข้อมูลหนังสือและสื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างวิจัย คือ หนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ผ่านเกณฑ์และได้รับการสุ่ม ครูผู้สอนและผู้ปกครองชั้น ป. 1 ที่อาสาสมัครเข้าทดลองใช้ฐานข้อมูลฯ ซึ่งดำเนินการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบและลักษณะของสื่อ โดยสุ่มจากหนังสือที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 221 เล่ม และสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 110 เรื่อง จากนั้นนำมาวิเคราะห์ประเภทของสื่อพหุรูปแบบและวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบในสื่อ โดยประยุกต์ใช้แนวคิดของ O’Halloran, Tan & Wignell (2019) ผลการวิจัย พบว่า 1. หนังสือและสื่อฯ อยู่ในรูปแบบที่หลากหลายผสมผสานกัน อันเป็นข้อมูลพหุรูปแบบ ที่มีการสอดแทรกความรู้และทักษะที่ผู้เขียน/ผู้แต่งต้องการส่งเสริมให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนชั้น ป. 1 และมีเรื่องราวที่ใกล้เคียงกับประสบการณ์ของผู้อ่าน 2. ประเภทของสื่อพหุรูปแบบปรากฏในหนังสือและสื่อฯ สามารถจำแนกได้ 6 ประเภท คือ ข้อความ สัญลักษณ์ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว เสียงและการเคลื่อนไหว 3. จากการวิเคราะห์วาทกรรมพหุรูปแบบสะท้อนการผลิตหนังสือและสื่อฯ ที่สอดแทรกการส่งเสริมความฉลาดใน การรับมือกับปัญหาทั้งมิติของการควบคุม สาเหตุและความรับผิดชอบ การกระจายตัวของปัญหาและความอดทนต่อความยืดเยื้อของปัญหา โดยพบการส่งเสริมความฉลาดในการรับมือกับปัญหาในมิติของการควบคุมสูงที่สุด 4. ฐานข้อมูลหนังสือและสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมและพัฒนาความฉลาดในการรับมือกับปัญหาของผู้เรียนชั้น ป. 1 ที่พัฒนาขึ้นจากโปรแกรม AppSheet ได้รับความพึงพอใจในมาตรฐานด้านการใช้ประโยชน์ ความเหมาะสม ความถูกต้อง และความเป็นไปได้ในเชิงบวกทั้งหมดทั้งระดับเห็นด้วยอย่างยิ่งและเห็นด้วย


การพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครู : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ถิรายุ อินทร์แปลง Jan 2022

การพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครู : การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ, ถิรายุ อินทร์แปลง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินสมรรถนะการประเมินชั้นเรียนของครูโดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบแบบพหุมิติ การวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนากรอบและคำบรรยายสมรรถนะ ตรวจสอบคุณภาพโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 ท่าน ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนาระบบการทดสอบโดยใช้คอมพิวเตอร์เพื่อประเมินสมรรถนะ ผู้วิจัยสร้างออกแบบระบบประเมินสมรรถนะที่อาศัยระบบอินเทอร์เน็ตเว็ปเพจและตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดคือ ความตรงเชิงเนื้อหา อำนาจจำแนก ความเที่ยง ความตรงเชิงโครงสร้าง ความตรงเชิงสภาพ ดัชนีความเหมาะสมรายข้อ ความเป็นพหุมิติและสัมประสิทธิความเที่ยงตามทฤษฎีตอบสนองข้อสอบ ระยะที่ 3 การประเมินสมรรถนะของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและประเมินประสิทธิภาพของระบบการทดสอบโดยทดลองใช้กับตัวอย่างการวิจัยจำนวน 1,786 คนเพื่อนำผลการทดสอบมาใช้ในการกำหนดจุดตัดคะแนนโดยอาศัยการกำหนดคะแนนจุดตัดบนแผนที่สภาวะสันนิษฐานและนำผลการวัดมาจำแนกกลุ่มตามระดับสมรรถนะและจำแนกเปรียบเทียบกับข้อมูลพื้นฐาน ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1) กรอบและคำบรรยายสมรรถนะมีคุณภาพผ่านเกณฑ์การประเมิน (Mdn=3.50-5.00, IQR=0.00-1.50) 2) คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดสมรรถนะเป็นไปตามเกณฑ์ที่ยอมรับได้ มีความเที่ยงระดับสูง (rtt=.80-.82) ความตรงเชิงสภาพ (rxy=.73) โมเดลการวัดสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square=39.461, df=30, p= .116 , AGFI=.988, CFI=.989, TLI=.979, SRMR=.019, RMSEA=.016, AIC=60062.182, BIC=60247.748) ค่าสถิติ OUTFIT MNSQ มีค่าระหว่าง .764-.1.199 ค่าสถิติ INFIT MNSQ มีค่าระหว่าง .787-1.137 และ3) ประสิทธิภาพของระบบการทดสอบสมรรถนะอยู่ในระดับดีและผ่านเกณฑ์การประเมิน (Mdn=5.00, IQR=1.00, M=4.45, SD=0.73)


ประสิทธิภาพของวิธีการจัดการข้อมูลไม่สมดุลสำหรับการจำแนกกลุ่มภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน, กาญธนา ลออสิริกุล Jan 2022

ประสิทธิภาพของวิธีการจัดการข้อมูลไม่สมดุลสำหรับการจำแนกกลุ่มภายใต้เงื่อนไขที่แตกต่างกัน, กาญธนา ลออสิริกุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาปฏิสัมพันธ์ของวิธีการปรับสมดุลข้อมูลกับเงื่อนไขด้านขนาดตัวอย่าง เทคนิคการจำแนกข้อมูล จำนวนตัวแปรระหว่างกลุ่มตัวแปรจัดประเภทต่อกลุ่มตัวแปรต่อเนื่อง อัตราออด และร้อยละของจำนวนข้อมูลกลุ่มหลักต่อข้อมูลกลุ่มรองที่มีต่อประสิทธิภาพของการจำแนกกลุ่ม การปรับสมดุลของข้อมูลแบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่ (1) ไม่ปรับสมดุล (2) วิธี random oversampling และ (3) วิธีผสมผสานระหว่างรูปแบบสุ่มเกินและสุ่มลด (hybrid) โดยใช้แพคเกจ ROSE ส่วนเงื่อนไขด้านขนาดตัวอย่างแบ่งออกเป็น ขนาดตัวอย่างเท่ากับ 100 300 และ 500 หน่วย ด้านเทคนิคการจำแนกข้อมูล แบ่งออกเป็น 4 วิธี ได้แก่ (1) เคเนียร์เรสเนเบอร์ (2) การถดถอยโลจิสติก (3) แรนดอมฟอร์เรส และ (4) ซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน ตัวแปรจากการจำลองแบ่งออกเป็นตัวแปรตามซึ่งจำลองด้วยการถดถอยโลจิสติก ส่วนตัวแปรอิสระในการจำลองข้อมูลครั้งนี้จะกำหนดให้ใช้ตัวแปรอิสระจำลองทั้งหมด 8 ตัว โดยกำหนดให้มีจำนวนตัวแปรระหว่างกลุ่มตัวแปรจัดประเภทต่อกลุ่มตัวแปรต่อเนื่อง 3 กรณี คือ 4:4 5:3 และ 6:2 ในขณะที่ระดับของอัตราออด จะสุ่มค่าจากช่วง [1,2) หรือ [2,3) และร้อยละของข้อมูลระหว่างข้อมูลกลุ่มหลักต่อข้อมูลกลุ่มรอง แบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่ 60:40 และ 70:30 พิจารณาเกณฑ์ประสิทธิภาพของข้อมูลด้วยตัวชี้วัดความถูกต้องในการจำแนก ความไว และความจำเพาะ การจำลองแต่ละสถานการณ์จะทำซ้ำสถานการณ์ละ 500 รอบ การวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการปรับสมดุลข้อมูลกับเงื่อนไขต่าง ๆ ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณหลายทาง (n-way MANOVA) ผลการวิจัยพบว่า วิธีการปรับสมดุลข้อมูลมีปฏิสัมพันธ์แบบสองทางกับเงื่อนไขด้านขนาดตัวอย่าง ร้อยละของข้อมูลระหว่างข้อมูลกลุ่มหลักต่อข้อมูลกลุ่มรอง อัตราออด และเทคนิคการจำแนกข้อมูล และพบปฏิสัมพันธ์แบบสามทางกับเงื่อนไขต่อไปนี้ (1) ขนาดตัวอย่างและจำนวนตัวแปรระหว่างกลุ่มตัวแปรจัดประเภทต่อกลุ่มตัวแปรต่อเนื่อง (2) ขนาดตัวอย่างและเทคนิคการจำแนกข้อมูล และ (3) ร้อยละของข้อมูลระหว่างข้อมูลกลุ่มหลักต่อข้อมูลกลุ่มรอง และเทคนิคการจำแนกข้อมูล ดังนั้นนักวิเคราะห์ข้อมูลควรเลือกใช้วิธีการปรับสมดุลข้อมูลโดยพิจารณาให้เหมาะสมกับสภาพของข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์


สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันพหุระดับ, รัมณรา สมประสงค์ Jan 2022

สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและเชิงยืนยันพหุระดับ, รัมณรา สมประสงค์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

สมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหารในปัจจุบันมีความสำคัญต่อการปฏิบัติงานในยุคของการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงบรรยาย มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อสังเคราะห์ตัวชี้วัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร 2) เพื่อสำรวจองค์ประกอบพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องเชิงประจักษ์ขององค์ประกอบพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ตัวอย่างวิจัย เป็นบุคลากรระดับปฏิบัติการในองค์กรทหารสังกัดกระทรวงกลาโหม 50 หน่วยงาน จำนวน 860 คน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจพหุระดับ และจำนวน 863 คน สำหรับใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเพื่อการวิเคราะห์องค์ประกอบพหุระดับ คือแบบวัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วย 2 ตอน คือ ข้อมูลพื้นฐานของกำลังพลผู้ตอบแบบสอบถาม และแบบวัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร จำนวน 69 ข้อคำถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม IBM SPSS Statistics 22 และ MPlus6 ผลการวิจัยพบว่า (1) ตัวชี้วัดสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร ประกอบไปด้วย 16 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) การวางแผนการใช้งานอุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลแบบบูรณาการ 2) การสืบค้นข้อมูลทางดิจิทัล 3) การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล 4) การใช้งานเทคโนโลยีเบื้องต้น 5) การแก้ปัญหาจากการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล 6) การใช้อินทราเน็ตขององค์กร 7) การรักษาความลับในโลกไซเบอร์ 8) การจัดการไฟล์ดิจิทัลทางการทหาร 9) การเข้าถึงไฟล์ดิจิทัลในกรณีปฏิบัติงานนอกสถานที่ 10) การจัดการฐานข้อมูลทางการทหาร 11) การใช้สื่อดิจิทัลทางไกลเพื่อการสื่อสารทางการทหาร 12) การนำเสนอข้อมูลทางทหารในรูปแบบดิจิทัล 13) การสร้างสิ่งแวดล้อมทางดิจิทัลเพื่อการทำงาน 14) การตระหนักถึงความปลอดภัยบนโลกไซเบอร์ 15) การรักษามารยาทในสังคมดิจิทัล 16) เจตคติต่อการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร (2) องค์ประกอบเชิงสำรวจพหุระดับสมรรถนะดิจิทัลขององค์กรทหาร มีจำนวน 3 โมเดล คือ 1) องค์ประกอบระดับระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 1 องค์ประกอบ 2) องค์ประกอบระดับบุคคล 4 องค์ประกอบ ระดับองค์กร 2 องค์ประกอบ 3) องค์ประกอบระดับบุคคล …


การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพื่อประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู : การประยุกต์ใช้โมเดลทวิองค์ประกอบพหุกลุ่ม, วิสรุต สุวรรณสันติสุข Jan 2021

การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลเพื่อประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู : การประยุกต์ใช้โมเดลทวิองค์ประกอบพหุกลุ่ม, วิสรุต สุวรรณสันติสุข

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์เป็นความสามารถของบุคคลหนึ่ง ๆ ที่เชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ทางภูมิศาสตร์ที่เกิดขึ้นในภาพรวมทั้งระบบกายภาพ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่าง ๆ ของมนุษย์ โดยประยุกต์ใช้การนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ผ่านการสังเกต เก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อตีความ วิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมได้และสรุปเป็นสารสนเทศ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อออกแบบและพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครู 2. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังต่างกัน แบ่งวิธีการดำเนินวิจัยออกเป็น 2 ระยะ โดยระยะที่ 1 การพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ และระยะที่ 2 การวิเคราะห์ระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่มีภูมิหลังต่างกัน ตัวอย่างวิจัยในครั้งนี้เป็น นักศึกษาครูระดับปริญญาตรีจำนวน 310 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. การพัฒนาเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูใน 2 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์ และองค์ประกอบด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้ โดยเครื่องมือประเมินนั้นต้องมีการกำหนดสถานการณ์ รูปแบบเครื่องมือที่ใช้ ลักษณะของข้อคำถามและรูปแบบของตัวลวงในแต่ละองค์ประกอบย่อยของความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ 2. ผลการวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ โดยตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาพบว่าเครื่องมือมีความตรงเชิงเนื้อหาจากการประเมินความสอดคล้องเหมาะสมของผู้เชี่ยวชาญมีค่า IOC อยู่ระหว่าง .50-1.00 ความตรงเชิงโครงสร้างพบว่า โมเดลการวัดความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= (18, N = 310) = 41.377, p = .001, CFI= .892, TLI = .832, RMSEA = .065, SRMR = .075) โดยมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานโมเดลเฉพาะเจาะจง (specific model) ด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์อยู่ระหว่าง .103-.517 ด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้อยู่ระหว่าง .114-.399 และในโมเดลทั่วไป (general model) มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมาตรฐานด้านความรู้ทางภูมิศาสตร์อยู่ระหว่าง .122-.487 และด้านการนำความรู้ทางภูมิศาสตร์ไปใช้อยู่ระหว่าง .125-.601 ส่วนค่าสัมประสิทธิ์การทำนายอยู่ระหว่าง .120-.466 และตรวจสอบความเที่ยงด้วยวิธีการหาค่า KR-20 เท่ากับ 0.71 ดังนั้นเครื่องมือประเมินความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ของนักศึกษาครูที่สร้างขึ้นจึงมีคุณภาพสามารถนำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง 3. นักศึกษาครูที่เรียนต่างสาขาวิชากันมีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์แตกต่างกัน (F(1, 308) = 118.612, p < .001) โดยนักศึกษาครูสาขาวิชาสังคมศึกษามีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูสาขาวิชาอื่นทุกสาขาวิชา ส่วนนักศึกษาครูที่เรียนต่างชั้นปีกันก็มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์แตกต่างกัน (F(4, 305) = 10.140, p < .001) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่แล้ว พบว่า นักศึกษาครูชั้นปีที่ 5 มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูชั้นปีที่ 2 และนักศึกษาครูชั้นปีที่ 3 นักศึกษาครูที่มีภูมิลำเนาต่างกันมีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์ไม่แตกต่างกัน (F(5, 304) = .828, p = .531) และนักศึกษาครูที่เคยมีประสบการณ์เข้ารับการอบรม สัมมนาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์มีระดับความรอบรู้เรื่องภูมิศาสตร์สูงกว่านักศึกษาครูที่ไม่เคยเข้ารับการอบรม สัมมนาเกี่ยวกับภูมิศาสตร์ (F(1, 308) = 56.369, p < .001) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05


แนวทางการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูโดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน, พิชญาภัค ประจวบกลาง Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูโดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน, พิชญาภัค ประจวบกลาง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การที่นักศึกษาครูมีความตั้งใจประกอบอาชีพครูลดลงหลังจบการศึกษา ส่งผลกระทบต่อการศึกษาของประเทศ งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัย 4 ข้อ ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ที่มีผลต่อความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครู โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน 2) เพื่อศึกษาระดับความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครู 3) เพื่อวิเคราะห์ความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครู โดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน และ 4) เพื่อสังเคราะห์แนวทางในการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูสำหรับนักศึกษาครู การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะที่ 1 ศึกษาสถานการณ์ที่ส่งผลต่อความตั้งใจประกอบอาชีพครูและข้อเสนอแนะในการส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูด้วยการสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน มีผู้ให้ข้อมูล 12 คน ประกอบเวย ครูต้นแบบ ครูในโรงเรียนด้อยโอกาส ครูที่มีปัญหาการจัดการเรียนการสอน และครูที่มีปัญหาพฤติกรรมนักเรียน ระยะที่ 2.1 ศึกษาระดับความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาด้วยแบบสอบถามที่พัฒนามาจากข้อมูลที่ได้ในระยะที่ 1 และความคิดเห็นต่อการดำเนินการของหลักสูตร ของนักศึกษาครูทั้งสิ้น 217 คน และระยะที่ 2.2 ศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้การสัมภาษณ์ด้วยการกำหนดสถานการณ์และงานเป็นฐาน เกี่ยวกับความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามในระยะที่ 2.1 จำนวน 12 คน ที่มีการเปลี่ยนแปลงของความตั้งใจประกอบอาชีพครู 6 ลักษณะได้แก่ 1) เพิ่มขึ้น 2) ลดลง 3) คงที่ในระดับสูง 4) คงที่ในระดับกลาง 5) คงที่ในระดับต่ำ และ 6) ไม่คงที่ และข้อเสนอแนะในการดำเนินการของหลักสูตร และระยะที่ 3 สังเคราะห์เป็นร่างแนวทางส่งเสริมความตั้งใจประกอบอาชีพครูของนักศึกษาครูและให้ผู้ทรงคุณวุฒิ ตรวจสอบความเหมาสมและปรับแก้ไขให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สถานการณ์ที่มีผลต่อความตั้งใจประกอบอาชีพครูในมุมมองของครู ประกอบด้วย 7 กลุ่มสถานการณ์หลัก ได้แก่ 1) พฤติกรรมและการเรียนรู้ของผู้เรียนไม่เหมาะสม 2) การขาดความพร้อมของครอบครัวและความร่วมมือของชุมชน 3) การปรับตัวไม่ได้ของครูในโรงเรียนด้อยโอกาส 4) ความขัดแย้งในการทำงานกับเพื่อนครูในโรงเรียน 5) ระบบการบริหารของโรงเรียนไม่มีประสิทธิภาพ 6) การจัดการเรียนการสอนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และ 7) มีภาระงานนอกเหนือการสอนเป็นจำนวนมาก 2. โดยภาพรวมนักศึกษามีระดับความตั้งใจประกอบอาชีพครูใน 3 ช่วงเวลา ดังนี้ 1) ช่วงเริ่มศึกษา อยู่ในระดับปานกลาง (3.32) 2) …


การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล, ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ Jan 2021

การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล, ภัทร์พิชชา ครุฑางคะ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการูแลเด็กของผู้ดูแล ผู้เกี่ยวข้องในการดูแลเด็กควรได้รับการพัฒนาให้สามารถดูแลเด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาหลักสูตรมีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็ก 2) เพื่อวิจัยและพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็กในชุมชนและประเมินผลที่เกิดขึ้นจากการทดลองใช้ และ 3) เพื่อจัดทำคู่มือการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลเด็กในชุมชนจากผลการพัฒนาหลักสูตร โดยจำแนกการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรก การพัฒนาเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบของความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็ก และสร้างเครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กจากการบูรณาการ 2 แนวคิด ได้แก่ 1) ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และ 2) การเลี้ยงดู ในลักษณะเป็นพหุมิติภายในข้อคำถาม ส่วนที่ 2 กระบวนการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร และส่วนที่ 3 แนวทางการพัฒนาหลักสูตรโดยใช้การมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเพื่อเสริมพลังความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแล ใช้การวิจัยและพัฒนาหลักสูตรร่วมกับการนำแนวคิดการเสริมพลังและแนวคิดการมีส่วนร่วมแบบดิจิทัลเข้ามาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรที่มีความสอดคล้องกับสภาพบริบทของชุมชน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. เครื่องมือวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กของผู้ดูแลที่สร้างขึ้นตามโมเดลการวัดแบบพหุมิติ มี 2 องค์ประกอบหลัก คือ ความรอบรู้ด้านสุขภาพ และการเลี้ยงดู ในแต่ละข้อคำถามถูกออกแบบให้เป็นพหุมิติภายในข้อคำถาม คือ มีคุณภาพทั้งการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา โดยมีค่า IOC อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 มีการตรวจสอบความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในจากตัวอย่างจำนวน 345 คน มีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค อยู่ระหว่าง .820 ถึง .903 และคำนวณค่าสัมประสิทธิ์โอเมกา อยู่ระหว่าง .827 ถึง .905 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุมิติของโมเดลการวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็ก พบว่าโมเดลการวัดความรอบรู้ด้านการดูแลสุขภาพเด็กมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( / (343, N=345) = 446.23, p = .0001, CFI = .979, TLI = .974, SRMR = .051, RMSEA = .030, AIC = 14556.473, BIC = 15140.692) และมีค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ ( / df) เท่ากับ 1.30 ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 2 แสดงว่า …


การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังที่คำนึงถึงการตอบตามความปรารถนาของสังคมสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร, นุชปิยา ทองโชติ Jan 2021

การพัฒนาแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังที่คำนึงถึงการตอบตามความปรารถนาของสังคมสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร, นุชปิยา ทองโชติ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังและแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร 2) ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติ 3) ศึกษาระดับความสามารถในการฟื้นพลัง 4) เปรียบเทียบระดับความสามารถในการฟื้นพลังของนักเรียนพยาบาลทหารที่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคมและไม่มีการตอบตามความปรารถนาของสังคม สำหรับตัวอย่างวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนพยาบาลทหารของวิทยาลัยพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม จำนวน 492 คน ดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลโดยสถิติบรรยาย ค่าอำนาจจำแนก ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามตัวแปรที่ต้องการวัด การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค ผลการวิจัย พบว่า 1. แบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังที่พัฒนาขึ้นมีจำนวน 58 ข้อ เป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบย่อย คือ ปัจจัยสนับสนุนจากภายนอก ปัจจัยสนับสนุนจากภายใน ปัจจัยด้านทักษะในการจัดการปัญหาและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ส่วนแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคมมีจำนวน 10 ข้อ เป็นมาตรประมาณค่า 7 ระดับ ประกอบด้วย 2 องค์ประกอบ คือ การหลอกลวงตนเอง และ การจัดการความประทับใจ 2. คุณสมบัติทางจิตมิติของแบบวัดความสามารถในการฟื้นพลังสำหรับนักเรียนพยาบาลทหาร ประกอบด้วย 1) ค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.31-0.66 2) ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับนิยามตัวแปรที่ต้องการวัด อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2=95.32 df=86 p=0.23 CFI=1.00 NFI=0.92 RMR=0.04 RMSEA= 0.00) 4) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค เท่ากับ 0.95 ส่วนคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบการวัดการตอบความปรารถนาของสังคมประกอบด้วย 1) ค่าอำนาจจำแนก มีค่าอยู่ระหว่าง 0.20-0.46 ค่าดัชนีความสอดคล้องข้อคำถามกับตัวแปรที่ต้องการวัด อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 3) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลการวัดมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 41.21 df=29 p=0.06 CFI=0.98 NFI=0.95 RMR=0.02 RMSEA=0.03 และ 4) สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 0.57 …


การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร, ขวัญเรือน จอมโคกสูง Jan 2021

การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร, ขวัญเรือน จอมโคกสูง

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สังเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร 2) พัฒนาและตรวจสอบคุณภาพแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การประชุมกลุ่ม ซึ่งประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน ตัวอย่างในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 159 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย ได้แก่ แบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ด้วยสถิติทดสอบทีแบบกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1. สมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การประเมินแผนงาน/โครงการ 2) การประเมินหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ 3) การประเมินบุคลากร 4) การประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา 2. การพัฒนาแบบตรวจสอบรายการสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร ประกอบด้วยประเด็นตรวจสอบหลัก 4 ประเด็น จำนวน 88 รายการตรวจสอบ มีความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.60 – 1.00 มีความเที่ยงทั้งฉบับในระดับ 0.94 ผู้อำนวยการสถานศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานครมีระดับสมรรถนะการประเมินส่วนใหญ่ในระดับเชี่ยวชาญ การเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามเพศ อายุ ระดับวุฒิการศึกษา ระดับวิทยฐานะ และขนาดโรงเรียน พบว่า สมรรถนะ การประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ผลการเปรียบเทียบสมรรถนะการประเมินของผู้บริหารสถานศึกษาจำแนกตามระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การประเมินตนเองโดยใช้รูบริกที่มีวิธีการต่างกันที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์: วิธีแอนโนเทตประยุกต์และดับเบิ้ลเลเยอร์, พงศ์พล จินตนประเสริฐ Jan 2021

การประเมินตนเองโดยใช้รูบริกที่มีวิธีการต่างกันที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์: วิธีแอนโนเทตประยุกต์และดับเบิ้ลเลเยอร์, พงศ์พล จินตนประเสริฐ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยเชิงทดลองนี้มีวัตุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเอง กับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน และ 2) เปรียบเทียบพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียน ในแต่ละระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ ที่ประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเอง โดยใช้วิธีการประเมินตนเองที่แตกต่างกัน ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 100 คน เครื่องมือวิจัย คือ 1) แบบฝึกทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ และ 2) แบบสอบคู่ขนานทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงบรรยาย คะแนนพัฒนาการสัมพัทธ์ การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนสองทาง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองกับระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่มีต่อพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์สูงที่ได้รับการประเมินตนเองด้วยวิธีการที่แตกต่างกันมีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ปานกลางที่ได้รับการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการรูบริกแอนโนเทตประยุกต์และวิธีการรูบริกดับเบิ้ลเลเยอร์มีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิธีการไม่ใช้เครื่องมืออย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในส่วนของนักเรียนที่มีระดับความสามารถทางคณิตศาสตร์ต่ำที่ได้รับการประเมินทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของตนเองด้วยวิธีการรูบริกดับเบิ้ลเลเยอร์มีพัฒนาการทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์สูงกว่าวิธีการไม่ใช้เครื่องมือ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การพัฒนาแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, วนัสนันท์ ใจมณี Jan 2021

การพัฒนาแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนประถมศึกษา, วนัสนันท์ ใจมณี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อเพื่อพัฒนาและตรวจสอบคุณภาพของแบบวัดการต้านทุจริตของนักเรียนชั้นประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขึ้นพื้นฐานในเขตรุงเทพมหานคร จำนวน 720 คน ได้มาจากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดการตอบตามความปรารถนาของสังคม และแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและสถิติเชิงอ้างอิง ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเบ้ ความโด่ง การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง ซึ่งผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. แบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาพัฒนาขึ้น มีลักษณะเป็นแบบวัดเชิงสถานการณ์แบบเลือกตอบ ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 31 ข้อ แบ่งออกเป็น 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1)การมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริต 2) การมีจิตพอเพียง 3) การละอายต่อการทุจริต4) การไม่ทนต่อการทุจริต มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.10 - 0.54 มีความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 โดยมีค่าความเที่ยงด้านการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริตค่าเท่ากับ 0.56 ด้านการมีจิตพอเพียงมีค่าเท่ากับ 0.62 ด้านการละอายต่อการทุจริตมีค่าเท่ากับ 0.62 และด้านการไม่ทนต่อการทุจริตมีค่าเท่ากับ 0.55ความตรงเชิงโครงสร้างของแบบวัดจากการตรวจสอบด้วยวิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับที่สอง พบว่า โมเดลแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (Chi-square = 35.27,df = 33,p = 0.36,AGFI = 0.99,RMR = 0.02, RMSES = 0.01) 2. เกณฑ์การแปลความหมายของคะแนนที่ได้จากแบบวัดการต้านทุจริตสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา เป็นเกณฑ์แบบทีปกติ (normalized T -score) โดยภาพรวมการต้านทุจริตทีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 5 – 29 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T21 – T61 เมื่อแบ่งรายองค์ประกอบ ด้านองค์ประกอบการมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการทุจริต นักเรียนมีคะแนนดิบอยู่ระหว่าง 0 – 12 มีคะแนนทีปกติระหว่าง T21 …


การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน, ปาริชาต อภิเดชากุล Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน, ปาริชาต อภิเดชากุล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนารูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน และ 2) เพื่อประเมินคุณภาพของรูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยใช้เว็บแอปพลิเคชัน ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ นักศึกษาวิสัญญีพยาบาลจำนวน 176 คน และอาจารย์นิเทศงานจำนวน 5 คน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วยแบบวัดการตระหนักรู้สถานการณ์ แบบประเมินคุณภาพของผู้ใช้งานในการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันกับผู้ใช้งาน แบบตรวจสอบคุณภาพของรูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์เพียร์สัน การทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากรกลุ่มเดียว พารามิเตอร์ความง่าย พารามิเตอร์อำนาจจำแนก การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายใน ผลการวิจัยพบว่า 1.รูปแบบการประเมินฯที่พัฒนาขึ้นเป็นการเรียนรู้โดยใช้เว็บแอปพลิเคชันประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 1) การประเมินโดยใช้แบบวัดมัลติมีเดียของสถานการณ์การระงับความรู้สึกทั่วไปเพื่อการผ่าตัดคลอดในสถานการณ์ระยะเตรียมการ นำสลบ และการใส่ท่อช่วยหายใจ ประกอบด้วยแบบทดสอบหลายตัวเลือกเพื่อวัดตัวบ่งชื้ที่ 1-6 ได้แก่ การรวบรวบข้อมูล การตรวจความผิดปกติ การตีความ การสรุประเด็นปัญหา การคาดคะเนการปฏิบัติ และการคาดคะเนเหตการณ์ 2) การประมวลผลคะแนนและวิเคราะห์ผลประเมินตามเกณฑ์ระหว่างเรียนรู้และสิ้นสุดการเรียนรู้ 3) การให้ข้อมูลย้อนกลับทันทีเพื่อช่วยปรับปรุงผู้เรียนในด้านข้อบกพร่องและเรียนรู้จนกว่าจะผ่านเกณฑ์มาตรฐาน โดยข้อคำถามเพื่อวัดการตระหนักรู้สถานการณ์จำนวน 48 ข้อที่สอดคล้องกับโมเดล 2PL ได้รับการตรวจสอบคุณภาพรายข้อ พารามิเตอร์ความง่ายอยู่ระหว่าง -1.87 ถึง 3.91 พารามิเตอร์อำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง -1.28 ถึง 2.06 และการตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้าง พบว่า (Chi-square = 3.84, df=5 , p=0.573) ความเที่ยงแบบสอดคล้องภายในเท่ากับ 0.75 และข้อมูลย้อนกลับมีความตรงเชิงเนื้อหา ได้ฟอร์มข้อสอบสร้างจากข้อคำถามวัดการตระหนักรู้สถานการณ์ต้นแบบจำนวน 41 ฟอร์มซึ่งมีความตรงเชิงเนื้อหา 2.รูปแบบการประเมินเพื่อการเรียนรู้ด้านการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลมีคุณภาพทุกด้านในระดับมากที่สุด โดยด้านความถูกต้อง มีคุณภาพในระดับมากที่สุด ผลการทดลองใช้รูปแบบการประเมินการตระหนักรู้สถานการณ์ของนักศึกษาวิสัญญีพยาบาลโดยเว็บแอปพลิเคชัน พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เรียนรู้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ 91.67 โดยในสถานการณ์ที่ 1 มีนักศึกษาไม่ผ่านเกณฑ์มากที่สุด นักศึกษามีคะแนนการตระหนักรู้สถานการณ์ด้านการคาดการณ์มากที่สุด ผลการสำรวจความพึงพอใจในการเชื่อมต่อระหว่างแอปพลิเคชันกับผู้ใช้งาน โดยค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ ด้านความรู้สึกโดยรวมที่มีต่อเว็บแอปพลิเคชัน ผลการวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของคะแนนการประเมินทักษะภาคปฏิบัติกับค่าทดสอบพบว่ามีความแตกต่างของค่าเฉลี่ยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์เพียร์สันระหว่างคะแนนรวมที่ได้จากการประเมินการตระหนักรู้สถานการณ์โดยใช้แอปพลิเคชันต่อคะแนนประเมินทักษะภาคปฏิบัติ พบว่ามีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์, ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์ Jan 2021

การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์, ธีรวัฒน์ ศรีบุรมย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

รูปแบบการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของครูเปลี่ยนแปลงไปเป็นการทำงานในบริบทออนไลน์มากยิ่งขึ้นจำเป็นต้องส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์ให้ครูทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อวิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีมและทีมเสมือน ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา และอุปสรรคของการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (2) เพื่อออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพออฟไลน์และออนไลน์ที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของครู (3) เพื่อวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการนำแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนไปใช้ในบริบทจริง ทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนมี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ การแบ่งปันความรู้และสารสนเทศ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ การสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ความเป็นผู้นำ และความเชื่อมั่นที่มีต่อเพื่อน ศึกษากับครูจำนวน 360 คนใช้วิธีการเลือกตัวอย่างตามสะดวก (convenience sampling) จากการเก็บข้อมูลแบบออนไลน์และฉบับกระดาษ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามการทำงานเป็นทีมในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือด้วยการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา ความเที่ยง และความตรงเชิงโครงสร้างด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วย (1) สถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (2) สถิติอ้างอิง ได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนระหว่างกลุ่ม (one-way ANOVA) และการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยระหว่างกลุ่ม (paired-samples t-test) ดำเนินการวิจัยด้วยการคิดออกแบบ (Design Thinking) แบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การวิเคราะห์ทักษะการทำงานเป็นทีมและทีมเสมือน เป็นการศึกษาทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพขั้นเข้าใจ ผลที่ได้นำไปสู่ขั้นกำหนดปัญหา ระยะที่ 2 การออกแบบแนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนขั้นสร้างความคิด ขั้นสร้างต้นแบบ และขั้นทดลอง ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ครูมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนค่อนข้างสูง ครูที่สอนระดับชั้นมัธยมปลายมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนสูงกว่าครูที่สอนชั้นประถมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และครูที่เป็นผู้นำมีทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนสูงกว่าครูที่เป็นสมาชิกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 องค์ประกอบ ครูส่วนใหญ่สามารถแบ่งปันความรู้สารสนเทศและเป็นผู้นำในรูปแบบเผชิญหน้ากันได้ดีกว่าการทำงานเป็นทีมเสมือน และครูมีคุณลักษณะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือน 7 ลักษณะ 2. แนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วย (1) แนวทางพื้นฐานสำหรับส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนโดยจะต้องสนับสนุนการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมความเป็นผู้นำ ความเชื่อมั่นที่มีต่อเพื่อน สร้างความไว้วางใจ กำหนดและใช้เครื่องมือสำหรับทำงานร่วมกันบนพื้นที่ออนไลน์ ฯลฯ และ (2) แนวทางส่งเสริมทักษะการทำงานเป็นทีม/ทีมเสมือนที่สอดคล้องกับคุณลักษณะของครู ประกอบด้วย สภาพปัญหา จุดเน้นที่ควรส่งเสริม บทบาทหน้าที่ กิจกรรม/กระบวนการ วิธีการสื่อสาร การเรียนรู้และพัฒนาตนเอง เช่น ส่งเสริมการใช้เครื่องมือแบบ Interactive …


การพัฒนารูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี: การประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์, ภูรินท์ เทพสถิตย์ Jan 2021

การพัฒนารูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี: การประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์, ภูรินท์ เทพสถิตย์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนารูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ และ (2) ตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ ตัวอย่างวิจัย คือ (1) นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี 4 ชนิด ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็ก จำนวน 84 คน และ (2) ผู้ประเมินทักษะดนตรีไทยที่มีความเชี่ยวชาญและผ่านการอบรม จำนวน 6 ท่าน เครื่องมือวิจัย คือ รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี ประกอบด้วยเกณฑ์ 8 ด้าน 12 ข้อรายการประเมิน โดยแต่ละข้อรายการประเมินจะประกอบไปด้วยระดับคุณภาพ 5 ระดับ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย (1) การสังเคราะห์และตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี (2) การทดลองใช้รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตี และ (3) การตรวจสอบคุณสมบัติทางจิตมิติของรูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีโดยประยุกต์ใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ วิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติโดยใช้โมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ผ่านฟาเซตที่เกี่ยวข้อง 4 ฟาเซต ได้แก่ ฟาเซตนักเรียน ฟาเซตผู้ประเมิน ฟาเซตเครื่องดนตรี และฟาเซตข้อรายการประเมิน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่พัฒนาด้วยโมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ มีลักษณะเป็นรูบริกที่มีเกณฑ์ 8 ด้าน 12 ข้อรายการประเมิน มีระดับคุณภาพของข้อรายการประเมินหลังการปรับปรุงประสิทธิผลจาก 5 ระดับเป็นจำนวน 2 ถึง 3 ระดับ รูบริกถูกพัฒนาเป็นคู่มือการใช้รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยที่ประกอบด้วย (1) คำชี้แจงการใช้รูบริก ขอบเขตของทักษะที่เป็นเป้าหมายของการใช้รูบริกและกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมกับการใช้รูบริก (2) ภาระงานที่กลุ่มเป้าหมายต้องปฏิบัติ (3) ข้อตกลงเบื้องต้นและข้อควรคำนึงก่อนการใช้รูบริก (4) นิยามเชิงปฏิบัติการของเกณฑ์และข้อรายการประเมิน (5) รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทย และ (6) การแปลผลการประเมิน 2. รูบริกสำหรับการประเมินทักษะดนตรีไทยประเภทเครื่องตีที่พัฒนาด้วยโมเดลการให้คะแนนบางส่วนแบบหลายองค์ประกอบของราสช์ แสดงถึงคุณภาพของคุณสมบัติทางจิตมิติที่ครบถ้วน โดยมีดัชนี IOC บ่งชี้ถึงความตรงเชิงเนื้อหา แสดงให้เห็นถึงการมีเนื้อหาของข้อรายการประเมินและคำอธิบายที่ครอบคลุมทักษะที่ต้องการประเมิน ความสอดคล้องกลมกลืนกับโมเดลของฟาเซตทั้ง 4 ฟาเซต ค่า point-measure correlation ของฟาเซตข้อรายการประเมิน …


ข้อเสนอทางเลือกเพื่อลดภาวะความท้อแท้ในการทำงานของครูจากปัจจัยเสี่ยงในโรงเรียน : การวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็ม, ดวงฤทัย เด่นจารุกูล Jan 2021

ข้อเสนอทางเลือกเพื่อลดภาวะความท้อแท้ในการทำงานของครูจากปัจจัยเสี่ยงในโรงเรียน : การวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็ม, ดวงฤทัย เด่นจารุกูล

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ความท้อแท้ในการทำงานเกิดจากการตอบสนองต่อความเครียดเป็นเวลานานโดยไม่สามารถจัดการได้ การวิจัยนี้ศึกษา 1) ระดับความท้อแท้ในการทำงานและปัจจัยเสี่ยงในโรงเรียน 2) พัฒนาโมเดลสมการโครงสร้างของปัจจัยเสี่ยง 3) จำแนกกลุ่มของครูโดยใช้การวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็ม และ 4) พัฒนาข้อเสนอทางเลือกในการลดความท้อแท้ในการทำงาน ตัวอย่าง คือ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 720 คน เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามออนไลน์ และวิเคราะห์ด้วย Independent sample t-test one-way ANOVA โมเดลสมการโครงสร้าง และต้นไม้เอสอีเอ็ม (SEM tree) จำแนกกลุ่มครูตามความแปรปรวนและสัมประสิทธิ์อิทธิพลที่แตกต่างกัน พบว่า ครูมีความท้อแท้ในการทำงานในระดับปานกลาง (M =33.60, SD = 9.41) โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อความท้อแท้ คือ อายุ รายได้ ประสบการณ์ทำงาน จำนวนงานนอกเหนืองานสอน และการทำงานฝ่ายงบประมาณและแผนงาน ซึ่งการรับรู้ความสามารถในตนเอง และการสนับสนุนจากโรงเรียน ส่งผลต่อความท้อแท้ในการทำงานของครู โดยมีความยึดมั่นผูกพันในการทำงาน เป็นตัวแปรส่งผ่านแบบบางส่วนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (chi-square (346, N = 720) = 1142.254, p < .001, CFI = .931, TLI = .919, RMSEA = 0.057 และ SRMR = 0.079) ส่วนกลยุทธ์การเผชิญปัญหาเป็นปัจจัยที่ไม่ส่งผลต่อความท้อแท้ในการทำงาน จากการวิเคราะห์ต้นไม้เอสอีเอ็มจำแนกครูเป็น 6 กลุ่มที่มีปัจจัยภูมิหลังต่างกัน พัฒนาทางเลือกในการลดความท้อแท้ในการทำงานไปยังครู ผู้บริหาร ผู้ออกนโยบายและสถานผลิตครู และประเมินความเหมาะสม พบว่า ข้อเสนอทางเลือกมีความความเป็นไปได้ระดับมาก และมีประโยชน์ในทางปฏิบัติระดับมากที่สุด


การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลตามกรอบการเรียนรู้ของมิลเลอร์ โดยใช้การกำหนดกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้, กุสุมา กังหลี Jan 2021

การพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลตามกรอบการเรียนรู้ของมิลเลอร์ โดยใช้การกำหนดกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้, กุสุมา กังหลี

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาลตามกรอบการเรียนรู้ของมิลเลอร์ โดยใช้การกำหนดกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก และ 3) ประเมินประสิทธิผลและคุณภาพของการใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก ผู้ให้ข้อมูลในการพัฒนารูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก คือ ผู้ทรงคุณวุฒิทางการพยาบาลจำนวน 37 คน กลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้รูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก คือ อาจารย์พยาบาล จำนวน 2 คน และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ แบบสอบถามองค์ประกอบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก แบบประเมินสมรรถนะทางคลินิกและเกณฑ์การให้คะแนน ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. รูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) กิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ที่จำเป็นของนักศึกษาพยาบาล จำนวน 25 ด้าน 82 กิจกรรม แบ่งกิจกรรมตามระดับการกำกับดูแล ระดับที่ 1 ถึง ระดับที่ 5 เป็น 4, 25, 12, 20 และ 21 กิจกรรม ตามลำดับ 2) องค์ประกอบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก ประกอบด้วย สมรรถนะหลักทางวิชาชีพการพยาบาล 5 องค์ประกอบ และตัวบ่งชี้ระดับความสามารถ 22 ตัวบ่งชี้ และ 3) แบบประเมินสมรรถนะทางคลินิกและเกณฑ์การให้คะแนนที่พัฒนาขึ้นพบว่า สมรรถนะหลักด้านการปฏิบัติการพยาบาลมีความสำคัญมากที่สุด รองลงมาคือ สมรรถนะหลักด้านจริยธรรมจรรยาบรรณและกฎหมาย และรูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิก ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ ขั้นเตรียม ขั้นดำเนินการ และขั้นสรุป 2. ผลการประเมินสมรรถนะทางคลินิกของนักศึกษาพยาบาล โดยใช้การกำหนดกิจกรรมสมรรถนะทางวิชาชีพที่เชื่อมั่นได้ 2 กิจกรรม คือ EPA: การฉีดยาเข้าทางหลอดเลือดดำ และ EPA: การดูดเสมหะพบว่า นักศึกษาพยาบาลมีสมรรถนะทางคลินิกและระดับการกำกับดูแลผ่านเกณฑ์ ผลการประมาณค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิงความน่าเชื่อถือของรูปแบบการประเมินสมรรถนะทางคลินิกแบบ p x r x o พบว่า เมื่อจำนวนผู้ประเมิน …


การพัฒนาชายนีอาร์แอปพลิเคชันเพื่อวิเคราะห์และส่งเสริมชั้นเรียนนวัตกรรมของครู, โยธณัฐ บุญโญ Jan 2021

การพัฒนาชายนีอาร์แอปพลิเคชันเพื่อวิเคราะห์และส่งเสริมชั้นเรียนนวัตกรรมของครู, โยธณัฐ บุญโญ

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ชั้นเรียนนวัตกรรมเป็นชั้นเรียนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนให้เกิดทักษะที่จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 5 ประการ คือ 1) วิเคราะห์ระดับความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูที่มีตัวแปรภูมิหลังแตกต่างกัน 2) วิเคราะห์จัดกลุ่มความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรม ของครู โดยการเปรียบเทียบการจัดกลุ่ม 4 วิธี ได้แก่ การแบ่งกลุ่มตามตัวแปรภูมิหลัง คะแนนดิบ คะแนนองค์ประกอบ และการวิเคราะห์กลุ่มแฝง 3) วิเคราะห์ตัวแปรที่ส่งผลต่อความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู 4) เพื่อพัฒนา Shiny R ที่ใช้ในการวิเคราะห์และจัดกลุ่มความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครู 5) เพื่อพัฒนาข้อเสนอแนวทางการพัฒนาและส่งเสริมความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูแต่ละกลุ่ม ตัวอย่างวิจัย คือ ครูที่สอนระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 386 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตรประเมินค่า 5 ระดับ ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมอยู่ในระดับมาก โดยครูที่สอนโรงเรียนขนาดใหญ่และขนาดใหญ่พิเศษมีค่าเฉลี่ยความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมมากกว่าครูที่สอนโรงเรียนขนาดกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและมีขนาดอิทธิพลในระดับสูง (F(4, 382) = 2.91, p = .005, ES= .035) 2) การจัดกลุ่มความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูตามคะแนนดิบ คะแนนองค์ประกอบ มีความสัมพันธ์กับการจัดกลุ่มตามผลการวิเคราะห์กลุ่มแฝงมีความสัมพันธ์กันในระดับสูง (rraw(384) = .846, p < .001, rfs (384) = .871, p < .001) และการจัดกลุ่มตามตัวแปรภูมิหลัง (การพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยี) มีความสัมพันธ์กับการจัดกลุ่มแบบอื่น ๆ ต่ำ 3) ครูที่มีคะแนนการสอนเชิงนวัตกรรมสูง สภาพแวดล้อมเชิงนวัตกรรมสูง และครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดใหญ่ จะมีโอกาสอยู่ในกลุ่มครูพัฒนานวัตกรสูง 4) แอปพลิเคชันชายนีอาร์ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ คำชี้แจงการใช้งาน แบบสอบถามประเมินความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรม แดชบอร์ด และแหล่งเรียนรู้ หลังจากทดลองใช้แอปพลิเคชันชายนีอาร์ ผู้ใช้งาน มีความพึงพอใจในการใช้งานค่อนข้างสูง รวมทั้งผู้ใช้งานมีความคิดเห็นว่าแอปพลิเคชันชายนีอาร์มีประโยชน์ในการใช้งาน และมีประสิทธิภาพในการส่งเสริมความเป็น ชั้นเรียนนวัตกรรมของครูในระดับค่อนข้างสูง 5) การพัฒนาและส่งเสริมความเป็นชั้นเรียนนวัตกรรมของครูแต่ละกลุ่มมีจำนวน 25 แนวทาง เช่น ครูควรใช้การสอนเชิงนวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ และผู้บริหารควรเปิดโอกาสให้ครูแสดงความคิดเห็นในการทำงาน


การพัฒนาคู่มือครูเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับโลกแห่งความจริง : การสร้างแผนภาพมโนทัศน์และการวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์, สุจิตรา โง้วอมราภรณ์ Jan 2021

การพัฒนาคู่มือครูเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับโลกแห่งความจริง : การสร้างแผนภาพมโนทัศน์และการวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์, สุจิตรา โง้วอมราภรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

ปัจจุบันครูสอนคณิตศาสตร์ควรให้ความสำคัญกับการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับโลกแห่งความจริง การวิจัยในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์แนวปฏิบัติในการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับบริบทโลกแห่งความจริงของครูโดยการสร้างแผนภาพมโนทัศน์ จากข้อมูลการสัมภาษณ์และแหล่งเอกสารต่าง ๆ 2) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์เทคนิคการสื่อสารและตัวอย่างการจัดการเรียนการสอนของครูเพื่อเชื่อมโยงบทเรียนกับบริบทโลกแห่งความจริงโดยใช้การวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์จากข้อมูลการสัมภาษณ์และแหล่งเอกสารต่าง ๆ และ 3) เพื่อสร้างและพัฒนาคู่มือครูเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับบริบทโลกแห่งความจริงและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของครูคณิตศาสตร์ แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นที่ 1 และ 2 ใช้การศึกษาข้อมูลเอกสารและสัมภาษณ์ครูที่มีคุณลักษณะตามที่กำหนด จำนวน 9 คน ด้วยแบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างและการวิเคราะห์เนื้อหา เพื่อนำข้อมูลไปใช้สร้างแผนภาพมโนทัศน์แสดงแนวปฏิบัติในการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์ จากนั้นนำแผนภาพทั้ง 3 ประเภทไปตรวจประเมินแผนภาพมโนทัศน์ และนำข้อมูลที่สรุปเพื่อปรับแก้ไปกำหนดประเด็นเป็นองค์ประกอบในคู่มือครู ขั้นที่ 2 ใช้การวิเคราะห์วาทกรรมทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของ Kabael และ Baran (2017) ที่อ้างอิงแนวคิดของ Sfard (2001) เพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการเชื่อมโยง และเพิ่มการพิจารณาอีกหนึ่งมิติเพื่อวิเคราะห์มโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ (misconception on maths) ที่ปรากฏผ่านวาทกรรมทางคณิตศาสตร์ของครู ขั้นที่ 3 นำข้อมูลที่ได้จากทั้งสองขั้นตอน ไปสร้างและพัฒนาคู่มือครูเพื่อส่งเสริมการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับบริบทโลกแห่งความจริงและตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ในการนำไปปฏิบัติของครูคณิตศาสตร์ ผลการวิจัยที่สำคัญมีดังนี้ 1. แนวปฏิบัติของครูในการเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์กับบริบทโลกแห่งความจริง พบว่า ครูมักยกตัวอย่างโจทย์บริบทส่วนบุคคลมากที่สุด โดยเลือกใช้แหล่งข้อมูลทางการศึกษาจาก 4 แหล่งข้อมูล ได้แก่ หนังสือคณิตศาสตร์ เว็บไซต์ทางการศึกษา การเข้าร่วมการอบรม และการศึกษาดูงาน ด้านวิธีการสอนครูเน้นให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง รวมถึงจัดกิจกรรมคณิตศาสตร์ที่หลากหลาย ปัญหาในการสอนเชื่อมโยงบทเรียนคณิตศาสตร์อาจเกิดจากครูขาดความพร้อมด้านเวลาในการจัดเตรียมสื่อการสอนและมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการสอนเชื่อมโยง รวมถึงความพร้อมของนักเรียนในเรื่องพื้นความรู้เดิมไม่เพียงพอ ขาดความสนใจในการเรียนและขาดสมาธิในการเรียน 2. ข้อค้นพบเกี่ยวกับลักษณะวาทกรรมที่ไม่เหมาะสมพบว่า 1) ครูมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้านการเชื่อมโยง ใช้คำไม่ตรงกับจุดประสงค์ เลือกใช้คำไม่เหมาะสมและให้ข้อมูลไม่เพียงพอ และ 2) ครูมีมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนทางคณิตศาสตร์ 3. คู่มือครู ประกอบด้วย 8 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) วัตถุประสงค์ 2) สาระความรู้ 3) การออกแบบตัวอย่างโจทย์ปัญหาที่เชื่อมโยงโลกจริง 4) ตัวอย่างวาทกรรมทางคณิตศาสตร์ 5) คลังสื่อการเรียนรู้ 6) ตัวอย่างกิจกรรม 7) ตัวอย่างแผนการสอน และ 8) แบบประเมินตนเอง …


การพัฒนาวิธีการปรับการให้คะแนนจากตัวเลือกที่เว้นไว้สำหรับเป็นทางเลือกในการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก, ภัคจิรา บวรธรรมรัตน์ Jan 2021

การพัฒนาวิธีการปรับการให้คะแนนจากตัวเลือกที่เว้นไว้สำหรับเป็นทางเลือกในการตรวจให้คะแนนความรู้บางส่วนของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก, ภัคจิรา บวรธรรมรัตน์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติของแบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือกที่มีวิธีการให้คะแนนความรู้บางส่วน 4 วิธี ประกอบด้วย วิธีการนับ 2 (Count-2) วิธีการให้คะแนนบางส่วน 50 (PS50) วิธีการเพิ่มคะแนนตัวเลือกที่เว้นไว้ (LO) และวิธีประยุกต์การเพิ่มคะแนนตัวเลือกที่เว้นไว้ (MLO) ตัวอย่างวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนคณิตศาสตร์ -วิทยาศาสตร์ จำนวน 1,178 คน เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสอบถูกผิดหลายตัวเลือก เรื่องเคมีอินทรีย์ จำนวน 20 ข้อ การวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานของคะแนนสอบ ด้วยโปรแกรม Microsoft Excel และ SPSS การวิเคราะห์คุณสมบัติทางจิตมิติ ได้แก่ ความยาก (b) อำนาจจำแนก (a) ฟังก์ชันสารสนเทศของข้อสอบ (IIF) ฟังก์ชันสารสนเทศของแบบสอบ (TIF) สัมประสิทธิ์ความเที่ยง โดยวิเคราะห์ตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ โมเดล G-PCM ด้วยโปรแกรม R วิเคราะห์เปรียบเทียบคุณสมบัติทางจิตมิติ สัมประสิทธิ์ความเที่ยงแอลฟาของครอนบาค และความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนสอบที่ได้จากการตรวจให้คะแนนทั้ง 4 วิธีกับเกรดวิชาเคมี การเรียนพิเศษวิชาเคมี และความรู้สึกต่อวิชาเคมี ด้วยโปรแกรม SPSS ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์สถิติพื้นฐานของคะแนน พบว่า เมื่อตรวจให้คะแนนด้วยวิธี MLO คะแนนจะมีค่าเฉลี่ยสูงสุด (12.05) และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างคะแนนเมื่อตรวจให้คะแนนทั้ง 4 วิธี พบว่า คะแนนที่ได้เมื่อตรวจให้คะแนนแต่ละวิธีมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันสูงถึงสูงมาก 2. ผลการวิเคราะห์และเปรียบเทียบความยากและอำนาจจำแนก พบว่า ข้อสอบมีความยากเฉลี่ยและอำนาจจำแนกเฉลี่ยสูงสุดเมื่อตรวจให้คะแนนด้วย PS50 (b = 0.39, a = 0.95) รองลงมาคือ วิธี Count-2 (b = 0.39, a = 0.64) วิธี MLO …


แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้ Udl ของนิสิตครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย : การประยุกต์ใช้วิธีการวาดเส้นเวลา, พลากร จันทร์บูรณ์ Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้ Udl ของนิสิตครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย : การประยุกต์ใช้วิธีการวาดเส้นเวลา, พลากร จันทร์บูรณ์

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การออกแบบการจัดการเรียนรู้ที่เป็นสากล (UDL) เป็นกรอบแนวคิดทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนที่หลากหลายได้ โดยมีหลักการ 3 ข้อ ได้แก่ 1) วิธีการที่หลากหลายสำหรับการนำเสนอ 2) วิธีการที่หลากหลายสำหรับการแสดงออกพฤติกรรมและความคิด และ 3) วิธีการที่หลากหลายสำหรับความยึดมั่นผูกพัน จึงควรมีแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครูสำหรับจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย การวิจัยครั้งนี้จึงวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือประเมินความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย 2) เพื่อวิเคราะห์ความสามารถและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู สำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย 3) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดที่ควรพัฒนาของการจัดการศึกษาตามหลักสูตรครุศาสตร์ในการส่งเสริมความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู โดยประยุกต์ใช้เทคนิคการวาดเส้นเวลา และ 4) เพื่อพัฒนาแนวทางในการส่งเสริมความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครูสำหรับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่มีความหลากหลาย การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู โดยสร้างเครื่องมือการวัดความสามารถในการใช้ UDL ระยะที่ 2 การวิเคราะห์ความสามารถและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู โดยมีตัวอย่างวิจัย คือ นิสิตครูที่เข้าศึกษาในปีการศึกษา 2559 และ 2560 จำนวน 135 คน รวมทั้งจัดกลุ่มของนิสิตครูตามระดับความสามารถในการใช้ UDL ด้วยเทคนิค K – Means clustering และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเอกสารหลักสูตร ประมวลรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับจิตวิทยา การสัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอนในรายวิชาจิตวิทยาและการสัมภาษณ์นิสิตครู ระยะที่ 3 เป็นการพัฒนาแนวทางการส่งเสริมความสามารถในการใช้ UDL ของนิสิตครู ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถในการใช้ UDL พบว่า มีความตรงเชิงเนื้อหา (IOC, 1.00) มีความเที่ยง (Cronbach’s alpha, .76 - .88) มีความตรงเชิงโครงสร้างเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด (χ2 (1, N = 92) = …


แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล : การวิเคราะห์ข้ามกรณี, จีรศักดิ์ วงศ์กาญจนฉัตร Jan 2021

แนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล : การวิเคราะห์ข้ามกรณี, จีรศักดิ์ วงศ์กาญจนฉัตร

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

นักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล เป็นคุณลักษณะของนักเรียนในกระบวนการคิด ค้นคว้า ประยุกต์ใช้สื่อแอปพลิเคชัน และนำเสนอข้อค้นพบความรู้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัลของนักเรียน 2) เพื่อวิเคราะห์ และเปรียบเทียบคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัลของนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน 3) เพื่อวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล และปัญหาอุปสรรค ปัจจัยความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ และ 4) เพื่อพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะของนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยระยะที่ 1 การพัฒนาเครื่องมือวัดคุณลักษณะนักวิจัย รุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และทดลองใช้กับนักเรียน ระยะที่ 2 การวิเคราะห์การจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล โดย เก็บรวบรวมข้อมูลจากนักเรียนจำนวน 645 คน และครูจำนวน 34 คน โดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน จากโรงเรียนสังกัด สพฐ. และสช. ในเขตกรุงเทพฯ เครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถามคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล และแบบสอบถามการจัดการเรียนรู้ ลักษณะมาตรประเมินค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดย 1) วิเคราะห์ค่าสถิติบรรยาย ความแปรปรวนทางเดียว และสถิติที 2) วิเคราะห์โมเดลเชิงสาเหตุพหุระดับ และ3) วิเคราะห์ข้ามกรณี โดยเลือกครูกรณีศึกษาจำนวน 6 คน จากการจัดกลุ่มด้วยเทคนิค cluster analysis และระยะที่ 3 การพัฒนาแนวทางการส่งเสริมคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล โดยนำข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพสังเคราะห์ร่วมกัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. องค์ประกอบคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1) การช่างสงสัย 2) การสืบค้นสำรวจ 3) การร่วมมือกับผู้อื่น 4) การคิดแก้ปัญหา 5) การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และ 6) การสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เครื่องมือวัดมีคุณภาพด้านความตรง และความเที่ยง โมเดลคุณลักษณะนักวิจัยรุ่นเยาว์ในยุคดิจิทัล มีความตรงเชิงโครงสร้าง พิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องกลมกลืนได้แก่ ไค-สแควร์ (7, N=65) = …


ความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิด วิจารณญาณทางคณิตศาสตร์:การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, ภัคจิรา จงสุกใส Jan 2021

ความเที่ยงภายใต้เงื่อนไขการทดสอบที่ต่างกันของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิด วิจารณญาณทางคณิตศาสตร์:การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง, ภัคจิรา จงสุกใส

Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 (2) ตรวจสอบคุณภาพวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นในแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (3) เปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนที่แตกต่างกันโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสรุปอ้างอิง ตัวอย่างวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 90 คน เครื่องมือวิจัย คือ แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และเกณฑ์การตรวจให้คะแนน ผลการวิจัย พบว่า (1) แบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์แต่ละข้อคำถามสอดคล้องกับกระบวนการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ และวิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น ชั้นที่ 1 ประเมินตามข้อรายการย่อยให้คะแนนแบบมาตรประมาณค่า 3 ระดับ ชั้นที่ 2 แปลงคะแนนชั้นที่ 1 (2) วิธีตรวจ ให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความตรงเชิงเนื้อหาสอดคล้องกับแนวคำตอบ ความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนภายในผู้ประเมินและความเที่ยงในการตรวจให้คะแนนระหว่างผู้ประเมินมีค่าสูง และ (3) ผลการเปรียบเทียบความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ด้วยค่าสัมประสิทธิ์การสรุปอ้างอิง สำหรับทุกวิธีตรวจให้คะแนนแบบสอบที่มีความเที่ยงตั้งแต่ 0.7 ขึ้นไป เมื่อพิจารณาภายใต้ผู้ประเมินจำนวน 1 คน จะใช้แบบสอบ 6 เหตุการณ์ ภายใต้ผู้ประเมินจำนวน 2 คน จะใช้แบบสอบ 5 เหตุการณ์ พบว่า วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นให้ค่าความเที่ยงสูงสุด รองลงมา คือ วิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบความแตกต่างความเที่ยงของแบบสอบอัตนัยประยุกต์วัดทักษะการคิดวิจารณญาณทางคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้น โดยเทียบกับวิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox พบว่า วิธีตรวจให้คะแนนรูบริกสองชั้นมีความเที่ยงสูงกว่าวิธีตรวจให้คะแนนวิเคราะห์ย่อยและวิธีตรวจให้คะแนน Knox อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.1 ตามลำดับ